สวัสดีครับ อาทิตย์ที่แล้วหายไปเพราะช่วงนี้งานยุ่งมากเลย พอดีว่าเปเปอร์ของผมใกล้จะคลอด เลยต้องทำแลปวันละ 14 ชั่วโมงไม่ได้พัก กลับบ้านมาก็สลบเลย แถมป่วยด้วย เลยไม่ได้มีเวลามาเขียนเลยครับ ขออภัยมา ณ ที่นี้นะครับ
อาทิตย์ที่แล้วเป็นวันแม่ของที่อังกฤษ ซึ่งแฟนของผมเคยอยู่กับ Host family มาก่อนหลายปี ซึ่งเค้าใจดีมากๆ นับแฟนผมเหมือนเป็นลูกเค้าอีกคนเลย ไปมาหาสู่กันตลอด รอบนี้แฟนผมซื้อการ์ดกับดอกไม้ไปให้ ส่วนผมขอโชว์ฝีมือทำบลูเบอรี่มัฟฟิ่นที่ทำง่ายมาก เหมาะกับคนที่ไม่มีเวลาอย่างผมมาก
ขอออกตัวไว้ก่อนเลยว่าผมไม่ค่อยชอบหวาน สูตรของผมจะหวานน้อยมาก เน้นความหวานธรรมชาติจากบลูเบอรี่ ถ้าบลูเบอรี่ไม่หวานควรจะเพิ่มน้ำตาลในสูตรนะครับ ค่อนข้างจะไม่เสียสุขภาพมากนะครับ เพราะใช้น้ำมันพืชแทนเนยด้วย
มาดูวัตถุดิบกันก่อน
1) บลูเบอรี่ 400 g (บลูเบอรี่แน่นมาก)
2) แป้งสาลี 300 g
3) น้ำตาลทราย 75 g
4) น้ำตาลทรายแดง 75 g (เพื่อความหอม)
5) เกลือ 1/2 ชช.
6) ผงฟู 3 ชช.
7) น้ำมันพืช 120 mL
8) นม 150 mL
9) ไข่ 2 ฟอง
10) กลิ่นวนิลา 2 ชช.
11) อัลม่อนสไลซ์ (สำหรับโรยหน้า กลิ่นจะหอมและเข้ากับบลูเบอรี่มากๆครับ)
วัตถุดิบราคารวมกันประมาณ £4 ครับ พอดีว่าไปได้บลูเบอรี่มาจากตลาด ค่อนข้างถูกและปริมาณเยอะ
วิธีทำ วอร์มเตาอบที่ 200 องศา ไฟบนล่าง ปูกระดาษไขบนพิมพ์เค้ก ถ้าใครขี้เกียจหยอดก็เอาพิมพ์ใหญ่ๆไปเลยครับ แล้วค่อยมาตัด (ปล. ผมขี้เกียจอะ 555)
เอาส่วนผสมทุกอย่างยกเว้นบลูเบอรี่กับอัลม่อนผสมเข้าด้วยกัน ไม่ต้องร่อน ไม่ต้องมีลำดับ ใส่ๆไปเลยในชามนั่นแหละครับ
เสร็จแล้วก็คนๆๆๆให้เข้ากัน (อย่าคนเยอะ เดี๋ยวมันจะเหนียวนะ) แล้วก็โยนบลูเบอรี่ลงไป คลุกๆให้มันเข้ากัน ไม่ต้องเบามือมาก ให้บลูเบอรี่แตกบ้างก็ดีครับ กลิ่นบลูเบอรี่จะเข้าไปในมัฟฟินเพิ่มขึ้น
เทลงพิมพ์เลยครับ เทให้สูงประมาณ 3/4 ของความสูงพิมพ์เพราะมันจะฟูเยอะเหมือนกันครับ
โรยด้วยอัลม่อนสไลซ์
เอาเข้าเตาอบ ไฟบนล่าง พัดลม 200 องศา ชิ้นเล็กๆอบประมาณ 15 นาที ถาดใหญ่ประมาณครึ่งชม.ครับ (ใครไม่มีเตาอบลองเอาใส่แก้วแล้วเวฟ หรือใส่หม้อหุงข้าวดูนะครับ ผมว่าอร่อยเหมือนกัน)
เสร็จแล้ววว!! มีของที่ต้องล้างแค่นี้เอง ชิวมาก
ถ้าใครคิดว่าผมกับแฟนจะรอกินมัฟฟิน จิบกาแฟกันเป็นข้าวเช้าแบบสากลเค้ากินกัน ขอบอกว่าเดาผิดครับ หุๆ เมื่อวานแฟนทำ "เส้นหมี่ไก่ตุ๋นพะโล้" แล้วมันเหลือ ก็เอามากินสิครับ ฟินนนน (ไก่นุ่มมากกก หอมม อร่อยยย)
ล้างปากด้วยมัฟฟินที่หอมกรุ่นออกจากเตาร้อนๆ
ไหนลองบิดูข้างในซิ
ข้างนอกกรอบ ข้างในฟู นุ่ม บลูเบอรี่เยิ้มเลย ไม่ไหวละ กินเลยดีกว่า อ้ำ อ้ำ อ้ำ หอมอัลม่อน หวานธรรมชาติจากบลูเบอรี่
กินอันเล็กหมดไป 3 ชิ้น อันใหญ่ก็อบเสร็จพอดี เช็คสุกโดยใช้ไม้จิ้ม ถ้าไม่มีอะไรติดออกมาก็เป็นอันใช้ได้ครับ
รอให้เย็นลงเล็กน้อย เอามีดแซะขอบ แล้วคว่ำลงบนจาน ดึงกระดาษไขออก
เสร็จแล้วจะรออะไร ก็ตัดชิมสิครับ นักชิมกิตติมศักดิ์ของเราบอกว่าผ่านจ้า ^^
กินไปกินมาเดี๋ยวหมดซะก่อน ต้องอย่าลืมจุดประสงค์แรก ตัดแบ่งให้ host family ใส่กล่องที่ใส่บลูเบอรี่มาแหละครับ ง่ายดี (ล้างแล้วน้าา)
พร้อมเอาไปฝากแล้วครับ ^^
host ชิมแล้วบอกว่า ไปซื้อมาจากที่ไหนเนี่ย คนทำก็ยิ้มเลยครับ เสร็จแล้วครับกับบลูเบอรี่มันฟินง่ายๆ ทำแป๊บเดียวได้กินเลย แต่ขอบอกว่ากินใหม่ๆ ออกจากเตาอร่อยที่สุดนะครับ
มาถึงเรื่องเคมีกันบ้าง ช่วงแรกๆผมเน้นเรื่องไขมันไปแล้ว เรามาเข้าสู่สารอาหารกลุ่มที่สองคือแป้งและน้ำตาลกันบ้าง สำหรับกระทู้แรกนี้ผมขอแค่เกริ่นข้อมูลทั่วไปทางด้านโครงสร้าง และคุณสมบัติพื้นฐานก่อนนะครับ ในกระทู้ต่อๆไปจะลงรายละเอียดที่น่าตื่นเต้นเพิ่มขึ้น ใครที่มีคำถามเกี่ยวกับแป้งและน้ำตาลก็ถามไว้นะครับ ผมจะไปเรียบเรียงข้อมูลมาตอบในกระทู้ถัดๆไปครับผม
(ภาพจากกูเกิ้ล)
แป้ง และ น้ำตาล จัดอยู่ในกลุ่มสารอาหารประเภท
คาร์โบไฮเดรต (Carbohydrate) ซึ่งถ้าแปลกันตามตัวก็คือ คาร์บอน และ ไฮเดรต (น้ำ) ยกตัวอย่างเช่นน้ำตาลกลูโคส (C6H12O6) มีปริมาณอะตอมเท่ากับคาร์บอน 6 ตัวมาผสมกับน้ำ(H2O) 6 โมเลกุล นั่นเองครับ
นอกจากจะเรียกว่าคาร์โบไฮเดรตแล้ว ยังมีอีกชื่อนึงก็คือแซกคาไรด์ (Saccharide) ด้วย ซึ่งคาร์โบไฮเดรตสามารถแบ่งย่อยลงไปได้ 4 อย่างคือ
1) Monosaccharide เป็นหน่วยย่อยที่สุดของคาร์โบไฮเดรต คือน้ำตาลโมเลกุลเดี่ยวนั่นเอง เช่น กลูโคส ฟรุคโตส กาแลคโตส
2) Disaccharide คือน้ำตาลโมเลกุลคู่ เอาข้อ 1 มาต่อกัน 2 ตัว เช่นซูโครส (น้ำตาลทราย)
3) Oligosปปaccharide คือเอาข้อ 1 มาต่อกัน 3 - 10 ตัว
4) Polysaccharide ประกอบด้วยแป้ง และ เซลลูโลส คือเอาข้อ 1 มาต่อกันหลายๆตัว ส่วนใหญ่จะมีประมาณ 200 - 2500 ตัว
ก่อนอื่นเรามาดูหน่วยที่ย่อยที่สุดกันก่อน Monosaccharide นั้นความจริงแล้วสามารถแยกย่อยลงไปได้อีก แบ่งตามจำนวนคาร์บอน ซึ่งจริงๆแล้วสามารถมีได้ตั้งแต่ 2-7 ตัวเลย ที่เราเจอกันบ่อยที่สุดคือแบบที่มีคาร์บอน 6 ตัว ซึ่งยังแบ่งย่อยไปได้อีก เป็นน้ำตาลแต่ละชนิด เช่น กลูโคส ฟรุคโตส กาแลคโตส และอื่นๆ
เรามาเริ่มเข้าสู่เคมีกันมั่ง แล้ว กลูโคส ฟรุคโตส กาแลคโตส ต่างกันยังไง สูตรโมเลกุลก็ C6H12O6 เหมือนกัน จำนวนอะตอมเท่ากัน เรามาดูโครงสร้างของน้ำตาลทั้ง 3 ชนิดกันก่อน
จากรูปจะเห็นว่าจริงๆแล้วกลูโคสแทบจะไม่ต่างจากกาแลคโทสเลย มีแค่ที่เดียวที่หมู่ OH กลับไปอยู่ด้านซ้าย
ส่วนฟรุคโทสนั้นจะต่างออกไปหน่อย หมู่ตรงที่ส่วนหัวของโมเลกุลนั้นสลับกัน (alcohol สลับกับ carbonyl)
ถึงแม้จะดูว่าโคงสร้างต่างกันไม่เยอะ แต่ก็ทำให้คุณสมบัติต่างๆเช่นความหวาน และ การย่อยแตกต่างกันมาก
แต่ช้าก่อน! ยังไม่จบ โครงสร้างที่เอาให้ดูนั้นยังไม่ใช่โครงสร้างที่แท้จริง เพราะว่าความเป็นจริงแล้ว น้ำตาลจะชอบขดเป็นวง โดยจะเอาหมู alcohol มาชนกับหมู่ carbonyl ให้ได้เป็นวง 5 เหลี่ยมหรือ 6 เหลี่ยม
ตอนที่ปิดวงนั้น หมู่ carbonyl (C=O) จะถูกแปลงกลายเป็นหมู่ alcohol (C-OH) ตรงที่มีเครื่องหมายดอกจัน ซึ่งหมู่ alcohol ตัวนี้สามารถชี้ขึ้น หรือ ชี้ลงก็ได้ ถ้าชี้ลงเราเรียกว่า alpha ถ้าชี้ขึ้นเราเรียกว่า beta
เชื่อหรือไม่ว่า แค่การที่มันชี้ขึ้นหรือชี้ลงก็มีผลมหาศาลต่อคุณสมบัติของโมเลกุลแล้ว
ขอยกตัวอย่างว่าถ้าเอา alpha glucose (ชี้ลง) มาต่อกัน จะได้ออกมาเป็นแป้ง มีโครงสร้างยืดหยุ่น หมุนไปมาได้ ร่างการสามารถย่อยให้กลับกลายเป็นกลูโคสเอาไปใช้เป็นพลังงานได้
แต่ถ้าเอา beta glucose (ชี้ขึ้น) มาต่อกัน จะได้ออกมาเป็นเซลลูโลส มีโครงสร้างแข็งแรง เป็นผนังเซลล์ของพืช ถ้าใครย่อยได้นี่ก็อาจจะมีบรรพบุรุษร่วมกับม้าหรือวัวก็เป็นได้
(รูปภาพบางส่วนจากกูเกิ้ลครับ)
หลายคนที่ไม่เรียนสายวิทย์มาอาจจะมึน เราพักไว้เท่านี้ก่อนละกันนะครับ เดี๋ยวอาทิตย์หน้าจะมาปูพื้นฐานเกี่ยวกับคาร์โบไฮเดรตเพิ่มอีกเล็กน้อยก่อนจะเข้าสู่พวกเกร็ดความรู้ที่น่าสนใจต่างๆ ใครไม่เข้าใจมาฟังสรุปกัน
สรุป :
- คาร์โบไฮเดรตแบ่งออกเป็นหลายชนิดมากมาย ที่เรารู้จักกันมีอยู่แค่นิดเดียวเอง
- คาร์โบไฮเดรตทุกชนิดประกอบจากหน่วยย่อยคือน้ำตาลโมเลกุลเดี่ยว
- แป้งกับเซลลูโลสประกอบจากกลูโคสเหมือนกัน แต่ต่อกันคนละแบบ ทำให้คุณสมบัติต่างกันสุดๆ
ใครสนใจอยากรู้อะไรเกี่ยวกับแป้งและน้ำตาลก็ทิ้งคำถามไว้นะครับ เดี๋ยวผมจะหาข้อมูลมาตอบใน Ep หน้าๆครับ ^^
[Home-Cooking Lab] Ep.11 "บลูเบอรี่มัฟฟิ่น" สูตรโคตรง่าย + เคมีของ "คาร์โบไฮเดรต" (1)
สวัสดีครับ อาทิตย์ที่แล้วหายไปเพราะช่วงนี้งานยุ่งมากเลย พอดีว่าเปเปอร์ของผมใกล้จะคลอด เลยต้องทำแลปวันละ 14 ชั่วโมงไม่ได้พัก กลับบ้านมาก็สลบเลย แถมป่วยด้วย เลยไม่ได้มีเวลามาเขียนเลยครับ ขออภัยมา ณ ที่นี้นะครับ
อาทิตย์ที่แล้วเป็นวันแม่ของที่อังกฤษ ซึ่งแฟนของผมเคยอยู่กับ Host family มาก่อนหลายปี ซึ่งเค้าใจดีมากๆ นับแฟนผมเหมือนเป็นลูกเค้าอีกคนเลย ไปมาหาสู่กันตลอด รอบนี้แฟนผมซื้อการ์ดกับดอกไม้ไปให้ ส่วนผมขอโชว์ฝีมือทำบลูเบอรี่มัฟฟิ่นที่ทำง่ายมาก เหมาะกับคนที่ไม่มีเวลาอย่างผมมาก
ขอออกตัวไว้ก่อนเลยว่าผมไม่ค่อยชอบหวาน สูตรของผมจะหวานน้อยมาก เน้นความหวานธรรมชาติจากบลูเบอรี่ ถ้าบลูเบอรี่ไม่หวานควรจะเพิ่มน้ำตาลในสูตรนะครับ ค่อนข้างจะไม่เสียสุขภาพมากนะครับ เพราะใช้น้ำมันพืชแทนเนยด้วย
มาดูวัตถุดิบกันก่อน
1) บลูเบอรี่ 400 g (บลูเบอรี่แน่นมาก)
2) แป้งสาลี 300 g
3) น้ำตาลทราย 75 g
4) น้ำตาลทรายแดง 75 g (เพื่อความหอม)
5) เกลือ 1/2 ชช.
6) ผงฟู 3 ชช.
7) น้ำมันพืช 120 mL
8) นม 150 mL
9) ไข่ 2 ฟอง
10) กลิ่นวนิลา 2 ชช.
11) อัลม่อนสไลซ์ (สำหรับโรยหน้า กลิ่นจะหอมและเข้ากับบลูเบอรี่มากๆครับ)
วัตถุดิบราคารวมกันประมาณ £4 ครับ พอดีว่าไปได้บลูเบอรี่มาจากตลาด ค่อนข้างถูกและปริมาณเยอะ
วิธีทำ วอร์มเตาอบที่ 200 องศา ไฟบนล่าง ปูกระดาษไขบนพิมพ์เค้ก ถ้าใครขี้เกียจหยอดก็เอาพิมพ์ใหญ่ๆไปเลยครับ แล้วค่อยมาตัด (ปล. ผมขี้เกียจอะ 555)
เอาส่วนผสมทุกอย่างยกเว้นบลูเบอรี่กับอัลม่อนผสมเข้าด้วยกัน ไม่ต้องร่อน ไม่ต้องมีลำดับ ใส่ๆไปเลยในชามนั่นแหละครับ
เสร็จแล้วก็คนๆๆๆให้เข้ากัน (อย่าคนเยอะ เดี๋ยวมันจะเหนียวนะ) แล้วก็โยนบลูเบอรี่ลงไป คลุกๆให้มันเข้ากัน ไม่ต้องเบามือมาก ให้บลูเบอรี่แตกบ้างก็ดีครับ กลิ่นบลูเบอรี่จะเข้าไปในมัฟฟินเพิ่มขึ้น
เทลงพิมพ์เลยครับ เทให้สูงประมาณ 3/4 ของความสูงพิมพ์เพราะมันจะฟูเยอะเหมือนกันครับ
โรยด้วยอัลม่อนสไลซ์
เอาเข้าเตาอบ ไฟบนล่าง พัดลม 200 องศา ชิ้นเล็กๆอบประมาณ 15 นาที ถาดใหญ่ประมาณครึ่งชม.ครับ (ใครไม่มีเตาอบลองเอาใส่แก้วแล้วเวฟ หรือใส่หม้อหุงข้าวดูนะครับ ผมว่าอร่อยเหมือนกัน)
เสร็จแล้ววว!! มีของที่ต้องล้างแค่นี้เอง ชิวมาก
ถ้าใครคิดว่าผมกับแฟนจะรอกินมัฟฟิน จิบกาแฟกันเป็นข้าวเช้าแบบสากลเค้ากินกัน ขอบอกว่าเดาผิดครับ หุๆ เมื่อวานแฟนทำ "เส้นหมี่ไก่ตุ๋นพะโล้" แล้วมันเหลือ ก็เอามากินสิครับ ฟินนนน (ไก่นุ่มมากกก หอมม อร่อยยย)
ล้างปากด้วยมัฟฟินที่หอมกรุ่นออกจากเตาร้อนๆ
ไหนลองบิดูข้างในซิ
ข้างนอกกรอบ ข้างในฟู นุ่ม บลูเบอรี่เยิ้มเลย ไม่ไหวละ กินเลยดีกว่า อ้ำ อ้ำ อ้ำ หอมอัลม่อน หวานธรรมชาติจากบลูเบอรี่
กินอันเล็กหมดไป 3 ชิ้น อันใหญ่ก็อบเสร็จพอดี เช็คสุกโดยใช้ไม้จิ้ม ถ้าไม่มีอะไรติดออกมาก็เป็นอันใช้ได้ครับ
รอให้เย็นลงเล็กน้อย เอามีดแซะขอบ แล้วคว่ำลงบนจาน ดึงกระดาษไขออก
เสร็จแล้วจะรออะไร ก็ตัดชิมสิครับ นักชิมกิตติมศักดิ์ของเราบอกว่าผ่านจ้า ^^
กินไปกินมาเดี๋ยวหมดซะก่อน ต้องอย่าลืมจุดประสงค์แรก ตัดแบ่งให้ host family ใส่กล่องที่ใส่บลูเบอรี่มาแหละครับ ง่ายดี (ล้างแล้วน้าา)
พร้อมเอาไปฝากแล้วครับ ^^
host ชิมแล้วบอกว่า ไปซื้อมาจากที่ไหนเนี่ย คนทำก็ยิ้มเลยครับ เสร็จแล้วครับกับบลูเบอรี่มันฟินง่ายๆ ทำแป๊บเดียวได้กินเลย แต่ขอบอกว่ากินใหม่ๆ ออกจากเตาอร่อยที่สุดนะครับ
มาถึงเรื่องเคมีกันบ้าง ช่วงแรกๆผมเน้นเรื่องไขมันไปแล้ว เรามาเข้าสู่สารอาหารกลุ่มที่สองคือแป้งและน้ำตาลกันบ้าง สำหรับกระทู้แรกนี้ผมขอแค่เกริ่นข้อมูลทั่วไปทางด้านโครงสร้าง และคุณสมบัติพื้นฐานก่อนนะครับ ในกระทู้ต่อๆไปจะลงรายละเอียดที่น่าตื่นเต้นเพิ่มขึ้น ใครที่มีคำถามเกี่ยวกับแป้งและน้ำตาลก็ถามไว้นะครับ ผมจะไปเรียบเรียงข้อมูลมาตอบในกระทู้ถัดๆไปครับผม
(ภาพจากกูเกิ้ล)
แป้ง และ น้ำตาล จัดอยู่ในกลุ่มสารอาหารประเภท คาร์โบไฮเดรต (Carbohydrate) ซึ่งถ้าแปลกันตามตัวก็คือ คาร์บอน และ ไฮเดรต (น้ำ) ยกตัวอย่างเช่นน้ำตาลกลูโคส (C6H12O6) มีปริมาณอะตอมเท่ากับคาร์บอน 6 ตัวมาผสมกับน้ำ(H2O) 6 โมเลกุล นั่นเองครับ
นอกจากจะเรียกว่าคาร์โบไฮเดรตแล้ว ยังมีอีกชื่อนึงก็คือแซกคาไรด์ (Saccharide) ด้วย ซึ่งคาร์โบไฮเดรตสามารถแบ่งย่อยลงไปได้ 4 อย่างคือ
1) Monosaccharide เป็นหน่วยย่อยที่สุดของคาร์โบไฮเดรต คือน้ำตาลโมเลกุลเดี่ยวนั่นเอง เช่น กลูโคส ฟรุคโตส กาแลคโตส
2) Disaccharide คือน้ำตาลโมเลกุลคู่ เอาข้อ 1 มาต่อกัน 2 ตัว เช่นซูโครส (น้ำตาลทราย)
3) Oligosปปaccharide คือเอาข้อ 1 มาต่อกัน 3 - 10 ตัว
4) Polysaccharide ประกอบด้วยแป้ง และ เซลลูโลส คือเอาข้อ 1 มาต่อกันหลายๆตัว ส่วนใหญ่จะมีประมาณ 200 - 2500 ตัว
ก่อนอื่นเรามาดูหน่วยที่ย่อยที่สุดกันก่อน Monosaccharide นั้นความจริงแล้วสามารถแยกย่อยลงไปได้อีก แบ่งตามจำนวนคาร์บอน ซึ่งจริงๆแล้วสามารถมีได้ตั้งแต่ 2-7 ตัวเลย ที่เราเจอกันบ่อยที่สุดคือแบบที่มีคาร์บอน 6 ตัว ซึ่งยังแบ่งย่อยไปได้อีก เป็นน้ำตาลแต่ละชนิด เช่น กลูโคส ฟรุคโตส กาแลคโตส และอื่นๆ
เรามาเริ่มเข้าสู่เคมีกันมั่ง แล้ว กลูโคส ฟรุคโตส กาแลคโตส ต่างกันยังไง สูตรโมเลกุลก็ C6H12O6 เหมือนกัน จำนวนอะตอมเท่ากัน เรามาดูโครงสร้างของน้ำตาลทั้ง 3 ชนิดกันก่อน
จากรูปจะเห็นว่าจริงๆแล้วกลูโคสแทบจะไม่ต่างจากกาแลคโทสเลย มีแค่ที่เดียวที่หมู่ OH กลับไปอยู่ด้านซ้าย
ส่วนฟรุคโทสนั้นจะต่างออกไปหน่อย หมู่ตรงที่ส่วนหัวของโมเลกุลนั้นสลับกัน (alcohol สลับกับ carbonyl)
ถึงแม้จะดูว่าโคงสร้างต่างกันไม่เยอะ แต่ก็ทำให้คุณสมบัติต่างๆเช่นความหวาน และ การย่อยแตกต่างกันมาก
แต่ช้าก่อน! ยังไม่จบ โครงสร้างที่เอาให้ดูนั้นยังไม่ใช่โครงสร้างที่แท้จริง เพราะว่าความเป็นจริงแล้ว น้ำตาลจะชอบขดเป็นวง โดยจะเอาหมู alcohol มาชนกับหมู่ carbonyl ให้ได้เป็นวง 5 เหลี่ยมหรือ 6 เหลี่ยม
ตอนที่ปิดวงนั้น หมู่ carbonyl (C=O) จะถูกแปลงกลายเป็นหมู่ alcohol (C-OH) ตรงที่มีเครื่องหมายดอกจัน ซึ่งหมู่ alcohol ตัวนี้สามารถชี้ขึ้น หรือ ชี้ลงก็ได้ ถ้าชี้ลงเราเรียกว่า alpha ถ้าชี้ขึ้นเราเรียกว่า beta
เชื่อหรือไม่ว่า แค่การที่มันชี้ขึ้นหรือชี้ลงก็มีผลมหาศาลต่อคุณสมบัติของโมเลกุลแล้ว
ขอยกตัวอย่างว่าถ้าเอา alpha glucose (ชี้ลง) มาต่อกัน จะได้ออกมาเป็นแป้ง มีโครงสร้างยืดหยุ่น หมุนไปมาได้ ร่างการสามารถย่อยให้กลับกลายเป็นกลูโคสเอาไปใช้เป็นพลังงานได้
แต่ถ้าเอา beta glucose (ชี้ขึ้น) มาต่อกัน จะได้ออกมาเป็นเซลลูโลส มีโครงสร้างแข็งแรง เป็นผนังเซลล์ของพืช ถ้าใครย่อยได้นี่ก็อาจจะมีบรรพบุรุษร่วมกับม้าหรือวัวก็เป็นได้
(รูปภาพบางส่วนจากกูเกิ้ลครับ)
หลายคนที่ไม่เรียนสายวิทย์มาอาจจะมึน เราพักไว้เท่านี้ก่อนละกันนะครับ เดี๋ยวอาทิตย์หน้าจะมาปูพื้นฐานเกี่ยวกับคาร์โบไฮเดรตเพิ่มอีกเล็กน้อยก่อนจะเข้าสู่พวกเกร็ดความรู้ที่น่าสนใจต่างๆ ใครไม่เข้าใจมาฟังสรุปกัน
สรุป :
- คาร์โบไฮเดรตแบ่งออกเป็นหลายชนิดมากมาย ที่เรารู้จักกันมีอยู่แค่นิดเดียวเอง
- คาร์โบไฮเดรตทุกชนิดประกอบจากหน่วยย่อยคือน้ำตาลโมเลกุลเดี่ยว
- แป้งกับเซลลูโลสประกอบจากกลูโคสเหมือนกัน แต่ต่อกันคนละแบบ ทำให้คุณสมบัติต่างกันสุดๆ
ใครสนใจอยากรู้อะไรเกี่ยวกับแป้งและน้ำตาลก็ทิ้งคำถามไว้นะครับ เดี๋ยวผมจะหาข้อมูลมาตอบใน Ep หน้าๆครับ ^^