สกู๊ปพิเศษ
สลด'ไทย'นำลิ่วอุบัติเหตุคร่าชีวิต
ประเทศไทย มีอัตราการเสียชีวิตสูงที่สุดในเอเชียและอาเซียน ถือเป็นเรื่องใหญ่เรื่องสำคัญที่ทุกภาคส่วนจะต้องตระหนักและช่วยเหลือหาทางออกลดจำนวนอัตราการเสียชีวิตจากอุบัติเหตุให้ได้
สลด'ไทย'นำลิ่วอุบัติเหตุคร่าชีวิต แก้กม.ให้โทษหนักแนะคุมสติใช้รถ
ศูนย์กลางรวบรวมข้อมูลข่าวสาร ความปลอดภัยทางถนน โดยสำนักงานเครือข่ายลดอุบัติเหตุ รายงานตัวเลขอัตราการเสียชีวิตจากอุบัติเหตุทางถนนต่อแสนประชากรของโลกในปีปัจจุบันไว้ในหน้าเว็บไซต์
http://www.accident.or.th/datacenter/index.php ซึ่งเป็นข้อมูลที่น่าสนใจทีเดียว
โดยเบอร์หนึ่งของโลก คือ ลิเบีย มีอัตราการเสียชีวิตอยู่ที่ 73.4 ราย ต่อประชากร 1 แสนคน ตามด้วย ไทย เสียชีวิต 36.2 ราย ต่อประชากร 1 แสนคน และตามด้วย มาลาวี 35.0 ไลบีเรีย 33.7 คองโก 33.2 แทนซาเนีย 32.9 อัฟริกากลาง 32.4 อิหร่าน 32.1 โมซัมบิก 31.6 และ โตโก 31.1 ตามลำดับ (หน่วยเป็น ต่อประชากร 1 แสนคน)
จะเห็นได้ว่าประเทศไทย มีอัตราการเสียชีวิตสูงที่สุดในเอเชียและอาเซียน... ถือเป็นเรื่องใหญ่เรื่องสำคัญที่ภาครัฐ ภาคเอกชน และทุกภาคส่วนจะต้องตระหนักและช่วยเหลือหาทางออกลดจำนวนอัตราการเสียชีวิตจากอุบัติเหตุให้ได้ แต่ทว่าดูเหมือนการทำงานในลักษณะการรณรงค์ ประชาสัมพันธ์ก็จะเป็นเรื่องชั่วครั้งชั่วคราวมากกว่าเป็นแผนระยะยาว
มิหนำซ้ำการเข้มงวดกวดขันหรือวางมาตรการในการป้องปราบต้นเหตุของการเกิดอุบัติเหตุ ทั้งที่มาจากเรื่องพฤติกรรมของคนขับรถ สภาพรถยนต์ รถ จยย. หรือแม้กระทั่งสภาพถนน และอุบัติภัยต่าง ๆ ก็มีการดำเนินการแค่ช่วงระยะเวลาใดเวลาหนึ่งเท่านั้น คือ เทศกาลปีใหม่ เทศกาลสงกรานต์ และเทศกาลหยุดยาว ทั้ง ๆ ที่ตัวเลขของการเกิดอุบัติเหตุในประเทศไทยโดยเฉลี่ยแล้วค่อนข้างสูงในทุก ๆ ช่วงเวลานั่นเอง
ตัวเลขในเดือน 1 ม.ค.-17 มี.ค. 59 (
http://www.thairsc.com) เกิดอุบัติเหตุในกรุงเทพฯมากที่สุด คือ 2,680 ครั้ง มีผู้ที่ได้รับบาดเจ็บพิการทุพพลภาพ 5 ราย บาดเจ็บทั่วไป 3,051 ราย และเสียชีวิต 78 ราย รองลงมาคือ จ.เชียงใหม่ เกิดอุบัติเหตุ 1,744 ครั้ง ทุพพลภาพ 2 ราย บาดเจ็บ 1,954 ราย เสียชีวิต 56 ราย และอันดับที่ 3 จ.ชลบุรี เกิดอุบัติเหตุ 1,098 ครั้ง ทุพพลภาพ 5 ราย บาดเจ็บ 1,157 ราย เสียชีวิต 53 ราย
สถิติรวมของทั่วประเทศในระยะเวลาเพียง 2 เดือนครึ่งของปี 59 เกิดอุบัติเหตุ 29,214 ครั้ง ทุพพลภาพ 94 ราย บาดเจ็บ 31,866 ราย เสียชีวิต 1,787 รายและที่น่าตกใจคือทุกจังหวัดมียอดผู้เสียชีวิต ผู้บาดเจ็บจากอุบัติเหตุทุกแห่ง
นพ.ธนะพงศ์ จินวงษ์ ผู้จัดการ ศูนย์วิชาการเพื่อความปลอดภัยทางถนน(ศวปถ.) กล่าวว่า เมื่อเราพูดถึงสถิติการเกิดอุบัติเหตุจะมีข้อมูลจากหลายแหล่ง ตัวเลขอาจไม่ตรงกันทั้งหมด แต่สถิติข้อมูลอุบัติเหตุจากกระทรวงสาธารสุข โดยประมาณคือ ในหนึ่งปี มีผู้ประสบอุบัติเหตุโดยรวมกว่า 1 ล้านคน มีอาการรุนแรง 150,000 คน และมีจำนวน 5 เปอร์เซ็นที่มีอาการพิการ ประมาณ 5,000 คน และมีผู้เสียชีวิตประมาณ 15,000 คน แต่หากไปดูข้อมูลจากองค์การอนามัยโลก (WHO) จะพบว่ามีผู้เสียชีวิตสูงกว่านี้เกือบสองเท่า หรือประมาณ 24,000 คน
ส่วนยานพาหนะที่เกิดอุบัติเหตุสูงสุดคือรถจักรยานยนต์ ประมาณ 70 เปอร์เซ็นต์ รองลงมาคือรถปิกอัพ หรือรถเก๋ง สาเหตุหลักมาจากความเร็ว อาทิ กรณีของรถเบนซ์ขับพุ่งชนท้ายรถฟอร์ด เฟียสต้า เป็นเหตุทำให้เกิดเพลิงลุกไหม้ 2 นิสิตปริญญาโทเสียชีวิต เมื่อวันที่ 13 มี.ค. 59 ที่ผ่านมา ซึ่งกำลังเป็นข่าวอยู่ขณะนี้ ประเด็นที่ตนคิดว่าเชื่อมโยงกับกรณีนี้ 75 เปอร์เซ็นต์ คือความเร็ว อีกทั้งความเร็วยังถูกมองว่าเป็นการขับรถโดยประมาท ในขณะที่ขับรถด้วยความเร็วสูง ฝ่าไฟแดง ซึ่งในต่างประเทศการกระทำแบบนี้คือสิ่งอันตราย มีบทลงโทษที่ต่างกับประเทศไทย
ประเทศญี่ปุ่นมีบทลงโทษที่รุนแรงในคดีจราจร ไม่ว่าจะเป็นการขับรถเร็ว การดื่มแล้วขับ การฝ่าไฟแดง หรือไม่มีใบขับขี่ก็ตาม เมื่อเกิดเหตุจะถือว่าขับรถโดยอันตราย แต่ประเทศไทยการบังคับใช้กฎหมายคดีจราจรมีช่องว่าง คือเหมารวมไปว่าเป็นการขับรถโดยประมาท ไม่ได้มีเจตนา
“ผมเห็นว่ากรณีดังกล่าวเป็นจุดสำคัญที่ทำให้ต้องมีการทบทวนข้อหาประมาทด้วย โดยต้องมีการทำอย่างมีประสิทธิภาพให้ผู้ที่มีพฤติกรรมเหล่านี้ ไม่กล้าทำผิดอีก รวมทั้งต้องมีการบังคับใช้กฎหมายอย่างจริงจัง มีการเปลี่ยนแปลงบทลงโทษให้มีความรุนแรงกว่านี้”
ทั้งนี้แนวโน้มการเกิดอุบัติเหตุตั้งแต่ปี 2557-2558 ที่ผ่านมา ตัวเลขยังคงนิ่ง ไม่ลดลงอย่างมีนัย มีการลดลงอย่างช้า ๆ ผู้บาดเจ็บและเสียชีวิตยังไม่ดีขึ้น เพราะเรายังจัดการกับปัญหาสาเหตุหลักของการเกิดอุบัติเหตุไม่ได้ โดยจากสถิติปีที่มีอุบัติเหตุสูงที่สุดคือ 2546 และ 2547 จากนั้นลดลงมาระยะหนึ่ง จนกระทั่งขณะนี้ตัวเลขยังคงนิ่งอยู่
ทางออกของการลดอุบัติเหตุ คือ คนขับคนใช้รถต้องมีความพร้อมและมีความรู้ในเรื่องกฎจราจรและรถยนต์ในระดับหนึ่ง สภาพถนนจะต้องไม่เป็นอันตรายต่อการใช้ยวดยานพาหนะทุกชนิด สภาพยานพาหนะไม่ว่าจะเป็นรถชนิดใดต้องอยู่ในสภาพสมบูรณ์พร้อมใช้งานได้อย่างปลอดภัยต่อคนใช้งานและเพื่อนร่วมทาง และต้องมีสติไม่ประมาท
ส่วนของภาครัฐนั้นก็ต้องมีการเพิ่มมาตรการทางกฎหมายให้เข้มงวด ผู้บังคับใช้กฎหมายไม่ว่าจะเป็นตำรวจหรือเจ้าหน้าที่ส่วนอื่น ต้องยึดกฎหมายเป็นหลักไม่ใช่สร้างบรรทัดฐานที่แตกต่างและแตกแยกกันออกมา และภาคสังคมต้องช่วยกันเป็นหูเป็นตา ชี้เบาะแสการกระทำผิดหรือการกระทำโดยประมาทของผู้ใช้รถใช้ถนนทำอยู่ในปัจจุบันดังเช่นการใช้โซเชียลเน็ตเวิร์กช่องทางต่าง ๆเผยแพร่ภาพคลิปการขับขี่รถ หรือการเกิดอุบัติเหตุ
แต่การใช้เครื่องมือสื่อสารที่รวดเร็วดังเช่น โซเชียลเน็ตเวิร์กนั้นก็ต้องพึงระวังอย่าไปละเมิดสิทธิบุคคลใดบุคคลหนึ่ง และไม่เป็นผู้กระทำผิดกฎหมายเสียเอง...เชื่อว่าประเทศไทยน่าจะลดอุบัติเหตุได้ไม่มากก็น้อย หากทุกภาคส่วนร่วมมือกันทำอย่างจริงจังไม่ใช่แค่งาน “ผักชีโรยหน้า” ดังเช่นที่ผ่านมา.
สลด 'ไทย' นำลิ่ว อุบัติเหตุคร่าชีวิต สูงที่สุดในเอเชียและอาเซียน / แก้กม.ให้โทษหนัก แนะคุมสติใช้รถ
สลด'ไทย'นำลิ่วอุบัติเหตุคร่าชีวิต
ประเทศไทย มีอัตราการเสียชีวิตสูงที่สุดในเอเชียและอาเซียน ถือเป็นเรื่องใหญ่เรื่องสำคัญที่ทุกภาคส่วนจะต้องตระหนักและช่วยเหลือหาทางออกลดจำนวนอัตราการเสียชีวิตจากอุบัติเหตุให้ได้
สลด'ไทย'นำลิ่วอุบัติเหตุคร่าชีวิต แก้กม.ให้โทษหนักแนะคุมสติใช้รถ
ศูนย์กลางรวบรวมข้อมูลข่าวสาร ความปลอดภัยทางถนน โดยสำนักงานเครือข่ายลดอุบัติเหตุ รายงานตัวเลขอัตราการเสียชีวิตจากอุบัติเหตุทางถนนต่อแสนประชากรของโลกในปีปัจจุบันไว้ในหน้าเว็บไซต์ http://www.accident.or.th/datacenter/index.php ซึ่งเป็นข้อมูลที่น่าสนใจทีเดียว
โดยเบอร์หนึ่งของโลก คือ ลิเบีย มีอัตราการเสียชีวิตอยู่ที่ 73.4 ราย ต่อประชากร 1 แสนคน ตามด้วย ไทย เสียชีวิต 36.2 ราย ต่อประชากร 1 แสนคน และตามด้วย มาลาวี 35.0 ไลบีเรีย 33.7 คองโก 33.2 แทนซาเนีย 32.9 อัฟริกากลาง 32.4 อิหร่าน 32.1 โมซัมบิก 31.6 และ โตโก 31.1 ตามลำดับ (หน่วยเป็น ต่อประชากร 1 แสนคน)
จะเห็นได้ว่าประเทศไทย มีอัตราการเสียชีวิตสูงที่สุดในเอเชียและอาเซียน... ถือเป็นเรื่องใหญ่เรื่องสำคัญที่ภาครัฐ ภาคเอกชน และทุกภาคส่วนจะต้องตระหนักและช่วยเหลือหาทางออกลดจำนวนอัตราการเสียชีวิตจากอุบัติเหตุให้ได้ แต่ทว่าดูเหมือนการทำงานในลักษณะการรณรงค์ ประชาสัมพันธ์ก็จะเป็นเรื่องชั่วครั้งชั่วคราวมากกว่าเป็นแผนระยะยาว
มิหนำซ้ำการเข้มงวดกวดขันหรือวางมาตรการในการป้องปราบต้นเหตุของการเกิดอุบัติเหตุ ทั้งที่มาจากเรื่องพฤติกรรมของคนขับรถ สภาพรถยนต์ รถ จยย. หรือแม้กระทั่งสภาพถนน และอุบัติภัยต่าง ๆ ก็มีการดำเนินการแค่ช่วงระยะเวลาใดเวลาหนึ่งเท่านั้น คือ เทศกาลปีใหม่ เทศกาลสงกรานต์ และเทศกาลหยุดยาว ทั้ง ๆ ที่ตัวเลขของการเกิดอุบัติเหตุในประเทศไทยโดยเฉลี่ยแล้วค่อนข้างสูงในทุก ๆ ช่วงเวลานั่นเอง
ตัวเลขในเดือน 1 ม.ค.-17 มี.ค. 59 (http://www.thairsc.com) เกิดอุบัติเหตุในกรุงเทพฯมากที่สุด คือ 2,680 ครั้ง มีผู้ที่ได้รับบาดเจ็บพิการทุพพลภาพ 5 ราย บาดเจ็บทั่วไป 3,051 ราย และเสียชีวิต 78 ราย รองลงมาคือ จ.เชียงใหม่ เกิดอุบัติเหตุ 1,744 ครั้ง ทุพพลภาพ 2 ราย บาดเจ็บ 1,954 ราย เสียชีวิต 56 ราย และอันดับที่ 3 จ.ชลบุรี เกิดอุบัติเหตุ 1,098 ครั้ง ทุพพลภาพ 5 ราย บาดเจ็บ 1,157 ราย เสียชีวิต 53 ราย
สถิติรวมของทั่วประเทศในระยะเวลาเพียง 2 เดือนครึ่งของปี 59 เกิดอุบัติเหตุ 29,214 ครั้ง ทุพพลภาพ 94 ราย บาดเจ็บ 31,866 ราย เสียชีวิต 1,787 รายและที่น่าตกใจคือทุกจังหวัดมียอดผู้เสียชีวิต ผู้บาดเจ็บจากอุบัติเหตุทุกแห่ง
นพ.ธนะพงศ์ จินวงษ์ ผู้จัดการ ศูนย์วิชาการเพื่อความปลอดภัยทางถนน(ศวปถ.) กล่าวว่า เมื่อเราพูดถึงสถิติการเกิดอุบัติเหตุจะมีข้อมูลจากหลายแหล่ง ตัวเลขอาจไม่ตรงกันทั้งหมด แต่สถิติข้อมูลอุบัติเหตุจากกระทรวงสาธารสุข โดยประมาณคือ ในหนึ่งปี มีผู้ประสบอุบัติเหตุโดยรวมกว่า 1 ล้านคน มีอาการรุนแรง 150,000 คน และมีจำนวน 5 เปอร์เซ็นที่มีอาการพิการ ประมาณ 5,000 คน และมีผู้เสียชีวิตประมาณ 15,000 คน แต่หากไปดูข้อมูลจากองค์การอนามัยโลก (WHO) จะพบว่ามีผู้เสียชีวิตสูงกว่านี้เกือบสองเท่า หรือประมาณ 24,000 คน
ส่วนยานพาหนะที่เกิดอุบัติเหตุสูงสุดคือรถจักรยานยนต์ ประมาณ 70 เปอร์เซ็นต์ รองลงมาคือรถปิกอัพ หรือรถเก๋ง สาเหตุหลักมาจากความเร็ว อาทิ กรณีของรถเบนซ์ขับพุ่งชนท้ายรถฟอร์ด เฟียสต้า เป็นเหตุทำให้เกิดเพลิงลุกไหม้ 2 นิสิตปริญญาโทเสียชีวิต เมื่อวันที่ 13 มี.ค. 59 ที่ผ่านมา ซึ่งกำลังเป็นข่าวอยู่ขณะนี้ ประเด็นที่ตนคิดว่าเชื่อมโยงกับกรณีนี้ 75 เปอร์เซ็นต์ คือความเร็ว อีกทั้งความเร็วยังถูกมองว่าเป็นการขับรถโดยประมาท ในขณะที่ขับรถด้วยความเร็วสูง ฝ่าไฟแดง ซึ่งในต่างประเทศการกระทำแบบนี้คือสิ่งอันตราย มีบทลงโทษที่ต่างกับประเทศไทย
ประเทศญี่ปุ่นมีบทลงโทษที่รุนแรงในคดีจราจร ไม่ว่าจะเป็นการขับรถเร็ว การดื่มแล้วขับ การฝ่าไฟแดง หรือไม่มีใบขับขี่ก็ตาม เมื่อเกิดเหตุจะถือว่าขับรถโดยอันตราย แต่ประเทศไทยการบังคับใช้กฎหมายคดีจราจรมีช่องว่าง คือเหมารวมไปว่าเป็นการขับรถโดยประมาท ไม่ได้มีเจตนา
“ผมเห็นว่ากรณีดังกล่าวเป็นจุดสำคัญที่ทำให้ต้องมีการทบทวนข้อหาประมาทด้วย โดยต้องมีการทำอย่างมีประสิทธิภาพให้ผู้ที่มีพฤติกรรมเหล่านี้ ไม่กล้าทำผิดอีก รวมทั้งต้องมีการบังคับใช้กฎหมายอย่างจริงจัง มีการเปลี่ยนแปลงบทลงโทษให้มีความรุนแรงกว่านี้”
ทั้งนี้แนวโน้มการเกิดอุบัติเหตุตั้งแต่ปี 2557-2558 ที่ผ่านมา ตัวเลขยังคงนิ่ง ไม่ลดลงอย่างมีนัย มีการลดลงอย่างช้า ๆ ผู้บาดเจ็บและเสียชีวิตยังไม่ดีขึ้น เพราะเรายังจัดการกับปัญหาสาเหตุหลักของการเกิดอุบัติเหตุไม่ได้ โดยจากสถิติปีที่มีอุบัติเหตุสูงที่สุดคือ 2546 และ 2547 จากนั้นลดลงมาระยะหนึ่ง จนกระทั่งขณะนี้ตัวเลขยังคงนิ่งอยู่
ทางออกของการลดอุบัติเหตุ คือ คนขับคนใช้รถต้องมีความพร้อมและมีความรู้ในเรื่องกฎจราจรและรถยนต์ในระดับหนึ่ง สภาพถนนจะต้องไม่เป็นอันตรายต่อการใช้ยวดยานพาหนะทุกชนิด สภาพยานพาหนะไม่ว่าจะเป็นรถชนิดใดต้องอยู่ในสภาพสมบูรณ์พร้อมใช้งานได้อย่างปลอดภัยต่อคนใช้งานและเพื่อนร่วมทาง และต้องมีสติไม่ประมาท
ส่วนของภาครัฐนั้นก็ต้องมีการเพิ่มมาตรการทางกฎหมายให้เข้มงวด ผู้บังคับใช้กฎหมายไม่ว่าจะเป็นตำรวจหรือเจ้าหน้าที่ส่วนอื่น ต้องยึดกฎหมายเป็นหลักไม่ใช่สร้างบรรทัดฐานที่แตกต่างและแตกแยกกันออกมา และภาคสังคมต้องช่วยกันเป็นหูเป็นตา ชี้เบาะแสการกระทำผิดหรือการกระทำโดยประมาทของผู้ใช้รถใช้ถนนทำอยู่ในปัจจุบันดังเช่นการใช้โซเชียลเน็ตเวิร์กช่องทางต่าง ๆเผยแพร่ภาพคลิปการขับขี่รถ หรือการเกิดอุบัติเหตุ
แต่การใช้เครื่องมือสื่อสารที่รวดเร็วดังเช่น โซเชียลเน็ตเวิร์กนั้นก็ต้องพึงระวังอย่าไปละเมิดสิทธิบุคคลใดบุคคลหนึ่ง และไม่เป็นผู้กระทำผิดกฎหมายเสียเอง...เชื่อว่าประเทศไทยน่าจะลดอุบัติเหตุได้ไม่มากก็น้อย หากทุกภาคส่วนร่วมมือกันทำอย่างจริงจังไม่ใช่แค่งาน “ผักชีโรยหน้า” ดังเช่นที่ผ่านมา.