ทีมนักดาราศาสตร์จากแคนาดาตรวจพบการปะทุสัญญาณวิทยุแบบฉับพลัน (Fast Radio Burst) หรือ "เอฟอาร์บี" (FRB) ที่ส่งมาจากห้วงอวกาศลึกห่างจากโลกถึง 1,500 ล้านปีแสง โดยนับเป็นครั้งที่สองที่พบว่า สัญญาณลึกลับดังกล่าวสามารถจะถูกส่งซ้ำออกมาจากแหล่งกำเนิดเดียวกันได้
เมื่อเกิด fast radio bursts หรือ FRBs กล้องโทรทรรศน์ของโลกสามารถตรวจจับสัญญาณได้จะเกิดแสงสว่างวาบแค่เพียงมิลลิวินาที จากนั้นแสงสว่างจากการสัญญาณของกล้องนั้นจะหายไป โดยนักดาราศาสตร์ตรวจพบสัญญาณเหล่านี้หลายสิบครั้งในช่วงทศวรรษที่ผ่านมา และเพิ่งประกาศว่าพวกเขาพบสัญญาณเหล่านี้ได้มากขึ้น และยังเป็นสัญญาณที่เกิดซ้ำๆ ซึ่งหาได้ยาก
ก่อนหน้านี้ปรากฏการณ์เอฟอาร์บีถือเป็นเรื่องที่เป็นปริศนาอย่างยิ่งว่า สัญญาณวิทยุพลังงานสูงซึ่งปะทุออกมาภายในเวลาช่วงสั้น ๆ ไม่กี่มิลลิวินาทีนี้คืออะไร และส่งออกมาจากที่ใดในจักรวาลกันแน่ โดยนับตั้งแต่ปี 2007 ซึ่งมีการค้นพบบันทึกข้อมูลเกี่ยวกับเอฟอาร์บีที่เกิดขึ้นครั้งแรก หลังจากนั้นก็มีการค้นพบสัญญาณเอฟอาร์บีติดตามมาอีกหลายครั้ง จนถึงปัจจุบันมีการตรวจจับสัญญาณนี้ได้ทั้งสิ้น 60 ครั้ง แต่มีเพียง 2 ครั้งที่เป็นการส่งสัญญาณซ้ำออกมาจากแหล่งเดียวกัน
เราไม่อาจทราบอย่างแน่ชัดได้ว่าสัญญาณเหล่านี้อยู่ที่ไหนหรือมาจากไหน? แต่มีทฤษฎีมากมายเกี่ยวกับความลับนั้น และนี่คือข้อสันนิฐาน 5 ข้อ เกี่ยวกับสัญญาณลึกลับจากอวกาศนี้
การหมุนรอบตัวอย่างรวดเร็วจากดาวนิวตรอนในสนามแม่เหล็ก
ดาวนิวตรอน (Neutron Star) บางครั้งเรียกว่า Magnetars จะประกอบด้วยเกือบทั้งหมดของดาวนิวตรอน เกิดจากการยุบตัวของดาวฤกษ์ (Star) มวลสูงมีเส้นผ่า ศูนย์กลางประมาณ 20 กม. มีมวลประมาณ 1.5 เท่าของดวงอาทิตย์
สนามแม่เหล็กรอบดาวนิวตรอนมีความแข็งแรงมาก แรงแม่เหล็กบีบอัดยานอวกาศของคุณจนเล็กเป็นผงจิ๋ว เป็นการเผชิญกับอันตรายถึงตายไม่เหลือซาก การหมุนรอบตัวเองของดาวนิวตรอนขับเคลื่อนด้วยการหมุนเรียกว่าพัลซาร์ (Pulsar) สนามแม่เหล็กแรงหมุนอย่างรวดเร็วสร้างขึ้นเหมือนเครื่องกำเนิดไฟฟ้า แรงดันไฟฟ้าดังกล่าว สูงกว่าสายฟ้าผ่า ถึง 30 ล้านเท่า และยังมีการตกค้างของอนุภาคที่มีพลังงานสูงเหมือนกระแสพายุไฟฟ้าเปลือกผิวอาจแตก แยกออกจากกันได้เพราะแรงเครียด
เมื่อดาวฤกษ์ที่สิ้นอายุขัยเกิดการระเบิดครั้งรุนแรงขึ้น มันอาจกลายไปเป็นดาวนิวตรอนที่มีความหนาแน่นสูงและหมุนรอบตัวเองอย่างรวดเร็ว หากดาวนิวตรอนนี้อยู่ในห้วงอวกาศบริเวณที่มีสนามแม่เหล็กความเข้มสูง สภาพการณ์เช่นนี้อาจทำให้เกิดสัญญาณประหลาดที่ส่งออกไปในจักรวาลได้
ดร. อิงกริด สแตรส์ นักฟิสิกส์ดาราศาสตร์จากมหาวิทยาลัยบริติชโคลัมเบียของแคนาดาบอกว่า ข้อสันนิษฐานนี้มีความเป็นไปได้อย่างสูง แต่อย่างไรก็ตาม จนถึงทุกวันนี้นักวิทยาศาสตร์ก็ยังไม่อาจจะฟันธงลงไปได้อย่างแน่นอนว่า สัญญาณเอฟอาร์บีเกิดมาจากอะไร
คู่ดาวนิวตรอนที่ชนและรวมตัวเข้าด้วยกัน
(NSF/LIGO/SONOMA STATE UNIVERSITY/A.SIMONNET (ภาพจากฝีมือศิลปิน) การหมุนเข้ารวมตัวกันของดาวนิวตรอนทำให้กาล-อวกาศกระเพื่อมขึ้นลงเป็นคลื่น)
การชนและรวมตัวกันของดาวนิวตรอน ทำให้เกิดการระเบิดแบบ "กิโลโนวา" (Kilonova ) ที่รุนแรงกว่าซูเปอร์โนวาถึง 1,000 เท่า ส่งคลื่นความโน้มถ่วงที่เกิดจากการกระเพื่อมของกาล-อวกาศ ออกไปรอบทิศทางในจักรวาล
ดร.เคท มาไกวร์ จากมหาวิทยาลัยควีนส์ของสหราชอาณาจักรระบุว่า การชนและรวมตัวกันของดาวนิวตรอนได้ปลดปล่อยพลังงานมหาศาลที่ทำให้เกิดธาตุที่หนักกว่าเหล็กเช่นทองและแพลทินัมขึ้น โดยแรงระเบิดเหวี่ยงธาตุเหล่านี้ให้กระจายตัวออกไปทั่วในจักรวาล (Cr.
https://www.bbc.com/thai/international-41648232)
ปรากฏการณ์ที่มีความรุนแรงมหาศาลเช่นนี้ สามารถจะให้กำเนิดคลื่นความโน้มถ่วงและสัญญาณที่ทรงพลังอื่น ๆ ได้ แต่น่าเสียดายว่าคำอธิบายในลักษณะนี้ สามารถจะใช้ได้กับสัญญาณเอฟอาร์บีที่เกิดขึ้นเดี่ยว ๆ เพียงครั้งเดียวเท่านั้น
"การปะทุสัญญาณวิทยุแบบฉับพลันจากเหตุการณ์เช่นนี้ จะเกิดขึ้นได้เพียงครั้งเดียวเท่านั้น เพราะคู่ดาวนิวตรอนชนปะทะกันเพียงครั้งเดียวก่อนที่จะถูกทำลายไป เราจึงไม่สามารถนำข้อสันนิษฐานนี้ไปอธิบายสัญญาณเอฟอาร์บีประเภทที่เกิดขึ้นซ้ำสองจากแหล่งกำเนิดเดิมได้" ดร. ชรีฮาร์ช เทนดุลการ์ นักดาราศาสตร์จากมหาวิทยาลัยแม็กกิลล์ของแคนาดากล่าว
บลิตซาร์ (Blitzar)
(Blitzar ที่หมุนเร็วและมีสนามแม่เหล็กเข้มข้นสูงมาก ก่อนที่มันจะยุบตัวลงมากลายเป็นหลุมดำ ภาพจาก Sky & Telescope, Gregg Dinderman)
Blitzar ถูกนำเสนอเอาไว้โดยสองนักดาราศาสตร์ “ไฮโน ฟัลกา” (Heino Falcke) และ “ลูเซียโน รีซโซลา” (Luciano Rezzolla) ในปี ค.ศ. 2013
ถือเป็นเทหวัตถุทางดาราศาสตร์ชนิดหนึ่ง (โดยสมมติฐาน) ที่หมุนรอบตัวเองไวมากแบบเดียวกับพัลซาร์ก่อนที่กำลังหมุนของมันจะลดลง และไม่อาจต้านทานต่อแรงโน้มถ่วงได้อีกต่อไป จนยุบตัวเองลงมากลายเป็นหลุมดำ ซึ่งภายหลังจากที่ดาว Blitzar ได้ยุบหายไปในหลุมดำทั้งดวงแล้ว พลังงานสนามแม่เหล็กรอบดาวของมัน ก็จะถูกเปลี่ยนไปเป็นการระเบิดออกอย่างรุนแรงภายในพลังงานของคลื่นความถี่วิทยุ ซึ่งถ้า Blitzar มีอยู่จริง เราก็อาจได้ความรู้ใหม่ๆเพิ่มขึ้นอีก ที่เกี่ยวกับการก่อตัวของหลุมดำ (Cr.
https://www.sciways.co/fast-radio-burst/)
ปรากฏการณ์ดังกล่าวอาจทำให้เกิดสัญญาณเอฟอาร์บีขึ้นได้ แต่ก็เช่นเดียวกับกรณีของคู่ดาวนิวตรอนชนกัน คือจะทำให้เกิดการปะทุสัญญาณเอฟอาร์บีขึ้นได้เพียงครั้งเดียวเท่านั้น ปัจจุบันยังไม่มีการค้นพบ Blitzar เป็นเพียงข้อสมมติฐานเท่านั้น
หลุมดำ
มีข้อสันนิษฐานหลายประการถึงสาเหตุที่ทำให้หลุมดำส่งสัญญาณเอฟอาร์บีออกมาได้ เช่น
- มีดาวนิวตรอนตกลงไปในหลุมดำ (Cr.
https://www.sciways.co/discovered-a-black-hole-swallowing-a-neutron-star-s190814bv/)
- หลุมดำเกิดการยุบตัว (Cr.
http://www.narit.or.th/index.php/astronomy-article/1365-black-hole)
- ถูกสสารมืด (Dark matter) พัดเข้าปะทะ
เมื่อดาวฤกษ์ที่มีมวลมหึมาแตกดับลง มันอาจจะทิ้งสิ่งที่ดำมืดที่สุด ทว่ามีอำนาจทำลายล้างสูงสุดไว้เบื้องหลัง นักดาราศาสตร์เรียกสิ่งนี้ว่า “หลุมดำ” เราไม่สามารถมองเห็นหลุมดำด้วยกล้องโทรทรรศน์ใดๆ เนื่องจากหลุมดำไม่เปล่งแสงหรือรังสีใดเลย แต่สามารถตรวจพบได้ด้วยกล้องโทรทรรศน์วิทยุ และคลื่นโน้มถ่วงของหลุมดำ (ในเชิงทฤษฎี โครงการแอลไอจีโอ) และจนถึงปัจจุบันได้ค้นพบหลุมดำในจักรวาลแล้วอย่างน้อย 6 แห่ง (Cr.
https://www.amarintv.com/lifestyle-update/articles-1178/365337/)
สิ่งมีชีวิตทรงภูมิปัญญาจากต่างดาว
(GETTY IMAGES กล้องโทรทรรศน์วิทยุบางแห่งบนพื้นโลก สามารถตรวจจับสัญญาณเอฟอาร์บีจากห้วงอวกาศลึกได้)
แม้นักดาราศาสตร์ส่วนใหญ่จะเชื่อว่าสัญญาณเอฟอาร์บีนั้นเกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ แต่ก็มีบางกลุ่มที่เชื่อว่าสัญญาณลึกลับนี้เป็นฝีมือของ "เอเลียน" ที่ทรงภูมิปัญญาจากต่างดาว ไม่ว่าจะเป็นการส่งสัญญาณสื่อสารอย่างจงใจ หรือเกิดขึ้นจากกิจกรรมที่ใช้เทคโนโลยีล้ำสมัยโดยไม่ได้ตั้งใจก็ตาม
เมื่อปี 2017 นักวิทยาศาสตร์จากมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ดกลุ่มหนึ่งเสนอว่า สัญญาณเอฟอาร์บีอาจเป็นคลื่นพลังงานที่รั่วไหลออกมาจากอุปกรณ์ส่งสัญญาณของมนุษย์ต่างดาว ซึ่งอุปกรณ์นี้อาจมีขนาดใหญ่เท่ากับดาวเคราะห์ดวงหนึ่ง
มีความเป็นไปได้ว่า เครื่องมือดังกล่าวไม่ได้มีไว้สำหรับสื่อสาร แต่อาจเป็นตัวขับเคลื่อนยานอวกาศโดยใช้ผืนวัสดุคล้ายใบเรือสะท้อนลำแสงหรือสัญญาณวิทยุ เพื่อให้เกิดแรงขับเคลื่อนในห้วงอวกาศ
อย่างไรก็ตาม ดร. สแตรส์ มองเรื่องนี้ว่า "สัญญาณเอฟอาร์บีนั้นส่งออกมาจากแหล่งกำเนิดที่หลากหลายและกระจัดกระจายไปทั่วจักรวาล จึงเป็นไปไม่ได้ที่อารยธรรมของสิ่งมีชีวิตทรงภูมิปัญญาจากหลายแห่งจะส่งสัญญาณแบบเดียวกันออกมาด้วยวิธีการแบบเดียวกัน"
ขอบคุณข้อมูลทั้งหมด
ที่มาโดย เฮเลน บริกก์ผู้สื่อข่าวบีบีซี
Cr.
https://www.bbc.com/thai/international-46837723
Cr.
http://realmetro.com/สัญญาณลับจากอวกาศ-5-ทฤษฎ/
สัญญาณลับจากอวกาศ
เมื่อเกิด fast radio bursts หรือ FRBs กล้องโทรทรรศน์ของโลกสามารถตรวจจับสัญญาณได้จะเกิดแสงสว่างวาบแค่เพียงมิลลิวินาที จากนั้นแสงสว่างจากการสัญญาณของกล้องนั้นจะหายไป โดยนักดาราศาสตร์ตรวจพบสัญญาณเหล่านี้หลายสิบครั้งในช่วงทศวรรษที่ผ่านมา และเพิ่งประกาศว่าพวกเขาพบสัญญาณเหล่านี้ได้มากขึ้น และยังเป็นสัญญาณที่เกิดซ้ำๆ ซึ่งหาได้ยาก
ก่อนหน้านี้ปรากฏการณ์เอฟอาร์บีถือเป็นเรื่องที่เป็นปริศนาอย่างยิ่งว่า สัญญาณวิทยุพลังงานสูงซึ่งปะทุออกมาภายในเวลาช่วงสั้น ๆ ไม่กี่มิลลิวินาทีนี้คืออะไร และส่งออกมาจากที่ใดในจักรวาลกันแน่ โดยนับตั้งแต่ปี 2007 ซึ่งมีการค้นพบบันทึกข้อมูลเกี่ยวกับเอฟอาร์บีที่เกิดขึ้นครั้งแรก หลังจากนั้นก็มีการค้นพบสัญญาณเอฟอาร์บีติดตามมาอีกหลายครั้ง จนถึงปัจจุบันมีการตรวจจับสัญญาณนี้ได้ทั้งสิ้น 60 ครั้ง แต่มีเพียง 2 ครั้งที่เป็นการส่งสัญญาณซ้ำออกมาจากแหล่งเดียวกัน
เราไม่อาจทราบอย่างแน่ชัดได้ว่าสัญญาณเหล่านี้อยู่ที่ไหนหรือมาจากไหน? แต่มีทฤษฎีมากมายเกี่ยวกับความลับนั้น และนี่คือข้อสันนิฐาน 5 ข้อ เกี่ยวกับสัญญาณลึกลับจากอวกาศนี้
สนามแม่เหล็กรอบดาวนิวตรอนมีความแข็งแรงมาก แรงแม่เหล็กบีบอัดยานอวกาศของคุณจนเล็กเป็นผงจิ๋ว เป็นการเผชิญกับอันตรายถึงตายไม่เหลือซาก การหมุนรอบตัวเองของดาวนิวตรอนขับเคลื่อนด้วยการหมุนเรียกว่าพัลซาร์ (Pulsar) สนามแม่เหล็กแรงหมุนอย่างรวดเร็วสร้างขึ้นเหมือนเครื่องกำเนิดไฟฟ้า แรงดันไฟฟ้าดังกล่าว สูงกว่าสายฟ้าผ่า ถึง 30 ล้านเท่า และยังมีการตกค้างของอนุภาคที่มีพลังงานสูงเหมือนกระแสพายุไฟฟ้าเปลือกผิวอาจแตก แยกออกจากกันได้เพราะแรงเครียด
เมื่อดาวฤกษ์ที่สิ้นอายุขัยเกิดการระเบิดครั้งรุนแรงขึ้น มันอาจกลายไปเป็นดาวนิวตรอนที่มีความหนาแน่นสูงและหมุนรอบตัวเองอย่างรวดเร็ว หากดาวนิวตรอนนี้อยู่ในห้วงอวกาศบริเวณที่มีสนามแม่เหล็กความเข้มสูง สภาพการณ์เช่นนี้อาจทำให้เกิดสัญญาณประหลาดที่ส่งออกไปในจักรวาลได้
ดร. อิงกริด สแตรส์ นักฟิสิกส์ดาราศาสตร์จากมหาวิทยาลัยบริติชโคลัมเบียของแคนาดาบอกว่า ข้อสันนิษฐานนี้มีความเป็นไปได้อย่างสูง แต่อย่างไรก็ตาม จนถึงทุกวันนี้นักวิทยาศาสตร์ก็ยังไม่อาจจะฟันธงลงไปได้อย่างแน่นอนว่า สัญญาณเอฟอาร์บีเกิดมาจากอะไร
การชนและรวมตัวกันของดาวนิวตรอน ทำให้เกิดการระเบิดแบบ "กิโลโนวา" (Kilonova ) ที่รุนแรงกว่าซูเปอร์โนวาถึง 1,000 เท่า ส่งคลื่นความโน้มถ่วงที่เกิดจากการกระเพื่อมของกาล-อวกาศ ออกไปรอบทิศทางในจักรวาล
ดร.เคท มาไกวร์ จากมหาวิทยาลัยควีนส์ของสหราชอาณาจักรระบุว่า การชนและรวมตัวกันของดาวนิวตรอนได้ปลดปล่อยพลังงานมหาศาลที่ทำให้เกิดธาตุที่หนักกว่าเหล็กเช่นทองและแพลทินัมขึ้น โดยแรงระเบิดเหวี่ยงธาตุเหล่านี้ให้กระจายตัวออกไปทั่วในจักรวาล (Cr.https://www.bbc.com/thai/international-41648232)
ปรากฏการณ์ที่มีความรุนแรงมหาศาลเช่นนี้ สามารถจะให้กำเนิดคลื่นความโน้มถ่วงและสัญญาณที่ทรงพลังอื่น ๆ ได้ แต่น่าเสียดายว่าคำอธิบายในลักษณะนี้ สามารถจะใช้ได้กับสัญญาณเอฟอาร์บีที่เกิดขึ้นเดี่ยว ๆ เพียงครั้งเดียวเท่านั้น
"การปะทุสัญญาณวิทยุแบบฉับพลันจากเหตุการณ์เช่นนี้ จะเกิดขึ้นได้เพียงครั้งเดียวเท่านั้น เพราะคู่ดาวนิวตรอนชนปะทะกันเพียงครั้งเดียวก่อนที่จะถูกทำลายไป เราจึงไม่สามารถนำข้อสันนิษฐานนี้ไปอธิบายสัญญาณเอฟอาร์บีประเภทที่เกิดขึ้นซ้ำสองจากแหล่งกำเนิดเดิมได้" ดร. ชรีฮาร์ช เทนดุลการ์ นักดาราศาสตร์จากมหาวิทยาลัยแม็กกิลล์ของแคนาดากล่าว
Blitzar ถูกนำเสนอเอาไว้โดยสองนักดาราศาสตร์ “ไฮโน ฟัลกา” (Heino Falcke) และ “ลูเซียโน รีซโซลา” (Luciano Rezzolla) ในปี ค.ศ. 2013
ถือเป็นเทหวัตถุทางดาราศาสตร์ชนิดหนึ่ง (โดยสมมติฐาน) ที่หมุนรอบตัวเองไวมากแบบเดียวกับพัลซาร์ก่อนที่กำลังหมุนของมันจะลดลง และไม่อาจต้านทานต่อแรงโน้มถ่วงได้อีกต่อไป จนยุบตัวเองลงมากลายเป็นหลุมดำ ซึ่งภายหลังจากที่ดาว Blitzar ได้ยุบหายไปในหลุมดำทั้งดวงแล้ว พลังงานสนามแม่เหล็กรอบดาวของมัน ก็จะถูกเปลี่ยนไปเป็นการระเบิดออกอย่างรุนแรงภายในพลังงานของคลื่นความถี่วิทยุ ซึ่งถ้า Blitzar มีอยู่จริง เราก็อาจได้ความรู้ใหม่ๆเพิ่มขึ้นอีก ที่เกี่ยวกับการก่อตัวของหลุมดำ (Cr.https://www.sciways.co/fast-radio-burst/)
ปรากฏการณ์ดังกล่าวอาจทำให้เกิดสัญญาณเอฟอาร์บีขึ้นได้ แต่ก็เช่นเดียวกับกรณีของคู่ดาวนิวตรอนชนกัน คือจะทำให้เกิดการปะทุสัญญาณเอฟอาร์บีขึ้นได้เพียงครั้งเดียวเท่านั้น ปัจจุบันยังไม่มีการค้นพบ Blitzar เป็นเพียงข้อสมมติฐานเท่านั้น
- มีดาวนิวตรอนตกลงไปในหลุมดำ (Cr.https://www.sciways.co/discovered-a-black-hole-swallowing-a-neutron-star-s190814bv/)
- หลุมดำเกิดการยุบตัว (Cr.http://www.narit.or.th/index.php/astronomy-article/1365-black-hole)
- ถูกสสารมืด (Dark matter) พัดเข้าปะทะ
เมื่อดาวฤกษ์ที่มีมวลมหึมาแตกดับลง มันอาจจะทิ้งสิ่งที่ดำมืดที่สุด ทว่ามีอำนาจทำลายล้างสูงสุดไว้เบื้องหลัง นักดาราศาสตร์เรียกสิ่งนี้ว่า “หลุมดำ” เราไม่สามารถมองเห็นหลุมดำด้วยกล้องโทรทรรศน์ใดๆ เนื่องจากหลุมดำไม่เปล่งแสงหรือรังสีใดเลย แต่สามารถตรวจพบได้ด้วยกล้องโทรทรรศน์วิทยุ และคลื่นโน้มถ่วงของหลุมดำ (ในเชิงทฤษฎี โครงการแอลไอจีโอ) และจนถึงปัจจุบันได้ค้นพบหลุมดำในจักรวาลแล้วอย่างน้อย 6 แห่ง (Cr.https://www.amarintv.com/lifestyle-update/articles-1178/365337/)
แม้นักดาราศาสตร์ส่วนใหญ่จะเชื่อว่าสัญญาณเอฟอาร์บีนั้นเกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ แต่ก็มีบางกลุ่มที่เชื่อว่าสัญญาณลึกลับนี้เป็นฝีมือของ "เอเลียน" ที่ทรงภูมิปัญญาจากต่างดาว ไม่ว่าจะเป็นการส่งสัญญาณสื่อสารอย่างจงใจ หรือเกิดขึ้นจากกิจกรรมที่ใช้เทคโนโลยีล้ำสมัยโดยไม่ได้ตั้งใจก็ตาม
เมื่อปี 2017 นักวิทยาศาสตร์จากมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ดกลุ่มหนึ่งเสนอว่า สัญญาณเอฟอาร์บีอาจเป็นคลื่นพลังงานที่รั่วไหลออกมาจากอุปกรณ์ส่งสัญญาณของมนุษย์ต่างดาว ซึ่งอุปกรณ์นี้อาจมีขนาดใหญ่เท่ากับดาวเคราะห์ดวงหนึ่ง
มีความเป็นไปได้ว่า เครื่องมือดังกล่าวไม่ได้มีไว้สำหรับสื่อสาร แต่อาจเป็นตัวขับเคลื่อนยานอวกาศโดยใช้ผืนวัสดุคล้ายใบเรือสะท้อนลำแสงหรือสัญญาณวิทยุ เพื่อให้เกิดแรงขับเคลื่อนในห้วงอวกาศ
อย่างไรก็ตาม ดร. สแตรส์ มองเรื่องนี้ว่า "สัญญาณเอฟอาร์บีนั้นส่งออกมาจากแหล่งกำเนิดที่หลากหลายและกระจัดกระจายไปทั่วจักรวาล จึงเป็นไปไม่ได้ที่อารยธรรมของสิ่งมีชีวิตทรงภูมิปัญญาจากหลายแห่งจะส่งสัญญาณแบบเดียวกันออกมาด้วยวิธีการแบบเดียวกัน"
ขอบคุณข้อมูลทั้งหมด
ที่มาโดย เฮเลน บริกก์ผู้สื่อข่าวบีบีซี
Cr.https://www.bbc.com/thai/international-46837723
Cr.http://realmetro.com/สัญญาณลับจากอวกาศ-5-ทฤษฎ/