สุดยอดความคิดเห็น
ความคิดเห็นที่ 1
เรื่องการขยายอาณาเขตมีมานานแล้ว แต่ก็ไม่เคยมีการทำอย่างบ้าระห่ำขนาดนี้ นอกจากทรัพยากรที่ถูกสูบไปแล้ว ศิลปะวัฒนธรรมดี ๆ ก็ถูกทำลายลงอย่างสิ้นเชิง ตัวอย่างเช่นมีเรื่องเล่าว่าในอดีตทัชมาฮาลมีเพชรพลอยประดับอยู่รอบโดม แต่เมื่ออังกฤษเข้ามายึดครองแล้วอัญมณีเหล่านี้หายไปหมด หรือกรณีของกรีซ มหาวิหารที่มีศิลปะโบราณสวย ๆ ไปอยู่ในพิพิธภัณฑ์ที่อังกฤษ เป็นต้น
นอกจากนั้นเวลาที่ให้เอกราชแก่อาณานิคม พวกฝรั่งยังวางยาไว้โดยแยกเป็นประเทศเล็ก ๆ น้อย ให้ทะเลาะกันต่อ เช่น อินเดียแตกเป็นอินเดียและปากีสถาน ให้ทะเลาะกันจะได้ไม่ต้องเป็นเสี้ยนหนามต่อไป หรืออย่างประเทศไทยที่ในอดีตลาวและกัมพูชาทั้งประเทศเป็นส่วนหนึ่งของไทย ก็ให้เอกราชแบบแยกเป็นหลาย ๆ ประเทศทะเลาะกัน
นอกจากพฤติกรรมข้างต้น ยังมีพฤติกรรมเลว ๆ ที่ทำกับชาติเอเซีย อย่างเช่นเอาฝิ่นไปขายให้ชาวจีนให้ติดฝิ่นกันงอมแงม พอรัฐบาลจะปราบกลายเป็นสงครามฝิ่นและพอแพ้สงครามก็ยังเอาค่าปฏิกรณ์สงครามอีก อยากรู้ถ้าวันนี้เอายาเสพติดเข้าไปขายในอังกฤษจะเป็นไง
ส่วนเรื่องการพัฒนาถ้าเห็นว่าเป็นข้อดีล่ะก็คิดผิดครับ การพัฒนาของเขาทำเพื่ออำนวยความสะดวกให้กับคนของชาติตัวเองที่มาปกครอง และให้ความสะดวกในการสูบทรัพยากรออกไปเท่านั้น เช่น สร้างรถไฟเพื่อขนส่งทรัพยากรออกไปประเทศแม่ สร้างถนน ท่าเรือ เพื่อขนส่งทรัพยากรออกไปยังประเทศแม่ ไม่ได้มีเป้าหมายเพื่อพัฒนาอาณานิคมเลย สมมติคุณมีที่ดิน 10 ไร่ มีการเวนคืนเพื่อสร้างถนนไปเหลือ 100 ตร.ว. คุณจะดีใจไหมที่มีถนนตัดเข้ามาในที่ดินของคุณ
ที่น่าเสียดายคือประเทศโจรพวกนี้กลายเป็นผู้ชนะสงครามเลยถือโอกาสเขียนประวัติศาสตร์ให้ตนเองไม่ผิด เป็นพระเอกในสายคนชาวโลก ไม่เคยบอกว่าตัวเองผิดที่เที่ยวปล้นบ้านคนอื่น
นอกจากนั้นเวลาที่ให้เอกราชแก่อาณานิคม พวกฝรั่งยังวางยาไว้โดยแยกเป็นประเทศเล็ก ๆ น้อย ให้ทะเลาะกันต่อ เช่น อินเดียแตกเป็นอินเดียและปากีสถาน ให้ทะเลาะกันจะได้ไม่ต้องเป็นเสี้ยนหนามต่อไป หรืออย่างประเทศไทยที่ในอดีตลาวและกัมพูชาทั้งประเทศเป็นส่วนหนึ่งของไทย ก็ให้เอกราชแบบแยกเป็นหลาย ๆ ประเทศทะเลาะกัน
นอกจากพฤติกรรมข้างต้น ยังมีพฤติกรรมเลว ๆ ที่ทำกับชาติเอเซีย อย่างเช่นเอาฝิ่นไปขายให้ชาวจีนให้ติดฝิ่นกันงอมแงม พอรัฐบาลจะปราบกลายเป็นสงครามฝิ่นและพอแพ้สงครามก็ยังเอาค่าปฏิกรณ์สงครามอีก อยากรู้ถ้าวันนี้เอายาเสพติดเข้าไปขายในอังกฤษจะเป็นไง
ส่วนเรื่องการพัฒนาถ้าเห็นว่าเป็นข้อดีล่ะก็คิดผิดครับ การพัฒนาของเขาทำเพื่ออำนวยความสะดวกให้กับคนของชาติตัวเองที่มาปกครอง และให้ความสะดวกในการสูบทรัพยากรออกไปเท่านั้น เช่น สร้างรถไฟเพื่อขนส่งทรัพยากรออกไปประเทศแม่ สร้างถนน ท่าเรือ เพื่อขนส่งทรัพยากรออกไปยังประเทศแม่ ไม่ได้มีเป้าหมายเพื่อพัฒนาอาณานิคมเลย สมมติคุณมีที่ดิน 10 ไร่ มีการเวนคืนเพื่อสร้างถนนไปเหลือ 100 ตร.ว. คุณจะดีใจไหมที่มีถนนตัดเข้ามาในที่ดินของคุณ
ที่น่าเสียดายคือประเทศโจรพวกนี้กลายเป็นผู้ชนะสงครามเลยถือโอกาสเขียนประวัติศาสตร์ให้ตนเองไม่ผิด เป็นพระเอกในสายคนชาวโลก ไม่เคยบอกว่าตัวเองผิดที่เที่ยวปล้นบ้านคนอื่น
ความคิดเห็นที่ 9
อินเดียเจริญน้อยกว่า ถามจริงๆเคยไปอินเดียอย่างมหาราชารึยัง
ประเภทกุลีถูกหวยอย่ามาเหมาเข่งเลย
แม้แต่ต้าหมิงยังให้เกียรติอินเดียกว่า มีศักดิ์เสมอกัน
ไม่ต้องมายัดเยียดความเจริญที่ว่า ของเขามีกันอยู่แล้วบางอย่างดีกว่าด้วยซ้ำ
การที่ใช้อคติแบบนี้ทำให้โลกบิดเบี้ยว มีแค่คนกลุ่มเดียวคือ ความชอบธรรม
แล้วตอนนี้วิลาสเป็นอย่างไร มีแต่แขกไปครอบครองสารพัดกิจการ
เมืองแมนเชสเตอร์ที่รุ่งเรืองด้านทอผ้า ใครเป็นมือใหญ่ในนั้น
กระนั้นคนอินเดียยังไม่เคยลำเลิกบุญคุณที่ช่วยอังกฤษ แบบที่จขกท.ว่า
ขนาดโคตรเพชร ทวงไปยังทำเป็นลืม ที่อวยมาเหมือนกระดาษชำระเท่านั้น
แล้วชีวิตชาวอินเดียที่ตาย ในเหตุการณ์การสังหารหมู่ที่อมฤตสาร์ พ.ศ. 2462
เอาพวกเขาไปไว้ไหน ทุกชีวิตชาวปัญจาบที่สูญเสียไปนั้นแลกกับเศษเนื้อข้างเขียงได้ฤา
อังกฤษได้ออกพระราชบัญญัติโรว์แลตต์เมื่อ 3 มีนาคม พ.ศ. 2461
ให้อำนาจรัฐบาลจับกุมผู้ต้องสงสัยว่าจะก่อจลาจลได้ โดยไม่ต้องสอบสวนหรือให้ศาลพิพากษา
ทำให้ชาวอินเดียโดยทั่วไปไม่พอใจ มหาตมะ คานธี ได้นำหลักสัตยาเคราะห์มาใช้ในการต่อต้านพระราชบัญญัตินี้
ด้วยการนัดหยุดงานทั่วประเทศ อดอาหารและสวดมนต์ โดยเริ่มตั้งแต่วันที่ 30 มีนาคม พ.ศ. 2461
ชาวอินเดียเข้าร่วมกับคานธีเป็นจำนวนมาก แต่ในวันแรก
มีชาวอินเดียบางส่วนยังไม่เข้าใจการต่อสู้แบบสัตยาเคราะห์
จึงเกิดการปะทะกับเจ้าหน้าที่ตำรวจ ทหารในเดลี มีผู้เสียชีวิต 8 คน
เหตุการณ์ที่รุนแรงที่สุดเกิดขึ้นที่เมืองอมฤตสาร์ แคว้นปัญจาบ
คิชลู และสัตยปาล ผู้นำชาตินิยมแห่งแคว้นปัญจาบ
ได้เรียกร้องให้ประชาชนร่วมแสดงพลัง และมหาตมะ คานธีได้เตรียมเดินทาง
มาเพื่อปราศรัยกับมวลชนที่นี่ แต่ถูกจับกุมที่สถานีชายแดนรัฐปัญจาบและส่งตัวกลับไปบอมเบย์
ต่อมา วันที่ 10 เมษายน พ.ศ. 2462 คิชลู และสัตยปาลถูกจับกุม
เมื่อประชาชนมาเดินขบวนเรียกร้องให้ปล่อยตัวคนทั้งสอง ได้ถูกทหารอังกฤษยิงจนบาดเจ็บล้มตายเป็นอันมาก
ชาวเมืองที่โกรธแค้นจึงไปรวมตัวที่เมืองอมฤตสาร์ เผาทำลายธนาคารและสังหารชาวอังกฤษหลายคน
พลจัตวา อาร์ อี เอช ไดเออร์ ได้สั่งให้นำทหาร 1,000 นาย
เข้าไปควบคุมสถานการณ์ให้กลับสู่สภาวะปกติ
ชาวซิกข์ ชาวมุสลิม และชาวฮินดูนับหมื่นคนได้รวมกันชุมนุมประท้วงกฎหมายเถื่อน
อย่างสงบในสวนสาธารณะ จาเลียนวาลาบาฆ เป็นเวลาหลายวัน
ช่วงพลบค่ำในวันที่ 13 เมษายน พลจัตวาไดเออร์ได้นำทหาร 90 นาย
พร้อมอาวุธเข้าไปในสวนสาธารณะจัลเลียนวลาบาฆ ได้เดินเข้ามาปิดล้อมกลุ่มผู้ชุมนุม
ภาพจากภาพยนตร์เรื่อง คานธี 1982
และยิงกราดเข้าไปในฝูงชน โดยไม่ประกาศเตือนล่วงหน้า
นายพลได้สั่งให้ทหารทั้งหมดยิงอย่างไม่เลือกหน้า
กองทหารทั้งหมดได้กราดปืน ยิงผู้คนที่ไม่มีอาวุธล้มตายราวใบไม้ร่วง
ท่ามกลางเสียงกรีดร้องของผู้คน เด็ก ผู้หญิงที่ไม่มีทางสู้ได้
สวนสาธารณะแห่งนี้โอบล้อมด้วยกำแพงสูง คนที่พยายามปีนป่ายขึ้นไปถูกยิงศพแล้วศพเล่า
ทหารใช้เวลาเพียง 10 นาที ยิงกระสุนที่มีอยู่จนหมด มีคนตายทั้งสิ้น 378 คน
เป็นเด็ก 41 คน และบาดเจ็บ 1,500 คน มีการประกาศกฎอัยการศึก ศพถูกทิ้งข้ามคืน
ก่อนที่ชาวปัญจาบจะมาเที่ยวค้นหาญาติพี่น้องของตน
การกระทำของไดเออร์ ได้รับการรับรองจากอังกฤษ
แม้จะมีชาวอินเดียร้องเรียนเป็นจำนวนมาก
แต่เขาเพียงได้รับคำสั่งให้พ้นจากหน้าที่ ในแคว้นปัญจาบด้วยข้อหา ทำรุนแรงเกินกว่าเหตุ
เมื่อเดินทางกลับอังกฤษ เขาได้รับการต้อนรับจากชาวอังกฤษเยี่ยงวีรบุรุษ ซึ่งผลที่ตามมา
ทำให้ชาวอินเดียสายกลาง รวมทั้งมหาตมะ คานธี ต่างรวมตัวเคลื่อนไหว ต่อต้านอังกฤษเพิ่มขึ้น
ภายหลังเหตุการณ์ ผู้ว่าการแคว้นปัญจาบออกมาปกป้องนายพลผู้นี้ว่า
ได้ปฏิบัติหน้าที่ถูกต้องแล้ว
ขณะที่นายพลไดเออร์ได้บอกว่า
เป็นการยับยั้งไม่ให้ฝูงชน กลับมารวมตัวกันอย่างได้ผล
การลงโทษครั้งนี้จะเป็นบทเรียนสำคัญ ไม่ให้เกิดการชุมนุมประท้วงอีกต่อไป
แต่เมื่อข่าวนี้กระจายไปทั่วโลก อังกฤษถูกประณามจากคนทั่วโลก และตั้งแต่วันนั้นเป็นต้นมา
นายพลไดเออร์ไม่เคยนอนหลับสนิท ฝันร้ายไปตลอดชีวิต
ส่วน เซอร์ไมเคิล โอไดเวอร์ ผู้ว่าการแคว้นปัญจาบ ผู้มีส่วนสำคัญในการวางแผนสังหารหมู่ครั้งนี้
ได้เกษียณอายุราชการ กลับมาใช้ชีวิตในบ้านพักกรุงลอนดอนอย่างเงียบๆ และไม่เคยถูกใครขู่เอาชีวิต
จนกระทั่งในวันที่ 13 มกราคม 2483 นายอัดฮาม สิงห์ นักปฏิวัติหัวรุนแรงที่รอดชีวิต
และได้รับบาดเจ็บในวันสังหารหมู่เมื่อสามสิบปีก่อน ได้บุกเข้ามาลอบฆ่าชายชราผู้นี้
เขาถูกศาลอังกฤษตัดสินประหารชีวิต ด้วยการแขวนคอในเวลาต่อมา
ในวันตัดสินคดี อัดฮาม สิงห์ กล่าวว่า
ข้าพเจ้ากระทำไปเพื่อกอบกู้ศักดิ์ศรีของชาวอินเดีย ที่ถูกชาวอังกฤษกดขี่เป็นเวลายี่สิบกว่าปี
ไดเวอร์ได้เหยียบย่ำจิตใจของพวกเรามานาน ข้าพเจ้าได้ทำหน้าที่ลุล่วงแล้ว และกำลังจะตายเพื่อชาติ
เมื่ออัฐิของเขาถูกนำกลับประเทศอินเดีย อัดฮาม สิงห์ ได้รับการยกย่องว่าเป็นวีรบุรุษของชาติ
เป็นนักสู้เพื่ออิสรภาพของอินเดีย ผู้ช่วยล้างแค้นแทนพี่น้องชาวปัญจาบ
ภาพถ่ายและชื่อของเขาสถิตอยู่ในพิพิธภัณฑ์ ณ สวนสาธารณะแห่งนี้ตราบชั่วนิรันดร์
เหตุการณ์การสังหารหมู่ครั้งนั้น ได้ทำให้ชาวอินเดียพากันโกรธแค้นและตื่นตัวเข้าร่วมขบวนการต่อสู้
เพื่อเอกราชอินเดียนำโดย มหาตมะ คานธี เป็นจำนวนมาก มีการชุมนุมและประท้วงบ่อยขึ้นเรื่อยๆ
กดดันให้อังกฤษยอมคืนเอกราชกับชาวอินเดียอีกยี่สิบกว่าปีต่อมา
ทุกวันนี้สวนสาธารณะแห่งนี้ได้กลายเป็นอนุสรณ์สถานแห่งชาติ
เดวิด คาเมรอน นายกรัฐมนตรี อังกฤษ วางพวงหรีดแด่เหล่าวีรชน 20 กุมภาพันธ์ 2013
ทางการยังอนุรักษ์รอยกระสุน นับร้อยรูตามกำแพงไว้ให้คนรุ่นหลังเห็นถึงความ โหดร้ายของคนขาว
และบ่อน้ำขนาดใหญ่ที่มีผู้คนถูกยิงตกลงไป ตายมากกว่าร้อยคน ถูกรักษาไว้ในสภาพเดิม
แต่ละวันมีชาวอินเดียนับพันคนจากทั่วสารทิศ มาดูร่องรอยประวัติศาสตร์ของตัวเอง
เด็กนักเรียนมากันเป็นคันรถบัส คุณครูพามาศึกษาเพื่อให้รู้ว่า
กว่าอินเดียจะได้มาซึ่งสิทธิ เสรีภาพ และเอกราชนั้น ไม่ใช่ด้วยการร้องขอ
คนในอดีตต้องเจ็บปวด และเสียสละชีวิตมากน้อยเพียงใด
นี้เป็นแค่เศษเสี้ยวของหลายชีวิตที่ต้องสังเวย
ให้กับผู้รุกรานที่อ้างตนว่า นำความเจริญแบบให้เสียไม่ได้มาให้
แม้ชาวอินเดียสามารถขับไล่ไปในที่สุด แต่...
ไม่วายยังทิ้งปัญหาให้พี่น้องชาวชมพูทวีปต้องมาเข่นฆ่ากันจนทุกวันนี้
อ้างอิง
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
ประเภทกุลีถูกหวยอย่ามาเหมาเข่งเลย
แม้แต่ต้าหมิงยังให้เกียรติอินเดียกว่า มีศักดิ์เสมอกัน
ไม่ต้องมายัดเยียดความเจริญที่ว่า ของเขามีกันอยู่แล้วบางอย่างดีกว่าด้วยซ้ำ
การที่ใช้อคติแบบนี้ทำให้โลกบิดเบี้ยว มีแค่คนกลุ่มเดียวคือ ความชอบธรรม
แล้วตอนนี้วิลาสเป็นอย่างไร มีแต่แขกไปครอบครองสารพัดกิจการ
เมืองแมนเชสเตอร์ที่รุ่งเรืองด้านทอผ้า ใครเป็นมือใหญ่ในนั้น
กระนั้นคนอินเดียยังไม่เคยลำเลิกบุญคุณที่ช่วยอังกฤษ แบบที่จขกท.ว่า
ขนาดโคตรเพชร ทวงไปยังทำเป็นลืม ที่อวยมาเหมือนกระดาษชำระเท่านั้น
แล้วชีวิตชาวอินเดียที่ตาย ในเหตุการณ์การสังหารหมู่ที่อมฤตสาร์ พ.ศ. 2462
เอาพวกเขาไปไว้ไหน ทุกชีวิตชาวปัญจาบที่สูญเสียไปนั้นแลกกับเศษเนื้อข้างเขียงได้ฤา
อังกฤษได้ออกพระราชบัญญัติโรว์แลตต์เมื่อ 3 มีนาคม พ.ศ. 2461
ให้อำนาจรัฐบาลจับกุมผู้ต้องสงสัยว่าจะก่อจลาจลได้ โดยไม่ต้องสอบสวนหรือให้ศาลพิพากษา
ทำให้ชาวอินเดียโดยทั่วไปไม่พอใจ มหาตมะ คานธี ได้นำหลักสัตยาเคราะห์มาใช้ในการต่อต้านพระราชบัญญัตินี้
ด้วยการนัดหยุดงานทั่วประเทศ อดอาหารและสวดมนต์ โดยเริ่มตั้งแต่วันที่ 30 มีนาคม พ.ศ. 2461
ชาวอินเดียเข้าร่วมกับคานธีเป็นจำนวนมาก แต่ในวันแรก
มีชาวอินเดียบางส่วนยังไม่เข้าใจการต่อสู้แบบสัตยาเคราะห์
จึงเกิดการปะทะกับเจ้าหน้าที่ตำรวจ ทหารในเดลี มีผู้เสียชีวิต 8 คน
เหตุการณ์ที่รุนแรงที่สุดเกิดขึ้นที่เมืองอมฤตสาร์ แคว้นปัญจาบ
คิชลู และสัตยปาล ผู้นำชาตินิยมแห่งแคว้นปัญจาบ
ได้เรียกร้องให้ประชาชนร่วมแสดงพลัง และมหาตมะ คานธีได้เตรียมเดินทาง
มาเพื่อปราศรัยกับมวลชนที่นี่ แต่ถูกจับกุมที่สถานีชายแดนรัฐปัญจาบและส่งตัวกลับไปบอมเบย์
ต่อมา วันที่ 10 เมษายน พ.ศ. 2462 คิชลู และสัตยปาลถูกจับกุม
เมื่อประชาชนมาเดินขบวนเรียกร้องให้ปล่อยตัวคนทั้งสอง ได้ถูกทหารอังกฤษยิงจนบาดเจ็บล้มตายเป็นอันมาก
ชาวเมืองที่โกรธแค้นจึงไปรวมตัวที่เมืองอมฤตสาร์ เผาทำลายธนาคารและสังหารชาวอังกฤษหลายคน
พลจัตวา อาร์ อี เอช ไดเออร์ ได้สั่งให้นำทหาร 1,000 นาย
เข้าไปควบคุมสถานการณ์ให้กลับสู่สภาวะปกติ
ชาวซิกข์ ชาวมุสลิม และชาวฮินดูนับหมื่นคนได้รวมกันชุมนุมประท้วงกฎหมายเถื่อน
อย่างสงบในสวนสาธารณะ จาเลียนวาลาบาฆ เป็นเวลาหลายวัน
ช่วงพลบค่ำในวันที่ 13 เมษายน พลจัตวาไดเออร์ได้นำทหาร 90 นาย
พร้อมอาวุธเข้าไปในสวนสาธารณะจัลเลียนวลาบาฆ ได้เดินเข้ามาปิดล้อมกลุ่มผู้ชุมนุม
ภาพจากภาพยนตร์เรื่อง คานธี 1982
และยิงกราดเข้าไปในฝูงชน โดยไม่ประกาศเตือนล่วงหน้า
นายพลได้สั่งให้ทหารทั้งหมดยิงอย่างไม่เลือกหน้า
กองทหารทั้งหมดได้กราดปืน ยิงผู้คนที่ไม่มีอาวุธล้มตายราวใบไม้ร่วง
ท่ามกลางเสียงกรีดร้องของผู้คน เด็ก ผู้หญิงที่ไม่มีทางสู้ได้
สวนสาธารณะแห่งนี้โอบล้อมด้วยกำแพงสูง คนที่พยายามปีนป่ายขึ้นไปถูกยิงศพแล้วศพเล่า
ทหารใช้เวลาเพียง 10 นาที ยิงกระสุนที่มีอยู่จนหมด มีคนตายทั้งสิ้น 378 คน
เป็นเด็ก 41 คน และบาดเจ็บ 1,500 คน มีการประกาศกฎอัยการศึก ศพถูกทิ้งข้ามคืน
ก่อนที่ชาวปัญจาบจะมาเที่ยวค้นหาญาติพี่น้องของตน
การกระทำของไดเออร์ ได้รับการรับรองจากอังกฤษ
แม้จะมีชาวอินเดียร้องเรียนเป็นจำนวนมาก
แต่เขาเพียงได้รับคำสั่งให้พ้นจากหน้าที่ ในแคว้นปัญจาบด้วยข้อหา ทำรุนแรงเกินกว่าเหตุ
เมื่อเดินทางกลับอังกฤษ เขาได้รับการต้อนรับจากชาวอังกฤษเยี่ยงวีรบุรุษ ซึ่งผลที่ตามมา
ทำให้ชาวอินเดียสายกลาง รวมทั้งมหาตมะ คานธี ต่างรวมตัวเคลื่อนไหว ต่อต้านอังกฤษเพิ่มขึ้น
ภายหลังเหตุการณ์ ผู้ว่าการแคว้นปัญจาบออกมาปกป้องนายพลผู้นี้ว่า
ได้ปฏิบัติหน้าที่ถูกต้องแล้ว
ขณะที่นายพลไดเออร์ได้บอกว่า
เป็นการยับยั้งไม่ให้ฝูงชน กลับมารวมตัวกันอย่างได้ผล
การลงโทษครั้งนี้จะเป็นบทเรียนสำคัญ ไม่ให้เกิดการชุมนุมประท้วงอีกต่อไป
แต่เมื่อข่าวนี้กระจายไปทั่วโลก อังกฤษถูกประณามจากคนทั่วโลก และตั้งแต่วันนั้นเป็นต้นมา
นายพลไดเออร์ไม่เคยนอนหลับสนิท ฝันร้ายไปตลอดชีวิต
ส่วน เซอร์ไมเคิล โอไดเวอร์ ผู้ว่าการแคว้นปัญจาบ ผู้มีส่วนสำคัญในการวางแผนสังหารหมู่ครั้งนี้
ได้เกษียณอายุราชการ กลับมาใช้ชีวิตในบ้านพักกรุงลอนดอนอย่างเงียบๆ และไม่เคยถูกใครขู่เอาชีวิต
จนกระทั่งในวันที่ 13 มกราคม 2483 นายอัดฮาม สิงห์ นักปฏิวัติหัวรุนแรงที่รอดชีวิต
และได้รับบาดเจ็บในวันสังหารหมู่เมื่อสามสิบปีก่อน ได้บุกเข้ามาลอบฆ่าชายชราผู้นี้
เขาถูกศาลอังกฤษตัดสินประหารชีวิต ด้วยการแขวนคอในเวลาต่อมา
ในวันตัดสินคดี อัดฮาม สิงห์ กล่าวว่า
ข้าพเจ้ากระทำไปเพื่อกอบกู้ศักดิ์ศรีของชาวอินเดีย ที่ถูกชาวอังกฤษกดขี่เป็นเวลายี่สิบกว่าปี
ไดเวอร์ได้เหยียบย่ำจิตใจของพวกเรามานาน ข้าพเจ้าได้ทำหน้าที่ลุล่วงแล้ว และกำลังจะตายเพื่อชาติ
เมื่ออัฐิของเขาถูกนำกลับประเทศอินเดีย อัดฮาม สิงห์ ได้รับการยกย่องว่าเป็นวีรบุรุษของชาติ
เป็นนักสู้เพื่ออิสรภาพของอินเดีย ผู้ช่วยล้างแค้นแทนพี่น้องชาวปัญจาบ
ภาพถ่ายและชื่อของเขาสถิตอยู่ในพิพิธภัณฑ์ ณ สวนสาธารณะแห่งนี้ตราบชั่วนิรันดร์
เหตุการณ์การสังหารหมู่ครั้งนั้น ได้ทำให้ชาวอินเดียพากันโกรธแค้นและตื่นตัวเข้าร่วมขบวนการต่อสู้
เพื่อเอกราชอินเดียนำโดย มหาตมะ คานธี เป็นจำนวนมาก มีการชุมนุมและประท้วงบ่อยขึ้นเรื่อยๆ
กดดันให้อังกฤษยอมคืนเอกราชกับชาวอินเดียอีกยี่สิบกว่าปีต่อมา
ทุกวันนี้สวนสาธารณะแห่งนี้ได้กลายเป็นอนุสรณ์สถานแห่งชาติ
เดวิด คาเมรอน นายกรัฐมนตรี อังกฤษ วางพวงหรีดแด่เหล่าวีรชน 20 กุมภาพันธ์ 2013
ทางการยังอนุรักษ์รอยกระสุน นับร้อยรูตามกำแพงไว้ให้คนรุ่นหลังเห็นถึงความ โหดร้ายของคนขาว
และบ่อน้ำขนาดใหญ่ที่มีผู้คนถูกยิงตกลงไป ตายมากกว่าร้อยคน ถูกรักษาไว้ในสภาพเดิม
แต่ละวันมีชาวอินเดียนับพันคนจากทั่วสารทิศ มาดูร่องรอยประวัติศาสตร์ของตัวเอง
เด็กนักเรียนมากันเป็นคันรถบัส คุณครูพามาศึกษาเพื่อให้รู้ว่า
กว่าอินเดียจะได้มาซึ่งสิทธิ เสรีภาพ และเอกราชนั้น ไม่ใช่ด้วยการร้องขอ
คนในอดีตต้องเจ็บปวด และเสียสละชีวิตมากน้อยเพียงใด
นี้เป็นแค่เศษเสี้ยวของหลายชีวิตที่ต้องสังเวย
ให้กับผู้รุกรานที่อ้างตนว่า นำความเจริญแบบให้เสียไม่ได้มาให้
แม้ชาวอินเดียสามารถขับไล่ไปในที่สุด แต่...
ไม่วายยังทิ้งปัญหาให้พี่น้องชาวชมพูทวีปต้องมาเข่นฆ่ากันจนทุกวันนี้
อ้างอิง
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
แสดงความคิดเห็น
การล่าอาณานิคมจากตะวันตกแม้จะโดนดึงทรัพยากรไปแต่ก็มีการพัฒนามีรถ มีตึก มีการแพทย์ มีเทคโนโลยีใหม่ๆถ่ายทอดมาใช่ไหม?
ถ้าสมมติประเทศเรามีอำนาจ เราก็อาจจะทำแบบนั้นบ้างเหมือนกัน
แม้จะโดนดึงทรัพยากรไป แต่เราก็รับอิทธิพลจากตะวันตก
มีการสร้างถนนหนทาง รถ รถไฟ ตึกราบ้านช่อง การแพทย์สมัยใหม่
การใช้ชีวิตค่านิยม การทำงาน แบบตะวันตก มีการสร้างโรงเรียน มหาวิทยาลัย
ซึ่งสิ่งเหล่านี้อยู่ๆจะเกิดเองไม่ได้
ดุอย่างอินเดีย แม้โดนดึงทรัพยากรไป แต่อังกฤษก็ไปสร้าง วางรากฐาน
สิ่งดีๆไว้มาก อินเดียคงจะเจริญน้อยกว่านี้มาก ถ้าไม่มีอังกฤษ
ถ้าไม่ได้รับอิทธิพลจากตะวันตก วิถีการใช้ชีวิต ก็คงจะไม่ต่างจากเมื่อ 400 ปีที่แล้วมากนัก
นั้นการกล่าวโจมตีการล่าอาณานิคม การเผยแพร่อิทธิพลจากตะวันตก
ก็ควรตระหนักในเรื่องนี้ด้วย