'จัสมิน' จ่อเพิ่มทุนลุย 4จี คาดขาย 'พีพี' พันธมิตร 'ญี่ปุ่น-เกาหลี' จ่ายค่าไลเซ่นส์
กรุงเทพธุรกิจ ฉบับวันที่ 8 มีนาคม พ.ศ. 2559
เปิดแผนจัสมิน ระดมทุนจ่ายไลเซ่นส์ 4 จี คาดใช้วิธีเพิ่มทุนขายหุ้นเฉพาะเจาะจง เผยจัดสรรให้นักลงทุนญี่ปุ่น-เกาหลี ขณะที่บอร์ด มีมติซื้อหุ้นคืนนอกกระดาน 20% ราคา 5 บาท วงเงิน 6 พันล้านบาท นักวิเคราะห์คาด"พิชญ์"หวังคงสัดส่วนหุ้นใหญ่ไว้ที่ 20%
บริษัทจัสมิน อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด(มหาชน)JAS กำลังหาทางออกเพื่อหาเงินทุนมาชำระเงินค่าใบอนุญาต 4 จี ล่าสุดมีการประเมินกันว่า บริษัทคงต้องเลือกวิธีการเพิ่มทุนแบบเฉพาะเจาะจงหรือพีพี เพราะเป็นทางออกที่ดีที่สุดและทันเวลาก่อนจะครบกำหนดการจ่ายเงินในวันที่ 21มี.ค.นี้
แหล่งข่าวบริษัทจัสมิน เปิดเผยว่า บริษัทจัสมินได้ทำแผนธุรกิจเสนอให้กับสถาบันการเงินในการขอวงเงินค้ำประกันไปแล้ว 2 ครั้ง แต่ถูกสถาบันการเงินตีกลับมาในแผน ดังกล่าว เพราะไม่มั่นใจว่า จะทำได้ตามแผน ที่เสนอไปหรือไม่ จากเดิมที่เคย ขอซินดิเคทโลนวงเงินประมาณ 3 หมื่นล้านบาท แต่ล่าสุดขอเพิ่มเป็น 7 หมื่นล้านบาท
ทั้งนี้ การที่บริษัทมีแผนที่จะเสนอขายหุ้นแบบเฉพาะเจาะจง(พีพี)ในครั้งนี้ น่าจะเป็นข้อเสนอของสถาบันการเงิน เพื่อทางออกร่วมกัน
อย่างไรก็ตาม การเสนอขายหุ้นพีพีในครั้งนี้คาดว่าจะเป็นขายให้กับนักลงทุนต่างประเทศ ซึ่งขณะนี้มีทั้งญี่ปุ่นและเกาหลี โดยเฉพาะญี่ปุ่นได้แสดงความสนใจมาโดยตลอด
วานนี้(7 มี.ค.2559)ราคาหุ้นบริษัท จัสมิน อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด (มหาชน) JAS ปรับตัวเพิ่มขึ้นตั้งแต่เปิดซื้อขาย โดยช่วงเช้าราคาปรับขึ้นไปสูงสุดที่ 3.96 บาท คิดเป็น 26.11% มูลค่าการซื้อขายรวม 5.2 พันล้านบาท
เมื่อเวลา 12.30 น. นายพิชญ์ โพธารามิก ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท จัสมิน แจ้งตลาด หลักทรัพย์เกี่ยวกับมติคณะกรรมการอนุมัติการซื้อหุ้นคืน 20% จำนวน 1,426 ล้านหุ้น ราคาหุ้นละ 5 บาท มูลค่ารวม 6 พันล้านบาท ซึ่งจะเป็นการตั้งโต๊ะรับซื้อ ไม่ใช่การซื้อในกระดาน
ทั้งนี้ บริษัทจะดำเนินการซื้อหุ้นคืนภายหลังการอนุมัติจากผู้ถือหุ้นของบริษัทฯ ในการประชุมสามัญประจำปี ทั้งนี้ยังไม่กำหนดวันประชุมผู้ถือหุ้น และยังไม่กำหนดเงื่อนไขในการรับซื้อ เหตุผลในการซื้อหุ้นคืน เพื่อเพิ่ม อัตราผลตอบแทนให้แก่ส่วนของผู้ถือหุ้น (ROE) รวมถึงเพิ่มอัตรากำไรสุทธิต่อหุ้น (EPS)และเป็นการส่งสัญญาณแก่ผู้ลงทุนถึงสถานะทางการเงินที่แข็งแกร่งของกลุ่มบริษัท
ขณะที่ผลกระทบภายหลังซื้อหุ้นคืน ผู้ถือหุ้นจะได้รับเงินปันผลต่อหุ้นสูงขึ้น เนื่องจากหุ้นที่บริษัท ซื้อคืนจะไม่มีสิทธิในการรับเงินปันผล และจะทำให้อัตราผลตอบแทนต่อส่วนของผู้ถือหุ้นสูงขึ้นด้วย ขณะที่บริษัทจะมีสินทรัพย์สภาพคล่องและมูลค่าทางบัญชีของส่วนของผู้ถือหุ้นลดลง และหากบริษัทฯ ดำเนินการซื้อหุ้นคืนได้ครบตามวงเงินที่ได้ระบุได้ทั้งหมด จำนวนประมาณ 6,000 ล้านบาท
ตลาดสั่งหยุดเทรดทันที
ต่อมาเมื่อเวลา 14.44 น. ตลาดหลักทรัพย์ประกาศขึ้นเครื่องหมาย H ห้ามการซื้อขายหุ้นชั่วคราวกับบริษัทจัสมินทันที หลังเปิดซื้อขายช่วงบ่ายประมาณ 14 นาที
นางเกศรา มัญชุศรี กรรมการผู้จัดการ ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย เปิดเผยว่า การที่ตลาดสั่งหยุดซื้อขายหุ้นจัสมินระหว่างเทรดนั้น เนื่องจากบริษัทชี้แจงแผนการซื้อหุ้น ไม่ครบถ้วน และเจ้าหน้าที่ได้โทรศัพท์ไปสอบถามบริษัทและให้ชี้แจงข้อมูลมาในทันทีแต่ไม่รับคำตอบ ตลาดจึงรอคำตอบจากบริษัทจนกระทั่งเปิดซื้อขายช่วงบ่ายเป็นเวลา 10นาที เมื่อยังไม่ได้มีการชี้แจงมาจึงตัดสินใจให้หยุดซื้อขายทันที
"การขึ้นเครื่องหมายหยุดซื้อขายชั่วคราวกับเรื่องการตรวจสอบการซื้อขายที่ผิดปกติคงต้องแยกกันให้ชัดเจน เพราะสาเหตุของการหยุด ซื้อขายจากการรายงานข้อมูลไม่ครบถ้วน ขณะที่ราคาหุ้นที่ปรับตัวขึ้นและมีปริมาณการซื้อขายที่สูงนั้น ตลาดมีการตรวจสอบหุ้นทุกตัวอยู่แล้วหากมีการซื้อขายที่ผิดไปจากสภาพปกติ"
หุ้นวิ่งสนั่นก่อนมติบอร์ดซื้อคืน
หากพิจารณาการซื้อขายหุ้นจัสมิน ย้อนหลังไป เมื่อสัปดาห์ก่อน จะพบว่าราคาหุ้นปรับตัวขึ้นต่อเนื่อง จากราคา2.76 บาทปรับขึ้นมาอยู่ที่ 3.18 บาท คิดเป็น 15% มีปริมาณการซื้อขายที่เพิ่มขึ้น จากเคย ซื้อขายวันละเพียง 200 ล้านหุ้นเพิ่มขึ้นเป็น 2 พัน ล้านหุ้น เช่นเดียวกันมูลค่าการซื้อก็เพิ่มสูงขึ้นหลายเท่าตัว และเมื่อปลดเครื่องหมาย H ราคาหุ้นมา ปิดตลาดที่ราคา 3.70 บาทเพิ่มขึ้น 0.60 บาทคิดเป็น 19.36% มูลค่าการซื้อขายรวม 8.03 พันล้านบาท
ทั้งนี้ ตลาดหลักทรัพย์ แจ้งปลดเครื่องหมาย H หุ้น เมื่อเวลา 16.11 น.หลังบริษัทจัสมิน ชี้แจง เพิ่มเติมกรณีมติซื้อหุ้นคืน โดยระบุว่าราคาซื้อคืน ประมาณ 5.00 บาทต่อหุ้น ซึ่งราคายังไม่แน่นอน ทั้งนี้ราคาที่แน่นอนจะกำหนดได้ในการประชุมคณะกรรมการ ครั้งถัดไป นอกจากนี้ ได้ปรับจำนวนหุ้นที่จะซื้อคืนจาก 1,426 ล้านหุ้น เป็นประมาณ 1,200-1,426 ล้านหุ้น คิดเป็นประมาณ 16.82-20% ของหุ้นที่จำหน่ายได้แล้วทั้งหมด
ส่วนหลักเกณฑ์ในการกำหนดราคาหุ้นที่จะซื้อคืน โดยให้นำราคาหุ้นเฉลี่ยย้อนหลัง 30 วันก่อนวันที่บริษัทฯ จะทำการเปิดเผยข้อมูลมาประกอบการพิจารณากาหนดราคาหุ้นด้วย ราคาหุ้นสามัญของบริษัท เฉลี่ยย้อนหลัง 30 วัน ก่อนวันประชุมคณะกรรมการ เท่ากับ 2.96 บาทต่อหุ้น และราคาที่จะเสนอซื้อ คืนนั้นประมาณ 5.00 บาทต่อหุ้น โดยอ้างอิงจากราคาเฉลี่ยย้อนหลังระหว่างวันที่ 6 มี.ค. 2558 ถึงวันที่ 4 มี.ค. 2559 ซึ่งอยู่ที่ 5.01 บาทต่อหุ้น ก่อนวันประชุมคณะกรรมการบริษัท เพื่อพิจารณาอนุมัติโครงการ
ทรีนีตี้ชี้จัสมินจ่อเพิ่มทุนพีพี
นักวิเคราะห์หลักทรัพย์ บล.ทรีนีตี้ กล่าวว่า บริษัทจัสมินประกาศซื้อหุ้นคืน และสัดส่วนการ ซื้อหุ้นคืนสูงถึง 20% เป็นไปได้ว่าบริษัทมีแผน ในการที่จะเพิ่มทุนเฉพาะเจาะจง ในภายหลัง เนื่องจากการซื้อหุ้นคืนเพื่อไม่ต้องการให้สัดส่วนการถือหุ้นของนาย พิชญ์ โพธารามิก ผู้ถือหุ้นใหญ่อันดับ 1 ต่ำไปเกิน 20%
ปัจจุบัน บริษัทจัสมิน มีหุ้นจนทะเบียนชำระแล้ว 7,133.53 พันล้านหุ้นและนายพิชญ์ ถือหุ้นในสัดส่วน 25.85%
"อย่างไรก็ดีต้องตามในการที่ บริษัทจะสามารถหาแบงก์การันตีมาได้ทันในวันที่ 21 มี.ค.นี้ แต่ฝ่ายวิจัยยังเชื่อว่าแบงก์กรุงเทพ พร้อมที่จะให้การสนับสนุนเพราะในอนาคต Fintech จะเข้ามามีบทบาทและเปลี่ยนทั้งอุตสาหกรรมทั้ง Telco และ Banking และการเกิดขึ้นของ Any ID ในอนาคตอันใกล้ของ ไทยจะเป็นจุดเปลี่ยนที่จะรวม Banking กับ Telco ไว้ด้วยกัน 4 แบงก์ใหญ่จะต้องปรับเปลี่ยนและตามในทันการเปลี่ยนแปลงดังกล่าว มันจะไม่เพียงเป็น Mobile Banking เท่านั้น แต่มันจะเป็น Mobile Banking and Digital Money ในอนาคต" นักวิเคราะห์ กล่าว
คาดขอแบงก์การันตีไม่ทันกำหนด
แหล่งข่าวจากธนาคารพาณิชย์ กล่าวว่าล่าสุดธนาคารกรุงเทพก็ยังไม่ได้รับแผนธุรกิจของแจสโมบาย จึงเชื่อว่ากระบวนการในการขอแบงก์การันตีจากธนาคารกรุงเทพไม่น่าจะทันกับการชำระค่าไลเซ่นส์งวดแรกวันที่ 21 มี.ค.เพราะเม็ดเงินจำนวน 7.5 หมื่นล้าน บาทเป็นเงินจำนวนมากที่ต้องผ่านการพิจารณา ของคณะกรรมการบริหาร ซึ่งการประชุมคณะ กรรมการบริหารของธนาคารจะมีขึ้นในสัปดาห์ สุดท้ายของเดือน และไม่เคยมีปรากฏว่าต้องเลื่อนการประชุมขึ้นมาก่อนกำหนดเพื่อพิจารณาสินเชื่อให้ลูกค้ารายใดรายหนึ่ง
อย่างไรก็ตามมีความเป็นไปได้ว่าแจสอาจไปยื่นขอสินเชื่อจากธนาคารพาณิชย์แห่งอื่น เพราะอยู่ระหว่างการหาพันธมิตร ซึ่งหากเป็นพันธมิตรที่มีความสัมพันธ์กับธนาคารใดอาจจะให้ธนาคารแห่งนั้นออกแบงก์การันตีให้ก็เป็นได้ คล้ายกับกรณีของทรูที่ไชน่าโมบายถือหุ้น ทางไอซีบีซีจึงเป็นผู้ปล่อยกู้หลักกว่า 50% ของวงเงิน
สำหรับการซื้อหุ้นคืนของแจสยังสร้างความประหลาดใจให้วงการอยู่ว่าจะทำไปเพื่ออะไร เพราะก่อนหน้านี้ก็มีการจ่ายปันผลไปแล้ว แต่เป็นไปได้ว่าหลังจากนี้อาจจะนำหุ้นส่วนนี้ไปขายให้ใคร คนใดคนหนึ่ง
"ทรู"ดีเดย์จ่ายเงินประมูล 4จี 11มี.ค. นี้
นายฐากร ตัณฑสิทธิ์ เลขาธิการคณะกรรมการกิจการกระจายเสียงกิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) กล่าวว่า วานนี้ (7 มี.ค.) บริษัททรูมูฟเอช ยูนิเวอร์แซล คอมมิวนิเคชั่น จำกัด (ทียูซี) ในเครือกลุ่มทรู คอร์ปอเรชั่น ได้ทำหนังสือแจ้งอย่างเป็นทางการมายังสำนักงาน กสทช. ว่า จะนำเงินค่าประมูลคลื่นความถี่ย่าน 900 เมกะเฮิรตซ์ หรือ 4จีงวดแรกจำนวน 8,040 ล้านบาท พร้อมภาษีมูลค่าเพิ่มอีก 7% และหนังสือค้ำประกันจากสถาบันการเงิน (แบงก์ การันตี) ในจำนวนเงินประมูลที่เหลือทั้งหมด หรือราว 68,258 ล้านบาทมามอบให้แก่ กสทช. วันที่ 11 มี.ค.นี้ โดยยึดเวลาส่งมอบตามฤกษ์ทางธุรกิจ เวลา 13.39 น.
นายฐากร กล่าวว่า กรณีดังกล่าว บมจ. แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส (เอไอเอส) ที่หมดสัมปทานไปตั้งแต่เดือนก.ย.2558 แต่ปัจจุบันยังคงได้สิทธิ์ใช้งานอย่างต่อเนื่องตามมาตรการเยียวยา ต้องยุติการให้บริการทั้งหมดบนคลื่นความถี่ย่าน 900 เมกะเฮิรตซ์หรือซิมดับทันที แต่ทรูได้เสนอให้เอไอเอสเช่าโครงข่ายต่อไป 3 เดือน โดยคิดค่าเช่าเดือนละ 450 ล้านบาท ซึ่ง กทค.ต้องนำเข้าที่ประชุม วันนี้ (8 มี.ค.)
อย่างไรก็ตาม ผู้บริหารเอไอเอส กล่าวว่า ยังไม่ทราบเรื่องดังกล่าว แต่ยืนยันจะดูแลลูกค้าเป็นอย่างดี
แหล่งข่าว
หนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ ฉบับวันที่ 8 มีนาคม พ.ศ. 2559 (หน้า 1,4)
'จัสมิน' จ่อเพิ่มทุนลุย 4จี คาดขาย 'พีพี' พันธมิตร 'ญี่ปุ่น-เกาหลี' จ่ายค่าไลเซ่นส์
'จัสมิน' จ่อเพิ่มทุนลุย 4จี คาดขาย 'พีพี' พันธมิตร 'ญี่ปุ่น-เกาหลี' จ่ายค่าไลเซ่นส์
กรุงเทพธุรกิจ ฉบับวันที่ 8 มีนาคม พ.ศ. 2559
เปิดแผนจัสมิน ระดมทุนจ่ายไลเซ่นส์ 4 จี คาดใช้วิธีเพิ่มทุนขายหุ้นเฉพาะเจาะจง เผยจัดสรรให้นักลงทุนญี่ปุ่น-เกาหลี ขณะที่บอร์ด มีมติซื้อหุ้นคืนนอกกระดาน 20% ราคา 5 บาท วงเงิน 6 พันล้านบาท นักวิเคราะห์คาด"พิชญ์"หวังคงสัดส่วนหุ้นใหญ่ไว้ที่ 20%
บริษัทจัสมิน อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด(มหาชน)JAS กำลังหาทางออกเพื่อหาเงินทุนมาชำระเงินค่าใบอนุญาต 4 จี ล่าสุดมีการประเมินกันว่า บริษัทคงต้องเลือกวิธีการเพิ่มทุนแบบเฉพาะเจาะจงหรือพีพี เพราะเป็นทางออกที่ดีที่สุดและทันเวลาก่อนจะครบกำหนดการจ่ายเงินในวันที่ 21มี.ค.นี้
แหล่งข่าวบริษัทจัสมิน เปิดเผยว่า บริษัทจัสมินได้ทำแผนธุรกิจเสนอให้กับสถาบันการเงินในการขอวงเงินค้ำประกันไปแล้ว 2 ครั้ง แต่ถูกสถาบันการเงินตีกลับมาในแผน ดังกล่าว เพราะไม่มั่นใจว่า จะทำได้ตามแผน ที่เสนอไปหรือไม่ จากเดิมที่เคย ขอซินดิเคทโลนวงเงินประมาณ 3 หมื่นล้านบาท แต่ล่าสุดขอเพิ่มเป็น 7 หมื่นล้านบาท
ทั้งนี้ การที่บริษัทมีแผนที่จะเสนอขายหุ้นแบบเฉพาะเจาะจง(พีพี)ในครั้งนี้ น่าจะเป็นข้อเสนอของสถาบันการเงิน เพื่อทางออกร่วมกัน
อย่างไรก็ตาม การเสนอขายหุ้นพีพีในครั้งนี้คาดว่าจะเป็นขายให้กับนักลงทุนต่างประเทศ ซึ่งขณะนี้มีทั้งญี่ปุ่นและเกาหลี โดยเฉพาะญี่ปุ่นได้แสดงความสนใจมาโดยตลอด
วานนี้(7 มี.ค.2559)ราคาหุ้นบริษัท จัสมิน อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด (มหาชน) JAS ปรับตัวเพิ่มขึ้นตั้งแต่เปิดซื้อขาย โดยช่วงเช้าราคาปรับขึ้นไปสูงสุดที่ 3.96 บาท คิดเป็น 26.11% มูลค่าการซื้อขายรวม 5.2 พันล้านบาท
เมื่อเวลา 12.30 น. นายพิชญ์ โพธารามิก ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท จัสมิน แจ้งตลาด หลักทรัพย์เกี่ยวกับมติคณะกรรมการอนุมัติการซื้อหุ้นคืน 20% จำนวน 1,426 ล้านหุ้น ราคาหุ้นละ 5 บาท มูลค่ารวม 6 พันล้านบาท ซึ่งจะเป็นการตั้งโต๊ะรับซื้อ ไม่ใช่การซื้อในกระดาน
ทั้งนี้ บริษัทจะดำเนินการซื้อหุ้นคืนภายหลังการอนุมัติจากผู้ถือหุ้นของบริษัทฯ ในการประชุมสามัญประจำปี ทั้งนี้ยังไม่กำหนดวันประชุมผู้ถือหุ้น และยังไม่กำหนดเงื่อนไขในการรับซื้อ เหตุผลในการซื้อหุ้นคืน เพื่อเพิ่ม อัตราผลตอบแทนให้แก่ส่วนของผู้ถือหุ้น (ROE) รวมถึงเพิ่มอัตรากำไรสุทธิต่อหุ้น (EPS)และเป็นการส่งสัญญาณแก่ผู้ลงทุนถึงสถานะทางการเงินที่แข็งแกร่งของกลุ่มบริษัท
ขณะที่ผลกระทบภายหลังซื้อหุ้นคืน ผู้ถือหุ้นจะได้รับเงินปันผลต่อหุ้นสูงขึ้น เนื่องจากหุ้นที่บริษัท ซื้อคืนจะไม่มีสิทธิในการรับเงินปันผล และจะทำให้อัตราผลตอบแทนต่อส่วนของผู้ถือหุ้นสูงขึ้นด้วย ขณะที่บริษัทจะมีสินทรัพย์สภาพคล่องและมูลค่าทางบัญชีของส่วนของผู้ถือหุ้นลดลง และหากบริษัทฯ ดำเนินการซื้อหุ้นคืนได้ครบตามวงเงินที่ได้ระบุได้ทั้งหมด จำนวนประมาณ 6,000 ล้านบาท
ตลาดสั่งหยุดเทรดทันที
ต่อมาเมื่อเวลา 14.44 น. ตลาดหลักทรัพย์ประกาศขึ้นเครื่องหมาย H ห้ามการซื้อขายหุ้นชั่วคราวกับบริษัทจัสมินทันที หลังเปิดซื้อขายช่วงบ่ายประมาณ 14 นาที
นางเกศรา มัญชุศรี กรรมการผู้จัดการ ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย เปิดเผยว่า การที่ตลาดสั่งหยุดซื้อขายหุ้นจัสมินระหว่างเทรดนั้น เนื่องจากบริษัทชี้แจงแผนการซื้อหุ้น ไม่ครบถ้วน และเจ้าหน้าที่ได้โทรศัพท์ไปสอบถามบริษัทและให้ชี้แจงข้อมูลมาในทันทีแต่ไม่รับคำตอบ ตลาดจึงรอคำตอบจากบริษัทจนกระทั่งเปิดซื้อขายช่วงบ่ายเป็นเวลา 10นาที เมื่อยังไม่ได้มีการชี้แจงมาจึงตัดสินใจให้หยุดซื้อขายทันที
"การขึ้นเครื่องหมายหยุดซื้อขายชั่วคราวกับเรื่องการตรวจสอบการซื้อขายที่ผิดปกติคงต้องแยกกันให้ชัดเจน เพราะสาเหตุของการหยุด ซื้อขายจากการรายงานข้อมูลไม่ครบถ้วน ขณะที่ราคาหุ้นที่ปรับตัวขึ้นและมีปริมาณการซื้อขายที่สูงนั้น ตลาดมีการตรวจสอบหุ้นทุกตัวอยู่แล้วหากมีการซื้อขายที่ผิดไปจากสภาพปกติ"
หุ้นวิ่งสนั่นก่อนมติบอร์ดซื้อคืน
หากพิจารณาการซื้อขายหุ้นจัสมิน ย้อนหลังไป เมื่อสัปดาห์ก่อน จะพบว่าราคาหุ้นปรับตัวขึ้นต่อเนื่อง จากราคา2.76 บาทปรับขึ้นมาอยู่ที่ 3.18 บาท คิดเป็น 15% มีปริมาณการซื้อขายที่เพิ่มขึ้น จากเคย ซื้อขายวันละเพียง 200 ล้านหุ้นเพิ่มขึ้นเป็น 2 พัน ล้านหุ้น เช่นเดียวกันมูลค่าการซื้อก็เพิ่มสูงขึ้นหลายเท่าตัว และเมื่อปลดเครื่องหมาย H ราคาหุ้นมา ปิดตลาดที่ราคา 3.70 บาทเพิ่มขึ้น 0.60 บาทคิดเป็น 19.36% มูลค่าการซื้อขายรวม 8.03 พันล้านบาท
ทั้งนี้ ตลาดหลักทรัพย์ แจ้งปลดเครื่องหมาย H หุ้น เมื่อเวลา 16.11 น.หลังบริษัทจัสมิน ชี้แจง เพิ่มเติมกรณีมติซื้อหุ้นคืน โดยระบุว่าราคาซื้อคืน ประมาณ 5.00 บาทต่อหุ้น ซึ่งราคายังไม่แน่นอน ทั้งนี้ราคาที่แน่นอนจะกำหนดได้ในการประชุมคณะกรรมการ ครั้งถัดไป นอกจากนี้ ได้ปรับจำนวนหุ้นที่จะซื้อคืนจาก 1,426 ล้านหุ้น เป็นประมาณ 1,200-1,426 ล้านหุ้น คิดเป็นประมาณ 16.82-20% ของหุ้นที่จำหน่ายได้แล้วทั้งหมด
ส่วนหลักเกณฑ์ในการกำหนดราคาหุ้นที่จะซื้อคืน โดยให้นำราคาหุ้นเฉลี่ยย้อนหลัง 30 วันก่อนวันที่บริษัทฯ จะทำการเปิดเผยข้อมูลมาประกอบการพิจารณากาหนดราคาหุ้นด้วย ราคาหุ้นสามัญของบริษัท เฉลี่ยย้อนหลัง 30 วัน ก่อนวันประชุมคณะกรรมการ เท่ากับ 2.96 บาทต่อหุ้น และราคาที่จะเสนอซื้อ คืนนั้นประมาณ 5.00 บาทต่อหุ้น โดยอ้างอิงจากราคาเฉลี่ยย้อนหลังระหว่างวันที่ 6 มี.ค. 2558 ถึงวันที่ 4 มี.ค. 2559 ซึ่งอยู่ที่ 5.01 บาทต่อหุ้น ก่อนวันประชุมคณะกรรมการบริษัท เพื่อพิจารณาอนุมัติโครงการ
ทรีนีตี้ชี้จัสมินจ่อเพิ่มทุนพีพี
นักวิเคราะห์หลักทรัพย์ บล.ทรีนีตี้ กล่าวว่า บริษัทจัสมินประกาศซื้อหุ้นคืน และสัดส่วนการ ซื้อหุ้นคืนสูงถึง 20% เป็นไปได้ว่าบริษัทมีแผน ในการที่จะเพิ่มทุนเฉพาะเจาะจง ในภายหลัง เนื่องจากการซื้อหุ้นคืนเพื่อไม่ต้องการให้สัดส่วนการถือหุ้นของนาย พิชญ์ โพธารามิก ผู้ถือหุ้นใหญ่อันดับ 1 ต่ำไปเกิน 20%
ปัจจุบัน บริษัทจัสมิน มีหุ้นจนทะเบียนชำระแล้ว 7,133.53 พันล้านหุ้นและนายพิชญ์ ถือหุ้นในสัดส่วน 25.85%
"อย่างไรก็ดีต้องตามในการที่ บริษัทจะสามารถหาแบงก์การันตีมาได้ทันในวันที่ 21 มี.ค.นี้ แต่ฝ่ายวิจัยยังเชื่อว่าแบงก์กรุงเทพ พร้อมที่จะให้การสนับสนุนเพราะในอนาคต Fintech จะเข้ามามีบทบาทและเปลี่ยนทั้งอุตสาหกรรมทั้ง Telco และ Banking และการเกิดขึ้นของ Any ID ในอนาคตอันใกล้ของ ไทยจะเป็นจุดเปลี่ยนที่จะรวม Banking กับ Telco ไว้ด้วยกัน 4 แบงก์ใหญ่จะต้องปรับเปลี่ยนและตามในทันการเปลี่ยนแปลงดังกล่าว มันจะไม่เพียงเป็น Mobile Banking เท่านั้น แต่มันจะเป็น Mobile Banking and Digital Money ในอนาคต" นักวิเคราะห์ กล่าว
คาดขอแบงก์การันตีไม่ทันกำหนด
แหล่งข่าวจากธนาคารพาณิชย์ กล่าวว่าล่าสุดธนาคารกรุงเทพก็ยังไม่ได้รับแผนธุรกิจของแจสโมบาย จึงเชื่อว่ากระบวนการในการขอแบงก์การันตีจากธนาคารกรุงเทพไม่น่าจะทันกับการชำระค่าไลเซ่นส์งวดแรกวันที่ 21 มี.ค.เพราะเม็ดเงินจำนวน 7.5 หมื่นล้าน บาทเป็นเงินจำนวนมากที่ต้องผ่านการพิจารณา ของคณะกรรมการบริหาร ซึ่งการประชุมคณะ กรรมการบริหารของธนาคารจะมีขึ้นในสัปดาห์ สุดท้ายของเดือน และไม่เคยมีปรากฏว่าต้องเลื่อนการประชุมขึ้นมาก่อนกำหนดเพื่อพิจารณาสินเชื่อให้ลูกค้ารายใดรายหนึ่ง
อย่างไรก็ตามมีความเป็นไปได้ว่าแจสอาจไปยื่นขอสินเชื่อจากธนาคารพาณิชย์แห่งอื่น เพราะอยู่ระหว่างการหาพันธมิตร ซึ่งหากเป็นพันธมิตรที่มีความสัมพันธ์กับธนาคารใดอาจจะให้ธนาคารแห่งนั้นออกแบงก์การันตีให้ก็เป็นได้ คล้ายกับกรณีของทรูที่ไชน่าโมบายถือหุ้น ทางไอซีบีซีจึงเป็นผู้ปล่อยกู้หลักกว่า 50% ของวงเงิน
สำหรับการซื้อหุ้นคืนของแจสยังสร้างความประหลาดใจให้วงการอยู่ว่าจะทำไปเพื่ออะไร เพราะก่อนหน้านี้ก็มีการจ่ายปันผลไปแล้ว แต่เป็นไปได้ว่าหลังจากนี้อาจจะนำหุ้นส่วนนี้ไปขายให้ใคร คนใดคนหนึ่ง
"ทรู"ดีเดย์จ่ายเงินประมูล 4จี 11มี.ค. นี้
นายฐากร ตัณฑสิทธิ์ เลขาธิการคณะกรรมการกิจการกระจายเสียงกิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) กล่าวว่า วานนี้ (7 มี.ค.) บริษัททรูมูฟเอช ยูนิเวอร์แซล คอมมิวนิเคชั่น จำกัด (ทียูซี) ในเครือกลุ่มทรู คอร์ปอเรชั่น ได้ทำหนังสือแจ้งอย่างเป็นทางการมายังสำนักงาน กสทช. ว่า จะนำเงินค่าประมูลคลื่นความถี่ย่าน 900 เมกะเฮิรตซ์ หรือ 4จีงวดแรกจำนวน 8,040 ล้านบาท พร้อมภาษีมูลค่าเพิ่มอีก 7% และหนังสือค้ำประกันจากสถาบันการเงิน (แบงก์ การันตี) ในจำนวนเงินประมูลที่เหลือทั้งหมด หรือราว 68,258 ล้านบาทมามอบให้แก่ กสทช. วันที่ 11 มี.ค.นี้ โดยยึดเวลาส่งมอบตามฤกษ์ทางธุรกิจ เวลา 13.39 น.
นายฐากร กล่าวว่า กรณีดังกล่าว บมจ. แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส (เอไอเอส) ที่หมดสัมปทานไปตั้งแต่เดือนก.ย.2558 แต่ปัจจุบันยังคงได้สิทธิ์ใช้งานอย่างต่อเนื่องตามมาตรการเยียวยา ต้องยุติการให้บริการทั้งหมดบนคลื่นความถี่ย่าน 900 เมกะเฮิรตซ์หรือซิมดับทันที แต่ทรูได้เสนอให้เอไอเอสเช่าโครงข่ายต่อไป 3 เดือน โดยคิดค่าเช่าเดือนละ 450 ล้านบาท ซึ่ง กทค.ต้องนำเข้าที่ประชุม วันนี้ (8 มี.ค.)
อย่างไรก็ตาม ผู้บริหารเอไอเอส กล่าวว่า ยังไม่ทราบเรื่องดังกล่าว แต่ยืนยันจะดูแลลูกค้าเป็นอย่างดี
แหล่งข่าว
หนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ ฉบับวันที่ 8 มีนาคม พ.ศ. 2559 (หน้า 1,4)