13 เมษายน 1919: ชาวอินเดียประท้วงต้าน "บังคับเกณฑ์ทหาร-ภาษีสงคราม" ของเจ้าอาณานิคมก่อนถูกสังหารหมู่ตายนับพัน
ในสงครามโลกครั้งที่หนึ่งซึ่งสิ้นสุดลงในเดือนพฤศจิกายน 1918 ทหารอินเดียนับล้านนายถูกส่งไปรบทั้งแนวหน้าและกิจการอื่นให้กับจักรวรรดิอังกฤษ กว่า 1.5 แสนนายได้รับบาดเจ็บ และกว่า 3.6 หมื่นนายต้องเสียชีวิต นอกจากนี้ระหว่างการรบกองทัพจักรวรรดิยังต้องพึ่งพาทรัพยากรจากอินเดียเป็นจำนวนมาก เมื่อสงครามสิ้นสุดลงด้วยชัยชนะชาวอินเดียจำนวนมากจึงคาดหวังว่า การอุทิศตนเพื่อจักรวรรดิน่าจะทำให้พวกเขาได้รับการปฏิบัติที่ดีขึ้น แต่สถานการณ์กลับตรงกันข้าม
หลังสงครามเจ้าหน้าที่อังกฤษที่ทิ้งหน้าที่ในอินเดียเพื่อไปรับภารกิจในแนวหน้า กลับมาประจำตำแหน่งเดิมในอินเดีย อัปเปหิเจ้าหน้าที่ชาวอินเดียที่เข้ามารับหน้าที่แทน ไม่ต่างจากสมัยก่อนสงคราม ทหารอินเดียเมื่อเดินทางกลับจากสมรภูมิและต้องพบว่าพวกเขาไม่ใช่พันธมิตรที่มีค่าของจักรวรรดิอังกฤษอีกต่อไป โดยทหารอินเดียส่วนใหญ่ที่ถูกเกณฑ์ไปรบมาจากรัฐปัญจาบ พื้นที่ที่มีประชากรเพียง 1 ใน 10 แต่กลับมีสัดส่วนทหารร่วมรบกว่าครึ่งหนึ่ง ความผิดหวังดังกล่าวจึงกลายเป็นส่วนหนึ่งที่นำไปสู่การต่อต้านจักรวรรดิอังกฤษอย่างรุนแรงในพื้นที่แห่งนี้เมื่อปี 1919
แต่สิ่งที่ยกระดับความไม่พอใจให้กับชาวอินเดียอีกหลายล้านคนทั่วประเทศคือการบังคับใช้กฎหมายโรวแลตต์ (Rowlatt Acts) ในเดือนกุมภาพันธ์ปี 1919 ที่ร่างขึ้นเพื่อบังคับใช้อย่างถาวร ทดแทนกฎหมายเดิมที่บังคับใช้ในสภาวะสงคราม ซึ่งให้อำนาจอย่างกว้างขวางในการเล่นงานผู้ต้องสงสัยในคดีการเมืองโดยไม่จำเป็นต้องพิจารณาคดี
การประท้วงเกิดขึ้นหลายแห่ง มหาตมะ คานธี ผู้นำชาตินิยมคนสำคัญได้เดินทางเพื่อเข้าร่วมการชุมนุมในปัญจาบหลังมีการจับกุมผู้นำท้องถิ่นหลายคนในช่วงต้นเดือนเมษายน แต่เขาถูกจับกุมระหว่างทางก่อนถูกส่งตัวกลับบอมเบย์ (มุมไบในปัจจุบัน) การประท้วงในอัมริทสาร์ (Amritsar)ของรัฐปัญจาบทวีความรุนแรงยิ่งขึ้นมีการ "เผาบ้านเผาเมือง" ทำให้ชาวอังกฤษหลายคนเสียชีวิต รัฐบาลอาณานิคมจึงส่งตัวนายพลเรจินัลด์ เอ็ดเวิร์ด แฮร์รี ดายเออร์ (Reginald Edward Harry Dyer) เข้าควบคุมสถานการณ์
ในวันที่ 13 เมษายน 1919 ประชาชนนับหมื่นคนได้มารวมตัวกันที่จัลเลียนวาลาบังห์ (Jallianwala Bagh) ลานสาธารณะของเมืองอัมริทสาร์ ซึ่งชาวบ้านต่างถิ่นจำนวนมากก็เดินทางมายังลานแห่งนี้เพื่อร่วมเทศกาลประจำปีของชาวซิกข์ แม้ว่ารัฐบาลจะออกคำสั่งห้ามการชุมนุมก่อนหน้านั้นก็ตาม ทันใดนั้น ดายเออร์ได้สั่งให้เจ้าหน้าที่ทหารราว 50 นายของตนกราดยิงใส่ฝูงชนที่ปราศจากอาวุธเป็นเวลาราว 10-15 นาที ใช้กระสุนไปทั้งสิ้นราว 1,650 นัด โดยไม่มีการเตือนฝูงชนให้สลายการชุมนุมแต่อย่างใด
ตัวเลขของทางการระบุว่า มีผู้เสียชีวิตราว 400 ราย และบาดเจ็บอีกราว 1,200 คน ขณะที่ตัวเลขขององค์กรอิสระในอินเดียประเมินว่าน่าจะมีผู้เสียชีวิตไม่ต่ำกว่า 1,000 ราย เว็บไซต์ History ระบุว่า ผู้เสียชีวิตส่วนใหญ่เป็นกลุ่มชาตินิยมที่ต่อต้านการบังคับใช้กองกำลังทหารอินเดียของรัฐบาลอังกฤษ รวมทั้งการเรียกเก็บภาษีสงครามอย่างสาหัสกับชาวอินเดีย
ดายเออร์ระบุว่า การกระทำของเขาเป็นสิ่งที่จำเป็นเพื่อ "สร้างจิตสำนึกอย่างกว้างขวาง" พร้อมระบุว่าหากเจ้าหน้าที่ยังมีกระสุนเหลืออยู่เขาก็จะปล่อยให้ยิงต่อไป ขณะที่ข้าหลวงใหญ่เคล์มส์เฟิร์ด (Viceroy Chelmsford) แห่งอินเดียมองว่าการกระทำของดายเออร์เป็นการตัดสินใจที่ผิดพลาด
อย่างไรก็ดี แม้ว่าสุดท้ายดายเออร์จะต้องพ้นจากหน้าที่ แต่เมื่อเขาเดินทางกลับประเทศ เขาก็ยังได้รับการต้อนรับอย่างวีรบุรุษโดยเฉพาะจากนักการเมืองสายอนุรักษ์นิยมที่ยกให้เขาเป็น "ผู้กอบกู้ปัญจาบ"
ข้อมูลจาก: Encyclopedia Britannica, History, The New York Times (In India, Queen Bows Her Head Over a Massacre in 1919)
ภาพประกอบ:
1. ลานสาธารณะจัลเลียนวาลาบังห์ในปี 1919 หลังเกิดเหตุสังหารหมู่ (Wikimedia Commons)
2. การประท้วงของชาวซิกข์เพื่อต่อต้านการเสด็จเยือนจัลเลียนวาลาบังห์ของควีนอลิซาเบธที่ 2 ในปี 1997 (AFP PHOTO / STR)
Cr.
https://www.facebook.com/SilpaWattanatham/posts/865641323565261
วันนี้ที่อินเดีย เมื่อ97ปีก่อน
13 เมษายน 1919: ชาวอินเดียประท้วงต้าน "บังคับเกณฑ์ทหาร-ภาษีสงคราม" ของเจ้าอาณานิคมก่อนถูกสังหารหมู่ตายนับพัน
ในสงครามโลกครั้งที่หนึ่งซึ่งสิ้นสุดลงในเดือนพฤศจิกายน 1918 ทหารอินเดียนับล้านนายถูกส่งไปรบทั้งแนวหน้าและกิจการอื่นให้กับจักรวรรดิอังกฤษ กว่า 1.5 แสนนายได้รับบาดเจ็บ และกว่า 3.6 หมื่นนายต้องเสียชีวิต นอกจากนี้ระหว่างการรบกองทัพจักรวรรดิยังต้องพึ่งพาทรัพยากรจากอินเดียเป็นจำนวนมาก เมื่อสงครามสิ้นสุดลงด้วยชัยชนะชาวอินเดียจำนวนมากจึงคาดหวังว่า การอุทิศตนเพื่อจักรวรรดิน่าจะทำให้พวกเขาได้รับการปฏิบัติที่ดีขึ้น แต่สถานการณ์กลับตรงกันข้าม
หลังสงครามเจ้าหน้าที่อังกฤษที่ทิ้งหน้าที่ในอินเดียเพื่อไปรับภารกิจในแนวหน้า กลับมาประจำตำแหน่งเดิมในอินเดีย อัปเปหิเจ้าหน้าที่ชาวอินเดียที่เข้ามารับหน้าที่แทน ไม่ต่างจากสมัยก่อนสงคราม ทหารอินเดียเมื่อเดินทางกลับจากสมรภูมิและต้องพบว่าพวกเขาไม่ใช่พันธมิตรที่มีค่าของจักรวรรดิอังกฤษอีกต่อไป โดยทหารอินเดียส่วนใหญ่ที่ถูกเกณฑ์ไปรบมาจากรัฐปัญจาบ พื้นที่ที่มีประชากรเพียง 1 ใน 10 แต่กลับมีสัดส่วนทหารร่วมรบกว่าครึ่งหนึ่ง ความผิดหวังดังกล่าวจึงกลายเป็นส่วนหนึ่งที่นำไปสู่การต่อต้านจักรวรรดิอังกฤษอย่างรุนแรงในพื้นที่แห่งนี้เมื่อปี 1919
แต่สิ่งที่ยกระดับความไม่พอใจให้กับชาวอินเดียอีกหลายล้านคนทั่วประเทศคือการบังคับใช้กฎหมายโรวแลตต์ (Rowlatt Acts) ในเดือนกุมภาพันธ์ปี 1919 ที่ร่างขึ้นเพื่อบังคับใช้อย่างถาวร ทดแทนกฎหมายเดิมที่บังคับใช้ในสภาวะสงคราม ซึ่งให้อำนาจอย่างกว้างขวางในการเล่นงานผู้ต้องสงสัยในคดีการเมืองโดยไม่จำเป็นต้องพิจารณาคดี
การประท้วงเกิดขึ้นหลายแห่ง มหาตมะ คานธี ผู้นำชาตินิยมคนสำคัญได้เดินทางเพื่อเข้าร่วมการชุมนุมในปัญจาบหลังมีการจับกุมผู้นำท้องถิ่นหลายคนในช่วงต้นเดือนเมษายน แต่เขาถูกจับกุมระหว่างทางก่อนถูกส่งตัวกลับบอมเบย์ (มุมไบในปัจจุบัน) การประท้วงในอัมริทสาร์ (Amritsar)ของรัฐปัญจาบทวีความรุนแรงยิ่งขึ้นมีการ "เผาบ้านเผาเมือง" ทำให้ชาวอังกฤษหลายคนเสียชีวิต รัฐบาลอาณานิคมจึงส่งตัวนายพลเรจินัลด์ เอ็ดเวิร์ด แฮร์รี ดายเออร์ (Reginald Edward Harry Dyer) เข้าควบคุมสถานการณ์
ในวันที่ 13 เมษายน 1919 ประชาชนนับหมื่นคนได้มารวมตัวกันที่จัลเลียนวาลาบังห์ (Jallianwala Bagh) ลานสาธารณะของเมืองอัมริทสาร์ ซึ่งชาวบ้านต่างถิ่นจำนวนมากก็เดินทางมายังลานแห่งนี้เพื่อร่วมเทศกาลประจำปีของชาวซิกข์ แม้ว่ารัฐบาลจะออกคำสั่งห้ามการชุมนุมก่อนหน้านั้นก็ตาม ทันใดนั้น ดายเออร์ได้สั่งให้เจ้าหน้าที่ทหารราว 50 นายของตนกราดยิงใส่ฝูงชนที่ปราศจากอาวุธเป็นเวลาราว 10-15 นาที ใช้กระสุนไปทั้งสิ้นราว 1,650 นัด โดยไม่มีการเตือนฝูงชนให้สลายการชุมนุมแต่อย่างใด
ตัวเลขของทางการระบุว่า มีผู้เสียชีวิตราว 400 ราย และบาดเจ็บอีกราว 1,200 คน ขณะที่ตัวเลขขององค์กรอิสระในอินเดียประเมินว่าน่าจะมีผู้เสียชีวิตไม่ต่ำกว่า 1,000 ราย เว็บไซต์ History ระบุว่า ผู้เสียชีวิตส่วนใหญ่เป็นกลุ่มชาตินิยมที่ต่อต้านการบังคับใช้กองกำลังทหารอินเดียของรัฐบาลอังกฤษ รวมทั้งการเรียกเก็บภาษีสงครามอย่างสาหัสกับชาวอินเดีย
ดายเออร์ระบุว่า การกระทำของเขาเป็นสิ่งที่จำเป็นเพื่อ "สร้างจิตสำนึกอย่างกว้างขวาง" พร้อมระบุว่าหากเจ้าหน้าที่ยังมีกระสุนเหลืออยู่เขาก็จะปล่อยให้ยิงต่อไป ขณะที่ข้าหลวงใหญ่เคล์มส์เฟิร์ด (Viceroy Chelmsford) แห่งอินเดียมองว่าการกระทำของดายเออร์เป็นการตัดสินใจที่ผิดพลาด
อย่างไรก็ดี แม้ว่าสุดท้ายดายเออร์จะต้องพ้นจากหน้าที่ แต่เมื่อเขาเดินทางกลับประเทศ เขาก็ยังได้รับการต้อนรับอย่างวีรบุรุษโดยเฉพาะจากนักการเมืองสายอนุรักษ์นิยมที่ยกให้เขาเป็น "ผู้กอบกู้ปัญจาบ"
ข้อมูลจาก: Encyclopedia Britannica, History, The New York Times (In India, Queen Bows Her Head Over a Massacre in 1919)
ภาพประกอบ:
1. ลานสาธารณะจัลเลียนวาลาบังห์ในปี 1919 หลังเกิดเหตุสังหารหมู่ (Wikimedia Commons)
2. การประท้วงของชาวซิกข์เพื่อต่อต้านการเสด็จเยือนจัลเลียนวาลาบังห์ของควีนอลิซาเบธที่ 2 ในปี 1997 (AFP PHOTO / STR)
Cr.https://www.facebook.com/SilpaWattanatham/posts/865641323565261