ขอสอบถามเกี่ยวกับร่างรธน. มาตรา 269

กระทู้คำถาม
ขอสอบถามเกี่ยวกับร่างรธน. มาตรา 269 บทเฉพาะกาล

http://www.parliament.go.th/ewtcommittee/ewt/draftconstitution2/download/article/article_20160129132217.pdf

ที่ระบุว่านอกจากการปฏิรูปตามมาตรา 267  (การศึกษา) และมาตรา 268 (ข้าราชการตำรวจ) ให้มีการปฏิรูปในเรื่องต่าง ๆ แต่ไม่ได้ระบุว่าเรื่องใดบ้าง ซึ่งในมาตรา 258 ระบุว่า ให้สภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศอยู่ปฎิบัติหน้าที่เพื่อดำเนินการในมาตรา 269
อยากทราบว่าได้มีการเสนอให้ปฏิรูปเรื่องใดอีกบ้าง หรือไปดูข้อมูลได้ที่ไหนคะ

ปล. ขอชื่นชมทางพันทิปที่นำ “ ร่างเบื้องต้นรธน. รายมาตรา” และ “แกะกล่องรัฐธรรมนูญนี้มีอะไรใหม่” มาใส่ไว้หน้าบอร์ดห้องราช ฯ  

พาพันขอบคุณ
แก้ไขข้อความเมื่อ
คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 4
ก่อนอื่น ขอทักท้วง จขกท ตี๊ดนึงนะคะ
มาตรา 269 ในร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้อยู่ใน บทเฉพาะกาล ค่ะ

              ยิ้มยิ้ม

สภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศมีเวลา 1 ปี นับแตวันที่รัฐธรรมนูญนี้ใชบังคับ
เพื่อดําเนินการตามมาตรา 269


คำถามของ จขกท คงจะหมายถึงตรงที่ขีดเส้นเอาไว้


ซึ่งก็น่าจะเป็นอันนี้ ที่มีเยอะมว๊ากกก อ่านกันตาเหล่เลยล่ะค่ะ
แต่ต้องขออภัยที่หาลิ๊งค์ไม่เจอค่ะ


ให้มีการปฏิรูปกฎหมายและกระบวนการยุติธรรมตามแนวทางดังต่อไปนี้
(๑) เพื่อให้ประชาชนเข้าถึงกฎหมายและกฎโดยง่าย ให้ตรากฎหมายว่าด้วยการจัดทาประมวลกฎหมายเพื่อรวบรวมและปรับปรุงกฎหมายและกฎในเรื่องต่างๆ ไว้อย่างครบถ้วนและทันสมัยขึ้นเผยแพร่ให้ประชาชนทราบเป็นการทั่วไป
(๒) เพื่อให้ประชาชนผู้มีรายได้น้อยได้รับความช่วยเหลือทางกฎหมายและคดี ให้ตรากฎหมายว่าด้วย การให้ความช่วยเหลือทางกฎหมายและคดี โดยมีหน่วยงานที่ให้คาแนะนาทางกฎหมายที่จาเป็นแก่ประชาชนอย่างทั่วถึง จัดทนายความที่มีความสามารถทางคดีอย่างแท้จริงเพื่อดาเนินคดีทางแพ่ง ทางอาญา และทางปกครองให้ประชาชนผู้มีรายได้น้อย รวมทั้งจัดตั้งกองทุนให้ความช่วยเหลือทางกฎหมายและคดีขึ้นเพื่อการดังกล่าว โดยสนับสนุนให้ประชาชนและองค์กรวิชาชีพมีส่วนร่วมในการดาเนินการดังกล่าวด้วย
(๓) ให้คณะกรรมการปฏิรูปกฎหมายมีหน้าที่และอานาจเสนอให้สภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศพิจารณายกเลิกหรือปรับปรุงกฎหมายหรือกฎ แล้วแต่กรณี ที่จากัดสิทธิหรือเสรีภาพของประชาชนโดยไม่จาเป็น หรือสร้างภาระหรือขั้นตอนโดยไม่จาเป็น
(๔) ปรับปรุงกฎหมายที่กาหนดเรื่องการออกใบอนุญาตที่มีลักษณะเป็นการผูกขาด ให้สัมปทาน หรือให้สิทธิในการประกอบกิจการ โดยให้ใช้วิธีประมูลโดยเปิดเผยเป็นหลัก เว้นแต่มีความจาเป็น คณะรัฐมนตรีอาจมีมติให้ดาเนินการด้วยวิธีอื่นได้โดยต้องประกาศเหตุผลให้ทราบเป็นการทั่วไป ใบอนุญาตใดที่ไม่ได้มีการดาเนินการตามที่ได้รับอนุญาตไว้แล้วโดยไม่มีเหตุผลอันสมควร ให้ถือว่าใบอนุญาตนั้นเป็นอันสิ้นสุดลง และให้หน่วยงานของรัฐที่มีอานาจออกใบอนุญาตมีหน้าที่ต้องพิสูจน์ความจาเป็นของการมีใบอนุญาตนั้นต่อรัฐสภาทุกห้าปี
(๕) ปฏิรูปกฎหมายว่าด้วยกระบวนการยุติธรรมทางเลือก กระบวนการยุติธรรมเชิงสมานฉันท์ รวมทั้งการระงับข้อพิพาทระหว่างประชาชนโดยกระบวนการยุติธรรมชุมชนหรือการประนีประนอมข้อพิพาทระดับชุมชน เพื่อให้มีการบูรณาการเกี่ยวกับกลไกและกระบวนการในการดาเนินการในเรื่องดังกล่าว
(๖) ให้มีกลไกในการบังคับคดีทางแพ่งที่มีประสิทธิภาพในสังกัดศาลยุติธรรม ทาหน้าที่บังคับให้เป็นไปตามคาพิพากษาและคาสั่งของศาลยุติธรรมตามที่กฎหมายบัญญัติ รวมทั้งให้มีมาตรการและกลไกในการบังคับคดีปกครองที่มีประสิทธิภาพตามคาพิพากษาและคาสั่งของศาลปกครองตามกฎหมายว่าด้วยการจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครองด้วย
(๗) ให้จัดการศึกษาอบรมเพื่อปลูกฝังให้ประชาชนเคารพกฎหมาย ยกย่องผู้ปฏิบัติตามกฎหมายอย่างเคร่งครัด ตรงไปตรงมา และลงโทษเจ้าหน้าที่ของรัฐซึ่งละเลยไม่บังคับใช้กฎหมายให้เกิดประสิทธิผลอย่างจริงจัง
(๘) ปฏิรูปโครงสร้างและอานาจหน้าที่ของสานักงานตารวจแห่งชาติ โดยโอนภารกิจของสานักงานตารวจแห่งชาติที่มิใช่ภารกิจหลักของตารวจไปให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องดาเนินการ กาหนดมาตรการเพื่อปูองกันการแทรกแซงของฝุายการเมืองในกระบวนการยุติธรรม กาหนดเกณฑ์มาตรฐานการแต่งตั้งหรือย้ายข้าราชการตารวจให้เป็นไปตามหลักคุณธรรม กระจายอานาจการบริหารงานตารวจไปสู่ระดับจังหวัดและสร้างกระบวนการมีส่วนร่วมของประชาชนในกิจการตารวจ ปรับปรุงระบบงานสอบสวนให้มีความเป็นอิสระแยกออกจากสานักงานตารวจแห่งชาติ และให้พนักงานอัยการ ผู้ว่าราชการจังหวัด และนายอาเภอมีอานาจสอบสวนร่วมกับหน่วยงานด้านการสอบสวนในกรณีที่ประชาชนร้องขอความเป็นธรรม ปรับปรุงระบบงานด้านนิติวิทยาศาสตร์ในสานักงานตารวจแห่งชาติให้มีความเป็นอิสระและมีประสิทธิภาพมากขึ้น และมีระบบบริหารงานบุคคลที่ยึดหลักความรู้ความชานาญเฉพาะทาง และจัดสรรและกระจายอานาจการบริหารงบประมาณให้แก่หน่วยปฏิบัติงานในพื้นที่ให้เพียงพอและสามารถปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ

--------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

ให้มีการปฏิรูปด้านการเงิน การคลัง และภาษีอากร ตามแนวทางดังต่อไปนี้
(๑) จัดระบบภาษีเป็นสองระดับ คือ ระดับชาติและระดับท้องถิ่น และดาเนินการให้องค์กรบริหาร ท้องถิ่นมีรายได้ที่จาเป็นแก่การใช้จ่ายของท้องถิ่น และมีระบบการตรวจสอบการใช้งบประมาณที่มีประสิทธิภาพ ทั้งนี้ ตามที่กฎหมายบัญญัติ
(๒) ให้มีกฎหมายกาหนดให้บุคคลต้องแสดงรายได้ของตนต่อหน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้ผู้มีรายได้ทุกคนเข้าสู่ระบบภาษีอย่างครบถ้วนสมบูรณ์ เพื่อให้ได้ข้อมูลที่รัฐจะนาไปใช้ประกอบการพิจารณาให้ความช่วยเหลือแก่ผู้มีรายได้ไม่เพียงพอ และให้ผู้ซึ่งได้เสียภาษี มีสิทธิประโยชน์ตามกฎหมาย
(๓) ปรับปรุงระบบภาษีให้เกิดประสิทธิภาพ เป็นกลาง เป็นธรรม และลดความเหลื่อมล้าทางเศรษฐกิจ โดยการพิจารณายกเลิกมาตรการลดหย่อนหรือยกเว้นภาษีต่างๆ ให้เหลือน้อยที่สุด
(๔) จัดให้มีระบบบานาญแห่งชาติเพื่อให้ครอบคลุมกลุ่มประชากรที่ยังไม่ได้อยู่ในระบบบานาญให้ดารงชีพได้อย่างเพียงพอและยั่งยืน
ให้มีคณะกรรมการปฏิรูปการเงิน การคลัง และภาษีอากรที่เป็นอิสระภายในหนึ่งปีนับแต่วันประกาศใช้รัฐธรรมนูญนี้ ประกอบด้วยตัวแทนจากภาครัฐ ภาคเอกชน และภาควิชาการ ในสัดส่วนที่เหมาะสม มีอานาจ หน้าที่ศึกษา วิเคราะห์ และเสนอแนะการปรับปรุงกฎหมายการเงิน การคลัง และภาษีอากร เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพ ความเป็นกลาง ความเป็นธรรม และลดความเหลื่อมล้าทางเศรษฐกิจและสังคมได้อย่างเหมาะสม รวมทั้งเพื่อเป็นการเพิ่มฐานภาษีประเภทต่าง ๆ และอานาจหน้าที่อื่น ทั้งนี้ ตามที่กฎหมายบัญญัติ

---------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

ให้มีการปฏิรูปด้านการบริหารราชการแผ่นดินตามแนวทางดังต่อไปนี้
(๑) การบริหารราชการแผ่นดินและการจัดสรรงบประมาณต้องดาเนินการตามยุทธศาสตร์ชาติในระยะยาวและแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
(๒) กาหนดขอบเขตภารกิจอานาจหน้าที่ของหน่วยงานของรัฐในการบริหารราชการแผ่นดินในลักษณะกลุ่มภารกิจ การบริหารราชการภาคและพื้นที่อื่น ให้ชัดเจนและสัมพันธ์กันแบบบูรณาการ โดยยึดการมีส่วนร่วมและประโยชน์สุขของประชาชนเป็นหลัก
(๓) สร้างระบบและกลไกในการบริหารราชการแผ่นดินโดยเน้นการให้บริการผ่านระบบสารสนเทศ
(๔) ทบทวนภารกิจและบริการสาธารณะที่หน่วยงานของรัฐจัดทาอยู่เพื่อลดและขจัดความซ้าซ้อนระหว่างกัน ภารกิจและบริการสาธารณะใดที่อาจให้องค์การภาคเอกชน องค์การเอกชน หรือองค์กรบริหารท้องถิ่นจัดทาได้โดยมีคุณภาพและมาตรฐานที่ไม่ต่ากว่าที่จัดทาโดยหน่วยงานของรัฐ และมีราคาที่ไม่สูงเกินสมควร หน่วยงานของรัฐต้องยุติการดาเนินการและถ่ายโอนภารกิจและบริการนั้นให้องค์การภาคเอกชน องค์การเอกชน หรือองค์กรบริหารท้องถิ่น เป็นผู้ดาเนินการ
(๕) ให้มีองค์กรบริหารการพัฒนาภาคทาหน้าที่สนับสนุนการพัฒนาจังหวัดต่างๆ ที่ตั้งอยู่ในภาคและกากับดูแลหน่วยงานของรัฐในพื้นที่ จัดทาแผนและบริหารงบประมาณแบบพื้นที่เพื่อดาเนินการพัฒนาภาคที่สอดคล้องกับแผนพัฒนาประเทศ ซึ่งไม่ซ้าซ้อนกับงานของจังหวัดและองค์กรบริหารท้องถิ่น ประสานการพัฒนาพื้นที่บริหารงานระหว่างราชการส่วนกลาง ส่วนภูมิภาค และส่วนท้องถิ่น ให้เกิดการพัฒนาอย่างบูรณาการและยั่งยืนของการพัฒนาในระดับพื้นที่ของหลายจังหวัด ทั้งนี้ ตามที่กฎหมายบัญญัติ
(๖) ให้มีคณะกรรมการอิสระว่าด้วยค่าตอบแทนบุคลากรภาครัฐ ทาหน้าที่ศึกษา วิเคราะห์ เทียบเคียง ค่าตอบแทน ซึ่งรวมทั้งเงินเดือน สวัสดิการ และประโยชน์ตอบแทนอื่นทุกประเภทของเจ้าหน้าที่ของรัฐทุก ประเภทและทุกระดับ กับค่าตอบแทนในภาคเอกชน และแจ้งให้รัฐสภาและคณะรัฐมนตรีทราบ แล้วประกาศให้ทราบเป็นการทั่วไปทุกระยะ ทั้งนี้ ตามที่กฎหมายบัญญัติ

---------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

ให้มีการปฏิรูปการศึกษาเพื่อพัฒนาคนให้เป็นพลเมืองดี มีความรู้ความสามารถ โดยยึดหลักดังต่อไปนี้
(๑) กระจายอานาจการจัดการศึกษาโดยลดบทบาทของรัฐจากการเป็นผู้จัดการศึกษาให้เป็นผู้จัดให้มีการศึกษา ส่งเสริม สนับสนุน รวมทั้งกากับนโยบาย แผน มาตรฐาน และติดตามประเมินผลการจัดการศึกษา และส่งเสริมให้สถานศึกษาสามารถบริหารจัดการการศึกษาได้อย่างมีอิสระ มีประสิทธิภาพ และรับผิดชอบต่อผลการจัดการศึกษา ทั้งนี้ โดยให้เอกชน ชุมชน และองค์กรบริหารท้องถิ่น มีส่วนร่วมอย่างเหมาะสมด้วย
(๒) จัดสรรค่าใช้จ่ายรายหัวโดยตรงแก่ผู้เรียนทุกคนอย่างพอเพียงตามความจาเป็นและเหมาะสมของผู้เรียน สาหรับการศึกษาระดับปฐมวัยจนถึงระดับมัธยม ทั้งการศึกษาสายสามัญและสายอาชีพ
(๓) ปรับปรุงระบบการพัฒนาเด็กปฐมวัยตั้งแต่อยู่ในครรภ์มารดา โดยยกระดับความรู้ให้กับผู้เลี้ยงดูให้มีสมรรถนะและสัมพันธภาพที่เหมาะสมในการเลี้ยงดูเด็กเล็กก่อนวัยเรียนให้เกิดพัฒนาการที่สมบูรณ์ มีความพร้อมเพื่อการเรียนรู้ทุกมิติทั้งด้านกาย จิตใจ สติปัญญา อารมณ์ และสังคม
(๔) ปรับปรุงการอาชีวศึกษาไปสู่ระบบการผลิตและพัฒนาบุคลากรภาคการผลิตที่มีทักษะ มีสมรรถนะในการประกอบอาชีพตรงตามความต้องการและสาขาที่ขาดแคลน
(๕) ปรับปรุงระบบอุดมศึกษาให้การจัดการเรียนรู้และการสร้างองค์ความรู้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ มีความสามารถในการแข่งขันกับต่างประเทศและเสริมสร้างสมรรถนะด้านวิชาการเพื่อรับใช้สังคม
(๖) พัฒนาระบบการเรียนรู้โดยเน้นกระบวนการคิด การใช้เหตุผล และการเรียนรู้ด้วยการลงมือปฏิบัติ รวมทั้งส่งเสริมสภาพแวดล้อมทางการเรียนรู้และสื่อสาธารณะด้านการศึกษา ส่งเสริมการศึกษาด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ควบคู่กับการศึกษาด้านศิลปะ วัฒนธรรม ภาษา ศาสนา และพลเมืองศึกษา เพื่อบ่มเพาะจิตสานึกความเป็นพลเมืองที่ดี มีคุณธรรม จริยธรรม และธรรมาภิบาลของคนไทยทุกระดับ รวมทั้งเพื่อให้รู้เท่าทันการเปลี่ยนแปลงของสังคมโลก และสามารถสร้างสังคมแห่งปัญญา
(๗) ปรับปรุงระบบการผลิต การพัฒนา และการประเมินครู อาจารย์ และบุคลากรทางการศึกษา โดยอาศัยผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษาของผู้เรียน ทั้งนี้ การผลิตต้องเน้นคุณลักษณะและสมรรถนะที่มีความเหมาะสมกับแต่ละระดับการศึกษา
(๘) พัฒนาระบบธรรมาภิบาลในวงการศึกษาเพื่อแก้ไขปัญหาทุจริตและประพฤติมิชอบ โดยจัดให้มีระบบตรวจสอบความโปร่งใสของการบริหารและการจัดการศึกษาทุกระดับ
(๙) ปรับระบบการทดสอบและประเมินผลการศึกษา ให้เป็นการทดสอบการเรียนรู้ ความถนัด และคุณลักษณะผู้เรียนที่ครบทุกมิติเพื่อพัฒนาผู้เรียน ส่วนการประเมินคุณภาพสถานศึกษาให้เป็นการประเมินเพื่อพัฒนาและรับรองคุณภาพ
(๑๐) ปรับปรุงโครงสร้างการบริหารการศึกษาทั้งระดับชาติ ระดับพื้นที่ และระดับท้องถิ่น เพื่อยกระดับคุณภาพและประสิทธิภาพการศึกษาและพัฒนามนุษย์ และเอื้ออานวยให้การปฏิรูปการศึกษาและพัฒนามนุษย์บรรลุผล
(๑๑) ปรับปรุงให้สภาวิชาชีพมีอานาจเฉพาะในการรับรองหลักสูตรที่อยู่ในความรับผิดชอบ โดยไม่กระทบต่อเสรีภาพทางวิชาการของสถาบันอุดมศึกษา
(๑๒) ให้มีการจัดทาประมวลกฎหมายการศึกษา โดยมีการปรับปรุงกฎหมายว่าด้วยการศึกษาแห่งชาติ กฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ กฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา และกฎหมายว่าด้วยสภาครูและบุคลากรทางการศึกษา รวมทั้งกฎหมายเกี่ยวกับมาตรฐานและการประกันคุณภาพการศึกษา การจัดสรรทรัพยากรทางการศึกษา และการให้ประชาชน ชุมชน องค์การภาคเอกชน และองค์การเอกชน มีส่วนร่วมอย่างแท้จริงในการบริหารการศึกษา ทั้งนี้ เพื่อให้เป็นไปตามความในมาตรานี้

ข้อนี้ยังมีต่ออีกหน่อย แต่คงจะหมดโควต้าตัวอ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่