กสทช. ขู่ค่ายมือถือ หากเสนอโปรลับในราคาต่ำกว่าทุน เข้าข่ายกีดกันทางการค้า และผิดกฎหมาย
สำนักข่าวอีไฟแนนซ์ไทย- -5 ก.พ. 59 15:29 น.
น.พ.ประวิทย์ ลี่สถาพรวงศา กรรมการกิจการกระจาย เสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) เปิดเผยว่า หลังการประมูลคลื่นความถี่ 900 MHz ผ่านพ้นไป ค่ายมือถือต่างก็แข่งขันกับรุนแรง มีการยื่นข้อเสนอที่ดีขึ้น เพื่อให้ผู้บริโภคสมัครใจไม่ย้ายค่าย ไม่ว่าการ ลดราคา หรือเพิ่มสิทธิประโยชน์ ซึ่งตามหลักธุรกิจแล้วถือว่าทำได้ เนื่องจากเป็นการสมนาคุณแก่ ลูกค้าของตน
อย่างไรก็ตาม หากมีสภาพเป็น "โปร" แล้ว ย่อมไม่มีคำว่า "ลับ" เพราะ กสทช. กำหนดให้ค่าย มือถือต้องรายงานรายการส่งเสริมการขายให้สำนักงาน กสทช. ทุกเดือน การปกปิดรายการส่ง เสริมการขายย่อมผิดกฎหมาย แต่หากเป็นการสมนาคุณเฉพาะบุคคลโดยไม่มีลักษณะเป็นรายการส่ง เสริมการขายก็ อาจเป็นคนละกรณีกัน
ทั้งนี้ การกำหนดอัตราค่าบริการให้แตกต่างกันในบริการโทรคมนาคมลักษณะและประเภท เดียว กัน เป็นเรื่องผิดกฎหมาย ผู้บริโภคที่ต้องจ่ายแพงกว่าในบริการแบบเดียวกันสามารถร้องเรียน เพื่อจ่ายใน อัตราเดียวกับคนอื่นได้ และผู้ให้บริการก็ควรคำนึงถึงหัวอกของผู้บริโภคที่ยังภักดีและไม่ ขอย้ายค่าย ด้วยว่า เหตุใดในที่สุดต้องจ่ายแพงกว่าคนอื่น
" ที่สำคัญสำหรับสถานการณ์ภายหลังการประมูลคลื่น คือเรามีผู้ให้บริการายใหม่ หากค่ายมือถือเดิม เสนอโปรลับในราคาที่ต่ำกว่าทุน ย่อมเป็นการกีดกันการค้า ส่งผลเป็นการจำกัดการแข่งขันอย่างเป็น ธรรม และในระยะยาวจะก่อให้เกิดการผูกขาดแบบเดิมๆ นับเป็นเรื่องผิดกฎหมาย แม้ดูผิวเผิน เสมือนว่าผู้บริโภคได้รับประโยชน์ (ในระยะสั้น) ก็ตาม ในหลายประเทศแม้แต่ประเทศเพื่อนบ้าน ของเรา ต่างก็เฝ้าระวังการกำหนดราคาแบบ Predatory Pricing เช่นกัน " น.พ.ประวิทย์ กล่าว
ขณะเดียวกัน ต้องยอมรับว่าบริการ 2G ในไทยคงมีระยะเวลาเหลือ อีกเพียงประมาณ 1-2 ปี สุดท้ายแล้วบริการ 2G ในไทยก็จะหยุดลง และคนไทยก็ต้องเปลี่ยน มือถืออย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้
ส่วนสิทธิในการใช้คลื่นย่านนี้ ย่อมตกเป็นของผู้ชนะการประมูลที่มาชำระเงินและได้รับ ใบอนุญาตแล้ว หากมีการขยายระยะเวลาเยียวยาออกไปเกินกว่านั้น ย่อมเป็นการกระทบสิทธิการใช้ คลื่นโดยชอบด้วยกฎหมาย และจะก่อปัญหาตามมาอีกมากมาย
" จึงสรุปได้แต่เพียงว่า มาตรการเยียว ยาผู้บริโภคบนคลื่นความถี่ 900 MHz จะสิ้นสุดในวันที่มีการชำระเงินประมูลและออกใบอนุญาตแล้ว บนบรรทัดฐานเดียวกับการเยียวยาบนคลื่นความถี่ 1800 MHz "น.พ.ประวิทย์ กล่าว
เรียบเรียง โดย ชัชชญา อังคุลี อีเมล์. chatchaya@efinancethai.com
อนุมัติ โดย พิมพ์รภัส ศิริไพรวัน
----------------------------------------------------------------------------------------------
หวังว่าจะเป็นเรื่องจริง บังคับใช้ได้จริงนะครับ
ลูกค้าที่ภักดี แต่ต้องจ่ายแพงกว่า เจ็บปวดมาก
การกำหนดอัตราค่าบริการให้แตกต่างกันในบริการโทรคมนาคมลักษณะเดียวกัน เป็นเรื่องผิดกฎหมาย ผู้บริโภคสามารถร้องเรียนได้
สำนักข่าวอีไฟแนนซ์ไทย- -5 ก.พ. 59 15:29 น.
น.พ.ประวิทย์ ลี่สถาพรวงศา กรรมการกิจการกระจาย เสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) เปิดเผยว่า หลังการประมูลคลื่นความถี่ 900 MHz ผ่านพ้นไป ค่ายมือถือต่างก็แข่งขันกับรุนแรง มีการยื่นข้อเสนอที่ดีขึ้น เพื่อให้ผู้บริโภคสมัครใจไม่ย้ายค่าย ไม่ว่าการ ลดราคา หรือเพิ่มสิทธิประโยชน์ ซึ่งตามหลักธุรกิจแล้วถือว่าทำได้ เนื่องจากเป็นการสมนาคุณแก่ ลูกค้าของตน
อย่างไรก็ตาม หากมีสภาพเป็น "โปร" แล้ว ย่อมไม่มีคำว่า "ลับ" เพราะ กสทช. กำหนดให้ค่าย มือถือต้องรายงานรายการส่งเสริมการขายให้สำนักงาน กสทช. ทุกเดือน การปกปิดรายการส่ง เสริมการขายย่อมผิดกฎหมาย แต่หากเป็นการสมนาคุณเฉพาะบุคคลโดยไม่มีลักษณะเป็นรายการส่ง เสริมการขายก็ อาจเป็นคนละกรณีกัน
ทั้งนี้ การกำหนดอัตราค่าบริการให้แตกต่างกันในบริการโทรคมนาคมลักษณะและประเภท เดียว กัน เป็นเรื่องผิดกฎหมาย ผู้บริโภคที่ต้องจ่ายแพงกว่าในบริการแบบเดียวกันสามารถร้องเรียน เพื่อจ่ายใน อัตราเดียวกับคนอื่นได้ และผู้ให้บริการก็ควรคำนึงถึงหัวอกของผู้บริโภคที่ยังภักดีและไม่ ขอย้ายค่าย ด้วยว่า เหตุใดในที่สุดต้องจ่ายแพงกว่าคนอื่น
" ที่สำคัญสำหรับสถานการณ์ภายหลังการประมูลคลื่น คือเรามีผู้ให้บริการายใหม่ หากค่ายมือถือเดิม เสนอโปรลับในราคาที่ต่ำกว่าทุน ย่อมเป็นการกีดกันการค้า ส่งผลเป็นการจำกัดการแข่งขันอย่างเป็น ธรรม และในระยะยาวจะก่อให้เกิดการผูกขาดแบบเดิมๆ นับเป็นเรื่องผิดกฎหมาย แม้ดูผิวเผิน เสมือนว่าผู้บริโภคได้รับประโยชน์ (ในระยะสั้น) ก็ตาม ในหลายประเทศแม้แต่ประเทศเพื่อนบ้าน ของเรา ต่างก็เฝ้าระวังการกำหนดราคาแบบ Predatory Pricing เช่นกัน " น.พ.ประวิทย์ กล่าว
ขณะเดียวกัน ต้องยอมรับว่าบริการ 2G ในไทยคงมีระยะเวลาเหลือ อีกเพียงประมาณ 1-2 ปี สุดท้ายแล้วบริการ 2G ในไทยก็จะหยุดลง และคนไทยก็ต้องเปลี่ยน มือถืออย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้
ส่วนสิทธิในการใช้คลื่นย่านนี้ ย่อมตกเป็นของผู้ชนะการประมูลที่มาชำระเงินและได้รับ ใบอนุญาตแล้ว หากมีการขยายระยะเวลาเยียวยาออกไปเกินกว่านั้น ย่อมเป็นการกระทบสิทธิการใช้ คลื่นโดยชอบด้วยกฎหมาย และจะก่อปัญหาตามมาอีกมากมาย
" จึงสรุปได้แต่เพียงว่า มาตรการเยียว ยาผู้บริโภคบนคลื่นความถี่ 900 MHz จะสิ้นสุดในวันที่มีการชำระเงินประมูลและออกใบอนุญาตแล้ว บนบรรทัดฐานเดียวกับการเยียวยาบนคลื่นความถี่ 1800 MHz "น.พ.ประวิทย์ กล่าว
เรียบเรียง โดย ชัชชญา อังคุลี อีเมล์. chatchaya@efinancethai.com
อนุมัติ โดย พิมพ์รภัส ศิริไพรวัน
----------------------------------------------------------------------------------------------
หวังว่าจะเป็นเรื่องจริง บังคับใช้ได้จริงนะครับ
ลูกค้าที่ภักดี แต่ต้องจ่ายแพงกว่า เจ็บปวดมาก