กตป. ตัดเกรด กสทช. สอบตกเปลี่ยนผ่านทีวีดิจิตอลเหลว แนะดึงเงินค่าช่องแก้วิกฤติ


กตป. ตัดเกรด กสทช. สอบตกเปลี่ยนผ่านทีวีดิจิตอลเหลว แนะดึงเงินค่าช่องแก้วิกฤติ
หนังสือพิมพ์ไทยโพสต์ ฉบับวันที่ 4 มีนาคม 2559

          นายพิชัย อุตมาภินันท์ กรรมการติดตามและประเมินผลการปฏิบัติงาน (กตป.) สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียงกิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ด้านกระจายเสียงและ โทรทัศน์ กล่าวว่า กสทช.สอบตก เนื่องจากการดำเนินงานใน ส่วนทีวีดิจิตอลล้มเหลว โดย 2 ปีที่ผ่านมา กสทช.ขาดประสิทธิ ภาพในการจัดการให้เกิดการเปลี่ยนผ่านจากระบบอนาล็อกสู่ดิจิตอล ซึ่งการกำกับให้มีการขยายโครงข่ายแพร่ภาพสัญญาณ ภาคพื้นดินล่าช้า ประชาชนไม่มีความเข้าใจในการเปลี่ยนผ่าน รวมถึงโครงการสนับสนุนคูปองแลกกล่องรับสัญญาณ หรือเซต ท็อปบ็อกซ์ ก็ไม่ครอบคลุมทั่วถึง อีกทั้ง กสทช.ไม่มีระบบจัดการที่ชัดเจนในการยุติการออกอา กาศสัญญาณในระบบอนาล็อก โดยในปี 2558 ที่ผ่านมา มีแผน ยุติการส่งสัญญาณแต่ไม่กำ หนดวันที่ชัดเจนในแต่ละพื้นที่

         ทั้งนี้ ผู้ผลิตบางรายยังขาดความเข้าใจในเนื้อหาที่ต้องนำเสนอให้สอดคล้องกับ ประเภทของช่องรายการ เช่น ในช่องเด็กเยาวชนและครอบครัว เนื้อหารายการยังขาดรูปแบบที่เป็นสาระพัฒนาจิตวิทยา ซึ่งเป็นผลมาจาก กสทช.เองไม่มีการกำกับที่จริงจัง ส่วนเรื่องการจัดเรียงลำดับช่องก็เช่นเดียวกัน ไม่มีบทลงโทษที่ชัดเจน ทำ ให้ผู้ประกอบการฝ่าฝืนไม่ปฏิบัติตามกฎเกณฑ์ที่กำหนด ทำให้ช่วงเวลาที่ผ่านมาเกิดปัญหาถกเถียงจน กสทช.ไม่สามารถกำกับดูแลได้ จนต้องใช้วิธีฟ้อง ร้องให้เกิดความวุ่นวาย นอกจากนี้ ในส่วนของสถานีวิทยุ 1 ปณ. ที่มีอยู่จำนวน 9 สถานี โดย กสทช.ได้เปิดให้เอกชนเข้าไปเช่าช่วงเวลาร่วมจัดรายการด้วยนั้น อาจหมิ่นเหม่ต่อการมีผลประโยชน์ทับซ้อน เนื่องด้วยไม่มีกฎหมายรองรับให้ กสทช.สามารถเป็นผู้ประกอบการได้ กสทช.ควรมีหน่วยงานภายนอกเข้ามาตรวจสอบ

          อย่างไรก็ตาม กตป.ต้องการให้ กสทช.เร่งแก้ปัญหาที่มีอยู่ให้เร็วที่สุด หาวิธีในการจัดการเรื่องทีวีดิจิตอลที่ทำให้อุตสาหกรรมโดยรวมเดินหน้าไปได้ ทั้งเคเบิล ทีวีดาวเทียม และทีวีดิจิตอล สามารถอยู่รอด ร่วมกันได้ในตลาดเดียวกันนี้ รวมถึงควรหาทางแก้ไขให้ผู้ประกอบการนำเงินมาชำระค่าใบอนุญาตให้ครบตามจำนวน ไม่ควรไปมองหาว่าใครถูกหรือผิด แต่ควรร่วมแก้ปัญหา และขอเสนอว่าเงินที่ได้จากการประมูลทีวีดิจิตอลนั้น กสทช.ควรใช้สนับสนุนในกองทุนวิจัยและพัฒนากิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์และกิจการโทร คมนาคม เพื่อประโยชน์ (กทปส.) ก่อน เนื่องจากที่ผ่านมาโครงการที่ถูกเสนอเข้าไปให้พิจารณาผ่านการคัดเลือกค่อนข้างน้อย เงินในส่วนนั้นจึงไม่ได้ถูกนำมา พัฒนาในอุตสาหกรรมนี้อย่างจริงจัง อีกทั้งเงินที่ได้จากการประมูลนั้น มองว่าควรนำมาช่วยสนับสนุนให้ทีวีดิจิตอลอยู่รอดมากกว่าไปทำอย่างอื่น.



แหล่งข่าว
หนังสือพิมพ์หนังสือพิมพ์ไทยโพสต์ ฉบับวันที่ 4 มีนาคม 2559 (หน้า 6)
หมายเหตุ : บรรยายภาพประกอบจากหนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ ฉบับวันที่ 4 มีนาคม 2559 (หน้า 3)
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่