สุดยอดความคิดเห็น
ความคิดเห็นที่ 21
เอาแบบลวกๆ รีบๆ นะครับ ไม่มีเวลามาก
__________________________________________________
รายงานรวบรวมการศึกษาเรื่องภาษีกับการลดอัตราความอ้วนในประชากรในปี 2013
รวบรวมการศึกษาในสหรัฐอเมริกา เม็กซิโก บราซิล และฝรั่งเศส
สรุปว่า
- ราคาที่สูงขึ้นของเครื่องดื่มที่มีส่วนผสมของน้ำตาลมีความสัมพันธ์กับความต้องการเครื่องดื่มที่ต่ำลง
- 6 ใน 9 ของรายงานยืนยันว่าการเพิ่มขึ้นของราคาทำให้ดัชนีมวลกาย (BMI) ของประชากรลดลงและลดความชุกของประชากรที่มีน้ำหนักเกินและเป็นโรคอ้วนได้
- การเพิ่มภาษีเครื่องดื่มที่มีส่วนผสมของน้ำตาลลดโรคอ้วนได้
แต่รายงานก็ยังแนะนำให้มีการวิจัยในประเทศ low และ middle income ให้เพิ่มมาขึ้นครับ
อ้างอิง: Cabrera Escobar MA, Veerman JL, Tollman SM, Bertram MY, Hofman KJ. Evidence that a tax on sugar sweetened beverages reduces the obesity rate: a meta-analysis. BMC Public Health. 2013;13:1072.
http://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC3840583/pdf/1471-2458-13-1072.pdf
__________________________________________________
รายงานรวบรวมการศึกษาเรื่องภาษีกับการลดอัตราความอ้วนในประชากรในปี 2013
รวบรวมการศึกษาในสหรัฐอเมริกา เม็กซิโก บราซิล และฝรั่งเศส
สรุปว่า
- ราคาที่สูงขึ้นของเครื่องดื่มที่มีส่วนผสมของน้ำตาลมีความสัมพันธ์กับความต้องการเครื่องดื่มที่ต่ำลง
- 6 ใน 9 ของรายงานยืนยันว่าการเพิ่มขึ้นของราคาทำให้ดัชนีมวลกาย (BMI) ของประชากรลดลงและลดความชุกของประชากรที่มีน้ำหนักเกินและเป็นโรคอ้วนได้
- การเพิ่มภาษีเครื่องดื่มที่มีส่วนผสมของน้ำตาลลดโรคอ้วนได้
แต่รายงานก็ยังแนะนำให้มีการวิจัยในประเทศ low และ middle income ให้เพิ่มมาขึ้นครับ
อ้างอิง: Cabrera Escobar MA, Veerman JL, Tollman SM, Bertram MY, Hofman KJ. Evidence that a tax on sugar sweetened beverages reduces the obesity rate: a meta-analysis. BMC Public Health. 2013;13:1072.
http://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC3840583/pdf/1471-2458-13-1072.pdf
แสดงความคิดเห็น
มติ 153 : 2 เสียง ขึ้นภาษีน้ำอัดลม ชาเขียว กาแฟ เครื่องดื่มชูกำลัง นมเปรี้ยว นมถั่วเหลือง น้ำผลไม้
วันที่ 26 เมษายน เวลา 13.00 น. ที่รัฐสภา มีการประชุมสภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ (สปท.) มีนายอลงกรณ์ พลบุตร รองประธาน สปท.คนที่หนึ่ง ทำหน้าที่ประธานการประชุม เพื่อพิจารณารายงานของคณะกรรมาธิการ (กมธ.) ขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ ด้านสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม สปท. เรื่อง “การป้องกันและควบคุมปัจจัยเสี่ยงต่อสุขภาพด้านอาหารและโภชนาการ ในประเด็นการจัดเก็บภาษีเครื่องดื่มที่มีปริมาณน้ำตาลเกินเกณฑ์มาตรฐานสุขภาพ” โดยมีสาระสำคัญคือ เสนอให้จัดเก็บภาษีสรรพสามิตในเครื่องดื่ม อาทิ น้ำอัดลม ชาเขียว กาแฟ เครื่องดื่มชูกำลัง นมเปรี้ยว นมถั่วเหลือง น้ำผลไม้ ที่มีปริมาณน้ำตาลเกินมาตรฐานที่กำหนด โดยเสนอให้จัดเก็บภาษี 2 อัตรา ตามความเข้มข้นของน้ำตาลคือ ปริมาณน้ำตาลมากกว่า 6-10 กรัมต่อ 100 มิลลิลิตร ทุกชนิด ในอัตราที่ทำให้ราคาเพิ่มสูงขึ้นไม่น้อยกว่า 20% ของราคาขายปลีก และปริมาณน้ำตาลมากกว่า 10 มิลลิกรัมต่อ 100 มิลลิลิตร ให้จัดเก็บภาษีในอัตราที่ทำให้ราคาเพิ่มสูงขึ้นไม่น้อยกว่า 25% ของราคาขายปลีก เพื่อให้ประชาชนลดการบริโภคเครื่องดื่มรสหวานที่เสี่ยงต่อการเกิดโรคอ้วน ความดันโลหิตสูง เบาหวาน โรคหัวใจ โรคหลอดเลือด และโรคมะเร็ง ที่สร้างภาระให้ประเทศเสียค่าใช้จ่ายจากโรคเหล่านี้จำนวนมาก เพราะเครื่องดื่มในท้องตลาดเกือบทั้งหมดมีน้ำตาลมากกว่า 6 กรัมต่อมิลลิลิตร อีกทั้งยังช่วยเพิ่มรายได้เข้าประเทศได้มากกว่า 10,000 ล้านบาทต่อปี นอกจากนี้ยังเสนอให้กระทรวงมหาดไทยควบคุมการทำการตลาดแบบเสี่ยงโชคของเครื่องดื่มที่มีน้ำตาล เพื่อควบคุมการกระตุ้นการบริโภคที่มีน้ำตาลควบคู่ไปด้วย
ขณะที่ พญ.พรพันธุ์ บุญยรัตพันธุ์ ประธาน กมธ.ขับเคลื่อนการปฏิรูประเทศด้านสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม ในฐานะประธานคณะทำงานขับเคลื่อนมาตรการที่จำเป็นต่อภาวะที่มีความเสี่ยงต่อสุขภาพ กล่าวว่า ปัจจุบันคนไทยบริโภคน้ำตาล 100 กรัม/คน/วัน ถือว่าเกินมาตรฐานสุขภาพที่กำหนดให้บริโภคน้ำตาลไม่เกิน 50 กรัมต่อคนต่อวัน ถือเป็นอันดับ 9 ของโลกที่บริโภคน้ำตาลสูงสุด เป็นการบริโภคมากเกินความจำเป็น ทั้งนี้ ปริมาณเครื่องดื่มสำเร็จรูปต่างๆ ที่วางจำหน่ายมีปริมาณน้ำตาลเฉลี่ยอยู่ที่ 9-19 กรัมต่อ 100 มิลลิลิตร ทั้งที่ค่าน้ำตาลเหมาะสมอยู่ที่ 6 กรัมต่อ 100 มิลลิลิตร จึงควรเพิ่มภาษีในเครื่องดื่มที่มีความเสี่ยงต่อสุขภาพ เพื่อลดค่าใช้จ่ายที่มีความเสี่ยงให้เกิดโรคอ้วน และโรคที่เกี่ยวข้อง ซึ่งการจัดเก็บภาษีเครื่องดื่มที่มีน้ำตาลเกินมาตรฐานในอัตรา 20% เป็นสิ่งที่องค์การอนามัยโลกได้ศึกษาไว้ว่า มีผลช่วยลดการบริโภคเครื่องดื่มที่มีน้ำตาลได้ หลายประเทศที่มีการเก็บภาษีดังกล่าวเช่น เม็กซิโก ฮังการี ก็ช่วยลดการบริโภคเครื่องดื่มที่มีน้ำตาลได้
จากนั้น สมาชิก สปท.หลายคนได้อภิปรายแสดงความเห็น อาทิ นายกษิต ภิรมย์ เห็นว่า ควรใช้วิธีรณรงค์ให้ประชาชนตระหนักถึงการลดการบริโภคเครื่องดื่มที่มีน้ำตาลเกินมาตรฐานแทนการขึ้นภาษี เพราะเป็นการผลักดันภาระให้ผู้บริโภค ขณะที่นายคุรุจิต นาครทรรพ สปท. กล่าวว่า การขึ้นภาษีเครื่องดื่มที่มีน้ำตาลในลักษณะเช่นเดียวกับบุหรี่ สุรา เชื่อว่าคนไทยคงรับไม่ได้ และข้อมูลที่ระบุว่า ทำให้เกิดโรคเบาหวาน ความดันนั้น ขอถามว่า เป็นผลวิจัยที่มีความครอบคลุมหรือไม่ เพราะปัจจัยที่ทำให้เกิดโรคเหล่านี้ไม่ได้มีผลมาจากการบริโภคเครื่องดื่มที่มีน้ำตาลเพียงอย่างเดียว แต่มีปัจจัยอื่นมาร่วมด้วย เช่น อาหาร กรรมพันธุ์ ควรมีการวิจัยให้ลงลึกไปกว่านี้ เพราะถึงอย่างไรน้ำตาลยังมีความจำเป็นต่อการดำรงชีวิต ทั้งนี้ หลังจากสมาชิก สปท.อภิปรายครบถ้วนแล้ว ที่ประชุม สปท.ลงมติเห็นชอบรายงานดังกล่าวด้วยคะแนน 153 ต่อ 2 งดออกเสียง 6 โดยให้ส่งรายงานต่อ ครม. เพื่อพิจารณาดำเนินการต่อไป
http://www.matichon.co.th/news/118039