หากใครเบื่อจขกท และไม่ต้องการสนทนาแบบอวดเก่ง กรุณาปิดกระทู้นี้ไปได้เลย
จขกท อยากให้มีคนมาอวดเก่งใส่ แต่ขอให้อยู่บนความสุภาพ
ปล กรุณา ปรับระดับความสุภาพ จนถึงขีดสุด เท่าที่คุณจะทำได้ ขอบคุณ
หนังสือ “ความยุติธรรม” มาถูกที่ถูกเวลาเป็นอย่างยิ่ง สำหรับคนไทย
http://ppantip.com/topic/34746957
โดย สมาชิกหมายเลข 2191437
อย่างไรก็ดี คุณูปการประการหนึ่งของความอึมครึมและแตกแยกในสังคม คือ คำว่า “ความยุติธรรม” ถูกพูดถึงอย่างไม่เคยปรากฏมาก่อนในแทบทุกระดับชั้น ตั้งแต่ผู้นำประเทศจนถึงคนเดินดิน แม่ค้าถกเรื่อง “ตุลาการภิวัตน์” กับลูกค้าระหว่างตักข้าวแกงใส่จาน คนทั่วไปโดยเฉพาะผู้ใส่เสื้อสีที่ “ตื่นตัวทางการเมืองอย่างฉับพลัน” ตามวาทะของอาจารย์เกษียร เตชะพีระ ถกเถียงเรื่องความยุติธรรมทางสังคมอย่างหน้าดำครํ่าเครียด และบางทีก็ถึงขั้นลงไม้ลงมือ
แต่ไม่ว่าเราจะถกเรื่องความยุติธรรมกันมากเพียงใด สิ่งที่ยังพบเห็นน้อยมากในทัศนะของผู้แปลคือ การถกเถียงอย่างรอบด้าน เคารพซึ่งกันและกัน และพยายามให้ความเป็นธรรมกับทุกฝ่าย อันล้วนเป็นปัจจัยที่จำเป็นต่อการเดินสู่ “ความยุติธรรม” ที่แท้จริง
.....
.....
การเที่ยวแขวน “ป้าย” ง่ายๆ เหล่านี้ให้กับผู้คิดต่าง ทำให้คนจำนวนมากไม่ถกกันอย่างเปิดใจและตรงไปตรงมา หมกมุ่นกับการใช้วาทศิลป์สร้างวาทกรรมด้านเดียวมาสนับสนุนการต่อสู้ทางการเมือง อาทิ เศรษฐกิจพอเพียง ชุมชนเข้มแข็ง ประชานิยม ทุนโลกาภิวัตน์ ฯลฯ ทั้งที่ในโลกแห่งความจริง สิ่งที่คำเหล่านี้อธิบาย ไม่ได้มีแต่ด้านบวกหรือด้านลบเพียงด้านเดียว และคำหลายคำที่ถูกหยิบขึ้นมาใช้เป็นอาวุธทางความคิดนั้น แท้จริงสามารถใช้ร่วมกันได้อย่างไม่เคอะเขินเพื่ออธิบายความจริง เช่น กลุ่มการเงินชุมชนหลายกลุ่มใช้หลักเศรษฐกิจพอเพียงช่วยเหลือ
ชาวบ้านที่เป็นหนี้สินล้นพ้นตัวได้สำเร็จ เสร็จแล้วก็นำเงินกู้ในนโยบาย “ประชานิยม” อย่างเช่นกองทุนเอสเอ็มแอล มาช่วยให้พวกเขาได้ก่อร่างสร้างตัวขึ้นมาใหม่
ความยุติธรรมจะบังเกิดได้อย่างไร ในเมื่อเรายังไม่เข้าใจกัน
เราจะเข้าใจกันได้อย่างไร ในเมื่อเรายังไม่ให้ความยุติธรรมแม้กับถ้อยคำ ล่ามโซ่ตีกรอบความหมายของมันอย่างคับแคบด้วยวาทกรรมที่ใช้ฟาดฟันทางการเมือง แบ่งโลกออกเป็นขาว – ดำ ทั้งที่โลกจริงหลากหลายกว่านั้น ซับซ้อนกว่านั้น และมีความหวังมากกว่านั้น
เอาแค่นี้ก่อน
เราคงต้องยอมรับกันว่า ฝั่งฟากทางการเมืองนั้น ทุกวันนี้ ต่างประดิษฐ์วาทกรรมหรือสโลแกนขึ้นมาเพื่อให้เป็น viral หรือปากต่อปากกันไปได้ง่าย โดยความหมาย และความจริงของคำเหล่านั้น ถูกมองอย่างฉาบฉวยและชี้เป้าไปที่ผลประโยชน์ทางการเมืองแทน เช่น เหล่าคนดี เหล่าคนรักประชาธิปไตย ฝักใฝ่เผด็จการ หรือเผด็จการรัฐสภา วาทกรรมเหล่านี้ ถูกยกขึ้นมาเพื่อโจมตีฝ่ายตรงข้าม สร้างสิทธิให้ตนเอง จนกระทั่ง ฝ่ายตรงข้ามทางการเมือง ทำเป็นต้องสร้างวาทกรรมใหม่ๆ ขึ้นมากระทบกระเทียบต่อวาทกรรมนั้นๆ
เช่นคำว่า คอรัปชั่น จริงๆแล้ว การคอรัปชั่นนั้น ไม่ได้ถูกมองที่ ใครถูกกล่าวหา แต่ต้องวัดที่ถูกตัดสิน และการคอรัปชั่น ก็เป็นการส่อเจตนา มีผลประโยชน์ทับซ้อนต่อรัฐ ซึ่งในทางการดำเนินชีวิตทั่วไปไม่ผิดกฏหมาย ดังนั้น ที่ถูกต้องคือ ผู้แทน หรือสส ถูกกล่าวหาในข้อหาคอรัปชั่น แต่อาจจะไม่ใช่การโกง แต่คนก็ใช้คำว่าโกงเพื่อทำลายฝ่ายตรงข้าม
ทั้งนี้ทั้งนั้น เมื่อการอธิบายไม่สัมฤทธิ์ผล การประชดด้วยวาทกรรม จึงเกิดขึ้นอีก เช่น
โกง แต่ประชาชนได้ประโยช์ ดีกว่า ไม่โกง แต่ประชาชนไม่ได้อะไร
ซึ่งประโยคนี้ผิดตั้งแต่คำว่าโกง
1. การโกงนั้น ไม่ควรถูกยอมรับจากผู้ในในสังคม
2. การคอรัปชั่น ไม่ใช่การโกง **เสมอไป**
3. ไม่โกง เป็นคำพูดที่ไม่ถูก เพราะการเรียกคนโกงคือผิดตั้งแต่แรก
4. ไม่ทำประโยชน์อะไร ก็ไม่ใช่ข้อมูลที่ถูกค้อง
5. คนไม่โกงที่ว่า อาจจะโกงก็ได้
ฯลฯ
แต่ก็เป็นคำที่ถูกใช้โดยทั่วไป โดยรากของความหมายในวาทกรรมนั้นๆ ไม่ถูกนำมาถกเถียงแต่อย่างใด
เป็นกระทู้ที่น่าสนใจมาก "หนังสือ ความยุติธรรม" (1) [กระทู้หาคนคุยแบบยาวๆ ไม่ว่างโปรดข้าม]
จขกท อยากให้มีคนมาอวดเก่งใส่ แต่ขอให้อยู่บนความสุภาพ
ปล กรุณา ปรับระดับความสุภาพ จนถึงขีดสุด เท่าที่คุณจะทำได้ ขอบคุณ
หนังสือ “ความยุติธรรม” มาถูกที่ถูกเวลาเป็นอย่างยิ่ง สำหรับคนไทย
http://ppantip.com/topic/34746957
โดย สมาชิกหมายเลข 2191437
อย่างไรก็ดี คุณูปการประการหนึ่งของความอึมครึมและแตกแยกในสังคม คือ คำว่า “ความยุติธรรม” ถูกพูดถึงอย่างไม่เคยปรากฏมาก่อนในแทบทุกระดับชั้น ตั้งแต่ผู้นำประเทศจนถึงคนเดินดิน แม่ค้าถกเรื่อง “ตุลาการภิวัตน์” กับลูกค้าระหว่างตักข้าวแกงใส่จาน คนทั่วไปโดยเฉพาะผู้ใส่เสื้อสีที่ “ตื่นตัวทางการเมืองอย่างฉับพลัน” ตามวาทะของอาจารย์เกษียร เตชะพีระ ถกเถียงเรื่องความยุติธรรมทางสังคมอย่างหน้าดำครํ่าเครียด และบางทีก็ถึงขั้นลงไม้ลงมือ
แต่ไม่ว่าเราจะถกเรื่องความยุติธรรมกันมากเพียงใด สิ่งที่ยังพบเห็นน้อยมากในทัศนะของผู้แปลคือ การถกเถียงอย่างรอบด้าน เคารพซึ่งกันและกัน และพยายามให้ความเป็นธรรมกับทุกฝ่าย อันล้วนเป็นปัจจัยที่จำเป็นต่อการเดินสู่ “ความยุติธรรม” ที่แท้จริง
.....
.....
การเที่ยวแขวน “ป้าย” ง่ายๆ เหล่านี้ให้กับผู้คิดต่าง ทำให้คนจำนวนมากไม่ถกกันอย่างเปิดใจและตรงไปตรงมา หมกมุ่นกับการใช้วาทศิลป์สร้างวาทกรรมด้านเดียวมาสนับสนุนการต่อสู้ทางการเมือง อาทิ เศรษฐกิจพอเพียง ชุมชนเข้มแข็ง ประชานิยม ทุนโลกาภิวัตน์ ฯลฯ ทั้งที่ในโลกแห่งความจริง สิ่งที่คำเหล่านี้อธิบาย ไม่ได้มีแต่ด้านบวกหรือด้านลบเพียงด้านเดียว และคำหลายคำที่ถูกหยิบขึ้นมาใช้เป็นอาวุธทางความคิดนั้น แท้จริงสามารถใช้ร่วมกันได้อย่างไม่เคอะเขินเพื่ออธิบายความจริง เช่น กลุ่มการเงินชุมชนหลายกลุ่มใช้หลักเศรษฐกิจพอเพียงช่วยเหลือ
ชาวบ้านที่เป็นหนี้สินล้นพ้นตัวได้สำเร็จ เสร็จแล้วก็นำเงินกู้ในนโยบาย “ประชานิยม” อย่างเช่นกองทุนเอสเอ็มแอล มาช่วยให้พวกเขาได้ก่อร่างสร้างตัวขึ้นมาใหม่
ความยุติธรรมจะบังเกิดได้อย่างไร ในเมื่อเรายังไม่เข้าใจกัน
เราจะเข้าใจกันได้อย่างไร ในเมื่อเรายังไม่ให้ความยุติธรรมแม้กับถ้อยคำ ล่ามโซ่ตีกรอบความหมายของมันอย่างคับแคบด้วยวาทกรรมที่ใช้ฟาดฟันทางการเมือง แบ่งโลกออกเป็นขาว – ดำ ทั้งที่โลกจริงหลากหลายกว่านั้น ซับซ้อนกว่านั้น และมีความหวังมากกว่านั้น
เอาแค่นี้ก่อน
เราคงต้องยอมรับกันว่า ฝั่งฟากทางการเมืองนั้น ทุกวันนี้ ต่างประดิษฐ์วาทกรรมหรือสโลแกนขึ้นมาเพื่อให้เป็น viral หรือปากต่อปากกันไปได้ง่าย โดยความหมาย และความจริงของคำเหล่านั้น ถูกมองอย่างฉาบฉวยและชี้เป้าไปที่ผลประโยชน์ทางการเมืองแทน เช่น เหล่าคนดี เหล่าคนรักประชาธิปไตย ฝักใฝ่เผด็จการ หรือเผด็จการรัฐสภา วาทกรรมเหล่านี้ ถูกยกขึ้นมาเพื่อโจมตีฝ่ายตรงข้าม สร้างสิทธิให้ตนเอง จนกระทั่ง ฝ่ายตรงข้ามทางการเมือง ทำเป็นต้องสร้างวาทกรรมใหม่ๆ ขึ้นมากระทบกระเทียบต่อวาทกรรมนั้นๆ
เช่นคำว่า คอรัปชั่น จริงๆแล้ว การคอรัปชั่นนั้น ไม่ได้ถูกมองที่ ใครถูกกล่าวหา แต่ต้องวัดที่ถูกตัดสิน และการคอรัปชั่น ก็เป็นการส่อเจตนา มีผลประโยชน์ทับซ้อนต่อรัฐ ซึ่งในทางการดำเนินชีวิตทั่วไปไม่ผิดกฏหมาย ดังนั้น ที่ถูกต้องคือ ผู้แทน หรือสส ถูกกล่าวหาในข้อหาคอรัปชั่น แต่อาจจะไม่ใช่การโกง แต่คนก็ใช้คำว่าโกงเพื่อทำลายฝ่ายตรงข้าม
ทั้งนี้ทั้งนั้น เมื่อการอธิบายไม่สัมฤทธิ์ผล การประชดด้วยวาทกรรม จึงเกิดขึ้นอีก เช่น
โกง แต่ประชาชนได้ประโยช์ ดีกว่า ไม่โกง แต่ประชาชนไม่ได้อะไร
ซึ่งประโยคนี้ผิดตั้งแต่คำว่าโกง
1. การโกงนั้น ไม่ควรถูกยอมรับจากผู้ในในสังคม
2. การคอรัปชั่น ไม่ใช่การโกง **เสมอไป**
3. ไม่โกง เป็นคำพูดที่ไม่ถูก เพราะการเรียกคนโกงคือผิดตั้งแต่แรก
4. ไม่ทำประโยชน์อะไร ก็ไม่ใช่ข้อมูลที่ถูกค้อง
5. คนไม่โกงที่ว่า อาจจะโกงก็ได้
ฯลฯ
แต่ก็เป็นคำที่ถูกใช้โดยทั่วไป โดยรากของความหมายในวาทกรรมนั้นๆ ไม่ถูกนำมาถกเถียงแต่อย่างใด