สุดยอดความคิดเห็น
ความคิดเห็นที่ 5
กิน “เครื่องใน” ดีไหม?
บางคนชอบกิน “เครื่องในสัตว์” แต่บางคนก็ไม่ชอบเลย อยากรู้หรือไม่ว่า “เครื่องใน” มีประโยชน์ต่อร่างกายอย่างไร? นายแพทย์ กฤษดา ศิรามพุช ผอ.ศูนย์เวชศาสตร์อายุรวัฒน์นานาชาติ กล่าว่า ตับ หัวใจ ไต ไส้ ปอด เป็นแหล่งธาตุเหล็กที่ดีทั้งสิ้น จนมายุคนี้ที่คำว่า “คอเรสเตอรอล” ทำให้เมนูเครื่องในถูกลดบทบาทลง คงไว้แต่ความไม่พึงปรารถนาแทบจะเรียกว่าเป็น “ยุคใหม่ไร้เครื่องใน” ก็ว่าได้ แต่อยากให้ทราบไว้สักนิดว่าอาจพลาดวิตามินหลายอย่างไปได้เหมือนกันจากการไม่รับประทานเครื่องใน
ตับ อุดมด้วยวิตามินเอและวิตามินดี มีสูงเทียบเท่านมโคสดครึ่งถ้วยตวง ธาตุเหล็ก ไขมันอิ่มตัวจำพวกคอเลสเตอรอล ไตรกลีเซอไรด์ วิตามินบี ๑๒ กรดอัลฟ่าไลโพอิก เป็นสารต้านอนุมูลอิสระพลังสูงอีกชนิดหนึ่ง ซึ่งช่วยในคนเป็นเบาหวาน มีมากในตับ
หัวใจ มีโปรตีน โคคิวเท็นสารต้านแก่ แร่ธาตุพวกโพแทสเซียม, โซเดียมและธาตุเหล็ก แอล-คาโนซีนต้านอนุมูลอิสระ แอล-อาร์จินีน กรดอะมิโน ที่ช่วยให้หลอดเลือดขยายตัวไม่ตีบตันง่าย
ไต ให้ธาตุเหล็ก แมกนีเ.ซียม วิตามินบี ๒ และบี ๑๒ กรดโฟลิกช่วยสร้างเม็ดเลือดแดง
ไส้ มีโปรตีน ธาตุเหล็ก แต่ไขมันมาก คนที่มีไขมันสูงควรเลี่ยง ผู้สูงวัยอาจมีปัญหาเรื่องย่อยยาก
ปอด ให้โปรตีน ธาตุเหล็ก และคอลลาเจนจากกระดูกอ่อนหลอดลมที่แทรกอยู่ในเนื้อปอด ทำให้เคี้ยวกรุบ ๆ ช่วยเสริมเนื้อเยื่อเกี่ยวพันในร่ายกาย ทั้งผิวหนัง ผม เล็บ กระดูก ดังสังเกตได้จากทิ้งต้มเครื่องในไว้นาน ๆ แล้วจะจับกันกลายเป็นวุ้น
คนที่ควรกินเครื่องใน คือ คนที่ใช้ทั้งพลังสมองและพลังกาย เช่น นักกีฬา ผู้ใช้แรงทำงาน เด็กวัยเรียน ผู้ใหญ่วัยทำงาน ผู้ที่ใช้สมองไม่ได้หยุด ผู้ป่วยเลือดจางจากการขาดธาตุเหล็ก โดยมีเทคนิค คือต้องรับประทานวิตามินซีร่วมด้วยจะช่วยดูดซึมดี เช่น ต้มยำเครื่องในบีบมะนาว เป็นต้น
คนที่ไม่ควรกิน คือ ผู้สูงวัย ไขมันสูง คนป่วยไขมันจุกตับ ผู้ป่วยโรคเกาต์ คนเป็นโรคกระเพาะ กรดไหลย้อน อาหารไม่ย่อย ความดันโลหิตสูง ผู้ป่วยมะเร็ง
กินได้มากน้อย ถี่บ่อยแค่ไหน? นพ. กฤษดา กล่าว่า เครื่องในก็คล้ายกับไข่แดง คือรับประทานได้บ้างแต่ไม่ใช่ซ้ำซากบ่อยนัก ด้วยไขมันในเครื่องในสัตว์เป็นไขมันอิ่มตัว จึงมีสิทธิกลายเป็นก้อนมันส่วนเกินไปเกาะในเครื่องในเราเหมือนกัน ไปเกาะตับก็เป็นมันจุกตับ ไปเกาะหน้าท้องก็ได้พุงกะทิ
การกินให้ดีมีหลักง่ายคือ ไม่ทอด ไม่ย่างและไร้มัน และควรกินให้หลากหลาย เช่น มือนี้กินผัดเครื่องในแล้วก็ไม่ควรกินตับย่างอีก
ไม่เกินเลยจะขาดวิตามินไหม? นพ. กฤษดา กล่าวว่า ไม่เลย ไม่ขาดแน่นอน เพราะไม่มีวิตามินใดที่มีในเครื่องในแล้วในเนื้อสัตว์จะไม่มี อย่างวิตามินบี ๑๒ ที่ว่าไม่มีในพืช ก็สามารถหารับประทานจากเนื้อสัตว์ได้ไม่จำเป็นต้องเครื่องในอย่างเดียว
สรุปคือ เครื่องในกินได้แต่อย่าบ่อยจนเกินไป
ข้อมูล : เดลินิวส์สบาย น้า ๗ ฉบับเดือนมิถุนายน ๒๕๕๕
บางคนชอบกิน “เครื่องในสัตว์” แต่บางคนก็ไม่ชอบเลย อยากรู้หรือไม่ว่า “เครื่องใน” มีประโยชน์ต่อร่างกายอย่างไร? นายแพทย์ กฤษดา ศิรามพุช ผอ.ศูนย์เวชศาสตร์อายุรวัฒน์นานาชาติ กล่าว่า ตับ หัวใจ ไต ไส้ ปอด เป็นแหล่งธาตุเหล็กที่ดีทั้งสิ้น จนมายุคนี้ที่คำว่า “คอเรสเตอรอล” ทำให้เมนูเครื่องในถูกลดบทบาทลง คงไว้แต่ความไม่พึงปรารถนาแทบจะเรียกว่าเป็น “ยุคใหม่ไร้เครื่องใน” ก็ว่าได้ แต่อยากให้ทราบไว้สักนิดว่าอาจพลาดวิตามินหลายอย่างไปได้เหมือนกันจากการไม่รับประทานเครื่องใน
ตับ อุดมด้วยวิตามินเอและวิตามินดี มีสูงเทียบเท่านมโคสดครึ่งถ้วยตวง ธาตุเหล็ก ไขมันอิ่มตัวจำพวกคอเลสเตอรอล ไตรกลีเซอไรด์ วิตามินบี ๑๒ กรดอัลฟ่าไลโพอิก เป็นสารต้านอนุมูลอิสระพลังสูงอีกชนิดหนึ่ง ซึ่งช่วยในคนเป็นเบาหวาน มีมากในตับ
หัวใจ มีโปรตีน โคคิวเท็นสารต้านแก่ แร่ธาตุพวกโพแทสเซียม, โซเดียมและธาตุเหล็ก แอล-คาโนซีนต้านอนุมูลอิสระ แอล-อาร์จินีน กรดอะมิโน ที่ช่วยให้หลอดเลือดขยายตัวไม่ตีบตันง่าย
ไต ให้ธาตุเหล็ก แมกนีเ.ซียม วิตามินบี ๒ และบี ๑๒ กรดโฟลิกช่วยสร้างเม็ดเลือดแดง
ไส้ มีโปรตีน ธาตุเหล็ก แต่ไขมันมาก คนที่มีไขมันสูงควรเลี่ยง ผู้สูงวัยอาจมีปัญหาเรื่องย่อยยาก
ปอด ให้โปรตีน ธาตุเหล็ก และคอลลาเจนจากกระดูกอ่อนหลอดลมที่แทรกอยู่ในเนื้อปอด ทำให้เคี้ยวกรุบ ๆ ช่วยเสริมเนื้อเยื่อเกี่ยวพันในร่ายกาย ทั้งผิวหนัง ผม เล็บ กระดูก ดังสังเกตได้จากทิ้งต้มเครื่องในไว้นาน ๆ แล้วจะจับกันกลายเป็นวุ้น
คนที่ควรกินเครื่องใน คือ คนที่ใช้ทั้งพลังสมองและพลังกาย เช่น นักกีฬา ผู้ใช้แรงทำงาน เด็กวัยเรียน ผู้ใหญ่วัยทำงาน ผู้ที่ใช้สมองไม่ได้หยุด ผู้ป่วยเลือดจางจากการขาดธาตุเหล็ก โดยมีเทคนิค คือต้องรับประทานวิตามินซีร่วมด้วยจะช่วยดูดซึมดี เช่น ต้มยำเครื่องในบีบมะนาว เป็นต้น
คนที่ไม่ควรกิน คือ ผู้สูงวัย ไขมันสูง คนป่วยไขมันจุกตับ ผู้ป่วยโรคเกาต์ คนเป็นโรคกระเพาะ กรดไหลย้อน อาหารไม่ย่อย ความดันโลหิตสูง ผู้ป่วยมะเร็ง
กินได้มากน้อย ถี่บ่อยแค่ไหน? นพ. กฤษดา กล่าว่า เครื่องในก็คล้ายกับไข่แดง คือรับประทานได้บ้างแต่ไม่ใช่ซ้ำซากบ่อยนัก ด้วยไขมันในเครื่องในสัตว์เป็นไขมันอิ่มตัว จึงมีสิทธิกลายเป็นก้อนมันส่วนเกินไปเกาะในเครื่องในเราเหมือนกัน ไปเกาะตับก็เป็นมันจุกตับ ไปเกาะหน้าท้องก็ได้พุงกะทิ
การกินให้ดีมีหลักง่ายคือ ไม่ทอด ไม่ย่างและไร้มัน และควรกินให้หลากหลาย เช่น มือนี้กินผัดเครื่องในแล้วก็ไม่ควรกินตับย่างอีก
ไม่เกินเลยจะขาดวิตามินไหม? นพ. กฤษดา กล่าวว่า ไม่เลย ไม่ขาดแน่นอน เพราะไม่มีวิตามินใดที่มีในเครื่องในแล้วในเนื้อสัตว์จะไม่มี อย่างวิตามินบี ๑๒ ที่ว่าไม่มีในพืช ก็สามารถหารับประทานจากเนื้อสัตว์ได้ไม่จำเป็นต้องเครื่องในอย่างเดียว
สรุปคือ เครื่องในกินได้แต่อย่าบ่อยจนเกินไป
ข้อมูล : เดลินิวส์สบาย น้า ๗ ฉบับเดือนมิถุนายน ๒๕๕๕
แสดงความคิดเห็น
ที่ว่าตับเป็นตัวกรองพิษ แบบนี้คนชอบกินเครื่องในบ่อยบ่อยจะตายเรวกว่าคนที่ไม่กินหรอคับ