ร่วมกันส่งต่อทางโซเชียลฯ นะครับ
สามารถ download ข้อมูลงานวิจัยทั้งหมด (pdf)ใน
http://www.cubs.chula.ac.th/index.php?option=com_content&view=article&id=50:2012-06-27-03-58-52&catid=6:2012-04-29-05-46-57&Itemid=4
-----
เนื้อหาจากสำนักข่าวแห่งหนึ่ง
http://www.manager.co.th/Home/ViewNews.aspx?NewsID=9580000038620
งานวิจัยจุฬาฯ เรื่อง “พระสงฆ์กับทรัพย์สินส่วนตัว” ระบุชัดเจนในพระวินัยปิฎกภิกษุสงฆ์ไม่สามารถรับ จับ หรือมีเงินทองเป็นของส่วนตัวได้ อีกทั้งการมีทรัพย์สินมาก เกิดจากการฉ้อโกงเงินวัด การฆาตกรรมเรื่องผลประโยชน์ การเรี่ยไรเงินบริจาคที่ไม่เหมาะสม การปลอมบวชเพื่อหวังสร้างรายได้ ที่สำคัญการรับเงินทองส่งผลต่อความมั่นคงของพระพุทธศาสนา แนะการปฏิรูปพุทธศาสนาที่ถูกต้อง ควรยึดหลักพระธรรมวินัย พระไตรปิฎก และกฎหมาย สอดคล้องกับแนวทางการปฏิรูปศาสนาชุดนายไพบูลย์ นิติตะวัน
ข่าวฉาวๆ ของวงการสงฆ์ที่ปรากฏเป็นข่าวในโลกสังคมออนไลน์มีให้เห็นอย่างต่อเนื่อง ทั้งในเรื่องผลประโยชน์วัดและของส่วนตัว การทุจริต ฉ้อโกงทรัพย์สินวัด การซื้อตำแหน่งในวงการสงฆ์ หรือการประพฤติตนไม่เหมาะสม มั่วสีกา เมาสุรา รวมไปถึงการเข้ามาข้องเกี่ยวทางการเมืองด้วยการออกมาเดินขบวน หรือขู่จะมีการเดินขบวนบ้าง ล้วนเป็นสาเหตุสำคัญให้พุทธศาสนามัวหมอง และนำไปสู่การเรียกร้องให้มีการปฏิรูปศาสนาเกิดขึ้น
อย่างไรก็ดี คณะกรรมการปฏิรูปแนวทางและมาตรการปกป้องพิทักษ์กิจการพระพุทธศาสนา ที่มี “นายไพบูลย์ นิติตะวัน " เป็นประธาน ได้เสนอแนวทางและมาตรการปฏิรูป 4 ประเด็นหลักต่อสภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) ประกอบด้วย
1. ให้มีการเสนอร่างพระราชบัญญัติ ว่าด้วยการจัดการทรัพย์สินของวัดและพระภิกษุ
2. เสนอให้แก้กฎหมายมหาเถรสมาคม ฉบับที่ 24 (พ.ศ. 2541) ว่าด้วยการแต่งตั้งถอดถอนพระสังฆาธิการ หรือ พระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ. 2505 ในสาระสำคัญ คือ การกระจายอำนาจในการปกครองคณะสงฆ์ แทนการปกครองแบบรวมศูนย์อำนาจ
3. ต้องมีกลไกนำหลักปฏิบัติตามพุทธบัญญัติที่ทรงไว้ซึ่งความดี ถูกต้อง และบริสุทธิ์ของพระพุทธศาสนามาปฏิบัติ เพื่อไม่ให้มีการบิดเบือนหรือแอบอ้างพระธรรมวินัย
4. ปฏิรูปการศึกษาของคณะสงฆ์ให้ทันเหตุการณ์ โดยราชการต้องให้ความสำคัญด้านการศึกษาของคณะสงฆ์ด้วย โดยเน้นเรื่องกฎหมายเกี่ยวกับการจัดการทรัพย์สินของพระและวัด
สำหรับแนวทางการปฏิรูปชุดนายไพบูลย์นั้นยังได้นำไปสู่เหตุการณ์ที่พระสงฆ์และเครือข่ายชาวพุทธกว่าหมื่นคนประกาศจะออกมาเคลื่อนไหวปกป้องพุทธศาสนาเมื่อวันที่ 31 มีนาคม ที่ผ่านมา แต่สุดท้ายก็ยุติไม่มีการชุมนุมเกิดขึ้นเมื่อรัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ยืนยันว่าจะให้มหาเถรสมาคมเข้ามามีส่วนร่วมในการกำหนดแนวทางในการปฏิรูปพุทธศาสนาด้วย
สิ่งที่น่าสนใจสำหรับแนวทางการปฏิรูปศาสนาซึ่งทีม Special Scoop พบงานวิจัยเรื่อง “พระสงฆ์กับทรัพย์สินส่วนตัว” ของ “ดนัย ปรีชาเพิ่มประสิทธิ์” อาจารย์ภาควิชาปรัชญา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ได้ศึกษาวิจัยไว้อย่างละเอียดสะท้อนถึงการปฏิรูปพุทธศาสนาที่ถูกต้อง ต้องยึดหลักการตามแนวทางพระธรรมวินัย พระไตรปิฎก และกฎหมาย ซึ่งจะเป็นแนวทางในการทำนุบำรุงพุทธศาสนาและจะเป็นประโยชน์ต่อการดำรงชีวิตที่มีคุณภาพตามพระธรรมวินัยของพระภิกษุสงฆ์สืบต่อไป
โดยงานวิจัย “พระสงฆ์กับทรัพย์สินส่วนตัว” เป็นส่วนหนึ่งในโครงการวิจัยพุทธศาสน์ศึกษาของ ศูนย์พุทธศาสน์ศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปี พ.ศ. 2552 ซึ่งเป็นรูปแบบงาน “วิจัยเอกสาร” ที่ได้จากเอกสารต่างๆ ตั้งแต่เอกสารปฐมภูมิเช่นคัมภีร์พระไตรปิฎกและอรรถกถา เอกสารทางประวัติศาสตร์ที่เกี่ยวข้อง เอกสารทุติยภูมิ เช่นงานวิจัยและหนังสือทางวิชาการต่างๆ รวมทั้งเอกสารอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง ซึ่งผู้วิจัยได้วิเคราะห์เรื่องทรัพย์สินส่วนตัวของพระภิกษุสงฆ์ โดยเฉพาะเรื่องเงินและทองว่าขัดกับหลักพระธรรมวินัยด้วยเหตุผลหลายประการ
นับตั้งแต่การตีความหมาย “ทรัพย์ของสงฆ์” ที่มีความหมายหลากหลายในบริบทตามที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงความหมายของทรัพย์ เช่น “ทรัพย์สินทางโลก” ซึ่งเป็นวัตถุกามและทรัพย์สินทางธรรมที่เป็นคุณธรรม โดยสามารถเป็นทั้งคำนามและคำอุปมาได้ โดยทรัพย์สินของพระภิกษุสงฆ์นั้นแบ่งได้เป็นสองอย่างตามพระธรรมวินัยที่พระพุทธองค์ทรงอนุญาตคือ “ทรัพย์สินหลัก” กับ “ทรัพย์สินเสริม” ซึ่งมีข้อจำกัดในการใช้และครอบครองโดยขึ้นอยู่กับประเภทของทรัพย์สินนั้นๆ ว่าจะมีระยะเวลาและจำนวนที่เก็บได้เท่าใด เช่น เก็บได้ 1 วัน 7 วัน เหตุผลก็เพื่อมิให้พระภิกษุสงฆ์ทำการสะสมและยึดถือทรัพย์สินเหล่านั้นว่าเป็นของของตนนั่นเอง
สิ่งที่ชี้ว่าเหตุใดพระสงฆ์จึงไม่สามารถสะสมทรัพย์สินเงินทองได้ เนื่องจากข้อจำกัดทางด้านพระวินัย ซึ่งการสะสมทรัพย์สินเงินทองนั้น ย่อมเป็นการขัดกับวิถีชีวิตของนักบวชที่มุ่งจะประพฤติปฏิบัติเพื่อการหลุดพ้น เพราะ “การบวช” ไม่ว่าจะเป็นสมัยพุทธกาลหรือสมัยปัจจุบันล้วนมีจุดมุ่งหมายเพื่อเป็นการ “ละความสุขทางโลก“ และเพื่อออกบำเพ็ญเพียรจนบรรลุถึงความ “หลุดพ้น” อันเป็นจุดหมายปลายทางของพระพุทธศาสนา พระสงฆ์ในสมัยพุทธกาลมีสมบัติเพียงไตรจีวรกับสิ่งของจำเป็นไม่มากนักตามพระวินัยบัญญัติ
แต่สิ่งที่เห็นกันในปัจจุบันพระสงฆ์มีทรัพย์สินเงินทองเป็นสมบัติส่วนตัวกันมากจนเป็นที่รับรู้กันอยู่ในสังคมไทย ซึ่งที่ผ่านมาไม่มีการศึกษาวิจัยว่าการสะสมทรัพย์สินเงินทองดังกล่าวของพระสงฆ์ในปัจจุบันนั้นขัดกับหลักพระธรรมวินัยหรือไม่ เรื่องดังกล่าวจึงสืบเนื่องกันต่อมาโดยไม่มีเสียงคัดค้านจากวงวิชาการหรือสังคมแต่อย่างใด
การรับเงินทองของสงฆ์ขัดกับพระธรรมวินัย
ขณะที่วิถีชีวิตของพระภิกษุสงฆ์เป็นอยู่ด้วยความเรียบง่ายโดยมีทรัพย์สินติดตัวเท่าที่จำเป็น ปัจจัยทั้งหลายที่จะได้ก็แล้วแต่จะมีผู้บริจาคและเป็นไปเพียงเพื่อการดำรงชีวิตอยู่ตามอัตภาพแก่สมณภาวะเท่านั้น การถือนิสัยที่เรียบง่ายและเป็นไปตามธรรมชาตินี้ย่อมมีไว้เฉพาะพระภิกษุที่เป็นลัชชีเท่านั้น
ดังนั้นการที่พระพุทธองค์ทรงอนุญาตทรัพย์สินต่างๆ ก็เพื่ออนุเคราะห์แก่การประพฤติพรหมจรรย์ของพระภิกษุสงฆ์ให้เป็นไปได้ด้วยดีต่อการประพฤติปฏิบัติธรรม ดังนั้นทรัพย์สินเหล่านี้จึงมีเพิ่มขึ้นตามลำดับ แต่ทั้งนี้ ทรัพย์สินเหล่านั้นย่อมเป็นไปเพื่อการเข้าถึงพระนิพพานนั่นเอง
บุคคลที่จะบวชเป็นบรรพชิตนั้นต้องสละทรัพย์สินทั้งปวง เช่น เงินและทอง เมื่อเป็นพระภิกษุสงฆ์แล้วก็จะต้องละเว้นเช่นเดียวกันและเป็นการไม่สมควรเลยที่บรรพชิตจะกลับมามีเงินทองอีก
ในพระวินัยปิฎก พระพุทธเจ้าทรงบัญญัติสิกขาบทไว้อย่างชัดเจนไม่ให้ภิกษุรับ ใช้ให้คนอื่นรับ หรือแม้กระทั่งยินดีในเงินทองที่เขาเก็บไว้ให้ตน นอกจากนี้ยังรวมถึงอะไรก็ตามที่มีค่าในการแลกเปลี่ยนซื้อขายได้ เช่น ธนบัตร เหรียญ เช็ค บัตรกดเงินสด บัตรเอทีเอ็ม บัตรเดบิต บัตรเครดิต ฯลฯ การรับเงินทองจึงเป็นการผิดพระวินัยและเป็นอาบัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์แก่ภิกษุที่รับไม่ว่าจะโดยเหตุผลใดๆ เช่น การรับเพื่อตัวหรือเพื่อสงฆ์ก็ตาม
นอกจากนี้ การต้องอาบัตินั้นย่อมเป็นไปตามจำนวนของเงินทองนั้นอีกด้วย การที่พระภิกษุสงฆ์เข้าไปยุ่งเกี่ยวกับเงินทอง เช่น การรับ การแลกเปลี่ยน และการซื้อขายก็ย่อมเป็นอาบัติ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับว่าการเข้าไปยุ่งเกี่ยวนั้นมีระดับความสำคัญมากน้อยเท่าใด ความผิดที่เป็นอาบัตินั้นก็จะมากยิ่งขึ้นตามเท่านั้น ในคัมภีร์อรรถกถาได้อธิบายว่าเพราะเงินและทองเป็นสิ่งที่เรียกว่า “อนามาส” คือวัตถุอันภิกษุไม่ควรจับต้อง การที่พระภิกษุสงฆ์ยุ่งเกี่ยวกับเงินทองที่มีค่ามากกว่า 5 มาสก ยังอาจทำให้ต้องอาบัติถึงขั้นปาราชิกได้อีกด้วย
หากพระภิกษุสงฆ์รับเงินทองมาแล้วก็ต้องสละเงินทองนั้นในที่ประชุมสงฆ์ โดยให้ฆราวาสช่วยเปลี่ยนเป็นปัจจัย 4 โดยห้ามบอกว่าต้องการอะไรเป็นการเฉพาะ ส่วนภิกษุที่เป็นผู้รับเงินทองนั้นไม่มีสิทธิ์รับปัจจัย 4 ที่เกิดจากเงินทองนั้น หากไม่มีฆราวาสช่วยจัดการเงินทองดังกล่าว สงฆ์ต้องสมมติพระรูปหนึ่งเพื่อทิ้งเงินทองนั้น คัมภีร์อรรถกถาอุปมาเงินทองว่าเป็นสิ่งที่น่ารังเกียจดุจคูถและการบริโภคปัจจัย 4 ที่เกิดจากเงินทองนี้ว่าน่ารังเกียจเทียบเท่าการอวดอุตริมนุสธรรมและกุลทูสกกรรมคือการประทุษร้ายตระกูล
แนวคิดดังกล่าวย่อมแสดงชัดเจนว่าการรับเงินทองของพระภิกษุสงฆ์เป็นเรื่องขัดกับพระธรรมวินัยเพียงใด ดังนั้นจึงสรุปได้ว่าพระภิกษุสงฆ์จะรับเงินทองได้นั้นมีเพียงการให้กัปปิยการกหรือผู้ที่มีจิตศรัทธาเป็นผู้ถือเงินทองให้แล้วเปลี่ยนเป็นปัจจัย 4 ที่เหมาะสมกับความต้องการของพระภิกษุสงฆ์จึงจะไม่อาบัติ
พระภิกษุสงฆ์ห้ามยุ่งเกี่ยวแม้กระทั่งสั่งว่าให้เงินทองนั้นไปวางไว้ที่ใด ในพระสุตตันตปิฎก พระพุทธเจ้าทรงแสดงว่าเงินและทองเป็นปัจจัยต่อการผิดคุณธรรมอื่นๆ เช่น การพูดปด พระภิกษุสงฆ์จึงไม่พึงยินดี แสวงหาเงินทองโดยปริยายอะไรเลย เงินทองเป็นเรื่องของกามคุณที่เกี่ยวกับความเศร้าหมองของสมณะเพราะถูกกิเลสครอบงำเป็นทาสของตัณหา และหากยึดติดกับเงินทองก็ย่อมไม่เข้าใจในคุณธรรมชั้นสูงด้วย เงินทองไม่สามารถทำให้พ้นจากความแก่และความตายได้ เพราะความแก่ความตายเป็นของไม่เที่ยง เงินและทองก็เป็นเพียงปฐวีธาตุหามีสาระอันใดไม่
ที่สำคัญ การรับเงินทองของพระภิกษุสงฆ์ยังเป็นชนวนเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดการสังคายนาพระไตรปิฎกครั้งที่สอง การรับเงินทองของพระภิกษุสงฆ์จึงมีผลต่อความมั่นคงของพระพุทธศาสนาอีกด้วย
ส่วนข้อมูลเกี่ยวกับทรัพย์สินของพระภิกษุสงฆ์ในปัจจุบันนี้ เช่น เรื่องรายรับ รายจ่าย การบริหารจัดการ รวมถึงทรรศนะต่างๆ ผู้วิจัยได้นำเสนอจากข้อมูลเอกสารและจากการสัมภาษณ์ซึ่งพบว่ารายได้และรายจ่ายของพระภิกษุสงฆ์นั้นขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายประการ เช่น สภาพพื้นที่ กิจกรรมต่างๆ ศรัทธาของฆราวาส ซึ่งการบริหารจัดการนั้นก็มีหลายรูปแบบทั้งที่ถูกต้องและไม่ถูกต้องตามพระธรรมวินัยและกฎหมายของสงฆ์
### วิจัยจุฬาฯ.! ชี้สงฆ์รับเงินทองผิดพระธรรมวินัย กระทบมั่นคงเร่งปฏิรูปศาสนา ###
สามารถ download ข้อมูลงานวิจัยทั้งหมด (pdf)ใน
http://www.cubs.chula.ac.th/index.php?option=com_content&view=article&id=50:2012-06-27-03-58-52&catid=6:2012-04-29-05-46-57&Itemid=4
-----
เนื้อหาจากสำนักข่าวแห่งหนึ่ง
http://www.manager.co.th/Home/ViewNews.aspx?NewsID=9580000038620
งานวิจัยจุฬาฯ เรื่อง “พระสงฆ์กับทรัพย์สินส่วนตัว” ระบุชัดเจนในพระวินัยปิฎกภิกษุสงฆ์ไม่สามารถรับ จับ หรือมีเงินทองเป็นของส่วนตัวได้ อีกทั้งการมีทรัพย์สินมาก เกิดจากการฉ้อโกงเงินวัด การฆาตกรรมเรื่องผลประโยชน์ การเรี่ยไรเงินบริจาคที่ไม่เหมาะสม การปลอมบวชเพื่อหวังสร้างรายได้ ที่สำคัญการรับเงินทองส่งผลต่อความมั่นคงของพระพุทธศาสนา แนะการปฏิรูปพุทธศาสนาที่ถูกต้อง ควรยึดหลักพระธรรมวินัย พระไตรปิฎก และกฎหมาย สอดคล้องกับแนวทางการปฏิรูปศาสนาชุดนายไพบูลย์ นิติตะวัน
ข่าวฉาวๆ ของวงการสงฆ์ที่ปรากฏเป็นข่าวในโลกสังคมออนไลน์มีให้เห็นอย่างต่อเนื่อง ทั้งในเรื่องผลประโยชน์วัดและของส่วนตัว การทุจริต ฉ้อโกงทรัพย์สินวัด การซื้อตำแหน่งในวงการสงฆ์ หรือการประพฤติตนไม่เหมาะสม มั่วสีกา เมาสุรา รวมไปถึงการเข้ามาข้องเกี่ยวทางการเมืองด้วยการออกมาเดินขบวน หรือขู่จะมีการเดินขบวนบ้าง ล้วนเป็นสาเหตุสำคัญให้พุทธศาสนามัวหมอง และนำไปสู่การเรียกร้องให้มีการปฏิรูปศาสนาเกิดขึ้น
อย่างไรก็ดี คณะกรรมการปฏิรูปแนวทางและมาตรการปกป้องพิทักษ์กิจการพระพุทธศาสนา ที่มี “นายไพบูลย์ นิติตะวัน " เป็นประธาน ได้เสนอแนวทางและมาตรการปฏิรูป 4 ประเด็นหลักต่อสภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) ประกอบด้วย
1. ให้มีการเสนอร่างพระราชบัญญัติ ว่าด้วยการจัดการทรัพย์สินของวัดและพระภิกษุ
2. เสนอให้แก้กฎหมายมหาเถรสมาคม ฉบับที่ 24 (พ.ศ. 2541) ว่าด้วยการแต่งตั้งถอดถอนพระสังฆาธิการ หรือ พระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ. 2505 ในสาระสำคัญ คือ การกระจายอำนาจในการปกครองคณะสงฆ์ แทนการปกครองแบบรวมศูนย์อำนาจ
3. ต้องมีกลไกนำหลักปฏิบัติตามพุทธบัญญัติที่ทรงไว้ซึ่งความดี ถูกต้อง และบริสุทธิ์ของพระพุทธศาสนามาปฏิบัติ เพื่อไม่ให้มีการบิดเบือนหรือแอบอ้างพระธรรมวินัย
4. ปฏิรูปการศึกษาของคณะสงฆ์ให้ทันเหตุการณ์ โดยราชการต้องให้ความสำคัญด้านการศึกษาของคณะสงฆ์ด้วย โดยเน้นเรื่องกฎหมายเกี่ยวกับการจัดการทรัพย์สินของพระและวัด
สำหรับแนวทางการปฏิรูปชุดนายไพบูลย์นั้นยังได้นำไปสู่เหตุการณ์ที่พระสงฆ์และเครือข่ายชาวพุทธกว่าหมื่นคนประกาศจะออกมาเคลื่อนไหวปกป้องพุทธศาสนาเมื่อวันที่ 31 มีนาคม ที่ผ่านมา แต่สุดท้ายก็ยุติไม่มีการชุมนุมเกิดขึ้นเมื่อรัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ยืนยันว่าจะให้มหาเถรสมาคมเข้ามามีส่วนร่วมในการกำหนดแนวทางในการปฏิรูปพุทธศาสนาด้วย
สิ่งที่น่าสนใจสำหรับแนวทางการปฏิรูปศาสนาซึ่งทีม Special Scoop พบงานวิจัยเรื่อง “พระสงฆ์กับทรัพย์สินส่วนตัว” ของ “ดนัย ปรีชาเพิ่มประสิทธิ์” อาจารย์ภาควิชาปรัชญา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ได้ศึกษาวิจัยไว้อย่างละเอียดสะท้อนถึงการปฏิรูปพุทธศาสนาที่ถูกต้อง ต้องยึดหลักการตามแนวทางพระธรรมวินัย พระไตรปิฎก และกฎหมาย ซึ่งจะเป็นแนวทางในการทำนุบำรุงพุทธศาสนาและจะเป็นประโยชน์ต่อการดำรงชีวิตที่มีคุณภาพตามพระธรรมวินัยของพระภิกษุสงฆ์สืบต่อไป
โดยงานวิจัย “พระสงฆ์กับทรัพย์สินส่วนตัว” เป็นส่วนหนึ่งในโครงการวิจัยพุทธศาสน์ศึกษาของ ศูนย์พุทธศาสน์ศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปี พ.ศ. 2552 ซึ่งเป็นรูปแบบงาน “วิจัยเอกสาร” ที่ได้จากเอกสารต่างๆ ตั้งแต่เอกสารปฐมภูมิเช่นคัมภีร์พระไตรปิฎกและอรรถกถา เอกสารทางประวัติศาสตร์ที่เกี่ยวข้อง เอกสารทุติยภูมิ เช่นงานวิจัยและหนังสือทางวิชาการต่างๆ รวมทั้งเอกสารอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง ซึ่งผู้วิจัยได้วิเคราะห์เรื่องทรัพย์สินส่วนตัวของพระภิกษุสงฆ์ โดยเฉพาะเรื่องเงินและทองว่าขัดกับหลักพระธรรมวินัยด้วยเหตุผลหลายประการ
นับตั้งแต่การตีความหมาย “ทรัพย์ของสงฆ์” ที่มีความหมายหลากหลายในบริบทตามที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงความหมายของทรัพย์ เช่น “ทรัพย์สินทางโลก” ซึ่งเป็นวัตถุกามและทรัพย์สินทางธรรมที่เป็นคุณธรรม โดยสามารถเป็นทั้งคำนามและคำอุปมาได้ โดยทรัพย์สินของพระภิกษุสงฆ์นั้นแบ่งได้เป็นสองอย่างตามพระธรรมวินัยที่พระพุทธองค์ทรงอนุญาตคือ “ทรัพย์สินหลัก” กับ “ทรัพย์สินเสริม” ซึ่งมีข้อจำกัดในการใช้และครอบครองโดยขึ้นอยู่กับประเภทของทรัพย์สินนั้นๆ ว่าจะมีระยะเวลาและจำนวนที่เก็บได้เท่าใด เช่น เก็บได้ 1 วัน 7 วัน เหตุผลก็เพื่อมิให้พระภิกษุสงฆ์ทำการสะสมและยึดถือทรัพย์สินเหล่านั้นว่าเป็นของของตนนั่นเอง
สิ่งที่ชี้ว่าเหตุใดพระสงฆ์จึงไม่สามารถสะสมทรัพย์สินเงินทองได้ เนื่องจากข้อจำกัดทางด้านพระวินัย ซึ่งการสะสมทรัพย์สินเงินทองนั้น ย่อมเป็นการขัดกับวิถีชีวิตของนักบวชที่มุ่งจะประพฤติปฏิบัติเพื่อการหลุดพ้น เพราะ “การบวช” ไม่ว่าจะเป็นสมัยพุทธกาลหรือสมัยปัจจุบันล้วนมีจุดมุ่งหมายเพื่อเป็นการ “ละความสุขทางโลก“ และเพื่อออกบำเพ็ญเพียรจนบรรลุถึงความ “หลุดพ้น” อันเป็นจุดหมายปลายทางของพระพุทธศาสนา พระสงฆ์ในสมัยพุทธกาลมีสมบัติเพียงไตรจีวรกับสิ่งของจำเป็นไม่มากนักตามพระวินัยบัญญัติ
แต่สิ่งที่เห็นกันในปัจจุบันพระสงฆ์มีทรัพย์สินเงินทองเป็นสมบัติส่วนตัวกันมากจนเป็นที่รับรู้กันอยู่ในสังคมไทย ซึ่งที่ผ่านมาไม่มีการศึกษาวิจัยว่าการสะสมทรัพย์สินเงินทองดังกล่าวของพระสงฆ์ในปัจจุบันนั้นขัดกับหลักพระธรรมวินัยหรือไม่ เรื่องดังกล่าวจึงสืบเนื่องกันต่อมาโดยไม่มีเสียงคัดค้านจากวงวิชาการหรือสังคมแต่อย่างใด
การรับเงินทองของสงฆ์ขัดกับพระธรรมวินัย
ขณะที่วิถีชีวิตของพระภิกษุสงฆ์เป็นอยู่ด้วยความเรียบง่ายโดยมีทรัพย์สินติดตัวเท่าที่จำเป็น ปัจจัยทั้งหลายที่จะได้ก็แล้วแต่จะมีผู้บริจาคและเป็นไปเพียงเพื่อการดำรงชีวิตอยู่ตามอัตภาพแก่สมณภาวะเท่านั้น การถือนิสัยที่เรียบง่ายและเป็นไปตามธรรมชาตินี้ย่อมมีไว้เฉพาะพระภิกษุที่เป็นลัชชีเท่านั้น
ดังนั้นการที่พระพุทธองค์ทรงอนุญาตทรัพย์สินต่างๆ ก็เพื่ออนุเคราะห์แก่การประพฤติพรหมจรรย์ของพระภิกษุสงฆ์ให้เป็นไปได้ด้วยดีต่อการประพฤติปฏิบัติธรรม ดังนั้นทรัพย์สินเหล่านี้จึงมีเพิ่มขึ้นตามลำดับ แต่ทั้งนี้ ทรัพย์สินเหล่านั้นย่อมเป็นไปเพื่อการเข้าถึงพระนิพพานนั่นเอง
บุคคลที่จะบวชเป็นบรรพชิตนั้นต้องสละทรัพย์สินทั้งปวง เช่น เงินและทอง เมื่อเป็นพระภิกษุสงฆ์แล้วก็จะต้องละเว้นเช่นเดียวกันและเป็นการไม่สมควรเลยที่บรรพชิตจะกลับมามีเงินทองอีก
ในพระวินัยปิฎก พระพุทธเจ้าทรงบัญญัติสิกขาบทไว้อย่างชัดเจนไม่ให้ภิกษุรับ ใช้ให้คนอื่นรับ หรือแม้กระทั่งยินดีในเงินทองที่เขาเก็บไว้ให้ตน นอกจากนี้ยังรวมถึงอะไรก็ตามที่มีค่าในการแลกเปลี่ยนซื้อขายได้ เช่น ธนบัตร เหรียญ เช็ค บัตรกดเงินสด บัตรเอทีเอ็ม บัตรเดบิต บัตรเครดิต ฯลฯ การรับเงินทองจึงเป็นการผิดพระวินัยและเป็นอาบัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์แก่ภิกษุที่รับไม่ว่าจะโดยเหตุผลใดๆ เช่น การรับเพื่อตัวหรือเพื่อสงฆ์ก็ตาม
นอกจากนี้ การต้องอาบัตินั้นย่อมเป็นไปตามจำนวนของเงินทองนั้นอีกด้วย การที่พระภิกษุสงฆ์เข้าไปยุ่งเกี่ยวกับเงินทอง เช่น การรับ การแลกเปลี่ยน และการซื้อขายก็ย่อมเป็นอาบัติ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับว่าการเข้าไปยุ่งเกี่ยวนั้นมีระดับความสำคัญมากน้อยเท่าใด ความผิดที่เป็นอาบัตินั้นก็จะมากยิ่งขึ้นตามเท่านั้น ในคัมภีร์อรรถกถาได้อธิบายว่าเพราะเงินและทองเป็นสิ่งที่เรียกว่า “อนามาส” คือวัตถุอันภิกษุไม่ควรจับต้อง การที่พระภิกษุสงฆ์ยุ่งเกี่ยวกับเงินทองที่มีค่ามากกว่า 5 มาสก ยังอาจทำให้ต้องอาบัติถึงขั้นปาราชิกได้อีกด้วย
หากพระภิกษุสงฆ์รับเงินทองมาแล้วก็ต้องสละเงินทองนั้นในที่ประชุมสงฆ์ โดยให้ฆราวาสช่วยเปลี่ยนเป็นปัจจัย 4 โดยห้ามบอกว่าต้องการอะไรเป็นการเฉพาะ ส่วนภิกษุที่เป็นผู้รับเงินทองนั้นไม่มีสิทธิ์รับปัจจัย 4 ที่เกิดจากเงินทองนั้น หากไม่มีฆราวาสช่วยจัดการเงินทองดังกล่าว สงฆ์ต้องสมมติพระรูปหนึ่งเพื่อทิ้งเงินทองนั้น คัมภีร์อรรถกถาอุปมาเงินทองว่าเป็นสิ่งที่น่ารังเกียจดุจคูถและการบริโภคปัจจัย 4 ที่เกิดจากเงินทองนี้ว่าน่ารังเกียจเทียบเท่าการอวดอุตริมนุสธรรมและกุลทูสกกรรมคือการประทุษร้ายตระกูล
แนวคิดดังกล่าวย่อมแสดงชัดเจนว่าการรับเงินทองของพระภิกษุสงฆ์เป็นเรื่องขัดกับพระธรรมวินัยเพียงใด ดังนั้นจึงสรุปได้ว่าพระภิกษุสงฆ์จะรับเงินทองได้นั้นมีเพียงการให้กัปปิยการกหรือผู้ที่มีจิตศรัทธาเป็นผู้ถือเงินทองให้แล้วเปลี่ยนเป็นปัจจัย 4 ที่เหมาะสมกับความต้องการของพระภิกษุสงฆ์จึงจะไม่อาบัติ
พระภิกษุสงฆ์ห้ามยุ่งเกี่ยวแม้กระทั่งสั่งว่าให้เงินทองนั้นไปวางไว้ที่ใด ในพระสุตตันตปิฎก พระพุทธเจ้าทรงแสดงว่าเงินและทองเป็นปัจจัยต่อการผิดคุณธรรมอื่นๆ เช่น การพูดปด พระภิกษุสงฆ์จึงไม่พึงยินดี แสวงหาเงินทองโดยปริยายอะไรเลย เงินทองเป็นเรื่องของกามคุณที่เกี่ยวกับความเศร้าหมองของสมณะเพราะถูกกิเลสครอบงำเป็นทาสของตัณหา และหากยึดติดกับเงินทองก็ย่อมไม่เข้าใจในคุณธรรมชั้นสูงด้วย เงินทองไม่สามารถทำให้พ้นจากความแก่และความตายได้ เพราะความแก่ความตายเป็นของไม่เที่ยง เงินและทองก็เป็นเพียงปฐวีธาตุหามีสาระอันใดไม่
ที่สำคัญ การรับเงินทองของพระภิกษุสงฆ์ยังเป็นชนวนเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดการสังคายนาพระไตรปิฎกครั้งที่สอง การรับเงินทองของพระภิกษุสงฆ์จึงมีผลต่อความมั่นคงของพระพุทธศาสนาอีกด้วย
ส่วนข้อมูลเกี่ยวกับทรัพย์สินของพระภิกษุสงฆ์ในปัจจุบันนี้ เช่น เรื่องรายรับ รายจ่าย การบริหารจัดการ รวมถึงทรรศนะต่างๆ ผู้วิจัยได้นำเสนอจากข้อมูลเอกสารและจากการสัมภาษณ์ซึ่งพบว่ารายได้และรายจ่ายของพระภิกษุสงฆ์นั้นขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายประการ เช่น สภาพพื้นที่ กิจกรรมต่างๆ ศรัทธาของฆราวาส ซึ่งการบริหารจัดการนั้นก็มีหลายรูปแบบทั้งที่ถูกต้องและไม่ถูกต้องตามพระธรรมวินัยและกฎหมายของสงฆ์