NASA และ ESA จับมือกัน เตรียมส่งยานขึ้นสู่อวกาศเพื่อตรวจจับคลื่นความโน้มถ่วง

NASA และ ESA ร่วมมือกันจัดทำโครงการส่งยานขึ้นสู่อวกาศเพื่อตรวจจับคลื่นความโน้มถ่วง ในชื่อโครงการ "Laser Interferometer Space Antenna" หรือเรียกสั้นๆว่า "LISA"

โดยจะเป็นการส่งยานสามลำขึ้นสู้อวกาศ แต่ละลำห่างกัน 2.5 ล้านกิโลเมตร โดยใช้วิธีการยิง Laser จากยานลำหนึ่งไปกระทบยานอีกลำหนึ่ง จนเป็นรูปสามเหลี่ยมดังภาพ



หลักการคือ เมื่อมีคลื่นความโน้มถ่วงมากระทบตัวยาน จะทำให้ Space Time บริเวณนั้นเกิดการสั่นสะเทือน ซึ่งจะทำให้ระยะทางระหว่างยานทั้งสามเกิดการยืดหดเล็กน้อย ทำให้ระยะทางที่ลำแสง Laser จากยานลำหนึ่งที่ส่องไปกระทบกับยานอีกลำหนึ่งเกิดการยืดหดขึ้น เนื่องจากแสง Laser เคลื่อนที่ด้วยความเร็วคงทีเท่ากับความเร็วแสง ยานจึงสามารถตรวจจับการยืดหดนี้ได้

ซึ่งจะนำไปสู่การไขปริศนาหลุมดำ สสารมืด และปริศนาการเกิดจักรวาล และทฤษฎีบิกแบง

โดยตามกำหนดจะส่งยานขึ้นสู่อวกาศในปี ค.ศ. 2036

ตามทฤษฎีแล้วเมื่อวัตถุขนาดใหญ่เช่นดาวฤกษ์ หลุมดำ  เกิดการระเบิดหรือการชนกันเกิดขึ้น จะทำให้ กาลอวกาศ (Space Time )เกิดการสั่นสะเทือนที่เรียกว่าคลื่นความโน้มถ่วง ดังนั้นคลื่นความโน้มถ่วงจะเป็นตัวบอกเราว่าเกิดอะไรขึ้นกับหลุมดำหรือดาวฤกษ์ดวงนั้นๆ






คลิกเพื่อดูคลิปวิดีโอ

ข้อมูลจาก NASA : https://lisa.nasa.gov/?fbclid=IwZXh0bgNhZW0CMTEAAR3MlwDxJSbvnWJDxI5_7g5nok4V8qAdQ87mAMYEe2ogQTNkW-o05hFV5eM_aem_fBpFH6rI9QG22178atnH_A
แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่