บันทึกของผู้เฒ่า
หกสิบปีในเส้นทางนักเขียน (๑)
เจียวต้าย
ได้เคยเล่าไว้แล้วว่าเรื่องสั้นเรื่องแรกของผมในนามปากกา”เพทาย” ได้ลงพิมพ์ในนิตยสาร”โบว์แดง”เมื่อ ๑๑ ต.ค.๙๑ แล้วก็มีเรื่องสั้นได้ลงพิมพ์ในหนังสือพิมพ์ชื่อต่าง ๆ ประมาณเจ็ดสิบเรื่อง ในเวลา สิบกว่าปี จนเข้ารับราชการในกรมการทหารสื่อสาร จึงได้หยุดส่งเรื่องไปตามหนังสือพิมพ์ เพราะตั้งหน้าตั้งตาเขียนลง นิตยสารทหารสื่อสาร แฟนสัมพันธ์ และ วปถ.ปริทรรศน์ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๐๐ จนได้เข้าประจำกองบรรณาธิการ เมื่อ พ.ศ.๒๕๑๘
ตลอดเวลาสิบแปดปีนั้น ได้เขียนเรื่องหลายประเภท ทั้งบทความ สารคดี ขำขัน ใช้นามปากกามากมายหลายชื่อ เพื่อให้ดูแตกต่าง ตั้งแต่หนังสือออกรายสองเดือน รายเดือน จนถึงรายสะดวก สุดท้ายเป็นรายปี คือออกเป็นหนังสือที่ระลึกวันทหารสื่อสารเล่มเดียว ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๑๙ ถึง ๒๕๓๐ จึงได้เป็น ผู้ช่วยบรรณาธิการ ทำงานแทนบรรณาธิการ ทุกอย่างทุกประการ จนถึง พ.ศ.๒๕๓๕ เกษียณอายุราชการ จึงมีข้อเขียนฝากไว้ในนิตยสาร ทหารสื่อสาร เกือบสองร้อยชิ้น
เมื่อพ้นหน้าที่ทางราชการแล้ว จึงยึดเอางานเขียนเป็นอาชีพหลัก โดยเริ่ม สามก๊กฉบับลิ่วล้อ เป็นขบวนแรก ส่งไปลงพิมมพ์ในวารสารของทหารเหล่าต่าง ๆ ในกองทัพบกเช่น เสนาสาร, ฟ้าหม่นของศูนย์การทหารม้า, กองพลทหารราบที่ ๔, กองพลทหารราบที่ ๓, ทหารสรรพาวุธ, ยุทธโกษ, หลักเมือง ของกระทรวงกลาโหม, ทหารปืนใหญ่, สรสิงหนาท ของกองพลทหารราบที่ ๙, รักษาดินแดน, กองพลทหารม้าที่ ๑ นอกไปจากนิตยสารทหารสื่อสาร และหนังสือที่ระลึก สถานีวิทยุโทรทัศน์กองทัพบก ช่อง ๕ เจ้าประจำ ด้วยงานเขียนหลายประเภท เช่น เรื่องสั้นชุดฉากชีวิต, เรื่องสั้นหรรษา, บันทึกของคนเดินเท้า, ย้อนอดีตและพลิกพงศาวดาร, คุ้ยวรรณคดี, นิยายอิงพงศาวดารจีนเรื่องอื่น ๆ และความหลังทั้ง ริมคลองเปรม (สื่อสาร) และโคนต้นไทร (ททบ.๕)
จากนั้นก็ออกนอกวงการทหารบก เช่น สยามอารยะ ของสยามสมาคม, นิตยสารโล่เงิน ในวงการตำรวจ, และ นิตยสารต่วยตูน, และ ข่าวทหารอากาศ เป็นรายสุดท้าย รวมเวลาหลังเกษียณอายุ สิบห้าปี มีผลงานฝากไว้ในหนังสือที่อ้างชื่อมาแล้ว ประมาณ เจ็ดร้อยชิ้น พอจะแยกประเภทได้ ดังนี้
เรื่องสั้น ชุดฉากชีวิต นามปากกา “เพทาย” จำนวน ๕๕ ตอน
นิยายอิงพงศาวดารจีน นามปากกา “เล่าเซียงชุน” เรื่อง สามก๊ก จำนวน ๒๐๘ ตอน
เรื่อง ซ้องกั๋ง จำนวน ๕๗ ตอน
เรื่อง เปาบุ้นจิ้น จำนวน ๒๕ ตอน
นอกนั้นเป็นพงศาวดารจีนเรื่องอื่น ๆ ,สารคดี บันทึกของคนเดินเท้า นามปากกา “เทพารักษ์” ,สารคดี ย้อนอดีต และพลิกพงศาวดาร นามปากกา พ.สมานคุรุกรรม ,คุ้ยวรรณคดีไทย นามปากกา ฑ.มณฑา ,ความหลังริมคลองเปรม และ โคนต้นไทร นามปากกา “วชิรพักตร์”
กับได้รวมเล่มพ็อกเก็ตบุคส์ นามปากกา “เล่าเซี่ยงชุน” ๘ เล่ม และ นามปากกา “เจียวต้าย” อีก ๑ เล่มไว้เป็นอนุสรณ์ในโลกของวรรณกรรม
เมื่อมีเกิดแล้วก็ต้องมีเสื่อม และสิ้นสุด ตามกฎอนิจจังที่ท่านว่าไว้ รายชื่อหนังสือพิมพ์และนิตยสาร หรือวารสาร ที่กล่าวอ้างเหล่านั้น ก็ล้มหายตายจากไปบ้าง เปลี่ยนนโยบายบ้าง จนถึง พ.ศ.๒๕๕๐ จึงเหลืออยู่พียงสามฉบับคือ ข่าวทหารอากาศรายเดือน, ฟ้าหม่น รายสองเดือน, กองพลทหารม้าที่ ๑ รายสามเดือน และ นิตยสารทหารสื่อสาร รายปี
บัดนี้กาลเวลาได้ล่วงมาจากวันที่เริ่มต้น ถึงหกสิบปีแล้ว ทุกสิ่งทุกอย่างที่จะรวบรวมขึ้นมาเป็นข้อเขียนประเภทต่าง ๆ นั้น ก็หายากขึ้น เพราะเรื่องราวในโลกนี้ ก็ล้วนแต่ซ้ำซากวนเวียนอยู่ไม่ห่างไกลจากที่เคยประสบมาแล้วในอดีต ครั้นจะแปลจากเรื่องของฝรั่งที่มีความแปลกใหม่ ก็มีความรู้ไม่เพียงพอ และในปัจจุบันนี้จะต้องระมัดระวังเกี่ยวกับกฎหมายลิขสิทธิ์ที่เข้มงวดด้วย จึงสมควรแก่เวลาที่จะวางมือได้แล้ว เพราะอายุก็มากพอที่จะพักผ่อนอย่างไม่ต้องมีอะไรมาบีบรัดให้กังวลอีก คอยระวังรักษาตัวให้มีลมหายใจอยู่ ก็เหน็ดเหนื่อยพอล้ว
################
๑๑ ตุลาคม ๒๕๕๑
หกสิบปีบนเส้นทางนักเขียน (๑) ๑๖ ม.ค.๕๗
หกสิบปีในเส้นทางนักเขียน (๑)
เจียวต้าย
ได้เคยเล่าไว้แล้วว่าเรื่องสั้นเรื่องแรกของผมในนามปากกา”เพทาย” ได้ลงพิมพ์ในนิตยสาร”โบว์แดง”เมื่อ ๑๑ ต.ค.๙๑ แล้วก็มีเรื่องสั้นได้ลงพิมพ์ในหนังสือพิมพ์ชื่อต่าง ๆ ประมาณเจ็ดสิบเรื่อง ในเวลา สิบกว่าปี จนเข้ารับราชการในกรมการทหารสื่อสาร จึงได้หยุดส่งเรื่องไปตามหนังสือพิมพ์ เพราะตั้งหน้าตั้งตาเขียนลง นิตยสารทหารสื่อสาร แฟนสัมพันธ์ และ วปถ.ปริทรรศน์ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๐๐ จนได้เข้าประจำกองบรรณาธิการ เมื่อ พ.ศ.๒๕๑๘
ตลอดเวลาสิบแปดปีนั้น ได้เขียนเรื่องหลายประเภท ทั้งบทความ สารคดี ขำขัน ใช้นามปากกามากมายหลายชื่อ เพื่อให้ดูแตกต่าง ตั้งแต่หนังสือออกรายสองเดือน รายเดือน จนถึงรายสะดวก สุดท้ายเป็นรายปี คือออกเป็นหนังสือที่ระลึกวันทหารสื่อสารเล่มเดียว ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๑๙ ถึง ๒๕๓๐ จึงได้เป็น ผู้ช่วยบรรณาธิการ ทำงานแทนบรรณาธิการ ทุกอย่างทุกประการ จนถึง พ.ศ.๒๕๓๕ เกษียณอายุราชการ จึงมีข้อเขียนฝากไว้ในนิตยสาร ทหารสื่อสาร เกือบสองร้อยชิ้น
เมื่อพ้นหน้าที่ทางราชการแล้ว จึงยึดเอางานเขียนเป็นอาชีพหลัก โดยเริ่ม สามก๊กฉบับลิ่วล้อ เป็นขบวนแรก ส่งไปลงพิมมพ์ในวารสารของทหารเหล่าต่าง ๆ ในกองทัพบกเช่น เสนาสาร, ฟ้าหม่นของศูนย์การทหารม้า, กองพลทหารราบที่ ๔, กองพลทหารราบที่ ๓, ทหารสรรพาวุธ, ยุทธโกษ, หลักเมือง ของกระทรวงกลาโหม, ทหารปืนใหญ่, สรสิงหนาท ของกองพลทหารราบที่ ๙, รักษาดินแดน, กองพลทหารม้าที่ ๑ นอกไปจากนิตยสารทหารสื่อสาร และหนังสือที่ระลึก สถานีวิทยุโทรทัศน์กองทัพบก ช่อง ๕ เจ้าประจำ ด้วยงานเขียนหลายประเภท เช่น เรื่องสั้นชุดฉากชีวิต, เรื่องสั้นหรรษา, บันทึกของคนเดินเท้า, ย้อนอดีตและพลิกพงศาวดาร, คุ้ยวรรณคดี, นิยายอิงพงศาวดารจีนเรื่องอื่น ๆ และความหลังทั้ง ริมคลองเปรม (สื่อสาร) และโคนต้นไทร (ททบ.๕)
จากนั้นก็ออกนอกวงการทหารบก เช่น สยามอารยะ ของสยามสมาคม, นิตยสารโล่เงิน ในวงการตำรวจ, และ นิตยสารต่วยตูน, และ ข่าวทหารอากาศ เป็นรายสุดท้าย รวมเวลาหลังเกษียณอายุ สิบห้าปี มีผลงานฝากไว้ในหนังสือที่อ้างชื่อมาแล้ว ประมาณ เจ็ดร้อยชิ้น พอจะแยกประเภทได้ ดังนี้
เรื่องสั้น ชุดฉากชีวิต นามปากกา “เพทาย” จำนวน ๕๕ ตอน
นิยายอิงพงศาวดารจีน นามปากกา “เล่าเซียงชุน” เรื่อง สามก๊ก จำนวน ๒๐๘ ตอน
เรื่อง ซ้องกั๋ง จำนวน ๕๗ ตอน
เรื่อง เปาบุ้นจิ้น จำนวน ๒๕ ตอน
นอกนั้นเป็นพงศาวดารจีนเรื่องอื่น ๆ ,สารคดี บันทึกของคนเดินเท้า นามปากกา “เทพารักษ์” ,สารคดี ย้อนอดีต และพลิกพงศาวดาร นามปากกา พ.สมานคุรุกรรม ,คุ้ยวรรณคดีไทย นามปากกา ฑ.มณฑา ,ความหลังริมคลองเปรม และ โคนต้นไทร นามปากกา “วชิรพักตร์”
กับได้รวมเล่มพ็อกเก็ตบุคส์ นามปากกา “เล่าเซี่ยงชุน” ๘ เล่ม และ นามปากกา “เจียวต้าย” อีก ๑ เล่มไว้เป็นอนุสรณ์ในโลกของวรรณกรรม
เมื่อมีเกิดแล้วก็ต้องมีเสื่อม และสิ้นสุด ตามกฎอนิจจังที่ท่านว่าไว้ รายชื่อหนังสือพิมพ์และนิตยสาร หรือวารสาร ที่กล่าวอ้างเหล่านั้น ก็ล้มหายตายจากไปบ้าง เปลี่ยนนโยบายบ้าง จนถึง พ.ศ.๒๕๕๐ จึงเหลืออยู่พียงสามฉบับคือ ข่าวทหารอากาศรายเดือน, ฟ้าหม่น รายสองเดือน, กองพลทหารม้าที่ ๑ รายสามเดือน และ นิตยสารทหารสื่อสาร รายปี
บัดนี้กาลเวลาได้ล่วงมาจากวันที่เริ่มต้น ถึงหกสิบปีแล้ว ทุกสิ่งทุกอย่างที่จะรวบรวมขึ้นมาเป็นข้อเขียนประเภทต่าง ๆ นั้น ก็หายากขึ้น เพราะเรื่องราวในโลกนี้ ก็ล้วนแต่ซ้ำซากวนเวียนอยู่ไม่ห่างไกลจากที่เคยประสบมาแล้วในอดีต ครั้นจะแปลจากเรื่องของฝรั่งที่มีความแปลกใหม่ ก็มีความรู้ไม่เพียงพอ และในปัจจุบันนี้จะต้องระมัดระวังเกี่ยวกับกฎหมายลิขสิทธิ์ที่เข้มงวดด้วย จึงสมควรแก่เวลาที่จะวางมือได้แล้ว เพราะอายุก็มากพอที่จะพักผ่อนอย่างไม่ต้องมีอะไรมาบีบรัดให้กังวลอีก คอยระวังรักษาตัวให้มีลมหายใจอยู่ ก็เหน็ดเหนื่อยพอล้ว
################
๑๑ ตุลาคม ๒๕๕๑