ทีวีดิจิตอล ล้มเหลว?
โดย : ณกฤช เศวตนันทท์
ตามที่ กสทช. ได้ดำเนินการตามโครงการสนับสนุนประชาชนในการเปลี่ยนผ่านการรับชมจากระบบอนาล็อกไปสู่การรับชมโทรทัศน์ภาคพื้นดินในระบบดิจิตอล ซึ่งได้มีการประมูลช่องรายการทีวีดิจิตอลและแจกคูปองทีวีดิจิตอลไปแล้ว และได้ปรากฏเรื่องราวข้อพิพาทต่างๆมากมายในช่วงเวลาหลังจากนั้นในอุตสาหกรรมโทรทัศน์ของประเทศไทย ปัจจุบันเป็นเวลากว่า 2 ปีแล้ว ต่อมาคณะกรรมการติดตามและประเมินผล (กตป.) ที่เป็นหน่วยงานติดตามประเมินผลการดำเนินการของ กสทช. ตามพระราชบัญญัติ กสทช. จึงได้ออกมาแถลงผลการประเมินการดำเนินงานของ กสทช. สำหรับการเปลี่ยนผ่านไปสู่ทีวีดิจิตอลเมื่อวันที่ 3 มีนาคม 2559 ที่ผ่านมา
คณะกรรมการติดตามและประเมินผลการปฏิบัติงาน กสทช. ได้แถลงข่าวประเมินผลการทำงานของ กสทช. ในช่วง 2 ปีที่ผ่านมาว่า กสทช. ประสบความล้มเหลวในการทำงานเกี่ยวกับทีวีดิจิตอล เนื่องจากกระบวนการทำงานขาดประสิทธิภาพและไม่มีความละเอียดรอบคอบ โดยต้นตอของปัญหาอยู่ที่ความไม่พร้อมทั้งด้านปริมาณและคุณภาพของโครงข่ายทีวีดิจิตอล นอกจากนี้ยังไม่สามารถทำให้ประชาชนมีความเข้าใจเกี่ยวกับกระบวนการเปลี่ยนถ่ายไปสู่ระบบดิจิตอลได้อย่างมีประสิทธิผลอีกด้วย
ประเด็นปัญหาสำคัญที่ กตป. เห็นว่าส่งผลให้กระบวนการทำงานของ กสทช. ไม่ประสบความสำเร็จได้แก่ ปัญหาการติดตามการแก้ไขปัญหาของ กสทช. คุณภาพโครงข่ายโทรทัศน์ภาคพื้นดินระบบดิจิตอล สัญญาณทีวีดิจิตอลไม่เป็นไปตามความที่คาดหวัง และการแจกคูปองทีวีดิจิตอลบางส่วนไม่ได้ถึงมือประชาชน, การประชาสัมพันธ์ของ กสทช. ไม่สามารถทำให้ประชาชนรับทราบข้อมูลเพื่อนำไปสู่การรับชมทีวีดิจิตอล และประชาชนไม่ได้นำกล่องไปใช้งานจริงเพราะการติดตั้งยุ่งยากเกินความจำเป็น, แนวทางการยุติการออกอากาศสัญญาณวิทยุโทรทัศน์ระบบอนาล็อกไม่มีความชัดเจนแน่นอน และไม่มีการเตรียมความพร้อมด้านโครงข่าย, ช่องทีวีดิจิตอลขาดผู้ผลิตรายการที่มีคุณภาพ และ กสทช. ไม่มีมาตรฐานในการกำกับดูแลเนื้อหาของรายการ และปัญหาจากการนำเงินที่ได้จากการประมูลไปใช้ในกิจการอื่นนอกเหนือจากการนำมาใช้เพื่อสนับสนุน ส่งเสริม ด้านกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมด้วย
โดย กตป. เห็นว่าการจะทำให้โครงการทีวีดิจิตอลเดินหน้าต่อไปได้ต้องมีการอุ้มผู้ชนะการประมูลช่องทีวีดิจิตอล โดยต้องพิจารณาหาช่องทางให้สามารถชะลอการจ่ายเงินค่าประมูลได้ เนื่องจากปัญหาที่เกิดขึ้นคือราคาประมูลช่องทีวีดิจิตอลสูง และผู้ประมูลไม่มีเงินค่าใช้จ่ายสำหรับสร้างเนื้อหารายการ ค่าใช้จ่ายบุคคลากรต่างๆ ซึ่งหากปล่อยไว้จะทำให้ช่องทีวีดิจิตอลไม่สามารถอยู่รอดต่อไปได้
ภายหลังจาก กตป. ได้ออกมาแถลงผลการประเมิน กสทช. ดังกล่าวแล้ว ต่อมาวันที่ 24 มีนาคม 2559 กสทช. โดยพันเอก ดร. นที ศุกลรัตน์ รองประธาน กสทช. และประธานกรรมการกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ (กสท.) ได้แถลงข่าวโต้แย้งว่า กตป. อาจประเมินจากการได้รับข้อมูลที่ไม่ถูกต้องหรือคาดเคลื่อนจากข้อเท็จจริง
ประธาน กสท. โต้แย้งว่า สถานีโครงข่ายสำหรับการเปลี่ยนผ่านไปสู่ทีวีดิจิตอลได้ติดตั้งคิดเป็น 85.9% ของทั่วทั้งประเทศตามแผนการขยายโครงข่ายและพื้นที่ครอบคลุมตามที่มีการกำหนดไว้แล้ว เพียงแต่การรับสัญญาณของแต่ละพื้นที่จะมีความแตกต่างกันเท่านั้น โดยสัดส่วนผู้ชมช่องรายการทีวีดิจิตอลก็ได้เพิ่มขึ้นมาก อย่างเช่นในเดือน มีนาคม พ.ศ. 2559 สัดส่วนผู้ชมช่องรายการเดิมและช่องรายการใหม่เพิ่มขึ้นเป็น 58.7% ต่อ 41.3% เป็นสัญญาณที่ดีที่สะท้อนว่าผู้ชมหันมารับชมทีวีดิจิตอลมากขึ้น นอกจากนี้ สำนักงาน กสทช. ได้จัดทำระบบตรวจสอบพื้นที่ครอบคลุมสัญญาณทีวีดิจิตอล (DTV Service Area) เพื่อรองรับการใช้งานของประชาชนหากเกิดปัญหาต่างๆด้วย
ด้านแผนการยุติการรับส่งสัญญาณวิทยุโทรทัศน์ระบบอนาล็อกนั้น ได้มีการกำหนดระยะเวลาสิ้นสุดการส่งสัญญาณระบบอนาล็อกของช่อง 5 ช่อง 9 ช่อง 11 และช่อง Thai PBS แล้ว โดยจะทยอยยุติการส่งสัญญาณฯของทั้ง 4 ช่องดังกล่าวภายในเดือน กรกฎาคม พ.ศ. 2561 ส่วนด้านการแจกคูปองทีวีดิจิตอลนั้น จากข้อมูลภายหลังจากการแจกคูปองรอบสุดท้ายที่หมดอายุในวันที่ 31 มกราคม 2559 พบว่าประชาชนได้นำคูปองไปใช้สิทธิแลกคิดเป็นสัดส่วนสูงถึง 64% ของคูปองที่แจกไปทั้งหมด ซึ่งขณะนี้ สำนักงาน กสทช. กำลังเร่งแจกคูปองเพิ่มเติม ตามที่คณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ได้อนุมัติตามมติคณะกรรมการติดตามและตรวจสอบการใช้จ่ายงบประมาณภาครัฐ (คตร.) ครั้งที่ 4/2559 เมื่อวันที่ 16 กุมภาพันธ์ 2559 ที่เห็นชอบในหลักการให้สำนักงาน กสทช. สามารถแจกคูปองทีวีดิจิตอลเพิ่มเติมได้
ทั้งนี้ ประธาน กสท. ยังได้พยายามชี้แจงว่าทางด้านการประชาสัมพันธ์นั้น สำนักงาน กสทช. ได้ทำการประชาสัมพันธ์ในเรื่องเกี่ยวกับทีวีดิจิตอลอย่างต่อเนื่องในทุกช่องทาง ทั้งทางสื่อโทรทัศน์ สื่อออนไลน์ สื่อวิทยุ สื่อสิ่งพิมพ์ และสื่อเคลื่อนที่ต่างๆ รวมถึงผ่านช่องทาง SMS ของโทรศัพท์เคลื่อนที่ ซึ่งส่งผลให้มีผู้รับชมทีวีดิจิตอลเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง นอกเหนือจากนี้ กสทช. ยังได้ออกประกาศ กสทช. เรื่อง หลักเกณฑ์การจัดลำดับบริการโทรทัศน์ พ.ศ.2558 ซึ่งมีสาระสำคัญให้ผู้รับใบอนุญาตประกอบกิจการกระจายเสียงหรือโทรทัศน์เพื่อให้บริการโครงข่ายสำหรับโทรทัศน์แบบบอกรับสมาชิกต้องเผยแพร่บริการโทรทัศน์ที่เป็นการทั่วไป (บริการโทรทัศน์ภาคพื้นดินในระบบดิจิตอล) ทั้งประเภทบริการสาธารณะและประเภทกิจการทางธุรกิจ ในลำดับบริการที่ 1-36 ตามลำดับหมายเลขช่องเท่านั้น เพื่อสร้างหลักประกันให้ประชาชนได้รับบริการโทรทัศน์ที่มีคุณภาพ โดยเฉพาะการรับบริการโทรทัศน์ที่เป็นการทั่วไปได้อย่างทั่วถึงอีกด้วย
ผู้เขียนเองก็มีความเห็นว่าการเปลี่ยนผ่านไปสู่ทีวีดิจิตอลยังมีปัญหาหลายประการ โดยเฉพาะประเด็นความครอบคลุมของสถานีส่งสัญญาณทีวีดิจิตอลซึ่งแม้จะมีขอบเขตครอบคลุม 85% ของพื้นที่ทั้งประเทศตามที่ กสทช. กล่าวอ้างก็ตาม แต่ก็ยังมีเรื่องทางเทคนิคที่ต้องพิจารณาอีกหลายประการเพื่อให้สามารถส่งสัญญาณได้อย่างมีประสิทธิภาพอย่างแท้จริง เพราะโครงข่ายทีวีดิจิตอลเป็นโครงข่ายภาคพื้นดินซึ่งแต่ละจุดของประเทศไทยจะรับสัญญาณได้ไม่เหมือนกัน ระยะทางระหว่างเครื่องรับสัญญาณและสถานีส่งสัญญาณก็มีความสำคัญต่อการรับชม อีกทั้งบางพื้นที่ที่เป็นภูเขาก็ยังมีปัญหาสัญญาณถูกบังได้ด้วย
ด้วยความที่ช่องทีวีดิจิตอลได้เกิดรายใหม่มากรายกว่า 24 ช่องธุรกิจ และได้ประกอบกิจการในช่วงเวลาพร้อมๆกัน ทำให้เกิดการแข่งขันในหมู่บรรดาช่องทีวีดิจิตอลกันเองที่ต่างได้ประมูลใบอนุญาตกันมาต้องพยายามหารายได้เพื่อหล่อเลี้ยงช่องรายการของตนมิให้ขาดทุน ซึ่งเมื่อเกิดช่องใหม่หลายช่องพร้อมกันทำให้มีปัญหาในการกำหนดเรทติ้งช่องรายการที่เป็นเกณฑ์วัดความน่าสนใจในการลงโฆษณาของบริษัทโฆษณาต่างๆ ทำให้ทางผู้ประกอบการช่องทีวีดิจิตอลหันพึ่งพาวิธีการหารายได้ในช่วงเรทติ้งช่องรายการยังไม่นิ่งด้วยการหาสปอนเซอร์สนับสนุน โดยการขายแพ็คเกจโฆษณาชุดใหญ่เป็นเงินจำนวนมาก ซึ่งก็ปรากฏว่าบรรดาช่องเก่าแก่ที่มีมาก่อนหน้าแล้วต่างก็เป็นฝ่ายได้เปรียบเพราะมีสปอนเซอร์ที่คบหามายาวนานและมีเงินทุนสูง เหตุนี้จึงทำให้มีการคาดการณ์กันไว้ว่าช่องทีวีดิจิตอลหน้าใหม่อาจต้องล้มหายไปจากวงการและเหลือผู้อยู่รอดเพียงไม่กี่รายเท่านั้น
นอกจากนี้ การแก้ปัญหาของ กสทช. ก็ต้องเป็นไปอย่างเป็นธรรมแก่ทุกๆฝ่ายโดยไม่เอนเอียงให้ประโยชน์แก่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งด้วย เช่นกรณีการออกประกาศจัดเรียงช่องลำดับที่ 1-36 ที่ให้เป็นสิทธิของผู้ประกอบการทีวีดิจิตอลนั้น น่าจะไม่ใช่การแก้ไขปัญหาที่ตรงจุด เพราะเดิมที กสทช. ได้ออกประกาศสงวนสิทธิลำดับช่องแรกที่ 1-10 ให้แก่ผู้ประกอบกิจการโทรทัศน์ที่ไม่ใช้คลื่นความถี่อยู่แล้วเมื่อปี พ.ศ. 2556 แต่ต่อมาภายหลังมีการจัดประมูลทีวีดิจิตอลเมื่อช่วงปลายเดือนธันวาคม 2556 ซึ่งได้มีการประกอบกิจการทีวีดิจิตอลจริงช่วงเดือนเมษายน 2557 ในช่วงดังกล่าว กสทช. ยังได้ซักซ้อมให้กลุ่มบรรดาผู้ประกอบกิจการทีวีดิจิตอลซึ่งชนะการประมูลปฏิบัติตามประกาศของ กสทช. ที่ได้ออกในเดือนธันวาคม 2556 ด้วย ซึ่งผู้ประกอบกิจการทีวีดิจิตอลก็ได้ปฏิบัติตามประกาศฉบับดังกล่าว โดยการเว้นหรือสงวนช่องรายการที่ 1-10 ไว้ให้กับผู้ประกอบกิจการทีวีดาวเทียม ต่อมา กสทช. ออกประกาศจัดลำดับช่อง 1-36 ในเดือนตุลาคม 2558 โดยกำหนดให้ช่องรายการของทีวีดิจิตอลอยู่ในลำดับช่องที่ 1-36 ส่วนกลุ่มผู้ประกอบการทีวีดาวเทียมให้ใช้ช่องรายการลำดับที่ 37 เป็นต้นไป ซึ่งไม่ใช่การแก้ไขที่ตรงจุด เพราะการจัดลำดับช่องใหม่ไม่ได้ก่อให้เกิดประโยชน์อันใดต่อใคร เนื่องจากประชาชนผู้ชมรายการได้จดจำการเรียงลำดับช่องแบบใหม่ตามประกาศจัดเรียงช่องของ กสทช. ฉบับปี 2556 ตั้งแต่เดือนเมษายน พ.ศ.2557 ซึ่งเป็นเวลานานมาแล้ว อีกทั้งผู้ประกอบการทีวีไม่ใช้คลื่นความถี่เดิมมีเครือข่ายที่ครอบคลุมทั่วประเทศซึ่งประชาชนได้ใช้บริการอยู่แล้วถึงประมาณ 70% ด้วย โดยผลของการที่ กสทช. ออกประกาศจัดเรียงช่อง 1-36 ดังกล่าว ทำให้ผู้ประกอบการทีวีไม่ใช้คลื่นความถี่ ไม่ว่าจะเป็น ทรู วิชั่นส์, พีเอสไอ, บิ๊กโฟร์, ไอพีเอ็ม ต่างยื่นฟ้องต่อศาลเพื่อขอเพิกถอนประกาศดังกล่าวทั้งสิ้น
ตามความเห็นและข้อสังเกตของ กตป. ข้างต้น แสดงให้เห็นได้ชัดเจนว่าขณะนี้การดำเนินการเปลี่ยนผ่านทีวีไปสู่ระบบทีวีดิจิตอลยังไม่มีความเรียบร้อยและเกิดปัญหาอยู่ตลอดเวลา ซึ่ง กสทช. ก็ต้องพยายามแก้ไขปัญหาที่ได้เกิดขึ้นแล้วกันต่อไป รวมถึงต้องเรียนรู้จากปัญหาที่เกิดขึ้นในอดีตเพื่อหามาตรการสำหรับการป้องกันปัญหาต่างๆที่อาจจะเกิดขึ้นในอนาคตด้วย ซึ่งการแก้ไขปัญหาก็ต้องทำให้ถูกต้องตรงประเด็นและถูกจุด โดยกว่าจะถึงเวลาที่ประเทศไทยมีทีวีดิจิตอลที่เป็นมาตรฐานอย่างสากลคงจะต้องใช้เวลาและต้องฝ่าฝันอุปสรรคอีกหลายประการเลยทีเดียว
แหล่งข่าว
Website : TelecomJournalThailand.com
http://www.telecomjournalthailand.com/ทีวีดิจิตอล-ล้มเหลว/
ข่าวอื่นๆ
เปิดธุรกรรมการเงิน ‘แจส’ เหลือแต่กระดูก จริงหรือ?
http://ppantip.com/topic/34991647
'ทรู' เชื่อรายย่อยแห่ใช้สิทธิเต็มซื้อหุ้น 'เพิ่มทุน'
http://ppantip.com/topic/34991048
"อินทัช" แต่งตั้ง "ฟิลิป เชียง ชอง แทน" นั่งซีอีโอ ขับเคลื่อนองค์กรในยุคเปลี่ยนผ่านเทคโนโลยี
http://ppantip.com/topic/34991698
ทีวีดิจิตอล ล้มเหลว?
โดย : ณกฤช เศวตนันทท์
ตามที่ กสทช. ได้ดำเนินการตามโครงการสนับสนุนประชาชนในการเปลี่ยนผ่านการรับชมจากระบบอนาล็อกไปสู่การรับชมโทรทัศน์ภาคพื้นดินในระบบดิจิตอล ซึ่งได้มีการประมูลช่องรายการทีวีดิจิตอลและแจกคูปองทีวีดิจิตอลไปแล้ว และได้ปรากฏเรื่องราวข้อพิพาทต่างๆมากมายในช่วงเวลาหลังจากนั้นในอุตสาหกรรมโทรทัศน์ของประเทศไทย ปัจจุบันเป็นเวลากว่า 2 ปีแล้ว ต่อมาคณะกรรมการติดตามและประเมินผล (กตป.) ที่เป็นหน่วยงานติดตามประเมินผลการดำเนินการของ กสทช. ตามพระราชบัญญัติ กสทช. จึงได้ออกมาแถลงผลการประเมินการดำเนินงานของ กสทช. สำหรับการเปลี่ยนผ่านไปสู่ทีวีดิจิตอลเมื่อวันที่ 3 มีนาคม 2559 ที่ผ่านมา
คณะกรรมการติดตามและประเมินผลการปฏิบัติงาน กสทช. ได้แถลงข่าวประเมินผลการทำงานของ กสทช. ในช่วง 2 ปีที่ผ่านมาว่า กสทช. ประสบความล้มเหลวในการทำงานเกี่ยวกับทีวีดิจิตอล เนื่องจากกระบวนการทำงานขาดประสิทธิภาพและไม่มีความละเอียดรอบคอบ โดยต้นตอของปัญหาอยู่ที่ความไม่พร้อมทั้งด้านปริมาณและคุณภาพของโครงข่ายทีวีดิจิตอล นอกจากนี้ยังไม่สามารถทำให้ประชาชนมีความเข้าใจเกี่ยวกับกระบวนการเปลี่ยนถ่ายไปสู่ระบบดิจิตอลได้อย่างมีประสิทธิผลอีกด้วย
ประเด็นปัญหาสำคัญที่ กตป. เห็นว่าส่งผลให้กระบวนการทำงานของ กสทช. ไม่ประสบความสำเร็จได้แก่ ปัญหาการติดตามการแก้ไขปัญหาของ กสทช. คุณภาพโครงข่ายโทรทัศน์ภาคพื้นดินระบบดิจิตอล สัญญาณทีวีดิจิตอลไม่เป็นไปตามความที่คาดหวัง และการแจกคูปองทีวีดิจิตอลบางส่วนไม่ได้ถึงมือประชาชน, การประชาสัมพันธ์ของ กสทช. ไม่สามารถทำให้ประชาชนรับทราบข้อมูลเพื่อนำไปสู่การรับชมทีวีดิจิตอล และประชาชนไม่ได้นำกล่องไปใช้งานจริงเพราะการติดตั้งยุ่งยากเกินความจำเป็น, แนวทางการยุติการออกอากาศสัญญาณวิทยุโทรทัศน์ระบบอนาล็อกไม่มีความชัดเจนแน่นอน และไม่มีการเตรียมความพร้อมด้านโครงข่าย, ช่องทีวีดิจิตอลขาดผู้ผลิตรายการที่มีคุณภาพ และ กสทช. ไม่มีมาตรฐานในการกำกับดูแลเนื้อหาของรายการ และปัญหาจากการนำเงินที่ได้จากการประมูลไปใช้ในกิจการอื่นนอกเหนือจากการนำมาใช้เพื่อสนับสนุน ส่งเสริม ด้านกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมด้วย
โดย กตป. เห็นว่าการจะทำให้โครงการทีวีดิจิตอลเดินหน้าต่อไปได้ต้องมีการอุ้มผู้ชนะการประมูลช่องทีวีดิจิตอล โดยต้องพิจารณาหาช่องทางให้สามารถชะลอการจ่ายเงินค่าประมูลได้ เนื่องจากปัญหาที่เกิดขึ้นคือราคาประมูลช่องทีวีดิจิตอลสูง และผู้ประมูลไม่มีเงินค่าใช้จ่ายสำหรับสร้างเนื้อหารายการ ค่าใช้จ่ายบุคคลากรต่างๆ ซึ่งหากปล่อยไว้จะทำให้ช่องทีวีดิจิตอลไม่สามารถอยู่รอดต่อไปได้
ภายหลังจาก กตป. ได้ออกมาแถลงผลการประเมิน กสทช. ดังกล่าวแล้ว ต่อมาวันที่ 24 มีนาคม 2559 กสทช. โดยพันเอก ดร. นที ศุกลรัตน์ รองประธาน กสทช. และประธานกรรมการกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ (กสท.) ได้แถลงข่าวโต้แย้งว่า กตป. อาจประเมินจากการได้รับข้อมูลที่ไม่ถูกต้องหรือคาดเคลื่อนจากข้อเท็จจริง
ประธาน กสท. โต้แย้งว่า สถานีโครงข่ายสำหรับการเปลี่ยนผ่านไปสู่ทีวีดิจิตอลได้ติดตั้งคิดเป็น 85.9% ของทั่วทั้งประเทศตามแผนการขยายโครงข่ายและพื้นที่ครอบคลุมตามที่มีการกำหนดไว้แล้ว เพียงแต่การรับสัญญาณของแต่ละพื้นที่จะมีความแตกต่างกันเท่านั้น โดยสัดส่วนผู้ชมช่องรายการทีวีดิจิตอลก็ได้เพิ่มขึ้นมาก อย่างเช่นในเดือน มีนาคม พ.ศ. 2559 สัดส่วนผู้ชมช่องรายการเดิมและช่องรายการใหม่เพิ่มขึ้นเป็น 58.7% ต่อ 41.3% เป็นสัญญาณที่ดีที่สะท้อนว่าผู้ชมหันมารับชมทีวีดิจิตอลมากขึ้น นอกจากนี้ สำนักงาน กสทช. ได้จัดทำระบบตรวจสอบพื้นที่ครอบคลุมสัญญาณทีวีดิจิตอล (DTV Service Area) เพื่อรองรับการใช้งานของประชาชนหากเกิดปัญหาต่างๆด้วย
ด้านแผนการยุติการรับส่งสัญญาณวิทยุโทรทัศน์ระบบอนาล็อกนั้น ได้มีการกำหนดระยะเวลาสิ้นสุดการส่งสัญญาณระบบอนาล็อกของช่อง 5 ช่อง 9 ช่อง 11 และช่อง Thai PBS แล้ว โดยจะทยอยยุติการส่งสัญญาณฯของทั้ง 4 ช่องดังกล่าวภายในเดือน กรกฎาคม พ.ศ. 2561 ส่วนด้านการแจกคูปองทีวีดิจิตอลนั้น จากข้อมูลภายหลังจากการแจกคูปองรอบสุดท้ายที่หมดอายุในวันที่ 31 มกราคม 2559 พบว่าประชาชนได้นำคูปองไปใช้สิทธิแลกคิดเป็นสัดส่วนสูงถึง 64% ของคูปองที่แจกไปทั้งหมด ซึ่งขณะนี้ สำนักงาน กสทช. กำลังเร่งแจกคูปองเพิ่มเติม ตามที่คณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ได้อนุมัติตามมติคณะกรรมการติดตามและตรวจสอบการใช้จ่ายงบประมาณภาครัฐ (คตร.) ครั้งที่ 4/2559 เมื่อวันที่ 16 กุมภาพันธ์ 2559 ที่เห็นชอบในหลักการให้สำนักงาน กสทช. สามารถแจกคูปองทีวีดิจิตอลเพิ่มเติมได้
ทั้งนี้ ประธาน กสท. ยังได้พยายามชี้แจงว่าทางด้านการประชาสัมพันธ์นั้น สำนักงาน กสทช. ได้ทำการประชาสัมพันธ์ในเรื่องเกี่ยวกับทีวีดิจิตอลอย่างต่อเนื่องในทุกช่องทาง ทั้งทางสื่อโทรทัศน์ สื่อออนไลน์ สื่อวิทยุ สื่อสิ่งพิมพ์ และสื่อเคลื่อนที่ต่างๆ รวมถึงผ่านช่องทาง SMS ของโทรศัพท์เคลื่อนที่ ซึ่งส่งผลให้มีผู้รับชมทีวีดิจิตอลเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง นอกเหนือจากนี้ กสทช. ยังได้ออกประกาศ กสทช. เรื่อง หลักเกณฑ์การจัดลำดับบริการโทรทัศน์ พ.ศ.2558 ซึ่งมีสาระสำคัญให้ผู้รับใบอนุญาตประกอบกิจการกระจายเสียงหรือโทรทัศน์เพื่อให้บริการโครงข่ายสำหรับโทรทัศน์แบบบอกรับสมาชิกต้องเผยแพร่บริการโทรทัศน์ที่เป็นการทั่วไป (บริการโทรทัศน์ภาคพื้นดินในระบบดิจิตอล) ทั้งประเภทบริการสาธารณะและประเภทกิจการทางธุรกิจ ในลำดับบริการที่ 1-36 ตามลำดับหมายเลขช่องเท่านั้น เพื่อสร้างหลักประกันให้ประชาชนได้รับบริการโทรทัศน์ที่มีคุณภาพ โดยเฉพาะการรับบริการโทรทัศน์ที่เป็นการทั่วไปได้อย่างทั่วถึงอีกด้วย
ผู้เขียนเองก็มีความเห็นว่าการเปลี่ยนผ่านไปสู่ทีวีดิจิตอลยังมีปัญหาหลายประการ โดยเฉพาะประเด็นความครอบคลุมของสถานีส่งสัญญาณทีวีดิจิตอลซึ่งแม้จะมีขอบเขตครอบคลุม 85% ของพื้นที่ทั้งประเทศตามที่ กสทช. กล่าวอ้างก็ตาม แต่ก็ยังมีเรื่องทางเทคนิคที่ต้องพิจารณาอีกหลายประการเพื่อให้สามารถส่งสัญญาณได้อย่างมีประสิทธิภาพอย่างแท้จริง เพราะโครงข่ายทีวีดิจิตอลเป็นโครงข่ายภาคพื้นดินซึ่งแต่ละจุดของประเทศไทยจะรับสัญญาณได้ไม่เหมือนกัน ระยะทางระหว่างเครื่องรับสัญญาณและสถานีส่งสัญญาณก็มีความสำคัญต่อการรับชม อีกทั้งบางพื้นที่ที่เป็นภูเขาก็ยังมีปัญหาสัญญาณถูกบังได้ด้วย
ด้วยความที่ช่องทีวีดิจิตอลได้เกิดรายใหม่มากรายกว่า 24 ช่องธุรกิจ และได้ประกอบกิจการในช่วงเวลาพร้อมๆกัน ทำให้เกิดการแข่งขันในหมู่บรรดาช่องทีวีดิจิตอลกันเองที่ต่างได้ประมูลใบอนุญาตกันมาต้องพยายามหารายได้เพื่อหล่อเลี้ยงช่องรายการของตนมิให้ขาดทุน ซึ่งเมื่อเกิดช่องใหม่หลายช่องพร้อมกันทำให้มีปัญหาในการกำหนดเรทติ้งช่องรายการที่เป็นเกณฑ์วัดความน่าสนใจในการลงโฆษณาของบริษัทโฆษณาต่างๆ ทำให้ทางผู้ประกอบการช่องทีวีดิจิตอลหันพึ่งพาวิธีการหารายได้ในช่วงเรทติ้งช่องรายการยังไม่นิ่งด้วยการหาสปอนเซอร์สนับสนุน โดยการขายแพ็คเกจโฆษณาชุดใหญ่เป็นเงินจำนวนมาก ซึ่งก็ปรากฏว่าบรรดาช่องเก่าแก่ที่มีมาก่อนหน้าแล้วต่างก็เป็นฝ่ายได้เปรียบเพราะมีสปอนเซอร์ที่คบหามายาวนานและมีเงินทุนสูง เหตุนี้จึงทำให้มีการคาดการณ์กันไว้ว่าช่องทีวีดิจิตอลหน้าใหม่อาจต้องล้มหายไปจากวงการและเหลือผู้อยู่รอดเพียงไม่กี่รายเท่านั้น
นอกจากนี้ การแก้ปัญหาของ กสทช. ก็ต้องเป็นไปอย่างเป็นธรรมแก่ทุกๆฝ่ายโดยไม่เอนเอียงให้ประโยชน์แก่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งด้วย เช่นกรณีการออกประกาศจัดเรียงช่องลำดับที่ 1-36 ที่ให้เป็นสิทธิของผู้ประกอบการทีวีดิจิตอลนั้น น่าจะไม่ใช่การแก้ไขปัญหาที่ตรงจุด เพราะเดิมที กสทช. ได้ออกประกาศสงวนสิทธิลำดับช่องแรกที่ 1-10 ให้แก่ผู้ประกอบกิจการโทรทัศน์ที่ไม่ใช้คลื่นความถี่อยู่แล้วเมื่อปี พ.ศ. 2556 แต่ต่อมาภายหลังมีการจัดประมูลทีวีดิจิตอลเมื่อช่วงปลายเดือนธันวาคม 2556 ซึ่งได้มีการประกอบกิจการทีวีดิจิตอลจริงช่วงเดือนเมษายน 2557 ในช่วงดังกล่าว กสทช. ยังได้ซักซ้อมให้กลุ่มบรรดาผู้ประกอบกิจการทีวีดิจิตอลซึ่งชนะการประมูลปฏิบัติตามประกาศของ กสทช. ที่ได้ออกในเดือนธันวาคม 2556 ด้วย ซึ่งผู้ประกอบกิจการทีวีดิจิตอลก็ได้ปฏิบัติตามประกาศฉบับดังกล่าว โดยการเว้นหรือสงวนช่องรายการที่ 1-10 ไว้ให้กับผู้ประกอบกิจการทีวีดาวเทียม ต่อมา กสทช. ออกประกาศจัดลำดับช่อง 1-36 ในเดือนตุลาคม 2558 โดยกำหนดให้ช่องรายการของทีวีดิจิตอลอยู่ในลำดับช่องที่ 1-36 ส่วนกลุ่มผู้ประกอบการทีวีดาวเทียมให้ใช้ช่องรายการลำดับที่ 37 เป็นต้นไป ซึ่งไม่ใช่การแก้ไขที่ตรงจุด เพราะการจัดลำดับช่องใหม่ไม่ได้ก่อให้เกิดประโยชน์อันใดต่อใคร เนื่องจากประชาชนผู้ชมรายการได้จดจำการเรียงลำดับช่องแบบใหม่ตามประกาศจัดเรียงช่องของ กสทช. ฉบับปี 2556 ตั้งแต่เดือนเมษายน พ.ศ.2557 ซึ่งเป็นเวลานานมาแล้ว อีกทั้งผู้ประกอบการทีวีไม่ใช้คลื่นความถี่เดิมมีเครือข่ายที่ครอบคลุมทั่วประเทศซึ่งประชาชนได้ใช้บริการอยู่แล้วถึงประมาณ 70% ด้วย โดยผลของการที่ กสทช. ออกประกาศจัดเรียงช่อง 1-36 ดังกล่าว ทำให้ผู้ประกอบการทีวีไม่ใช้คลื่นความถี่ ไม่ว่าจะเป็น ทรู วิชั่นส์, พีเอสไอ, บิ๊กโฟร์, ไอพีเอ็ม ต่างยื่นฟ้องต่อศาลเพื่อขอเพิกถอนประกาศดังกล่าวทั้งสิ้น
ตามความเห็นและข้อสังเกตของ กตป. ข้างต้น แสดงให้เห็นได้ชัดเจนว่าขณะนี้การดำเนินการเปลี่ยนผ่านทีวีไปสู่ระบบทีวีดิจิตอลยังไม่มีความเรียบร้อยและเกิดปัญหาอยู่ตลอดเวลา ซึ่ง กสทช. ก็ต้องพยายามแก้ไขปัญหาที่ได้เกิดขึ้นแล้วกันต่อไป รวมถึงต้องเรียนรู้จากปัญหาที่เกิดขึ้นในอดีตเพื่อหามาตรการสำหรับการป้องกันปัญหาต่างๆที่อาจจะเกิดขึ้นในอนาคตด้วย ซึ่งการแก้ไขปัญหาก็ต้องทำให้ถูกต้องตรงประเด็นและถูกจุด โดยกว่าจะถึงเวลาที่ประเทศไทยมีทีวีดิจิตอลที่เป็นมาตรฐานอย่างสากลคงจะต้องใช้เวลาและต้องฝ่าฝันอุปสรรคอีกหลายประการเลยทีเดียว
แหล่งข่าว
Website : TelecomJournalThailand.com
http://www.telecomjournalthailand.com/ทีวีดิจิตอล-ล้มเหลว/
ข่าวอื่นๆ
เปิดธุรกรรมการเงิน ‘แจส’ เหลือแต่กระดูก จริงหรือ?
http://ppantip.com/topic/34991647
'ทรู' เชื่อรายย่อยแห่ใช้สิทธิเต็มซื้อหุ้น 'เพิ่มทุน'
http://ppantip.com/topic/34991048
"อินทัช" แต่งตั้ง "ฟิลิป เชียง ชอง แทน" นั่งซีอีโอ ขับเคลื่อนองค์กรในยุคเปลี่ยนผ่านเทคโนโลยี
http://ppantip.com/topic/34991698