จะโควิด-19 และไข้หวัดทุกสายพันธุ์ป้องกันได้ เมื่อใช้วัคซีนเลียนแบบภูมิต้านทานของลามา จากที่เดียวกันคือ ลามา หรือ ยามา (Llama)
ข้อมูลจาก
https://www.bbc.com/thai/international-46081968
ตัวลามา หรือ ยามา (Llama) ไม่ได้เป็นเพียงสัตว์เลี้ยงหน้าตาน่ารักจากภูมิภาคอเมริกาใต้ ซึ่งขนของมันใช้ทอเป็นผืนผ้าแสนอบอุ่นเท่านั้น แต่ในเลือดของลามายังมีสารภูมิต้านทานหรือแอนติบอดีชนิดพิเศษ ที่มนุษย์สามารถใช้เป็นต้นแบบเพื่อสังเคราะห์วัคซีนป้องกันไข้หวัดทุกสายพันธุ์แบบครอบจักรวาลได้อีกด้วย
ทีมนักวิทยาศาสตร์จากสถาบันวิจัยสคริปส์ (Scripps Research Institute) ในสหรัฐฯ ตีพิมพ์ผลการศึกษาล่าสุดในวารสาร Science โดยระบุว่าพบคุณสมบัติพิเศษในแอนติบอดีของสัตว์ตระกูลอูฐ เช่น ลามา อัลปาคา และกัวนาโค โดยเฉพาะอย่างยิ่งแอนติบอดีที่มีอยู่ในเลือดของลามานั้น มีขนาดเล็กกว่าที่พบในมนุษย์และสัตว์อื่นมาก ทำให้เข้าจับกับตัวรับบนผิวเซลล์ของเชื้อโรคได้หลากหลายชนิด และพบว่าสามารถหยุดยั้งไวรัสไข้หวัดใหญ่ได้ทั้งสายพันธุ์เอ สายพันธุ์บี และสายพันธุ์ใหม่อื่น ๆ ที่เกิดจากการกลายพันธุ์ในทุกปีด้วย
แต่เดิมนั้นวงการแพทย์จะต้องคิดค้นและผลิตวัคซีนไข้หวัดใหญ่ตัวใหม่ ๆ ออกมาในฤดูหนาวของทุกปี เพื่อให้มีประสิทธิภาพครอบคลุมถึงไวรัสสายพันธุ์ที่พบล่าสุดซึ่งมักจะเป็นไวรัสกลายพันธุ์ การที่มันเปลี่ยนรูปทรงส่วนปลายของโปรตีนบนผิวที่เป็นตัวรับให้ผิดแปลกไปจากเดิม ทำให้ภูมิคุ้มกันตามธรรมชาติในร่างกาย หรือแอนติบอดีจากวัคซีนชนิดเก่าไม่สามารถเข้าโจมตีได้
การคิดค้นวัคซีนชนิดใหม่ในทุกปีนับว่าเป็นเรื่องที่สิ้นเปลือง ทั้งไม่อาจช่วยป้องกันการแพร่ระบาดของโรคได้ดีนัก ทำให้นักวิทยาศาสตร์เริ่มมองหาวิธีการผลิตวัคซีนที่ป้องกันไข้หวัดได้ทุกสายพันธุ์แบบครอบจักรวาลในครั้งเดียว และพบว่าแอนติบอดีจากลามาสามารถเข้าถึงด้านในของโปรตีนตัวรับบนไวรัส ซึ่งเป็นส่วนที่ไม่ได้เปลี่ยนแปลงไปตามการกลายพันธุ์ ทำให้เข้าโจมตีทำลายเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่ได้หลายชนิดด้วยกัน
มีการทดลองให้ตัวลามาติดเชื้อไข้หวัดหลากหลายชนิด เพื่อให้ร่างกายของมันสร้างแอนติบอดีที่เป็นสารภูมิต้านทานขึ้นมา จากนั้นได้คัดเลือกแอนติบอดีในเลือดลามาที่มีประสิทธิภาพสูงสุด 4 ชนิด และนำไปเป็นต้นแบบในการสังเคราะห์วัคซีนซึ่งผสมผสานข้อดีของแอนติบอดีแต่ละตัวเข้าด้วยกัน
ทีมผู้วิจัยได้ทดสอบวัคซีนนี้กับหนูทดลอง ซึ่งได้รับเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่ที่เป็นอันตรายถึง 60 สายพันธุ์ พบว่าวัคซีนใช้ได้ผลในเกือบทุกกรณี เว้นแต่กับเชื้อไวรัสสายพันธุ์หนึ่งซึ่งไม่ติดต่อสู่คนอยู่แล้ว
อย่างไรก็ตาม การพัฒนาและทดสอบวัคซีนนี้ยังถือว่าอยู่ในขั้นต้นเท่านั้น โดยทีมผู้วิจัยยังต้องการจะทดสอบเพิ่มเติมอีกหลายครั้ง ก่อนจะเริ่มการทดลองระดับคลินิกในมนุษย์ต่อไป
ไข้หวัดทุกสายพันธุ์ป้องกันได้ เมื่อใช้วัคซีนเลียนแบบภูมิต้านทานของลามา
ข้อมูลจาก https://www.bbc.com/thai/international-46081968
ตัวลามา หรือ ยามา (Llama) ไม่ได้เป็นเพียงสัตว์เลี้ยงหน้าตาน่ารักจากภูมิภาคอเมริกาใต้ ซึ่งขนของมันใช้ทอเป็นผืนผ้าแสนอบอุ่นเท่านั้น แต่ในเลือดของลามายังมีสารภูมิต้านทานหรือแอนติบอดีชนิดพิเศษ ที่มนุษย์สามารถใช้เป็นต้นแบบเพื่อสังเคราะห์วัคซีนป้องกันไข้หวัดทุกสายพันธุ์แบบครอบจักรวาลได้อีกด้วย
ทีมนักวิทยาศาสตร์จากสถาบันวิจัยสคริปส์ (Scripps Research Institute) ในสหรัฐฯ ตีพิมพ์ผลการศึกษาล่าสุดในวารสาร Science โดยระบุว่าพบคุณสมบัติพิเศษในแอนติบอดีของสัตว์ตระกูลอูฐ เช่น ลามา อัลปาคา และกัวนาโค โดยเฉพาะอย่างยิ่งแอนติบอดีที่มีอยู่ในเลือดของลามานั้น มีขนาดเล็กกว่าที่พบในมนุษย์และสัตว์อื่นมาก ทำให้เข้าจับกับตัวรับบนผิวเซลล์ของเชื้อโรคได้หลากหลายชนิด และพบว่าสามารถหยุดยั้งไวรัสไข้หวัดใหญ่ได้ทั้งสายพันธุ์เอ สายพันธุ์บี และสายพันธุ์ใหม่อื่น ๆ ที่เกิดจากการกลายพันธุ์ในทุกปีด้วย
แต่เดิมนั้นวงการแพทย์จะต้องคิดค้นและผลิตวัคซีนไข้หวัดใหญ่ตัวใหม่ ๆ ออกมาในฤดูหนาวของทุกปี เพื่อให้มีประสิทธิภาพครอบคลุมถึงไวรัสสายพันธุ์ที่พบล่าสุดซึ่งมักจะเป็นไวรัสกลายพันธุ์ การที่มันเปลี่ยนรูปทรงส่วนปลายของโปรตีนบนผิวที่เป็นตัวรับให้ผิดแปลกไปจากเดิม ทำให้ภูมิคุ้มกันตามธรรมชาติในร่างกาย หรือแอนติบอดีจากวัคซีนชนิดเก่าไม่สามารถเข้าโจมตีได้
การคิดค้นวัคซีนชนิดใหม่ในทุกปีนับว่าเป็นเรื่องที่สิ้นเปลือง ทั้งไม่อาจช่วยป้องกันการแพร่ระบาดของโรคได้ดีนัก ทำให้นักวิทยาศาสตร์เริ่มมองหาวิธีการผลิตวัคซีนที่ป้องกันไข้หวัดได้ทุกสายพันธุ์แบบครอบจักรวาลในครั้งเดียว และพบว่าแอนติบอดีจากลามาสามารถเข้าถึงด้านในของโปรตีนตัวรับบนไวรัส ซึ่งเป็นส่วนที่ไม่ได้เปลี่ยนแปลงไปตามการกลายพันธุ์ ทำให้เข้าโจมตีทำลายเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่ได้หลายชนิดด้วยกัน
มีการทดลองให้ตัวลามาติดเชื้อไข้หวัดหลากหลายชนิด เพื่อให้ร่างกายของมันสร้างแอนติบอดีที่เป็นสารภูมิต้านทานขึ้นมา จากนั้นได้คัดเลือกแอนติบอดีในเลือดลามาที่มีประสิทธิภาพสูงสุด 4 ชนิด และนำไปเป็นต้นแบบในการสังเคราะห์วัคซีนซึ่งผสมผสานข้อดีของแอนติบอดีแต่ละตัวเข้าด้วยกัน
ทีมผู้วิจัยได้ทดสอบวัคซีนนี้กับหนูทดลอง ซึ่งได้รับเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่ที่เป็นอันตรายถึง 60 สายพันธุ์ พบว่าวัคซีนใช้ได้ผลในเกือบทุกกรณี เว้นแต่กับเชื้อไวรัสสายพันธุ์หนึ่งซึ่งไม่ติดต่อสู่คนอยู่แล้ว
อย่างไรก็ตาม การพัฒนาและทดสอบวัคซีนนี้ยังถือว่าอยู่ในขั้นต้นเท่านั้น โดยทีมผู้วิจัยยังต้องการจะทดสอบเพิ่มเติมอีกหลายครั้ง ก่อนจะเริ่มการทดลองระดับคลินิกในมนุษย์ต่อไป