ฉากชีวิต
ชีวิตกับความใฝ่ฝัน
“ เพทาย “
ชีวิตของผมที่ยืนยาวมากว่าหกรอบนี้ มีความใฝ่ฝันสูงสุดอยู่เรื่องเดียว ไม่ได้อยากจะเป็นนายทหาร ทั้ง ๆ ที่บ้านอยู่ในตรอกติดกับโรงเรียนนายร้อยทหารบก ไม่ได้อยากจะร่ำรวยเป็นเศรษฐี ไม่ได้อยากมีภรรยาที่งามพร้อม ทั้งรูปสมบัติและคุณสมบัติ แต่ใฝ่ฝันอยากจะเป็นนักประพันธ์ที่มีชื่อเสียง เหมือนรุ่นพ่อรุ่นพี่ อย่าง สันต์ เทวรักษ์ มาลัย ชูพินิจ ฮิวเมอร์ริสต์ ฯลฯ ดังนั้น ในชีวิตของผมจึงเกี่ยวข้องกับการเขียนหนังสือ มาตลอดเวลาเกือบเจ็ดรอบ แม้จะไม่ได้เป็นทั้ง นักประพันธ์ หรือแม้แต่นักเขียน ก็ยังคงเขียนหนังสืออยู่ ไม่ทอดทิ้ง
ผมเริ่มหัดเขียนหนังสืออ่านเล่น ตั้งแต่เรียนอยู่ชั้นมัธยมปีที่หก ร่วมกับเพื่อนออกหนังสือพิมพ์ในชั้น ขณะนั้นอายุยังไม่ถึงสิบห้าปี เมื่อเข้าทำงานในกรมพาหนะทหารบก พ้นจากการเป็นลูกจ้างใช้แรงงานแล้ว ได้เป็นเสมียนอยู่ในร้านสหกรณ์ ก็ร่วมกับเพื่อนรุ่นพี่ออกหนังสือพิมพ์(ดีด) แข่งกับเพื่อนกลุ่มอื่นในกรมเดียวกัน อยู่อีกพักหนึ่ง
จนถึง พ.ศ.๒๔๙๑ ผมจึงกล้าส่งเรื่องที่เขียน ไปให้หนังสือพิมพ์ที่จำหน่ายในท้องตลาด ขณะเมื่อมีอายุได้สิบเจ็ดปี และได้รับการลงพิมพ์เป็นครั้งแรก ในนิตยสารโบว์แดง เมื่อ ๓๑ ตุลาคม ๒๔๙๑ เป็นเรื่องสั้นหน้าเดียวจบ ชื่อ สุภาพบุรุษของจิตรา นามปากกา “ เพทาย “
จากนั้นผมก็เขียนเรื่องสั้น ส่งไปให้ตามหนังสือพิมพ์ต่าง ๆ ติดต่อกันอย่างสม่ำเสมอ เป็นเวลาถึงหกปี ก็ได้ลงพิมพ์ในวารสารสิบกว่าชื่อ เป็นจำนวนกว่าสี่สิบเรื่อง จึงได้เข้ารับราชการกองประจำการเมื่อ เมษายน ๒๔๙๗
หลังจากที่ได้ผ่านหลักสูตรนักเรียนนายสิบ ออกรับราชการเป็นนายทหารประทวนแล้ว ก็ลงมือเขียนต่อไป แต่ส่วนใหญ่จะลงพิมพ์ในวารสารของทหารสื่อสาร ซึ่งมีอยู่สามฉบับ และล้มเลิกกิจการไปสองฉบับ คงเหลือยืนยงคงกระพันอยู่คือ นิตยสารทหารสื่อสาร
คราวนี้ผมก็เขียนดะไปหมด ทั้งสารคดี บทกลอน ขำขัน เรื่องสัพเพเหระ เป็นเวลานานยี่สิบปี มีผลงานมากมาย จากนั้นจึงได้เข้าร่วมอยู่ในกองบรรณาธิการ นิตยสารทหารสื่อสาร ถึงสิบสองปี
ในช่วงเวลานี้ ผมก็เขียนหนังสือลงพิมพ์ในนิตยสารทหารสื่อสาร เพียงเล่มเดียว เพราะเป็นเหมือนการทำราชการอีกหน้าที่หนึ่งด้วย เขียนแล้วพิจารณานำลงพิมพ์เอง ไม่ต้องมีใครตรวจ ทำให้มีนามปากกามากมายกว่าสิบชื่อ จนได้เป็นผู้ช่วยบรรณาธิการ นิตยสารทหารสื่อสาร ตามตำแหน่งประจำ มีหน้าที่ตรวจพิจารณาคัดเลือก เรื่องที่มีผู้ส่งมาให้ เพื่อบรรจุลงในแต่ละฉบับ ส่วนตนเองก็เขียนเรื่องที่ไม่ใช่วิทยาการ ลงพิมพ์เหมือนเดิม จนถึง พ.ศ.๒๕๓๕ จึงพ้นหน้าที่เพราะเกษียณอายุราชการ
ในช่วงหลังนี้ มีเรื่องลงพิมพ์ ในวารสารของเหล่าอื่น ทั้งทหารราบ ทหารม้า ทหารช่าง และทหารปืนใหญ่ ด้วย นามปากกา “ เล่าเซี่ยงชุน “ ก็ถือกำเนิดขึ้นมาเป็นครั้งแรกเมื่อ กรกฎาคม ๒๕๓๔ ในวารสารเสนาสาร ด้วยเรื่อง สามก๊กฉบับลิ่วล้อ แล้วก็เขียนต่อมาอีกสิบปี เป็นจำนวนเกือบจะสองร้อยตอน ได้ลงพิมพ์สม่ำเสมออยู่ในวารสารของทหารเหล่าต่าง ๆ ในกองทัพบก และนอกกองทัพบก เช่น กองพลทหาราบที่ ๓, กองพลทหารราบที่ ๔, สุรสิงหนาท ของ กองพลทหารราบที่ ๙ ,รักษาดินแดน, หลักเมือง ของ สำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม, โล่เงิน ซึ่งเป็นวารสารที่อยู่ในแวดวงตำรวจ, สยามอารยะ ของสยามสมาคม และต่วยตูน นิตยสารสาระบันเทิงที่มีระดับอีกด้วย จากนั้นนามปากกานี้ ก็เรียบเรียง นิยายอิงพงศาวดารจีน ที่มีการแปลมาแล้วเมื่อร้อยปีก่อน อีกหลายเรื่อง จนถึงบัดนี้
หลังเกษียณอายุแล้ว ผมก็ใช้เวลาเขียนหนังสือ แทนงานประจำ เขียนทุกวัน ๆ ละไม่น้อยกว่าห้าหกชั่วโมง บางทีก็ตลอดทั้งเช้าสายบ่ายเย็นค่ำดึก
ในระหว่างนี้เองก็มีเรื่องสั้นของ “ เพทาย “ ออกมาประปรายด้วยการเขียนเรื่องจากประสบการณ์ ที่ได้เกิดกับตนเอง กับเพื่อนฝูง และที่ได้พบเห็นมา จากการเดินถนนและโหนรถเมล์ เป็นชุด ฉากชีวิต
เมื่อถึงวันครบรอบ ๕๕ ปีของการเขียนหนังสือ ผมก็มีผลงานที่ได้ลงพิมพ์แล้ว มากกว่าห้าร้อยชิ้น และมีผลงานรวมเล่มอีกห้าเล่ม ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๔๑ ถึง ๒๕๔๗ เป็นเรื่องจีนในนามปากกา “ เล่าเซี่ยงชุน “ ทั้งสิ้น
เรื่องสามก๊กฉบับลิ่วล้อนั้น ผมเกิดความคิดมาจากท่าน ยาขอบ ซึ่งเขียนเรื่องราวของตัวละครในสามก๊ก เป็นตอน ๆ แต่มีน้อยตัวเกินไป ท่านอาจารย์ ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช ก็เขียนเพียงสองตัว ท่านอื่น ๆ ก็เขียนแต่ตัวเอกที่ผู้อ่านรู้จักกันดี ทำให้คิดจะเขียนถึงตัวละครเล็ก ๆ ซึ่งเป็นตัวประกอบที่ไม่มีใครรู้จักหรือจำได้ และไม่มีใครคิดจะเขียนมาก่อนหน้านี้เลย เมื่อเริ่มแล้วก็เกิดความสนุก ได้รู้เรื่องราวของตัวละครเหล่านั้น ตั้งแต่เริ่มจนจบ จึงเขียนทุกวันประมาณห้าปี ก็ได้เรื่องร้อยกว่าตอน เมื่อลงพิมพ์ในวารสารแล้ว ก็เอามาถ่ายเอกสารเป็นเล่มบาง ๆ แจกเพื่อนฝูงอ่าน เมื่อถึงวันเกิดทุกปี
เพื่อนของลูกชายได้อ่านพบเข้า ก็ว่าน่าจะพิมพ์รวมเล่มขายได้ จึงรวบรวมส่งสำนักพิมพ์ยาดอง ของเขาเองแต่ไม่สำเร็จ เขาโอนไปให้สำนักพิมพ์คณาธร ก็เงียบหายไป จึงนำไปเสนอสำนักพิมพ์นานมีบุ๊คส์ ก็ไม่สนับสนุน ตัดใจเสนอที่สำนักพิมพ์ดอกหญ้า เขาก็รับไว้พิจารณา แต่เวลาล่วงไปเป็นปี ก็ยังเงียบหาย จึงเอาไปเสนอที่สำนักพิมพ์ประพันธ์สาส์น พอดีกับทางโทรทัศน์มี ภาพยนตร์เรื่องสามก๊กฉบับบริบูรณ์ จากประเทศจีนมาฉายนับร้อยตอน จึงได้รับการจัดพิมพ์ สามก๊กฉบับลิ่วล้อ เป็นชุด ๓ เล่ม เมื่อ พ.ศ.๒๕๔๑
เมื่อเรียบร้อยแล้ว ก็เอาเรื่องอื่นไปเสนอเขาอีก เขาก็รับเรื่อง ซ้องกั๋งขุนโจรแห่งเขาเนียซัวเปาะ ไว้พิจารณา เพราะมีชื่อเสียงรองลงมาจากสามก๊ก เขาก็เก็บไว้เป็นปีเหมือนกัน พอดีทางโทรทัศน์มีภาพยนตร์เรื่อง ซ้องกั๋งวีรบุรุษแห่งเขาเหลียงซาน ซึ่งเป็นเรื่องเดียวกันมาฉาย ทางประพันธ์สาส์นจึงจัดพิมพ์ซ้องกั๋งของผม เมื่อ พ.ศ.๒๕๔๔ แต่เปลี่ยนชื่อให้เหมือนภาพยนตร์ ทั้ง ๆ ที่ชื่อตัวละครไม่เหมือนกัน เพราะในภาพยนต์ใช้ภาษาจีนกลาง
เมื่อเพื่อนของผมได้อ่านแล้วก็ว่า ไม่เห็นมีตอนไหนที่เป็นวีรบุรุษ ผมก็ว่าผมเขียนเฉพาะตอนที่เขาเป็นโจร ยังไม่ได้เป็นวีรบุรุษ ทางสำนักพิมพ์ไปเปลี่ยนเอาเอง เพื่อให้คนอ่านสนใจเท่านั้น
จากนั้นผมก็เอาเรื่อง คนดีแผ่นดินซ้อง ไปเสนอให้หนังสือพิมพ์ประเภทสัปดาห์วิจารณ์พิจารณา แต่ก็เงียบหายไป จนหนังสือนั้นหยุดกิจการไปแล้วเป็นปี ผมจึงได้รับการติดต่อจากสำนักพิมพ์ อินฟอร์มีเดียบุ๊คส์ ขอให้ส่งต้นฉบับเรื่องคนดีแผ่นดินซ้องไปให้พิจารณา แต่ขณะนั้นผมได้ส่งเรื่องนี้ ไปลงพิมพ์เป็นตอน ๆ อยู่ในนิตยสารโล่เงินรายเดือนประมาณครึ่งเรื่องแล้ว ยังอีกนานกว่าจะจบ จึงไม่สมควรเอามาพิมพ์เป็นเล่ม ผมก็เสนอเรื่องอื่นให้เขาเลือก เขากลับให้ผมตัดสินเอง ผมจึงเอาเรื่อง ทหารกล้าแผ่นดินฮั่น กับทหารเสือแผ่นดินถัง มารวมกัน เป็น นักรบสองแผ่นดิน ได้พิมพ์เมื่อ กลางปี พ.ศ.๒๕๔๖
ทางสำนักพิมพ์อินฟอร์มีเดียก็ยังขอเรื่องอื่นอีก ผมจึงคัดเลือกเรื่องจาก สามก๊กฉบับฮูหยิน ฉบับอัศวิน และฉบับฮ่องเต้ ที่ยังเหลือจากการรวมเล่มครั้งแรก มาเขียนเพิ่มเติมการเริ่มต้นและสิ้นสุดของสามก๊ก เป็น อวสานสามก๊ก สำหรับให้ผู้อ่านรุ่นใหม่ได้เข้าใจง่ายขึ้น เกิด ถูกใจบรรณาธิการ จึงได้รับการพิมพ์อย่างรวดเร็ว ในปลายปี พ.ศ.๒๕๔๖ อีกเล่มหนึ่ง
ก่อนที่จะถึงสำนักพิมพ์อินฟอร์มีเดียนั้น ผมได้เขียนเรื่องเบ็ดเตล็ดของสามก๊ก ที่แทรกอยู่ในเรื่องให้ชื่อว่า ปกิณกะสามก๊ก ลงพิมพ์อยู่ในนิตยสารต่วยตูนรายปักษ์ ค่อนข้างสม่ำเสมอ บังเอิญเจ้าของคณะละครที่ลูกชายของผมสังกัดอยู่ คิดจะเปิดสำนักพิมพ์โดยมีผู้ร่วมทุนรายใหญ่ ต้องการต้นฉบับเรื่องทุกประเภท ผมกับลูกชายจึงส่งเรื่องให้เขาทั้งหมดสี่ห้าเรื่อง เขาสั่งพิมพ์เรียงลำดับไปเลย เราก็ดีใจกันใหญ่ ไม่ได้คำนึงถึงค่าตอบแทนที่ค่อนข้างจะต่ำ แต่เวลาล่วงไปเพียงเดือนเดียว เจ้าของสำนักพิมพ์กับนายทุนก็ขัดใจกัน ไม่ยอมร่วมงานต่อไป เรื่องปกิณกะสามก๊กของผม เรียงพิมพ์และตรวจปรู๊ฟเสร็จแล้ว จึงมีปัญหาว่าจะให้นายทุนทำต่อไป หรือจะเอากลับมาให้สำนักพิมพ์เดิม ผมตัดสินใจเอาคืนเพราะเห็นแก่มิตรภาพมากกว่า และเรื่องของเราทั้งหมด ก็ไม่มีการพิมพ์
เจ้าของคณะละครที่คิดจะเอาดีทางพิมพ์หนังสือ เห็นใจผมจึงเอาปกิณกะสามก๊กไปให้สำนักพิมพ์เคล็ดไทยพิจารณา เขาก็ตกลงใจพิมพ์ในต้นปี พ.ศ.๒๕๔๗
และเมื่อเกษียณอายุราชการมาได้ประมาณสิบสอง
ปี วารสารฉบับต่าง ๆ ก็ทยอยกันปิดกิจการ หรือเปลี่ยนนโยบาย ที่จะรับเรื่องประเภทต่าง ๆ ในนามปากกาต่าง ๆ ของผม คงเหลืออยู่เพียงสามสี่ราย ที่ยังติดต่อกันอยู่ แต่ก็โชคดีที่ได้รู้จักอินเตอร์เนต และได้เข้ามาในถนนนักเขียน ของห้องสมุด เวปพันทิปดอทคอม จึงพบกับสนามประลองฝีมือในการเขียนทุกประเภท ที่กว้างขวาง ยิ่งกว่าบรรณพิภพที่เคยผ่านมา จึงนำเอาเรื่องต่าง ๆ ที่เขียนไว้มาลงพิมพ์ตั้งต้น พ.ศ.๒๕๔๘ และในที่นี้เองก็ได้รู้จักกับบรรณาธิการท่านหนึ่ง ที่นิยมเรื่องอิงพงศาวดารจีนของผม ขอนำบางตอนจากหลายเรื่อง ไปรวมพิมพ์เป็น บุญคุณต้องทดแทนความแค้นต้องอภัย โดยสำนักพิมพ์บ้านหนังสือโกสินทร์ เมื่อ พ.ศ.๒๕๔๙ ในขณะเดียวกัน สำนักพิมพ์ประพันธ์สาส์น เจ้าเก่าก็ค้นเอาเรื่อง เปาบุ้นจิ้น ซึ่งฝากไว้นานแล้ว ออกมาปัดฝุ่นและพิมพ์แข่งกับภาพยนตร์โทรทัศน์เรื่องเดียวกันเมื่อ พ.ศ.๒๕๔๙ อีกเล่มหนึ่งด้วย
ซึ่งผมก็รำลึกถึงพระคุณของสำนักพิมพ์ ผู้สนับสนุนผลงานของผม อยู่ไม่รู้ลืม
หวนนึกถึงเมื่อครั้งที่ผมมีอายุยี่สิบกว่าปี และเขียนเรื่องสั้นมาแล้วสิบปี ผมเคยนั่งคำนึงถึงอนาคตว่าจะได้เป็นนักเขียนนักประพันธ์กับเขาบ้างหรือไม่ บัดนี้อนาคตของผมได้กลายเป็นปัจจุบัน และได้รับคำตอบแล้ว ว่าความพากเพียรพยายามนั้น ไปไม่ถึงความใฝ่ฝันในชีวิตนี้ แม้จะได้ผลตอบแทนมาพอสมควรก็ตาม
แต่ผมก็ไม่เสียใจเลย ที่สามารถเขียนหนังสือมาได้จนถึงบัดนี้ และคงจะเขียนต่อไป เท่าที่สติปัญญายังเหลืออยู่ แม้ว่าจะไม่มีชื่อเสียงเป็นที่รู้จัก แต่ก็จะเขียนไปด้วยใจที่รักในการอ่านการเขียนมาตั้งแต่เด็ก เขียนด้วยความอยากเขียนเท่านั้น และยอมรับผลเท่าที่ควรได้ ด้วยความพอใจและภาคภูมิใจอย่างยิ่งว่า
สิ่งที่ได้มานี้ ได้มาด้วยความรู้ความคิด ความสามารถอันน้อยนิด และความอดทนของตนเอง ไม่ได้อาศัยพรสวรรค์ หรือสิ่งอื่นใดในพิภพเลย.
############
บันทึกเมื่อ พ.ศ.๒๕๔๗
แก้ไขเพิ่มเติมเมื่อ พ.ศ.๒๕๕๑
ความใฝ่ฝัน ๘ มี.ค.๖๑
ชีวิตกับความใฝ่ฝัน
“ เพทาย “
ชีวิตของผมที่ยืนยาวมากว่าหกรอบนี้ มีความใฝ่ฝันสูงสุดอยู่เรื่องเดียว ไม่ได้อยากจะเป็นนายทหาร ทั้ง ๆ ที่บ้านอยู่ในตรอกติดกับโรงเรียนนายร้อยทหารบก ไม่ได้อยากจะร่ำรวยเป็นเศรษฐี ไม่ได้อยากมีภรรยาที่งามพร้อม ทั้งรูปสมบัติและคุณสมบัติ แต่ใฝ่ฝันอยากจะเป็นนักประพันธ์ที่มีชื่อเสียง เหมือนรุ่นพ่อรุ่นพี่ อย่าง สันต์ เทวรักษ์ มาลัย ชูพินิจ ฮิวเมอร์ริสต์ ฯลฯ ดังนั้น ในชีวิตของผมจึงเกี่ยวข้องกับการเขียนหนังสือ มาตลอดเวลาเกือบเจ็ดรอบ แม้จะไม่ได้เป็นทั้ง นักประพันธ์ หรือแม้แต่นักเขียน ก็ยังคงเขียนหนังสืออยู่ ไม่ทอดทิ้ง
ผมเริ่มหัดเขียนหนังสืออ่านเล่น ตั้งแต่เรียนอยู่ชั้นมัธยมปีที่หก ร่วมกับเพื่อนออกหนังสือพิมพ์ในชั้น ขณะนั้นอายุยังไม่ถึงสิบห้าปี เมื่อเข้าทำงานในกรมพาหนะทหารบก พ้นจากการเป็นลูกจ้างใช้แรงงานแล้ว ได้เป็นเสมียนอยู่ในร้านสหกรณ์ ก็ร่วมกับเพื่อนรุ่นพี่ออกหนังสือพิมพ์(ดีด) แข่งกับเพื่อนกลุ่มอื่นในกรมเดียวกัน อยู่อีกพักหนึ่ง
จนถึง พ.ศ.๒๔๙๑ ผมจึงกล้าส่งเรื่องที่เขียน ไปให้หนังสือพิมพ์ที่จำหน่ายในท้องตลาด ขณะเมื่อมีอายุได้สิบเจ็ดปี และได้รับการลงพิมพ์เป็นครั้งแรก ในนิตยสารโบว์แดง เมื่อ ๓๑ ตุลาคม ๒๔๙๑ เป็นเรื่องสั้นหน้าเดียวจบ ชื่อ สุภาพบุรุษของจิตรา นามปากกา “ เพทาย “
จากนั้นผมก็เขียนเรื่องสั้น ส่งไปให้ตามหนังสือพิมพ์ต่าง ๆ ติดต่อกันอย่างสม่ำเสมอ เป็นเวลาถึงหกปี ก็ได้ลงพิมพ์ในวารสารสิบกว่าชื่อ เป็นจำนวนกว่าสี่สิบเรื่อง จึงได้เข้ารับราชการกองประจำการเมื่อ เมษายน ๒๔๙๗
หลังจากที่ได้ผ่านหลักสูตรนักเรียนนายสิบ ออกรับราชการเป็นนายทหารประทวนแล้ว ก็ลงมือเขียนต่อไป แต่ส่วนใหญ่จะลงพิมพ์ในวารสารของทหารสื่อสาร ซึ่งมีอยู่สามฉบับ และล้มเลิกกิจการไปสองฉบับ คงเหลือยืนยงคงกระพันอยู่คือ นิตยสารทหารสื่อสาร
คราวนี้ผมก็เขียนดะไปหมด ทั้งสารคดี บทกลอน ขำขัน เรื่องสัพเพเหระ เป็นเวลานานยี่สิบปี มีผลงานมากมาย จากนั้นจึงได้เข้าร่วมอยู่ในกองบรรณาธิการ นิตยสารทหารสื่อสาร ถึงสิบสองปี
ในช่วงเวลานี้ ผมก็เขียนหนังสือลงพิมพ์ในนิตยสารทหารสื่อสาร เพียงเล่มเดียว เพราะเป็นเหมือนการทำราชการอีกหน้าที่หนึ่งด้วย เขียนแล้วพิจารณานำลงพิมพ์เอง ไม่ต้องมีใครตรวจ ทำให้มีนามปากกามากมายกว่าสิบชื่อ จนได้เป็นผู้ช่วยบรรณาธิการ นิตยสารทหารสื่อสาร ตามตำแหน่งประจำ มีหน้าที่ตรวจพิจารณาคัดเลือก เรื่องที่มีผู้ส่งมาให้ เพื่อบรรจุลงในแต่ละฉบับ ส่วนตนเองก็เขียนเรื่องที่ไม่ใช่วิทยาการ ลงพิมพ์เหมือนเดิม จนถึง พ.ศ.๒๕๓๕ จึงพ้นหน้าที่เพราะเกษียณอายุราชการ
ในช่วงหลังนี้ มีเรื่องลงพิมพ์ ในวารสารของเหล่าอื่น ทั้งทหารราบ ทหารม้า ทหารช่าง และทหารปืนใหญ่ ด้วย นามปากกา “ เล่าเซี่ยงชุน “ ก็ถือกำเนิดขึ้นมาเป็นครั้งแรกเมื่อ กรกฎาคม ๒๕๓๔ ในวารสารเสนาสาร ด้วยเรื่อง สามก๊กฉบับลิ่วล้อ แล้วก็เขียนต่อมาอีกสิบปี เป็นจำนวนเกือบจะสองร้อยตอน ได้ลงพิมพ์สม่ำเสมออยู่ในวารสารของทหารเหล่าต่าง ๆ ในกองทัพบก และนอกกองทัพบก เช่น กองพลทหาราบที่ ๓, กองพลทหารราบที่ ๔, สุรสิงหนาท ของ กองพลทหารราบที่ ๙ ,รักษาดินแดน, หลักเมือง ของ สำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม, โล่เงิน ซึ่งเป็นวารสารที่อยู่ในแวดวงตำรวจ, สยามอารยะ ของสยามสมาคม และต่วยตูน นิตยสารสาระบันเทิงที่มีระดับอีกด้วย จากนั้นนามปากกานี้ ก็เรียบเรียง นิยายอิงพงศาวดารจีน ที่มีการแปลมาแล้วเมื่อร้อยปีก่อน อีกหลายเรื่อง จนถึงบัดนี้
หลังเกษียณอายุแล้ว ผมก็ใช้เวลาเขียนหนังสือ แทนงานประจำ เขียนทุกวัน ๆ ละไม่น้อยกว่าห้าหกชั่วโมง บางทีก็ตลอดทั้งเช้าสายบ่ายเย็นค่ำดึก
ในระหว่างนี้เองก็มีเรื่องสั้นของ “ เพทาย “ ออกมาประปรายด้วยการเขียนเรื่องจากประสบการณ์ ที่ได้เกิดกับตนเอง กับเพื่อนฝูง และที่ได้พบเห็นมา จากการเดินถนนและโหนรถเมล์ เป็นชุด ฉากชีวิต
เมื่อถึงวันครบรอบ ๕๕ ปีของการเขียนหนังสือ ผมก็มีผลงานที่ได้ลงพิมพ์แล้ว มากกว่าห้าร้อยชิ้น และมีผลงานรวมเล่มอีกห้าเล่ม ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๔๑ ถึง ๒๕๔๗ เป็นเรื่องจีนในนามปากกา “ เล่าเซี่ยงชุน “ ทั้งสิ้น
เรื่องสามก๊กฉบับลิ่วล้อนั้น ผมเกิดความคิดมาจากท่าน ยาขอบ ซึ่งเขียนเรื่องราวของตัวละครในสามก๊ก เป็นตอน ๆ แต่มีน้อยตัวเกินไป ท่านอาจารย์ ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช ก็เขียนเพียงสองตัว ท่านอื่น ๆ ก็เขียนแต่ตัวเอกที่ผู้อ่านรู้จักกันดี ทำให้คิดจะเขียนถึงตัวละครเล็ก ๆ ซึ่งเป็นตัวประกอบที่ไม่มีใครรู้จักหรือจำได้ และไม่มีใครคิดจะเขียนมาก่อนหน้านี้เลย เมื่อเริ่มแล้วก็เกิดความสนุก ได้รู้เรื่องราวของตัวละครเหล่านั้น ตั้งแต่เริ่มจนจบ จึงเขียนทุกวันประมาณห้าปี ก็ได้เรื่องร้อยกว่าตอน เมื่อลงพิมพ์ในวารสารแล้ว ก็เอามาถ่ายเอกสารเป็นเล่มบาง ๆ แจกเพื่อนฝูงอ่าน เมื่อถึงวันเกิดทุกปี
เพื่อนของลูกชายได้อ่านพบเข้า ก็ว่าน่าจะพิมพ์รวมเล่มขายได้ จึงรวบรวมส่งสำนักพิมพ์ยาดอง ของเขาเองแต่ไม่สำเร็จ เขาโอนไปให้สำนักพิมพ์คณาธร ก็เงียบหายไป จึงนำไปเสนอสำนักพิมพ์นานมีบุ๊คส์ ก็ไม่สนับสนุน ตัดใจเสนอที่สำนักพิมพ์ดอกหญ้า เขาก็รับไว้พิจารณา แต่เวลาล่วงไปเป็นปี ก็ยังเงียบหาย จึงเอาไปเสนอที่สำนักพิมพ์ประพันธ์สาส์น พอดีกับทางโทรทัศน์มี ภาพยนตร์เรื่องสามก๊กฉบับบริบูรณ์ จากประเทศจีนมาฉายนับร้อยตอน จึงได้รับการจัดพิมพ์ สามก๊กฉบับลิ่วล้อ เป็นชุด ๓ เล่ม เมื่อ พ.ศ.๒๕๔๑
เมื่อเรียบร้อยแล้ว ก็เอาเรื่องอื่นไปเสนอเขาอีก เขาก็รับเรื่อง ซ้องกั๋งขุนโจรแห่งเขาเนียซัวเปาะ ไว้พิจารณา เพราะมีชื่อเสียงรองลงมาจากสามก๊ก เขาก็เก็บไว้เป็นปีเหมือนกัน พอดีทางโทรทัศน์มีภาพยนตร์เรื่อง ซ้องกั๋งวีรบุรุษแห่งเขาเหลียงซาน ซึ่งเป็นเรื่องเดียวกันมาฉาย ทางประพันธ์สาส์นจึงจัดพิมพ์ซ้องกั๋งของผม เมื่อ พ.ศ.๒๕๔๔ แต่เปลี่ยนชื่อให้เหมือนภาพยนตร์ ทั้ง ๆ ที่ชื่อตัวละครไม่เหมือนกัน เพราะในภาพยนต์ใช้ภาษาจีนกลาง
เมื่อเพื่อนของผมได้อ่านแล้วก็ว่า ไม่เห็นมีตอนไหนที่เป็นวีรบุรุษ ผมก็ว่าผมเขียนเฉพาะตอนที่เขาเป็นโจร ยังไม่ได้เป็นวีรบุรุษ ทางสำนักพิมพ์ไปเปลี่ยนเอาเอง เพื่อให้คนอ่านสนใจเท่านั้น
จากนั้นผมก็เอาเรื่อง คนดีแผ่นดินซ้อง ไปเสนอให้หนังสือพิมพ์ประเภทสัปดาห์วิจารณ์พิจารณา แต่ก็เงียบหายไป จนหนังสือนั้นหยุดกิจการไปแล้วเป็นปี ผมจึงได้รับการติดต่อจากสำนักพิมพ์ อินฟอร์มีเดียบุ๊คส์ ขอให้ส่งต้นฉบับเรื่องคนดีแผ่นดินซ้องไปให้พิจารณา แต่ขณะนั้นผมได้ส่งเรื่องนี้ ไปลงพิมพ์เป็นตอน ๆ อยู่ในนิตยสารโล่เงินรายเดือนประมาณครึ่งเรื่องแล้ว ยังอีกนานกว่าจะจบ จึงไม่สมควรเอามาพิมพ์เป็นเล่ม ผมก็เสนอเรื่องอื่นให้เขาเลือก เขากลับให้ผมตัดสินเอง ผมจึงเอาเรื่อง ทหารกล้าแผ่นดินฮั่น กับทหารเสือแผ่นดินถัง มารวมกัน เป็น นักรบสองแผ่นดิน ได้พิมพ์เมื่อ กลางปี พ.ศ.๒๕๔๖
ทางสำนักพิมพ์อินฟอร์มีเดียก็ยังขอเรื่องอื่นอีก ผมจึงคัดเลือกเรื่องจาก สามก๊กฉบับฮูหยิน ฉบับอัศวิน และฉบับฮ่องเต้ ที่ยังเหลือจากการรวมเล่มครั้งแรก มาเขียนเพิ่มเติมการเริ่มต้นและสิ้นสุดของสามก๊ก เป็น อวสานสามก๊ก สำหรับให้ผู้อ่านรุ่นใหม่ได้เข้าใจง่ายขึ้น เกิด ถูกใจบรรณาธิการ จึงได้รับการพิมพ์อย่างรวดเร็ว ในปลายปี พ.ศ.๒๕๔๖ อีกเล่มหนึ่ง
ก่อนที่จะถึงสำนักพิมพ์อินฟอร์มีเดียนั้น ผมได้เขียนเรื่องเบ็ดเตล็ดของสามก๊ก ที่แทรกอยู่ในเรื่องให้ชื่อว่า ปกิณกะสามก๊ก ลงพิมพ์อยู่ในนิตยสารต่วยตูนรายปักษ์ ค่อนข้างสม่ำเสมอ บังเอิญเจ้าของคณะละครที่ลูกชายของผมสังกัดอยู่ คิดจะเปิดสำนักพิมพ์โดยมีผู้ร่วมทุนรายใหญ่ ต้องการต้นฉบับเรื่องทุกประเภท ผมกับลูกชายจึงส่งเรื่องให้เขาทั้งหมดสี่ห้าเรื่อง เขาสั่งพิมพ์เรียงลำดับไปเลย เราก็ดีใจกันใหญ่ ไม่ได้คำนึงถึงค่าตอบแทนที่ค่อนข้างจะต่ำ แต่เวลาล่วงไปเพียงเดือนเดียว เจ้าของสำนักพิมพ์กับนายทุนก็ขัดใจกัน ไม่ยอมร่วมงานต่อไป เรื่องปกิณกะสามก๊กของผม เรียงพิมพ์และตรวจปรู๊ฟเสร็จแล้ว จึงมีปัญหาว่าจะให้นายทุนทำต่อไป หรือจะเอากลับมาให้สำนักพิมพ์เดิม ผมตัดสินใจเอาคืนเพราะเห็นแก่มิตรภาพมากกว่า และเรื่องของเราทั้งหมด ก็ไม่มีการพิมพ์
เจ้าของคณะละครที่คิดจะเอาดีทางพิมพ์หนังสือ เห็นใจผมจึงเอาปกิณกะสามก๊กไปให้สำนักพิมพ์เคล็ดไทยพิจารณา เขาก็ตกลงใจพิมพ์ในต้นปี พ.ศ.๒๕๔๗
และเมื่อเกษียณอายุราชการมาได้ประมาณสิบสอง
ปี วารสารฉบับต่าง ๆ ก็ทยอยกันปิดกิจการ หรือเปลี่ยนนโยบาย ที่จะรับเรื่องประเภทต่าง ๆ ในนามปากกาต่าง ๆ ของผม คงเหลืออยู่เพียงสามสี่ราย ที่ยังติดต่อกันอยู่ แต่ก็โชคดีที่ได้รู้จักอินเตอร์เนต และได้เข้ามาในถนนนักเขียน ของห้องสมุด เวปพันทิปดอทคอม จึงพบกับสนามประลองฝีมือในการเขียนทุกประเภท ที่กว้างขวาง ยิ่งกว่าบรรณพิภพที่เคยผ่านมา จึงนำเอาเรื่องต่าง ๆ ที่เขียนไว้มาลงพิมพ์ตั้งต้น พ.ศ.๒๕๔๘ และในที่นี้เองก็ได้รู้จักกับบรรณาธิการท่านหนึ่ง ที่นิยมเรื่องอิงพงศาวดารจีนของผม ขอนำบางตอนจากหลายเรื่อง ไปรวมพิมพ์เป็น บุญคุณต้องทดแทนความแค้นต้องอภัย โดยสำนักพิมพ์บ้านหนังสือโกสินทร์ เมื่อ พ.ศ.๒๕๔๙ ในขณะเดียวกัน สำนักพิมพ์ประพันธ์สาส์น เจ้าเก่าก็ค้นเอาเรื่อง เปาบุ้นจิ้น ซึ่งฝากไว้นานแล้ว ออกมาปัดฝุ่นและพิมพ์แข่งกับภาพยนตร์โทรทัศน์เรื่องเดียวกันเมื่อ พ.ศ.๒๕๔๙ อีกเล่มหนึ่งด้วย
ซึ่งผมก็รำลึกถึงพระคุณของสำนักพิมพ์ ผู้สนับสนุนผลงานของผม อยู่ไม่รู้ลืม
หวนนึกถึงเมื่อครั้งที่ผมมีอายุยี่สิบกว่าปี และเขียนเรื่องสั้นมาแล้วสิบปี ผมเคยนั่งคำนึงถึงอนาคตว่าจะได้เป็นนักเขียนนักประพันธ์กับเขาบ้างหรือไม่ บัดนี้อนาคตของผมได้กลายเป็นปัจจุบัน และได้รับคำตอบแล้ว ว่าความพากเพียรพยายามนั้น ไปไม่ถึงความใฝ่ฝันในชีวิตนี้ แม้จะได้ผลตอบแทนมาพอสมควรก็ตาม
แต่ผมก็ไม่เสียใจเลย ที่สามารถเขียนหนังสือมาได้จนถึงบัดนี้ และคงจะเขียนต่อไป เท่าที่สติปัญญายังเหลืออยู่ แม้ว่าจะไม่มีชื่อเสียงเป็นที่รู้จัก แต่ก็จะเขียนไปด้วยใจที่รักในการอ่านการเขียนมาตั้งแต่เด็ก เขียนด้วยความอยากเขียนเท่านั้น และยอมรับผลเท่าที่ควรได้ ด้วยความพอใจและภาคภูมิใจอย่างยิ่งว่า
สิ่งที่ได้มานี้ ได้มาด้วยความรู้ความคิด ความสามารถอันน้อยนิด และความอดทนของตนเอง ไม่ได้อาศัยพรสวรรค์ หรือสิ่งอื่นใดในพิภพเลย.
############
บันทึกเมื่อ พ.ศ.๒๕๔๗
แก้ไขเพิ่มเติมเมื่อ พ.ศ.๒๕๕๑