ปิ่นโต ภาชนะใส่อาหารที่อยู่คู่กับสังคมไทยตั้งแต่สมัยอดีต คำว่าปิ่นโต มีที่มาไม่ทราบแน่นอนนัก บ้างแหล่งที่มาจากคำว่า "ปินโต" ในภาษาโปรตุเกส แต่โสมทัต เทเวศร์ (นามปากกาของ ส.พลายน้อย หรือ สมบัติ พลายน้อย) นักภาษาศาสตร์ เขียนแย้งว่า น่าจะเป็นการจำไขว้เขวกับฝรั่งโปรตุเกสที่เข้ามาอยู่เมืองไทยสมัยกรุงศรีอยุธยา ชื่อ เฟอร์นันโด เม็นเดซ ปินโต(Fernão Mendes Pinto) จึงทำให้คนคล้อยตามกันมาก ความจริงแล้วตามพจนานุกรมภาษาโปรตุเกส คำว่า "Pinto" หมายถึงลูกไก่ ดังนั้นภายหลังส่วนใหญ่ลงความเห็นสอดคล้องกันว่าน่าจะมาจากคำว่า "เบนโต" ในภาษาญี่ปุ่น ซึ่งหมายถึง ข้าวกล่อง
ลักษณะของปิ่นโต เมื่อนำมาต่อกันจะมีลักษณะเป็นทรงกระบอก เมื่อแยกออกจากกัน ปิ่นโตแต่ละชั้นจะมีลักษณะเป็นทรงกระบอกเตี้ยฐานกว้าง ซึ่งคนทางภาคใต้เรียกว่า “ชั้น” และ คนแถบภาคเหนือเรียก “ถ้วยสาย” แต่คนไทยส่วนใหญ่แล้ว จะเรียกกันว่า “เถา” เช่น ปิ่นโต 2 เถา, ปิ่นโต 5 เถา เป็นต้น
ตัวผมเป็นเด็กน้อยจากบ้านนอก อำเภอหนึ่งในจังหวัดพะเยา ที่เกิดในช่วงยุค 90 ต้นๆ ยุคที่คั่นกลางระหว่างคำว่าสมัยเก่าและใหม่ มีเรื่องราวในอดีตมากมายที่อยู่ระหว่างการพัฒนาในเรื่องต่าง ทั้งเทคโนโลยี การคมนาคม การละเล่นต่างๆ ไม่ได้มีของเล่น เช่นหุ่นยนต์หรือตุ๊กตา มีเพียงม้าก้านกล้วย นำไม้ไผ่มาเหลาเป็นก้านว่าว เล่นว่าวกินหาง ลองมองย้อนดูเด็กสมัยนี้นะ ช่างน่าอิจฉาจริงๆ ที่มีของเล่นแพงๆ ได้เล่นกันนะ แต่เด็กสมัยนี้ก็คงไม่เคยเล่นกระต่ายขาเดียว หรือรีรีข้าวสารกับเพื่อนสินะ แน่นอนบ้านของผมก็เครื่องใช้สมัยเก่าๆมากมาย และบ้านของผมมีปิ่นโตเยอะมาก มีเกือบทุกขนาด ภาชนะทรงกระบอกเตี้ยฐานกว้าง ที่มีลักษณะตั้งแต่ 2 เถา จนถึง 5 เถาสูงสุด ใหญ่เล็กบ้างตามขนาด
ผมมีเรื่องราวมากมายเกี่ยวกับปิ่นโตนี้ ผมยังจำเรื่องราวเหล่านั้นได้เป็นอย่างดี เมื่อครั้งที่ผมยังเป็นเด็ก ทุกๆเช้าของวันพระ คุณยายได้ตื่นขึ้นมาเตรียมกับข้าวและสำหรับอาหารเพื่อเตรียมไปทำบุญ ไม่เพียงแต่เฉพาะวันพระเท่านั้น ทุกๆเช้าครั้งที่สมัยผมยังเรียนเตรียมอนุบาลจนถึงชั้นอนุบาล คุณยายก็จะทำกิจวัตรเช่นนี้ทุกวัน อาหารที่คุณยายทำ ได้ถูกนำมาใส่ปิ่นโตนี้เพื่อให้ผมพกไปโรงเรียน เด็กน้อยถูกคุณยายปลุกให้ตื่นตั้งแต่ไก่โห่ ถูกจับอาบน้ำแต่งตัวและทาแป้งให้แก้มขาวๆ สะพายกระเป๋าเป้เล็กหนึ่งใบใส่สมุดเล่ม พร้อมด้วยปิ่นโตเล็กขนาด 2 เถา ถืออยู่ในมือขวาไปโรงเรียน ซึ่งเพื่อนๆของผมในสมัยนั้นก็ทำไม่ต่างกัน ทุกๆเช้าคุณครูก็จะคอยถามว่า “วันนี้ทำอะไรมากินกันจ๊ะ เด็กๆ” ซึ่งเป็นความประทับใจที่ไม่เคยลืม เมื่อถึงตอนกลางวัน คุณครูก็จะจับผมกับเพื่อนๆมานั่งล้อมวงกับพื้น และนำอาหารที่ทุกคนได้เตรียมมา วางรวมกันตรงกลางวง กับข้าวอยู่ชั้นบนสุด ข้าวเหนียวอยู่ชั้นล่างพร้อมกับช้อนแกง 1ใบ เมื่อจัดการเตรียมพร้อมเสร็จ คุณครูจะให้ท่องบทขอบคุณชาวนาที่ปลุกข้าวให้เรากินเสียก่อน
“ข้าวทุกจาน อาหารทุกอย่าง
อย่ากินทิ้งขว้าง เป็นของมีค่า
ผู้คนอดอยาก มีมากนักหนา
สงสารบรรดา เด็กตาดำๆ”
พอโตมาเป็นผู้ใหญ่บทท่องนี้มันมียาวมาก แต่ผมยังจำได้เราท่องแค่นี้จริงๆ เมื่อท่องเสร็จเด็กน้อยทั้งหลายก็ลงมือจัดการกับอาหารที่อยู่ตรงหน้า ผมในวัยเด็ก มันมีความสุขมาก ซึ่งไม่รู้ว่าในปัจจุบันจะมีภาพเช่นนี้จะมีอยู่หรือไม่
เมื่อผมเรียนจบชั้นอนุบาล ก็ได้ย้ายออกมาอยู่บ้านกับป้าผมที่จังหวัดลำปาง และผมก็ได้เรียนที่โรงเรียนเอกชนแห่งหนึ่งในตัวเมืองของจังหวัดนั้น ซึ่งการเรียนชั้นประถมของผมในโรงเรียนแห่งนั้น ก็เปลี่ยนไป ไม่มีภาพการพกอาหารปิ่นโตไปโรงเรียน ไม่มีภาพการนั่งล้อมวงกินข้าวล้อมวงกับเพื่อนๆ มีเพียงโรงขนาดอาหารขนาดใหญ่กับโต๊ะมานั่งยาวที่นั่งสองฝากหันหน้าเข้าหากันเท่านั้น แต่ช่วงพักกลางวันก็มีการละเล่นที่ยังคงเดิม การละเล่นสมัยก่อนๆ แต่เมื่อผมได้กลับมาย้อนถามเพื่อนๆในหมู่บ้านสมัยเด็ก โรงเรียนบ้านนอก ช่วงประถมหรือมัธยมก็ยังคงพกอาหารปิ่นโตไปโรงเรียนอยู่เหมือนเดิม แต่เรื่องราวปิ่นโตของผมก็ยังไมได้หายไป ช่วงปิดเทอมการศึกษาหรือวันหยุดยาว ผมก็กลับมาเที่ยวบ้านของคุณยายผมเสมอ
เรื่องราวของอาหารปิ่นโตก็ยังไมได้หายไป เด็กน้อยที่อยู่ในช่วงปิดเทอมการศึกษากลับมาเที่ยวบ้านเกิด เมื่อครั้งที่คุณตาของผมไปทำนา เด็กน้อยอย่างผมก็ตามไปด้วย วิ่งเล่นตรงคันนา ลุยโคลน หรือขี่ควายเล่น เป็นสิ่งที่สนุกมาก เมื่อถึงตอนตะวันชี้ตั้งตรงหัว ผู้ใหญ่ที่ทำนาจะมานั่งพักกายที่บ้านชายคาเล็กๆ มีเสาสี่เสา หลังคาหญ้าคายกสูง เปิดโล่งสี่ด้าน และมีที่นั่งเป็นพื้นไม้ไผ่หรือแผ่นไม้กว้างยกสูง ห่างจากพื้นดินไม่เกิน 50 เซนติเมตร ซึ่งเรียกกันว่า “ห้าง” ซึ่งจะมีประจำจุดของที่นาใครที่นามัน คุณตานั่งพักรับลมคลายร้อนจิบน้ำเย็นๆ น้ำในหม้อดินซึ่งอยู่ตรงมุมเสาของห้างมุมเสาของห้าง ซึ่งน้ำที่อยู่ในหม้อดินเป็นน้ำฝนที่กรองจากฝน แปลกมากที่สมัยก่อนน้ำฝนเป็นน้ำที่สะอาด ตกตามฤดูกาล (คุณตาเคยบอกว่า ถ้าฝนห่าเล็กน้ำจะดื่มไม่ได้ ถ้าฝนห่าใหญ่สามารถกรองมาดื่มได้ ผมก็ยังไม่เข้าใจเหมือนกัน) นั่งพักได้ไม่นานนัก คุณยายเดินดุ่มๆมาแต่ไกล ถือปิ่นโต 5 เถา เดินเลาะตามคันนา บริการส่งถึงที่ 2เถาล่างสุดมีข้าวเหนียวและ 3เถาบนมีกับข้าวอยู่สองอย่าง ภาพบรรยากาศเหล่านั้นช่างมีความสุขมาก สามคน หลาน คุณตา คุณยาย นั่งล้อมวง มือซ้ายปั้นข้าวเหนียวเป็นคำ มือขวาถือช้อนแกงไว้ตักแกง บ้างใช้ช้อนตักซดและบ้างปั้นข้าวเป็นคำจิ้มน้ำแกงเข้าปาก บรรยากาศลมโชยเย็นๆตามทุ่งนา ถึงแม้มีแดดที่ร้อนจัดแต่ก็ไม่ทำให้เป็นอุปสรรคในการทานข้าวได้เลย เมื่อทานเสร็จ คุณยายก็จะนำเศษอาหารที่เหลือ ทิ้งไว้ตามใต้ต้นไม้หรือพุ่มหญ้า (คุณตาก็เคยบอกว่า เศษอาหารพวกนี้ก็เป็นปุ๋ยที่ดี ปล่อยให้ย่อยสลายตามธรรมชาติ เช่น ก้างปลา หรือก้านผักที่ใช้กินกับน้ำพริก) หากมีข้าวเหลือคุณยายก็จะไม่ทิ้ง นำเก็บไปอุ่นกินอีกมื้อหนึ่ง แล้วนำเถาเหล่านั้นมาซ้อนกันเป็นชั้นแล้วเก็บกลับไปล้างที่บ้าน ภาพบรรยากาศวิถีชีวิตบ้านๆ ช่างดูแล้วมีความสุขเสียจริงๆ ไม่เพียงแต่ภาพของผมกับคุณตาคุณยายเท่านั้น กับชาวบ้านคนอื่นๆก็เช่นกัน
ครั้นเมื่อถึงฤดูกาลเก็บเกี่ยว เมื่อข้าวในนาใครพร้อมที่จะเกี่ยวข้าว เจ้าของที่นานั้นจะไปป่าวประกาศตามหมู่บ้าน บอกเล่าถึงปากต่อปาก ว่า “ข้าวในนาข้าพร้อมจะเกี่ยวแล้วนะ” หากใครว่าง ชาวนาในหมู่บ้าน หรือที่อยู่ละแวกเดียวกันก็จะมาช่วยแรงกัน กล่าวคือ หากที่นาใครถึงเวลาเกี่ยวข้าว ชาวนาก็จะไปช่วยกันเกี่ยวโดยไม่คิดค่าแรง แต่เมื่อคราวข้าวของตนถึงเวลาเกี่ยว ชาวนาที่ตนไปช่วยก่อนหน้านี้ ก็จะต้องกลับช่วยตนเกี่ยวข้าว ซึ้งเขาเรียกกันว่า “เอามื้อ” บรรยากาศที่ชาวนาช่วยกันลงแขก ถึงแม้ว่าไม่ร้องรำทำเพลง ขับร้องบทเกี่ยวข้าว แต่ก็บรรยากาศช่างสนุกสนานยิ่งนัก เมื่อถึงเวลาพักทานอาหารบรรยากาศเหล่านั้นได้เริ่มต้นอีกครั้ง บ้างก็มีคนพกปิ่นโตมาแต่เช้า บ้างก็มีคนมาส่ง แต่บ้างก็ไม่พกหรือคนมาส่งเลย ซึ่งก็ไม่ได้เป็นสิ่งที่น่าเกลียดอะไรนัก กับข้าวในเถาวางรวมกันมากมาย มีทั้งผู้ใหญ่และเด็กที่มาวิ่งเล่นในทุ่งนา เด็กๆนั่งอยู่ในแนวเดียวกัน พลันแย่งกันกินหมูทอดกับข้าวเหนียว ผู้ใหญ่ปั้นข้าวจิ้มแกงหรือน้ำพริก กินกันไปพูดคุยหัวเราะกันไป ช่างเพลิดเพลินยิ่งนัก
ภาพเหล่านั้นไม่เพียงเกิดขึ้นเฉพาะที่ทุ่งนา วิถีชีวิตปกติก็สามารถพบเห็นได้ การไปมาหาสู่เยี่ยมเยือน หรือพลันจะไปกินข้าวต่างบ้าน ยามจะไปตัวเปล่าๆก็เห็นว่าจะน่าเกลียด จะให้เจ้าบ้านลงมือทำอย่างเดียวก็ดูอยู่กะไร ก็มีปิ่นโตนี้แหละถือไปมาหาสู่กันเสมอ “ข้ายะแก๋งผักหวานใส่ไข่มดส้ม เดี๋ยวแลงๆ ไปกิ๋นข้าวตวยเด้อ” เมื่อพูดเช่นนี้ พอทำเสร็จก็ไม่พลาดที่จะตักแกงนั้นใส่ปิ่นโตให้พอดีกับคนบ้านนู่น ยกกับข้าวใส่ปิ่นโตไปสมทบกับกับข้าวที่เจ้าบ้านทำอยู่ ดูๆแล้วไม่ได้เป็นการรบกวนอะไรนัก เป็นการสร้างมิตรภาพให้แก่กันเสีย ครั้นเมื่อน้าสาวของผมแต่งงานไปอยู่บ้านผัว ซึ่งก็ไม่ได้ไปไกลเท่าไหร่นัก ก็อยู่ในละแวกหมู่บ้านนั้นแหละ เพื่อไม่ให้คุณยายของผมต้องเหนื่อยนัก ยามเย็นบางครั้งคุณน้าก็มักจะถือปิ่นโต 5เถา ใส่กับข้าวมาให้เสมอๆ บางครั้งก็มาทานด้วยหรือไม่ทานด้วยตามความสะดวก ไม่เพียงแต่บ้านผมเท่านั้น บ้านอื่นๆก็เป็นกัน อาหารในปิ่นโตช่างมีคุณค่ามากจริงๆ ทำให้คนเราได้ผูกมิตรไมตรีจิตซึ่งกันและกัน แลดูไม่ต่างกับ Social ในยุคปัจจุบันเลยด้วยซ้ำ มันดียิ่งกว่าเสียอีก
ณ ปัจจุบันภาพเหล่านั้นเห็นทีเสียจะพลันหายไป เห็นได้ส่วนใหญ่ก็แค่ตามวัดเท่านั้น เมื่อผมจบชั้นประถมเข้าสู่วัยมัธยม เรื่องราวเหล่านี้ก็ค่อยๆจางไป ประกอบกับผมก็ไม่ค่อยกลับบ้านเกิดมากนัก สังคมเข้าสู่ยุคปัจจุบัน อินเตอร์เน็ต และเทคโนโลยีได้ก้าวมาเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตมนุษย์ ระบบทุนนิยม อาหารฟาสต์ฟู้ด ชีวิตที่เร่งรีบ แม้แต่ชีวิตที่ค่อยก้าวเดินไปอย่างช้าแบบชนบทก็พลันได้รับผลกระทบไปด้วย ชาวนาไม่อาจทำนาได้เพียงอย่างเดียว หันมาประกอบอาชีพแบบอื่นเพิ่มขึ้นจากการทำนามากขึ้น ในช่วง 4-5 ปีให้หลัง ผมได้กลับไปบ้านเกิดของผม ตาผมเลิกทำนาหันมาปลูกสวนเล็กๆ ป้า แม่ และคุณน้าของผม ไม่เว้นพ่อ แม่ พี่ ป้า น้า อา ซึ่งรุ่นราวคราวเดียวกัน ต่างหันเข้าสู่ตัวเมืองเข้ามาทำงานรับจ้าง และในหมู่บ้านเองก็มีร้านอาหารเล็กๆ ร้านอาหารตามสั่ง ร้านก๋วยเตี๋ยว ร้านที่ทานข้าวแบบเดี๋ยวเดียวเสร็จ เมื่อถึงคราวทานข้าวตอนเที่ยงตรง ภาพที่มานั่งล้อมวงทานข้าวก็ค่อยๆเริ่มหายไป ถึงแม้จะมีภาพนั่งทานข้าวด้วยกัน แต่ก็ไม่ใช่ลักษณะปิ่นโต กลับเป็นข้าวกล่องโฟมแทน บางคนก็พกมากเองแต่เป็นลักษณะอาหารในถุงพลาสติก หมดก็ทิ้งไป ไม่เป็นการเสียเวลาเก็บมาล้าง หรือบางคนก็ออกจากนาไปสักครู่เพื่อไปทานอาหารจานเดียวเหล่านั้น พอทานเสร็จกลับไม่มีเวลานั่งพักมากนักก็ต้องรีบไปทำนาต่อ
ภาพของเด็กๆ ที่นั่งล้อมวง คุณครูที่คอยถามว่า “วันนี้ทำอะไรมากินกันจ๊ะ เด็กๆ” ก็พลันหายไปตามกาลเวลา ถึงแม้ว่าจะเป็นโรเรียนตามชนบทก็ไม่พ้นที่จะเปลี่ยนแปลง สมัยก่อนจะเรียนอยู่ชั้นประถมก็ยังมีการพกอาหารปิ่นโตอยู่ดี เรื่องราวเลือนหาย มีโรงอาหารหลังใหญ่พอดีคนมาแทนที่ มือขวาของเด็กน้อยที่หิ้วปิ่นโตกลับว่างเปล่า กลับกลายเป็นเงินค่าข้าวที่อยู่ในกระเป๋ากางเกง ไว้ซื้อข้าว 1 จานและยกมาทานที่นั่งของใครของมัน ช่างน่าอนาถใจยิ่งนักที่เรื่องราวเหล่านี้เปลี่ยนไป
ด้วยยุคสมัยที่เปลี่ยนไป วิถีชีวิตที่เร่งรีบ ประกอบกับการเปลี่ยนแปลงยุคสมัย ทัพเพอร์แวร์ (Tupperware) ภาชนะใส่อาหารสมัยใหม่ได้ถูกนำมาใช้แทนที่ เนื่องจากมีลักษะที่พกพาง่าย น้ำหนักเบา ทนทานและยืดหยุ่น อีกทั้งมีหลากหลายขนาด ตอบโจทย์ความต้องการได้มากกว่า จึงเป็นสาเหตุที่ทำให้เป็นที่นิยมมากกว่าการใช้ปิ่นโต ซึ่งในปัจจุบันการพกพาอาหารด้วยปิ่นโต แทบจะเลือนหายไปในชีวิตประจำวันของคนไทย แต่ก็ไม่ได้แปลว่าหายไปจากวิถีชีวิตของคนไทย แต่เราสามารถพบเห็นได้ตามงานบุญวัด ที่ผู้เฒ่าผู้แก่ได้ทำอาหารถวายพระของวันพระ ซึ่งจะพบตามชนบทมากกว่าสังคมในเมือง เป็นเรื่องที่น่ายินดีมากที่เรื่องราวเหล่านี้ยังไม่หายไป และเมื่อเรามองย้อนดู จะเห็นได้ว่า นี่แหละคือวิถีชีวิตของคนไทยในสมัยก่อน ข้าพเจ้ามีความรู้สึกว่าอาหารปิ่นโต เป็นสิ่งที่น่าจดจำอย่างยิ่ง มันเป็นสิ่งมากกว่าเกินคำว่าอาหาร รอยยิ้ม ไมตรีจิตที่ผู้คนต่างได้พบปะกันด้วยปิ่นโตเล่านี้ ไม่อยากให้เลือนหายไปในสังคมไทยได้เลย ถึงแม้ว่าเด็กสมัยนี้แทบจะไม่รู้จักเลยก็ตาม
[เรื่องสั้น] ร้อยเรื่องเล่าในอดีต ตอน "อาหารปิ่นโต"
ลักษณะของปิ่นโต เมื่อนำมาต่อกันจะมีลักษณะเป็นทรงกระบอก เมื่อแยกออกจากกัน ปิ่นโตแต่ละชั้นจะมีลักษณะเป็นทรงกระบอกเตี้ยฐานกว้าง ซึ่งคนทางภาคใต้เรียกว่า “ชั้น” และ คนแถบภาคเหนือเรียก “ถ้วยสาย” แต่คนไทยส่วนใหญ่แล้ว จะเรียกกันว่า “เถา” เช่น ปิ่นโต 2 เถา, ปิ่นโต 5 เถา เป็นต้น
ตัวผมเป็นเด็กน้อยจากบ้านนอก อำเภอหนึ่งในจังหวัดพะเยา ที่เกิดในช่วงยุค 90 ต้นๆ ยุคที่คั่นกลางระหว่างคำว่าสมัยเก่าและใหม่ มีเรื่องราวในอดีตมากมายที่อยู่ระหว่างการพัฒนาในเรื่องต่าง ทั้งเทคโนโลยี การคมนาคม การละเล่นต่างๆ ไม่ได้มีของเล่น เช่นหุ่นยนต์หรือตุ๊กตา มีเพียงม้าก้านกล้วย นำไม้ไผ่มาเหลาเป็นก้านว่าว เล่นว่าวกินหาง ลองมองย้อนดูเด็กสมัยนี้นะ ช่างน่าอิจฉาจริงๆ ที่มีของเล่นแพงๆ ได้เล่นกันนะ แต่เด็กสมัยนี้ก็คงไม่เคยเล่นกระต่ายขาเดียว หรือรีรีข้าวสารกับเพื่อนสินะ แน่นอนบ้านของผมก็เครื่องใช้สมัยเก่าๆมากมาย และบ้านของผมมีปิ่นโตเยอะมาก มีเกือบทุกขนาด ภาชนะทรงกระบอกเตี้ยฐานกว้าง ที่มีลักษณะตั้งแต่ 2 เถา จนถึง 5 เถาสูงสุด ใหญ่เล็กบ้างตามขนาด
ผมมีเรื่องราวมากมายเกี่ยวกับปิ่นโตนี้ ผมยังจำเรื่องราวเหล่านั้นได้เป็นอย่างดี เมื่อครั้งที่ผมยังเป็นเด็ก ทุกๆเช้าของวันพระ คุณยายได้ตื่นขึ้นมาเตรียมกับข้าวและสำหรับอาหารเพื่อเตรียมไปทำบุญ ไม่เพียงแต่เฉพาะวันพระเท่านั้น ทุกๆเช้าครั้งที่สมัยผมยังเรียนเตรียมอนุบาลจนถึงชั้นอนุบาล คุณยายก็จะทำกิจวัตรเช่นนี้ทุกวัน อาหารที่คุณยายทำ ได้ถูกนำมาใส่ปิ่นโตนี้เพื่อให้ผมพกไปโรงเรียน เด็กน้อยถูกคุณยายปลุกให้ตื่นตั้งแต่ไก่โห่ ถูกจับอาบน้ำแต่งตัวและทาแป้งให้แก้มขาวๆ สะพายกระเป๋าเป้เล็กหนึ่งใบใส่สมุดเล่ม พร้อมด้วยปิ่นโตเล็กขนาด 2 เถา ถืออยู่ในมือขวาไปโรงเรียน ซึ่งเพื่อนๆของผมในสมัยนั้นก็ทำไม่ต่างกัน ทุกๆเช้าคุณครูก็จะคอยถามว่า “วันนี้ทำอะไรมากินกันจ๊ะ เด็กๆ” ซึ่งเป็นความประทับใจที่ไม่เคยลืม เมื่อถึงตอนกลางวัน คุณครูก็จะจับผมกับเพื่อนๆมานั่งล้อมวงกับพื้น และนำอาหารที่ทุกคนได้เตรียมมา วางรวมกันตรงกลางวง กับข้าวอยู่ชั้นบนสุด ข้าวเหนียวอยู่ชั้นล่างพร้อมกับช้อนแกง 1ใบ เมื่อจัดการเตรียมพร้อมเสร็จ คุณครูจะให้ท่องบทขอบคุณชาวนาที่ปลุกข้าวให้เรากินเสียก่อน
อย่ากินทิ้งขว้าง เป็นของมีค่า
ผู้คนอดอยาก มีมากนักหนา
สงสารบรรดา เด็กตาดำๆ”
พอโตมาเป็นผู้ใหญ่บทท่องนี้มันมียาวมาก แต่ผมยังจำได้เราท่องแค่นี้จริงๆ เมื่อท่องเสร็จเด็กน้อยทั้งหลายก็ลงมือจัดการกับอาหารที่อยู่ตรงหน้า ผมในวัยเด็ก มันมีความสุขมาก ซึ่งไม่รู้ว่าในปัจจุบันจะมีภาพเช่นนี้จะมีอยู่หรือไม่
เมื่อผมเรียนจบชั้นอนุบาล ก็ได้ย้ายออกมาอยู่บ้านกับป้าผมที่จังหวัดลำปาง และผมก็ได้เรียนที่โรงเรียนเอกชนแห่งหนึ่งในตัวเมืองของจังหวัดนั้น ซึ่งการเรียนชั้นประถมของผมในโรงเรียนแห่งนั้น ก็เปลี่ยนไป ไม่มีภาพการพกอาหารปิ่นโตไปโรงเรียน ไม่มีภาพการนั่งล้อมวงกินข้าวล้อมวงกับเพื่อนๆ มีเพียงโรงขนาดอาหารขนาดใหญ่กับโต๊ะมานั่งยาวที่นั่งสองฝากหันหน้าเข้าหากันเท่านั้น แต่ช่วงพักกลางวันก็มีการละเล่นที่ยังคงเดิม การละเล่นสมัยก่อนๆ แต่เมื่อผมได้กลับมาย้อนถามเพื่อนๆในหมู่บ้านสมัยเด็ก โรงเรียนบ้านนอก ช่วงประถมหรือมัธยมก็ยังคงพกอาหารปิ่นโตไปโรงเรียนอยู่เหมือนเดิม แต่เรื่องราวปิ่นโตของผมก็ยังไมได้หายไป ช่วงปิดเทอมการศึกษาหรือวันหยุดยาว ผมก็กลับมาเที่ยวบ้านของคุณยายผมเสมอ
เรื่องราวของอาหารปิ่นโตก็ยังไมได้หายไป เด็กน้อยที่อยู่ในช่วงปิดเทอมการศึกษากลับมาเที่ยวบ้านเกิด เมื่อครั้งที่คุณตาของผมไปทำนา เด็กน้อยอย่างผมก็ตามไปด้วย วิ่งเล่นตรงคันนา ลุยโคลน หรือขี่ควายเล่น เป็นสิ่งที่สนุกมาก เมื่อถึงตอนตะวันชี้ตั้งตรงหัว ผู้ใหญ่ที่ทำนาจะมานั่งพักกายที่บ้านชายคาเล็กๆ มีเสาสี่เสา หลังคาหญ้าคายกสูง เปิดโล่งสี่ด้าน และมีที่นั่งเป็นพื้นไม้ไผ่หรือแผ่นไม้กว้างยกสูง ห่างจากพื้นดินไม่เกิน 50 เซนติเมตร ซึ่งเรียกกันว่า “ห้าง” ซึ่งจะมีประจำจุดของที่นาใครที่นามัน คุณตานั่งพักรับลมคลายร้อนจิบน้ำเย็นๆ น้ำในหม้อดินซึ่งอยู่ตรงมุมเสาของห้างมุมเสาของห้าง ซึ่งน้ำที่อยู่ในหม้อดินเป็นน้ำฝนที่กรองจากฝน แปลกมากที่สมัยก่อนน้ำฝนเป็นน้ำที่สะอาด ตกตามฤดูกาล (คุณตาเคยบอกว่า ถ้าฝนห่าเล็กน้ำจะดื่มไม่ได้ ถ้าฝนห่าใหญ่สามารถกรองมาดื่มได้ ผมก็ยังไม่เข้าใจเหมือนกัน) นั่งพักได้ไม่นานนัก คุณยายเดินดุ่มๆมาแต่ไกล ถือปิ่นโต 5 เถา เดินเลาะตามคันนา บริการส่งถึงที่ 2เถาล่างสุดมีข้าวเหนียวและ 3เถาบนมีกับข้าวอยู่สองอย่าง ภาพบรรยากาศเหล่านั้นช่างมีความสุขมาก สามคน หลาน คุณตา คุณยาย นั่งล้อมวง มือซ้ายปั้นข้าวเหนียวเป็นคำ มือขวาถือช้อนแกงไว้ตักแกง บ้างใช้ช้อนตักซดและบ้างปั้นข้าวเป็นคำจิ้มน้ำแกงเข้าปาก บรรยากาศลมโชยเย็นๆตามทุ่งนา ถึงแม้มีแดดที่ร้อนจัดแต่ก็ไม่ทำให้เป็นอุปสรรคในการทานข้าวได้เลย เมื่อทานเสร็จ คุณยายก็จะนำเศษอาหารที่เหลือ ทิ้งไว้ตามใต้ต้นไม้หรือพุ่มหญ้า (คุณตาก็เคยบอกว่า เศษอาหารพวกนี้ก็เป็นปุ๋ยที่ดี ปล่อยให้ย่อยสลายตามธรรมชาติ เช่น ก้างปลา หรือก้านผักที่ใช้กินกับน้ำพริก) หากมีข้าวเหลือคุณยายก็จะไม่ทิ้ง นำเก็บไปอุ่นกินอีกมื้อหนึ่ง แล้วนำเถาเหล่านั้นมาซ้อนกันเป็นชั้นแล้วเก็บกลับไปล้างที่บ้าน ภาพบรรยากาศวิถีชีวิตบ้านๆ ช่างดูแล้วมีความสุขเสียจริงๆ ไม่เพียงแต่ภาพของผมกับคุณตาคุณยายเท่านั้น กับชาวบ้านคนอื่นๆก็เช่นกัน
ครั้นเมื่อถึงฤดูกาลเก็บเกี่ยว เมื่อข้าวในนาใครพร้อมที่จะเกี่ยวข้าว เจ้าของที่นานั้นจะไปป่าวประกาศตามหมู่บ้าน บอกเล่าถึงปากต่อปาก ว่า “ข้าวในนาข้าพร้อมจะเกี่ยวแล้วนะ” หากใครว่าง ชาวนาในหมู่บ้าน หรือที่อยู่ละแวกเดียวกันก็จะมาช่วยแรงกัน กล่าวคือ หากที่นาใครถึงเวลาเกี่ยวข้าว ชาวนาก็จะไปช่วยกันเกี่ยวโดยไม่คิดค่าแรง แต่เมื่อคราวข้าวของตนถึงเวลาเกี่ยว ชาวนาที่ตนไปช่วยก่อนหน้านี้ ก็จะต้องกลับช่วยตนเกี่ยวข้าว ซึ้งเขาเรียกกันว่า “เอามื้อ” บรรยากาศที่ชาวนาช่วยกันลงแขก ถึงแม้ว่าไม่ร้องรำทำเพลง ขับร้องบทเกี่ยวข้าว แต่ก็บรรยากาศช่างสนุกสนานยิ่งนัก เมื่อถึงเวลาพักทานอาหารบรรยากาศเหล่านั้นได้เริ่มต้นอีกครั้ง บ้างก็มีคนพกปิ่นโตมาแต่เช้า บ้างก็มีคนมาส่ง แต่บ้างก็ไม่พกหรือคนมาส่งเลย ซึ่งก็ไม่ได้เป็นสิ่งที่น่าเกลียดอะไรนัก กับข้าวในเถาวางรวมกันมากมาย มีทั้งผู้ใหญ่และเด็กที่มาวิ่งเล่นในทุ่งนา เด็กๆนั่งอยู่ในแนวเดียวกัน พลันแย่งกันกินหมูทอดกับข้าวเหนียว ผู้ใหญ่ปั้นข้าวจิ้มแกงหรือน้ำพริก กินกันไปพูดคุยหัวเราะกันไป ช่างเพลิดเพลินยิ่งนัก
ภาพเหล่านั้นไม่เพียงเกิดขึ้นเฉพาะที่ทุ่งนา วิถีชีวิตปกติก็สามารถพบเห็นได้ การไปมาหาสู่เยี่ยมเยือน หรือพลันจะไปกินข้าวต่างบ้าน ยามจะไปตัวเปล่าๆก็เห็นว่าจะน่าเกลียด จะให้เจ้าบ้านลงมือทำอย่างเดียวก็ดูอยู่กะไร ก็มีปิ่นโตนี้แหละถือไปมาหาสู่กันเสมอ “ข้ายะแก๋งผักหวานใส่ไข่มดส้ม เดี๋ยวแลงๆ ไปกิ๋นข้าวตวยเด้อ” เมื่อพูดเช่นนี้ พอทำเสร็จก็ไม่พลาดที่จะตักแกงนั้นใส่ปิ่นโตให้พอดีกับคนบ้านนู่น ยกกับข้าวใส่ปิ่นโตไปสมทบกับกับข้าวที่เจ้าบ้านทำอยู่ ดูๆแล้วไม่ได้เป็นการรบกวนอะไรนัก เป็นการสร้างมิตรภาพให้แก่กันเสีย ครั้นเมื่อน้าสาวของผมแต่งงานไปอยู่บ้านผัว ซึ่งก็ไม่ได้ไปไกลเท่าไหร่นัก ก็อยู่ในละแวกหมู่บ้านนั้นแหละ เพื่อไม่ให้คุณยายของผมต้องเหนื่อยนัก ยามเย็นบางครั้งคุณน้าก็มักจะถือปิ่นโต 5เถา ใส่กับข้าวมาให้เสมอๆ บางครั้งก็มาทานด้วยหรือไม่ทานด้วยตามความสะดวก ไม่เพียงแต่บ้านผมเท่านั้น บ้านอื่นๆก็เป็นกัน อาหารในปิ่นโตช่างมีคุณค่ามากจริงๆ ทำให้คนเราได้ผูกมิตรไมตรีจิตซึ่งกันและกัน แลดูไม่ต่างกับ Social ในยุคปัจจุบันเลยด้วยซ้ำ มันดียิ่งกว่าเสียอีก
ณ ปัจจุบันภาพเหล่านั้นเห็นทีเสียจะพลันหายไป เห็นได้ส่วนใหญ่ก็แค่ตามวัดเท่านั้น เมื่อผมจบชั้นประถมเข้าสู่วัยมัธยม เรื่องราวเหล่านี้ก็ค่อยๆจางไป ประกอบกับผมก็ไม่ค่อยกลับบ้านเกิดมากนัก สังคมเข้าสู่ยุคปัจจุบัน อินเตอร์เน็ต และเทคโนโลยีได้ก้าวมาเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตมนุษย์ ระบบทุนนิยม อาหารฟาสต์ฟู้ด ชีวิตที่เร่งรีบ แม้แต่ชีวิตที่ค่อยก้าวเดินไปอย่างช้าแบบชนบทก็พลันได้รับผลกระทบไปด้วย ชาวนาไม่อาจทำนาได้เพียงอย่างเดียว หันมาประกอบอาชีพแบบอื่นเพิ่มขึ้นจากการทำนามากขึ้น ในช่วง 4-5 ปีให้หลัง ผมได้กลับไปบ้านเกิดของผม ตาผมเลิกทำนาหันมาปลูกสวนเล็กๆ ป้า แม่ และคุณน้าของผม ไม่เว้นพ่อ แม่ พี่ ป้า น้า อา ซึ่งรุ่นราวคราวเดียวกัน ต่างหันเข้าสู่ตัวเมืองเข้ามาทำงานรับจ้าง และในหมู่บ้านเองก็มีร้านอาหารเล็กๆ ร้านอาหารตามสั่ง ร้านก๋วยเตี๋ยว ร้านที่ทานข้าวแบบเดี๋ยวเดียวเสร็จ เมื่อถึงคราวทานข้าวตอนเที่ยงตรง ภาพที่มานั่งล้อมวงทานข้าวก็ค่อยๆเริ่มหายไป ถึงแม้จะมีภาพนั่งทานข้าวด้วยกัน แต่ก็ไม่ใช่ลักษณะปิ่นโต กลับเป็นข้าวกล่องโฟมแทน บางคนก็พกมากเองแต่เป็นลักษณะอาหารในถุงพลาสติก หมดก็ทิ้งไป ไม่เป็นการเสียเวลาเก็บมาล้าง หรือบางคนก็ออกจากนาไปสักครู่เพื่อไปทานอาหารจานเดียวเหล่านั้น พอทานเสร็จกลับไม่มีเวลานั่งพักมากนักก็ต้องรีบไปทำนาต่อ
ภาพของเด็กๆ ที่นั่งล้อมวง คุณครูที่คอยถามว่า “วันนี้ทำอะไรมากินกันจ๊ะ เด็กๆ” ก็พลันหายไปตามกาลเวลา ถึงแม้ว่าจะเป็นโรเรียนตามชนบทก็ไม่พ้นที่จะเปลี่ยนแปลง สมัยก่อนจะเรียนอยู่ชั้นประถมก็ยังมีการพกอาหารปิ่นโตอยู่ดี เรื่องราวเลือนหาย มีโรงอาหารหลังใหญ่พอดีคนมาแทนที่ มือขวาของเด็กน้อยที่หิ้วปิ่นโตกลับว่างเปล่า กลับกลายเป็นเงินค่าข้าวที่อยู่ในกระเป๋ากางเกง ไว้ซื้อข้าว 1 จานและยกมาทานที่นั่งของใครของมัน ช่างน่าอนาถใจยิ่งนักที่เรื่องราวเหล่านี้เปลี่ยนไป
ด้วยยุคสมัยที่เปลี่ยนไป วิถีชีวิตที่เร่งรีบ ประกอบกับการเปลี่ยนแปลงยุคสมัย ทัพเพอร์แวร์ (Tupperware) ภาชนะใส่อาหารสมัยใหม่ได้ถูกนำมาใช้แทนที่ เนื่องจากมีลักษะที่พกพาง่าย น้ำหนักเบา ทนทานและยืดหยุ่น อีกทั้งมีหลากหลายขนาด ตอบโจทย์ความต้องการได้มากกว่า จึงเป็นสาเหตุที่ทำให้เป็นที่นิยมมากกว่าการใช้ปิ่นโต ซึ่งในปัจจุบันการพกพาอาหารด้วยปิ่นโต แทบจะเลือนหายไปในชีวิตประจำวันของคนไทย แต่ก็ไม่ได้แปลว่าหายไปจากวิถีชีวิตของคนไทย แต่เราสามารถพบเห็นได้ตามงานบุญวัด ที่ผู้เฒ่าผู้แก่ได้ทำอาหารถวายพระของวันพระ ซึ่งจะพบตามชนบทมากกว่าสังคมในเมือง เป็นเรื่องที่น่ายินดีมากที่เรื่องราวเหล่านี้ยังไม่หายไป และเมื่อเรามองย้อนดู จะเห็นได้ว่า นี่แหละคือวิถีชีวิตของคนไทยในสมัยก่อน ข้าพเจ้ามีความรู้สึกว่าอาหารปิ่นโต เป็นสิ่งที่น่าจดจำอย่างยิ่ง มันเป็นสิ่งมากกว่าเกินคำว่าอาหาร รอยยิ้ม ไมตรีจิตที่ผู้คนต่างได้พบปะกันด้วยปิ่นโตเล่านี้ ไม่อยากให้เลือนหายไปในสังคมไทยได้เลย ถึงแม้ว่าเด็กสมัยนี้แทบจะไม่รู้จักเลยก็ตาม