ขอกราบไหว้พระรัตนตรัยด้วยความเคารพอย่างสูงยิ่ง
------------------
พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๑ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๓
อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต
คนที่ไม่มีโรคทางกาย ตลอด ๑ ปี จนถึงเกินกว่า ๑๐๐ ปี ยังพอหาได้
แต่คนที่ไม่มีโรคทางใจแม้เพียงครู่เดียว หาได้ยาก เว้นไว้แต่ท่านผู้หมดกิเลส
โรคทางใจ ก็คือกิเลส
ผู้ที่ไม่มีโรคทางใจ คือพระอรหันต์เท่านั้น
(และไม่ใช่ ไม่มีครู่เดียว, ไม่ใช่ ไม่มีชั่วคราว)
ความไม่มีโรคเป็นลาภอย่างยิ่ง หรือ ลาภทั้งหลายมีความไม่มีโรคเป็นอย่างยิ่งนั้น พระองค์หมายถึง พระนิพพาน
เรื่องนี้พระพุทธเจ้าตรัสแก่มาคัณฑิยปริพาชก ซึ่งท่านเข้าใจว่า อาโรคฺยปรมา ลาภา หมายความถึงความไม่มีโรคกายเท่านั้น
☆☆☆☆☆☆☆☆
บาลีวันละคำ
อาโรคฺยปรมา ลาภา
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
อ่านว่า อา-โรก-คฺยะ(เคียะ)-ปะ-ระ-มา ลา-พา
“อาโรคฺย” รากศัพท์มาจาก :
ขั้นที่ 1 : โรค (โร-คะ) = ความเจ็บป่วย, โรค (illness, disease)
ขั้นที่ 2 : น + โรค (แปลง น เป็น อ) = อโรค : โรคของผู้นั้นไม่มี เหตุนั้น เขาจึงชื่อว่า “อโรค” (อะ-โร-คะ) = ผู้ไม่มีโรค, ไม่เจ็บป่วย, มีสุขภาพดี (one who without disease, one who healthy)
ขั้นที่ 3 : อโรค + ณฺย ปัจจัย, ลบ ณฺ, ยืดเสียง อะ ที่ อ (-โรค) เป็น อา ตามสูตร : “ด้วยอำนาจปัจจัยเนื่องด้วย ณ”
: อโรค > อาโรค + ณฺย > ย = อาโรคฺย แปลตามศัพท์ว่า “ภาวะของผู้ไม่มีโรค” หมายถึง ความไม่มีโรค, ความมีอนามัยดี (absence of illness, health)
สํสกฤต-ไท-อังกฤษ อภิธาน บอกไว้ว่า -
“อาโรคฺย : (คำนาม) ความสำราญ, ความไม่มีโรค; health, soundness of body.”
ทำความเข้าใจ :
(1) คำเดิม “อโรค” (อะ-โร-คะ) ผ่านกรรมวิธีทางไวยากรณ์เป็น “อาโรคฺย”
จาก อโร- เป็น อาโร-
(2) “อาโรคฺย” คฺ ควาย เป็นตัวสะกดและออกเสียงครึ่งเสียง ดังนั้น จะอ่านว่า อา-โร-คะ-ยะ ไม่ถูก อ่านว่า อา-โรก-ยะ ก็ไม่ถูก
(3) “อาโรคฺย” ออกเสียงว่า อา-โรก-เคียะ จะเป็นเสียงตรงที่สุด
(4) ข้อความเต็มๆ ที่มีคำนี้ปรากฏในคัมภีร์พระธรรมบท (http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=25&i=25&p=6)
คือ “อาโรคฺยปรมา ลาภา” เป็นคำบาลีที่คนไทยเอาไปพูดกันแพร่หลายคำหนึ่ง
แต่ส่วนมากจะพูดผิด คือพูดว่า อะโรคะยา ปะระมา ลาภา
(5) คำที่ถูก
บาลีเขียนว่า “อาโรคฺยปรมา ลาภา”
แยกเป็นสองกลุ่มคำ คือ (๑) อาโรคฺยปรมา (๒) ลาภา
ไม่ใช่ (๑) อโรคยา (๒) ปรมา (๓) ลาภา
เขียนเป็นคำอ่านว่า “อาโรคยะปะระมา ลาภา”
ไม่ใช่ อะโรคะยา / ปะระมา / ลาภา
อ่านว่า อา-โรก-คฺยะ(เคียะ)-ปะ-ระ-มา ลา-พา
จำกฎสั้นๆ ก็ได้ว่า “อา- ไม่ใช อะ, -ยะ ไม่ใช่ ยา”
“อาโรคฺยปรมา ลาภา” แปลตามสำนวนบาลี (word by word) ว่า “ลาภทั้งหลาย มีความไม่มีโรคเป็นอย่างยิ่ง”
แปลให้เข้าใจง่ายๆ ว่า ความไม่มีโรคเป็นลาภอย่างยิ่ง, ความไม่มีโรคเป็นลาภอันประเสริฐ, ความไม่มีโรคเป็นบรมลาภ
https://www.facebook.com/tsangsinchai/posts/826543540772718
๛ คนที่ไม่มีโรคทางใจแม้เพียงครู่เดียว หาได้ยาก เว้นไว้แต่ท่านผู้หมดกิเลส ๛
------------------
พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๑ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๓
อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต
ดูกรภิกษุทั้งหลาย สัตว์ทั้งหลายผู้ปฏิญาณความไม่มีโรคด้วยโรคทางกายตลอดปีหนึ่งมีปรากฏ
ผู้ปฏิญาณความไม่มีโรคตลอด ๒ ปีบ้าง ๓ ปีบ้าง ๔ ปีบ้าง ๕ ปีบ้าง ๑๐ ปีบ้าง ๒๐ ปีบ้าง ๓๐ ปีบ้าง
๔๐ ปีบ้าง ๕๐ ปีบ้าง ผู้ปฏิญาณความไม่มีโรคแม้ยิ่งกว่า ๑๐๐ ปีบ้าง มีปรากฏ
ดูกรภิกษุทั้งหลาย สัตว์เหล่าใดปฏิญาณความไม่มีโรคทางใจแม้ครู่หนึ่ง
สัตว์เหล่านั้นหาได้ยากในโลก เว้นจากพระขีณาสพ ฯ
http://www.84000.org/tipitaka/read/v.php?B=21&A=3910&Z=3936&pagebreak=0
ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :-
http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=21&i=151
ศึกษาพระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลี อักษรไทย ได้ที่ :-
[157] http://budsir.mahidol.ac.th/cgi-bin/Budsir.cgi/SearchItem?mode=1&valume=21&item=157&Roman=0
http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=13&A=4769&Z=5061&pagebreak=0
คนที่ไม่มีโรคทางกาย ตลอด ๑ ปี จนถึงเกินกว่า ๑๐๐ ปี ยังพอหาได้
แต่คนที่ไม่มีโรคทางใจแม้เพียงครู่เดียว หาได้ยาก เว้นไว้แต่ท่านผู้หมดกิเลส
โรคทางใจ ก็คือกิเลส
ผู้ที่ไม่มีโรคทางใจ คือพระอรหันต์เท่านั้น
(และไม่ใช่ ไม่มีครู่เดียว, ไม่ใช่ ไม่มีชั่วคราว)
ความไม่มีโรคเป็นลาภอย่างยิ่ง หรือ ลาภทั้งหลายมีความไม่มีโรคเป็นอย่างยิ่งนั้น พระองค์หมายถึง พระนิพพาน
เรื่องนี้พระพุทธเจ้าตรัสแก่มาคัณฑิยปริพาชก ซึ่งท่านเข้าใจว่า อาโรคฺยปรมา ลาภา หมายความถึงความไม่มีโรคกายเท่านั้น
บาลีวันละคำ
อาโรคฺยปรมา ลาภา
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้