กว่จะถึงวันนี้
ความหลังริมคลองเปรม
นายทหารถือปากกา
วชิรพักตร์
ประวัติศาสตร์ของนิตยสารทหารสื่อสารนั้น ได้เขียนกันมาหลายครั้งแล้ว ว่าเริ่มถือกำเนิดขึ้นมา ด้วยความดำริของ พล.อ.ไสว ไสวแสนยากร อดีต จเรทหารสื่อสาร หรือหัวหน้าเหล่าทหารสื่อสารท่านที่ ๗ เป็นฉบับปฐมฤกษ์เมื่อ เมษายน ๒๔๙๑ ซึ่งจะครบ ๖๐ ปี ใน พ.ศ.๒๕๕๑ นี้
การที่นิตยสารทหารสื่อสาร มีอายุยั่งยืนมาจนถึงบัดนี้ได้ ก็เพราะมีผู้เขียนส่งเรื่องมา สนับสนุนอยู่ตลอดเวลานั่นเอง ไม่ว่าจะเป็นเรื่องทางวิทยาการ สารคดี บันเทิงคดี และเบ็ดเตล็ด
เรื่องที่เป็นวิทยาการของทหารสื่อสาร หรือวิชาการต่าง ๆ ผู้เขียนส่วนมากก็จะเป็นอาจารย์ในโรงเรียนทหารสื่อสาร ที่ท่านเมตตา เขียนหรือแปลส่งมาให้อย่างสม่ำเสมอ แต่เรื่องที่เป็นบันเทิงคดีนั้นค่อนข้างจะหายาก เพราะไม่ค่อยมีผู้เขียน
เมื่อสมัยแรกท่านที่เป็นบรรณาธิการ จึงต้องเขียนเสียเองเป็นส่วนใหญ่ เช่น พันเอก พิพิธ แก้วกูล บรรณาธิการท่านที่ ๒ หรือ พันตรี ถาวร ช่วยประสิทธิ์ บรรณาธิการท่านที่ ๓ แต่ทั้งสองท่านนี้ก็เขียนไว้ไม่กี่เรื่อง ต่อมาถึง พันเอก เพ็ชร์ เสียงก้อง บรรณาธิการท่านที่ ๖ ท่านผู้นี้เป็นนักเขียนของนิตยสารทหารสื่อสาร มาแต่เดิม ก่อนที่จะเข้ามารับหน้าที่บรรณาธิการ ท่านเขียนเรื่องได้หลายประเภท แต่ส่วนใหญ่จะเป็นคำกลอน ท่านจะใช้นามปากกา เณรหนูเพ็ชร์ และ เณรจ้อย เณรน้อย และเณร
ในระยะนี้เองที่ได้มีนักเขียนเรื่องสาระบันเทิงเพิ่มขึ้น คือ พันเอก เอิบ สุนทรสีมะ โดยใช้นามปากกา นุชนาฏ กับ พันโท ชาญ กิตติกูล ใช้นามปากกา พญาเขินคำ และ ชาลี (เจ้าเก่า)
จนถึง พันเอก ขราวุธ เขมะโยธิน บรรณาธิการท่านที่ ๙ ท่านมีความรู้ทางเทคนิคของเหล่าทหารสื่อสารแทบทุกแขนงเป็นอย่างดี จึงเขียนเรื่องที่เป็นวิชาการไว้มากมาย และก็ได้เพื่อนคู่หูของท่าน คือ พันเอก ยงยุทธ นันทิทรรภ ซึ่งมีความรู้ทางอีเลคทรอนิกเป็นอย่างดี แต่เขียนเรื่องให้อ่านกันอย่างสนุกสนานเบาสมอง อย่างสม่ำเสมอ
แต่ทั้งหมดที่กล่าวมานั้น เมื่อท่านได้ย้ายออกไปรับราชการ นอกกรมการทหารสื่อสาร หรือเกษียณอายุราชการ ท่านก็เลิกเขียนเรื่องให้นิตยสารทหารสื่อสารไปด้วย เหมือนกัน
ส่วนอีกท่านหนึ่งนั้น คือ พันเอก ไพบูลย์ ศิริสัมพันธ์ บรรณาธิการนิตยสารทหารสื่อสาร คนที่ ๗ เมื่อ พ.ศ.๒๕๑๘ ท่านเป็นนักวิชาการที่เขียนเรื่องได้น่าอ่านคนหนึ่ง ท่านเกษียณอายุราชการในตำแหน่ง รองเจ้ากรมการทหารสื่อสาร โดยไม่ได้เป็นนายพล เมื่อ พ.ศ.๒๕๒๗ ท่านมีนามปากกาหลายชื่อ แต่หลังเกษียณแล้ว ท่านได้เขียนเรื่องสุดท้ายคือ กว่าจะเป็นสีเม็ดมะปราง ในนามปากกา วัชรจักร ลงในทหารสื่อสารตั้งแต่ ฉบับ กันยายน ๒๕๓๓ จนถึงฉบับ กันยายน ๒๕๓๖
และยังคงเหลืออยู่อีกคนเดียว ที่เริ่มต้นเขียนเรื่องขำขัน ส่งมาลงพิมพ์ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๐๓ และเขียนเรื่อยมาตลอดเวลาที่รับราชการ จนได้เข้าไปร่วมในกองบรรณาธิการ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๑๘ และต่อมาได้เป็นผู้ช่วยบรรณาธิการ เมื่อ พ.ศ.๒๕๓๐ ถึง พ.ศ.๒๕๓๓
โดยมีผลงานทิ้งไว้ในนิตยสารทหารสื่อสาร เป็นประเภทขำขัน ๖๐ กว่าชิ้น ประเภทเรื่องสั้น ๙ เรื่อง สารคดี ๒๒ ชิ้น เรื่องเบ็ดเตล็ด ๑๙ ชิ้น โดยใช้นามปากกาเปลืองถึง ๒๖ ชื่อ
ในวาระที่จะครบเกษียณอายุราชการ พ.ศ.๒๕๓๔ นักเขียนผู้นี้ได้เขียนอำลาผู้อ่านไว้ ในคอลัมน์ จากสื่อสารถึงสื่อสาร ฉบับ มกราคม ๒๕๓๔ ว่า
.......สิ่งที่เคยคุ้นกันอยู่นาน เมื่อจำเป็นจะต้องจากกันไป ก็อดที่จะเสียดายไม่ได้ ทั้ง ๆ ที่ได้ทำใจไว้นานแล้วว่า ทุกสิ่งทุกอย่างในโลกนี้ เมื่อเกิดขึ้นแล้วก็ย่อมมีการเปลี่ยนแปลง และพลัดพรากจากกันไปเป็นที่สุด ไม่ว่าจะต้องการหรือไม่ก็ตาม ไม่มีอะไรที่สามารถจะยึดถืออยู่ได้ตลอดไป แต่โดยเฉพาะนิตยสารทหารสื่อสารนั้น เป็นที่รักมากยิ่งกว่าสิ่งใด ในชีวิตของการทำงานภายในรั้วสีม่วงนี้ ก็ย่อมจะต้องอาลัยอาวรณ์อยู่บ้างเป็นธรรมดา เพราะคงจะห่างไกลกันออกไปทุกที อย่างที่ว่าเมื่อมีเวลาว่างมากขึ้น อาจจะเขียนอะไรต่ออะไรมาลงพิมพ์ได้มากขึ้นนั้น ท่านผู้ใหญ่ที่ผ่านไปก่อน คนแล้วคนเล่า ไม่เห็นมีใครปฏิบัติได้เลยสักคนเดียว ผมเองก็คงทำไม่ได้เช่นเดียวกัน..........
แต่ปรากฏว่า หลังจากเกษียณอายุราชการไปตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๓๕ จนถึงบัดนี้ ก็ยังไม่ได้หยุดเขียน คงมีผลงานการเขียนอย่างสม่ำเสมอทุกปี
งานเขียนส่วนใหญ่ได้ลงพิมพ์อยู่ในวารสารของทหารเหล่าต่าง เช่น เสนาสาร, ฟ้าหม่น, พล.ร.๓, พล.ร.๔, พล.ม.๑, สพ.ทบ., หลักเมือง, ยุทธโกษ, ทหารปืนใหญ่, เสนาสนเทศ, สุรสิงหนาท, รักษาดินแดน, ทหารช่าง และข่าวทหารอากาศ ด้วยเรื่องหลายประเภท เช่น
สามก๊ก นามปากกา “เล่าเซี่ยงชุน”
ฉากชีวิต นามปากกา “เพทาย”
บันทึกของคนเดินเท้า นามปากกา “เทพารักษ์”
วรรณคดีไทย นามปากกา ฑ.มณฑา
เรื่องย้อนอดีต นามปากกา พ.สมานคุรุกรรม
แม้ว่าในปัจจุบันวารสารเหล่านั้นได้ยุติการดำเนินการ หรือเปลี่ยนแปลงนโยบาย จนเหลือที่มีเรื่องลงพิมพ์เป็นประจำเพียงสามฉบับคือ ฟ้าหม่น พล.ม.๑ และข่าวทหารอากาศ เท่านั้น แต่ก็ได้รับการรวมเล่มจากสำนักพิมพ์ วางจำหน่ายในท้องตลาดแล้ว คือ
สามก๊กฉบับลิ่วล้อ สำนักพิมพ์ ประพันธ์สาส์น ๓ เล่ม พ.ศ.๒๕๔๑
ซ้องกั๋งวีรบุรุษแห่งเขาเหลียงซาน สำนักพิมพ์ประพันธ์สาส์น พ.ศ.๒๕๔๕
นักรบสองแผ่นดิน สำนักพิมพ์อินฟอร์มีเดียบุ๊คส์ พ.ศ.๒๕๔๖
อวสานสามก๊ก สำนักพิมพ์อินฟอร์มีเดียบุ๊คส์ พ.ศ.๒๕๔๖
ปกิณกะสามก๊ก สำนักพิมพ์ เคล็ดไทย พ.ศ.๒๕๔๗บุญคุณต้องทดแทนความแค้นต้องอภัย สำนักพิมพ์ บ้านหนังสือโกสินทร์ พ.ศ.๒๕๔๙
เปาบุ้นจิ้นผู้ทรงความยุติธรรม สำนักพิมพ์ประพันธ์สาส์น พ.ศ.๒๕๔๙
สำหรับนิตยสารทหารสื่อสารนั้น ก็มีเรื่องประเภท ความหลัง หรือ ย้อนอดีต มาลงเป็นประจำทุกปี จนถึงปีที่นิตยสารทหารสื่อสารมีอายุยั่งยืนมาครบ ๖๐ ปีนี้ มากกว่า ๕๐ ชิ้น
นายทหารนักเขียน ของเหล่าทหารสื่อสารผู้นี้ จึงควรจะได้ชื่อว่าเป็นนายทหารถือ ปากกา ที่มีอายุยืนนานที่สุดก็ว่าได้ นะครับ.
##########
Create Date : 25 กันยายน 2550
ทห่ารถือปากกา ๒๘ ม.ค.๕๙
ความหลังริมคลองเปรม
นายทหารถือปากกา
วชิรพักตร์
ประวัติศาสตร์ของนิตยสารทหารสื่อสารนั้น ได้เขียนกันมาหลายครั้งแล้ว ว่าเริ่มถือกำเนิดขึ้นมา ด้วยความดำริของ พล.อ.ไสว ไสวแสนยากร อดีต จเรทหารสื่อสาร หรือหัวหน้าเหล่าทหารสื่อสารท่านที่ ๗ เป็นฉบับปฐมฤกษ์เมื่อ เมษายน ๒๔๙๑ ซึ่งจะครบ ๖๐ ปี ใน พ.ศ.๒๕๕๑ นี้
การที่นิตยสารทหารสื่อสาร มีอายุยั่งยืนมาจนถึงบัดนี้ได้ ก็เพราะมีผู้เขียนส่งเรื่องมา สนับสนุนอยู่ตลอดเวลานั่นเอง ไม่ว่าจะเป็นเรื่องทางวิทยาการ สารคดี บันเทิงคดี และเบ็ดเตล็ด
เรื่องที่เป็นวิทยาการของทหารสื่อสาร หรือวิชาการต่าง ๆ ผู้เขียนส่วนมากก็จะเป็นอาจารย์ในโรงเรียนทหารสื่อสาร ที่ท่านเมตตา เขียนหรือแปลส่งมาให้อย่างสม่ำเสมอ แต่เรื่องที่เป็นบันเทิงคดีนั้นค่อนข้างจะหายาก เพราะไม่ค่อยมีผู้เขียน
เมื่อสมัยแรกท่านที่เป็นบรรณาธิการ จึงต้องเขียนเสียเองเป็นส่วนใหญ่ เช่น พันเอก พิพิธ แก้วกูล บรรณาธิการท่านที่ ๒ หรือ พันตรี ถาวร ช่วยประสิทธิ์ บรรณาธิการท่านที่ ๓ แต่ทั้งสองท่านนี้ก็เขียนไว้ไม่กี่เรื่อง ต่อมาถึง พันเอก เพ็ชร์ เสียงก้อง บรรณาธิการท่านที่ ๖ ท่านผู้นี้เป็นนักเขียนของนิตยสารทหารสื่อสาร มาแต่เดิม ก่อนที่จะเข้ามารับหน้าที่บรรณาธิการ ท่านเขียนเรื่องได้หลายประเภท แต่ส่วนใหญ่จะเป็นคำกลอน ท่านจะใช้นามปากกา เณรหนูเพ็ชร์ และ เณรจ้อย เณรน้อย และเณร
ในระยะนี้เองที่ได้มีนักเขียนเรื่องสาระบันเทิงเพิ่มขึ้น คือ พันเอก เอิบ สุนทรสีมะ โดยใช้นามปากกา นุชนาฏ กับ พันโท ชาญ กิตติกูล ใช้นามปากกา พญาเขินคำ และ ชาลี (เจ้าเก่า)
จนถึง พันเอก ขราวุธ เขมะโยธิน บรรณาธิการท่านที่ ๙ ท่านมีความรู้ทางเทคนิคของเหล่าทหารสื่อสารแทบทุกแขนงเป็นอย่างดี จึงเขียนเรื่องที่เป็นวิชาการไว้มากมาย และก็ได้เพื่อนคู่หูของท่าน คือ พันเอก ยงยุทธ นันทิทรรภ ซึ่งมีความรู้ทางอีเลคทรอนิกเป็นอย่างดี แต่เขียนเรื่องให้อ่านกันอย่างสนุกสนานเบาสมอง อย่างสม่ำเสมอ
แต่ทั้งหมดที่กล่าวมานั้น เมื่อท่านได้ย้ายออกไปรับราชการ นอกกรมการทหารสื่อสาร หรือเกษียณอายุราชการ ท่านก็เลิกเขียนเรื่องให้นิตยสารทหารสื่อสารไปด้วย เหมือนกัน
ส่วนอีกท่านหนึ่งนั้น คือ พันเอก ไพบูลย์ ศิริสัมพันธ์ บรรณาธิการนิตยสารทหารสื่อสาร คนที่ ๗ เมื่อ พ.ศ.๒๕๑๘ ท่านเป็นนักวิชาการที่เขียนเรื่องได้น่าอ่านคนหนึ่ง ท่านเกษียณอายุราชการในตำแหน่ง รองเจ้ากรมการทหารสื่อสาร โดยไม่ได้เป็นนายพล เมื่อ พ.ศ.๒๕๒๗ ท่านมีนามปากกาหลายชื่อ แต่หลังเกษียณแล้ว ท่านได้เขียนเรื่องสุดท้ายคือ กว่าจะเป็นสีเม็ดมะปราง ในนามปากกา วัชรจักร ลงในทหารสื่อสารตั้งแต่ ฉบับ กันยายน ๒๕๓๓ จนถึงฉบับ กันยายน ๒๕๓๖
และยังคงเหลืออยู่อีกคนเดียว ที่เริ่มต้นเขียนเรื่องขำขัน ส่งมาลงพิมพ์ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๐๓ และเขียนเรื่อยมาตลอดเวลาที่รับราชการ จนได้เข้าไปร่วมในกองบรรณาธิการ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๑๘ และต่อมาได้เป็นผู้ช่วยบรรณาธิการ เมื่อ พ.ศ.๒๕๓๐ ถึง พ.ศ.๒๕๓๓
โดยมีผลงานทิ้งไว้ในนิตยสารทหารสื่อสาร เป็นประเภทขำขัน ๖๐ กว่าชิ้น ประเภทเรื่องสั้น ๙ เรื่อง สารคดี ๒๒ ชิ้น เรื่องเบ็ดเตล็ด ๑๙ ชิ้น โดยใช้นามปากกาเปลืองถึง ๒๖ ชื่อ
ในวาระที่จะครบเกษียณอายุราชการ พ.ศ.๒๕๓๔ นักเขียนผู้นี้ได้เขียนอำลาผู้อ่านไว้ ในคอลัมน์ จากสื่อสารถึงสื่อสาร ฉบับ มกราคม ๒๕๓๔ ว่า
.......สิ่งที่เคยคุ้นกันอยู่นาน เมื่อจำเป็นจะต้องจากกันไป ก็อดที่จะเสียดายไม่ได้ ทั้ง ๆ ที่ได้ทำใจไว้นานแล้วว่า ทุกสิ่งทุกอย่างในโลกนี้ เมื่อเกิดขึ้นแล้วก็ย่อมมีการเปลี่ยนแปลง และพลัดพรากจากกันไปเป็นที่สุด ไม่ว่าจะต้องการหรือไม่ก็ตาม ไม่มีอะไรที่สามารถจะยึดถืออยู่ได้ตลอดไป แต่โดยเฉพาะนิตยสารทหารสื่อสารนั้น เป็นที่รักมากยิ่งกว่าสิ่งใด ในชีวิตของการทำงานภายในรั้วสีม่วงนี้ ก็ย่อมจะต้องอาลัยอาวรณ์อยู่บ้างเป็นธรรมดา เพราะคงจะห่างไกลกันออกไปทุกที อย่างที่ว่าเมื่อมีเวลาว่างมากขึ้น อาจจะเขียนอะไรต่ออะไรมาลงพิมพ์ได้มากขึ้นนั้น ท่านผู้ใหญ่ที่ผ่านไปก่อน คนแล้วคนเล่า ไม่เห็นมีใครปฏิบัติได้เลยสักคนเดียว ผมเองก็คงทำไม่ได้เช่นเดียวกัน..........
แต่ปรากฏว่า หลังจากเกษียณอายุราชการไปตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๓๕ จนถึงบัดนี้ ก็ยังไม่ได้หยุดเขียน คงมีผลงานการเขียนอย่างสม่ำเสมอทุกปี
งานเขียนส่วนใหญ่ได้ลงพิมพ์อยู่ในวารสารของทหารเหล่าต่าง เช่น เสนาสาร, ฟ้าหม่น, พล.ร.๓, พล.ร.๔, พล.ม.๑, สพ.ทบ., หลักเมือง, ยุทธโกษ, ทหารปืนใหญ่, เสนาสนเทศ, สุรสิงหนาท, รักษาดินแดน, ทหารช่าง และข่าวทหารอากาศ ด้วยเรื่องหลายประเภท เช่น
สามก๊ก นามปากกา “เล่าเซี่ยงชุน”
ฉากชีวิต นามปากกา “เพทาย”
บันทึกของคนเดินเท้า นามปากกา “เทพารักษ์”
วรรณคดีไทย นามปากกา ฑ.มณฑา
เรื่องย้อนอดีต นามปากกา พ.สมานคุรุกรรม
แม้ว่าในปัจจุบันวารสารเหล่านั้นได้ยุติการดำเนินการ หรือเปลี่ยนแปลงนโยบาย จนเหลือที่มีเรื่องลงพิมพ์เป็นประจำเพียงสามฉบับคือ ฟ้าหม่น พล.ม.๑ และข่าวทหารอากาศ เท่านั้น แต่ก็ได้รับการรวมเล่มจากสำนักพิมพ์ วางจำหน่ายในท้องตลาดแล้ว คือ
สามก๊กฉบับลิ่วล้อ สำนักพิมพ์ ประพันธ์สาส์น ๓ เล่ม พ.ศ.๒๕๔๑
ซ้องกั๋งวีรบุรุษแห่งเขาเหลียงซาน สำนักพิมพ์ประพันธ์สาส์น พ.ศ.๒๕๔๕
นักรบสองแผ่นดิน สำนักพิมพ์อินฟอร์มีเดียบุ๊คส์ พ.ศ.๒๕๔๖
อวสานสามก๊ก สำนักพิมพ์อินฟอร์มีเดียบุ๊คส์ พ.ศ.๒๕๔๖
ปกิณกะสามก๊ก สำนักพิมพ์ เคล็ดไทย พ.ศ.๒๕๔๗บุญคุณต้องทดแทนความแค้นต้องอภัย สำนักพิมพ์ บ้านหนังสือโกสินทร์ พ.ศ.๒๕๔๙
เปาบุ้นจิ้นผู้ทรงความยุติธรรม สำนักพิมพ์ประพันธ์สาส์น พ.ศ.๒๕๔๙
สำหรับนิตยสารทหารสื่อสารนั้น ก็มีเรื่องประเภท ความหลัง หรือ ย้อนอดีต มาลงเป็นประจำทุกปี จนถึงปีที่นิตยสารทหารสื่อสารมีอายุยั่งยืนมาครบ ๖๐ ปีนี้ มากกว่า ๕๐ ชิ้น
นายทหารนักเขียน ของเหล่าทหารสื่อสารผู้นี้ จึงควรจะได้ชื่อว่าเป็นนายทหารถือ ปากกา ที่มีอายุยืนนานที่สุดก็ว่าได้ นะครับ.
##########
Create Date : 25 กันยายน 2550