ทำไมกรุงศรีอยุธยาถึงไม่จ้างทหารอังกฤษมารบพม่าในช่วงกรุงเเตก🦃🦃🦃

คือผมสงสัยมากฮะ(ผมไม่เก่งประวัติศาสตร์ไทยนะ เเต่ผมพยายามเอามาเชื่อมกับประวัติศาสตร์ยุโรปด้วยละกัน)

    คือในสงคราม 7 ปี อังกฤษยึดเเคว้นเบงกอลซึ่งเป็นเเคว้นที่โคตรรวยที่สุดในอนุทวีปอินเดียใช่มั้ยฮะ เเล้วเผอิญว่าเบงกอลมันติดพม่าพอดี(อังกฤษได้เบงกอลก่อนที่อยุธยาจะล่มสลาย 10 ปี)เเล้วพออยุธยาจะเสียเเล้วเราจ้างอังกฤษซึ่งติดกับพม่าไม่ก็สานสัมพันธ์กับอังกฤษให้มาบุกรุกพม่าไม่ได้หรอฮะ 
- ศักยภาพของอังกฤษตอนนั้นสู้พม่าได้ยัง(ส่วนตัวคิดว่าได้ เพราะตอนอังกฤษยึดเบงกอลอังกฤษใช้ทหารเเค่ประมาณ 3,000 นาย((ประมาณนะจ๊ะ)) สามารถต่อสู้ทหารอินเดียได้ 62,000 นาย พระเจ้า!!! เบงกอลมีทหารมากกว่าอังกฤษเเต่อังกฤษพิชิตได้((ส่วนนึงอาจเป็นเพราะคนขายชาติ)))

- ยังไงพม่าก็เป็นดินเเดนที่มีทรัพยากรเยอะอยู่ดี เเถมยังมีฝรั่งเศสหนุนพม่าหลายครั้งซึ่งฝรั่งเศสเองก็ขยันเป็นอย่างมากที่จะเหน็บเเนมอังกฤษให้ได้ ทำไมไม่ไปบุกรุกพม่าซะเลยเเล้วก็ป้องกันไทยซะ นอกจากนี้ก็อาจจะเป็นไปได้อย่างมากที่จีนอาจจะจัดรางวัลชุดใหญ่ให้อังกฤษ เพราะอังกฤษต้องการมีผลประโยชน์ในจีนมานานเเล้ว เเต่ตอนนั้นจีนเป็นประเทศใหญ่อยู่เเละอังกฤษยังทำอะไรจีนไม่ได้ 
กฎของจีนก็มีเช่น

ห้ามราชทูตอยู่ในเมืองหลวงนานกว่า 40 กว่าวัน
ห้ามตั้งสถานกงสุล
จีนจะไม่ให้ใครเช่าเมืองเด็ดขาด

ประมาณนี้ฮะ

ปล.1 อาจจะถามเหมือนคนโง่ประวัติศาสตร์ไปซักนิดนะฮะ เเต่ว่าเอาจริงๆ คือลองถามเพื่อนๆ ดูว่ามันพอจะมีเหตุผลที่อังกฤษอาจจะ ทำเเบบนี้ได้มั้ย เพราะผมว่าในบันทึกทางประวัติศาสตร์ก็มีชาวตะวันตกหลายคนที่บอกว่าอาณาจักรอยุธยาเป็นที่รู้จักกันทั่ว นั่นเเสดงว่าอยุธยามันต้องมีผลประโยชน์ต่อชาติตะวันตกเป็นอย่างมาก


ปล.2 หากใครไม่รู้ว่ายุทธการที่ปราศีคืออะไรกด 1 ตามนี้เลย
อันนี้คือภาพยุทธการที่ปลาศี

ท่านลอร์ดไคลฟ์พบกับมีร์ จาฟาร์ หลังยุทธการที่ปลาศี

The Battle of Plassey was a decisive victory of the British East India Company over the Nawab of Bengal and his French[1] allies on 23 June 1757, under the leadership of Robert Clive which was possible due to the defection of Mir Jafar Ali Khan, who was Siraj-ud-Daulah's commander in chief. The battle helped the Company seize control of Bengal. Over the next hundred years, they seized control of the entire Indian subcontinent and Myanmar - and briefly Afghanistan.
The battle took place at Palashi (Anglicised version: Plassey) on the banks of the Hooghly River, about 150 kilometres (93 mi) north of Calcutta (now Kolkata) and south of Murshidabad, then capital of Bengal (now in Nadia district in West Bengal). The belligerents were the Nawab Siraj-ud-Daulah, the last independent Nawab of Bengal, and the British East India Company. Siraj-ud-Daulah had become the Nawab of Bengal the year before, and he ordered the English to stop the extension of their fortification. Robert Clive bribed Mir Jafar, the commander-in-chief of the Nawab's army, and also promised him to make him Nawab of Bengal. Clive defeated Siraj-ud-Daulah at Plassey in 1757 and captured Calcutta.
The battle was preceded by an attack on British-controlled Calcutta by Nawab Siraj-ud-Daulah and the Black Hole massacre. The British sent reinforcements under Colonel Robert Clive and Admiral Charles Watson from Madras to Bengal and recaptured Calcutta. Clive then seized the initiative to capture the French fort of Chandernagar.[3] Tensions and suspicions between Siraj-ud-daulah and the British culminated in the Battle of Plassey. The battle was waged during the Seven Years' War (1756–1763), and, in a mirror of their European rivalry, the French East India Company (La Compagnie des Indes Orientales) sent a small contingent to fight against the British. Siraj-ud-Daulah had a numerically superior force and made his stand at Plassey. The British, worried about being outnumbered, formed a conspiracy with Siraj-ud-Daulah's demoted army chief Mir Jafar, along with others such as Yar Lutuf Khan, Jagat Seths (Mahtab Chand and Swarup Chand), Umichand and Rai Durlabh. Mir Jafar, Rai Durlabh and Yar Lutuf Khan thus assembled their troops near the battlefield but made no move to actually join the battle. Siraj-ud-Daulah's army with 50,000 soldiers, 40 cannons and 10 war elephants was defeated by 3,000 soldiers of Col. Robert Clive, owing to the flight of Siraj-ud-Daulah from the battlefield and the inactivity of the conspirators. The battle ended in 11 hours.
This is judged to be one of the pivotal battles in the control of Indian subcontinent by the colonial powers. The British now wielded enormous influence over the Nawab, Mir Jafar and consequently acquired significant concessions for previous losses and revenue from trade. The British further used this revenue to increase their military might and push the other European colonial powers such as the Dutch and the French out of South Asia, thus expanding the British Empire.🦜🦜🦜

แก้ไขข้อความเมื่อ
คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 4
บริษัทอินเดียตะวันออกของอังกฤษ (EIC) ค้าขายกับสยามไม่ค่อยได้กำไรครับ จึงตั้งๆ ถอนๆ ห้างในสยามอยู่เป็นระยะ  มาจนถึงรัชกาลสมเด็จพระนารายณ์ที่ประกาศสงครามกับ EIC  ทำให้ EIC ถอนห้างออกไปจากสยามแบบถาวร  นอกจากนี้การค้าระหว่างยุโรปกับภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ก็ซบเซาลงมากในช่วงปลายคริสต์ศตวรรษที่ ๑๗   จึงแทบไม่ปรากฏว่าอังกฤษเข้ามาสนใจทำการค้าในสยามอย่างจริงจังเลย  จะมีแต่พ่อค้าเอกชนบางรายที่เดินทางเข้ามาบ้าง


อังกฤษกลับมาให้ความสนใจสยามอีกครั้งในรัชกาลพระเจ้าเอกทัศ โดยส่งกัปตันเรือเอกชนชื่อ วิลเลียม โพว์นี (William Powney) หรือที่เอกสารคำให้การขุนหลวงหาวัดเรียก "อะลังกะปูนี" ซึ่งเป็นอดีตลูกจ้างของ EIC เป็นตัวแทนของเจ้าเมืองมัทราสมาเจรจาการค้าใน พ.ศ. ๒๓๐๕ โดยขอทำการค้าเสรีในสยามและตั้งสำนักงานในเมืองมะริด โดยที่ตัวโพวนีย์ก็เข้ามาทำการค้าส่วนตัวด้วย

ใน พ.ศ. ๒๓๐๘ โพว์นี นำเรือกำปั่นบรรทุกสินค้าจากเมืองสุรัตกลับเข้ามาค้าขายอีก และเป็นตัวแทนของเจ้าเมืองบอมเบย์เข้ามาเจรจาการค้าด้วย


แต่ในช่วงเวลาเดียวกันเกิดสงครามกับพม่า  พระยารัตนาธิเบศร์เกณฑ์กองทัพเมืองนครราชสีมาลงมารักษาเมืองธนบุรี แต่กองทัพพม่าฝ่ายใต้นำโดยเมฆะราโบ่ยกกองทัพเข้ามา พระยารัตนาธิเบศร์ก็ไม่สู้รบหนีกลับกรุง กองทัพเมืองนครราชสีมาก็ถอยกลับเมืองไป เมฆะราโบ่จึงยึดเมืองธนบุรีได้ ตั้งอยู่สามวันแล้วถอยไปอยู่ค่ายตอกระออม

โกษาธิบดีขอให้โพว์นี ช่วยเหลือป้องกับเมืองธนบุรีถ้าพม่ายกมาตีอีก  โพว์นีจึงล่องกำปั่นอังกฤษมาอยู่ที่บางกอกใหญ่  เมื่อถึงเดือนยี่ เมฆะราโบ่ยกทัพเรือมายึดเมืองธนบุรีอีก พม่าเอาปืนใหญ่ตั้งบนป้อมวิไชเยนทร์ฝั่งตะวันตก (คือป้อมวิไชยประสิทธิ์ในปัจจุบัน) ยิงโต้ตอบอยู่กับกำปั่นอังกฤษ แต่สุดท้ายอังกฤษก็เชิดสินค้าหลบหนีออกไป มีรายละอียดในพงศาวดารตามนี้

           "ครั้นเดือนยี่พะม่าค่ายคอกระออม ยกเข้ามาตีเอาเมืองธนบุรีอีกเอาปืนใหญ่ขึ้นบนป้อมวิไชเยนทร์ ยิงโต้ตอบอยู่กับกำปั่นจนเพลาค่ำกำปั่นจึงถอนสมอขึ้นไปอยู่เหนือเมืองนนทบุรี ฝ่ายทัพพระยายมราช ซึ่งตั้งอยู่เมืองนนทบุรีเลิกหนีขึ้นไปเสีย พะม่าตั้งอยู่เมืองนนทบุรี แล้วแบ่งกันขึ้นมาตั้งค่ายที่วัดเขามาตำบลตลาดแก้วทั้งสองฟาก ครั้นเพลากลางคืน นายกำปั่นจึงขอเรือกราบมาชักสลุบล่องลงไปไม่ให้มีปากเสียง ครั้นตรงค่ายพะม่าณวัดเขมาแล้ว ก็จุดปืนรายแคม พร้อมกันทั้งสองข้าง ฝ่ายพะม่าต้องปืนล้มตายเป็นอันมาก เจ็บลำบากแตกหนีออกจากค่าย ครั้นน้ำขึ้นเพลเช้า สลุบถอยมาหากำปั่นซึ่ง ทอดอยู่ณตลาดขวัญ ฝ่ายพะม่ายกมาเข้าค่ายเมืองธนบุรี ครั้นเพลาค่ำฝรั่งชักใบสลุบล่องลงไป จุดปืนรายแคมยิงค่ายเมืองธนบุรี ฝ่ายพะม่าหนีออกไปแอบอยู่นอกค่าย อังกฤษแลไทยลงกำปั่นเข้าไปเก็บของอยู่ในค่าย พะม่าจึงกลับเข้ามาไล่คนในค่ายแตก ตัดเอาศีรษะล้าต้าอังกฤษได้ เสียบไว้ที่หน้าค่าย นายกำปั่นจึงขอปืนกระสุน ๑๐ นิ้ว ๑๐ บอก กับเรือรบ ๑๐ ลำ จะลงไปตีค่ายพะม่า แล้วจะขอเรือรบ ๑๐ ลำ ครั้นเพลาบ่ายนายกำปั่นล่องลงไปถึงเมืองธนบุรีแล้วจึงทอดสมออยู่ ขณะไทยซึ่งเอาเรือน้อยลงมาเก็บผลไม้หมากพลู ณ สวน  อังกฤษจับเอาขึ้นไปบนกำปั่นมากกว่า ๑๐๐ ก็ใช้ใบหนีไป ครั้นเพลาค่ำไทยหนีมาได้ ๒ คนจึงรู้เนื้อความ ฝ่ายพะม่าก็ยกเข้ามาตั้งค่ายตำบลบางไทรแลสีกุก"


พิจารณาจากบริบทในเวลานั้น  การที่กรุงศรีอยุทธยาจะว่าจ้างทหารอังกฤษคงจะเป็นเรื่องที่ยากลำบากพอสมควร เพราะต้องเดินทางไปติดต่อไกลถึงอินเดีย  ในขณะที่ทางอังกฤษเองก็ไม่ได้สนใจมาหาผลประโยชน์ในสยามอย่างจริงจังนอกจากการค้าเล็กน้อย จึงดูไม่มีแรงจูงใจที่จะส่งกองทหารจำนวนเข้ามา    นอกจากนี้เพิ่งฟื้นฟูความสัมพันธ์ไม่นานพม่าก็บุกมา  ช่วงที่พม่าบุกเข้ามาจึงมีแต่กำปั่นอังกฤษของโพว์นีที่อยู่ในสยามเวลานั้นถูกร้องขอให้ช่วยเหลือ แต่สุดท้ายก็ต้องหนีพม่าไปครับ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่