ภูมิคุ้มกันต่อโรคมันอยู่ได้นานแค่ไหนกัน คำตอบเบื้องต้นจากตำราคือหลายปี เพราะมีเซลล์หน่วยความจำ


จากความรู้ทางชีววิทยาพื้นฐาน พอเจอกับ antigen หรือถ้าเรียกให้ถูกก็ immunogen ร่างกายก็จะสร้าง antibodies ผ่าน plasma B cell และ T cell ตามความสามารถของ immunogen นั้น ๆ ว่ากระตุ้นได้ทั้ง Helper T Cell และ Cytotoxic T Cell หรือไม่ อย่างที่ทราบกันวัคซีนเชื้อตายอย่างซิโนแวคและซิโนฟาร์มจากจีนนั้นไร้ความสามารถในการกระตุ้น CTL และ antibodies ที่กระตุ้นได้ก็อยู่ในระดับที่น่าผิดหวังเมื่อเทียบกับวัคซีนประเภทอื่น ๆ

นอกจากนั้นยังมีเซลล์หน่วยความจำเก็บไว้ด้วย ทั้ง memory B cell และ T cell

จากงานศึกษาที่ตีพิมพ์ใน Nature อันนี้ในคนที่ติดเชื้อ ประหนึ่งรับวัคซีนเชื้อเป็นเลย จะเห็นเส้นแดงคือปริมาณแอนติบอดี ผ่านไปแค่ 6 เดือนก็จะเริ่มลดลงแล้ว ส่วนเส้นสีฟ้าคือปริมาณเซลล์หน่วยความจำ ซึ่งจะมีบทบาทอย่างมากในการติดเชื้อครั้งต่อไป

งานทดลองก็ให้ผลที่สอดคล้องกับตำราภูมิคุ้มกันพวกแอนติบอดี เซลล์ภูมิคุ้มกันที่ไม่ใช้มันก็จะฝ่อ apoptosis ตายไป คงไว้แต่พวกเซลล์จดจำ

ทีนี้เซลล์จดจำจะอยู่ได้นานเท่าไร คำตอบคือหลายปีนะ เป็นขั้นต่ำ บางวัคซีนทำได้ 7-10 ปีแนะ

แต่ในช่วงระบาดแบบนี้การมีแอนตีบอดี มี CTL รอไว้เลยก็อาจจัดการกับโรคได้ดีกว่าจึงจำเป็นต้องกระตุ้น เสี่ยงสูงก็ 6 เดือน เสี่ยงน้อยก็ 1 ปี ไม่เสี่ยงเลยก็ 3 ปี ปรับไปตามสถานการณ์ การถูก challenge โดยเชื้อโรคตรง ๆ เลยเพื่อหวังกระตุ้นเซลล์ความจำก็เสี่ยงเกินไปหน่อย แต่ในสัตว์ที่ทดลองโหด ๆ เช่นฉีดเชื้อพิษสุนัขบ้าเข้าไปที่ใต้หนังศีรษะเลยเพื่อ challenge วัคซีนก็มีหลายตัวที่รอดมาได้ หลักฐานสำคัญเลยของการทำงานเซลล์จดจำ

รูปภาพนำมาจากหนังสือชีววิทยาของแคมเบล หนังสือภูมิคุ้มกันของ Abbas และก็ข่าวสั้นโน๊ตย่องานวิจัยของ Nature ครับ อ่านได้ที่ https://www.nature.com/articles/d41586-021-01557-z
แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่