เมื่อไม่ได้รับความเป็นธรรมจากเจ้าหน้าที่ของรัฐ

กระทู้สนทนา
ในปี 2554 ที่ผ่านมา เราได้เห็นถึงเหตุการณ์ที่เกิดจากการใช้ Social Media ในการกระจายข่าว
จนทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางการปกครองมาแล้วในหลาย ๆ ประเทศ อาทิเช่น การเปลี่ยนแปลงการปกครองในตูนิเซีย
หรือการโค่นล้มประธานาธิบดีของอียิปต์ เป็นต้น
จุดเริ่มต้นของการเปลี่ยนแปลงที่ยิ่งใหญ่นี้ ถือเป็นเรื่องที่น่าศึกษามากทีเดียว
ซึ่งวันนี้จะขอยกตัวอย่างการปฏิวัติดอกมะลิ (The Jasmine Revolution) มาให้คนที่กำลังคิดจะ "ใช้อำนาจในทางที่ผิด"
ได้ศึกษากันสักเล็กน้อย เพื่อที่ว่าจะได้กลับไปคิดทบทวนให้ดีเสียใหม่ ว่าตัวเองกำลังทำอะไรลงไป

•การปฏิวัติดอกมะลิ คือ กระบวนการเชิงวาทกรรมกับการใช้สัญลักษณ์ในการเร่งเร้าอารมณ์และระดมผู้คนเข้าร่วมการขับเคลื่อนทางสังคม เพื่อการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองในภูมิภาคหนึ่ง ๆ เกิดขึ้นครั้งแรกที่ประเทศตูนิเซีย

สาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิด “การปฏิวัติดอกมะลิ”
•การปฏิวัติดอกมะลิ มีสาเหตุมาจาก “ประชาชนไม่ได้รับความเป็นธรรมจากเจ้าหน้าที่ของรัฐ”

ลำดับเหตุการณ์สำคัญที่เกี่ยวข้องกับ “การปฏิวัติดอกมะลิ”
•การปฏิวัติดอกมะลิ มีจุดเริ่มต้นมาจากชายวัย 26 ปี ชื่อ Mohamed Bouazizi บัณฑิตสาขาวิทยาศาสตร์คอมพิวเตอร์ที่กำลังตกงาน
ซึ่งความสาหัสสากรรจ์ของชายคนหนุ่มคนนี้คือเขาต้องหาเลี้ยงสมาชิกในครอบครัวอีก 8 คน  
ด้วยการเข็นรถขายผักในเมืองซิด บูซิด (เป็นเมืองเล็ก ๆ เมืองหนึ่งในประเทศตูนิเซีย )
•วันหนึ่งนาย Mohamed ได้ถูกเจ้าหน้าที่ตำรวจหญิงคนหนึ่งจับและยึดรถขายผักไป เนื่องจากเขาไม่มีใบอนุญาตทำการค้า
•เขาจึงให้เงินจำนวน 10 ดินาร์ เพื่อไถ่รถคืน แต่กลับถูกตำรวจหญิงคนนั้นตบหน้า ถ่มน้ำลายใส่หน้า และยังด่าทอบิดาของเขา
•นาย Mohamed จึงตัดสินใจไปร้องเรียนต่อองค์การบริหารระดับจังหวัด
แต่กลับไม่มีเจ้าหน้าที่ของรัฐคนใดสนใจ มิหนำซ้ำเขายังได้รับการปฏิบัติกลับมาราวกับเป็นคนไร้ค่า
•นาย Mohamed ไม่พอใจที่เขาถูกกระทำเช่นนั้น
เขาจึงใช้สเปรย์สีฉีดเขียนรำพันความคับแค้นใจและด่าตำรวจกับเจ้าหน้าที่รัฐตามที่สาธารณะ
ก่อนจะจุดไฟเผาตัวเองเสียชีวิต เพื่อเป็นการประท้วงเจ้าหน้าที่ของรัฐ
•เหตุการณ์ดังกล่าวก่อให้เกิดการชุมนุมประท้วงในเมืองที่เกิดเหตุ
และมีการส่งข่าวสารผ่านสังคมออนไลน์  เช่น Facebook Twitter และ YouTube ไปทั่วประเทศ จนเกิดการชุมนุมใหญ่
และนำไปสู่การขับไล่ประธานาธิบดี Zine El Abidine Ben Ali ซึ่งอยู่ในอำนาจมานาน 23 ปี ออกจากตำแหน่ง
จนในที่สุดก็เกิดการเปลี่ยนรัฐบาลของตูนีเซีย

ถ้าสถานการณ์เช่นนี้เกิดขึ้นเมื่อร้อยกว่าปีก่อน ทุกอย่างคงจบตอนที่นาย Modhamed เผาตัวตายเพื่อประท้วงแล้ว
แต่ ณ ปัจจุบันเมื่อข้อมูลทุกอย่างสามารถสื่อสารถึงกันหมด และที่สำคัญรวดเร็วด้วย
การใช้อำนาจในทางที่ผิดของใครก็ช่างเถอะ ถ้าใช้ออกมาแล้วทำให้ประชาชนเห็นว่ามันไม่ชอบธรรม
เมื่อนั้นแหละจะเกิดพลังมวลชนเข้ามาเรียกร้องเพื่อความเป็นธรรม แล้วเหตุการณ์ที่ไม่ค้าดคิดอาจจะเกิดขึ้นได้
เข้าทำนองที่ว่า "น้ำทำให้เรือลอยได้ ก็สามารถทำให้เรือจมได้เช่นกัน"
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่