สัตตานัง กับ จิต มันตัวเดียวกันหรือเปล่า สัตตานัง ที่เกาะวิญญาณคืออะไร

กระทู้คำถาม
สัตตานัง กับ จิต มันตัวเดียวกันหรือเปล่า สัตตานัง ที่เกาะวิญญาณคืออะไร  พุทธวจนะ


รบกวนด้วยครับ
คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 4
สัตตานัง กับ จิต มันตัวเดียวกันหรือเปล่า สัตตานัง ที่เกาะวิญญาณคืออะไร
---------------------  คำว่า สัตตานัง เป็นความเข้าใจผิด จากการอ่านพระธรรมแล้วเข้าใจพระธรรมผิด

                              เพราะจิต มีความอยาก ยึดติด ใน รูป(ร่างกาย)และจิต จึงเรียกว่า สัตว์   ไม่ได้มีสิ่งใดที่เรียกกว่า สัตตานัง(ความจริงคือ มีผู้ที่ถามว่า ที่เรียกว่าสัตว์ คือเป็นมาอย่างไร  (สัตตานัง หรือคำว่า สัตโต ในภาษาบาลีที่รูปคำแปลงในตามหลักภาษาบาลีได้หลายคำ ---  ภาษาไทย แปลว่า สัตว์) มายึดเกาะอะไร  เป็นความเข้าใจผิด เพราะแปลพระธรรมผิด แล้วเข้าใจผิด

*********************
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ที่เรียกว่า สัตว์ สัตว์ ดังนี้ ด้วยเหตุมีประมาณเท่าไร
หนอแล จึงเรียกว่า สัตว์?
             พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า ดูกรราธะ เพราะเหตุที่มี ความพอใจ ความกำหนัด
ความเพลิดเพลิน ความทะยานอยาก
ในรูปแล เป็นผู้ข้องในรูป เป็นผู้เกี่ยวข้องในรูปนั้น ฉะนั้น
จึงเรียกว่า สัตว์. เพราะเหตุที่มีความพอใจ ความกำหนัด ความเพลิดเพลิน ความทะยานอยาก
ในเวทนา ... ในสัญญา ... ในสังขาร ... ในวิญญาณ เป็นผู้ข้องในวิญญาณ เป็นผู้เกี่ยวข้อง
ในวิญญาณนั้น ฉะนั้น จึงเรียกว่า สัตว์...

http://www.84000.org/tipitaka/pitaka2/v.php?B=17&A=4433&Z=4459
***********************

ดูเปรียบเทียบพระไตรปิฎกแบบไทย(ฉบับหลวง)  กับ พระไตรปิฎกเสียงบาลี(ตัวอักษรไทย)(ฉบับสยามรัฐ)

http://etipitaka.com/compare/thai/pali/17/191/?keywords=สัตตสูตร





พระไตรปิฎก ไทย (ฉบับหลวง) เล่มที่ ๑๗
สุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค
หน้าที่ ๑๙๑    ข้อที่ ๓๖๗

                  ๒. สัตตสูตร
                ว่าด้วยเหตุที่เรียกว่าสัตว์
    [๓๖๗] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวันอารามของท่าน
อนาถบิณฑิกเศรษฐี ใกล้พระนครสาวัตถี. ครั้งนั้นแล ท่านพระราธะได้เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค
ถึงที่ประทับ ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคแล้ว นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้ว ได้ทูลถาม
พระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ที่เรียกว่า สัตว์ สัตว์ ดังนี้ ด้วยเหตุมีประมาณเท่าไร
หนอแล จึงเรียกว่า สัตว์?

     พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า ดูกรราธะ เพราะเหตุที่มี ความพอใจ ความกำหนัด
ความเพลิดเพลิน ความทะยานอยากในรูปแล เป็นผู้ข้องในรูป เป็นผู้เกี่ยวข้องในรูปนั้น ฉะนั้น
จึงเรียกว่า สัตว์
. เพราะเหตุที่มีความพอใจ ความกำหนัด ความเพลิดเพลิน ความทะยานอยาก
ในเวทนา ... ในสัญญา ... ในสังขาร ... ในวิญญาณ เป็นผู้ข้องในวิญญาณ เป็นผู้เกี่ยวข้อง
ในวิญญาณนั้น ฉะนั้น จึงเรียกว่า สัตว์. ดูกรราธะ เด็กชายหรือเด็กหญิง เล่นอยู่ตามเรือนฝุ่น
ทั้งหลาย เป็นผู้ยังไม่ปราศจากความกำหนัด ไม่ปราศจากความพอใจ ไม่ปราศจากความรัก
ไม่ปราศจากความกระหาย ไม่ปราศจากความกระวนกระวาย ไม่ปราศจากความทะยานอยาก
ในเรือนฝุ่นเหล่านั้นอยู่เพียงใด ย่อมอาลัย ย่อมอยากเล่น ย่อมหวงแหน ย่อมยึดถือเรือนฝุ่น
ทั้งหลายอยู่เพียงนั้น. ดูกรราธะ แต่ว่าในกาลใด เด็กชายหรือเด็กหญิงเป็นผู้ปราศจากความ
กำหนัด ปราศจากความพอใจ ปราศจากความรัก ปราศจากความกระหาย ปราศจากความกระวน
กระวาย ปราศจากความทะยานอยากในเรือนฝุ่นเหล่านั้นแล้ว ในกาลนั้นแล เด็กชายหรือ
เด็กหญิงเหล่านั้น ย่อมรื้อ ย่อมยื้อแย่ง ย่อมกำจัด ย่อมทำเรือนฝุ่นเหล่านั้น ให้เล่นไม่ได้
ด้วยมือและเท้า ฉันใด ดูกรราธะ แม้เธอทั้งหลายก็จงรื้อ จงยื้อแย่ง จงกำจัด จงทำรูปให้
เป็นของเล่นไม่ได้ จงปฏิบัติเพื่อความสิ้นไปแห่งตัณหา จงรื้อ จงยื้อแย่ง จงกำจัด จงทำเวทนา

ให้เป็นของเล่นไม่ได้ จงปฏิบัติเพื่อความสิ้นไปแห่งตัณหา จงรื้อ จงยื้อแย่ง จงกำจัด จงทำ
สัญญาให้เป็นของเล่นไม่ได้ จงปฏิบัติเพื่อความสิ้นไปแห่งตัณหา จงรื้อ จงยื้อแย่ง จงกำจัด
จงทำสังขารให้เป็นของเล่นไม่ได้ จงปฏิบัติเพื่อความสิ้นไปแห่งตัณหา จงรื้อ จงยื้อแย่ง
จงกำจัด จงทำวิญญาณให้เป็นของเล่นไม่ได้ จงปฏิบัติเพื่อความสิ้นไปแห่งตัณหา ฉันนั้น
นั่นเทียวแล. ดูกรราธะ เพราะว่าความสิ้นไปแห่งตัณหา เป็นนิพพาน.
                    จบ สูตรที่ ๒.
---------------------------

พระไตรปิฎก บาลี (สยามรัฐ) เล่มที่ ๑๗
สุตฺตนฺตปิฏเก สํยุตฺตนิกายสฺส ขนฺธวารวคฺโค
หน้าที่ ๒๔๙    ข้อที่ ๔๑๘

    [๓๖๗]  เอกํ  สมยํ  ภควา สาวตฺถิยํ วิหรติ เชตวเน อนาถปิณฺฑิกสฺส
อาราเม    ฯ    อถ    โข    อายสฺมา    ราโธ    เยน   ภควา
เตนุปสงฺกมิ   อุปสงฺกมิตฺวา   ภควนฺตํ  อภิวาเทตฺวา  เอกมนฺตํ  นิสีทิ  ฯ
เอกมนฺตํ   นิสินฺโน   โข  อายสฺมา  ราโธ  ภควนฺตํ  เอตทโวจ  สตฺโต
สตฺโตติ    ภนฺเต    วุจฺจติ   กิตฺตาวตา   นุ   โข   ภนฺเต   สตฺโตติ
วุจฺจตีติ  ฯ  รูเป  โข  ราธ  โย  ฉนฺโท  โย  ราโค  ยา  นนฺทิ  ยา
ตณฺหา   ตตฺร   สตฺโต   ตตฺร   วิสตฺโต   ตสฺมา   สตฺโตติ  วุจฺจติ  ฯ
เวทนาย   ฯ   สญฺญาย   ฯ   สงฺขาเรสุ   ฯ   วิญฺญาเณ  โย  ฉนฺโท
โย   ราโค   ยา   นนฺทิ   ยา   ตณฺหา  ตตฺร  สตฺโต  ตตฺร  วิสตฺโต
ตสฺมา  สตฺโตติ  วุจฺจติ  ฯ  เสยฺยถาปิ ราธ กุมารกา วา กุมาริกาโย ๓
วา   ปํสฺวาคารเกหิ   กีฬนฺตา   ๔   ยาวกีวญฺจ  เตสุ  ปํสฺวาคารเกสุ
อวีตราคา   โหนฺติ   อวีตจฺฉนฺทา  อวีตเปมา  อวีตปิปาสา  อวีตปริฬาหา
อวีตตณฺหา    ตาวตานิ    ปํสฺวาคารกานิ   อาลยนฺติ   เกฬายนฺติ   ๕
#๑ สี. ม. อจฺจยาสิ ฯ อ. อจฺจสา ฯ  ๒ ม. ยุ. นิพฺพานปรายนนฺติ ทิสฺสติ ฯ
#๓ ยุ. กุมาริโย ฯ  ๔ ม. ยุ. กิฬนฺติ ฯ  ๕ สี. อลฺลียนฺติ ฯ อ. กีฬายนฺติ ฯ

ธนายนฺติ   มมายนฺติ   ยโต  จ  โข  ราธ  กุมารกา  วา  กุมาริกาโย
วา   เตสุ   ปํสฺวาคารเกสุ   วีตราคา   โหนฺติ   วีตจฺฉนฺทา  วีตเปมา
วีตปิปาสา   วีตปริฬาหา   วีตตณฺหา   อถ   โข   ตานิ  ปํสฺวาคารกานิ
หตฺเถหิ   จ   ปาเทหิ   จ  วิกิรนฺติ  วิธมนฺติ  วิทฺธํเสนฺติ  วิกีฬนิกํ  ๑
กโรนฺติ  ฯ  เอวเมว  โข  ราธ  ตุเมฺหปิ  รูปํ  วิกิรถ  วิธมถ วิทฺธํเสถ
วิกีฬนิกํ    กโรถ    ตณฺหกฺขยาย   ปฏิปชฺชถ   เวทนํ   วิกิรถ   วิธมถ
วิทฺธํเสถ    วิกีฬนิกํ    กโรถ    ตณฺหกฺขยาย    ปฏิปชฺชถ   สญฺญํ   ฯ
สงฺขาเร   วิกิรถ   วิธมถ   วิทฺธํเสถ   วิกีฬนิกํ   กโรถ   ตณฺหกฺขยาย
ปฏิปชฺชถ    วิญฺญาณํ    วิกิรถ    วิธมถ   วิทฺธํเสถ   วิกีฬนิกํ   กโรถ
ตณฺหกฺขยาย ปฏิปชฺชถ ฯ ตณฺหกฺขโย หิ ราธ นิพฺพานนฺติ ฯ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่