แอนติบอดีที่ผิดปกติของลามะ...อาจช่วยในการต่อสู้กับเชื้อเอชไอวีได้

วัคซีนส่วนใหญ่ทำงานได้โดยการเหนี่ยวนำให้เกิดการตอบสนองของภูมิคุ้มกัน โดยวัคซีนจะเป็นตัวกระตุ้นระบบภูมิคุ้มกันขึ้นเพื่อต่อสู้กับเชื้อโรคแต่ละโรค จนถึงทุกวันนี้ก็ยังไม่มีวัคซีนเอชไอวีที่มีประสิทธิภาพเพียงพอ อย่างไรก็ตามนักวิจัยได้ทำการศึกษาค้นคว้าอย่างต่อเนื่อง บ่อยครั้งก็มีการนำเอาวิธีการใหม่ๆ มาใช้ วารสาร PLOS Pathogens ซึ่งได้รายงานว่า การรวบรวมเอาสารต่อต้านโรคหรือแอนติบอดีหลายชนิดจากลามะสามารถทำลายเชื้อไวรัสเอชไอวีที่มีหลากหลายสายพันธุ์ได้
หลังจากความผิดหวังครั้งแรก ที่วัคซีนเอชไอวีที่พัฒนาขึ้นไม่สามารถกระตุ้นให้เกิดแอนติบอดีชนิดที่เรียกว่า neutralizing antibody (แอนติบอดีที่ไปจับกับ spike ของไวรัส แล้วสามารถยับยั้งไวรัสนั้นๆ ไม่ให้เข้าไปติดเชื้อในเซลล์มนุษย์ได้ มีหลักฐานในทางคลินิกสำหรับไวรัสบางชนิด ในผู้ป่วยที่เกิด neutralizing antibody ในระดับที่สูงพอ หลังการติดเชื้อหรือหลังการฉีดวัคซีน มีความสัมพันธ์กับการป้องกันไม่ให้เกิดการติดเชื้อไวรัสนั้นๆ อีก) คณะวิจัยพบว่าผู้ป่วยที่ติดเชื้อเอชไอวีได้ผลิตแอนติบอดีขึ้นบ้างเพียงเล็กน้อย ดังนั้นสิ่งที่กำลังเป็นที่ท้าทายอยู่ในขณะนี้คือการตามหาวัคซีนที่ปลอดภัยและมีประสิทธิภาพ (หรือที่ตรงกันข้ามกับการติดเชื้อเอชไอวี) วัคซีนตัวนั้นจะก่อให้เกิดการพัฒนาของ neutralizing antibodyที่สามารถจดจำและป้องกันการติดเชื้อได้ทั้งหมดหรือบางส่วนของเชื้อเอชไอวีชนิดย่อย
ลายคนรู้ดีว่า neutralizing antibody จะเข้าไปจับอย่างจำเพาะเจาะจงกับส่วนของไวรัสที่จับอยู่กับตัวรับ CD4 บน human target cells แอนติบอดีของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมโดยส่วนใหญ่ก็คือโปรตีนที่มีขนาดค่อนข้างใหญ่สร้างขึ้นจากสายโซ่พอลิเปปไทด์ 4 เส้น ที่แตกต่างกันสองชนิด ชนิดละคู่ และขนาดที่ใหญ่ของมันอาจจะเป็นเหตุผลหนึ่งที่ว่าทำไม neutralizing antibody จึงหายาก

ลามะเป็นสิ่งมีชีวิตที่มีข้อยกเว้นที่น่าสนใจ กล่าวคือ นอกเหนือจากสายโซ่พอลิเปปไทด์ 4 เส้น พวกมันยังสามารถสร้างแอนติบอดีที่มีขนาดเล็กกว่า ที่ประกอบด้วยสายโซ่พอลิเปปไทด์เพียง 2 เส้นจาก 4 เส้น ดังนั้น Robin Weiss ผู้เชี่ยวชาญทางด้านเชื้อเอชไอวี และ Theo Verrips ผู้เชี่ยวชาญทางด้านแอนติบอดีของลามะจึงได้เริ่มต้นทำการศึกษาวิจัยสัตว์ที่ผิดแปลกไปจากสัตว์อื่นนี้
Laura McCoy (ทำงานร่วมกับ Weiss ที่มหาวิทยาลัย University College London สหราชอาณาจักร) ได้นำกลุ่มของคณะวิจัยระดับนานาชาติในการทดสอบวิธีการการก่อภูมิคุ้มกันขึ้นเองและผลการตอบสนองของระบบภูมิคุ้มกันในลามะ จากการศึกษาในอดีตคณะวิจัยสามารถระบุ neutralizing antibody จากลามะเพื่อทำลายเชื้อเอชไอวีได้ 1 ชนิด และในการศึกษาครั้งนี้คณะวิจัยได้ทำการฉีดภูมิคุ้มกันจากลามะเพิ่มอีก 2 ชนิด และสามารถระบุ neutralizing antibody จากลามะได้ทั้งหมด 3 ชนิด neutralizing antibody จากลามะ ทั้ง 4 ชนิดนี้มีเป้าหมายในบริเวณที่แตกต่างกันของส่วนที่จับของตัวรับ CD4 ของไวรัส นอกจากนี้คณะวิจัยยังสามารถแสดงให้เห็นว่าเมื่อใช้ neutralizing antibody จากลามะทั้ง 4 ชนิดรวมกันจะมีประสิทธิภาพมากกว่าและสามารถทำลายเชื้อเอชไอวีที่ใช้ทดสอบที่แตกต่างกันได้ทั้งหมด 60 สายพันธุ์
ในการที่จะเข้าใจว่าการสร้างภูมิคุ้มกันขึ้นเองของลามะนั้นทำงานอย่างไร ซึ่งได้รวมไปถึงการฉีดวัคซีน 4 ชนิดตามลำดับเป็นจำนวนสองชุดต่อสัตว์หนึ่งตัว คณะวิจัยได้เรียงลำดับแอนติบอดีที่ถูกจำลองขึ้นหลายชุด หรือการสร้างรหัสของยีนจากเซลล์เม็ดเลือดที่เก็บตัวอย่างมาหลังจากการสร้างภูมิคุ้มกันของชุดแรกสิ้นสุดลงและหลังจากการฉีดวัคซีนอีกสี่รอบ นอกจากนี้พวกเขายังได้ตรวจสอบแอนติบอดีที่ถูกจำลองขึ้นจากลามะที่ไม่ได้รับวัคซีนเจ็ดตัว ผลการทดสอบพบว่า neutralizing antibodies นั้นไม่ใช่ส่วนของการสร้างภูมิคุ้มกันเริ่มต้นและไม่สามารถตรวจพบได้จากการฉีดวัคซีนครั้งแรกได้ แต่มันมีความเป็นไปได้มากกว่าที่ neutralizing antibodies ได้ถูกสร้างขึ้นเป็นเซลล์ภูมิคุ้มกันที่ไปเจอกับวัคซีนซ้ำๆ หลายรอบและพวกมันถูกตอบสนองโดยแอนติบอดีจำเพาะที่โตเต็มที่แล้วที่สามารถจดจำมันได้
ในขณะที่มันเป็นสิ่งที่น่าตื่นเต้นที่ neutralizing antibodies ถูกพบได้ในลามะที่มีการสร้างภูมิคุ้มกันทุกตัว แต่มันมีความเข้มข้นต่ำมากในเลือด ดังนั้นจึงไม่สามารถตอบโจทย์ในการนำมาใช้ในการทำวัคซีนป้องกันเอชไอวีได้ อย่างไรก็ตามนักวิจัยได้สรุปว่าลามะเป็นต้นแบบให้พวกเขาได้ทำการทดสอบการสร้าง neutralizing antibodies ทั้งสี่ชนิดที่ถูกเหนี่ยวนำด้วยการฉีดวัคซีน ซึ่งมันเป็นไปไม่ได้ในสัตว์สายพันธุ์อื่นๆ ผลลัพธ์ของพวกเขาได้แสดงให้เห็นว่าการสร้างภูมิกันขึ้นเองสามารถเหนี่ยวนำ neutralizing antibodies ที่มีประสิทธิภาพได้ในลามะ ที่มีความคล้ายคลึงกับแอนติบอดีของคนและยังให้ขั้นตอนในการวิเคราะห์ประสิทธิภาพของลำดับขั้นตอนของการสร้างภูมิคุ้มกัน
ขอขอบคุณข้อมูลจาก    vcharkarn.com

Report by LIV APCO
แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่