ถ้าถึงขั้นต้องออกไปรบกับพวกว้าตามชายแดนที่เป็นข่าวอยู่ในขณะนี้
ทหารที่มีโอกาสออกไปรบ กองทัพภาคที่ 3
1.มีกองพลทหารราบ 2 กองพล คือกองพลทหารราบที่ 7 ซึ่งถูกจัดตั้งใหม่ แต่ล่าสุดถูกปรับไปเป็นกองพลสำรองแล้ว จึงคงเหลือกองพลหลักเพียงกองพลเดียวคือกองพลทหารราบที่ 4 ซึ่งมีหน่วยขึ้นตรงคือกรมทหารราบที่ 4 (ร.4) ค่ายจิรประวัติ จังหวัดนครสวรรค์,
2. กรมทหารราบที่ 7 (ร.7) ค่ายกาวิละ จังหวัดเชียงใหม่
3.กรมทหารราบที่ 14 (ร.14) ค่ายวชิรปราการ จังหวัดตาก
4.กองพลทหารม้าที่ 1 ซึ่งมีกรมทหารม้าที่ 2 (ม.2) ค่ายพระยาพิชัยดาบหัก จังหวัดอุตรดิตถ์
5.กรมทหารม้าที่ 3 (ม.3) ค่ายพ่อขุนผาเมือง จังหวัดเพชรบูรณ์ อยู่ใต้การบังคับบัญชา
ทั้งนี้ ในสถานการณ์ที่ต้องการใช้กำลังอย่างรวดเร็ว กองทัพภาคที่ 3 มีหน่วย Rapid Deployment Force หรือ RDF ประจำกองทัพภาคคือ กองพันทหารราบที่ 1 กรมทหารราบที่ 7 (ร.7 พัน.1) ที่อยู่ในสถานะเตรียมพร้อมวางกำลังตลอดเวลาซึ่งสามารถใช้งานได้ทันที
ปืนใหญ่ที่จะสนับสนุนได้มีสองแบบ คือปืนใหญ่ขนาด 105 มม. ซึ่งเป็นปืนใหญ่ที่มีระยะยิงไม่ไกลคือไม่เกิน 20 กิโลเมตร สามารถเคลื่อนที่ได้โดยใช้เฮลิคอปเตอร์ยก โดยมักจะใช้เพื่อสนับสนุนหน่วยทหารที่ต้องใช้กำลังโดยตรง ในกรณีนี้อาจจัดปืนใหญ่จากกองพันทหารปืนใหญ่ที่ 7 กรมทหารปืนใหญ่ที่ 4 (ป.7 พัน.4) ค่ายพระปิ่นเกล้า จังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งใช้ปืนใหญ่แบบ M101 เข้ามาสนับสนุนได้
ปืนใหญ่อีกแบบหนึ่งก็คือปืนใหญ่ขนาด 1555 มม. ซึ่งเป็นปืนที่มีขนาดใหญ่ มีระยะยิงไกลสุด 40 กิโลเมตร จะใช้ในการช่วยสนับสนุนโดยรวมตามแต่ร้องขอ ซึ่งสามารถจัดจากกองพันทหารปืนใหญ่ที่ 104 กรมทหารปืนใหญ่ที่ 4 (ป.4 พัน.104) ค่ายสมเด็จพระเอกาทศรถ จังหวัดพิษณุโลก ซึ่งใช้ปืนใหญ่แบบ M198 เข้าสนับสนุนได้ แต่ปืนใหญ่แบบนี้เป็นปืนใหญ่ลากจูง คือต้องใช้รถบรรทุกลากปืนใหญ่เข้าที่ตั้ง ถ้ากองทัพภาคที่ 3 ต้องการความคล่องแคล่วในการยิงและย้ายที่ตั้งปืนใหญ่ ก็สามารถใช้ปืนใหญ่อัตตาจรซึ่งเป็นปืนใหญ่ที่ติดบนรถบรรทุกได้ โดยอาจต้องดึงมาจากกองพันทหารปืนใหญ่ที่ 20 กรมทหารปืนใหญ่ที่ 21 (ป.21 พัน.20) ค่ายพระศรีพนมมาศ จังหวัดอุตรดิตถ์ ซึ่งใช้ปืนใหญ่แบบ ATMG มาสนับสนุน
แต่เนื่องจากภูมิประเทศที่กองทัพว้าเลือกตั้งฐานนั้นเป็นภูเขาสูง ทำให้มีข้อจำกัดค่อนข้างมากในการใช้ยานเกราะ โดยเฉพาะรถถัง ดังนั้นหน่วยที่ใช้ยานเกราะอาจเป็นหน่วยสนับสนุน หรือใช้ทำการรบแบบทหารราบแทน
https://thestandard.co/thailand-wa-troops-border-conflict-strategy/
ถ้าต้องรบกับว้าจริง มาดูกันว่าใครจะมีโอกาสออกไปรบบ้าง
ทหารที่มีโอกาสออกไปรบ กองทัพภาคที่ 3
1.มีกองพลทหารราบ 2 กองพล คือกองพลทหารราบที่ 7 ซึ่งถูกจัดตั้งใหม่ แต่ล่าสุดถูกปรับไปเป็นกองพลสำรองแล้ว จึงคงเหลือกองพลหลักเพียงกองพลเดียวคือกองพลทหารราบที่ 4 ซึ่งมีหน่วยขึ้นตรงคือกรมทหารราบที่ 4 (ร.4) ค่ายจิรประวัติ จังหวัดนครสวรรค์,
2. กรมทหารราบที่ 7 (ร.7) ค่ายกาวิละ จังหวัดเชียงใหม่
3.กรมทหารราบที่ 14 (ร.14) ค่ายวชิรปราการ จังหวัดตาก
4.กองพลทหารม้าที่ 1 ซึ่งมีกรมทหารม้าที่ 2 (ม.2) ค่ายพระยาพิชัยดาบหัก จังหวัดอุตรดิตถ์
5.กรมทหารม้าที่ 3 (ม.3) ค่ายพ่อขุนผาเมือง จังหวัดเพชรบูรณ์ อยู่ใต้การบังคับบัญชา
ทั้งนี้ ในสถานการณ์ที่ต้องการใช้กำลังอย่างรวดเร็ว กองทัพภาคที่ 3 มีหน่วย Rapid Deployment Force หรือ RDF ประจำกองทัพภาคคือ กองพันทหารราบที่ 1 กรมทหารราบที่ 7 (ร.7 พัน.1) ที่อยู่ในสถานะเตรียมพร้อมวางกำลังตลอดเวลาซึ่งสามารถใช้งานได้ทันที
ปืนใหญ่ที่จะสนับสนุนได้มีสองแบบ คือปืนใหญ่ขนาด 105 มม. ซึ่งเป็นปืนใหญ่ที่มีระยะยิงไม่ไกลคือไม่เกิน 20 กิโลเมตร สามารถเคลื่อนที่ได้โดยใช้เฮลิคอปเตอร์ยก โดยมักจะใช้เพื่อสนับสนุนหน่วยทหารที่ต้องใช้กำลังโดยตรง ในกรณีนี้อาจจัดปืนใหญ่จากกองพันทหารปืนใหญ่ที่ 7 กรมทหารปืนใหญ่ที่ 4 (ป.7 พัน.4) ค่ายพระปิ่นเกล้า จังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งใช้ปืนใหญ่แบบ M101 เข้ามาสนับสนุนได้
ปืนใหญ่อีกแบบหนึ่งก็คือปืนใหญ่ขนาด 1555 มม. ซึ่งเป็นปืนที่มีขนาดใหญ่ มีระยะยิงไกลสุด 40 กิโลเมตร จะใช้ในการช่วยสนับสนุนโดยรวมตามแต่ร้องขอ ซึ่งสามารถจัดจากกองพันทหารปืนใหญ่ที่ 104 กรมทหารปืนใหญ่ที่ 4 (ป.4 พัน.104) ค่ายสมเด็จพระเอกาทศรถ จังหวัดพิษณุโลก ซึ่งใช้ปืนใหญ่แบบ M198 เข้าสนับสนุนได้ แต่ปืนใหญ่แบบนี้เป็นปืนใหญ่ลากจูง คือต้องใช้รถบรรทุกลากปืนใหญ่เข้าที่ตั้ง ถ้ากองทัพภาคที่ 3 ต้องการความคล่องแคล่วในการยิงและย้ายที่ตั้งปืนใหญ่ ก็สามารถใช้ปืนใหญ่อัตตาจรซึ่งเป็นปืนใหญ่ที่ติดบนรถบรรทุกได้ โดยอาจต้องดึงมาจากกองพันทหารปืนใหญ่ที่ 20 กรมทหารปืนใหญ่ที่ 21 (ป.21 พัน.20) ค่ายพระศรีพนมมาศ จังหวัดอุตรดิตถ์ ซึ่งใช้ปืนใหญ่แบบ ATMG มาสนับสนุน
แต่เนื่องจากภูมิประเทศที่กองทัพว้าเลือกตั้งฐานนั้นเป็นภูเขาสูง ทำให้มีข้อจำกัดค่อนข้างมากในการใช้ยานเกราะ โดยเฉพาะรถถัง ดังนั้นหน่วยที่ใช้ยานเกราะอาจเป็นหน่วยสนับสนุน หรือใช้ทำการรบแบบทหารราบแทน
https://thestandard.co/thailand-wa-troops-border-conflict-strategy/