6/5/2562
NASA/SWIFT/DANA BERRY / ภาพจำลองการชนกันของคู่ดาวนิวตรอน ซึ่งจะทำให้มีคลื่นความโน้มถ่วงแผ่ไปในจักรวาล
ทีมนักวิทยาศาสตร์ประจำอุปกรณ์สังเกตการณ์คลื่นความโน้มถ่วงไลโก (LIGO) ในสหรัฐฯ และเวอร์โก (VIRGO) ในอิตาลี แถลงว่าพบสัญญาณคลื่นความโน้มถ่วง (gravitational wave) ระลอกล่าสุด เมื่อวันที่ 24 เม.ย.ที่ผ่านมา ซึ่งสัญญาณดังกล่าวอาจชี้ได้ว่ามีเหตุการณ์หลุมดำดูดกลืนดาวนิวตรอนเกิดขึ้นในห้วงอวกาศลึก
การตรวจพบเหตุการณ์ลักษณะนี้ ถือว่าเป็นครั้งแรกที่นักฟิสิกส์ดาราศาสตร์จะสามารถยืนยันได้ว่า หลุมดำกับดาวนิวตรอนที่มีมวลมหาศาลและมีความหนาแน่นสูง สามารถอยู่ร่วมกันในระบบดาวคู่และรวมตัวกันได้
นักฟิสิกส์ดาราศาสตร์ประมาณการว่า เหตุการณ์หลุมดำดูดกลืนดาวนิวตรอนดังกล่าว เกิดขึ้นในห้วงอวกาศห่างจากโลกออกไปราว 1,200 ล้านปีแสง ทั้งคาดว่ามีการปลดปล่อยคลื่นแสงออกมาด้วย
ศาสตราจารย์แพทริก แบรดี โฆษกของไลโกระบุว่า ยังคงต้องมีการพิสูจน์อีกครั้งว่าสัญญาณคลื่นความโน้มถ่วงดังกล่าวมาจากระบบหลุมดำ - ดาวนิวตรอนจริง ไม่ใช่สัญญาณจากคลื่นรบกวนอื่น ๆ
"มันเหมือนกับเราพยายามฟังเสียงกระซิบของคนผู้หนึ่ง ภายในร้านกาแฟที่มีเสียงพูดคุยจอแจของคนจำนวนมาก ความเป็นไปได้ที่สัญญาณคลื่นความโน้มถ่วงในครั้งนี้จะกลายเป็นเรื่องผิดพลาด มีอยู่ราว 14%" ศ.แบรดีกล่าว
การพิสูจน์ที่ว่านี้จะใช้วิธีค้นหาคลื่นแสงที่เกิดขึ้นในเหตุการณ์เดียวกัน ซึ่งหากมีอยู่จริงก็จะสามารถมองเห็นได้ด้วยกล้องโทรทรรศน์บนพื้นโลก การแผ่คลื่นแสงนี้ยังสามารถบ่งบอกขนาดของหลุมดำและลักษณะการดูดกลืนดาวนิวตรอนได้อีกด้วย โดยหลุมดำขนาดใหญ่จะมีความหนาแน่นน้อยและมีแรงโน้มถ่วงที่ขอบด้านนอกไม่มากนัก ทำให้ดาวนิวตรอนไม่พังทลายลงเป็นเสี่ยง ๆ ก่อนจะถูกดูดกลืน ซึ่งในกรณีของหลุมดำขนาดเล็กจะเป็นตรงกันข้าม
เมื่อไม่นานมานี้ อุปกรณ์สังเกตการณ์คลื่นความโน้มถ่วงไลโก - เวอร์โก ซึ่งมีประสิทธิภาพสูงขึ้น สามารถตรวจจับคลื่นความโน้มถ่วงจากห้วงอวกาศได้บ่อยครั้ง ซึ่งคลื่นนี้เป็นการกระเพื่อมของปริภูมิ-เวลา (space -time) ที่แผ่ออกมาจากการชนรุนแรงของวัตถุอวกาศมวลมหาศาล โดยในเดือนเม.ย.ที่ผ่านมาสามารถตรวจจับได้ถึง 6 ครั้ง รวมทั้งคลื่นความโน้มถ่วงจากเหตุการณ์คู่ดาวนิวตรอนชนกัน ซึ่งตรวจพบเป็นครั้งที่สองเมื่อวันที่ 25 เม.ย. ที่ผ่านมา
ทั้งนี้ ดาวนิวตรอนเกิดจากการยุบตัวของแกนกลางดาวฤกษ์ขนาดใหญ่หลังการระเบิดซูเปอร์โนวา มีความหนาแน่นสูงเนื่องจากบีบอัดมวลมหาศาลที่เทียบเท่ากับดวงอาทิตย์ 2-3 ดวง ลงมารวมกันอยู่ในพื้นที่เท่ากับเมืองเล็ก ๆ ซึ่งมีเส้นผ่านศูนย์กลางราว 20 กิโลเมตรเท่านั้น ผิวด้านนอกของดาวยังเป็นอนุภาคนิวตรอนทั้งหมด ซึ่งแข็งแกร่งยิ่งกว่าเหล็กกล้านับหมื่นล้านเท่า
BBC/NEWS/ไทย
คลื่นความโน้มถ่วงระลอกล่าสุดชี้ หลุมดำอาจดูดกลืนดาวนิวตรอน
NASA/SWIFT/DANA BERRY / ภาพจำลองการชนกันของคู่ดาวนิวตรอน ซึ่งจะทำให้มีคลื่นความโน้มถ่วงแผ่ไปในจักรวาล
ทีมนักวิทยาศาสตร์ประจำอุปกรณ์สังเกตการณ์คลื่นความโน้มถ่วงไลโก (LIGO) ในสหรัฐฯ และเวอร์โก (VIRGO) ในอิตาลี แถลงว่าพบสัญญาณคลื่นความโน้มถ่วง (gravitational wave) ระลอกล่าสุด เมื่อวันที่ 24 เม.ย.ที่ผ่านมา ซึ่งสัญญาณดังกล่าวอาจชี้ได้ว่ามีเหตุการณ์หลุมดำดูดกลืนดาวนิวตรอนเกิดขึ้นในห้วงอวกาศลึก
การตรวจพบเหตุการณ์ลักษณะนี้ ถือว่าเป็นครั้งแรกที่นักฟิสิกส์ดาราศาสตร์จะสามารถยืนยันได้ว่า หลุมดำกับดาวนิวตรอนที่มีมวลมหาศาลและมีความหนาแน่นสูง สามารถอยู่ร่วมกันในระบบดาวคู่และรวมตัวกันได้
นักฟิสิกส์ดาราศาสตร์ประมาณการว่า เหตุการณ์หลุมดำดูดกลืนดาวนิวตรอนดังกล่าว เกิดขึ้นในห้วงอวกาศห่างจากโลกออกไปราว 1,200 ล้านปีแสง ทั้งคาดว่ามีการปลดปล่อยคลื่นแสงออกมาด้วย
ศาสตราจารย์แพทริก แบรดี โฆษกของไลโกระบุว่า ยังคงต้องมีการพิสูจน์อีกครั้งว่าสัญญาณคลื่นความโน้มถ่วงดังกล่าวมาจากระบบหลุมดำ - ดาวนิวตรอนจริง ไม่ใช่สัญญาณจากคลื่นรบกวนอื่น ๆ
"มันเหมือนกับเราพยายามฟังเสียงกระซิบของคนผู้หนึ่ง ภายในร้านกาแฟที่มีเสียงพูดคุยจอแจของคนจำนวนมาก ความเป็นไปได้ที่สัญญาณคลื่นความโน้มถ่วงในครั้งนี้จะกลายเป็นเรื่องผิดพลาด มีอยู่ราว 14%" ศ.แบรดีกล่าว
การพิสูจน์ที่ว่านี้จะใช้วิธีค้นหาคลื่นแสงที่เกิดขึ้นในเหตุการณ์เดียวกัน ซึ่งหากมีอยู่จริงก็จะสามารถมองเห็นได้ด้วยกล้องโทรทรรศน์บนพื้นโลก การแผ่คลื่นแสงนี้ยังสามารถบ่งบอกขนาดของหลุมดำและลักษณะการดูดกลืนดาวนิวตรอนได้อีกด้วย โดยหลุมดำขนาดใหญ่จะมีความหนาแน่นน้อยและมีแรงโน้มถ่วงที่ขอบด้านนอกไม่มากนัก ทำให้ดาวนิวตรอนไม่พังทลายลงเป็นเสี่ยง ๆ ก่อนจะถูกดูดกลืน ซึ่งในกรณีของหลุมดำขนาดเล็กจะเป็นตรงกันข้าม
เมื่อไม่นานมานี้ อุปกรณ์สังเกตการณ์คลื่นความโน้มถ่วงไลโก - เวอร์โก ซึ่งมีประสิทธิภาพสูงขึ้น สามารถตรวจจับคลื่นความโน้มถ่วงจากห้วงอวกาศได้บ่อยครั้ง ซึ่งคลื่นนี้เป็นการกระเพื่อมของปริภูมิ-เวลา (space -time) ที่แผ่ออกมาจากการชนรุนแรงของวัตถุอวกาศมวลมหาศาล โดยในเดือนเม.ย.ที่ผ่านมาสามารถตรวจจับได้ถึง 6 ครั้ง รวมทั้งคลื่นความโน้มถ่วงจากเหตุการณ์คู่ดาวนิวตรอนชนกัน ซึ่งตรวจพบเป็นครั้งที่สองเมื่อวันที่ 25 เม.ย. ที่ผ่านมา
ทั้งนี้ ดาวนิวตรอนเกิดจากการยุบตัวของแกนกลางดาวฤกษ์ขนาดใหญ่หลังการระเบิดซูเปอร์โนวา มีความหนาแน่นสูงเนื่องจากบีบอัดมวลมหาศาลที่เทียบเท่ากับดวงอาทิตย์ 2-3 ดวง ลงมารวมกันอยู่ในพื้นที่เท่ากับเมืองเล็ก ๆ ซึ่งมีเส้นผ่านศูนย์กลางราว 20 กิโลเมตรเท่านั้น ผิวด้านนอกของดาวยังเป็นอนุภาคนิวตรอนทั้งหมด ซึ่งแข็งแกร่งยิ่งกว่าเหล็กกล้านับหมื่นล้านเท่า
BBC/NEWS/ไทย