บทวิเคราะห์ เรื่อง “สัมมาสมาธิ”
โดยพระชุมพล พลปฺโ ๒๔ ม.ค. ๒๕๓๘
จะขออ้างบาลี ซึ่งอธิบายความหมายของสัมมาสมาธิ ใน มัคควิภังค์ ว่า (จากมนต์พิธีของพระครูสมุห์เอี่ยม หน้า ๑๑๖)
กะตะโม จะ ภิกขะเว สัมมาสะมาธิ อิธะ ภิกขะเว ภิกขุ วิวิจเจวะ กาเมหิ วิวิจจะ อะกุสะเลหิ ธัมเมหิ สะวิตักกัง สะวิจารัง วิเวกะชัมปีติสุขัง ปะฐะมัง ฌานัง อุปะสัมปัชชะ วิหะระติ , วิตักกะวิจารานัง วูปะสะมา อัชฌัตตัง สัมปะสาทะนัง เจตะโส เอโกทิภาวัง อะวิตักกัง อะวิจารัง สมาธิชัมปีติสุขัง ทุติยัง ฌานัง อุปะสัมปัชชะ วิหะระติ , ปีติยา จะ วิราคา อุเปกขะโก จะ วิหะระติ สะโต จะ สัมปะชาโน สุขัญจะ กาเยนะ ปะฏิสังเวเทติ ยันตัง อะริยา อาจิกขันติ อุเปกขะโก สะติมา สุขะวิหารีติ ตะติยัง ฌานัง อุปะสัมปัชชะ วิหะระติ , สุขัสสะ จะ ปะหานา ทุกขัสสะ จะ ปะหานา ปุพเพ วะ โสมะนัสสะโทมะนัสสานัง อัตถังคะมา อะทุกขะมะสุขัง อุเปกขาสะติปาริสุทธิง จะตุตถัง ฌานัง อุปะสัมปัชชะ วิหะระติ อะยัง วุจจะติ ภิกขะเว สัมมาสะมาธีติ
ซึ่งแปลว่า (คำแปล จาก สวดมนต์แปลของมหามกุฏฯ )
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สัมมาสมาธิ (ความตั้งจิตมั่นชอบ) เป็นอย่างไร ? ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ สงัดแล้วจากกามารมณ์ สงัดแล้วจากธรรมที่เป็นอกุศล เข้าถึงปฐมฌาน ประกอบด้วย วิตกและวิจาร มีปีติและสุขอันเกิดจากวิเวก,
เพราะความที่วิตกและวิจารทั้งสองระงับลงเข้าถึงทุติยฌานเป็นเครื่องผ่องใสใจ ณ ภายใน ให้สมาธิเป็นธรรมอันเอกผุดมีขึ้น ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร มีแต่ปีติและสุขที่เกิดจากสมาธิ,
อนึ่ง เพราะความที่ปีติวิราศปราศไป ย่อมเป็นผู้เพิกเฉยอยู่ และมีสติสัมปชัญญะ และเสวยสุขอันใดเล่าเป็นเหตุ พระอริยเจ้าทั้งหลาย ย่อมกล่าวสรรเสริญผู้นั้นว่าเป็นผู้อุเบกขา มีสติอยู่เป็นสุข เข้าถึง ตติยฌาน,
เพราะละสุขเสียได้ เพราะละทุกข์เสียได้ เพราะความที่โสมนัสและโทมนัสทั้ง ๒ ในกาลก่อนอัสดงดับไป เข้าถึง จตุตถฌาน ไม่มีทุกข์ ไม่มีสุข มีแต่ความที่สติเป็นธรรมชาติบริสุทธิ์เพราะอุเบกขา,
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อันนี้ที่กล่าวว่า สัมมาสมาธิ
บทวิเคราะห์ สำหรับพระโยคาวจรผู้มีอัธยาศัย ทางปัญญาวิมุติ คือผู้มากมาทางด้านการเจริญปัญญา เมื่อบรรลุเต็มภูมิของอนาคามีแล้วไซร้ ตั้งแต่นั้น จิตจะไม่เสื่อมจากปฐมฌาน เนื่องจากสามารถละจาก กามวิตก และอกุศลวิตกไปได้
สมดังคำพระบาลีที่กล่าวเกี่ยวกับปฐมฌานไว้ว่า
“ … วิวิจเจวะ กาเมหิ วิวิจจะ อะกุสะเลหิ ธัมเมหิ สะวิตักกัง สะวิจารัง วิเวกะชัม ปีติสุขัง ปะฐะมัง ฌานัง อุปะสัมปัชชะ วิหะระติ … ”
นั่นคือ จิตของท่านจะปลอดโปร่งจากกามวิตก และอกุศลวิตก แต่ยังมีกุศลวิตก กุศลวิจาร ซึ่งสามารถทำให้เกิดปีติและสุขอันเกิดจากการปราศจากอกุศลวิตกได้ตามควร แต่เนื่องจากจิตยังมีวิตกวิจาร จึงพาให้เกิดความฟุ้งซ่านได้ง่ายดายมาก
ฉะนั้นเมื่อท่านเกิดปัญญาเห็นโทษของวิตก วิจาร ก็จะทำความเพียรเพื่อดับวิตกวิจาร ด้วยการกำหนดปัจจุบันอารมณ์ให้มากขึ้น ละความวิตกวิจารเกี่ยวกับกุศลให้ขาด เมื่อท่านสามารถละอุปาทานในวิตกวิจาร หรืออุปาทานในวจีสังขาร หรืออีกนัยหนึ่งก็คือ อุปาทานในภาษามนุษย์ทั้งหลายเสียได้ จิตของท่านก็จะเข้าถึงความสงบที่ลึกซึ้งอีกขั้นนึง คือ จิตของท่านจะไม่เสื่อมจากทุติยฌาน ดังบาลีเกี่ยวกับทุติยฌานว่า
“ … วิตักกะวิจารานัง วูปะสะมา อัชฌัตตัง สัมปะสาทะนัง เจตะโส เอโกทิภาวัง อะวิตักกัง อะวิจารัง สมาธิชัมปีติสุขัง ทุติยัง ฌานัง อุปะสัมปัชชะ วิหะระติ … “
จิตระดับนี้จะปราศจากวิตกวิจาร จิตจะสามารถกำหนดปัจจุบันอารมณ์ได้มากยิ่งขึ้น แต่เนื่องจากยังประกอบไปด้วยปีติอันเป็นธรรมขั้นหยาบ จิตจึงจะเกิดความเดือดร้อนต่อไปอีก เนื่องจากปีตินี่เองเป็นต้นเหตุ เพราะว่าปีติจะทำให้จิตเกิดความพลุ่งพล่านขึ้นโดยไม่จำเป็น ซึ่งก็เป็นสาเหตุสำคัญอีกประการที่จะทำให้จิตฟุ้งซ่านได้ง่าย และก็การที่จิตเสพเสวยรสของปีติมากๆ จะสามารถทำให้กามวิตกอย่างหยาบสามารถกำเริบขึ้นมาในจิตได้ เมื่อกามวิตกกำเริบแล้ว ก็ไม่ต้องห่วงเลยว่า อกุศลวิตกต่างๆ จะกำเริบเป็นเงาตามตัว ฉะนั้นเมื่อพระโยคาวจรได้เกิดปัญญาเห็นโทษของปีติ ก็จะทำความเพียรเพื่อดับปีติ โดยการถอนอุปาทานในปีติ ถอนความยินดียินร้ายในการเกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไปของปีติ จิตของท่านก็จะเลื่อนเข้าถึงความสงบที่ลึกซึ้งขึ้นอีกขั้นนึงคือ จิตของท่านจะไม่เสื่อมจาก ตติยฌาน
ดังบาลีเกี่ยวกับตติยฌานกล่าวว่า
“ … ปีติยา จะ วิราคา อุเปกขะโก จะ วิหะระติ สะโต จะ สัมปะชาโน สุขัญจะ กาเยนะ ปะฏิสังเวเทติ ยันตัง อะริยา อาจิกขันติ อุเปกขะโก สะติมา สุขะวิหารีติ ตะติยัง ฌานัง อุปะสัมปัชชะ วิหะระติ … “
นั่นคือ จิตระดับตติยฌานจะปราศจากอาการตื่นเต้นพลุ่งพล่านอันเป็นอาการของจิตในระดับที่ยังเสวยรสของปีติ จิตจะเข้าสู่ระดับแห่งการเสวยสุขชนิดละเอียด แต่จนแล้วจนรอด สุขอันละเอียดนี้ ก็ยังเป็นธรรมขั้นหยาบ จิตก็ยังจะเกิดความเดือดร้อนจากการเสวยรสของสุขอันละเอียดนี้อยู่นั่นเอง เพราะตราบใดที่ยังมีการเสวยอยู่ ก็จะไม่สามารถถอนรากเหง้าของตัณหาได้ และตราบใดที่ยังมีสุข จิตก็ย่อมจะไม่พ้นทุกข์ไปได้ และก็การที่จิตยังเสวยรสของสุขอย่างละเอียดนี้อยู่ ก็จะสามารถทำให้กามวิตกอย่างละเอียดสามารถกำเริบขึ้นมาในจิตได้ เมื่อกามวิตกกำเริบแล้ว ก็ไม่ต้องห่วงเลยว่า อกุศลวิตกต่างๆ จะกำเริบขึ้นเป็นเงาตามตัว
ฉะนั้น เมื่อพระโยคาวจรได้เกิดปัญญาเห็นโทษของสุข ก็จะทำความเพียรเพื่อดับสุข โดยการถอนอุปาทานในสุข ถอนความยินดียินร้ายในการเกิดขึ้นตั้งอยู่ดับไปของสุข จิตของท่านก็จะเลื่อนเข้าถึงความสงบที่ลึกซึ้งขึ้นไปอีกขั้นนึง คือจิตของท่านจะไม่เสื่อมจาก จตุตถฌาน
ดังบาลีเกี่ยวกับ จตุตถฌาน กล่าวว่า
“ … สุขัสสะ จะ ปะหานา ทุกขัสสะ จะ ปะหานา ปุพเพ วะ โสมะนัสสะโทมะนัสสานัง อัตถังคะมา อะทุกขะมะสุขัง อุเปกขาสะติปาริสุทธิง จะตุตถัง ฌานัง อุปะสัมปัชชะ วิหะระติ … “
นั่นคือ จิตระดับจตุตถฌาน จะเป็นจิตที่ปราศจากสุขและทุกข์ เพราะที่ใดมีสุขที่นั้นย่อมมีทุกข์ จะเป็นจิตที่ปราศจากโสมนัสและโทมนัส เพราะที่ใดมีโสมนัส ที่นั้นย่อมต้องมีโทมนัส ฉะนั้นจิตระดับนี้จะบริสุทธิ์ผ่องใสด้วยสติและอุเบกขา
จิตที่ทรงอยู่ด้วยจตุตถฌานย่อมมีความพรั่งพร้อมที่จะบรรลุภูมิธรรมขั้นอรหัตผลในกาลทุกเมื่อ
อนึ่ง จิตในขณะที่จะละวิตกวิจารนั้น ถ้าจะเรียกไปก็จะได้ว่าเป็นจิตระดับที่จะละดีหรือละบุญ ซึ่งจะเป็นการงานระดับหนึ่งของบุคคลผู้บรรลุธรรมขั้นอนาคามีไปแล้ว ซึ่งพระอริยะเบื้องต่ำกว่านี้หรือผู้ที่เป็นปุถุชนจะไม่ต้องมายุ่งเกี่ยวกับขั้นตอนการละดีหรือละบุญเป็นอันขาด เพราะว่าจิตของระดับที่ต่ำลงไปจะต้องอาศัยความดีและบุญมาช่วยในการละความชั่วหรือบาป ต่อเมื่อท่านได้บรรลุธรรมขั้นอนาคามีแล้ว ความชั่วและบาปก็ได้ถูกละไปแล้ว ท่านก็จะดำเนินการละความดีหรือละบุญ เพื่อที่จะให้จิตท่านบริสุทธิ์ขึ้นถึงระดับอรหัตภูมิ เปรียบประดุจในการซักผ้า ถ้าผ้ายังไม่สะอาดเพียงใด ก็อย่าเพิ่งล้างผงซักฟอกออกเสีย แต่เมื่อใดที่ได้ซักผ้าจนสะอาดแล้ว ก็จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องล้างผงซักฟอกออกไปให้หมด บุญและความดีก็เปรียบดังผงซักฟอก บาปและความชั่วก็เปรียบดังความสกปรกในผ้า จิตก็เปรียบประดุจผ้า
นั่นคือ เมื่อจิตยังไม่หมดไปจากความชั่วอยู่เพียงใด ก็จำเป็นที่จะต้องเกาะยึดความดีอยู่ แต่เมื่อใดที่ความชั่วได้ถูกกำจัดออกไปแล้ว เมื่อนั้นแล ที่จะต้องละความดีออกไปด้วย
แต่อย่างไรก็ตาม การละดีของพระอริยะขั้นสูงนั้น ไม่ใช่หมายความว่าท่านจะเลิกทำความดี ความจริงท่านก็จะยังกระทำความดีหรือกระทำบุญไปจนวันตาย แต่ที่ท่านจะตัดคือ ตัว วิตก และวิจารในบุญออกไปให้หมด ฉะนั้นการกระทำความดีของท่านจึงจะกลายเป็นเพียงกุศลกิริยาเท่านั้น จะไม่เป็นกุศลกรรมขึ้นมา
ในทางภาคปฏิบัติแล้ว เราอาจสังเคราะห์องค์ธรรมในสัมมาสมาธิลงในหมวดของขันธ์ ๕ ได้เคร่าๆ ดังต่อไปนี้ วิตก -> สัญญาขันธ์, วิจาร -> สังขารขันธ์, ปีติและสุข -> เวทนาขันธ์ ฉะนั้นการละวิตกและวิจารย่อมหมายถึงการละอุปาทานในสัญญาขันธ์และสังขารขันธ์ตามลำดับ การละปีติและสุข ย่อมหมายถึงการละอุปาทานในเวทนาขันธ์ ซึ่งก็หมายถึงการละตัณหาไปในตัวนั่นเอง เพราะตัณหาและเวทนาเนื่องกันอยู่
เมื่อพระโยคาวจรได้พัฒนาสัมมาสมาธิไปจนถึงขั้นจตุตถฌาน ซึ่งมีองค์ธรรมคือสติและอุเบกขา สิ่งที่จะต้องทำต่อไปก็คือการที่จะรักษาสติและอุเบกขาให้อยู่อย่างถาวรมั่นคงไม่เสื่อมถอย วิธีการนั้นก็จะต้องมากำหนดหยั่งรู้สติและอุเบกขาว่ามีธรรมชาติเป็นเช่นใด เกิดขึ้นด้วยสาเหตุใด และดับไปด้วยสาเหตุใด แล้วถอนความยึดมั่นอุปาทานและความเข้าใจผิดในธรรมชาติของสติและอุเบกขาออกเสีย นั่นก็คือการละซึ่งอวิชชา หรืออีกนัยหนึ่งก็คือการถอนอุปาทานในวิญญาณขันธ์นั่นเอง ด้วยวิธีปฏิบัติเช่นนี้ ก็จะทำให้สติและอุเบกขาในจิตของพระโยคาวจรมีความถาวรมั่นคง ซึ่งก็คืออาการที่พระโยคาวจรได้บรรลุสู่ภูมิธรรมขั้นอรหัตผล โดยมีดวงจิตที่บริสุทธิ์ไว้ด้วยสติและอุเบกขา เป็นปัจจัยให้การถอนรากถอนโคนอวิชชาบรรลุความสำเร็จนั่นเอง ฉะนั้น สัมมาสมาธิระดับจตุตถฌานที่ผ่องแผ้วไปด้วยสติและอุเบกขาเท่านั้น ที่จะเกื้อกูลแก่พระโยคาวจรในการที่จะบรรลุอรหัตผลเป็นอย่างยิ่ง
จบบทวิเคราะห์ เรื่อง “สัมมาสมาธิ”
บันทึกเมื่อ ๒๔ มกราคม ๒๕๓๘ ที่อยุธยา
ความดีของบันทึกชุดนี้ขอถวายบูชาพระคุณ พระอาจารย์จำเนียร สีลเสฏฺโ วัดถ้ำเสือ จ.กระบี่ พระอาจารย์ผู้มีคุณธรรมอันประเสริฐยิ่ง
http://www.chaij.com/html/namo/palapanyo/files/suk/samati.html
น่าเสียดายที่ชื่อของผู้ประพันธ์ ผมไม่สามารถจะคัดลอกมาได้สมบูรณ์ จึงขออภัยมา ณ ที่นี้
บทวิเคราะห์ เรื่อง “สัมมาสมาธิ”
โดยพระชุมพล พลปฺโ ๒๔ ม.ค. ๒๕๓๘
จะขออ้างบาลี ซึ่งอธิบายความหมายของสัมมาสมาธิ ใน มัคควิภังค์ ว่า (จากมนต์พิธีของพระครูสมุห์เอี่ยม หน้า ๑๑๖)
กะตะโม จะ ภิกขะเว สัมมาสะมาธิ อิธะ ภิกขะเว ภิกขุ วิวิจเจวะ กาเมหิ วิวิจจะ อะกุสะเลหิ ธัมเมหิ สะวิตักกัง สะวิจารัง วิเวกะชัมปีติสุขัง ปะฐะมัง ฌานัง อุปะสัมปัชชะ วิหะระติ , วิตักกะวิจารานัง วูปะสะมา อัชฌัตตัง สัมปะสาทะนัง เจตะโส เอโกทิภาวัง อะวิตักกัง อะวิจารัง สมาธิชัมปีติสุขัง ทุติยัง ฌานัง อุปะสัมปัชชะ วิหะระติ , ปีติยา จะ วิราคา อุเปกขะโก จะ วิหะระติ สะโต จะ สัมปะชาโน สุขัญจะ กาเยนะ ปะฏิสังเวเทติ ยันตัง อะริยา อาจิกขันติ อุเปกขะโก สะติมา สุขะวิหารีติ ตะติยัง ฌานัง อุปะสัมปัชชะ วิหะระติ , สุขัสสะ จะ ปะหานา ทุกขัสสะ จะ ปะหานา ปุพเพ วะ โสมะนัสสะโทมะนัสสานัง อัตถังคะมา อะทุกขะมะสุขัง อุเปกขาสะติปาริสุทธิง จะตุตถัง ฌานัง อุปะสัมปัชชะ วิหะระติ อะยัง วุจจะติ ภิกขะเว สัมมาสะมาธีติ
ซึ่งแปลว่า (คำแปล จาก สวดมนต์แปลของมหามกุฏฯ )
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สัมมาสมาธิ (ความตั้งจิตมั่นชอบ) เป็นอย่างไร ? ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ สงัดแล้วจากกามารมณ์ สงัดแล้วจากธรรมที่เป็นอกุศล เข้าถึงปฐมฌาน ประกอบด้วย วิตกและวิจาร มีปีติและสุขอันเกิดจากวิเวก,
เพราะความที่วิตกและวิจารทั้งสองระงับลงเข้าถึงทุติยฌานเป็นเครื่องผ่องใสใจ ณ ภายใน ให้สมาธิเป็นธรรมอันเอกผุดมีขึ้น ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร มีแต่ปีติและสุขที่เกิดจากสมาธิ,
อนึ่ง เพราะความที่ปีติวิราศปราศไป ย่อมเป็นผู้เพิกเฉยอยู่ และมีสติสัมปชัญญะ และเสวยสุขอันใดเล่าเป็นเหตุ พระอริยเจ้าทั้งหลาย ย่อมกล่าวสรรเสริญผู้นั้นว่าเป็นผู้อุเบกขา มีสติอยู่เป็นสุข เข้าถึง ตติยฌาน,
เพราะละสุขเสียได้ เพราะละทุกข์เสียได้ เพราะความที่โสมนัสและโทมนัสทั้ง ๒ ในกาลก่อนอัสดงดับไป เข้าถึง จตุตถฌาน ไม่มีทุกข์ ไม่มีสุข มีแต่ความที่สติเป็นธรรมชาติบริสุทธิ์เพราะอุเบกขา,
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อันนี้ที่กล่าวว่า สัมมาสมาธิ
บทวิเคราะห์ สำหรับพระโยคาวจรผู้มีอัธยาศัย ทางปัญญาวิมุติ คือผู้มากมาทางด้านการเจริญปัญญา เมื่อบรรลุเต็มภูมิของอนาคามีแล้วไซร้ ตั้งแต่นั้น จิตจะไม่เสื่อมจากปฐมฌาน เนื่องจากสามารถละจาก กามวิตก และอกุศลวิตกไปได้
สมดังคำพระบาลีที่กล่าวเกี่ยวกับปฐมฌานไว้ว่า
“ … วิวิจเจวะ กาเมหิ วิวิจจะ อะกุสะเลหิ ธัมเมหิ สะวิตักกัง สะวิจารัง วิเวกะชัม ปีติสุขัง ปะฐะมัง ฌานัง อุปะสัมปัชชะ วิหะระติ … ”
นั่นคือ จิตของท่านจะปลอดโปร่งจากกามวิตก และอกุศลวิตก แต่ยังมีกุศลวิตก กุศลวิจาร ซึ่งสามารถทำให้เกิดปีติและสุขอันเกิดจากการปราศจากอกุศลวิตกได้ตามควร แต่เนื่องจากจิตยังมีวิตกวิจาร จึงพาให้เกิดความฟุ้งซ่านได้ง่ายดายมาก
ฉะนั้นเมื่อท่านเกิดปัญญาเห็นโทษของวิตก วิจาร ก็จะทำความเพียรเพื่อดับวิตกวิจาร ด้วยการกำหนดปัจจุบันอารมณ์ให้มากขึ้น ละความวิตกวิจารเกี่ยวกับกุศลให้ขาด เมื่อท่านสามารถละอุปาทานในวิตกวิจาร หรืออุปาทานในวจีสังขาร หรืออีกนัยหนึ่งก็คือ อุปาทานในภาษามนุษย์ทั้งหลายเสียได้ จิตของท่านก็จะเข้าถึงความสงบที่ลึกซึ้งอีกขั้นนึง คือ จิตของท่านจะไม่เสื่อมจากทุติยฌาน ดังบาลีเกี่ยวกับทุติยฌานว่า
“ … วิตักกะวิจารานัง วูปะสะมา อัชฌัตตัง สัมปะสาทะนัง เจตะโส เอโกทิภาวัง อะวิตักกัง อะวิจารัง สมาธิชัมปีติสุขัง ทุติยัง ฌานัง อุปะสัมปัชชะ วิหะระติ … “
จิตระดับนี้จะปราศจากวิตกวิจาร จิตจะสามารถกำหนดปัจจุบันอารมณ์ได้มากยิ่งขึ้น แต่เนื่องจากยังประกอบไปด้วยปีติอันเป็นธรรมขั้นหยาบ จิตจึงจะเกิดความเดือดร้อนต่อไปอีก เนื่องจากปีตินี่เองเป็นต้นเหตุ เพราะว่าปีติจะทำให้จิตเกิดความพลุ่งพล่านขึ้นโดยไม่จำเป็น ซึ่งก็เป็นสาเหตุสำคัญอีกประการที่จะทำให้จิตฟุ้งซ่านได้ง่าย และก็การที่จิตเสพเสวยรสของปีติมากๆ จะสามารถทำให้กามวิตกอย่างหยาบสามารถกำเริบขึ้นมาในจิตได้ เมื่อกามวิตกกำเริบแล้ว ก็ไม่ต้องห่วงเลยว่า อกุศลวิตกต่างๆ จะกำเริบเป็นเงาตามตัว ฉะนั้นเมื่อพระโยคาวจรได้เกิดปัญญาเห็นโทษของปีติ ก็จะทำความเพียรเพื่อดับปีติ โดยการถอนอุปาทานในปีติ ถอนความยินดียินร้ายในการเกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไปของปีติ จิตของท่านก็จะเลื่อนเข้าถึงความสงบที่ลึกซึ้งขึ้นอีกขั้นนึงคือ จิตของท่านจะไม่เสื่อมจาก ตติยฌาน
ดังบาลีเกี่ยวกับตติยฌานกล่าวว่า
“ … ปีติยา จะ วิราคา อุเปกขะโก จะ วิหะระติ สะโต จะ สัมปะชาโน สุขัญจะ กาเยนะ ปะฏิสังเวเทติ ยันตัง อะริยา อาจิกขันติ อุเปกขะโก สะติมา สุขะวิหารีติ ตะติยัง ฌานัง อุปะสัมปัชชะ วิหะระติ … “
นั่นคือ จิตระดับตติยฌานจะปราศจากอาการตื่นเต้นพลุ่งพล่านอันเป็นอาการของจิตในระดับที่ยังเสวยรสของปีติ จิตจะเข้าสู่ระดับแห่งการเสวยสุขชนิดละเอียด แต่จนแล้วจนรอด สุขอันละเอียดนี้ ก็ยังเป็นธรรมขั้นหยาบ จิตก็ยังจะเกิดความเดือดร้อนจากการเสวยรสของสุขอันละเอียดนี้อยู่นั่นเอง เพราะตราบใดที่ยังมีการเสวยอยู่ ก็จะไม่สามารถถอนรากเหง้าของตัณหาได้ และตราบใดที่ยังมีสุข จิตก็ย่อมจะไม่พ้นทุกข์ไปได้ และก็การที่จิตยังเสวยรสของสุขอย่างละเอียดนี้อยู่ ก็จะสามารถทำให้กามวิตกอย่างละเอียดสามารถกำเริบขึ้นมาในจิตได้ เมื่อกามวิตกกำเริบแล้ว ก็ไม่ต้องห่วงเลยว่า อกุศลวิตกต่างๆ จะกำเริบขึ้นเป็นเงาตามตัว
ฉะนั้น เมื่อพระโยคาวจรได้เกิดปัญญาเห็นโทษของสุข ก็จะทำความเพียรเพื่อดับสุข โดยการถอนอุปาทานในสุข ถอนความยินดียินร้ายในการเกิดขึ้นตั้งอยู่ดับไปของสุข จิตของท่านก็จะเลื่อนเข้าถึงความสงบที่ลึกซึ้งขึ้นไปอีกขั้นนึง คือจิตของท่านจะไม่เสื่อมจาก จตุตถฌาน
ดังบาลีเกี่ยวกับ จตุตถฌาน กล่าวว่า
“ … สุขัสสะ จะ ปะหานา ทุกขัสสะ จะ ปะหานา ปุพเพ วะ โสมะนัสสะโทมะนัสสานัง อัตถังคะมา อะทุกขะมะสุขัง อุเปกขาสะติปาริสุทธิง จะตุตถัง ฌานัง อุปะสัมปัชชะ วิหะระติ … “
นั่นคือ จิตระดับจตุตถฌาน จะเป็นจิตที่ปราศจากสุขและทุกข์ เพราะที่ใดมีสุขที่นั้นย่อมมีทุกข์ จะเป็นจิตที่ปราศจากโสมนัสและโทมนัส เพราะที่ใดมีโสมนัส ที่นั้นย่อมต้องมีโทมนัส ฉะนั้นจิตระดับนี้จะบริสุทธิ์ผ่องใสด้วยสติและอุเบกขา
จิตที่ทรงอยู่ด้วยจตุตถฌานย่อมมีความพรั่งพร้อมที่จะบรรลุภูมิธรรมขั้นอรหัตผลในกาลทุกเมื่อ
อนึ่ง จิตในขณะที่จะละวิตกวิจารนั้น ถ้าจะเรียกไปก็จะได้ว่าเป็นจิตระดับที่จะละดีหรือละบุญ ซึ่งจะเป็นการงานระดับหนึ่งของบุคคลผู้บรรลุธรรมขั้นอนาคามีไปแล้ว ซึ่งพระอริยะเบื้องต่ำกว่านี้หรือผู้ที่เป็นปุถุชนจะไม่ต้องมายุ่งเกี่ยวกับขั้นตอนการละดีหรือละบุญเป็นอันขาด เพราะว่าจิตของระดับที่ต่ำลงไปจะต้องอาศัยความดีและบุญมาช่วยในการละความชั่วหรือบาป ต่อเมื่อท่านได้บรรลุธรรมขั้นอนาคามีแล้ว ความชั่วและบาปก็ได้ถูกละไปแล้ว ท่านก็จะดำเนินการละความดีหรือละบุญ เพื่อที่จะให้จิตท่านบริสุทธิ์ขึ้นถึงระดับอรหัตภูมิ เปรียบประดุจในการซักผ้า ถ้าผ้ายังไม่สะอาดเพียงใด ก็อย่าเพิ่งล้างผงซักฟอกออกเสีย แต่เมื่อใดที่ได้ซักผ้าจนสะอาดแล้ว ก็จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องล้างผงซักฟอกออกไปให้หมด บุญและความดีก็เปรียบดังผงซักฟอก บาปและความชั่วก็เปรียบดังความสกปรกในผ้า จิตก็เปรียบประดุจผ้า
นั่นคือ เมื่อจิตยังไม่หมดไปจากความชั่วอยู่เพียงใด ก็จำเป็นที่จะต้องเกาะยึดความดีอยู่ แต่เมื่อใดที่ความชั่วได้ถูกกำจัดออกไปแล้ว เมื่อนั้นแล ที่จะต้องละความดีออกไปด้วย
แต่อย่างไรก็ตาม การละดีของพระอริยะขั้นสูงนั้น ไม่ใช่หมายความว่าท่านจะเลิกทำความดี ความจริงท่านก็จะยังกระทำความดีหรือกระทำบุญไปจนวันตาย แต่ที่ท่านจะตัดคือ ตัว วิตก และวิจารในบุญออกไปให้หมด ฉะนั้นการกระทำความดีของท่านจึงจะกลายเป็นเพียงกุศลกิริยาเท่านั้น จะไม่เป็นกุศลกรรมขึ้นมา
ในทางภาคปฏิบัติแล้ว เราอาจสังเคราะห์องค์ธรรมในสัมมาสมาธิลงในหมวดของขันธ์ ๕ ได้เคร่าๆ ดังต่อไปนี้ วิตก -> สัญญาขันธ์, วิจาร -> สังขารขันธ์, ปีติและสุข -> เวทนาขันธ์ ฉะนั้นการละวิตกและวิจารย่อมหมายถึงการละอุปาทานในสัญญาขันธ์และสังขารขันธ์ตามลำดับ การละปีติและสุข ย่อมหมายถึงการละอุปาทานในเวทนาขันธ์ ซึ่งก็หมายถึงการละตัณหาไปในตัวนั่นเอง เพราะตัณหาและเวทนาเนื่องกันอยู่
เมื่อพระโยคาวจรได้พัฒนาสัมมาสมาธิไปจนถึงขั้นจตุตถฌาน ซึ่งมีองค์ธรรมคือสติและอุเบกขา สิ่งที่จะต้องทำต่อไปก็คือการที่จะรักษาสติและอุเบกขาให้อยู่อย่างถาวรมั่นคงไม่เสื่อมถอย วิธีการนั้นก็จะต้องมากำหนดหยั่งรู้สติและอุเบกขาว่ามีธรรมชาติเป็นเช่นใด เกิดขึ้นด้วยสาเหตุใด และดับไปด้วยสาเหตุใด แล้วถอนความยึดมั่นอุปาทานและความเข้าใจผิดในธรรมชาติของสติและอุเบกขาออกเสีย นั่นก็คือการละซึ่งอวิชชา หรืออีกนัยหนึ่งก็คือการถอนอุปาทานในวิญญาณขันธ์นั่นเอง ด้วยวิธีปฏิบัติเช่นนี้ ก็จะทำให้สติและอุเบกขาในจิตของพระโยคาวจรมีความถาวรมั่นคง ซึ่งก็คืออาการที่พระโยคาวจรได้บรรลุสู่ภูมิธรรมขั้นอรหัตผล โดยมีดวงจิตที่บริสุทธิ์ไว้ด้วยสติและอุเบกขา เป็นปัจจัยให้การถอนรากถอนโคนอวิชชาบรรลุความสำเร็จนั่นเอง ฉะนั้น สัมมาสมาธิระดับจตุตถฌานที่ผ่องแผ้วไปด้วยสติและอุเบกขาเท่านั้น ที่จะเกื้อกูลแก่พระโยคาวจรในการที่จะบรรลุอรหัตผลเป็นอย่างยิ่ง
จบบทวิเคราะห์ เรื่อง “สัมมาสมาธิ”
บันทึกเมื่อ ๒๔ มกราคม ๒๕๓๘ ที่อยุธยา
ความดีของบันทึกชุดนี้ขอถวายบูชาพระคุณ พระอาจารย์จำเนียร สีลเสฏฺโ วัดถ้ำเสือ จ.กระบี่ พระอาจารย์ผู้มีคุณธรรมอันประเสริฐยิ่ง
http://www.chaij.com/html/namo/palapanyo/files/suk/samati.html
น่าเสียดายที่ชื่อของผู้ประพันธ์ ผมไม่สามารถจะคัดลอกมาได้สมบูรณ์ จึงขออภัยมา ณ ที่นี้