ในส่วนแรกนี้ขออธิบายการตีความแบบ inclusivism และ Interactionism ก่อน
1. การตีความแบบ inclusivism หมายถึงทฤษฎีที่เน้นการตีความว่ามีความสำคัญมากกว่าการอธิบายความ เพราะการตีความไม่จำเป็นต้องมาสนับสนุนการอธิบายความแต่ประการใด ส่วนการอธิบายความต้องคอยสนับสนุนการตีความอีกทีหนึ่ง นักคิดในกลุ่มนี้ ที่สำคัญคือพวกปฏิบัตินิยม ซึ่งเป็นกลุ่มที่ให้ความสำคัญกับมนุษย์มากกว่าวิทยาศาสตร์ แต่ก็ไม่ทิ้งวิทยาศาสตร์ เพราะวิทยาศาสตร์ก็เป็นเครื่องมือสำคัญที่สนับสนุนมนุษยศาสตร์
2. การตีความแบบ Interactionism เป็นทฤษฎีที่ถือว่าทั้งการอธิบายความและการตีความมีความสำคัญเท่าเทียมกัน แนวคิดนี้เชื่อว่า ในการอธิบายความจะมีการตีความอยู่ด้วย ส่วนการตีความจะมีการอธิบายความอยู่ด้วย การอธิบายความและการตีความจึงไม่สามารถแยกออกจากกันได้ด้วยเหตุนี้ เพราะถ้าแยกออกจากกันจะมีผลทำให้การตีความนั้นๆไม่สมบูรณ์หรือไม่เป็นไปในทางที่เรียกได้ว่า Interactionism แนวคิดในลักษณะนี้จึงต้องให้ความสำคัญกับเรื่องของการอธิบายความและการตีความพอๆกัน
สำหรับผมเองนั้น สนใจทั้งการตีความแบบ inclusivism และ Interactionism เหตุผลสำคัญก็คือก่อนอื่นต้องขอกล่าวก่อนว่า เห็นด้วยกับแนวคิดแบบ Interactionism เพราะเห็นว่า “การอธิบายความและการตีความมีความสำคัญเท่าเทียมกัน เพราะในการอธิบายความจะมีการตีความอยู่ด้วย ส่วนการตีความจะมีการอธิบายความอยู่ด้วย” ลักษณะนี้จะดูเหมือนเป็นข้อเท็จจริงของแนวคิดเรื่องการตีความประเภทนี้ แต่ที่ผมสนใจการตีความแบบ inclusivism ด้วย เพราะเห็นคล้อยกับพวกปฏิบัตินิยมในบางประเด็น เพราะเชื่อว่าในหลายส่วน การอธิบายความต้องคอยสนับสนุนการตีความอีกทีหนึ่ง การเชื่อในลักษณะนี้ดูเหมือนว่าจะขัดแย้งกัน แต่ผมคิดว่าในความแตกต่างของการตีความสองประเภทนี้ สามารถที่จะนำมาเกื้อกูลกันได้ในบางประเด็น ซึ่งในบทความนี้จะขอยกตัวอย่างหลักการตีความแบบปฏิจจสมุปบาท เพื่อแสดงให้เห็นว่า การตีความทั้งสองประเภทนี้อิงอาศัยกันได้อย่างไรทั้งๆที่หลักคิดทั้งสองนั้นดูมีความแตกต่างกัน ก่อนที่จะกล่าวเช่นนั้นได้ ผมขอกล่าวถึงหลักการตีความแบบปฏิจจสมุปบาทก่อนเป็นอันดับแรกเพื่อใช้เป็นกรณีศึกษา
หลักการตีความแบบปฏิจจสมุปบาท
หลักการตีความแบบปฏิจจสมุปบาทอาจเรียกได้ว่าทฤษฎีเหตุปัจจัย คำว่า เหตุ และ ปัจจัยนั้น ตามคัมภีร์เนตติปกรณ์อธิบายว่า เหตุ หมายถึงเหตุที่ขาดเสียมิได้ ส่วนปัจจัยหมายถึงเหตุจำเป็นที่รองลงมา ทำให้หลักปฏิจจสมุปบาท เรียกได้อีกอย่างหนึ่งว่า หลักปัจจยาการ ทางคัมภีร์วิสุทธิมรรคได้วิเคราะห์ศัพท์ “ปฏิจจสมุปบาท” และ “ปัจจยาการ” โดยแปลว่า “เพราะอาศัย” แต่จริงๆแล้วความหมายของคำทั้งสองคำนี้แปลว่า “ชุมนุมกัน” หรือ “รวมกัน”
มีประเด็นปัญหาตามมาว่า การที่เหตุปัจจัยอาศัยกันและกันเกิดขึ้นนั้น พระพุทธเจ้ามีวิธีนำเสนอให้เห็นจริงอย่างไร คำตอบคือพระองค์ทรงนำเสนอภายใต้พระสูตรที่แปลความได้ว่า “เมื่อสิ่งนี้มี สิ่งนี้จึงมี เมื่อสิ่งนี้เกิดขึ้น สิ่งนี้จึงเกิดตามมา” ประเด็นตรงนี้ทำให้สามารถแยกข้อความออกได้เป็นสองส่วน คือ
1. เมื่อสิ่งนี้มี สิ่งนี้จึงมี
2. เมื่อสิ่งนี้เกิดขึ้น สิ่งนี้จึงเกิดตามมา
ถ้าเรามาดูในคัมภีร์วิสุทธิมรรคจะพบการบรรยายปฏิจจสมุปบาทไว้ว่า
สังขารทั้งหลาย มีเพราะปัจจัยคือ อวิชชา
วิญญาณ มีเพราะปัจจัยคือ สังขาร
นามรูป มีเพราะปัจจัยคือ วิญญาณ
สฬายตนะ มีเพราะปัจจัยคือ นามรูป
ผัสสะ มีเพราะปัจจัยคือ สฬายตนะ
เวทนา มีเพราะปัจจัยคือ ผัสสะ
ตัณหา มีเพราะปัจจัยคือ เวทนา
อุปาทาน มีเพราะปัจจัยคือ ตัณหา
ภพ มีเพราะปัจจัยคือ อุปาทาน
ชาติ มีเพราะปัจจัยคือ ภพ
ชรามรณะ โสกะ ปริเทวะ มีเพราะปัจจัยคือ ชาติ
ทุกขะ โทมนัส อุปายาส
บางครั้งมีการเขียนอีกแบบคือ
อวิชชา เป็นปัจจัยให้เกิด สังขาร
สังขาร เป็นปัจจัยให้เกิด วิญญาณ
วิญญาณ เป็นปัจจัยให้เกิด นามรูป
นามรูป เป็นปัจจัยให้เกิด สฬายตนะ
สฬายตนะ เป็นปัจจัยให้เกิด ผัสสะ
ผัสสะ เป็นปัจจัยให้เกิด เวทนา
เวทนา เป็นปัจจัยให้เกิด ตัณหา
ตัณหา เป็นปัจจัยให้เกิด อุปาทาน
อุปาทาน เป็นปัจจัยให้เกิด ภพ
ภพ เป็นปัจจัยให้เกิด ชาติ
ชาติ เป็นปัจจัยให้เกิด ชรามรณะ
เราอาจเรียกว่า “เมื่อสิ่งนี้มี สิ่งนี้จึงมี เมื่อสิ่งนี้เกิดขึ้น สิ่งนี้จึงเกิดตามมา” เป็นหลักทั่วไป และที่เขียนต่อมาเป็นหลักประยุกต์
สิ่งที่น่าสังเกตต่อมาคือในคัมภีร์วิสุทธิมรรค ได้แสดงถึงความหมายที่พระพุทธองค์ทรงตรัสเกี่ยวกับปฏิจจสมุปบาทไว้ว่า
“ภิกษุทั้งหลาย สังขารทั้งหลายมี เพราะปัจจัยคืออวิชชา ตถตา อย่างนี้แลอันใด อวิตถตา อย่างนี้แลอันใด อนัญญถตา อย่างนี้แลอันใด อิทัปปัจจยตา อย่างนี้แลอันใดในธรรมนั้น อันนี้เรียกว่า ปฏิจจสมุปบาท”
ผมเห็นว่าคำนิยามตรงนี้จะเป็นส่วนสำคัญที่จะทำให้เราเข้าใจหลักการตีความแบบปฏิจจสมุปบาทชัดเจนยิ่งขึ้น โดยจะต้องทำการวิเคราะห์คำทั้ง 4 ก่อนคือ ตถตา อวิตถตา อนัญญถตา และอิทัปปัจจยตา โดยแต่ละคำนั้นจะมีความหมายดังนี้
1. ตถตา หมายถึง ความมีเพราะปัจจัยอย่างนั้น คำแรกนี้จึงสำคัญมาก และเป็นเหตุให้ผู้รจนาคัมภีร์วิสุทธิมรรค เขียนหลักปฏิจจสมุปบาทเป็นแบบนี้คือ
สังขารทั้งหลาย มีเพราะปัจจัยคือ อวิชชา
วิญญาณ มีเพราะปัจจัยคือ สังขาร
นามรูป มีเพราะปัจจัยคือ วิญญาณ
สฬายตนะ มีเพราะปัจจัยคือ นามรูป
ผัสสะ มีเพราะปัจจัยคือ สฬายตนะ
เวทนา มีเพราะปัจจัยคือ ผัสสะ
ตัณหา มีเพราะปัจจัยคือ เวทนา
อุปาทาน มีเพราะปัจจัยคือ ตัณหา
ภพ มีเพราะปัจจัยคือ อุปาทาน
ชาติ มีเพราะปัจจัยคือ ภพ
ชรามรณะ โสกะ ปริเทวะ มีเพราะปัจจัยคือ ชาติ
ทุกขะ โทมนัส อุปายาส
การตีความลักษณะดังกล่าวทำให้ชัดเจนมากในการตอบคำถามประเภท ทำไมถึงมีตัณหา คำตอบก็จะชัดเจนลงไปว่า ตัณหา มีเพราะปัจจัยคือ เวทนา
การตีความแบบนี้ก็จะสอดรับกับหลักทั่วไปที่ว่า “เมื่อสิ่งนี้มี สิ่งนี้จึงมี เมื่อสิ่งนี้เกิดขึ้น สิ่งนี้จึงเกิดตามมา”และเนื่องจากสิ่งเหล่านี้เกิดตามกันเป็นลำดับ ทำให้เราเข้าใจตามความหมายของคำว่า ปฏิจจ หมายถึง ”ชุมนุมกันหรือรวมกัน” ได้ เพราะการเข้าใจ ตถตา ทำให้เราเข้าใจความหมายของคำว่า “ชุมนุมกัน” ไปได้ด้วย เพราะการที่เราเกิดมาหรือมี “ชาติ” ทำให้เราทราบสาเหตุว่าเป็นเพราะเหตุใด ซึ่งถ้าจะทำให้เข้าใจได้ง่าย จะต้องเขียนแบบนี้
อวิชชา เป็นปัจจัยให้เกิด สังขาร
สังขาร เป็นปัจจัยให้เกิด วิญญาณ
วิญญาณ เป็นปัจจัยให้เกิด นามรูป
นามรูป เป็นปัจจัยให้เกิด สฬายตนะ
สฬายตนะ เป็นปัจจัยให้เกิด ผัสสะ
ผัสสะ เป็นปัจจัยให้เกิด เวทนา
เวทนา เป็นปัจจัยให้เกิด ตัณหา
ตัณหา เป็นปัจจัยให้เกิด อุปาทาน
อุปาทาน เป็นปัจจัยให้เกิด ภพ
ภพ เป็นปัจจัยให้เกิด ชาติ
ชาติ เป็นปัจจัยให้เกิด ชรามรณะ
ซึ่งจะทำให้เห็นได้ว่า ที่เกิดมาเพราะมีอวิชชาเป็นสาเหตุแรก และมีสังขาร วิญญาณ นามรูป สฬายตนะ ผัสสะ เวทนา ตัณหา อุปาทาน และภพ มาชุมนุมกันในรูปแบบของตถตา คือแต่ละอย่างเป็นปัจจัยให้เกิดในแต่ละขั้นไป เพียงแต่ว่า ถ้าสงสัยว่าเราเกิดมาได้อย่างไร (ในเชิงว่าทำไมถึงเกิด) การตอบแบบรวบรัดตัดความว่ามีอวิชชาเป็นสาเหตุสำคัญก็จะทำให้เราเข้าใจเหตุที่แท้จริงได้
2. อวิตถตา หมายถึง ความไม่มีที่จะไม่มีเพราะปัจจัยอย่างนั้น
การตรัสในลักษณะนี้เป็นการเน้นว่า เมื่อปัจจัยทั้งหลายถึงความพร้อมเข้าแล้ว เป็นไม่มีล่ะที่ธรรมทั้งหลายอันเกิดเพราะปัจจัยนั้นจะไม่มีขึ้นแม้แต่ครู่หนึ่ง การตีความแบบนี้เป็นลักษณะของอวิตถตา แต่ก็ยังคงความหมายของคำว่าปฏิจจสมุปบาทที่มีความหมายว่า “ความต่อเนื่องอย่างไม่ขาดสายของปรากฏการณ์ทั้งหลายอันเนื่องมาจากการชุมนุมของปัจจัยต่างๆ”
การกล่าวในลักษณะของอวิตถตาเป็นการย้ำว่า เมื่อปัจจัยที่เป็นเหตุถึงพร้อมแล้ว เป็นไปไม่ได้ที่จะไม่ทำให้เกิดปัจจัยที่เป็นผลตามมา เช่น เมื่อผัสสะถึงพร้อมก็จะเป็นปัจจัยที่จะทำให้เกิดเวทนา
3. อนัญญถตา หมายถึง ความไม่มีธรรมอื่นเพราะปัจจัยอื่น ก็เพราะธรรม (ที่เป็นผล) อย่างหนึ่งไม่เกิดขึ้นเพราะปัจจัยของธรรม (ที่เป็นผล) อีกอย่างหนึ่ง หรืออาจเรียกได้ว่าความไม่เป็นไปโดยประการอื่น ที่ทรงตรัสเช่นนี้เพราะต้องการเน้นว่า เหตุปัจจัยที่ทำให้เกิดขึ้นคือเหตุปัจจัยนี้ ไม่มีเหตุปัจจัยอื่นที่จะมาเกี่ยวข้องด้วย การตรัสแบบนี้คือตรัสเพิ่มเติม จากตถตาและอวิตถตา
มาถึงตรงนี้เราสามารถสรุปสั้นๆได้ว่า
- ที่สิ่งนี้มีขึ้นเพราะมีเหตุปัจจัย
- ถ้าปัจจัยถึงพร้อมแล้ว เป็นไปไม่ได้ที่จะไม่ทำให้เกิดปัจจัยที่เป็นผลตามมา
- ความไม่มีธรรมอื่นเพราะปัจจัยอื่น ก็เพราะมีปัจจัยนี้เท่านั้นที่จะทำให้เกิดธรรมแบบนี้
4. อิทัปปัจจยตา หมายถึง ความที่สิ่งนี้เป็นปัจจัยของสิ่งนั้น เป็นการบ่งบอกว่า ไม่มีสิ่งใดที่เกิดขึ้นแบบลอยๆ ทุกอย่างที่เกิดขึ้นต้องมีเหตุปัจจัยอื่นมีผลทำให้เกิดขึ้น
ความแตกต่างของการตีความแบบ inclusivism และ Interactionism: กรณีศึกษาหลักการตีความแบบปฏิจจสมุปบาท
1. การตีความแบบ inclusivism หมายถึงทฤษฎีที่เน้นการตีความว่ามีความสำคัญมากกว่าการอธิบายความ เพราะการตีความไม่จำเป็นต้องมาสนับสนุนการอธิบายความแต่ประการใด ส่วนการอธิบายความต้องคอยสนับสนุนการตีความอีกทีหนึ่ง นักคิดในกลุ่มนี้ ที่สำคัญคือพวกปฏิบัตินิยม ซึ่งเป็นกลุ่มที่ให้ความสำคัญกับมนุษย์มากกว่าวิทยาศาสตร์ แต่ก็ไม่ทิ้งวิทยาศาสตร์ เพราะวิทยาศาสตร์ก็เป็นเครื่องมือสำคัญที่สนับสนุนมนุษยศาสตร์
2. การตีความแบบ Interactionism เป็นทฤษฎีที่ถือว่าทั้งการอธิบายความและการตีความมีความสำคัญเท่าเทียมกัน แนวคิดนี้เชื่อว่า ในการอธิบายความจะมีการตีความอยู่ด้วย ส่วนการตีความจะมีการอธิบายความอยู่ด้วย การอธิบายความและการตีความจึงไม่สามารถแยกออกจากกันได้ด้วยเหตุนี้ เพราะถ้าแยกออกจากกันจะมีผลทำให้การตีความนั้นๆไม่สมบูรณ์หรือไม่เป็นไปในทางที่เรียกได้ว่า Interactionism แนวคิดในลักษณะนี้จึงต้องให้ความสำคัญกับเรื่องของการอธิบายความและการตีความพอๆกัน
สำหรับผมเองนั้น สนใจทั้งการตีความแบบ inclusivism และ Interactionism เหตุผลสำคัญก็คือก่อนอื่นต้องขอกล่าวก่อนว่า เห็นด้วยกับแนวคิดแบบ Interactionism เพราะเห็นว่า “การอธิบายความและการตีความมีความสำคัญเท่าเทียมกัน เพราะในการอธิบายความจะมีการตีความอยู่ด้วย ส่วนการตีความจะมีการอธิบายความอยู่ด้วย” ลักษณะนี้จะดูเหมือนเป็นข้อเท็จจริงของแนวคิดเรื่องการตีความประเภทนี้ แต่ที่ผมสนใจการตีความแบบ inclusivism ด้วย เพราะเห็นคล้อยกับพวกปฏิบัตินิยมในบางประเด็น เพราะเชื่อว่าในหลายส่วน การอธิบายความต้องคอยสนับสนุนการตีความอีกทีหนึ่ง การเชื่อในลักษณะนี้ดูเหมือนว่าจะขัดแย้งกัน แต่ผมคิดว่าในความแตกต่างของการตีความสองประเภทนี้ สามารถที่จะนำมาเกื้อกูลกันได้ในบางประเด็น ซึ่งในบทความนี้จะขอยกตัวอย่างหลักการตีความแบบปฏิจจสมุปบาท เพื่อแสดงให้เห็นว่า การตีความทั้งสองประเภทนี้อิงอาศัยกันได้อย่างไรทั้งๆที่หลักคิดทั้งสองนั้นดูมีความแตกต่างกัน ก่อนที่จะกล่าวเช่นนั้นได้ ผมขอกล่าวถึงหลักการตีความแบบปฏิจจสมุปบาทก่อนเป็นอันดับแรกเพื่อใช้เป็นกรณีศึกษา
หลักการตีความแบบปฏิจจสมุปบาท
หลักการตีความแบบปฏิจจสมุปบาทอาจเรียกได้ว่าทฤษฎีเหตุปัจจัย คำว่า เหตุ และ ปัจจัยนั้น ตามคัมภีร์เนตติปกรณ์อธิบายว่า เหตุ หมายถึงเหตุที่ขาดเสียมิได้ ส่วนปัจจัยหมายถึงเหตุจำเป็นที่รองลงมา ทำให้หลักปฏิจจสมุปบาท เรียกได้อีกอย่างหนึ่งว่า หลักปัจจยาการ ทางคัมภีร์วิสุทธิมรรคได้วิเคราะห์ศัพท์ “ปฏิจจสมุปบาท” และ “ปัจจยาการ” โดยแปลว่า “เพราะอาศัย” แต่จริงๆแล้วความหมายของคำทั้งสองคำนี้แปลว่า “ชุมนุมกัน” หรือ “รวมกัน”
มีประเด็นปัญหาตามมาว่า การที่เหตุปัจจัยอาศัยกันและกันเกิดขึ้นนั้น พระพุทธเจ้ามีวิธีนำเสนอให้เห็นจริงอย่างไร คำตอบคือพระองค์ทรงนำเสนอภายใต้พระสูตรที่แปลความได้ว่า “เมื่อสิ่งนี้มี สิ่งนี้จึงมี เมื่อสิ่งนี้เกิดขึ้น สิ่งนี้จึงเกิดตามมา” ประเด็นตรงนี้ทำให้สามารถแยกข้อความออกได้เป็นสองส่วน คือ
1. เมื่อสิ่งนี้มี สิ่งนี้จึงมี
2. เมื่อสิ่งนี้เกิดขึ้น สิ่งนี้จึงเกิดตามมา
ถ้าเรามาดูในคัมภีร์วิสุทธิมรรคจะพบการบรรยายปฏิจจสมุปบาทไว้ว่า
สังขารทั้งหลาย มีเพราะปัจจัยคือ อวิชชา
วิญญาณ มีเพราะปัจจัยคือ สังขาร
นามรูป มีเพราะปัจจัยคือ วิญญาณ
สฬายตนะ มีเพราะปัจจัยคือ นามรูป
ผัสสะ มีเพราะปัจจัยคือ สฬายตนะ
เวทนา มีเพราะปัจจัยคือ ผัสสะ
ตัณหา มีเพราะปัจจัยคือ เวทนา
อุปาทาน มีเพราะปัจจัยคือ ตัณหา
ภพ มีเพราะปัจจัยคือ อุปาทาน
ชาติ มีเพราะปัจจัยคือ ภพ
ชรามรณะ โสกะ ปริเทวะ มีเพราะปัจจัยคือ ชาติ
ทุกขะ โทมนัส อุปายาส
บางครั้งมีการเขียนอีกแบบคือ
อวิชชา เป็นปัจจัยให้เกิด สังขาร
สังขาร เป็นปัจจัยให้เกิด วิญญาณ
วิญญาณ เป็นปัจจัยให้เกิด นามรูป
นามรูป เป็นปัจจัยให้เกิด สฬายตนะ
สฬายตนะ เป็นปัจจัยให้เกิด ผัสสะ
ผัสสะ เป็นปัจจัยให้เกิด เวทนา
เวทนา เป็นปัจจัยให้เกิด ตัณหา
ตัณหา เป็นปัจจัยให้เกิด อุปาทาน
อุปาทาน เป็นปัจจัยให้เกิด ภพ
ภพ เป็นปัจจัยให้เกิด ชาติ
ชาติ เป็นปัจจัยให้เกิด ชรามรณะ
เราอาจเรียกว่า “เมื่อสิ่งนี้มี สิ่งนี้จึงมี เมื่อสิ่งนี้เกิดขึ้น สิ่งนี้จึงเกิดตามมา” เป็นหลักทั่วไป และที่เขียนต่อมาเป็นหลักประยุกต์
สิ่งที่น่าสังเกตต่อมาคือในคัมภีร์วิสุทธิมรรค ได้แสดงถึงความหมายที่พระพุทธองค์ทรงตรัสเกี่ยวกับปฏิจจสมุปบาทไว้ว่า
“ภิกษุทั้งหลาย สังขารทั้งหลายมี เพราะปัจจัยคืออวิชชา ตถตา อย่างนี้แลอันใด อวิตถตา อย่างนี้แลอันใด อนัญญถตา อย่างนี้แลอันใด อิทัปปัจจยตา อย่างนี้แลอันใดในธรรมนั้น อันนี้เรียกว่า ปฏิจจสมุปบาท”
ผมเห็นว่าคำนิยามตรงนี้จะเป็นส่วนสำคัญที่จะทำให้เราเข้าใจหลักการตีความแบบปฏิจจสมุปบาทชัดเจนยิ่งขึ้น โดยจะต้องทำการวิเคราะห์คำทั้ง 4 ก่อนคือ ตถตา อวิตถตา อนัญญถตา และอิทัปปัจจยตา โดยแต่ละคำนั้นจะมีความหมายดังนี้
1. ตถตา หมายถึง ความมีเพราะปัจจัยอย่างนั้น คำแรกนี้จึงสำคัญมาก และเป็นเหตุให้ผู้รจนาคัมภีร์วิสุทธิมรรค เขียนหลักปฏิจจสมุปบาทเป็นแบบนี้คือ
สังขารทั้งหลาย มีเพราะปัจจัยคือ อวิชชา
วิญญาณ มีเพราะปัจจัยคือ สังขาร
นามรูป มีเพราะปัจจัยคือ วิญญาณ
สฬายตนะ มีเพราะปัจจัยคือ นามรูป
ผัสสะ มีเพราะปัจจัยคือ สฬายตนะ
เวทนา มีเพราะปัจจัยคือ ผัสสะ
ตัณหา มีเพราะปัจจัยคือ เวทนา
อุปาทาน มีเพราะปัจจัยคือ ตัณหา
ภพ มีเพราะปัจจัยคือ อุปาทาน
ชาติ มีเพราะปัจจัยคือ ภพ
ชรามรณะ โสกะ ปริเทวะ มีเพราะปัจจัยคือ ชาติ
ทุกขะ โทมนัส อุปายาส
การตีความลักษณะดังกล่าวทำให้ชัดเจนมากในการตอบคำถามประเภท ทำไมถึงมีตัณหา คำตอบก็จะชัดเจนลงไปว่า ตัณหา มีเพราะปัจจัยคือ เวทนา
การตีความแบบนี้ก็จะสอดรับกับหลักทั่วไปที่ว่า “เมื่อสิ่งนี้มี สิ่งนี้จึงมี เมื่อสิ่งนี้เกิดขึ้น สิ่งนี้จึงเกิดตามมา”และเนื่องจากสิ่งเหล่านี้เกิดตามกันเป็นลำดับ ทำให้เราเข้าใจตามความหมายของคำว่า ปฏิจจ หมายถึง ”ชุมนุมกันหรือรวมกัน” ได้ เพราะการเข้าใจ ตถตา ทำให้เราเข้าใจความหมายของคำว่า “ชุมนุมกัน” ไปได้ด้วย เพราะการที่เราเกิดมาหรือมี “ชาติ” ทำให้เราทราบสาเหตุว่าเป็นเพราะเหตุใด ซึ่งถ้าจะทำให้เข้าใจได้ง่าย จะต้องเขียนแบบนี้
อวิชชา เป็นปัจจัยให้เกิด สังขาร
สังขาร เป็นปัจจัยให้เกิด วิญญาณ
วิญญาณ เป็นปัจจัยให้เกิด นามรูป
นามรูป เป็นปัจจัยให้เกิด สฬายตนะ
สฬายตนะ เป็นปัจจัยให้เกิด ผัสสะ
ผัสสะ เป็นปัจจัยให้เกิด เวทนา
เวทนา เป็นปัจจัยให้เกิด ตัณหา
ตัณหา เป็นปัจจัยให้เกิด อุปาทาน
อุปาทาน เป็นปัจจัยให้เกิด ภพ
ภพ เป็นปัจจัยให้เกิด ชาติ
ชาติ เป็นปัจจัยให้เกิด ชรามรณะ
ซึ่งจะทำให้เห็นได้ว่า ที่เกิดมาเพราะมีอวิชชาเป็นสาเหตุแรก และมีสังขาร วิญญาณ นามรูป สฬายตนะ ผัสสะ เวทนา ตัณหา อุปาทาน และภพ มาชุมนุมกันในรูปแบบของตถตา คือแต่ละอย่างเป็นปัจจัยให้เกิดในแต่ละขั้นไป เพียงแต่ว่า ถ้าสงสัยว่าเราเกิดมาได้อย่างไร (ในเชิงว่าทำไมถึงเกิด) การตอบแบบรวบรัดตัดความว่ามีอวิชชาเป็นสาเหตุสำคัญก็จะทำให้เราเข้าใจเหตุที่แท้จริงได้
2. อวิตถตา หมายถึง ความไม่มีที่จะไม่มีเพราะปัจจัยอย่างนั้น
การตรัสในลักษณะนี้เป็นการเน้นว่า เมื่อปัจจัยทั้งหลายถึงความพร้อมเข้าแล้ว เป็นไม่มีล่ะที่ธรรมทั้งหลายอันเกิดเพราะปัจจัยนั้นจะไม่มีขึ้นแม้แต่ครู่หนึ่ง การตีความแบบนี้เป็นลักษณะของอวิตถตา แต่ก็ยังคงความหมายของคำว่าปฏิจจสมุปบาทที่มีความหมายว่า “ความต่อเนื่องอย่างไม่ขาดสายของปรากฏการณ์ทั้งหลายอันเนื่องมาจากการชุมนุมของปัจจัยต่างๆ”
การกล่าวในลักษณะของอวิตถตาเป็นการย้ำว่า เมื่อปัจจัยที่เป็นเหตุถึงพร้อมแล้ว เป็นไปไม่ได้ที่จะไม่ทำให้เกิดปัจจัยที่เป็นผลตามมา เช่น เมื่อผัสสะถึงพร้อมก็จะเป็นปัจจัยที่จะทำให้เกิดเวทนา
3. อนัญญถตา หมายถึง ความไม่มีธรรมอื่นเพราะปัจจัยอื่น ก็เพราะธรรม (ที่เป็นผล) อย่างหนึ่งไม่เกิดขึ้นเพราะปัจจัยของธรรม (ที่เป็นผล) อีกอย่างหนึ่ง หรืออาจเรียกได้ว่าความไม่เป็นไปโดยประการอื่น ที่ทรงตรัสเช่นนี้เพราะต้องการเน้นว่า เหตุปัจจัยที่ทำให้เกิดขึ้นคือเหตุปัจจัยนี้ ไม่มีเหตุปัจจัยอื่นที่จะมาเกี่ยวข้องด้วย การตรัสแบบนี้คือตรัสเพิ่มเติม จากตถตาและอวิตถตา
มาถึงตรงนี้เราสามารถสรุปสั้นๆได้ว่า
- ที่สิ่งนี้มีขึ้นเพราะมีเหตุปัจจัย
- ถ้าปัจจัยถึงพร้อมแล้ว เป็นไปไม่ได้ที่จะไม่ทำให้เกิดปัจจัยที่เป็นผลตามมา
- ความไม่มีธรรมอื่นเพราะปัจจัยอื่น ก็เพราะมีปัจจัยนี้เท่านั้นที่จะทำให้เกิดธรรมแบบนี้
4. อิทัปปัจจยตา หมายถึง ความที่สิ่งนี้เป็นปัจจัยของสิ่งนั้น เป็นการบ่งบอกว่า ไม่มีสิ่งใดที่เกิดขึ้นแบบลอยๆ ทุกอย่างที่เกิดขึ้นต้องมีเหตุปัจจัยอื่นมีผลทำให้เกิดขึ้น