พระวินัยห้ามรื้อฟื้นอธิกรณ์ที่ตัดสินเป็นธรรมแล้ว สรุปว่าคดีธัมมชโยปาราชิก มีการตัดสิน "เป็นธรรม" แล้วหรือไม่?

กระทู้คำถาม
พระวินัยหมวดปาจิตตีย์ข้อ 112 คือ ห้ามรื้อฟื้นอธิกรณ์ที่ตัดสินเป็นธรรมแล้ว ซึ่งผมเข้าใจว่ามหาเถระสมาคมนำมาอ้าง (อธิกรณ์ แปลว่า เหตุ, โทษ, คดี, เรื่องราว)

อยากถามว่า คดีธัมมชโยปาราชิก เป็นอธิกรณ์ที่ตัดสินเป็นธรรมแล้วหรือไม่?
คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 51
หลายคำตอบตรงกับที่ผมคิด แต่อธิบายไม่ชัดเจน ขออนุญาตถามเองตอบเองนะครับ

อธิกรณ์ ในที่นี้คือ ธัมมชโยยักยอกเงินบริจาควัดมาซื้อที่ดินแล้วโอนให้ตัวเองหรือคนสนิท ผมสรุปย่อๆ ว่า ธัมมชโยยักยอกทรัพย์

ซึ่งถ้าอธิกรณ์นี้ถูกตัดสินอย่างเป็นธรรมแล้ว ปรากฏว่าธัมมชโยยักยอกทรัพย์จริง ก็ต้องอาบัติปาราชิก

แต่หากอธิกรณ์นี้ถูกตัดสินอย่างเป็นธรรมแล้ว ปรากฏว่าธัมมชโยไม่ได้ยักยอกทรัพย์ ก็ไม่ต้องอาบัติปาราชิก

ดังนั้น คำตัดสินที่เป็นธรรม มี 2 ข้อ คือ

1. ธัมมชโยยักยอกทรัพย์
2. ธัมมชโยไม่ได้ยักยอกทรัพย์

แต่เนื่องจากการตัดสินหรือการพิจารณาคดีไม่สามารถตัดสินได้ว่า ธัมมชโยยักยอกทรัพย์ หรือ ธัมมชโยไม่ได้ยักยอกทรัพย์ เพราะมีการถอนฟ้องเกิดขึ้นก่อน

ดังนั้น ในเมื่อการตัดสินยังไม่เป็นธรรม (คือไม่รู้ว่าตกลงแล้ว ธัมมชโยยักยอกทรัพย์ หรือ ธัมมชโยไม่ได้ยักยอกทรัพย์ กันแน่) ก็ต้องนำอธิกรณ์นี้มาตัดสินให้ถูกต้องหรือเป็นธรรม จะปล่อยไว้คาราคาซังไม่ตัดสินอะไรแบบนี้ไม่ได้ เพราะเป็นเรื่องอาบัติปาราชิก
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่