ฟิสิกส์อลวน อีเทอร์ คลื่นความโน้มถ่วง และอัจฉริยะผู้เดินผิดทาง

สวัสดีครับมิตรรักแฟนเพลงทุกท่าน
หากจำกันได้ คงคุ้นเคยกับผมจากกระทู้คู่มือดู Interstellar
ไม่นึกไม่ฝันว่าคลื่นความโน้มถ่วงที่ผมทึกทักว่ามันเป็น "คลื่นตามขวาง" จะถูกพิสูจน์ไปแล้วบางส่วน

เลิกไร้สาระ(ดีกว่า)เพราะไม่ได้อยากมาอธิบายยาวเหยียด ฮ่าๆ

วันนี้ผมตั้งใจตั้งกระทู้เพื่อแชร์ "เบื้องหลัง" ของความสำเร็จครั้งนี้
ที่ผมคิดว่ามันสำคัญมากๆต่อ "คนรุ่นหลัง"
คนที่กำลังชื่นชมแสงสว่างของหลอดไฟ โดยไม่เคยรู้เลยว่าก่อนที่มันจะส่องสว่างได้จนขนาดนี้ มีใครต้องเจ็บตัวมาบ้าง

"เราสร้างชาติบนซากอารายธรรม เดินย่ำบนซากบรรพบุรุษ และเฉลิมฉลองให้กับคราบน้ำตาของผู้ที่พ่ายแพ้"
เราลองมาทำตัวเป็นนักปราชญ์ เฉลิมฉลองด้วยเหล้าขาวสองแก้ว แก้วหนึ่งเพื่อผู้ก้าวไปถึงดินแดนใหม่ อีกก้าวเพื่อผู้สร้างสะพานไปสู่มัน
เพี้ยนต้มน้ำรอ

เราจะไม่พูดถึงตัวต่อมหัศจรรย์ที่เด็กๆทั่วโลกหลงไหล
เราจะไม่พูดถึงนักดนตรีที่ชอบหาเวลาว่างมาเขียนหนังสือฟิสิกส์
แต่เราจะพูดถึง ไมเคิล แจคสัน
เม่าในกองไฟ

ม่ายยยยยย เขาต่างหาก Albert Abraham Michelson


Aether, Ether, อีเทอร์ ร้อยปีแห่งความว่างเปล่า
ในช่วงคริตศรรตวรรษที่ 1800 มีเรื่องราวน่าตื่นเต้นเกิดขึ้นในวงการฟิสิกส์ดาราศาสตร์
สมมุติฐานข้อหนึ่งได้ถูกเก็งข้อสอบจนนักฟิสิกส์ดาราศาสตร์ทั่วโลกทนไม่ไหว

สมมุติฐานที่ถูกตั้งขึ้นเพื่ออธิบายว่า แสงเดินทางไปในอวกาศได้อย่างไร มันต้องมี"ตัวกลาง"
งั้นเราจะเรียกมันว่า "อีเทอร์"

ป้างงงงง
พลุพลุพลุ

ถนนทุกสายมุ่งสู่กรุงโรงได้ฉันใด
นักฟิสิกส์ทุกเพศทุกวัยในยุคนั้นต่างมุ่งหน้าไปสู่การพิสูจน์ให้ได้ว่า "อีเทอร์" มีจริง

หนึ่งในนั้นคือชายหนวดสวยที่ชื่อ เอ.เอ.ไมเคลสัน ผู้ที่สามารถเซ็ตอปกรณ์วัดความเร็วแสงได้ด้วยวัยเพียง 25 ปี
และด้วยความเทพทางด้าน Optical Instrument ไมเคลสันคิดค้นอุปกรณ์ขึ้นมาชุดหนึ่ง
ชื่อว่า Interferometer

อนิจจา นักฟิสิกส์อุปกรณ์ที่เก่งที่สุดคนนึงของยุค กำลังใช้ขุมกำลังอินเทลโปรเซสเซอร์ทั้งหมดควานหา "สิ่งที่ไม่มีจริง"

Michelson Interferometer
อุปกรณ์ที่ต่อมาได้พัฒนาต่อยอดจนกลายเป็น LIGO



กาลครั้งหนึ่งเราเคยคิดว่า ท่ามกลางความว่างเปล่าในอวกาศนั้น มีสสารอยู่ชนิดหนึ่งที่เรียกว่า "อีเทอร์"
สสารที่คอยเชื่อต่อทุกสิ่งทุกอย่างไว้ด้วยกัน และเป็นตัวกลางให้แสงและสสารต่างๆในจักรวาลเดินทางผ่าน


และถ้ามันมีจริง การโคจรและการหมุนรอบตัวเองของโลกจะทำให้ความเร็วแสงในแนวระนาบตั้งฉากไม่เท่ากัน
นั่นคือสิ่งที่ไมเคลสันพยายามพิสูนจ์ด้วยอุปกรณ์อันล้ำสมัยของเขามาตลอด 40 ปี
มาดูสารคดีสั้นๆของปฏิบัติการล่าท้าผีกัน
คลิกเพื่อดูคลิปวิดีโอ
เขาได้รับรางวัลโนเบลในปี 1907 จากคุโณปการนานับประการที่ต่อยอดจากอุปกรณ์วัดเชิงแสงความแม่นยำสูงของเค้า
http://www.nobelprize.org/nobel_prizes/physics/laureates/1907/michelson-facts.html

อนิจจา ต่อให้มันถูกพัฒนาจนแม่นยำขนาดไหน มันก็ไม่อาจคนหาสิ่งที่ไม่มีจริงได้
อมยิ้ม08

สมัยที่เรียนฟิสิกส์ ป.ตรี มีแล็ปฟิสิกส์แล็ปหนึ่งที่ผมชอบถามอาจารย์เสมอว่าทำไมไม่เอามันออกจากหลักสูตร
แล็ปนั้นชื่อ Michelson Interferometer

วันนี้ผมรู้แล้วว่าทำไมนักวิทยาศาสตร์จึงไม่เคยเลยที่จะลบเรื่องราวอันน่าขันออกไปจากประวัติศาสตร์ของตัวเอง
เพราะยอดเขาสูงได้ด้วยฐานที่กว้างใหญ่ฉันใด ความสำเร็จที่ยิ่งใหญ่ก็มาจากความล้มเหลวมากมายเหมือนๆกัน

อุปกรณ์ชิ้นหนึ่งที่ถูกสร้างมาด้วยความเข้าใจผิด ได้พิสูจน์ให้เห็นแล้วว่า ผู้ที่คิดค้นมันขึ้นมานั้น ของจริง

ขอเคารพท่านด้วยเกียรติของนักฟิสิกส์ นักดาราศาสตร์ นักมาตรวิทยา และนักประดิษฐ์
ขอเทเหล้าขาวแก้วที่สองให้แก่คุณ
อมยิ้ม36
Albert Abraham Michelson
สุดท้ายเขาก็ยังเชื่อในสิ่งที่เขาตามหา ไอน์สไตก็เช่นกัน


อ้างอิงและรายละเอียดเพิ่มเติม
https://en.wikipedia.org/wiki/Michelson%E2%80%93Morley_experiment
http://hyperphysics.phy-astr.gsu.edu/hbase/relativ/mmhist.html

*ปล.ความคิดเห็นส่วนบุคคล
โดยส่วนตัวผมเชื่อว่าอีกไม่นานคำว่า อีเทอร์ จะกลับมา
ในฐานะของตัวกลางมูลฐานแห่ง กาล-อวกาศ เหมือนเดิม แต่อาจจะเปลี่ยนแปลงรายละเอียดและคุณสมบัติ
ผมอยากให้เขากลับมาใช้ชื่อนั้น เพราะมันมีประวัติศาสตร์หลายๆอย่างอยู่ในตัวเอง

คลื่นลูกใหม่แห่งฟิสิกส์ดาราศาสตร์และฟิสิกส์อนุภาค เปิดฉากแล้วครับ
แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่