อาถรรพ์ Magic Number
โดย ผศ.ดร.จิรศิลป์ จยาวรรณ
การประมูลคลื่นความถี่เพื่อใช้ในกิจการ 4G ของประเทศไทยที่ผ่านมาล่าสุดทั้งสองย่านความถี่คือ 1800 และ 900 MHz. ในช่วงเดือนพฤศจิกายนและ ธันวาคมที่ผ่านมาถือว่าได้สร้างความฮือฮาและสร้างประวัติศาสตร์หน้าใหม่ให้กับวงการโทรคมนาคมโลกเลยก็ว่าได้ เพราะราคาค่าประมูลคลื่นย่าน 900 MHz มีมูลค่าสูงกว่าแสนห้าหมื่นล้านบาท
การประมูลในครั้งนี้เป็นที่ทราบกันว่า เราได้ผู้ประกอบการรายใหม่นับเป็นรายที่สี่ของอุตสากรรมโทรคมนาคมไทย ในอดีตคงทราบกันดีว่าประเทศไทยเราเคยมีผู้ให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ถึงสี่ราย แต่สุดท้ายก็เป็นที่ทราบกันดีว่าเหลืออยู่แค่สามรายในปัจจุบัน ฟังดูเผินๆ ก็คงไม่แปลกอะไรเพราะธุรกิจย่อมมีการเปลี่ยนแปลงทั้งเพิ่มและลดอยู่ตลอดเวลาแต่ผู้ให้บริการโทรคมนาคมหลายๆประเทศก็มีอยู่ประมาณสามรายเป็นส่วนมาก เพราะความบังเอิญใช่หรือไม่?
ไม่น่าแปลกใจว่าทำไม่ผู้ประกอบการในหลายๆ ประเทศจึงมีอยู่แค่สามราย จนบางครั้งเรียกว่า Magic Number….
ความเป็นจริงแล้วมีหลักวิชาการสนับสนุนอยู่…มีนักเศรษฐศาสตร์โทรคมนาคมอยู่หลายสำนักได้เคยกล่าวไว้ว่า “ผู้ประกอบการโทรคมนาคมในตลาดโทรศัพท์เคลื่อนที่จะอยู่รอดในอุตสาหกรรมได้จะต้องมีส่วนแบ่งทางการตลาดไม่น้อยกว่า 25 เปอร์เซ็นต์” แปลภาษาชาวบ้านว่า ถ้ามีผู้ประกอบการสี่รายในตลาดอุตสาหกรรม แลัวเขาจะอยู่รอดได้แสดงว่าทั้งสี่ผู้ประกอบการจะต้องมีส่วนแบ่งตลาดที่รายละ 25 เปอร์เซ็นต์พอดี ถ้ารายใดรายหนึ่งได้ส่วนแบ่งมากกว่าหนึ่งในสี่ นั่นหมายถึงว่า ต้องมีผู้เล่นอย่างน้อยหนึ่งรายได้ไม่ถึง 25 เปอร์เซ็นต์ หรือไปไม่รอดในอุตสาหกรรมนี้.. กรณีลักษณะนี้เกิดขึ้นในหลายประเทศและมีกรณีศึกษาสามารถหาอ่านได้อยู่พอสมควร เช่นในฮ่องกง ที่เปิดให้มีการแข่งขันอย่างเต็มที่แบบไม่จำกัดจำนวนผู้ประกอบการ สุดท้ายก็ยุบเหลืออยู่แค่สามรายเช่นกัน เป็นต้น จึงไม่น่าแปลกใจว่าทำไม่ผู้ประกอบการในหลายๆ ประเทศจึงมีอยู่แค่สามราย จนบางครั้งเรียกว่า Magic Number….
อย่างไรก็ตามผู้เขียนไม่ได้บอกว่ากรณีของ 4G ประเทศไทยครั้งนี้จะต้องมีรายหนึ่งรายใดออกไปจากธุรกิจ เพราะในความเป็นจริงยังมีอีกหลายปัจจัยที่เกี่ยวข้องและไม่จำเป็นว่า ผู้ประกอบการจะต้องทำธุรกิจโทรศัพท์เคลื่อนที่อย่างเดียว อาจทำธุรกิจอื่นที่เกี่ยวข้องควบคู่ไปด้วย และในปัจจุบันการหลอมรวมของเทคโนโลยีก็ทำให้ผู้ประกอบการสามารถทำธุรกิจอื่นๆ ได้ หรืออาจเรียกได้ว่า Barrier to Entrance และ Barrier to Exit ลดต่ำลงมากในปัจจุบัน การคาดการณ์แบบกรณีศึกษาในอดีตก็อาจจะไม่เกิดขึ้นก็ได้ ที่สำคัญผู้ประกอบการรายใหม่ที่เข้ามาก็เป็นผู้ทำธุรกิจโทรคมนาคมด้านอื่นๆมาก่อนแล้วไม่นับว่าเป็นผู้ประกอบการโทรคมนาคมหน้าใหม่อย่างแท้จริง…
สุดท้ายจะเป็นอย่างไรคงต้องรอดูกันต่อไปยาวๆครับ แต่ที่แน่ๆ สนุกแน่นอนครับ…
บทความจาก
เว็ปไซต์ Telecom Journal Thailand
http://bit.ly/1PREWIH
บทความ : อาถรรพ์ Magic Number
โดย ผศ.ดร.จิรศิลป์ จยาวรรณ
การประมูลคลื่นความถี่เพื่อใช้ในกิจการ 4G ของประเทศไทยที่ผ่านมาล่าสุดทั้งสองย่านความถี่คือ 1800 และ 900 MHz. ในช่วงเดือนพฤศจิกายนและ ธันวาคมที่ผ่านมาถือว่าได้สร้างความฮือฮาและสร้างประวัติศาสตร์หน้าใหม่ให้กับวงการโทรคมนาคมโลกเลยก็ว่าได้ เพราะราคาค่าประมูลคลื่นย่าน 900 MHz มีมูลค่าสูงกว่าแสนห้าหมื่นล้านบาท
การประมูลในครั้งนี้เป็นที่ทราบกันว่า เราได้ผู้ประกอบการรายใหม่นับเป็นรายที่สี่ของอุตสากรรมโทรคมนาคมไทย ในอดีตคงทราบกันดีว่าประเทศไทยเราเคยมีผู้ให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ถึงสี่ราย แต่สุดท้ายก็เป็นที่ทราบกันดีว่าเหลืออยู่แค่สามรายในปัจจุบัน ฟังดูเผินๆ ก็คงไม่แปลกอะไรเพราะธุรกิจย่อมมีการเปลี่ยนแปลงทั้งเพิ่มและลดอยู่ตลอดเวลาแต่ผู้ให้บริการโทรคมนาคมหลายๆประเทศก็มีอยู่ประมาณสามรายเป็นส่วนมาก เพราะความบังเอิญใช่หรือไม่?
ความเป็นจริงแล้วมีหลักวิชาการสนับสนุนอยู่…มีนักเศรษฐศาสตร์โทรคมนาคมอยู่หลายสำนักได้เคยกล่าวไว้ว่า “ผู้ประกอบการโทรคมนาคมในตลาดโทรศัพท์เคลื่อนที่จะอยู่รอดในอุตสาหกรรมได้จะต้องมีส่วนแบ่งทางการตลาดไม่น้อยกว่า 25 เปอร์เซ็นต์” แปลภาษาชาวบ้านว่า ถ้ามีผู้ประกอบการสี่รายในตลาดอุตสาหกรรม แลัวเขาจะอยู่รอดได้แสดงว่าทั้งสี่ผู้ประกอบการจะต้องมีส่วนแบ่งตลาดที่รายละ 25 เปอร์เซ็นต์พอดี ถ้ารายใดรายหนึ่งได้ส่วนแบ่งมากกว่าหนึ่งในสี่ นั่นหมายถึงว่า ต้องมีผู้เล่นอย่างน้อยหนึ่งรายได้ไม่ถึง 25 เปอร์เซ็นต์ หรือไปไม่รอดในอุตสาหกรรมนี้.. กรณีลักษณะนี้เกิดขึ้นในหลายประเทศและมีกรณีศึกษาสามารถหาอ่านได้อยู่พอสมควร เช่นในฮ่องกง ที่เปิดให้มีการแข่งขันอย่างเต็มที่แบบไม่จำกัดจำนวนผู้ประกอบการ สุดท้ายก็ยุบเหลืออยู่แค่สามรายเช่นกัน เป็นต้น จึงไม่น่าแปลกใจว่าทำไม่ผู้ประกอบการในหลายๆ ประเทศจึงมีอยู่แค่สามราย จนบางครั้งเรียกว่า Magic Number….
อย่างไรก็ตามผู้เขียนไม่ได้บอกว่ากรณีของ 4G ประเทศไทยครั้งนี้จะต้องมีรายหนึ่งรายใดออกไปจากธุรกิจ เพราะในความเป็นจริงยังมีอีกหลายปัจจัยที่เกี่ยวข้องและไม่จำเป็นว่า ผู้ประกอบการจะต้องทำธุรกิจโทรศัพท์เคลื่อนที่อย่างเดียว อาจทำธุรกิจอื่นที่เกี่ยวข้องควบคู่ไปด้วย และในปัจจุบันการหลอมรวมของเทคโนโลยีก็ทำให้ผู้ประกอบการสามารถทำธุรกิจอื่นๆ ได้ หรืออาจเรียกได้ว่า Barrier to Entrance และ Barrier to Exit ลดต่ำลงมากในปัจจุบัน การคาดการณ์แบบกรณีศึกษาในอดีตก็อาจจะไม่เกิดขึ้นก็ได้ ที่สำคัญผู้ประกอบการรายใหม่ที่เข้ามาก็เป็นผู้ทำธุรกิจโทรคมนาคมด้านอื่นๆมาก่อนแล้วไม่นับว่าเป็นผู้ประกอบการโทรคมนาคมหน้าใหม่อย่างแท้จริง…
บทความจาก
เว็ปไซต์ Telecom Journal Thailand
http://bit.ly/1PREWIH