อัตราดอกเบี้ยคงที่ของพันธบัตรรัฐบาลไทยอายุ 10 ปีที่ประกาศมาล่าสุดที่ประมาณ 1.7% ต่อปีนั้นทำให้ผมรู้สึก “ช็อก” ยิ่งกว่าอัตราดอกเบี้ยติดลบของธนาคารกลางของหลาย ๆ ประเทศที่พัฒนาแล้ว เพราะนี่คืออัตราดอกเบี้ยอ้างอิงของอัตราดอกเบี้ยที่คนฝากเงินหรือนักลงทุนไทยจะได้รับในการนำเงินไปลงทุนในเงินฝากหรือตราสารหนี้ในระยะ 10 ปีข้างหน้า พูดให้ง่าย ๆ ก็คือ ถ้าคุณมีเงินสดเหลือและไม่สามารถที่จะนำไปทำธุรกิจหรือลงทุนในอสังหาริมทรัพย์หรือลงทุนในหุ้น โอกาสก็คือ คุณจะต้องไปลงทุนในเงินฝากหรือตราสารหนี้ทั้งระยะยาวและสั้นที่มีความเสี่ยงต่ำเป็นที่ยอมรับได้ ผลตอบแทนที่จะได้ก็คือประมาณปีละ 2-3% เป็นอย่างมากและมีโอกาสน้อยมากที่อัตราดอกเบี้ยจะเพิ่มขึ้นในอนาคตอีก 10 ปีข้างหน้า
การที่ดอกเบี้ยต่ำมากและจะต่ำอยู่นานมากเป็น 10 ปี ขึ้นไปนั้น ผลกระทบของมันในแง่ของการลงทุนโดยเฉพาะในหุ้นนั้นย่อมมีมหาศาลและมันอาจจะเปลี่ยน “ข้อเท็จจริงในประวัติศาสตร์”ของการลงทุนไปอย่างมากมาย ลองมาดูว่าอัตราดอกเบี้ยที่ต่ำมากนี้อาจจะทำให้เกิดอะไรขึ้นในตลาดทุนหลังจากนี้
ข้อแรกก็คือ คนจะมีแนวโน้มย้ายเงินมาลงทุนตลาดหุ้นมากขึ้นเรื่อย ๆ แม้ว่าหุ้นจะดูมีราคาแพง ในอดีตที่อัตราดอกเบี้ยยังสูงนั้น ตลาดหุ้นมักจะมีราคาโดยเฉลี่ยคิดเป็นค่า PE ประมาณ 10 เท่า ซึ่งแปลว่าถ้าเราลงทุนในตลาดหุ้นโดยเฉลี่ยแล้วเราจะได้ผลกำไรต่อปีประมาณ 10% (หาได้โดยการกลับเศษเป็นส่วนของค่า PE เป็น EP) ซึ่งจะดีกว่าการฝากเงินซึ่งอาจจะได้ดอกเบี้ยอยู่ที่ประมาณ 5% ต่อปี ส่วนต่างที่ได้ก็คือ 5% ต่อปี ซึ่งนี่ก็คือค่าของความเสี่ยงที่นักลงทุนในหุ้นต้องรับ แต่เมื่ออัตราดอกเบี้ยลดลงเหลือเพียง 1-2% ต่อปี ผลตอบแทนจากหุ้นก็ควรที่จะลดลงมาเหลือเพียง 6-7% ต่อปี ซึ่งถ้าคิดเป็นค่า PE ก็จะเท่ากับค่า PE ที่ประมาณ 15 เท่า ข้อสรุปก็คือ นับจากวันนี้ ค่า PE ของตลาดหลักทรัพย์ที่ไม่เกิน 15-16 เท่าก็ถือว่าเป็นตลาดหุ้นที่ “ไม่แพง” พอลงทุนได้ เพราะมันยังให้ผลตอบแทนเฉลี่ยต่อปีประมาณปีละ 6-7% “ดีกว่าการฝากเงินประมาณ 5%”
ข้อสอง การที่ดอกเบี้ยต่ำมากเป็นประวัติการณ์และจะต่ำแบบนี้ต่อไปอีกนานนั้น แปลว่าการลงทุนสร้างโรงงานหรือทรัพย์สินถาวรเพื่อประกอบธุรกิจจะมีหรือเติบโตน้อยลงไปมากและเป็นอย่างนั้นอีกนาน ผลที่ตามมาก็คือ เศรษฐกิจก็น่าจะโตช้าลงและจะคงอยู่อย่างนั้นอีกนาน ถ้าจะพูดก็คือ เศรษฐกิจไทยนั้นคงโตได้ประมาณไม่เกิน 3-4% เป็นอย่างมากในระยะเวลาหลายปีข้างหน้า และถ้าเหตุการณ์เลวร้ายลง เช่น เศรษฐกิจโลกฟื้นตัวช้าด้วย เศรษฐกิจไทยก็อาจจะถึงจุด “อิ่มตัว” และติดกับดัก “คนชั้นกลาง” ประเทศไม่สามารถกลายเป็นประเทศพัฒนาแล้วได้ ซึ่งนี่ก็มีโอกาสเกิดขึ้นเมื่อคำนึงถึงว่าคนไทยแก่ตัวลงอย่างรวดเร็วและจะกลายเป็น “สังคมคนแก่” ในอีกประมาณ 10-20 ปี ข้างหน้า
ข้อสาม ถ้าเศรษฐกิจไม่โต ตลาดหุ้นก็ไม่สามารถโตได้ และตลาดหุ้นนั้นก็จะต้องสะท้อนภาวะการเติบโตของเศรษฐกิจในระยะยาว ผลก็คือ การลงทุนในตลาดหุ้นนั้น น่าจะให้ผลตอบแทนต่อปีที่น้อยลง ในอดีตย้อนหลังไป 41 ปี ตลาดหุ้นให้ผลตอบแทนโดยเฉลี่ยประมาณ 10% ต่อปี โดยเป็นการเพิ่มขึ้นของราคาหุ้นประมาณ 6.6% ต่อปีและเป็นปันผลประมาณ 3.4% ต่อปี อนาคตผมคิดว่าตลาดหุ้นน่าจะให้ผลตอบแทนน้อยลง ผมคิดคร่าว ๆ ว่าผลตอบแทนรวมน่าจะอยู่ที่ประมาณ 6% ต่อปี โดยที่ราคาหุ้นน่าจะเพิ่มขึ้นเฉลี่ยปีละ 3% ในขณะที่ปันผลจะให้ผลตอบแทนปีละประมาณ 3% เช่นเดียวกัน นั่นแปลว่าการลงทุนนับจากนี้ ปันผลจะถือว่าเป็นปัจจัยสำคัญมากเท่า ๆ กับการปรับขึ้นของราคาหุ้นในการพิจารณาเลือกหุ้นลงทุน
ข้อสี่ อัตราเงินเฟ้อของไทยที่ในอดีตเคยสูงและต่อมาลดลงเรื่อย ๆ จนเหลือต่ำมากเพียง 1-2% ต่อปี ก็น่าจะมีอัตราเงินเฟ้อที่ต่ำมากต่อเนื่องไปอีกนานหลาย ๆ ปี โอกาสที่อัตราเงินเฟ้อจะกลับมาสูงนั้นเป็นไปได้ยาก นี่ก็คงคล้าย ๆ กับประเทศที่ค่อนข้างเจริญส่วนใหญ่ในโลกที่เงินเฟ้อน่าจะกลายเป็นเรื่องในอดีตไปแล้วเนื่องจากการผลิตของโลกมีประสิทธิภาพสูงมากขึ้นและสินค้าสามารถเคลื่อนย้ายไปค่อนข้างเสรีทั่วโลก การขาดแคลนสินค้าและวัตถุดิบที่จะทำให้เกิดเงินเฟ้อมีน้อย
ข้อห้า ในภาพของธุรกิจหรือบริษัทจดทะเบียนนั้น บริษัทที่มีหนี้มากที่นักลงทุนเคยเกรงว่าจะมีปัญหาและ Discount หรือให้มูลค่าหุ้นต่ำลงนั้น การที่ดอกเบี้ยลดลงมากทำให้บริษัทจะมีผลประกอบการที่ดีขึ้นโดยเฉพาะเมื่อหนี้ก้อนเดิมถึงกำหนดและบริษัทกู้หนี้ใหม่ในอัตราดอกเบี้ยที่ต่ำลง ดังนั้น หุ้นของบริษัทเหล่านั้นก็อาจจะมีมูลค่าที่สูงขึ้นได้ในอนาคตมองจากมุมของดอกเบี้ยที่จะจ่ายน้อยลง
ข้อหก การทำ M&A หรือการซื้อกิจการเพื่อการเติบโตของบริษัทจดทะเบียนน่าจะเพิ่มขึ้นเนื่องจากอัตราดอกเบี้ยที่ต่ำลงและการที่สถาบันการเงินและตลาดการเงินมีสภาพคล่องสูง ดังนั้น บริษัทที่มีความมั่นคงและมีหนี้ไม่มากก็จะมีความสามารถในการกู้เงินระยะยาวที่จะใช้ซื้อกิจการที่มีกำไรที่แน่นอนพอสมควรโดยที่ราคาซื้อหุ้นอาจจะสูงกว่าปกติได้ เหตุผลก็คือ บริษัทที่เทคโอเวอร์บริษัทอื่นนั้นอาจจะคิดว่าตนเองสามารถนำกำไรจากบริษัทเป้าหมายมาจ่ายดอกเบี้ยจากการกู้เงินมาซื้อได้โดยที่ตนเองไม่ต้องเพิ่มทุนหรือเพิ่มไม่มาก
ข้อเจ็ด บริษัทที่มีการจ่ายปันผลที่ดีกว่าเฉลี่ยของตลาดและมีความมั่นคงของผลประกอบการและมีกระแสเงินสดที่ดีน่าจะกลายเป็นหุ้นที่ได้รับความนิยมเพิ่มขึ้น นี่อาจจะรวมถึงสถาบันการเงินขนาดใหญ่ที่มีความมั่นคงสูงเช่นกลุ่มธนาคารพาณิชย์บางแห่งที่จ่ายปันผลถึง 4-5% ต่อปี เหตุผลก็เพราะว่านักลงทุนมั่นใจว่าอย่างน้อยถ้าถือหุ้นเหล่านั้นก็จะได้ปันผลที่สูงกว่าเงินฝากปีละ 1-2% มาก ดังนั้นพวกเขาอาจจะเข้าไปซื้อหุ้นเพื่อลงทุนระยะยาวและได้ผลตอบแทนดีกว่าการฝากเงิน เพราะต่อให้หุ้นไม่ขึ้นเลยทั้งปีเขาก็ยังได้กำไรมากกว่าการถือเงินสดและฝากไว้ในธนาคาร
ข้อแปด เช่นเดียวกับหุ้น กองทุนอสังหาริมทรัพย์และ REIT และกองทุนโครงสร้างพื้นฐานที่มีรายได้ค่อนข้างแน่นอนและให้ผลตอบแทนอยู่ในหลัก 7-8% ต่อปีก็จะได้รับความนิยมเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ เนื่องจากคนที่ถือเงินสดมากแต่ไม่กล้ารับความเสี่ยงหรือความผันผวนของหุ้นจะเข้ามาลงทุนเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ แม้ว่าผลตอบแทนในกองทุนเหล่านั้นจะค่อย ๆ ลดลงเพราะราคาหน่วยลงทุนจะมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น
ที่ “ทำนาย” แนวโน้มระยะยาวต่าง ๆ ดังที่ได้กล่าวมาแล้วนั้นผมก็ไม่รับรองว่าจะต้องเกิดขึ้นอย่างแน่นอน โดยเฉพาะอย่างยิ่งมันเป็นการพยากรณ์ที่บอกว่าจะเกิด “New Normal” หรือ “มาตรฐานใหม่” ซึ่งแตกต่างจากเดิมไปมาก การทำนายแบบ “สุดโต่ง” แบบนั้นมักจะมีโอกาส “หน้าแตก” ได้ง่าย ๆ และเราก็ได้เห็นมามากแล้ว ตัวอย่างเช่นการทำนายก่อนหน้านี้เรื่องปริมาณการผลิตน้ำมันที่จะลดลงมากและราคาน้ำมันจะเพิ่มขึ้นมากซึ่งภายใน 3-4 ปี ก็ปรากฏว่าทุกอย่างเป็นตรงกันข้ามอย่างสิ้นเชิง ดังนั้น สิ่งที่ผมเขียนในวันนี้จึงอาจจะไม่เกิดขึ้นในอนาคต ตลาดของอัตราดอกเบี้ยต่ำมากขณะนี้อาจจะ “ผิด” เช่น ภายใน 3-4 ปีข้างหน้าดอกเบี้ยอาจจะเปลี่ยนเป็น “ขาขึ้น” อย่างแรง และคนที่คิดและกำหนดกลยุทธ์การลงทุนโดยเน้นไปที่สมมุติฐานของอัตราดอกเบี้ยระยะยาวที่ต่ำมากก็อาจจะเจ็บตัวหรือเสียหายหนักก็ได้
เพื่อเป็นการป้องกันความเสียหายที่จะเกิดขึ้นถ้าเราคาดสถานการณ์ผิด สิ่งที่เราควรทำก็คือ ทุกครั้งที่จะลงทุนไม่ว่าจะเรื่องอะไร เราจะต้อง “เผื่อ” หรือกำหนด Margin of Safety ไว้เสมอนั่นก็คือ ถ้าเราคาดสถานการณ์ผิด หุ้นหรือหลักทรัพย์ที่เราลงทุนก็ยังอยู่ได้ อย่างน้อยก็ไม่กลายเป็นหายนะ และนั่นคือ “กฎเหล็ก” ที่ VI ทุกคนจะต้องรักษาไว้ตลอดเวลา
http://portal.settrade.com/blog/nivate/2016/04/25/1723
ผลกระทบของดอกเบี้ยต่ำ : ดร.นิเวศน์ เหมวชิรวรากร
การที่ดอกเบี้ยต่ำมากและจะต่ำอยู่นานมากเป็น 10 ปี ขึ้นไปนั้น ผลกระทบของมันในแง่ของการลงทุนโดยเฉพาะในหุ้นนั้นย่อมมีมหาศาลและมันอาจจะเปลี่ยน “ข้อเท็จจริงในประวัติศาสตร์”ของการลงทุนไปอย่างมากมาย ลองมาดูว่าอัตราดอกเบี้ยที่ต่ำมากนี้อาจจะทำให้เกิดอะไรขึ้นในตลาดทุนหลังจากนี้
ข้อแรกก็คือ คนจะมีแนวโน้มย้ายเงินมาลงทุนตลาดหุ้นมากขึ้นเรื่อย ๆ แม้ว่าหุ้นจะดูมีราคาแพง ในอดีตที่อัตราดอกเบี้ยยังสูงนั้น ตลาดหุ้นมักจะมีราคาโดยเฉลี่ยคิดเป็นค่า PE ประมาณ 10 เท่า ซึ่งแปลว่าถ้าเราลงทุนในตลาดหุ้นโดยเฉลี่ยแล้วเราจะได้ผลกำไรต่อปีประมาณ 10% (หาได้โดยการกลับเศษเป็นส่วนของค่า PE เป็น EP) ซึ่งจะดีกว่าการฝากเงินซึ่งอาจจะได้ดอกเบี้ยอยู่ที่ประมาณ 5% ต่อปี ส่วนต่างที่ได้ก็คือ 5% ต่อปี ซึ่งนี่ก็คือค่าของความเสี่ยงที่นักลงทุนในหุ้นต้องรับ แต่เมื่ออัตราดอกเบี้ยลดลงเหลือเพียง 1-2% ต่อปี ผลตอบแทนจากหุ้นก็ควรที่จะลดลงมาเหลือเพียง 6-7% ต่อปี ซึ่งถ้าคิดเป็นค่า PE ก็จะเท่ากับค่า PE ที่ประมาณ 15 เท่า ข้อสรุปก็คือ นับจากวันนี้ ค่า PE ของตลาดหลักทรัพย์ที่ไม่เกิน 15-16 เท่าก็ถือว่าเป็นตลาดหุ้นที่ “ไม่แพง” พอลงทุนได้ เพราะมันยังให้ผลตอบแทนเฉลี่ยต่อปีประมาณปีละ 6-7% “ดีกว่าการฝากเงินประมาณ 5%”
ข้อสอง การที่ดอกเบี้ยต่ำมากเป็นประวัติการณ์และจะต่ำแบบนี้ต่อไปอีกนานนั้น แปลว่าการลงทุนสร้างโรงงานหรือทรัพย์สินถาวรเพื่อประกอบธุรกิจจะมีหรือเติบโตน้อยลงไปมากและเป็นอย่างนั้นอีกนาน ผลที่ตามมาก็คือ เศรษฐกิจก็น่าจะโตช้าลงและจะคงอยู่อย่างนั้นอีกนาน ถ้าจะพูดก็คือ เศรษฐกิจไทยนั้นคงโตได้ประมาณไม่เกิน 3-4% เป็นอย่างมากในระยะเวลาหลายปีข้างหน้า และถ้าเหตุการณ์เลวร้ายลง เช่น เศรษฐกิจโลกฟื้นตัวช้าด้วย เศรษฐกิจไทยก็อาจจะถึงจุด “อิ่มตัว” และติดกับดัก “คนชั้นกลาง” ประเทศไม่สามารถกลายเป็นประเทศพัฒนาแล้วได้ ซึ่งนี่ก็มีโอกาสเกิดขึ้นเมื่อคำนึงถึงว่าคนไทยแก่ตัวลงอย่างรวดเร็วและจะกลายเป็น “สังคมคนแก่” ในอีกประมาณ 10-20 ปี ข้างหน้า
ข้อสาม ถ้าเศรษฐกิจไม่โต ตลาดหุ้นก็ไม่สามารถโตได้ และตลาดหุ้นนั้นก็จะต้องสะท้อนภาวะการเติบโตของเศรษฐกิจในระยะยาว ผลก็คือ การลงทุนในตลาดหุ้นนั้น น่าจะให้ผลตอบแทนต่อปีที่น้อยลง ในอดีตย้อนหลังไป 41 ปี ตลาดหุ้นให้ผลตอบแทนโดยเฉลี่ยประมาณ 10% ต่อปี โดยเป็นการเพิ่มขึ้นของราคาหุ้นประมาณ 6.6% ต่อปีและเป็นปันผลประมาณ 3.4% ต่อปี อนาคตผมคิดว่าตลาดหุ้นน่าจะให้ผลตอบแทนน้อยลง ผมคิดคร่าว ๆ ว่าผลตอบแทนรวมน่าจะอยู่ที่ประมาณ 6% ต่อปี โดยที่ราคาหุ้นน่าจะเพิ่มขึ้นเฉลี่ยปีละ 3% ในขณะที่ปันผลจะให้ผลตอบแทนปีละประมาณ 3% เช่นเดียวกัน นั่นแปลว่าการลงทุนนับจากนี้ ปันผลจะถือว่าเป็นปัจจัยสำคัญมากเท่า ๆ กับการปรับขึ้นของราคาหุ้นในการพิจารณาเลือกหุ้นลงทุน
ข้อสี่ อัตราเงินเฟ้อของไทยที่ในอดีตเคยสูงและต่อมาลดลงเรื่อย ๆ จนเหลือต่ำมากเพียง 1-2% ต่อปี ก็น่าจะมีอัตราเงินเฟ้อที่ต่ำมากต่อเนื่องไปอีกนานหลาย ๆ ปี โอกาสที่อัตราเงินเฟ้อจะกลับมาสูงนั้นเป็นไปได้ยาก นี่ก็คงคล้าย ๆ กับประเทศที่ค่อนข้างเจริญส่วนใหญ่ในโลกที่เงินเฟ้อน่าจะกลายเป็นเรื่องในอดีตไปแล้วเนื่องจากการผลิตของโลกมีประสิทธิภาพสูงมากขึ้นและสินค้าสามารถเคลื่อนย้ายไปค่อนข้างเสรีทั่วโลก การขาดแคลนสินค้าและวัตถุดิบที่จะทำให้เกิดเงินเฟ้อมีน้อย
ข้อห้า ในภาพของธุรกิจหรือบริษัทจดทะเบียนนั้น บริษัทที่มีหนี้มากที่นักลงทุนเคยเกรงว่าจะมีปัญหาและ Discount หรือให้มูลค่าหุ้นต่ำลงนั้น การที่ดอกเบี้ยลดลงมากทำให้บริษัทจะมีผลประกอบการที่ดีขึ้นโดยเฉพาะเมื่อหนี้ก้อนเดิมถึงกำหนดและบริษัทกู้หนี้ใหม่ในอัตราดอกเบี้ยที่ต่ำลง ดังนั้น หุ้นของบริษัทเหล่านั้นก็อาจจะมีมูลค่าที่สูงขึ้นได้ในอนาคตมองจากมุมของดอกเบี้ยที่จะจ่ายน้อยลง
ข้อหก การทำ M&A หรือการซื้อกิจการเพื่อการเติบโตของบริษัทจดทะเบียนน่าจะเพิ่มขึ้นเนื่องจากอัตราดอกเบี้ยที่ต่ำลงและการที่สถาบันการเงินและตลาดการเงินมีสภาพคล่องสูง ดังนั้น บริษัทที่มีความมั่นคงและมีหนี้ไม่มากก็จะมีความสามารถในการกู้เงินระยะยาวที่จะใช้ซื้อกิจการที่มีกำไรที่แน่นอนพอสมควรโดยที่ราคาซื้อหุ้นอาจจะสูงกว่าปกติได้ เหตุผลก็คือ บริษัทที่เทคโอเวอร์บริษัทอื่นนั้นอาจจะคิดว่าตนเองสามารถนำกำไรจากบริษัทเป้าหมายมาจ่ายดอกเบี้ยจากการกู้เงินมาซื้อได้โดยที่ตนเองไม่ต้องเพิ่มทุนหรือเพิ่มไม่มาก
ข้อเจ็ด บริษัทที่มีการจ่ายปันผลที่ดีกว่าเฉลี่ยของตลาดและมีความมั่นคงของผลประกอบการและมีกระแสเงินสดที่ดีน่าจะกลายเป็นหุ้นที่ได้รับความนิยมเพิ่มขึ้น นี่อาจจะรวมถึงสถาบันการเงินขนาดใหญ่ที่มีความมั่นคงสูงเช่นกลุ่มธนาคารพาณิชย์บางแห่งที่จ่ายปันผลถึง 4-5% ต่อปี เหตุผลก็เพราะว่านักลงทุนมั่นใจว่าอย่างน้อยถ้าถือหุ้นเหล่านั้นก็จะได้ปันผลที่สูงกว่าเงินฝากปีละ 1-2% มาก ดังนั้นพวกเขาอาจจะเข้าไปซื้อหุ้นเพื่อลงทุนระยะยาวและได้ผลตอบแทนดีกว่าการฝากเงิน เพราะต่อให้หุ้นไม่ขึ้นเลยทั้งปีเขาก็ยังได้กำไรมากกว่าการถือเงินสดและฝากไว้ในธนาคาร
ข้อแปด เช่นเดียวกับหุ้น กองทุนอสังหาริมทรัพย์และ REIT และกองทุนโครงสร้างพื้นฐานที่มีรายได้ค่อนข้างแน่นอนและให้ผลตอบแทนอยู่ในหลัก 7-8% ต่อปีก็จะได้รับความนิยมเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ เนื่องจากคนที่ถือเงินสดมากแต่ไม่กล้ารับความเสี่ยงหรือความผันผวนของหุ้นจะเข้ามาลงทุนเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ แม้ว่าผลตอบแทนในกองทุนเหล่านั้นจะค่อย ๆ ลดลงเพราะราคาหน่วยลงทุนจะมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น
ที่ “ทำนาย” แนวโน้มระยะยาวต่าง ๆ ดังที่ได้กล่าวมาแล้วนั้นผมก็ไม่รับรองว่าจะต้องเกิดขึ้นอย่างแน่นอน โดยเฉพาะอย่างยิ่งมันเป็นการพยากรณ์ที่บอกว่าจะเกิด “New Normal” หรือ “มาตรฐานใหม่” ซึ่งแตกต่างจากเดิมไปมาก การทำนายแบบ “สุดโต่ง” แบบนั้นมักจะมีโอกาส “หน้าแตก” ได้ง่าย ๆ และเราก็ได้เห็นมามากแล้ว ตัวอย่างเช่นการทำนายก่อนหน้านี้เรื่องปริมาณการผลิตน้ำมันที่จะลดลงมากและราคาน้ำมันจะเพิ่มขึ้นมากซึ่งภายใน 3-4 ปี ก็ปรากฏว่าทุกอย่างเป็นตรงกันข้ามอย่างสิ้นเชิง ดังนั้น สิ่งที่ผมเขียนในวันนี้จึงอาจจะไม่เกิดขึ้นในอนาคต ตลาดของอัตราดอกเบี้ยต่ำมากขณะนี้อาจจะ “ผิด” เช่น ภายใน 3-4 ปีข้างหน้าดอกเบี้ยอาจจะเปลี่ยนเป็น “ขาขึ้น” อย่างแรง และคนที่คิดและกำหนดกลยุทธ์การลงทุนโดยเน้นไปที่สมมุติฐานของอัตราดอกเบี้ยระยะยาวที่ต่ำมากก็อาจจะเจ็บตัวหรือเสียหายหนักก็ได้
เพื่อเป็นการป้องกันความเสียหายที่จะเกิดขึ้นถ้าเราคาดสถานการณ์ผิด สิ่งที่เราควรทำก็คือ ทุกครั้งที่จะลงทุนไม่ว่าจะเรื่องอะไร เราจะต้อง “เผื่อ” หรือกำหนด Margin of Safety ไว้เสมอนั่นก็คือ ถ้าเราคาดสถานการณ์ผิด หุ้นหรือหลักทรัพย์ที่เราลงทุนก็ยังอยู่ได้ อย่างน้อยก็ไม่กลายเป็นหายนะ และนั่นคือ “กฎเหล็ก” ที่ VI ทุกคนจะต้องรักษาไว้ตลอดเวลา
http://portal.settrade.com/blog/nivate/2016/04/25/1723