หุ้นฮ็อต!! :
วัดใจ `พิชญ์` ยอมทุ่มหมดตัว เข็น JAS ไปต่อเส้นทาง 4G
สำนักข่าวอีไฟแนนซ์ไทย- -2 ก.พ. 59 14:21 น.
หุ้น JAS ติดหล่มอีกครั้ง หลังแผนการเงินไม่เป็นไปตามที่คาด เมื่อ BBL ยื่นเงื่อนไขต้อง "เพิ่มทุน" ก่อนจึงพิจารณาให้กู้พร้อมออกแบงก์การันตี และมีแนวโน้มปล่อยกู้สูงสุดแค่ 50% จากวงเงินลงทุน 1 แสนล้านบาท ผลักภาระให้ "พิชญ์ โพธารามิก" ในฐานะผู้ถือหุ้นใหญ่สัดส่วนกว่า 25% ต้องหาเงินมาเพิ่มทุนกว่า 1 หมื่นล้านบาท งานนี้ต้องวัดใจกันอีกครั้งว่า "พิชญ์" จะย่อมทุ่มหมดตัวเพื่อเข็น JAS ให้ไปต่อบนเส้นทางธุรกิจ 4G หรือยกธงขาวปล่อยยึดเงินประกัน 644 ล้านบาท แล้วปิดฉากเส้นทางในวงการโทรคมนาคมไทย
ราคาหุ้น บมจ.จัสมิน อินเตอร์เนชั่นแนล หรือ JAS ในวันนี้ยังอยู่ในขาลงโดยเปิดที่ 3 บาท ก่อนขยับลงไปถึง 2.94 บาท ขณะที่มูลค่าซื้อขายอยู่ที่ราว 566 ล้านบาท หนาแน่นติด 1 ใน 10 อันดับหุ้นที่ซื้อขายมากที่สุดในช่วงเช้าวันนี้
ภาพของหุ้น JAS ตลอดเดือนม.ค. 59 ที่ผ่านมา ถือเป็นการเคลื่อนไหวระดับต่ำสุดในรอบ 3 ปีครึ่ง และมีโอกาสที่เดือน ก.พ. นี้ จะหลุดจุดต่ำสุดไปลึกกว่าเดิมที่ระดับ 2.84 บาท ได้อีก ถ้าไม่มีแนวทางหาเงินมาชำระค่าใบอนุญาต 4G คลื่น 900MHz ที่ประมูลมาได้ด้วยราคา 7.56 หมื่นล้านบาท ก่อนกำหนดของคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ หรือ กสทช. ซึ่งมีเส้นตายวันที่ 21 มี.ค. นี้
เกมธุรกิจของ JAS ต้องพลิกจากหน้ามือเป็นหลังมือ เพราะล่าสุดธนาคารกรุงเทพยื่นเงื่อนไข JAS ต้อง "เพิ่มทุน" ก่อนจะพิจารณาให้เงินกู้และแบงก์การันตี เช่นเดียวกับ TRUE ที่ประกาศเพิ่มทุนไปแล้ว
ทำให้จากที่คิดว่าจะ "จับเสือมือเปล่า" ด้วยการทุ่มประมูล โดยมั่นใจว่าธนาคารกรุงเทพพร้อมปล่อยกู้ 100% กลับกลายเป็นต้องหาเงินก้อนโตมาเพิ่มทุนก่อน
ซึ่งอาจส่งผลให้ นายพิชญ์ โพธารามิก ที่มีฐานะเป็นทั้งประธานเจ้าหน้าที่บริหาร กรรมการผู้จัดการ และผู้ถือหุ้นใหญ่อันดับหนึ่ง 25.85% ใน JAS ที่ประกาศย้ำเสมอว่าจะไม่มีการเพิ่มทุนเด็ดขาด อาจจำเป็นต้องกลืนน้ำลายตัวเอง แล้วทบทวนแผนการทั้งหมดอีกครั้ง
เดิมแผนของ JAS คือการทุ่มประมูล "ไม่อ้น" เพื่อให้ได้คลื่นมาครอบครอง โดยมั่นใจว่าธนาคารกรุงเทพพร้อมปล่อยกู้ 100% เพื่อเปิดประตูเข้ามาเป็นผู้ประกอบการรายใหม่ในธุรกิจให้บริการสัญญาณโทรศัพท์เคลื่อนที่ พร้อมๆ กับอาศัยความเชี่ยวชาญจากพันมิตรต่างชาติ มาร่วมเร่งสร้างฐานลูกค้า โดยมีภาระค่าใช้จ่ายในอนาคตกว่า 1 แสนล้านบาท แบ่งเป็น ค่าไลเซนส์ 7.56 หมื่นล้านบาท และการลงทุนเครือข่ายอุปกรณ์ 2-3 หมื่นล้านบาท
"แหล่งเงินในขณะนี้บริษัทได้รับการยืนยันจากธนาคารกรุงเทพ จะเป็นผู้ให้กู้รายเดียว และในส่วนของอุปกรณ์จะได้รับการสนับสนุนจากบริษัท หัวเหว่ย อีกทั้งมีแผนจะนำ "แจส โมบาย บรอดแบนด์" เข้าจดทะเบียนในตลาดหุ้นในปี 2559 และจะเปิดตัวพันธมิตรต่างชาติที่จะเข้ามาถือหุ้น 10-20% ในไตรมาสแรกปี 59" นายพิชญ์ โพธารามิก กล่าวไว้เมื่อปลายปีก่อน.
ความตั้งใจของ "พิชญ์ โพธารามิก" คือจะเพิ่มทุนให้ แจส โมบาย บรอดแบนด์ ซึ่งเป็นบริษัทที่ใช้เข้าประมูล จากทุนจดทะเบียน 350 ล้านบาท เป็น 5,000 ล้านบาท แต่ถ้าเป็นไปตามเงื่อนไขใหม่ที่ธนาคารเสนอมา เท่ากับว่าเป็นการบีบบังคับให้ JAS เองต้องเพิ่มทุนโดยเร็วก่อนถึงกำหนดจ่ายเงินงวดแรกพร้อมยื่นแบงก์การันตี ซึ่งไม่อาจหลีกเลี่ยงตามเงื่อนไขของ กสทช.
ทั้งนี้ผลกระทบหาก JAS จ่ายเงินไม่ทันเวลาคือ จะถูกยึดเงินประกัน 644 ล้านบาท อีกทั้งจะขาดคุณสมบัติประกอบกิจการธุรกิจโทรคมนาคมที่ดำเนินการอยู่ปัจจุบัน
นายฐากร ตัณฑสิทธิ์ เลขาธิการ กสทช. เปิดเผยกับ "สำนักข่าวอีไฟแนนซ์ไทย"ว่า แม้จะยังไม่ได้รับการติดต่อจาก JAS เพื่อชำระค่าใบอนุญาต อีกทั้งมีกระแสข้อกังวลเกี่ยวกับแหล่งเงินเพื่อจะมาชำระเงิน แต่โดยส่วนตัวเชื่อว่าสุดท้าย JAS จะชำระค่าใบอนุญาต 4G อย่างแน่นอน เพราะหาก JAS ไม่ชำระค่าใบอนุญาตก็จะมีผลกระทบต่อการให้บริการอินเทอร์เน็ต 3BB เพราะเป็นบริษัทเดียวกัน
JAS มาถึงจุดที่ต้องเลือกว่า จะเพิ่มทุน หรือจะออกจากธุรกิจโทรคมนาคมไทยไปเลย ซึ่งไม่ว่าจะเลือกทางไหนก็ไม่ใช่เรื่องง่าย เว้นแต่ BBL จะใจดีปล่อยกู้เต็มจำนวนโดยไม่มีเงื่อนไข
ถ้ายอมเพิ่มทุนเท่ากับว่า กลุ่มผู้ถือหุ้นใหญ่ นำโดย พิชญ์ โพธารามิก จะต้องเร่งระดมเงินส่วนตัวก้อนโตหลักหมื่นล้านมาสำรองไว้
บนสมมุติฐานว่า ธนาคารใช้หลักเกณฑ์เดียวกับการปล่อยกู้ให้ TRUE คือหนี้สินต่อ EBITDA ต้องไม่เกิน 2 เท่า ซึ่งปัจจุบัน JAS มีภาระหนี้อยู่แล้วราว 1.5 หมื่นล้านบาท
เท่ากับว่าที่ดีสุด JAS จะได้เงินกู้วงเงินไม่เกิน 5 หมื่นล้านบาท นั่นหมายถึง JAS ต้องใช้เงินตัวเองอีก 5 หมื่นล้านบาท แต่ในงบการเงินล่าสุด JAS มีเงินสดในมือราว 6,300 ล้านบาท จึงเลี่ยงไม่ได้ที่จะต้องเพิ่มทุนอีกไม่ต่ำกว่า 4 หมื่นล้านบาท
แม้นายพิชญ์ โพธารามิก จะถูกจัดอันดับจาก นิตยสารฟอร์บส ไทยแลนด์ ให้เป็นมหาเศรษฐีอันดับ 36 ของประเทศเมื่อกลางปี 58 ด้วยระดับความมั่งคั่ง 2.18 หมื่นล้านบาท แต่ในปัจจุบันราคาหุ้นในมือทั้ง JAS MONO และ JASIF ปรับลดลง ทำให้ความมั่งคั่งของ "พิชญ์" ณ ราคาหุ้นล่าสุดเหลือเพียง 1.2 หมื่นล้านบาท
ข้อมูลจากตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ระบุว่า ณ วันปิดสมุดทะเบียนล่า "พิชญ์" ถือหุ้นใหญ่ใน 3 บริษัท ดังนี้
1. บริษัทจัสมิน อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด (มหาชน) หรือ JAS จำนวน 1,844 ล้านหุ้น หรือ 25.85%
2.บริษัท โมโน เทคโนโลยี จำกัด (มหาชน) หรือ MONO จำนวน 2,217 ล้านหุ้น หรือ 71.99%
3. กองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐานบรอดแบนด์อินเทอร์เน็ต จัสมิน JASIF จำนวน 225 ล้านหุ้น หรือ 4.09%
ซึ่งหาก "พิชญ์" ขายหุ้นทั้งหมดที่ตัวเองถืออยู่ออกมาที่ราคาปัจจุบัน จะมีมูลค่าราว 1.2 หมื่นล้านบาทเท่านั้น ดังนั้นการต้องหาเงินมากกว่า 1 หมื่นล้านบาทมาเพิ่มทุนใน JAS จึงถือว่าเป็นเรื่องยากมากในทางปฏิบัติ
"พิชญ์" จึงต้องเลือกระหว่างยอม "หมดตัว" หากต้องการดัน JAS ให้ไปต่อในธุรกิจ 4G หรืออาจยกธงขาว ยอมจ่ายค่ามัดจำเกือบ 700 ล้านบาท และเดินออกจากธุรกิจโทรคมนาคมของไทย ปิดฉากธุรกิจหลักที่ตนเองปลุกปั้นมากับมือทันที
หรือเร่งปิดดีลกับ "พันธมิตรต่างชาติ" ที่ยังไม่ยอมเปิดตัว ให้เข้ามาช่วยในด้านเงินลงทุน
บทวิเคราะห์วิเคราะห์ บล.ดีบีเอส วิคเคอร์ส (ประเทศไทย) คาดว่า JAS มีโอกาสสูงที่จะคืนใบอนุญาต 4G ย่าน 900 MHz ให้กับ กสทช. เพราะความเป็นไปได้ที่จะได้รับแบงก์การันตีค่อนข้างน้อย อีกทั้งขณะนี้ยังไม่ประกาศพันธมิตรทางธุรกิจ ซึ่งอาจเป็นผลจากค่าใบอนุญาตที่สูงมากกว่า 7 หมื่นล้านบาท
"ถ้าหากJAS ไม่นำเงินประมูลงวดแรก 8,040 ล้านบาทและหนังสือค้ำประกันทางการเงินจากธนาคารมาจ่ายภายในกำหนดคือวันที่ 21 มี.ค.ก็จะถูกริบหลักประกัน 644 ล้านบาทและต้องชดใช้ค่าเสียหายที่เกิดขึ้นทั้งหมดจากการประมูล 4G และอาจเป็นผู้ขาดคุณสมบัติในใบอนุญาตประกอบการที่ได้รับจากกสทช.ที่ใช้ทำธุรกิจในปัจจุบันด้วย" บล.ดีบีเอส วิคเคอร์ (ประเทศไทย) ระบุในบทวิเคราะห์
อย่างไรก็ตาม ในกรณีผิดคาดหาก JAS หาเงินมาได้ทันกำหนด คาดว่า JAS จะประสบความยากลำบากในการทำธุรกิจ เพราะอัตราผลตอบแทนจากการลงทุน (ROI) มีเพียง 2.3% ใน 3 ปี หากทำธุรกิจมือถือ แม้ว่าจะมีสมมุติฐานแง่ดีในประมาณการแล้วก็ตาม
ด้านทางเทคนิค นักวิเคราะห์ บล. ซีไอเอ็มบี (ประเทศไทย) มองว่า หุ้นกำลังสร้างฐานบริเวณแนวรับที่ 2.96-2.94 บาท และถ้ายืนอยู่มีโอกาสรีบาวน์ไปทดสอบแนวต้าน 3.1-3.2 บาท แนะนำเก็งกำไร ส่วนจุดตัดขาดทุนอยู่ที่ 2.9 บาท
การตัดสินใจไม่ว่าจะเลือก "เดินหน้า" หรือ "ยอมแพ้" ของ "พิชญ์ โพธารามิก" จะนำมาซึ่งจุดเริ่มต้นที่เต็มไปด้วยอุปสรรคในเส้นทางโทรคมนาคม ทั้งกับตัวเอง และกับกิจการ ส่วนนักลงทุนรายย่อย หากเข้าไปยุ่งเกี่ยว ก็คงต้องทำใจยอมรับความเสี่ยงที่ยังไม่รู้ว่าจะออกหัวหรือก้อย จนกว่า JAS จะหาทางออกจากวังวนนี้ได้
รายงาน โดย เอกอนันต์ เสรีรัตนะชัย เรียบเรียง โดย ดาริน ปริญญากุล
อีเมล์. darin@efinancethai.com อนุมัติ โดย พิมพ์รภัส ศิริไพรวัน
>.< JAS 4G โอกาสเกิด ยากแน่ ๆ >.<
สำนักข่าวอีไฟแนนซ์ไทย- -2 ก.พ. 59 14:21 น.
หุ้น JAS ติดหล่มอีกครั้ง หลังแผนการเงินไม่เป็นไปตามที่คาด เมื่อ BBL ยื่นเงื่อนไขต้อง "เพิ่มทุน" ก่อนจึงพิจารณาให้กู้พร้อมออกแบงก์การันตี และมีแนวโน้มปล่อยกู้สูงสุดแค่ 50% จากวงเงินลงทุน 1 แสนล้านบาท ผลักภาระให้ "พิชญ์ โพธารามิก" ในฐานะผู้ถือหุ้นใหญ่สัดส่วนกว่า 25% ต้องหาเงินมาเพิ่มทุนกว่า 1 หมื่นล้านบาท งานนี้ต้องวัดใจกันอีกครั้งว่า "พิชญ์" จะย่อมทุ่มหมดตัวเพื่อเข็น JAS ให้ไปต่อบนเส้นทางธุรกิจ 4G หรือยกธงขาวปล่อยยึดเงินประกัน 644 ล้านบาท แล้วปิดฉากเส้นทางในวงการโทรคมนาคมไทย
ราคาหุ้น บมจ.จัสมิน อินเตอร์เนชั่นแนล หรือ JAS ในวันนี้ยังอยู่ในขาลงโดยเปิดที่ 3 บาท ก่อนขยับลงไปถึง 2.94 บาท ขณะที่มูลค่าซื้อขายอยู่ที่ราว 566 ล้านบาท หนาแน่นติด 1 ใน 10 อันดับหุ้นที่ซื้อขายมากที่สุดในช่วงเช้าวันนี้
ภาพของหุ้น JAS ตลอดเดือนม.ค. 59 ที่ผ่านมา ถือเป็นการเคลื่อนไหวระดับต่ำสุดในรอบ 3 ปีครึ่ง และมีโอกาสที่เดือน ก.พ. นี้ จะหลุดจุดต่ำสุดไปลึกกว่าเดิมที่ระดับ 2.84 บาท ได้อีก ถ้าไม่มีแนวทางหาเงินมาชำระค่าใบอนุญาต 4G คลื่น 900MHz ที่ประมูลมาได้ด้วยราคา 7.56 หมื่นล้านบาท ก่อนกำหนดของคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ หรือ กสทช. ซึ่งมีเส้นตายวันที่ 21 มี.ค. นี้
เกมธุรกิจของ JAS ต้องพลิกจากหน้ามือเป็นหลังมือ เพราะล่าสุดธนาคารกรุงเทพยื่นเงื่อนไข JAS ต้อง "เพิ่มทุน" ก่อนจะพิจารณาให้เงินกู้และแบงก์การันตี เช่นเดียวกับ TRUE ที่ประกาศเพิ่มทุนไปแล้ว
ทำให้จากที่คิดว่าจะ "จับเสือมือเปล่า" ด้วยการทุ่มประมูล โดยมั่นใจว่าธนาคารกรุงเทพพร้อมปล่อยกู้ 100% กลับกลายเป็นต้องหาเงินก้อนโตมาเพิ่มทุนก่อน
ซึ่งอาจส่งผลให้ นายพิชญ์ โพธารามิก ที่มีฐานะเป็นทั้งประธานเจ้าหน้าที่บริหาร กรรมการผู้จัดการ และผู้ถือหุ้นใหญ่อันดับหนึ่ง 25.85% ใน JAS ที่ประกาศย้ำเสมอว่าจะไม่มีการเพิ่มทุนเด็ดขาด อาจจำเป็นต้องกลืนน้ำลายตัวเอง แล้วทบทวนแผนการทั้งหมดอีกครั้ง
เดิมแผนของ JAS คือการทุ่มประมูล "ไม่อ้น" เพื่อให้ได้คลื่นมาครอบครอง โดยมั่นใจว่าธนาคารกรุงเทพพร้อมปล่อยกู้ 100% เพื่อเปิดประตูเข้ามาเป็นผู้ประกอบการรายใหม่ในธุรกิจให้บริการสัญญาณโทรศัพท์เคลื่อนที่ พร้อมๆ กับอาศัยความเชี่ยวชาญจากพันมิตรต่างชาติ มาร่วมเร่งสร้างฐานลูกค้า โดยมีภาระค่าใช้จ่ายในอนาคตกว่า 1 แสนล้านบาท แบ่งเป็น ค่าไลเซนส์ 7.56 หมื่นล้านบาท และการลงทุนเครือข่ายอุปกรณ์ 2-3 หมื่นล้านบาท
"แหล่งเงินในขณะนี้บริษัทได้รับการยืนยันจากธนาคารกรุงเทพ จะเป็นผู้ให้กู้รายเดียว และในส่วนของอุปกรณ์จะได้รับการสนับสนุนจากบริษัท หัวเหว่ย อีกทั้งมีแผนจะนำ "แจส โมบาย บรอดแบนด์" เข้าจดทะเบียนในตลาดหุ้นในปี 2559 และจะเปิดตัวพันธมิตรต่างชาติที่จะเข้ามาถือหุ้น 10-20% ในไตรมาสแรกปี 59" นายพิชญ์ โพธารามิก กล่าวไว้เมื่อปลายปีก่อน.
ความตั้งใจของ "พิชญ์ โพธารามิก" คือจะเพิ่มทุนให้ แจส โมบาย บรอดแบนด์ ซึ่งเป็นบริษัทที่ใช้เข้าประมูล จากทุนจดทะเบียน 350 ล้านบาท เป็น 5,000 ล้านบาท แต่ถ้าเป็นไปตามเงื่อนไขใหม่ที่ธนาคารเสนอมา เท่ากับว่าเป็นการบีบบังคับให้ JAS เองต้องเพิ่มทุนโดยเร็วก่อนถึงกำหนดจ่ายเงินงวดแรกพร้อมยื่นแบงก์การันตี ซึ่งไม่อาจหลีกเลี่ยงตามเงื่อนไขของ กสทช.
ทั้งนี้ผลกระทบหาก JAS จ่ายเงินไม่ทันเวลาคือ จะถูกยึดเงินประกัน 644 ล้านบาท อีกทั้งจะขาดคุณสมบัติประกอบกิจการธุรกิจโทรคมนาคมที่ดำเนินการอยู่ปัจจุบัน
นายฐากร ตัณฑสิทธิ์ เลขาธิการ กสทช. เปิดเผยกับ "สำนักข่าวอีไฟแนนซ์ไทย"ว่า แม้จะยังไม่ได้รับการติดต่อจาก JAS เพื่อชำระค่าใบอนุญาต อีกทั้งมีกระแสข้อกังวลเกี่ยวกับแหล่งเงินเพื่อจะมาชำระเงิน แต่โดยส่วนตัวเชื่อว่าสุดท้าย JAS จะชำระค่าใบอนุญาต 4G อย่างแน่นอน เพราะหาก JAS ไม่ชำระค่าใบอนุญาตก็จะมีผลกระทบต่อการให้บริการอินเทอร์เน็ต 3BB เพราะเป็นบริษัทเดียวกัน
JAS มาถึงจุดที่ต้องเลือกว่า จะเพิ่มทุน หรือจะออกจากธุรกิจโทรคมนาคมไทยไปเลย ซึ่งไม่ว่าจะเลือกทางไหนก็ไม่ใช่เรื่องง่าย เว้นแต่ BBL จะใจดีปล่อยกู้เต็มจำนวนโดยไม่มีเงื่อนไข
ถ้ายอมเพิ่มทุนเท่ากับว่า กลุ่มผู้ถือหุ้นใหญ่ นำโดย พิชญ์ โพธารามิก จะต้องเร่งระดมเงินส่วนตัวก้อนโตหลักหมื่นล้านมาสำรองไว้
บนสมมุติฐานว่า ธนาคารใช้หลักเกณฑ์เดียวกับการปล่อยกู้ให้ TRUE คือหนี้สินต่อ EBITDA ต้องไม่เกิน 2 เท่า ซึ่งปัจจุบัน JAS มีภาระหนี้อยู่แล้วราว 1.5 หมื่นล้านบาท
เท่ากับว่าที่ดีสุด JAS จะได้เงินกู้วงเงินไม่เกิน 5 หมื่นล้านบาท นั่นหมายถึง JAS ต้องใช้เงินตัวเองอีก 5 หมื่นล้านบาท แต่ในงบการเงินล่าสุด JAS มีเงินสดในมือราว 6,300 ล้านบาท จึงเลี่ยงไม่ได้ที่จะต้องเพิ่มทุนอีกไม่ต่ำกว่า 4 หมื่นล้านบาท
แม้นายพิชญ์ โพธารามิก จะถูกจัดอันดับจาก นิตยสารฟอร์บส ไทยแลนด์ ให้เป็นมหาเศรษฐีอันดับ 36 ของประเทศเมื่อกลางปี 58 ด้วยระดับความมั่งคั่ง 2.18 หมื่นล้านบาท แต่ในปัจจุบันราคาหุ้นในมือทั้ง JAS MONO และ JASIF ปรับลดลง ทำให้ความมั่งคั่งของ "พิชญ์" ณ ราคาหุ้นล่าสุดเหลือเพียง 1.2 หมื่นล้านบาท
ข้อมูลจากตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ระบุว่า ณ วันปิดสมุดทะเบียนล่า "พิชญ์" ถือหุ้นใหญ่ใน 3 บริษัท ดังนี้
1. บริษัทจัสมิน อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด (มหาชน) หรือ JAS จำนวน 1,844 ล้านหุ้น หรือ 25.85%
2.บริษัท โมโน เทคโนโลยี จำกัด (มหาชน) หรือ MONO จำนวน 2,217 ล้านหุ้น หรือ 71.99%
3. กองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐานบรอดแบนด์อินเทอร์เน็ต จัสมิน JASIF จำนวน 225 ล้านหุ้น หรือ 4.09%
ซึ่งหาก "พิชญ์" ขายหุ้นทั้งหมดที่ตัวเองถืออยู่ออกมาที่ราคาปัจจุบัน จะมีมูลค่าราว 1.2 หมื่นล้านบาทเท่านั้น ดังนั้นการต้องหาเงินมากกว่า 1 หมื่นล้านบาทมาเพิ่มทุนใน JAS จึงถือว่าเป็นเรื่องยากมากในทางปฏิบัติ
"พิชญ์" จึงต้องเลือกระหว่างยอม "หมดตัว" หากต้องการดัน JAS ให้ไปต่อในธุรกิจ 4G หรืออาจยกธงขาว ยอมจ่ายค่ามัดจำเกือบ 700 ล้านบาท และเดินออกจากธุรกิจโทรคมนาคมของไทย ปิดฉากธุรกิจหลักที่ตนเองปลุกปั้นมากับมือทันที
หรือเร่งปิดดีลกับ "พันธมิตรต่างชาติ" ที่ยังไม่ยอมเปิดตัว ให้เข้ามาช่วยในด้านเงินลงทุน
บทวิเคราะห์วิเคราะห์ บล.ดีบีเอส วิคเคอร์ส (ประเทศไทย) คาดว่า JAS มีโอกาสสูงที่จะคืนใบอนุญาต 4G ย่าน 900 MHz ให้กับ กสทช. เพราะความเป็นไปได้ที่จะได้รับแบงก์การันตีค่อนข้างน้อย อีกทั้งขณะนี้ยังไม่ประกาศพันธมิตรทางธุรกิจ ซึ่งอาจเป็นผลจากค่าใบอนุญาตที่สูงมากกว่า 7 หมื่นล้านบาท
"ถ้าหากJAS ไม่นำเงินประมูลงวดแรก 8,040 ล้านบาทและหนังสือค้ำประกันทางการเงินจากธนาคารมาจ่ายภายในกำหนดคือวันที่ 21 มี.ค.ก็จะถูกริบหลักประกัน 644 ล้านบาทและต้องชดใช้ค่าเสียหายที่เกิดขึ้นทั้งหมดจากการประมูล 4G และอาจเป็นผู้ขาดคุณสมบัติในใบอนุญาตประกอบการที่ได้รับจากกสทช.ที่ใช้ทำธุรกิจในปัจจุบันด้วย" บล.ดีบีเอส วิคเคอร์ (ประเทศไทย) ระบุในบทวิเคราะห์
อย่างไรก็ตาม ในกรณีผิดคาดหาก JAS หาเงินมาได้ทันกำหนด คาดว่า JAS จะประสบความยากลำบากในการทำธุรกิจ เพราะอัตราผลตอบแทนจากการลงทุน (ROI) มีเพียง 2.3% ใน 3 ปี หากทำธุรกิจมือถือ แม้ว่าจะมีสมมุติฐานแง่ดีในประมาณการแล้วก็ตาม
ด้านทางเทคนิค นักวิเคราะห์ บล. ซีไอเอ็มบี (ประเทศไทย) มองว่า หุ้นกำลังสร้างฐานบริเวณแนวรับที่ 2.96-2.94 บาท และถ้ายืนอยู่มีโอกาสรีบาวน์ไปทดสอบแนวต้าน 3.1-3.2 บาท แนะนำเก็งกำไร ส่วนจุดตัดขาดทุนอยู่ที่ 2.9 บาท
การตัดสินใจไม่ว่าจะเลือก "เดินหน้า" หรือ "ยอมแพ้" ของ "พิชญ์ โพธารามิก" จะนำมาซึ่งจุดเริ่มต้นที่เต็มไปด้วยอุปสรรคในเส้นทางโทรคมนาคม ทั้งกับตัวเอง และกับกิจการ ส่วนนักลงทุนรายย่อย หากเข้าไปยุ่งเกี่ยว ก็คงต้องทำใจยอมรับความเสี่ยงที่ยังไม่รู้ว่าจะออกหัวหรือก้อย จนกว่า JAS จะหาทางออกจากวังวนนี้ได้
รายงาน โดย เอกอนันต์ เสรีรัตนะชัย เรียบเรียง โดย ดาริน ปริญญากุล
อีเมล์. darin@efinancethai.com อนุมัติ โดย พิมพ์รภัส ศิริไพรวัน