.
คำถาม : นิยายกำลังภายในของปรมาจารย์หวงอี้ ท่านชอบเรื่องใดบ้าง? (เรียงจากมากที่สุดไปหาน้อย)
หวงอี้
หวง อี้ (อักษรจีน: 黄易 พินอิน: Huáng Yì; 15 มีนาคม พ.ศ. 2495 – 5 เมษายน พ.ศ. 2560) เป็นนามปากกาของนักเขียนนิยายวิทยาศาสตร์และนิยายกำลังภายในชาวฮ่องกง ชื่อจริง หวง จู่เฉียง (黄祖强) หลังเรียนจบศิลปกรรมศาสตร์จากมหาวิทยาลัยจีนฮ่องกง (Chinese University of Hong Kong) เข้าทำงานที่สำนักงานฮ่องกงอาร์ต ดีเวลล็อปเมนต์ เคาน์ซิล จนได้เลื่อนขั้นเป็นระดับรองผู้อำนวยการ เริ่มเขียนนิยายกำลังภายในเมื่อ ค.ศ. 1987 โดยช่วงแรกเขียนควบคู่ไปกับนิยายวิทยาศาสตร์ ในภายหลังจึงเปลี่ยนมาเขียนกำลังภายในเพียงอย่างเดียว โดยนิยายกำลังภายในเรื่องแรกคือ เทพทลายนภา
หวง อี้ เสียชีวิตเมื่อวันที่ 5 เมษายน พ.ศ. 2560 ที่โรงพยาบาลที่ฮ่องกง ด้วยโรคเส้นเลือดในสมองอุดตัน สิริอายุ 65 ปี
ผลงาน
ผลงานของหวงอี้ที่จัดพิมพ์ในประเทศไทยแปลโดย น.นพรัตน์ จัดพิมพ์โดยสำนักพิมพ์สยามอินเตอร์บุ๊คส์ เรียงตามลำดับการจัดพิมพ์ดังนี้
-
เจาะเวลาหาจิ๋นซี (尋秦記) - 8 เล่ม (2543, ฉบับตีพิมพ์ใหม่ลดลงเหลือ 7 เล่ม)
-
มังกรคู่สู้สิบทิศ (大唐雙龍傳) - 21 เล่ม (ต.ค. 2544)
-
ขุนศึกสะท้านปฐพี (荆楚 爭雄記) - 1 เล่ม (มี.ค. 2546)
-
เทพมารสะท้านภพ (覆雨翻雲) - 18 เล่ม (พ.ค. 2548)
-
จอมคนแผ่นดินเดือด (邊荒傳說) - 23 เล่ม (ก.ย. 2549)
-
เทพทลายนภา (破碎虚空) - 1 เล่ม (ก.ย. 2550)
-
ศึกรักแดนสนธยา (云梦城之谜) - 4 เล่ม (พ.ย. 2550)
-
ผู้พิชิตดาราจักร (星际浪子) - 6 เล่ม (มี.ค. 2552)
-
ผจญภัยข้ามขอบฟ้า (凌渡宇系列) - 6 เล่ม (ส.ค. 2553)
-
นักล่ามหาประลัย (超级战士) - 2 เล่ม (พค. 2555)
-
เหยี่ยวมารสะท้านสิบทิศ (日月當空) - 18 เล่ม จบภาค
-
เหยี่ยวมารสัประยุทธ์สิบทิศ (龍戰在野) - 18 เล่ม เป็นภาคต่อจากเหยี่ยวมารสะท้านสิบทิศ (ม.ค. 2558)
-
เหยี่ยวมารสยบสิบทิศ - 22 เล่ม เป็นภาคสุดท้ายที่หวงอี้เขียนไม่จบ
เรียงตามลำดับการเขียน
- ขุนศึกสะท้านปฐพี (พ.ศ. 2530 และแก้ไขปรับปรุงใหม่ พ.ศ. 2538, ใช้ชื่อ ศึกเลียดก๊ก พิมพ์ปี 2532 ว.ณ เมืองลุง แปล)
- เทพทลายนภา (พ.ศ. 2531 และแก้ไขปรับปรุงใหม่ พ.ศ. 2539, ใช้ชื่อ เหยี่ยวเหนือฟ้า พิมพ์ปี 2533 ว.ณ เมืองลุง แปล)
- ผจญภัยข้ามขอบฟ้า (พ.ศ. 2531)
- เทพมารสะท้านภพ (พ.ศ. 2535)
- ผู้พิชิตดาราจักร (พ.ศ. 2537)
- เจาะเวลาหาจิ๋นซี (ก.ค. 2537)
- มังกรคู่สู้สิบทิศ (ม.ค. 2539)
- นักล่ามหาประลัย (พ.ศ. 2543)
- จอมคนแผ่นดินเดือด (พ.ศ. 2544)
- ศึกรักแดนสนธยา (พ.ศ. 2549)
- เหยี่ยวมารสะท้านสิบทิศ
- เหยี่ยวมารสัประยุทธ์สิบทิศ
- เหยี่ยวมารสยบสิบทิศ (กำหนดไว้ 36 เล่ม แต่เขียนถึงบทที่ 1 เล่ม 23 ก็เสียชีวิต)
เรียงตามลำดับเวลาในประวัติศาสตร์จีน
- ขุนศึกสะท้านปฐพี (ยุคชุนชิว)
- เจาะเวลาหาจิ๋นซี (ต้นราชวงศ์ฉิน)
- จอมคนแผ่นดินเดือด (ปลายราชวงศ์จิ้น ยุคห้าชนเผ่าสิบหกแคว้น ก่อนยุคราชวงศ์เหนือ-ใต้)
- มังกรคู่สู้สิบทิศ (ปลายราชวงศ์สุย ต่อ ต้นราชวงศ์ถัง)
- เหยี่ยวมารสะท้านสิบทิศ เหยี่ยวมารสัประยุทธ์สิบทิศ และเหยี่ยวมารสยบสิบทิศ (สมัยบูเช็กเทียน ต้นราชวงศ์ถัง เดินเรื่องหลังเหตุการณ์ใน
มังกรคู่สู้สิบทิศเล่มจบ ประมาณ 60 ปี)
- เทพทลายนภา (ราชวงศ์หยวน)
- เทพมารสะท้านภพ (ต้นราชวงศ์หมิง)
- ผจญภัยข้ามขอบฟ้า (ปัจจุบัน)
- นักล่ามหาประลัย (โลกอนาคต)
- ผู้พิชิตดาราจักร (โลกอนาคต)
- สำหรับเรื่อง ศึกรักแดนสนธยานั้น หวงอี้ไม่ได้ระบุช่วงเวลาทางประวัติศาสตร์ที่แน่นอน
ผลงานที่ถูกดัดแปลงในสื่ออื่น
ผลงานเรื่องเจาะเวลาหาจิ๋นซี, มังกรคู่สู้สิบทิศ และเทพมารสะท้านภพได้รับการดัดแปลงเป็นละครชุดทางโทรทัศน์โดย TVB ของประเทศจีน ผลงานเกือบทุกเรื่องมีเวอร์ชันหนังสือการ์ตูนเช่นกัน
เนื่องจากหวงอี้เป็นนักเขียนยุคใหม่ที่เขียนนิยายกำลังภายในในช่วงที่ตลาดซบเซา เพราะการเสียชีวิตของโก้วเล้ง และการหยุดเขียนของกิมย้ง สองนักเขียนนิยายระดับปรมาจารย์ ทำให้ผลงานของหวงอี้ได้รับความนิยมเป็นอย่างมากในเอเชีย รวมถึงประเทศไทย
ผลงานของหวงอี้ที่จัดพิมพ์ในประเทศไทยแปลโดย น.นพรัตน์ จัดพิมพ์โดยสำนักพิมพ์สยามอินเตอร์บุ๊คส์ ไม่ว่าจะเป็น เจาะเวลาหาจิ๋นซี มังกรคู่สู้สิบทิศ เทพมารสะท้านภพ ขุนศึกสะท้านปฐพี จอมคนแผ่นดินเดือด ศึกรักแดนสนธยา เหยี่ยวมารสะท้านสิบทิศ เหยี่ยวมารสัประยุทธ์สิบทิศ ฯลฯ ล้วนแต่ได้รับความนิยมอย่างสูง
ในช่วงแรกๆ ผลงานของหวงอี้ค่อนข้างหวือหวา และเต็มไปด้วยบทอีโรติก จนในที่สุดเขาก็พบแนวที่เหมาะสมที่สุดนั่นคือ แนวการเขียนนิยายวิทยาศาสตร์ผสมผสานไปกับนิยายกำลังภายใน ซึ่งถือว่าเป็นความแปลกใหม่และได้จุดกระแสความนิยมขึ้นในหมู่นักอ่านทั้งฮ่องกง ไต้หวัน มาเลเซีย สิงคโปร์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งผลงานชุด ‘เจาะเวลาหาจิ๋นซี’ ที่มีการคิดพล็อตเรื่องสลับซับซ้อน การวางจังหวะตัวละครอย่างลงตัว ลุ้นตลอดเรื่อง และจบลงอย่างสวยงาม
แต่หวงอี้ไม่หยุดแค่นั้นเขาได้ผูกเรื่อง ‘มังกรคู่สู่สิบทิศ’ ที่ถือเป็นสุดยอดมหากาพย์แห่งยุค ที่สร้างสรรค์ตัวอักษรให้ผู้อ่านได้ลุ้นตั้งแต่บรรทัดแรกถึงบรรทัดสุดท้าย ต่อมาเขายังมีผลงานเรื่องสั้นแบบเรื่องเดียวจบอีกด้วยนั่นคือ ‘ขุนศึกสะท้านปฐพี’
“หวงอี้เป็นผู้บุกเบิกเส้นทางสายใหม่กับวงการนิยายจีนกำลังภายใน ผลงานของเขาหลอมรวมหลักวิทยาศาสตร์เข้ากับกำลังภายในได้อย่างลงตัว นอกจากนั้นยังมีการศึกษาถึงข้อมูล ความรู้ที่อิงประวัติศาสตร์ และมีการบรรยายฉากบวกกับการบรรยายตัวละครได้อย่างละเอียดลึกซึ้ง"
“จุดเด่นนั้นอยู่ที่การสร้างตัวละครให้คล้ายกับบุคคลมีชีวิตร่วมสัมผัสไปกับบรรดาผู้ยิ่งใหญ่ในประวัติศาสตร์ได้ พร้อมกันนั้นตัวหนังสือของหวงอี้ยังสะท้อนให้เห็นถึงมนุษย์ทุกรูปแบบ บ้างช่วงชิงเพื่อผลประโชน์ บ้างต่อสู้เพื่ออุดมการณ์อันสูงส่ง เรื่องราวระหว่างความดีกับความเลวซึ่งขึ้นอยู่กับแต่ละมุมมองที่แตกต่างกันออกไป"
“เค้าโครงเรื่องของหวงอี้เน้นความสลับซับซ้อน แต่ไม่สับสน ชวนให้ติดตาม เพราะฝีมือการถักทอเรื่องราวของเขาไม่แพ้ปรมาจารย์ 'กิมย้ง' แต่ต้องบอกเลยว่าฉากสงครามของหวงอี้เขียนได้เข้มข้นสมจริงยิ่งกว่า จนแทบจะหลับตาลงมองเห็นกองทัพม้าห้อตะบึงอยู่หน้านับหมื่นแสนตัว”
น.นพรัตน์ นักแปลนวนิยายจีนชื่อดัง และผู้แปลผลงานของหวงอี้เกือบทุกเรื่องเคยกล่าวเอาไว้
เหล่านี้ทำให้ผลงานของหวงอี้หลายเรื่องที่แปลออกมาขายดิบ ขายดี ติดอันดับเบสต์เซลเลอร์ที่ฮ่องกง จนได้รับการขนานนามว่าเป็น นักเขียนฮ่องกงที่ขายดีที่สุดในยุคปัจจุบัน
😍📖📘 นิยายกำลังภายในของหวงอี้ ท่านชอบเรื่องใดบ้าง? 📘📖😍
- มังกรคู่สู้สิบทิศ (大唐雙龍傳) - 21 เล่ม (ต.ค. 2544)
- ขุนศึกสะท้านปฐพี (荆楚 爭雄記) - 1 เล่ม (มี.ค. 2546)
- เทพมารสะท้านภพ (覆雨翻雲) - 18 เล่ม (พ.ค. 2548)
- จอมคนแผ่นดินเดือด (邊荒傳說) - 23 เล่ม (ก.ย. 2549)
- เทพทลายนภา (破碎虚空) - 1 เล่ม (ก.ย. 2550)
- ศึกรักแดนสนธยา (云梦城之谜) - 4 เล่ม (พ.ย. 2550)
- ผู้พิชิตดาราจักร (星际浪子) - 6 เล่ม (มี.ค. 2552)
- ผจญภัยข้ามขอบฟ้า (凌渡宇系列) - 6 เล่ม (ส.ค. 2553)
- นักล่ามหาประลัย (超级战士) - 2 เล่ม (พค. 2555)
- เหยี่ยวมารสะท้านสิบทิศ (日月當空) - 18 เล่ม จบภาค
- เหยี่ยวมารสัประยุทธ์สิบทิศ (龍戰在野) - 18 เล่ม เป็นภาคต่อจากเหยี่ยวมารสะท้านสิบทิศ (ม.ค. 2558)
- เหยี่ยวมารสยบสิบทิศ - 22 เล่ม เป็นภาคสุดท้ายที่หวงอี้เขียนไม่จบ
- ขุนศึกสะท้านปฐพี (พ.ศ. 2530 และแก้ไขปรับปรุงใหม่ พ.ศ. 2538, ใช้ชื่อ ศึกเลียดก๊ก พิมพ์ปี 2532 ว.ณ เมืองลุง แปล)
- เทพทลายนภา (พ.ศ. 2531 และแก้ไขปรับปรุงใหม่ พ.ศ. 2539, ใช้ชื่อ เหยี่ยวเหนือฟ้า พิมพ์ปี 2533 ว.ณ เมืองลุง แปล)
- ผจญภัยข้ามขอบฟ้า (พ.ศ. 2531)
- เทพมารสะท้านภพ (พ.ศ. 2535)
- ผู้พิชิตดาราจักร (พ.ศ. 2537)
- เจาะเวลาหาจิ๋นซี (ก.ค. 2537)
- มังกรคู่สู้สิบทิศ (ม.ค. 2539)
- นักล่ามหาประลัย (พ.ศ. 2543)
- จอมคนแผ่นดินเดือด (พ.ศ. 2544)
- ศึกรักแดนสนธยา (พ.ศ. 2549)
- เหยี่ยวมารสะท้านสิบทิศ
- เหยี่ยวมารสัประยุทธ์สิบทิศ
- เหยี่ยวมารสยบสิบทิศ (กำหนดไว้ 36 เล่ม แต่เขียนถึงบทที่ 1 เล่ม 23 ก็เสียชีวิต)
- ขุนศึกสะท้านปฐพี (ยุคชุนชิว)
- เจาะเวลาหาจิ๋นซี (ต้นราชวงศ์ฉิน)
- จอมคนแผ่นดินเดือด (ปลายราชวงศ์จิ้น ยุคห้าชนเผ่าสิบหกแคว้น ก่อนยุคราชวงศ์เหนือ-ใต้)
- มังกรคู่สู้สิบทิศ (ปลายราชวงศ์สุย ต่อ ต้นราชวงศ์ถัง)
- เหยี่ยวมารสะท้านสิบทิศ เหยี่ยวมารสัประยุทธ์สิบทิศ และเหยี่ยวมารสยบสิบทิศ (สมัยบูเช็กเทียน ต้นราชวงศ์ถัง เดินเรื่องหลังเหตุการณ์ใน
มังกรคู่สู้สิบทิศเล่มจบ ประมาณ 60 ปี)
- เทพทลายนภา (ราชวงศ์หยวน)
- เทพมารสะท้านภพ (ต้นราชวงศ์หมิง)
- ผจญภัยข้ามขอบฟ้า (ปัจจุบัน)
- นักล่ามหาประลัย (โลกอนาคต)
- ผู้พิชิตดาราจักร (โลกอนาคต)
- สำหรับเรื่อง ศึกรักแดนสนธยานั้น หวงอี้ไม่ได้ระบุช่วงเวลาทางประวัติศาสตร์ที่แน่นอน
ผลงานเรื่องเจาะเวลาหาจิ๋นซี, มังกรคู่สู้สิบทิศ และเทพมารสะท้านภพได้รับการดัดแปลงเป็นละครชุดทางโทรทัศน์โดย TVB ของประเทศจีน ผลงานเกือบทุกเรื่องมีเวอร์ชันหนังสือการ์ตูนเช่นกัน
ผลงานของหวงอี้ที่จัดพิมพ์ในประเทศไทยแปลโดย น.นพรัตน์ จัดพิมพ์โดยสำนักพิมพ์สยามอินเตอร์บุ๊คส์ ไม่ว่าจะเป็น เจาะเวลาหาจิ๋นซี มังกรคู่สู้สิบทิศ เทพมารสะท้านภพ ขุนศึกสะท้านปฐพี จอมคนแผ่นดินเดือด ศึกรักแดนสนธยา เหยี่ยวมารสะท้านสิบทิศ เหยี่ยวมารสัประยุทธ์สิบทิศ ฯลฯ ล้วนแต่ได้รับความนิยมอย่างสูง
แต่หวงอี้ไม่หยุดแค่นั้นเขาได้ผูกเรื่อง ‘มังกรคู่สู่สิบทิศ’ ที่ถือเป็นสุดยอดมหากาพย์แห่งยุค ที่สร้างสรรค์ตัวอักษรให้ผู้อ่านได้ลุ้นตั้งแต่บรรทัดแรกถึงบรรทัดสุดท้าย ต่อมาเขายังมีผลงานเรื่องสั้นแบบเรื่องเดียวจบอีกด้วยนั่นคือ ‘ขุนศึกสะท้านปฐพี’
“จุดเด่นนั้นอยู่ที่การสร้างตัวละครให้คล้ายกับบุคคลมีชีวิตร่วมสัมผัสไปกับบรรดาผู้ยิ่งใหญ่ในประวัติศาสตร์ได้ พร้อมกันนั้นตัวหนังสือของหวงอี้ยังสะท้อนให้เห็นถึงมนุษย์ทุกรูปแบบ บ้างช่วงชิงเพื่อผลประโชน์ บ้างต่อสู้เพื่ออุดมการณ์อันสูงส่ง เรื่องราวระหว่างความดีกับความเลวซึ่งขึ้นอยู่กับแต่ละมุมมองที่แตกต่างกันออกไป"
“เค้าโครงเรื่องของหวงอี้เน้นความสลับซับซ้อน แต่ไม่สับสน ชวนให้ติดตาม เพราะฝีมือการถักทอเรื่องราวของเขาไม่แพ้ปรมาจารย์ 'กิมย้ง' แต่ต้องบอกเลยว่าฉากสงครามของหวงอี้เขียนได้เข้มข้นสมจริงยิ่งกว่า จนแทบจะหลับตาลงมองเห็นกองทัพม้าห้อตะบึงอยู่หน้านับหมื่นแสนตัว” น.นพรัตน์ นักแปลนวนิยายจีนชื่อดัง และผู้แปลผลงานของหวงอี้เกือบทุกเรื่องเคยกล่าวเอาไว้