จากบทความนี้
http://www.kwamru.com/82 เราอ่านกี่ทีก็ยังสงสัยมาก ๆๆ
อยากสอบถามชาว Pantip ทุก ๆ ท่านค่ะ ว่าทำไมกู้เงินมาซื้อคอนโดเพื่อปล่อยเช่า ธนาคารคิดค่างวด 29,700 บาท ปล่อยเช่าได้ 30,000 บาท/เดือน (ได้รายรับ 300 บาท) แต่ทำไมเขาพูดต่อว่า เวลาคิดรายรับ กลับคิดแค่ส่วนที่เป็น ดอกเบี้ย ไม่คิดเงินต้น (จึงได้รายรับ 11,250 บาท)
ไม่เข้าใจจริง ๆ ค่ะ ทำไมถึงอยู่ดี ๆ ไม่คิดเงินต้น ทั้งที่ต้องจ่ายธนาคารเดือนละ 29,700 บาท เป็นเวลา 20 ปี
เนื่อหาบทความเต็มตามข้างล่างนี้เลยค่ะ
ช่วงช่วง กับ หลินฮุ้ย เป็นเพื่อนกัน ทั้งคู่ทำงานบริษัทเอกชน
ต่างก็เก็บเงินได้คนละ 5 แสนบาท ทั้งคู่สนใจลงทุนในอสังหาริมทรัพย์
เนื่องจากเห็นว่าดอกเบี้ยเงินฝากต่ำเตี้ยเหลือเกินราว 1%
ช่วงช่วง หัวอนุรักษ์ ไม่ชอบความเสี่ยง จึงตัดสินใจซื้อหน่วยลงทุนกองทุนอสังหาริมทรัพย์แห่งหนึ่ง
ซึ่งรับประกันผลตอบแทน 8 % เท่ากับว่า ช่วงช่วงได้เงินจากการลงทุนอสังหาฯนี้ 4 หมื่นบาทต่อปี หรือเดือนละ 3,333 บาท
ส่วนหลินฮุ้ย เห็นว่า มีคอนโดแห่งหนึ่งย่านสุขุมวิท ตกแต่งพร้อมอยู่ ประกาศขายในราคา 5 ล้านบาท
ดูจากทำเลที่ตั้ง และสภาพอาคารแล้ว ห้องนี้น่าจะได้ค่าเช่าอย่างน้อยเดือนละ 30,000 บาท
1 ปี เท่ากับ 360,000 บาท คิดเป็นอัตราผลตอบแทน (Yield) ราวๆ 7%
ช่วงช่วงได้ทักท้วงว่า Yield คอนโดแห่งนั้น ต่ำกว่า Yield ของกองทุนตั้ง 1%
อีกทั้งมีความเสี่ยง ต้องวุ่นวายเสียเวลาไปคอยดูแลเก็บค่าเช่าอีก
สู้ซื้อกองทุนนอนตีพุงกินผลประโยชน์ 8% เฉยๆดีกว่า
แต่หลินฮุ้ย ไม่คิดเช่นนั้น
หลินฮุ้ย เอาเงิน 5 แสนบาท ไปวางดาวน์คอนโดมูลค่า 5 ล้านบาทที่ตัวเองมั่นใจ
แล้วยื่นเรื่องกู้ธนาคารส่วนที่เหลือ 4.5 ล้านทันที โดยขอผ่อนในเวลา 20 ปี อัตราดอกเบี้ยเงินกู้อยู่ที่ 5%
ธนาคารคำนวณค่างวดที่หลินฮุ้ยต้องผ่อนคือ 29,700 บาท ซึ่งเป็นเงินที่หลินฮุ้ยสามารถกู้และผ่อนชำระได้สบาย
** การคำนวณวงเงินกู้และค่างวด ดูได้จาก http://www.scb.co.th/th/pnb/pnb_loan_calculate.shtml
หลินฮุ้ยมีรายรับจากค่าเช่า 30,000 บาท แต่ค่างวดที่ต้องผ่อนธนาคาร 29,700 บาท
เท่ากับว่าหลินฮุ้ยเหลือเงินเข้ากระเป๋าเดือนละ 300 บาท ขณะที่ช่วงช่วงได้เดือนละ 3,333 บาท
หลินฮุ้ยฉลาดน้อยกว่าช่วงช่วง หรือไม่????
.
.
.
.
คำตอบคือ ไม่ใช่
ค่างวดที่ต้องผ่อนชำระธนาคารนั้น ประกอบด้วย เงินต้น และดอกเบี้ย รวมกันอยู่
ต้นทุนที่หลินฮุ้ยต้องจ่ายจริงนั้นมีเพียงดอกเบี้ย
เพราะเงินต้นที่ผ่อนชำระแท้จริงแล้วก็คือเงินของหลินฮุ้ยนั่นเอง ไม่ใช่ธนาคาร
การคิดผลตอบแทนจึงไม่ใช่เอาค่าเช่าห้อง ลบ ค่างวด
แต่ต้องเอาค่าเช่าห้อง ลบ ดอกเบี้ยธนาคาร ในแต่ละเดือน
รายจ่ายดอกเบี้ยของหลินฮุ้ย คือเท่าไร?
หากคำนวณแบบหยาบที่สุด Flat rate ณ อัตราดอกเบี้ย 5% ต่อปี
เงินต้น 4.5 ล้าน เท่ากับดอกเบี้ยตกปีละ 225,000 บาท เฉลี่ยเดือนละ 18,750 บาท
เท่ากับว่า หลินฮุ้ยได้รายรับเดือนละ 30,000-18,750 เท่ากับ 11,250 บาทต่อเดือน
เมื่อเทียบกับเงินลงทุน 5 แสนบาท เท่ากับว่าหลินฮุ้ยได้ Yield ถึง 27%
แต่อย่าลืมว่า การผ่อนชำระสินเชื่อเคหะนั้น เป็นแบบลดต้นลดดอก ยิ่งเวลาผ่านไป เงินต้นยิ่งเยอะ ดอกเบี้ยยิ่งน้อยลง
ถ้าคำนวณอย่างละเอียด หารเฉลี่ยดอกเบี้ยทั้ง 20 ปี จะตกเดือนละ 11,000 บาทเท่านั้น
ดังนั้น ผลตอบแทนที่แท้จริงของหลินฮุ้ยจึงเท่ากับ 30,000 – 11,000 = 19,000 บาทต่อเดือนหรือ Yield เท่ากับ 45%
เทียบกับผลตอบแทนของช่วงช่วงที่ 8% จะพบว่า หลินฮุ้ยได้ผลตอบแทนดีกว่าถึง 6 เท่า
แม้ญาติพี่น้องจะบ่นว่า หลินฮุ้ยไม่ได้เรื่อง ลงทุนอะไรกัน 5 แสนได้แค่เดือนละ 300 บาท
ช่วงช่วงสิ เจ๋งกว่าได้ตั้งเดือนละ 3,333 บาท หลินฮุ้ยก็ได้แต่หัวเราะหึหึ
ด้วยรู้อยู่แก่ใจว่า ผลตอบแทนที่แท้จริงของตัวเองไม่ใช่ 300 แต่เป็น 19,000 บาทต่อเดือน!
เมื่อเวลาผ่านไป 5 ปี ด้วยทำเลที่ดี และตามสภาพเศรษฐกิจที่เจริญขึ้น
คอนโดมิเนียมของหลินฮุ้ย ราคาแพงขึ้น 20% จาก 5 ล้านเป็น 6 ล้าน
หลินฮุ้ย ตัดสินใจขายคอนโดนั้น
มาดูกันว่าหลินฮุ้ยได้ผลตอบแทนเท่าไร
หลินฮุ้ย ได้เงินค่าเช่าห้อง(ที่หักดอกเบี้ยเงินกู้ออกแล้ว)เป็นเวลา 5 ปี เท่ากับ 760,000 บาท
บวกกับ กำไรจากการขายต่อ อีก 1 ล้าน รวมเป็น 1,760,000 บาท หรือเท่ากับ 250% ของเงินต้น 5 แสน!
ขณะที่ ช่วงช่วงได้ผลตอบแทน 8% ในเวลา 5 ปี = 200,000 บาท หรือเท่ากับ 40%
คนสองคน เริ่มต้นลงทุนพร้อมกันด้วยเงิน 5 แสนบาท
ผ่านไป 5 ปี ช่วงช่วงได้กำไร 2 แสน หลินฮุ้ยได้กำไร 1.76 ล้าน
ใครมีวิสัยทัศน์ในการลงทุนกว่ากัน?
ตอนนี้ ช่วงช่วงเริ่มยิ้มไม่ออกแล้ว เมื่อพบว่า ผลตอบแทนของตนเองแพ้หลินฮุ้ยหลุดลุ่ย
ในเวลาต่อมา ชูวิทย์ เพื่อนช่วงช่วงเห็นหลินฮุ้ยรวยจากการลงทุนคอนโด จึงเลียนแบบบ้าง
แต่ด้วยความที่เป็นคนรวย ชูวิทย์ จึงเอาเงินสดของตัวเองซื้อคอนโดราคา 5 ล้านเพียวๆ
โดยคิดว่า ไม่ต้องกู้เงิน ก็ไม่ต้องเสียดอกเบี้ย ชูวิทย์เอาห้องมาให้เช่าได้ค่าเช่าเดือนละ 30,000 เท่าหลินฮุ้ย
คิดเป็นผลตอบแทนปีละ 360,000 บาท Yield เท่ากับ 7.2%
ผ่านไป 5 ปี ได้เงินรวม 1.8 ล้านบาท หรือ 36%
ชูวิทย์ โดนช่วงช่วง เตะตูด 1 ป้าบ
เพราะว่า หากชูวิทย์เอาเงิน 5 ล้านนั่นมาซื้อกองทุนแบบช่วงช่วง
ผลตอบแทนที่ชูวิทย์ได้รับจะเป็น 40%
มากกว่าที่ไปซื้อคอนโดเงินสดตั้ง 4 % หรือ 200,000 บาท แถมไม่ต้องเหนื่อยดูแลด้วย
นับว่าชูวิทย์ลงทุนได้ห่วยที่สุดในกลุ่ม
สรุป
หากไม่นับเรื่อง capital gain หรือกำไรจากราคาคอนโดที่สูงขึ้น
ผลตอบแทนการลงทุนของคน 3 คน
ช่วงช่วง ซื้อกองทุนอสังหา ไม่เหนื่อยไม่ต้องดูแล ได้ Yield 8 %
ชูวิทย์ ซื้อคอนโดเงินสด ต้องคอยดูแลเก็บค่าเช่า ได้ Yield 7 %
หลินฮุ้ย ซื้อคอนโดเงินผ่อน ต้องคอยดูแลเก็บค่าเช่า ได้ Yield 45 %
หลินฮุ้ยชนะเลิศ!!
- จบ -
นิทานข้างบน ผมยกมาเพื่อเปรียบเทียบให้เห็นประโยชน์ของ”การกู้”
จะเห็นว่า ความแตกต่างของหลินฮุ้ยกับช่วงช่วง อยู่ตรงที่หลินฮุ้ย ใช้การกู้สินเชื่อเคหะ
เพื่อขยายอัตราผลกำไรของการลงทุนของตัวเอง จากเดิม 5 แสน ขยายได้ถึง 5 ล้าน
วิธีนี้ในทางการเงินเรียกว่า “Leverage” ครับ
การทำ Leverage จะให้ผลตอบแทนทวีคูณหลายเท่าตัว
ตราบที่อัตราดอกเบี้ยที่เราไปกู้มา ต่ำกว่าอัตราผลตอบแทนของการลงทุน
ในที่นี้ ดอกเงินกู้คือ 5% ขณะที่รายได้คือ 7% หากกลับกัน ผลตอบแทนการลงทุนต่ำกว่าอัตราดอกเบี้ย
การทำ Leverage นอกจากจะไม่กำไรแล้วยังทำให้ขาดทุนหนักเป็นทวีคูณเช่นกันครับ
ดังนั้น หลักง่ายๆคือ การลงทุนซื้อคอนโดให้เช่า ผลตอบแทนค่าเช่าต้องมากกว่าอัตราดอกเบี้ย จึงจะคุ้มค่าการลงทุน
ผมเคยแนะนำไว้ใน blog ของผมว่า
ทุกคนที่มีเงินเดือนหรือรายได้ประจำที่อยากลงทุนอสังหาริมทรัพย์ ควรใช้บริการสินเชื่อเคหะ (Housing loan)
เนื่องจากเป็นสินเชื่อที่มีอัตราดอกเบี้ยต่ำที่สุดที่ธนาคารจะปล่อยได้ หรือที่เรียกว่า MLR (Minimum Loan Rate)
การซื้อคอนโดด้วยเงินสดแบบชูวิทย์ จึงไม่ใช่วิธีการที่ดีนัก
หากเราสามารถหาต้นทุนทางการเงินที่ถูกกว่าผลตอบแทนที่ได้รับ เราสมควรกู้เป็นอย่างยิ่ง
เพราะจะได้ผลตอบแทนเป็นทวีคูณ
นอกจากการกู้สินเชื่อเคหะจะเป็นการ Leverage ผลตอบแทนของเราแล้ว
เรายังได้สิทธิประโยชน์ด้านภาษีอีก
คือ เอาค่างวดผ่อนชำระคอนโดไปหักเป็นรายจ่ายเพื่อลดหย่อนภาษีปลายปีได้ถึง 100,000 บาท
อย่างไรก็ดี ความเสี่ยงของการลงทุนคอนโดมิเนี่ยมเป็นสิ่งที่ต้องคำนึงเสมอ
จากการคำนวณที่ผมแสดงให้ดู จะเห็นว่า มีตัวแปรสำคัญที่มีผลต่อผลตอบแทนการลงทุนได้แก่
อัตราค่าเช่า ควรคงที่และสามารถ up ขึ้นได้ตามภาวะเศรษฐกิจและภาวะเงินเฟ้อ
และ อัตราการพัก (Occupancy rate) ควรสม่ำเสมอ หาผู้เช่าได้เรื่อยๆ ห้องไม่ว่างนานเกินไป
การเลือกซื้อคอนโดในทำเลที่ดีเยี่ยม จะช่วยลดความเสี่ยงทั้งสองข้อนี้ลง
ทำให้การลงทุนเป็นไปตามเป้าหมายที่วางไว้ ครับผม
นี่ก็คือเหตุผลที่บางคนถึงกับยอมอดหลับอดนอนเพื่อไปยืนต่อแถวเข้าคิวจองคอนโดทำเลดี
ไปตั้งแต่ตี3 ตี4 ถึงขั้นทะเลาะตบตีด่าทอคนขายเมื่อจองไม่ได้ กลับบ้านยังมาโพสต์ด่าต่อในเน็ทอีก
ในขณะที่คอนโดบางแห่ง ขายแล้วขายอีก เซลแล้วเซลอีก ก็ไม่หมดซะที
ก็คอนโดทำเลเยี่ยมมันกำไรดีนี่นา..ชิมิๆๆ!!
จากคุณ : หมาร่าหมาหรอด Patip.com
ขอบพระคุณผู้ทุกท่านล่วงหน้า ที่ช่วยชี้ชัดค่า
ช่วยไขข้อสงสัยตรงนี้ทีค่ะ-การกู้เงินผ่อนคอนโดทำไมคิดแต่ดอกเบี้ยธนาคาร
อยากสอบถามชาว Pantip ทุก ๆ ท่านค่ะ ว่าทำไมกู้เงินมาซื้อคอนโดเพื่อปล่อยเช่า ธนาคารคิดค่างวด 29,700 บาท ปล่อยเช่าได้ 30,000 บาท/เดือน (ได้รายรับ 300 บาท) แต่ทำไมเขาพูดต่อว่า เวลาคิดรายรับ กลับคิดแค่ส่วนที่เป็น ดอกเบี้ย ไม่คิดเงินต้น (จึงได้รายรับ 11,250 บาท)
ไม่เข้าใจจริง ๆ ค่ะ ทำไมถึงอยู่ดี ๆ ไม่คิดเงินต้น ทั้งที่ต้องจ่ายธนาคารเดือนละ 29,700 บาท เป็นเวลา 20 ปี
เนื่อหาบทความเต็มตามข้างล่างนี้เลยค่ะ
ช่วงช่วง กับ หลินฮุ้ย เป็นเพื่อนกัน ทั้งคู่ทำงานบริษัทเอกชน
ต่างก็เก็บเงินได้คนละ 5 แสนบาท ทั้งคู่สนใจลงทุนในอสังหาริมทรัพย์
เนื่องจากเห็นว่าดอกเบี้ยเงินฝากต่ำเตี้ยเหลือเกินราว 1%
ช่วงช่วง หัวอนุรักษ์ ไม่ชอบความเสี่ยง จึงตัดสินใจซื้อหน่วยลงทุนกองทุนอสังหาริมทรัพย์แห่งหนึ่ง
ซึ่งรับประกันผลตอบแทน 8 % เท่ากับว่า ช่วงช่วงได้เงินจากการลงทุนอสังหาฯนี้ 4 หมื่นบาทต่อปี หรือเดือนละ 3,333 บาท
ส่วนหลินฮุ้ย เห็นว่า มีคอนโดแห่งหนึ่งย่านสุขุมวิท ตกแต่งพร้อมอยู่ ประกาศขายในราคา 5 ล้านบาท
ดูจากทำเลที่ตั้ง และสภาพอาคารแล้ว ห้องนี้น่าจะได้ค่าเช่าอย่างน้อยเดือนละ 30,000 บาท
1 ปี เท่ากับ 360,000 บาท คิดเป็นอัตราผลตอบแทน (Yield) ราวๆ 7%
ช่วงช่วงได้ทักท้วงว่า Yield คอนโดแห่งนั้น ต่ำกว่า Yield ของกองทุนตั้ง 1%
อีกทั้งมีความเสี่ยง ต้องวุ่นวายเสียเวลาไปคอยดูแลเก็บค่าเช่าอีก
สู้ซื้อกองทุนนอนตีพุงกินผลประโยชน์ 8% เฉยๆดีกว่า
แต่หลินฮุ้ย ไม่คิดเช่นนั้น
หลินฮุ้ย เอาเงิน 5 แสนบาท ไปวางดาวน์คอนโดมูลค่า 5 ล้านบาทที่ตัวเองมั่นใจ
แล้วยื่นเรื่องกู้ธนาคารส่วนที่เหลือ 4.5 ล้านทันที โดยขอผ่อนในเวลา 20 ปี อัตราดอกเบี้ยเงินกู้อยู่ที่ 5%
ธนาคารคำนวณค่างวดที่หลินฮุ้ยต้องผ่อนคือ 29,700 บาท ซึ่งเป็นเงินที่หลินฮุ้ยสามารถกู้และผ่อนชำระได้สบาย
** การคำนวณวงเงินกู้และค่างวด ดูได้จาก http://www.scb.co.th/th/pnb/pnb_loan_calculate.shtml
หลินฮุ้ยมีรายรับจากค่าเช่า 30,000 บาท แต่ค่างวดที่ต้องผ่อนธนาคาร 29,700 บาท
เท่ากับว่าหลินฮุ้ยเหลือเงินเข้ากระเป๋าเดือนละ 300 บาท ขณะที่ช่วงช่วงได้เดือนละ 3,333 บาท
หลินฮุ้ยฉลาดน้อยกว่าช่วงช่วง หรือไม่????
.
.
.
.
คำตอบคือ ไม่ใช่
ค่างวดที่ต้องผ่อนชำระธนาคารนั้น ประกอบด้วย เงินต้น และดอกเบี้ย รวมกันอยู่
ต้นทุนที่หลินฮุ้ยต้องจ่ายจริงนั้นมีเพียงดอกเบี้ย
เพราะเงินต้นที่ผ่อนชำระแท้จริงแล้วก็คือเงินของหลินฮุ้ยนั่นเอง ไม่ใช่ธนาคาร
การคิดผลตอบแทนจึงไม่ใช่เอาค่าเช่าห้อง ลบ ค่างวด
แต่ต้องเอาค่าเช่าห้อง ลบ ดอกเบี้ยธนาคาร ในแต่ละเดือน
รายจ่ายดอกเบี้ยของหลินฮุ้ย คือเท่าไร?
หากคำนวณแบบหยาบที่สุด Flat rate ณ อัตราดอกเบี้ย 5% ต่อปี
เงินต้น 4.5 ล้าน เท่ากับดอกเบี้ยตกปีละ 225,000 บาท เฉลี่ยเดือนละ 18,750 บาท
เท่ากับว่า หลินฮุ้ยได้รายรับเดือนละ 30,000-18,750 เท่ากับ 11,250 บาทต่อเดือน
เมื่อเทียบกับเงินลงทุน 5 แสนบาท เท่ากับว่าหลินฮุ้ยได้ Yield ถึง 27%
แต่อย่าลืมว่า การผ่อนชำระสินเชื่อเคหะนั้น เป็นแบบลดต้นลดดอก ยิ่งเวลาผ่านไป เงินต้นยิ่งเยอะ ดอกเบี้ยยิ่งน้อยลง
ถ้าคำนวณอย่างละเอียด หารเฉลี่ยดอกเบี้ยทั้ง 20 ปี จะตกเดือนละ 11,000 บาทเท่านั้น
ดังนั้น ผลตอบแทนที่แท้จริงของหลินฮุ้ยจึงเท่ากับ 30,000 – 11,000 = 19,000 บาทต่อเดือนหรือ Yield เท่ากับ 45%
เทียบกับผลตอบแทนของช่วงช่วงที่ 8% จะพบว่า หลินฮุ้ยได้ผลตอบแทนดีกว่าถึง 6 เท่า
แม้ญาติพี่น้องจะบ่นว่า หลินฮุ้ยไม่ได้เรื่อง ลงทุนอะไรกัน 5 แสนได้แค่เดือนละ 300 บาท
ช่วงช่วงสิ เจ๋งกว่าได้ตั้งเดือนละ 3,333 บาท หลินฮุ้ยก็ได้แต่หัวเราะหึหึ
ด้วยรู้อยู่แก่ใจว่า ผลตอบแทนที่แท้จริงของตัวเองไม่ใช่ 300 แต่เป็น 19,000 บาทต่อเดือน!
เมื่อเวลาผ่านไป 5 ปี ด้วยทำเลที่ดี และตามสภาพเศรษฐกิจที่เจริญขึ้น
คอนโดมิเนียมของหลินฮุ้ย ราคาแพงขึ้น 20% จาก 5 ล้านเป็น 6 ล้าน
หลินฮุ้ย ตัดสินใจขายคอนโดนั้น
มาดูกันว่าหลินฮุ้ยได้ผลตอบแทนเท่าไร
หลินฮุ้ย ได้เงินค่าเช่าห้อง(ที่หักดอกเบี้ยเงินกู้ออกแล้ว)เป็นเวลา 5 ปี เท่ากับ 760,000 บาท
บวกกับ กำไรจากการขายต่อ อีก 1 ล้าน รวมเป็น 1,760,000 บาท หรือเท่ากับ 250% ของเงินต้น 5 แสน!
ขณะที่ ช่วงช่วงได้ผลตอบแทน 8% ในเวลา 5 ปี = 200,000 บาท หรือเท่ากับ 40%
คนสองคน เริ่มต้นลงทุนพร้อมกันด้วยเงิน 5 แสนบาท
ผ่านไป 5 ปี ช่วงช่วงได้กำไร 2 แสน หลินฮุ้ยได้กำไร 1.76 ล้าน
ใครมีวิสัยทัศน์ในการลงทุนกว่ากัน?
ตอนนี้ ช่วงช่วงเริ่มยิ้มไม่ออกแล้ว เมื่อพบว่า ผลตอบแทนของตนเองแพ้หลินฮุ้ยหลุดลุ่ย
ในเวลาต่อมา ชูวิทย์ เพื่อนช่วงช่วงเห็นหลินฮุ้ยรวยจากการลงทุนคอนโด จึงเลียนแบบบ้าง
แต่ด้วยความที่เป็นคนรวย ชูวิทย์ จึงเอาเงินสดของตัวเองซื้อคอนโดราคา 5 ล้านเพียวๆ
โดยคิดว่า ไม่ต้องกู้เงิน ก็ไม่ต้องเสียดอกเบี้ย ชูวิทย์เอาห้องมาให้เช่าได้ค่าเช่าเดือนละ 30,000 เท่าหลินฮุ้ย
คิดเป็นผลตอบแทนปีละ 360,000 บาท Yield เท่ากับ 7.2%
ผ่านไป 5 ปี ได้เงินรวม 1.8 ล้านบาท หรือ 36%
ชูวิทย์ โดนช่วงช่วง เตะตูด 1 ป้าบ
เพราะว่า หากชูวิทย์เอาเงิน 5 ล้านนั่นมาซื้อกองทุนแบบช่วงช่วง
ผลตอบแทนที่ชูวิทย์ได้รับจะเป็น 40%
มากกว่าที่ไปซื้อคอนโดเงินสดตั้ง 4 % หรือ 200,000 บาท แถมไม่ต้องเหนื่อยดูแลด้วย
นับว่าชูวิทย์ลงทุนได้ห่วยที่สุดในกลุ่ม
สรุป
หากไม่นับเรื่อง capital gain หรือกำไรจากราคาคอนโดที่สูงขึ้น
ผลตอบแทนการลงทุนของคน 3 คน
ช่วงช่วง ซื้อกองทุนอสังหา ไม่เหนื่อยไม่ต้องดูแล ได้ Yield 8 %
ชูวิทย์ ซื้อคอนโดเงินสด ต้องคอยดูแลเก็บค่าเช่า ได้ Yield 7 %
หลินฮุ้ย ซื้อคอนโดเงินผ่อน ต้องคอยดูแลเก็บค่าเช่า ได้ Yield 45 %
หลินฮุ้ยชนะเลิศ!!
- จบ -
นิทานข้างบน ผมยกมาเพื่อเปรียบเทียบให้เห็นประโยชน์ของ”การกู้”
จะเห็นว่า ความแตกต่างของหลินฮุ้ยกับช่วงช่วง อยู่ตรงที่หลินฮุ้ย ใช้การกู้สินเชื่อเคหะ
เพื่อขยายอัตราผลกำไรของการลงทุนของตัวเอง จากเดิม 5 แสน ขยายได้ถึง 5 ล้าน
วิธีนี้ในทางการเงินเรียกว่า “Leverage” ครับ
การทำ Leverage จะให้ผลตอบแทนทวีคูณหลายเท่าตัว
ตราบที่อัตราดอกเบี้ยที่เราไปกู้มา ต่ำกว่าอัตราผลตอบแทนของการลงทุน
ในที่นี้ ดอกเงินกู้คือ 5% ขณะที่รายได้คือ 7% หากกลับกัน ผลตอบแทนการลงทุนต่ำกว่าอัตราดอกเบี้ย
การทำ Leverage นอกจากจะไม่กำไรแล้วยังทำให้ขาดทุนหนักเป็นทวีคูณเช่นกันครับ
ดังนั้น หลักง่ายๆคือ การลงทุนซื้อคอนโดให้เช่า ผลตอบแทนค่าเช่าต้องมากกว่าอัตราดอกเบี้ย จึงจะคุ้มค่าการลงทุน
ผมเคยแนะนำไว้ใน blog ของผมว่า
ทุกคนที่มีเงินเดือนหรือรายได้ประจำที่อยากลงทุนอสังหาริมทรัพย์ ควรใช้บริการสินเชื่อเคหะ (Housing loan)
เนื่องจากเป็นสินเชื่อที่มีอัตราดอกเบี้ยต่ำที่สุดที่ธนาคารจะปล่อยได้ หรือที่เรียกว่า MLR (Minimum Loan Rate)
การซื้อคอนโดด้วยเงินสดแบบชูวิทย์ จึงไม่ใช่วิธีการที่ดีนัก
หากเราสามารถหาต้นทุนทางการเงินที่ถูกกว่าผลตอบแทนที่ได้รับ เราสมควรกู้เป็นอย่างยิ่ง
เพราะจะได้ผลตอบแทนเป็นทวีคูณ
นอกจากการกู้สินเชื่อเคหะจะเป็นการ Leverage ผลตอบแทนของเราแล้ว
เรายังได้สิทธิประโยชน์ด้านภาษีอีก
คือ เอาค่างวดผ่อนชำระคอนโดไปหักเป็นรายจ่ายเพื่อลดหย่อนภาษีปลายปีได้ถึง 100,000 บาท
อย่างไรก็ดี ความเสี่ยงของการลงทุนคอนโดมิเนี่ยมเป็นสิ่งที่ต้องคำนึงเสมอ
จากการคำนวณที่ผมแสดงให้ดู จะเห็นว่า มีตัวแปรสำคัญที่มีผลต่อผลตอบแทนการลงทุนได้แก่
อัตราค่าเช่า ควรคงที่และสามารถ up ขึ้นได้ตามภาวะเศรษฐกิจและภาวะเงินเฟ้อ
และ อัตราการพัก (Occupancy rate) ควรสม่ำเสมอ หาผู้เช่าได้เรื่อยๆ ห้องไม่ว่างนานเกินไป
การเลือกซื้อคอนโดในทำเลที่ดีเยี่ยม จะช่วยลดความเสี่ยงทั้งสองข้อนี้ลง
ทำให้การลงทุนเป็นไปตามเป้าหมายที่วางไว้ ครับผม
นี่ก็คือเหตุผลที่บางคนถึงกับยอมอดหลับอดนอนเพื่อไปยืนต่อแถวเข้าคิวจองคอนโดทำเลดี
ไปตั้งแต่ตี3 ตี4 ถึงขั้นทะเลาะตบตีด่าทอคนขายเมื่อจองไม่ได้ กลับบ้านยังมาโพสต์ด่าต่อในเน็ทอีก
ในขณะที่คอนโดบางแห่ง ขายแล้วขายอีก เซลแล้วเซลอีก ก็ไม่หมดซะที
ก็คอนโดทำเลเยี่ยมมันกำไรดีนี่นา..ชิมิๆๆ!!
จากคุณ : หมาร่าหมาหรอด Patip.com
ขอบพระคุณผู้ทุกท่านล่วงหน้า ที่ช่วยชี้ชัดค่า