'ดีแทค' มองศึก 4จี ปีลิง 'แข่งเดือด-ฝุ่นตลบ'
มติชน (กรอบบ่าย) ฉบับวันที่ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559
ประเทศ ตันกุรานันท์ รองประธานเจ้าหน้าที่บริหาร กลุ่มเทคโนโลยี บริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ "ดีแทค" กรุณาให้โอกาสพูดคุยกันแบบสบายๆ ในสไตล์เป็นกันเองเมื่อเร็วๆ นี้ ให้มุมมองของสภาพความเป็นไปในภาคธุรกิจโทรคมนาคมของเมืองไทย ที่ก้าวสู่จุดหัวเลี้ยวหัวต่อที่สำคัญอีกครั้งหลังจากมีการเปิดประมูลคลื่นความถี่สำหรับใช้เพื่อให้บริการการสื่อสารไร้สายยุคที่ 4 หรือ "4จี" ไว้อย่างชัดเจนยิ่งว่า ผลจากการประมูลจะก่อให้เกิดการแข่งขันครั้งใหญ่ ทั้งในแง่การลงทุน สงครามโฆษณาและการให้บริการ ถือเป็นอีกครั้งที่เกิดการแข่งขันชนิดดุเดือดและฝุ่นตลบในอุตสาหกรรมนี้ของเมืองไทย
เหตุผลแรกสุดของก็คือ การมีผู้ให้บริการรายใหม่เพิ่มขึ้น ทำให้เกิดการแข่งขันสูงขึ้น ชนิดที่ว่า "ขนาดว่ายังไม่ได้จ่ายตังค์ยังไม่อะไรกัน ตอนนี้เกิดความเปลี่ยนแปลงในตลาดแล้ว ตลาดเริ่มปั่นป่วนแล้วเพราะว่า มีรายที่สี่เข้ามา" คุณประเทศ ที่คร่ำหวอดอยู่กับดีแทคมานานร่วมสิบปีระบุ
"ผมว่าปีนี้จะเป็นปีที่การแข่งขันรุนแรง สมมุติว่าทุกคนไปจ่ายเงินค่าใบอนุญาต แล้วก็สามารถเปิดบริการได้ตามปกติ สิ่งหนึ่งที่เราเห็นก็คือ คลื่นนี่มีการเปลี่ยนมือ ที่เราเห็นได้ชัดเจนก็คือคลื่น 900 เมกะเฮิรตซ์ มีการเปลี่ยนมือจากเอไอเอส มาเป็น แจส กับ ทรูมูฟ ทำให้ค่ายที่เป็นอันดับหนึ่งมาตลอดอย่างเอไอเอสเนี่ย เริ่มมีปัจจัยที่ทำให้ต้องเหนื่อยหน่อย ไม่ใช่แบบที่ว่าจะป้องตำแหน่งของตัวเองได้ง่ายๆ เหมือนกัน เพราะว่าเอไอเอสโตมากับคลื่น 900 เป็นหลัก สร้างเน็ตเวิร์ก ออกแบบเน็ตเวิร์ก และทำแผนกำหนดตำแหน่งไซต์มาด้วยคลื่น 900 เป็นหลัก การเสียคลื่น 900 ที่บอกว่าไม่มีผลกระทบนั้นไม่จริง มีแน่ๆ เอไอเอสต้องมีการปรับปรุงโครงข่ายขนานใหญ่ ต้องมีการสร้างเสาโครงข่ายเพิ่มมากขึ้นเพื่อรองรับการสูญเสียไปของคลื่น 900 แล้วก็มีฐานลูกค้าอีก 11 ล้านคน ที่ยังอยู่บนคลื่น 2จี อยู่ ต้องหาทางแก้ไขเพื่อให้เห็นว่าเสียคลื่น 900 ไปก็ยังมี 2จี ให้บริการ"
นั่นเป็นเพราะคลื่น 900 มีขีดความสามารถในการกระจายสัญญาณได้ไกลกว่าคลื่นความถี่สูง ทำให้จำเป็นต้องเพิ่มเสาสัญญาณในเครือข่ายให้ถี่ขึ้นเมื่อใช้คลื่นความถี่สูงขึ้น
เหตุผลถัดมาที่ทำให้เกิดการแข่งกันมากกว่าปกติก็คือ ต้นทุนค่าใบอนุญาตที่ผู้ชนะประมูลได้นั้นสูงกว่าที่ทุกฝ่ายคาดการณ์กันไว้ ผลก็คือ ทุกอย่างต้องเร่งดำเนินการให้แล้วเสร็จเพื่อระดมรายได้กลับเข้ามาให้เร็วที่สุด รายใหม่ที่เริ่มต้นจากศูนย์ ก็ต้องเร่งลงมือทำทุกอย่างใหม่หมดอย่างรวดเร็ว เพื่อให้เกิดรายได้ขึ้น เอไอเอสก็ต้องลงทุนเพิ่มเสาในเครือข่ายอย่างที่ว่า ส่วนทรูมูฟ ก็มีภาระเรื่องการเงินจากค่าใบอนุญาต
"เดิมพันของทรูก็คือต้องดำเนินการจัดสร้างไซต์ให้ได้เร็วๆ เพื่อสร้างรายได้ข้ามาให้เร็ว เพราะภาระหนี้ก้อนใหญ่อยู่ในปีที่สี่ภาระเรื่องหนี้เรื่องค่าใบอนุญาต 60,000 ล้าน อยู่ในปีที่สี่ ต้องรีบสร้างไซต์และทำรายได้ให้เร็ว" คุณประเทศชี้ ดังนั้น ภาพที่เราจะได้เห็นกันในปีนี้ก็คือ ทุกคนจะเร่งลงทุนในด้านเครือข่ายให้ได้มากที่สุด ครอบคลุมที่สุด
"หลักๆ ทุกคนจะเน้นไปที่การขยายเครือข่าย 4จี ดีแทคเองก็มองอย่างนั้นเหมือนกัน เราคงจะลงทุนทำ 4จี เพิ่ม ตอนนี้เรามีคลื่นสำหรับทำ 4จี คือคลื่น 1800 เมกะเฮิรตซ์ ซึ่งเป็นคลื่นที่เราเปิดใช้งานก่อนหน้าการประมูลคลื่น 1800 แล้วให้บริการในกรุงเทพฯและปริมณฑล ปีนี้เราจะขยายคลื่นนี้ไปต่างจังหวัดอีกประมาณ 4 พันกว่าไซต์ เพราะฉะนั้นปลายปีนี้เราก็จะมีคลื่น 4จี ที่เร็วที่สุดที่เรียกกันว่า ซุปเปอร์สปีดไปทั่วประเทศเลย นอกจากนั้น เรามี 4จี บนคลื่น 2100 อีก 5 เมกะเฮิรตซ์ เป็น 4จี บนคลื่นที่ได้ใบอนุญาต เราก็จะ ขยายคลื่น 4จี ออกไปให้ครอบคลุมทั่วไทย ก็หลายพันไซต์อยู่เหมือนกัน ปีนี้ทุกคนจะเน้นเรื่องขยาย 4จี เป็นหลัก ส่วนคลื่น 3จี บนความถี่ 850 ก็จะมีการขยายเพิ่มเติม ครึ่งปีคงขยายได้ราวพันกว่าไซต์ ปีนี้ทางดีแทคเองคงลงทุนอีกเยอะ"
การแข่งขันที่ดุเดือดดังกล่าวอาจส่งผลถึงขนาดทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงตำแหน่งของค่ายต่างๆ ได้ ใครจะเป็นเบอร์ไหน อันดับไหน ไม่ใช่เรื่องที่ "แน่นอน" อีกต่อไป นอกจากนั้น สิ่งที่จะเกิดขึ้นตามมาก็คือการกระตุ้นให้ผู้บริโภคหันมาใช้เครือข่ายเคลื่อนที่กันมากขึ้น
"ทุกคนขยายโครงข่ายมากขึ้นกระตุ้นให้อุปกรณ์ราคาถูกเข้ามาในเมืองไทย ทุกวันนี้ปัญหาอันหนึ่งก็คือดีไวซ์ราคาแพง พอมีโครงข่ายกันมากๆ ก็จะมีคนเริ่มเอาดีไวซ์ราคาถูกเข้ามาขายกันมากขึ้น เพราะว่าทุกคนก็ต้องอยากใช้ 4จี เราก็ต้องพยายามทำลายอุปสรรคนี้ไป ทำให้มีสมาร์ทโฟน 4จี ราคาถูกที่ทุกคนสามารถจ่ายได้ เข้ามาในประเทศมากๆ ผมว่าปีนี้น่าจะมีคนเปลี่ยน มาใช้งานสมาร์ทโฟนบน 4จี เนี่ยเยอะ เพราะความแพร่หลายและหาซื้อได้ของอุปกรณ์น่าจะดีขึ้นมาก"
คุณประเทศมองว่า เมื่อมองสภาพการแข่งขันสูงในตลาดในเวลานี้แล้ว ก็เท่ากับเป็น "โอกาสเปิด" สำหรับดีแทคเช่นเดียวกับทุกๆ ราย เพราะในตอนนี้ดีแทคเองก็มีคลื่นอยู่ในมือไม่น้อยไปกว่าบริษัทที่ชนะการประมูลเหมือนกัน แต่ได้เปรียบมากกว่าตรงที่ ไม่จำเป็นต้องแบกภาระค่าใบอนุญาตเหมือนรายอื่นๆ
"เราลงทุนด้านเครือข่ายปีนี้ไม่น้อยกว่าปีที่แล้ว แล้วก็พยายามหาเทคโนโลยีใหม่ๆ มาให้บริการอย่างเช่น เทคโนโลยีที่ทำให้ใช้วอยซ์บน 4จี ได้ ดีแทคเป็นรายแรกที่เปิดให้บริการในเมืองไทย สามารถที่จะโทรบน 4จี ได้โดยไม่ต้องย้อนกลับไป 3จี ในทุกครั้งที่โทร คุณภาพเสียงก็จะดีขึ้น" นอกจากนั้น อีกไม่นานดีแทคก็จะให้บริการวอยซ์ โอเวอร์ ไวไฟ คือโทรเข้าออกหากันผ่านไวไฟได้ โดยไม่จำเป็นต้องผ่านเครือข่ายจีเอสเอ็ม
ประโยชน์ที่สำคัญคือเวลาไปต่างประเทศ สามารถโทรเข้าโทรออกได้เหมือนกับอยู่ในเมืองไทยเมื่อเชื่อมต่อกับไวไฟ โดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายใดๆ เพิ่มเติมนั่นเอง!
แหล่งข่าว
หนังสือพิมพ์มติชน ฉบับวันที่ 26 ก.พ. 2559 (กรอบบ่าย) (หน้า 26)
'ดีแทค' มองศึก 4จี ปีลิง 'แข่งเดือด-ฝุ่นตลบ'
'ดีแทค' มองศึก 4จี ปีลิง 'แข่งเดือด-ฝุ่นตลบ'
มติชน (กรอบบ่าย) ฉบับวันที่ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559
ประเทศ ตันกุรานันท์ รองประธานเจ้าหน้าที่บริหาร กลุ่มเทคโนโลยี บริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ "ดีแทค" กรุณาให้โอกาสพูดคุยกันแบบสบายๆ ในสไตล์เป็นกันเองเมื่อเร็วๆ นี้ ให้มุมมองของสภาพความเป็นไปในภาคธุรกิจโทรคมนาคมของเมืองไทย ที่ก้าวสู่จุดหัวเลี้ยวหัวต่อที่สำคัญอีกครั้งหลังจากมีการเปิดประมูลคลื่นความถี่สำหรับใช้เพื่อให้บริการการสื่อสารไร้สายยุคที่ 4 หรือ "4จี" ไว้อย่างชัดเจนยิ่งว่า ผลจากการประมูลจะก่อให้เกิดการแข่งขันครั้งใหญ่ ทั้งในแง่การลงทุน สงครามโฆษณาและการให้บริการ ถือเป็นอีกครั้งที่เกิดการแข่งขันชนิดดุเดือดและฝุ่นตลบในอุตสาหกรรมนี้ของเมืองไทย
เหตุผลแรกสุดของก็คือ การมีผู้ให้บริการรายใหม่เพิ่มขึ้น ทำให้เกิดการแข่งขันสูงขึ้น ชนิดที่ว่า "ขนาดว่ายังไม่ได้จ่ายตังค์ยังไม่อะไรกัน ตอนนี้เกิดความเปลี่ยนแปลงในตลาดแล้ว ตลาดเริ่มปั่นป่วนแล้วเพราะว่า มีรายที่สี่เข้ามา" คุณประเทศ ที่คร่ำหวอดอยู่กับดีแทคมานานร่วมสิบปีระบุ
"ผมว่าปีนี้จะเป็นปีที่การแข่งขันรุนแรง สมมุติว่าทุกคนไปจ่ายเงินค่าใบอนุญาต แล้วก็สามารถเปิดบริการได้ตามปกติ สิ่งหนึ่งที่เราเห็นก็คือ คลื่นนี่มีการเปลี่ยนมือ ที่เราเห็นได้ชัดเจนก็คือคลื่น 900 เมกะเฮิรตซ์ มีการเปลี่ยนมือจากเอไอเอส มาเป็น แจส กับ ทรูมูฟ ทำให้ค่ายที่เป็นอันดับหนึ่งมาตลอดอย่างเอไอเอสเนี่ย เริ่มมีปัจจัยที่ทำให้ต้องเหนื่อยหน่อย ไม่ใช่แบบที่ว่าจะป้องตำแหน่งของตัวเองได้ง่ายๆ เหมือนกัน เพราะว่าเอไอเอสโตมากับคลื่น 900 เป็นหลัก สร้างเน็ตเวิร์ก ออกแบบเน็ตเวิร์ก และทำแผนกำหนดตำแหน่งไซต์มาด้วยคลื่น 900 เป็นหลัก การเสียคลื่น 900 ที่บอกว่าไม่มีผลกระทบนั้นไม่จริง มีแน่ๆ เอไอเอสต้องมีการปรับปรุงโครงข่ายขนานใหญ่ ต้องมีการสร้างเสาโครงข่ายเพิ่มมากขึ้นเพื่อรองรับการสูญเสียไปของคลื่น 900 แล้วก็มีฐานลูกค้าอีก 11 ล้านคน ที่ยังอยู่บนคลื่น 2จี อยู่ ต้องหาทางแก้ไขเพื่อให้เห็นว่าเสียคลื่น 900 ไปก็ยังมี 2จี ให้บริการ"
นั่นเป็นเพราะคลื่น 900 มีขีดความสามารถในการกระจายสัญญาณได้ไกลกว่าคลื่นความถี่สูง ทำให้จำเป็นต้องเพิ่มเสาสัญญาณในเครือข่ายให้ถี่ขึ้นเมื่อใช้คลื่นความถี่สูงขึ้น
เหตุผลถัดมาที่ทำให้เกิดการแข่งกันมากกว่าปกติก็คือ ต้นทุนค่าใบอนุญาตที่ผู้ชนะประมูลได้นั้นสูงกว่าที่ทุกฝ่ายคาดการณ์กันไว้ ผลก็คือ ทุกอย่างต้องเร่งดำเนินการให้แล้วเสร็จเพื่อระดมรายได้กลับเข้ามาให้เร็วที่สุด รายใหม่ที่เริ่มต้นจากศูนย์ ก็ต้องเร่งลงมือทำทุกอย่างใหม่หมดอย่างรวดเร็ว เพื่อให้เกิดรายได้ขึ้น เอไอเอสก็ต้องลงทุนเพิ่มเสาในเครือข่ายอย่างที่ว่า ส่วนทรูมูฟ ก็มีภาระเรื่องการเงินจากค่าใบอนุญาต
"เดิมพันของทรูก็คือต้องดำเนินการจัดสร้างไซต์ให้ได้เร็วๆ เพื่อสร้างรายได้ข้ามาให้เร็ว เพราะภาระหนี้ก้อนใหญ่อยู่ในปีที่สี่ภาระเรื่องหนี้เรื่องค่าใบอนุญาต 60,000 ล้าน อยู่ในปีที่สี่ ต้องรีบสร้างไซต์และทำรายได้ให้เร็ว" คุณประเทศชี้ ดังนั้น ภาพที่เราจะได้เห็นกันในปีนี้ก็คือ ทุกคนจะเร่งลงทุนในด้านเครือข่ายให้ได้มากที่สุด ครอบคลุมที่สุด
"หลักๆ ทุกคนจะเน้นไปที่การขยายเครือข่าย 4จี ดีแทคเองก็มองอย่างนั้นเหมือนกัน เราคงจะลงทุนทำ 4จี เพิ่ม ตอนนี้เรามีคลื่นสำหรับทำ 4จี คือคลื่น 1800 เมกะเฮิรตซ์ ซึ่งเป็นคลื่นที่เราเปิดใช้งานก่อนหน้าการประมูลคลื่น 1800 แล้วให้บริการในกรุงเทพฯและปริมณฑล ปีนี้เราจะขยายคลื่นนี้ไปต่างจังหวัดอีกประมาณ 4 พันกว่าไซต์ เพราะฉะนั้นปลายปีนี้เราก็จะมีคลื่น 4จี ที่เร็วที่สุดที่เรียกกันว่า ซุปเปอร์สปีดไปทั่วประเทศเลย นอกจากนั้น เรามี 4จี บนคลื่น 2100 อีก 5 เมกะเฮิรตซ์ เป็น 4จี บนคลื่นที่ได้ใบอนุญาต เราก็จะ ขยายคลื่น 4จี ออกไปให้ครอบคลุมทั่วไทย ก็หลายพันไซต์อยู่เหมือนกัน ปีนี้ทุกคนจะเน้นเรื่องขยาย 4จี เป็นหลัก ส่วนคลื่น 3จี บนความถี่ 850 ก็จะมีการขยายเพิ่มเติม ครึ่งปีคงขยายได้ราวพันกว่าไซต์ ปีนี้ทางดีแทคเองคงลงทุนอีกเยอะ"
การแข่งขันที่ดุเดือดดังกล่าวอาจส่งผลถึงขนาดทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงตำแหน่งของค่ายต่างๆ ได้ ใครจะเป็นเบอร์ไหน อันดับไหน ไม่ใช่เรื่องที่ "แน่นอน" อีกต่อไป นอกจากนั้น สิ่งที่จะเกิดขึ้นตามมาก็คือการกระตุ้นให้ผู้บริโภคหันมาใช้เครือข่ายเคลื่อนที่กันมากขึ้น
"ทุกคนขยายโครงข่ายมากขึ้นกระตุ้นให้อุปกรณ์ราคาถูกเข้ามาในเมืองไทย ทุกวันนี้ปัญหาอันหนึ่งก็คือดีไวซ์ราคาแพง พอมีโครงข่ายกันมากๆ ก็จะมีคนเริ่มเอาดีไวซ์ราคาถูกเข้ามาขายกันมากขึ้น เพราะว่าทุกคนก็ต้องอยากใช้ 4จี เราก็ต้องพยายามทำลายอุปสรรคนี้ไป ทำให้มีสมาร์ทโฟน 4จี ราคาถูกที่ทุกคนสามารถจ่ายได้ เข้ามาในประเทศมากๆ ผมว่าปีนี้น่าจะมีคนเปลี่ยน มาใช้งานสมาร์ทโฟนบน 4จี เนี่ยเยอะ เพราะความแพร่หลายและหาซื้อได้ของอุปกรณ์น่าจะดีขึ้นมาก"
คุณประเทศมองว่า เมื่อมองสภาพการแข่งขันสูงในตลาดในเวลานี้แล้ว ก็เท่ากับเป็น "โอกาสเปิด" สำหรับดีแทคเช่นเดียวกับทุกๆ ราย เพราะในตอนนี้ดีแทคเองก็มีคลื่นอยู่ในมือไม่น้อยไปกว่าบริษัทที่ชนะการประมูลเหมือนกัน แต่ได้เปรียบมากกว่าตรงที่ ไม่จำเป็นต้องแบกภาระค่าใบอนุญาตเหมือนรายอื่นๆ
"เราลงทุนด้านเครือข่ายปีนี้ไม่น้อยกว่าปีที่แล้ว แล้วก็พยายามหาเทคโนโลยีใหม่ๆ มาให้บริการอย่างเช่น เทคโนโลยีที่ทำให้ใช้วอยซ์บน 4จี ได้ ดีแทคเป็นรายแรกที่เปิดให้บริการในเมืองไทย สามารถที่จะโทรบน 4จี ได้โดยไม่ต้องย้อนกลับไป 3จี ในทุกครั้งที่โทร คุณภาพเสียงก็จะดีขึ้น" นอกจากนั้น อีกไม่นานดีแทคก็จะให้บริการวอยซ์ โอเวอร์ ไวไฟ คือโทรเข้าออกหากันผ่านไวไฟได้ โดยไม่จำเป็นต้องผ่านเครือข่ายจีเอสเอ็ม
ประโยชน์ที่สำคัญคือเวลาไปต่างประเทศ สามารถโทรเข้าโทรออกได้เหมือนกับอยู่ในเมืองไทยเมื่อเชื่อมต่อกับไวไฟ โดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายใดๆ เพิ่มเติมนั่นเอง!
แหล่งข่าว
หนังสือพิมพ์มติชน ฉบับวันที่ 26 ก.พ. 2559 (กรอบบ่าย) (หน้า 26)