สำหรับชมพูทวีปแล้วนับเป็นดินแดนที่อุดมค่ายิ่งนักสำหรับชาติตะวันตก ที่นี่มีทุกอย่างที่ยุโรปไม่มี ทั้ง งาช้าง เครื่องเทศ และอื่นๆอีกมากมายเหลือคณานับ นับตั้งแต่ยุคสำรวจทางทะเลเป็นต้นมา เหล่านักเดินเรือทั้ง โปรตุเกส ดัตช์ อังกฤษ เริ่มเข้ามาตั้งสถานีการค้าเพื่อทำการค้าขายกับเหล่า อาณาจักรในดินแดนแห่งนี้ อังกฤษก็เป็นชาติหนึ่งเช่นกันที่เข้ามาค้าขายที่นี่ โดยพวกเขานั้นได้ทำการตั้งบริษัท British East India Company หรือ อินเดียตะวัยออก เพื่อค้าขายโดยเฉพาะ บริษัทนั้นได้ตั้งสถานีการค้ามั่นคงที่ Fort St. George ใน Madras ทางตะวันออกเฉียงใต้ของอินเดีย และอีกที่ ใน Fort William ใน Calcutta ใกล้กับบังกลาเทศในปัจจุบัน แต่แน่นอนว่าคู่ปรับตลอดกาลของอังกฤษอย่างฝรั่งเศสก็จ้องจะขยายอาณาเขตเข้ามาในดินแดนแห่งนี้ด้วยเช่นกัน
ทางฝรั่งเศสนั้น ก็ตั้งบริษัท French East India Company ขึ้นมาแข่งกับอังกฤษ โดยมีอิทธิพลในแถบๆอ่าวเบงกอล ในขณะเดียวกันทางภาคพื้นยุโรปทั้ง 2 ชาตินี้ก็ทำสงครามขับเคี่ยวกันมาตลอด ไม่ว่าจะสงครามสืบสันติวงศ์สเปน สงคราม 9 ปี และ อื่นๆ จนกระทั่งสงคราม สงครามสืบสันติวงศ์ออสเตรีย จบลงในปี ค.ศ.1748 ก็ได้มีการร่างสนธิสัญญา Aix-la-Chapelle กันไม่ให้ 2 ชาตินี้เข้าห่ำหันกันตรงๆ เสมือนเป็นการให้ถอยคนละก้าว แต่แทนที่ทั้ง 2 ชาติจะเลิกกัดกันพวกเขาเลยทำสิ่งที่เรียกว่า "สงครามเย็น" แทน
สถานีการค้าของชาติยุโรปในชมพูทวีป
ไม่ได้ประชดแต่อย่างใดครับ เพราะทั้งอังกฤษ ฝรั่งเศส ต่างเริ่มสร้างป้อม คู มากมายในอินเดียเสมือนเป็นการขู่กัน และด้วยความที่อินเดียในตอนนั้นแตกเป็นอาณาจักรยิบย่อยๆมากมาย อังกฤษและฝรั่งเศสก็เลือกเสี้ยมให้เหล่า ราชาผู้ปกครองอาณาจักรเหล่านี้ตีกัน เช่น ราชาคนนี้โปรฝรั่งเศสก็ไปตีกับราชาโปรอังกฤษเป็นต้น
แต่แล้วในปี ค.ศ.1756 Alwardi Khan ราชาแห่งรัฐเบงกอลตาย ลูกชายของเขา Siraj-ud-daulah วัย 23 ปี ขึ้นครองบัลลังก์ Siraj นั้นค่อนข้างเอนเอียงไปทางฝรั่งเศส เขามองว่าการที่อังกฤษสร้างป้อมในแถบ Calcutta นั้นเป็นภัยต่อตน (Calcutta นั้นอยู่ในแถบเบงกอลใกล้เขตอิทธิพลของ Siraj) เขาจึงสั่งให้คนของบริษัทที่รักษาการณ์ที่นั้นหยุดกิจกรรมทั้งหมดที่ดำเนินอยู่ ปรากฎว่าทางบริษัทปฎิเสธ เขาจึงส่งกองทัพกว่า 3,000 คนไปล้อมป้อม ซึ่งในป้อมนั้นมีทหารชาวยุโรปเพียง 180 คนเท่านั้น พวกเขาตัดสินใจยอมแพ้ในวันที่ 16 มิถุนายน ของปีเดียวกัน เหล่าทหารของบริษัททั้งหมดถูกนำไปขังในคุกใต้ดินของ Fort William ใน Calcutta ซึ่งได้ชื่อว่า หลุมดำ (เพราะมันแคบและมืดมาก) พวกเขาถูกปล่อยให้อดอาหารและน้ำ ในวันที่ 21 มิถุนายน มีผู้รอดชีวิตเพียง 23 นาย เท่านั้น ในขณะที่ Calcutta และ บริษัทของอังกฤษทั้งหลายก็ถูกพวกอินเดียปล้นสะดม
ข่าวสถานีการค้าของอังกฤษใน Calcutta แตกถึง บริษัทใน Madras พวกเขาต้องการแก้ไขสถานการณ์โดยด่วน พวกเขาส่ง พันเอก Robert Clive พร้อมกับทหารอังกฤษ 900 นาย และ ทหารพื้นเมืองอินเดีย 1,500 นาย ไปยังเบงกอล พร้อมด้วยสาส์นจากทางบริษัทว่า
"เป้าหมายของการเดินทางครั้งนี้หาใช้การสู้รบและสถาปนาเมืองใหม่ไม่ แต่เป็นทำให้บริษัทของเรานั้นเป็นที่รู้จักอย่างกว้างขวางและบริษัทจะต้องได้รับค่าชดใช้จากการกระทำนี้"
แม้ในตอนแรกจุดประสงค์ของการเดินทางไปพร้อมกับกำลังทหารเพียงหยิบมือเท่านี้จะมิใช่การสู้รบ แต่สิ่งที่ตามมาหลังจากนี้นั้นอาจจะเกินกว่าที่ใครหลายๆคนจะคาดถึงแม้แต่ Robert Clive ก็ตาม
ในวันที่ 15 ธันวาคม ค.ศ.1756 เขาได้เดินทางถึงแม่น้ำ Hooghly และได้พบกับคนของบริษัทที่ลี้ภัยมาในหมู่บ้าน Falta และวันที่ 2 มกราคม ค.ศ.1757 Clive เข้าล้อมกรุง Calcutta ซึ่งมีทหาร เบงกอล อยู่ประมาณ 500 คน พวกเขาตัดสินใจยอมแพ้ Calcutta จึงตกไปอยู่ในมือบริษัทอีกครั้ง Siraj เมื่อรู้ข่าวการมาเยือนของทหารอังกฤษจึงรีบเตรียมทัพเป็นการด่วน กองทัพเบงกอล มาถึง Calcutta ในวันที่ 4 กุมภาพันธ์ โดยผมไม่แน่ใจเรื่องจำนวนแต่คาดว่าเยอะกว่าของ Clive แน่นอน แต่ Clive ก็ตัดสินใจอย่างบ้าบิ่นโดยการเข้าโจมตีค่ายของ Siraj อย่างฉับพลันในตอนเช้าตรู่ 6 โมง หมอกยังลงจัด กะลาสีเรือ 600 ทหารอังกฤษ 600 ทหารพื้นเมืองซีปอย 800 และปืนใหญ่อีก 4 กระบอก กองทัพของ Siraj ตกอยู่ในความสับสนอลม่าน ม้าวิ่งพล่านไปทั่วค่าย สุดท้ายเขาก็ถอยทัพ...
ฝั่งบริษัทเสียทหารไป 57 นาย ส่วนฝั่งเบงกอลเสียทหารไป 600 นาย ช้างศึก 4 เชือก ทหารม้า 500 นาย และวัวกับอูฐอีกจำนวนมากถูกยึดได้ ฝั่ง Siraj นั้นเกิดอาการกลัวอังกฤษขึ้นมาเลยยอมลงสนธิสัญญา Alinagar ในวันที่ 5 กุมภาพันธ์ ว่าด้วยการสิทธิ์ทุกอย่างคืนให้บริษัทและจะยอมจ่ายค่าชดใช้ให้ทุกอย่าง...
แต่แล้วเหตุการณ์ที่สั่นสะเทือนไปทั่วทั้งโลกก็เกิดขึ้นนั้นคือ สงคราม 7 ปี (รายละเอียดเป็นไงใครอยากรู้ถามหลังไมค์ได้ครับ) อันทำให้อังกฤษ กับ ฝรั่งเศส ฉะกันตรงๆได้อีกครั้ง Clive จะโจมตีป้อมของฝรั่งเศสที่ Chandernagar เขาส่งข้อความไปหา Siraj บอกถึงจุดประสงค์ในการโจมตีว่าไม่ได้เกี่ยวกับทางเบงกอลแต่อย่างใด แต่ทาง Siraj ให้คำตอบกำกวมๆเข้าใจหรือไม่ก็ไม่ทราบกระนั้น Clive ตัดสินใจโจมตี ในที่สุดเมืองก็ถูกยึดในวันที่ 24 มีนาคม ค.ศ. 1757 ถึงเวลานี้บริษัทเรียกตัว Clive กลับ แต่ Clive กับไม่ปฎิบัติตามคำสั่งเขาอยู่ที่เบงกอลต่อ ในขณะเดียวกันทาง Siraj นั้นคาดว่า จักรพรรดิโมกุลไม่อนุญาตให้บริษัท บริติชอินเดีย ขยายอาณาเขตในแถบเบงกอล (คือเอาจริงๆรัฐเบงกอลนั้นอยู่ใต้จักรวรรดิโมกุล แต่พวกราชาแต่ละรัฐก็ดูจะมีอิสระเหลือเกิน)
ทาง Siraj นั้นโกธรมากสั่งระดมพลเป็นการใหญ่นอกจากนี้ยังติดต่อลับๆกับ Jean Law เจ้าของกิจการฝรั่งเศสเพื่อต้องการความช่วยเหลือ และได้ย้ายกำลังไปที่ หมู่บ้าน Plassey (อ่านว่า ปลาศี) ริมฝั่งแม่น้ำ Bhagirathi ใต้กรุง Murshidabad เมืองหลวงของเบงกอล แต่ดูเหมือนแม่ทัพนายกองและพ่อค้าชนชั้นสูงหลายคนใน รัฐเบงกอล ดูจะไม่พอใจใน Siraj เนื่องจากพวกเขานั้นมีฐานะร่ำรวยจากการค้าขายกับบริษัท ทาง William Watts ตัวแทนบริษัทแจ้งเรื่องนี้ให้ Clive ทราบ มีทั้ง Mir Jafar, 1ในแม่ทัพเบงกอล Rai Durlabh, Yar Lutuf Khan และ Omichund ล้วนเป็นพ่อค้าและผู้มีอิทธิพลในเบงกอล พวกเขาได้ทำการติดต่ออย่างลับๆกับบริษัท Mir Jafar นั้นตกลงกับ Clive ว่าหากช่วยในการรบจะมอบตำแหน่ง ราชาแห่งเบงกอลให้และให้เงินเป็นจำนวนหนึ่ง
เป็นอันว่าในตอนนี้กำลังมีเกลือเป็นหนอนในกองทัพของ Siraj ซึ่งนี้จะเป็นจุกพลิกผัน 1 ในสงครามครั้งนี้
Robert Clive ในภายหลังได้รับบรรดาศักดิ์ เป็นบารอน ได้ดำรงตำแหน่ง ผู้บัญชาการทหารสูงสุดของบริษัทอินเดียตะวันออก และเขายังเคยเป็นโจรสลัดรัฐบาลหรือ Privateer มาก่อน แต่ทุกคนรู้จักเขาในนาม "Clive แห่งอินเดีย"
วันที่ 12 มิถุนายน ค.ศ.1757 Clive ได้รวมกำลังพลทั้งหมดที่มีราวๆ 3,000 นาย เป็นทหารอังกฤษ 750 นาย จากกรมทหารราบที่ 39 ทหารพื้นเมือง Sepoy 2,100 นาย ทหารปืนใหญ่ 100 นาย พร้อมปืนใหญ่ 6 ปอนด์ 8 กระบอก ทหารเรืออีก 50 นาย โดยเดินทางไปที่ Murshidabad เมืองหลวงรัฐเบงกอล Clive ประกาศสงครามกับ Siraj ในวันที่ 14 มิถุนายน ทางฝากฝั่งกองทัพเบงกอลกว่าจะรวมพลพร้อมเสร็จจริงกว่าวันที่ 21 มิถุนายน …วันที่ 16 มิถุนายน Clive เข้าโจมตีเมือง Paltee ทางเหนือ Murshidabad ซ่งเป็นแหล่งเก็บเสบียง แลเข้า ยึดป้อม Katwa ได้อย่างรวดเร็วในวันที่ 19 มิถุนายน
แต่แล้วทางพันธมิตรลับของพวกเขา Mir Jafar ส่งข่าวมาว่า กองทัพของ Siraj นั้นมีมากมายมหาศาลนัก เขาแนะนำให้ Clive ถอยไปอยู่ที่ Cossimbazar เป็นเกาะกลางแม่น้ำ Bhagirathi เหมาะกับการตั้งรับ หรือตั้งทัพรอที่ป้อม Katwa แล้วรอกองหนุนหรือขอความช่วยเหลือจากราชาแคว้นอื่นของโมกุล ทาง Clive นั้นเลือกทางแรกเขาถอนกำลังข้ามแม่น้ำ Bhagirathi ไป เวลาตี 1 วันที่ 23 มิถุนายน Clive มาถึงจุดหมาย เขารีบยึดบริเวณหมู่บ้าน Plessey บริเวณนั้นเป็นสวนมะม่วง มีทั้งกำแพงโคลนและอุปสรรคต่างๆเหมาะกับการตั้งรับ Clive เลือกตั้งกองบัญชาการเป็นกรท่อมล่าสัตว์แถวนั้น ตัว ทางปีกซ้ายของเขาเป็นแม่น้ำ ส่วนทางเหนือเป็นป่า…..ห่างออกไปไม่กี่ไมล์เป็นที่ตั้งของกองทัพเบงกอล Siraj มีปีกขวาสุดเป็นแม่น้ำโดยมีทั้งป่าและมีเนินเขาเตี้ยๆอยู่ ด้านหลัง รวมทั้งมีอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่สูงเหมาะแก่การตั้งฐานปืนใหญ่ กล่าวกันว่ากองทัพเบงกอลมีทหารราบถึง 30,000 นาย มีอาวุธ ครบมือทั้ง ดาบ หอก ปืนไฟ matchlocks และทหารม้าอีก 20,000 นาย ปืนใหญ่ 53 กระบอก รวมถึงทหารปืนใหญ่ฝรั่งเศสอีก 50 นาย พร้อมปืนใหญ่ 6 กระบอก ฝรั่งเศสจัดกำลังปืนใหญ่ไว้บน อ่างเก็บน้ำ ส่วนบริเวณด้านหลังป่าเป็นทหารราบ 5,000 นาย ทหารม้า 7,000 นาย ใต้การบัญชาของ Mir Madan Khan Diwan Mohanlal ส่วนกำลังที่เหลือราวๆ 45,000 นาย วางเรียงรายไปตามเดินเขาด้านหลัง Saraj วางกำลังค่อนค้างโค้งตัวเตรียมปิดล้อมกำลังของ Clive ที่เล็กกว่ามาก กลางกองทัพมีแม่ทัพ Yar Lutuf Khan บัญชาการ ปีกขวาเป็น Rai Durlabh ส่วนปีกซ้าย เป็น Mir Jafar อยู่ใกล้กับกองทัพอังกฤษสุด ทางอังกฤษนั้นได้จัดกำลังตั้งรับ โดยให้กรมทหารราบที่ 39 อยู่ตรงกลางพร้อมปืนใหญ่อยู่ทั้งปีกซ้ายขวาหลังแนวกำแพงอิฐ ส่วนกองทหารซีปอยนั้นอยู่ปีกซ้ายขวาเช่นกัน
Battle of Plassey จุดเริ่มต้นการยึดครองชมพูทวีปของจักรวรรดิอังกฤษ
ทางฝรั่งเศสนั้น ก็ตั้งบริษัท French East India Company ขึ้นมาแข่งกับอังกฤษ โดยมีอิทธิพลในแถบๆอ่าวเบงกอล ในขณะเดียวกันทางภาคพื้นยุโรปทั้ง 2 ชาตินี้ก็ทำสงครามขับเคี่ยวกันมาตลอด ไม่ว่าจะสงครามสืบสันติวงศ์สเปน สงคราม 9 ปี และ อื่นๆ จนกระทั่งสงคราม สงครามสืบสันติวงศ์ออสเตรีย จบลงในปี ค.ศ.1748 ก็ได้มีการร่างสนธิสัญญา Aix-la-Chapelle กันไม่ให้ 2 ชาตินี้เข้าห่ำหันกันตรงๆ เสมือนเป็นการให้ถอยคนละก้าว แต่แทนที่ทั้ง 2 ชาติจะเลิกกัดกันพวกเขาเลยทำสิ่งที่เรียกว่า "สงครามเย็น" แทน
ไม่ได้ประชดแต่อย่างใดครับ เพราะทั้งอังกฤษ ฝรั่งเศส ต่างเริ่มสร้างป้อม คู มากมายในอินเดียเสมือนเป็นการขู่กัน และด้วยความที่อินเดียในตอนนั้นแตกเป็นอาณาจักรยิบย่อยๆมากมาย อังกฤษและฝรั่งเศสก็เลือกเสี้ยมให้เหล่า ราชาผู้ปกครองอาณาจักรเหล่านี้ตีกัน เช่น ราชาคนนี้โปรฝรั่งเศสก็ไปตีกับราชาโปรอังกฤษเป็นต้น
แต่แล้วในปี ค.ศ.1756 Alwardi Khan ราชาแห่งรัฐเบงกอลตาย ลูกชายของเขา Siraj-ud-daulah วัย 23 ปี ขึ้นครองบัลลังก์ Siraj นั้นค่อนข้างเอนเอียงไปทางฝรั่งเศส เขามองว่าการที่อังกฤษสร้างป้อมในแถบ Calcutta นั้นเป็นภัยต่อตน (Calcutta นั้นอยู่ในแถบเบงกอลใกล้เขตอิทธิพลของ Siraj) เขาจึงสั่งให้คนของบริษัทที่รักษาการณ์ที่นั้นหยุดกิจกรรมทั้งหมดที่ดำเนินอยู่ ปรากฎว่าทางบริษัทปฎิเสธ เขาจึงส่งกองทัพกว่า 3,000 คนไปล้อมป้อม ซึ่งในป้อมนั้นมีทหารชาวยุโรปเพียง 180 คนเท่านั้น พวกเขาตัดสินใจยอมแพ้ในวันที่ 16 มิถุนายน ของปีเดียวกัน เหล่าทหารของบริษัททั้งหมดถูกนำไปขังในคุกใต้ดินของ Fort William ใน Calcutta ซึ่งได้ชื่อว่า หลุมดำ (เพราะมันแคบและมืดมาก) พวกเขาถูกปล่อยให้อดอาหารและน้ำ ในวันที่ 21 มิถุนายน มีผู้รอดชีวิตเพียง 23 นาย เท่านั้น ในขณะที่ Calcutta และ บริษัทของอังกฤษทั้งหลายก็ถูกพวกอินเดียปล้นสะดม
ข่าวสถานีการค้าของอังกฤษใน Calcutta แตกถึง บริษัทใน Madras พวกเขาต้องการแก้ไขสถานการณ์โดยด่วน พวกเขาส่ง พันเอก Robert Clive พร้อมกับทหารอังกฤษ 900 นาย และ ทหารพื้นเมืองอินเดีย 1,500 นาย ไปยังเบงกอล พร้อมด้วยสาส์นจากทางบริษัทว่า
"เป้าหมายของการเดินทางครั้งนี้หาใช้การสู้รบและสถาปนาเมืองใหม่ไม่ แต่เป็นทำให้บริษัทของเรานั้นเป็นที่รู้จักอย่างกว้างขวางและบริษัทจะต้องได้รับค่าชดใช้จากการกระทำนี้"
แม้ในตอนแรกจุดประสงค์ของการเดินทางไปพร้อมกับกำลังทหารเพียงหยิบมือเท่านี้จะมิใช่การสู้รบ แต่สิ่งที่ตามมาหลังจากนี้นั้นอาจจะเกินกว่าที่ใครหลายๆคนจะคาดถึงแม้แต่ Robert Clive ก็ตาม
ในวันที่ 15 ธันวาคม ค.ศ.1756 เขาได้เดินทางถึงแม่น้ำ Hooghly และได้พบกับคนของบริษัทที่ลี้ภัยมาในหมู่บ้าน Falta และวันที่ 2 มกราคม ค.ศ.1757 Clive เข้าล้อมกรุง Calcutta ซึ่งมีทหาร เบงกอล อยู่ประมาณ 500 คน พวกเขาตัดสินใจยอมแพ้ Calcutta จึงตกไปอยู่ในมือบริษัทอีกครั้ง Siraj เมื่อรู้ข่าวการมาเยือนของทหารอังกฤษจึงรีบเตรียมทัพเป็นการด่วน กองทัพเบงกอล มาถึง Calcutta ในวันที่ 4 กุมภาพันธ์ โดยผมไม่แน่ใจเรื่องจำนวนแต่คาดว่าเยอะกว่าของ Clive แน่นอน แต่ Clive ก็ตัดสินใจอย่างบ้าบิ่นโดยการเข้าโจมตีค่ายของ Siraj อย่างฉับพลันในตอนเช้าตรู่ 6 โมง หมอกยังลงจัด กะลาสีเรือ 600 ทหารอังกฤษ 600 ทหารพื้นเมืองซีปอย 800 และปืนใหญ่อีก 4 กระบอก กองทัพของ Siraj ตกอยู่ในความสับสนอลม่าน ม้าวิ่งพล่านไปทั่วค่าย สุดท้ายเขาก็ถอยทัพ...
ฝั่งบริษัทเสียทหารไป 57 นาย ส่วนฝั่งเบงกอลเสียทหารไป 600 นาย ช้างศึก 4 เชือก ทหารม้า 500 นาย และวัวกับอูฐอีกจำนวนมากถูกยึดได้ ฝั่ง Siraj นั้นเกิดอาการกลัวอังกฤษขึ้นมาเลยยอมลงสนธิสัญญา Alinagar ในวันที่ 5 กุมภาพันธ์ ว่าด้วยการสิทธิ์ทุกอย่างคืนให้บริษัทและจะยอมจ่ายค่าชดใช้ให้ทุกอย่าง...
แต่แล้วเหตุการณ์ที่สั่นสะเทือนไปทั่วทั้งโลกก็เกิดขึ้นนั้นคือ สงคราม 7 ปี (รายละเอียดเป็นไงใครอยากรู้ถามหลังไมค์ได้ครับ) อันทำให้อังกฤษ กับ ฝรั่งเศส ฉะกันตรงๆได้อีกครั้ง Clive จะโจมตีป้อมของฝรั่งเศสที่ Chandernagar เขาส่งข้อความไปหา Siraj บอกถึงจุดประสงค์ในการโจมตีว่าไม่ได้เกี่ยวกับทางเบงกอลแต่อย่างใด แต่ทาง Siraj ให้คำตอบกำกวมๆเข้าใจหรือไม่ก็ไม่ทราบกระนั้น Clive ตัดสินใจโจมตี ในที่สุดเมืองก็ถูกยึดในวันที่ 24 มีนาคม ค.ศ. 1757 ถึงเวลานี้บริษัทเรียกตัว Clive กลับ แต่ Clive กับไม่ปฎิบัติตามคำสั่งเขาอยู่ที่เบงกอลต่อ ในขณะเดียวกันทาง Siraj นั้นคาดว่า จักรพรรดิโมกุลไม่อนุญาตให้บริษัท บริติชอินเดีย ขยายอาณาเขตในแถบเบงกอล (คือเอาจริงๆรัฐเบงกอลนั้นอยู่ใต้จักรวรรดิโมกุล แต่พวกราชาแต่ละรัฐก็ดูจะมีอิสระเหลือเกิน)
ทาง Siraj นั้นโกธรมากสั่งระดมพลเป็นการใหญ่นอกจากนี้ยังติดต่อลับๆกับ Jean Law เจ้าของกิจการฝรั่งเศสเพื่อต้องการความช่วยเหลือ และได้ย้ายกำลังไปที่ หมู่บ้าน Plassey (อ่านว่า ปลาศี) ริมฝั่งแม่น้ำ Bhagirathi ใต้กรุง Murshidabad เมืองหลวงของเบงกอล แต่ดูเหมือนแม่ทัพนายกองและพ่อค้าชนชั้นสูงหลายคนใน รัฐเบงกอล ดูจะไม่พอใจใน Siraj เนื่องจากพวกเขานั้นมีฐานะร่ำรวยจากการค้าขายกับบริษัท ทาง William Watts ตัวแทนบริษัทแจ้งเรื่องนี้ให้ Clive ทราบ มีทั้ง Mir Jafar, 1ในแม่ทัพเบงกอล Rai Durlabh, Yar Lutuf Khan และ Omichund ล้วนเป็นพ่อค้าและผู้มีอิทธิพลในเบงกอล พวกเขาได้ทำการติดต่ออย่างลับๆกับบริษัท Mir Jafar นั้นตกลงกับ Clive ว่าหากช่วยในการรบจะมอบตำแหน่ง ราชาแห่งเบงกอลให้และให้เงินเป็นจำนวนหนึ่ง
เป็นอันว่าในตอนนี้กำลังมีเกลือเป็นหนอนในกองทัพของ Siraj ซึ่งนี้จะเป็นจุกพลิกผัน 1 ในสงครามครั้งนี้
วันที่ 12 มิถุนายน ค.ศ.1757 Clive ได้รวมกำลังพลทั้งหมดที่มีราวๆ 3,000 นาย เป็นทหารอังกฤษ 750 นาย จากกรมทหารราบที่ 39 ทหารพื้นเมือง Sepoy 2,100 นาย ทหารปืนใหญ่ 100 นาย พร้อมปืนใหญ่ 6 ปอนด์ 8 กระบอก ทหารเรืออีก 50 นาย โดยเดินทางไปที่ Murshidabad เมืองหลวงรัฐเบงกอล Clive ประกาศสงครามกับ Siraj ในวันที่ 14 มิถุนายน ทางฝากฝั่งกองทัพเบงกอลกว่าจะรวมพลพร้อมเสร็จจริงกว่าวันที่ 21 มิถุนายน …วันที่ 16 มิถุนายน Clive เข้าโจมตีเมือง Paltee ทางเหนือ Murshidabad ซ่งเป็นแหล่งเก็บเสบียง แลเข้า ยึดป้อม Katwa ได้อย่างรวดเร็วในวันที่ 19 มิถุนายน
แต่แล้วทางพันธมิตรลับของพวกเขา Mir Jafar ส่งข่าวมาว่า กองทัพของ Siraj นั้นมีมากมายมหาศาลนัก เขาแนะนำให้ Clive ถอยไปอยู่ที่ Cossimbazar เป็นเกาะกลางแม่น้ำ Bhagirathi เหมาะกับการตั้งรับ หรือตั้งทัพรอที่ป้อม Katwa แล้วรอกองหนุนหรือขอความช่วยเหลือจากราชาแคว้นอื่นของโมกุล ทาง Clive นั้นเลือกทางแรกเขาถอนกำลังข้ามแม่น้ำ Bhagirathi ไป เวลาตี 1 วันที่ 23 มิถุนายน Clive มาถึงจุดหมาย เขารีบยึดบริเวณหมู่บ้าน Plessey บริเวณนั้นเป็นสวนมะม่วง มีทั้งกำแพงโคลนและอุปสรรคต่างๆเหมาะกับการตั้งรับ Clive เลือกตั้งกองบัญชาการเป็นกรท่อมล่าสัตว์แถวนั้น ตัว ทางปีกซ้ายของเขาเป็นแม่น้ำ ส่วนทางเหนือเป็นป่า…..ห่างออกไปไม่กี่ไมล์เป็นที่ตั้งของกองทัพเบงกอล Siraj มีปีกขวาสุดเป็นแม่น้ำโดยมีทั้งป่าและมีเนินเขาเตี้ยๆอยู่ ด้านหลัง รวมทั้งมีอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่สูงเหมาะแก่การตั้งฐานปืนใหญ่ กล่าวกันว่ากองทัพเบงกอลมีทหารราบถึง 30,000 นาย มีอาวุธ ครบมือทั้ง ดาบ หอก ปืนไฟ matchlocks และทหารม้าอีก 20,000 นาย ปืนใหญ่ 53 กระบอก รวมถึงทหารปืนใหญ่ฝรั่งเศสอีก 50 นาย พร้อมปืนใหญ่ 6 กระบอก ฝรั่งเศสจัดกำลังปืนใหญ่ไว้บน อ่างเก็บน้ำ ส่วนบริเวณด้านหลังป่าเป็นทหารราบ 5,000 นาย ทหารม้า 7,000 นาย ใต้การบัญชาของ Mir Madan Khan Diwan Mohanlal ส่วนกำลังที่เหลือราวๆ 45,000 นาย วางเรียงรายไปตามเดินเขาด้านหลัง Saraj วางกำลังค่อนค้างโค้งตัวเตรียมปิดล้อมกำลังของ Clive ที่เล็กกว่ามาก กลางกองทัพมีแม่ทัพ Yar Lutuf Khan บัญชาการ ปีกขวาเป็น Rai Durlabh ส่วนปีกซ้าย เป็น Mir Jafar อยู่ใกล้กับกองทัพอังกฤษสุด ทางอังกฤษนั้นได้จัดกำลังตั้งรับ โดยให้กรมทหารราบที่ 39 อยู่ตรงกลางพร้อมปืนใหญ่อยู่ทั้งปีกซ้ายขวาหลังแนวกำแพงอิฐ ส่วนกองทหารซีปอยนั้นอยู่ปีกซ้ายขวาเช่นกัน