ขอยกเทศนา มาให้พิจารณากันดูนะครับ
เราพูดจริง ๆ นะ เรามันจืดชืดกับเรื่องหาเงินหาทองเอาไว้เป็นกองกงกองกลางอะไรสำหรับพระเรา พระพุทธเจ้าไม่ได้
หาเงินหาทองมาเป็นกองกลางอะไร ให้เป็นทุนเป็นรอน หาอรรถหาธรรมให้พระสงฆ์ สอนพระสงฆ์ให้เป็นต้นทุนขึ้นที่นี่ มีเท่านั้น ๆ
เรื่องเงินเรื่องทองนี้ โห ตรัสอย่างเด็ดขาดนะ แต่พระเรามันดื้อด้านต่างหาก พระพุทธเจ้ารับสั่งไว้อย่างเด็ดขาด พระวินัยข้อนี้เป็น
กรณีพิเศษเด็ดขาด คือไม่ให้พระมายุ่งกับสิ่งเหล่านี้เลย มันจะขาดเพราะมันเป็นอันตรายต่ออรรถต่อธรรม ท่านจึงตัดขาดไว้เลย
ทรงบัญญัติว่าห้ามไม่ให้ภิกษุมาจับต้องเงินต้องทองอะไร ถ้าจับแล้วปรับอาบัติ ของเป็นนิสสัคคีย์ต้องเสียสละทิ้งไปเลย ไม่ใช่เสีย
สละแล้วเอามาเป็นของตัวเอง เสียสละแล้วทิ้งไปเลย เจ้าของก็เป็นอาบัติ ต้องไปแสดงอาบัติปาจิตตีย์
การเสียสละนั้นท่านรับสั่งในพระวินัย ให้พระสงฆ์ตั้งแต่สี่รูปขึ้นไปมาเป็นคณะสงฆ์ แล้วพระองค์ไปจับเงินจับทองเป็นอาบัติ
นั้นให้มาเสียสละเงินที่จับมาได้มานั้นต่อหน้าสงฆ์สี่องค์ พอเสร็จแล้วก็ให้สมมุติพระอีกองค์หนึ่ง เสียสละเรียบร้อยแล้วมอบให้พระ
อีกองค์หนึ่งนี้เอาไปโยนทิ้งในป่า ห้ามไม่ให้กำหนดที่ตก ฟังซิน่ะ คือถ้ายังกำหนดที่ตกก็เรียกว่ายังหมายที่จะไปเอาอยู่ใช่ไหม
ห้ามไม่ให้กำหนดที่ตก ถ้ายังกำหนดที่ตกไม่พ้นอาบัติ ปรับอาบัติอีก นู่นฟังซิพระวินัยข้อนี้ของเล่นเมื่อไร
แล้วมันเป็นยังไงกับทุกวันนี้ มันหน้าด้านขนาดไหนพระเรา ฟังซิน่ะ เหยียบหัวพระพุทธเจ้าไปต่อหน้าต่อตา พระวินัยนี้คือ
องค์ศาสดา นี่ละข้อนี้ถ้าใครยังไม่เข้าใจให้จำพระวินัยข้อนี้ พระวินัยข้อเกี่ยวกับเรื่องเงินเรื่องทอง ถ้าเป็นปาฏิโมกข์ท่านก็สวดเป็น
ปาฏิโมกข์ ชาตรูปรชตํ อุคฺคณฺเหยฺย วา อุคฺคณฺหาเปยฺย วา อุปนิกฺขิตฺตํ วา สาทิเยยฺย, นิสฺสคฺคิยํ ปาจิตฺติยํ. ใช่ไหม เราไม่ได้ลืมนะ
ปาฏิโมกข์เราสวดมาเสียพอแล้ว (นึกว่าลืมแล้ว) ก็นึกเอาเฉย ๆ นึกบ้า ๆ บอ ๆ คนหนึ่งไม่ลืม คนหนึ่งมานึกเอาเฉย ๆ มันก็นึกบ้า ๆ
บอ ๆ ละซี นี่ละบาลีข้อนี้ สิกขาบท ๑๘ นิสสัคคีย์ เข้าใจไหมล่ะ นั่นจำได้จนกระทั่งสิกขาบท ๑๘ นิสสัคคีย์ ภิกษุใดจับเงินและทอง
หรือให้เขาเก็บไว้เพื่อตนก็ดี อุคฺคณฺเหยฺย วา.เก็บเองก็ดี อุคฺคณฺหาเปยฺย วา ยังคนอื่นให้เก็บก็ดี อุปนิกฺขิตฺตํ วา.หรือยินดีเงินและ
ทองที่เก็บไว้เพื่อตนก็ดี ของนั้นต้องเสียสละ เงินนี้ นิสสัคคีย์ นั่นเสียสละ ปาจิตตีย์เจ้าของต้องไปแสดงอาบัติ
เมื่อเสียสละเงินนี้แล้ว ก็ให้สมมุติพระสงฆ์สี่องค์นี้ละเป็นผู้จะสมมุติ ให้พระอีกองค์หนึ่งเอาเงินที่พระองค์เป็นโทษจับมานี้ให้
ไปปาเข้าป่า ฟังซิน่ะ แล้วห้ามไม่ให้กำหนดที่ตกด้วย ถ้ายังกำหนดที่ตกว่าตกตรงไหน ๆ แล้วไม่พ้นอาบัติ ปรับอาบัติอีก นู่นน่ะท่าน
เด็ดขาดมาก สำหรับเงินทองเหล่านี้เด็ดขาดมากทีเดียว นี่ละข้อนี้จำเอา เอามาจากปาฏิโมกข์เลย สวดภาษาบาลีให้ฟังอีกด้วยใช่
ไหมล่ะ นี่เป็นข้อบัญญัติต้น ทีนี้อนุบัญญัติที่สอง เมณฑกเศรษฐี ที่เป็นพ่อของธนัญชัยเศรษฐี และเป็นปู่ของนางวิสาขา เห็นความ
ลำบากลำบนของพระเจ้าพระสงฆ์ที่มาจากสกุลต่าง ๆ กัน บางสกุลมาจากพระราชามหากษัตริย์ เศรษฐีกุฎุมพี ซึ่งมีความละเอียดอ่อน
ต่างกัน ครั้นเวลามาสมบุกสมบันอย่างพระทั้งหลายแล้วจะเป็นความลำบากต่อท่าน
เมณฑกเศรษฐีจึงไปขอทรงผ่อนผันลง ทรงขอความผ่อนผันจากพระพุทธเจ้า ก็เล่าเรื่องสกุลต่าง ๆ ที่ว่า ทูลพระพุทธเจ้าเรียบ
ร้อยแล้วพระพุทธเจ้าก็ทรงผ่อนผันลง ถ้าอย่างงั้นก็ทรงอนุญาตให้คนอื่นเก็บไว้ได้ แต่เพื่อกัปปิยภัณฑ์ที่เจ้าของต้องการ ถ้ามายินดีใน
เงินและทองไม่พ้นอาบัติอีก นั่นเห็นไหมล่ะ คือทรงอนุญาตเฉพาะปัจจัยที่เขาจะแลกเปลี่ยนกัปปิยภัณฑ์อะไรมานั่นเท่านั้น ให้ยินดีเพียง
เท่านั้น จะยินดีเงินและทองที่เขาเก็บไว้เพื่อตนนี้ไม่พ้นอาบัติอีก นั่นเห็นไหม พระพุทธเจ้าทรงผ่อนผันแล้วยังเหน็บเข้าไปอีก เพราะท่าน
เห็นภัยกับสิ่งเหล่านี้
พระถ้ามายุ่งกับเงินกับทองแล้วจะไม่มีอรรถมีธรรมภายในใจ จะกลายเป็นเศรษฐีเงินไป เรื่องเศรษฐีธรรมจะไม่มีหวังเลย พระองค์
ถึงได้ตรัสลงขนาดนั้น อันนี้ตรัสเด็ดขาดมากทีเดียวกว่าพระวินัยทั้งหลาย ขนาดให้พระถึงสี่องค์มาแสดง มาเสียสละต่อพระตั้งสี่องค์ด้วย
กันเสร็จแล้วก็ให้แสดงอาบัติ แสดงโทษของตัวต่อพระสี่องค์ถึงจะพ้นอาบัติไปได้ แล้วสมมุติพระองค์ใดก็ได้ให้มาเอาเงินนี้ไปปาเข้าป่า
ห้ามกำหนดที่ตก ถ้ายังกำหนดที่ตกว่าที่ใดที่หนึ่งอยู่แล้วไม่พ้นอาบัติ นั่นเห็นไหม เด็ดขนาดนั้นพระวินัยข้อนี้ เพราะอันนี้เป็นภัยมาก
เมื่อมีเงินมีทองข้าวของเรื่องกิเลสตัณหาจะพอกพูนขึ้นไปเรื่อย ๆ ละ ตัวนี้เป็นตัวสำคัญมาก จึงตัดให้ขาด ไม่มีอะไรเลยทีเดียวติด
เนื้อติดตัว ให้เหลือแต่บริขารแปด ปฏิบัติธรรมเพื่ออรรถเพื่อธรรมโดยถ่ายเดียว แล้วก็เพื่อมรรค ผล นิพพาน พระในครั้งพุทธกาล ท่าน
บัญญัติไว้อย่างนั้น ก็บัญญัติมาจนกระทั่งทุกวันนี้ ถึงพระเราสมัยปัจจุบันนี้ นี่เรื่องราวมันเป็นอย่างงั้น พระที่ท่านทรงมรรคทรงผลท่าน
ปฏิบัติตามศาสดานี่นะ องค์ศาสดาติดแนบอยู่กับธรรมกับวินัยที่เป็นองค์แทนของศาสดาตลอดไปเลย ใครที่มีหลักธรรมหลักวินัยติดแนบ
กับตัวก็แสดงว่ามีศาสดาติดกับตัว มรรค ผล นิพพานจะไม่ต้องไปดูที่ไหน
ท่านไม่ชี้ไปที่ไหนเรื่องมรรค ผล นิพพาน ให้ชี้ลงในธรรมในวินัย นี้คือทางก้าวเดินเพื่อมรรค ผล นิพพาน ถ้าไม่ผิดพลาดจากนี้
แล้วมรรค ผล นิพพานจะเจอไม่สงสัย เพราะธรรมนี้ชี้ไว้เพื่อมรรค ผล นิพพาน ไม่เป็นอย่างอื่น เพราะฉะนั้นท่านถึงให้เคารพธรรมเคารพ
วินัย อย่าข้ามเกินฝ่าฝืน ให้ปฏิบัติตามนี้แล้วจะเจอมรรค ผล นิพพาน ตามนี้แหละ ไปดูที่อื่นดูโลก ๆ ไปเฉย ๆ ไม่เกิดประโยชน์ ให้ดูหลัก
ธรรมหลักวินัยที่เป็นเข็มทิศทางเดินเพื่อมรรค ผล นิพพาน อันนี้แม่นยำ
“ดูก่อนอานนท์ ถ้ายังมีผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบตามหลักธรรมหลักวินัยที่แสดงไว้แล้วอยู่ พระอรหันต์ไม่สูญจากโลกนะอานนท์” นั่น
ฟังซิบอกว่าถ้ามีผู้ปฏิบัติตามนี้อยู่พระอรหันต์ไม่สูญจากโลก ไม่ได้บอกว่า ถ้าใครไปคว้าเอานู้นๆ แล้วพระอรหันต์ไม่สูญจากโลกนะ
อานนท์ ไม่เห็นว่า ท่านสอนลงในจุดนี้ จุดนี้เป็นจุดที่ตักตวงเอามรรค ผล นิพพาน ถ้ามองข้ามนี้แล้วก็เหยียบหัวพระพุทธเจ้าไปเลย
ไม่มีศาสดา ไม่มีความหมายละ
-------------------------------------------------------------------------------------------
เทศน์อบรมฆราวาส ณ สวนแสงธรรม
เมื่อวันที่ ๒๒ สิงหาคม พุทธศักราช ๒๕๔๖
นิสสัคคีย์ เรื่องเงินทอง
เราพูดจริง ๆ นะ เรามันจืดชืดกับเรื่องหาเงินหาทองเอาไว้เป็นกองกงกองกลางอะไรสำหรับพระเรา พระพุทธเจ้าไม่ได้
หาเงินหาทองมาเป็นกองกลางอะไร ให้เป็นทุนเป็นรอน หาอรรถหาธรรมให้พระสงฆ์ สอนพระสงฆ์ให้เป็นต้นทุนขึ้นที่นี่ มีเท่านั้น ๆ
เรื่องเงินเรื่องทองนี้ โห ตรัสอย่างเด็ดขาดนะ แต่พระเรามันดื้อด้านต่างหาก พระพุทธเจ้ารับสั่งไว้อย่างเด็ดขาด พระวินัยข้อนี้เป็น
กรณีพิเศษเด็ดขาด คือไม่ให้พระมายุ่งกับสิ่งเหล่านี้เลย มันจะขาดเพราะมันเป็นอันตรายต่ออรรถต่อธรรม ท่านจึงตัดขาดไว้เลย
ทรงบัญญัติว่าห้ามไม่ให้ภิกษุมาจับต้องเงินต้องทองอะไร ถ้าจับแล้วปรับอาบัติ ของเป็นนิสสัคคีย์ต้องเสียสละทิ้งไปเลย ไม่ใช่เสีย
สละแล้วเอามาเป็นของตัวเอง เสียสละแล้วทิ้งไปเลย เจ้าของก็เป็นอาบัติ ต้องไปแสดงอาบัติปาจิตตีย์
การเสียสละนั้นท่านรับสั่งในพระวินัย ให้พระสงฆ์ตั้งแต่สี่รูปขึ้นไปมาเป็นคณะสงฆ์ แล้วพระองค์ไปจับเงินจับทองเป็นอาบัติ
นั้นให้มาเสียสละเงินที่จับมาได้มานั้นต่อหน้าสงฆ์สี่องค์ พอเสร็จแล้วก็ให้สมมุติพระอีกองค์หนึ่ง เสียสละเรียบร้อยแล้วมอบให้พระ
อีกองค์หนึ่งนี้เอาไปโยนทิ้งในป่า ห้ามไม่ให้กำหนดที่ตก ฟังซิน่ะ คือถ้ายังกำหนดที่ตกก็เรียกว่ายังหมายที่จะไปเอาอยู่ใช่ไหม
ห้ามไม่ให้กำหนดที่ตก ถ้ายังกำหนดที่ตกไม่พ้นอาบัติ ปรับอาบัติอีก นู่นฟังซิพระวินัยข้อนี้ของเล่นเมื่อไร
แล้วมันเป็นยังไงกับทุกวันนี้ มันหน้าด้านขนาดไหนพระเรา ฟังซิน่ะ เหยียบหัวพระพุทธเจ้าไปต่อหน้าต่อตา พระวินัยนี้คือ
องค์ศาสดา นี่ละข้อนี้ถ้าใครยังไม่เข้าใจให้จำพระวินัยข้อนี้ พระวินัยข้อเกี่ยวกับเรื่องเงินเรื่องทอง ถ้าเป็นปาฏิโมกข์ท่านก็สวดเป็น
ปาฏิโมกข์ ชาตรูปรชตํ อุคฺคณฺเหยฺย วา อุคฺคณฺหาเปยฺย วา อุปนิกฺขิตฺตํ วา สาทิเยยฺย, นิสฺสคฺคิยํ ปาจิตฺติยํ. ใช่ไหม เราไม่ได้ลืมนะ
ปาฏิโมกข์เราสวดมาเสียพอแล้ว (นึกว่าลืมแล้ว) ก็นึกเอาเฉย ๆ นึกบ้า ๆ บอ ๆ คนหนึ่งไม่ลืม คนหนึ่งมานึกเอาเฉย ๆ มันก็นึกบ้า ๆ
บอ ๆ ละซี นี่ละบาลีข้อนี้ สิกขาบท ๑๘ นิสสัคคีย์ เข้าใจไหมล่ะ นั่นจำได้จนกระทั่งสิกขาบท ๑๘ นิสสัคคีย์ ภิกษุใดจับเงินและทอง
หรือให้เขาเก็บไว้เพื่อตนก็ดี อุคฺคณฺเหยฺย วา.เก็บเองก็ดี อุคฺคณฺหาเปยฺย วา ยังคนอื่นให้เก็บก็ดี อุปนิกฺขิตฺตํ วา.หรือยินดีเงินและ
ทองที่เก็บไว้เพื่อตนก็ดี ของนั้นต้องเสียสละ เงินนี้ นิสสัคคีย์ นั่นเสียสละ ปาจิตตีย์เจ้าของต้องไปแสดงอาบัติ
เมื่อเสียสละเงินนี้แล้ว ก็ให้สมมุติพระสงฆ์สี่องค์นี้ละเป็นผู้จะสมมุติ ให้พระอีกองค์หนึ่งเอาเงินที่พระองค์เป็นโทษจับมานี้ให้
ไปปาเข้าป่า ฟังซิน่ะ แล้วห้ามไม่ให้กำหนดที่ตกด้วย ถ้ายังกำหนดที่ตกว่าตกตรงไหน ๆ แล้วไม่พ้นอาบัติ ปรับอาบัติอีก นู่นน่ะท่าน
เด็ดขาดมาก สำหรับเงินทองเหล่านี้เด็ดขาดมากทีเดียว นี่ละข้อนี้จำเอา เอามาจากปาฏิโมกข์เลย สวดภาษาบาลีให้ฟังอีกด้วยใช่
ไหมล่ะ นี่เป็นข้อบัญญัติต้น ทีนี้อนุบัญญัติที่สอง เมณฑกเศรษฐี ที่เป็นพ่อของธนัญชัยเศรษฐี และเป็นปู่ของนางวิสาขา เห็นความ
ลำบากลำบนของพระเจ้าพระสงฆ์ที่มาจากสกุลต่าง ๆ กัน บางสกุลมาจากพระราชามหากษัตริย์ เศรษฐีกุฎุมพี ซึ่งมีความละเอียดอ่อน
ต่างกัน ครั้นเวลามาสมบุกสมบันอย่างพระทั้งหลายแล้วจะเป็นความลำบากต่อท่าน
เมณฑกเศรษฐีจึงไปขอทรงผ่อนผันลง ทรงขอความผ่อนผันจากพระพุทธเจ้า ก็เล่าเรื่องสกุลต่าง ๆ ที่ว่า ทูลพระพุทธเจ้าเรียบ
ร้อยแล้วพระพุทธเจ้าก็ทรงผ่อนผันลง ถ้าอย่างงั้นก็ทรงอนุญาตให้คนอื่นเก็บไว้ได้ แต่เพื่อกัปปิยภัณฑ์ที่เจ้าของต้องการ ถ้ามายินดีใน
เงินและทองไม่พ้นอาบัติอีก นั่นเห็นไหมล่ะ คือทรงอนุญาตเฉพาะปัจจัยที่เขาจะแลกเปลี่ยนกัปปิยภัณฑ์อะไรมานั่นเท่านั้น ให้ยินดีเพียง
เท่านั้น จะยินดีเงินและทองที่เขาเก็บไว้เพื่อตนนี้ไม่พ้นอาบัติอีก นั่นเห็นไหม พระพุทธเจ้าทรงผ่อนผันแล้วยังเหน็บเข้าไปอีก เพราะท่าน
เห็นภัยกับสิ่งเหล่านี้
พระถ้ามายุ่งกับเงินกับทองแล้วจะไม่มีอรรถมีธรรมภายในใจ จะกลายเป็นเศรษฐีเงินไป เรื่องเศรษฐีธรรมจะไม่มีหวังเลย พระองค์
ถึงได้ตรัสลงขนาดนั้น อันนี้ตรัสเด็ดขาดมากทีเดียวกว่าพระวินัยทั้งหลาย ขนาดให้พระถึงสี่องค์มาแสดง มาเสียสละต่อพระตั้งสี่องค์ด้วย
กันเสร็จแล้วก็ให้แสดงอาบัติ แสดงโทษของตัวต่อพระสี่องค์ถึงจะพ้นอาบัติไปได้ แล้วสมมุติพระองค์ใดก็ได้ให้มาเอาเงินนี้ไปปาเข้าป่า
ห้ามกำหนดที่ตก ถ้ายังกำหนดที่ตกว่าที่ใดที่หนึ่งอยู่แล้วไม่พ้นอาบัติ นั่นเห็นไหม เด็ดขนาดนั้นพระวินัยข้อนี้ เพราะอันนี้เป็นภัยมาก
เมื่อมีเงินมีทองข้าวของเรื่องกิเลสตัณหาจะพอกพูนขึ้นไปเรื่อย ๆ ละ ตัวนี้เป็นตัวสำคัญมาก จึงตัดให้ขาด ไม่มีอะไรเลยทีเดียวติด
เนื้อติดตัว ให้เหลือแต่บริขารแปด ปฏิบัติธรรมเพื่ออรรถเพื่อธรรมโดยถ่ายเดียว แล้วก็เพื่อมรรค ผล นิพพาน พระในครั้งพุทธกาล ท่าน
บัญญัติไว้อย่างนั้น ก็บัญญัติมาจนกระทั่งทุกวันนี้ ถึงพระเราสมัยปัจจุบันนี้ นี่เรื่องราวมันเป็นอย่างงั้น พระที่ท่านทรงมรรคทรงผลท่าน
ปฏิบัติตามศาสดานี่นะ องค์ศาสดาติดแนบอยู่กับธรรมกับวินัยที่เป็นองค์แทนของศาสดาตลอดไปเลย ใครที่มีหลักธรรมหลักวินัยติดแนบ
กับตัวก็แสดงว่ามีศาสดาติดกับตัว มรรค ผล นิพพานจะไม่ต้องไปดูที่ไหน
ท่านไม่ชี้ไปที่ไหนเรื่องมรรค ผล นิพพาน ให้ชี้ลงในธรรมในวินัย นี้คือทางก้าวเดินเพื่อมรรค ผล นิพพาน ถ้าไม่ผิดพลาดจากนี้
แล้วมรรค ผล นิพพานจะเจอไม่สงสัย เพราะธรรมนี้ชี้ไว้เพื่อมรรค ผล นิพพาน ไม่เป็นอย่างอื่น เพราะฉะนั้นท่านถึงให้เคารพธรรมเคารพ
วินัย อย่าข้ามเกินฝ่าฝืน ให้ปฏิบัติตามนี้แล้วจะเจอมรรค ผล นิพพาน ตามนี้แหละ ไปดูที่อื่นดูโลก ๆ ไปเฉย ๆ ไม่เกิดประโยชน์ ให้ดูหลัก
ธรรมหลักวินัยที่เป็นเข็มทิศทางเดินเพื่อมรรค ผล นิพพาน อันนี้แม่นยำ
“ดูก่อนอานนท์ ถ้ายังมีผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบตามหลักธรรมหลักวินัยที่แสดงไว้แล้วอยู่ พระอรหันต์ไม่สูญจากโลกนะอานนท์” นั่น
ฟังซิบอกว่าถ้ามีผู้ปฏิบัติตามนี้อยู่พระอรหันต์ไม่สูญจากโลก ไม่ได้บอกว่า ถ้าใครไปคว้าเอานู้นๆ แล้วพระอรหันต์ไม่สูญจากโลกนะ
อานนท์ ไม่เห็นว่า ท่านสอนลงในจุดนี้ จุดนี้เป็นจุดที่ตักตวงเอามรรค ผล นิพพาน ถ้ามองข้ามนี้แล้วก็เหยียบหัวพระพุทธเจ้าไปเลย
ไม่มีศาสดา ไม่มีความหมายละ
-------------------------------------------------------------------------------------------
เทศน์อบรมฆราวาส ณ สวนแสงธรรม
เมื่อวันที่ ๒๒ สิงหาคม พุทธศักราช ๒๕๔๖