เล่าประสบการณ์ตรงการจดทะเบียนธุรกิจตลาดแบบตรงกับ สคบ. (ไม่ใช่ขายตรงนะครับ)
ผมเป็นผู้ประกอบการขายออนไลน์ e-commerce เป็นระบบตะกร้า
ข้อมูลก็คงจะเขียนได้เท่านี้เพราะเป็นความลับปกปิดภายในของกิจการ
ในที่ประชุมผู้ถือหุ้นต่างก็ถกกันว่าจะไปจดยังไง ผมก็เลยอาสาเป็นแม่ทัพนำบรรดาผู้ถือหุ้นใหญ่ไปจดด้วยกัน
สถานที่ไปจดนั้นคือ......
สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค
อาคารรัฐประศาสนภักดี ชั้น 5 ศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา ฯ ถ.แจ้งวัฒนะ เขตหลักสี่นั่นเอง
เป็นหน่วยงานเทียบเท่าระดับกรมขึ้นตรงต่อสำนักนายกรัฐมนตรี
เรามาทำความเข้าใจเรื่องตลาดแบบตรงก่อนว่าค้าขายออนไลน์ที่ตัวเองทำอยู่นั้นเข้าข่ายหรือไม่
------------------------------------------------------------------------------------
ตลาดแบบตรง (Direct marketing) คือวิธีการทำการตลาดด้วยการใช้สื่อช่องทางต่างๆ เป็นเครื่องมือนำเสนอขายสินค้าระหว่างผู้ขายกับผู้ซื้อ เช่น นำเสนอด้วยการใช้อีเมล์ โทรศัพท์มือถือ สื่อโซเชี่ยลมีเดีย การใช้ Search Engine เว็บไซต์ การใช้โทรศัพท์ ข้อความเสียง โทรสาร โทรเลข ทีวี การส่งโบรชัวร์ ส่ง SMS/MMS ฯลฯ หรือสื่ออื่นใดที่ผู้ขายกับผู้ซื้อไม่พบเจอหน้ากัน อยู่ห่างกัน หรือแม้แต่เจอหน้ากันแต่ใช้สื่อนำเสนอแทนก็จัดเป็นตลาดแบบตรง (อธิบายโดยตีความจาก พรบ. ขายตรงและตลาดแบบตรง พ.ศ. 2545 อีกที)
การขายของออนไลน์ บ้างก็เรียก e-Commerce Internet/Online Marketing ซึ่งเป็น Subset ของ Direct marketing ก็เป็นตลาดแบบตรงเพราะว่า
1. ใช้สื่อ (สื่ออิเล็กทรอนิกส์ผ่านเครือข่ายอินเตอร์เน็ต)
2. ขายของโดยไม่พบเจอหน้ากัน อยู่ห่างกันโดยระยะทาง
ต.ย. นาย A อยู่ท้ายซอย ขายของให้นาย B อยู่ต้นซอย โดยโทรไปแนะนำสินค้า หรือ มีเว็บไซต์ให้สั่งซื้อสินค้า ส่งอีเมล์ไปหา ส่งข้อความไปหา นาย B สนใจก็เลยกดซื้อ โอนเงินให้นาย A แล้วนาย A ก้ไปส่งสินค้าให้นาย B แบบนี้
แผนผัง Direct Marketing
1
ตามพระราชบัญญัติขายตรงและตลาดแบบตรง พ.ศ. 2545 2 ให้ความหมายไว้ว่า
ตลาดแบบตรง หมายความว่า การทำตลาดสินค้าหรือบริการในลักษณะของการสื่อสารข้อมูลเพื่อเสนอขายสินค้าหรือบริการโดยตรงต่อผู้บริโภคซึ่งอยู่ห่างโดยระยะทางและมุ่งหวังให้ผู้บริโภคแต่ละรายตอบกลับเพื่อซื้อสินค้าหรือบริการจากผู้ประกอบธุรกิจตลาดแบบตรงนั้น
อัพเดท พระราชบัญญัติขายตรงและตลาดแบบตรง (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2560
พ.ร.บ. ขายตรงและตลาดแบบตรง (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2560 ได้เปลี่ยนนิยาม ตลาดแบบตรง หมายความว่า
การทำตลาดสินค้าหรือบริการในลักษณะของการสื่อสารข้อมูลเพื่อเสนอขายสินค้าหรือบริการโดยตรงต่อผู้บริโภค ซึ่งอยู่ห่างโดยระยะทางและมุ่งหวังให้ผู้บริโภคแต่ละรายตอบกลับเพื่อซื้อสินค้าหรือบริการจากผู้ประกอบธุรกิจตลาดแบบตรงนั้น ส่วนการซื้อขายสินค้าหรือบริการโดยวิธีการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ที่ไม่ถือว่าเป็นตลาดแบบตรง ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่กำหนดในกฏกระทรวง
แปลง่ายๆ ว่า ขาย/ให้บริการโดยใข้สื่อ สื่ออะไรก็ตามที่เสนอข้อมูลสินค้าให้ผู้ซื้อ โดยที่อยู่ห่างกันไม่เจอหน้ากัน แล้วผู้ขายก็ต้องการให้ผู้ซื้อสั่งสินค้า/บริการนั้นๆ ยกเว้นขายออนไลน์บางประเภทที่ไม่เข้าข่ายต้องจดทะเบียน ให้รอกฏกระทรวงออกมาทีหลังครับ
ส่วนที่สำคัญมากคือ หมวด 2 เรื่อง การประกอบธุรกิจขายตรงและตลาดแบบตรง ในส่วนที่ ๒ การประกอบธุรกิจตลาดแบบตรง ระบุเอาไว้ว่า
มาตรา 27 ห้ามมิให้ผู้ใดประกอบธุรกิจตลาดแบบตรง เว้นแต่จะได้จดทะเบียนการประกอบธุรกิจตลาดแบบตรงตามพระราชบัญญัตินี้
แปลง่ายๆ ว่าต้องจดให้เรียบร้อยก่อนจะเปิดขายรับรายการสั่งซื้อนั่นเอง
--------------------------------------------------------------------------
* กรณีขายสินค้าออนไลน์ผ่านเว็บไซต์ *
ขณะนี้เฉพาะระบบตะกร้าเท่านั้นที่ต้องจดทะเบียน รวมไปถึงท่านที่ใช้ระบบตะกร้าจากผู้ให้บริการ เช่น lnwshop weloveshopping ฯลฯ ที่สามารถคลิกสั่งซื้อในเว็บไซต์ได้ จะต้องจดทะเบียนก่อนขาย มิฉะนั้นจะมีความผิดปรับ 100,000 บาท (1 แสน) และปรับวันละ 10,000 บาท จนกว่าจะปิดกิจการหรือจดทะเบียนให้ถูกต้อง
ส่วนขายผ่านสื่อโซเชี่ยล เช่น Facebook IG Twitter Line หรือสื่ออื่นใดที่ต้องมีการพูดคุยไม่สามารถปิดการขายได้ทันที
ไม่ถือว่าเป็นธุรกิจตลาดแบบตรงนะครับ ไม่ต้องจดทะเบียนกับ สคบ. กฏหมายครอบคลุมเว็บไซต์ที่มีระบบตะกร้าเท่านั้น (เว็บไซต์ที่ไม่มีระบบตะกร้าก็ไม่ถือว่าเป็นธุรกิจตลาดแบบตรงเช่นกัน)
หากขายผ่านเว็บตัวกลาง e-Market Place เช่น Lazada Shopee 11street ก็ไม่ต้องจดทะเบียนเช่นกัน เฉพาะเว็บตัวกลางเท่านั้นที่ต้องจด
เชิงอรรถ
1. DRA Riser Global Private Limited.
2. สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.)
ปฐมบทต้นเรื่อง......
--------------------------------------------------------------------------
ไป สคบ. ครั้งแรก พร้อมเอกสารเกือบร้อยหน้า ตื่นเต้นมาก
ศูนย์ราชการฯ มันใหญ่โต OTOP แสงสีอลังการงานสร้าง......
.....ไปถึงนั่งรอสักพัก จนท. ก็เรียกไปที่โต๊ะ ผมก็ยื่นเอกสาร จนท. ก็ตรวจเอกสารแล้วถามเอกสารเป็นรายชุดเลย ถามว่าสินคือคืออะไร เจ้าของมาเองเปล่า (จนท. บ่นให้ฟังว่า เจ้าของไม่มาเองให้ลูกน้องมาหรือส่งเอกสาร ปณ. มา พอโดนตีกลับก็ไม่รู้เรื่อง) สั่งจากไหนมา สถานที่ประกอบการเป็นยังไง เสียภาษีนำเข้ายัง เรียกได้ว่าบางอย่างเจ้าของธุรกิจต้องมาตอบเองจริงๆ
.....แต่สุดท้ายก็ถามตอบเรียบร้อยไปด้วยดี ผลปรากฏว่าเอกสารไม่เรียบร้อย 2 ชุด คึอ ให้ไปแก้รูปสินค้ามาใหม่ กับเพิ่มฉลากให้ถูกต้อง (ขาดภาษาอังกฤษ) ความรู้สึกตอนนั้นเหมือนถูกฟ้าผ่าเปรี้ยงกลางหัว! พลาดเอกสารแค่นิดเดียวเอง..........
(ถ้าแบกปริ้นเตอร์ไปได้ก็จะไปแก้ไขสดๆ ต่อหน้าซะเลย)
.....จนท. ก็ให้คำแนะนำต่างๆ ซึ่งแนะนำดีมากครับ ขอขอบพระคุณอย่างสูงมา ณ ที่นี้ (ไม่ขอเอ่ยนาม) แล้ว จนท. ก็ให้เอกสารตัวนึงมาเป็นแบบฟอร์มยื่นขอจดทะเบียนธุรกิจตลาดแบบตรง ให้เอากลับบ้านไปกรอกมาพร้อมเอกสารทั้งหมดที่ จนท. ตรวจสอบวันนี้ และเอกสารที่ขาด
ไป สคบ. ครั้งที่ 2
------------------------------------------------------------------------------------
แบบว่าเอกสารอย่างแน่นเกือบร้อยหน้าแบกไปแบกมา
.... เมื่อมาถึง จนท. จำเราได้ก็เลยตรวจเอกสารที่เหลือ
......ผ่านฉลุย ดีใจรอบแรก
หลังจากนั้น จนท. ก็ให้ใบสีฟ้าอ่อนๆ ลงเลขที่คำขอ วัน เวลา เบอร์โทร ให้เราติดต่อความคืบหน้าหลังจากยื่นไปแล้ว 1 เดือน
1 month later....1 เดือนต่อมา....
------------------------------------------------------------------------------------
ใจจดใจจ่อ นับเลขหน้าหลังเหมือนประจำเดือนมา.....
..... โทรไปสอบถาม จนท. แจ้งว่า เอกสารเราเรียบร้อยแล้ว นายทะเบียนพิจารณารับจด (แปลว่าแค่รับจดนะ แต่ยังไม่ได้ตรวจสอบ)
ดีใจรอบสอง แต่........
ต้องรออีก 1 เดือนกว่า
..... ระหว่างนี้เอกสารทั้งหมดจะถูกตรวจหลายๆ ฝ่าย ทั้ง ผอ. ขายตรงและตลาดแบบตรง, ผอ. สำนักกฎหมายและคดี, รองเลขา สคบ., เลขา สคบ.
ถ้าไม่ถูกต้องเอกสารจะตีกลับมาต้องไปครั้งที่ 3 เพื่อเริ่มต้นยื่นใหม่ แล้วให้นายทะเบียนพิจารณาอีกครั้งว่าผ่านไหม จากที่รอ 1 เดือนกว่าๆ ก็เพิ่มเป็น 3 เดือน เอกสารจึงสำคัญมากๆ ในขั้นตอนนี้
2 months ago…… 2 เดือนผ่านไป....(กับสายลม)
------------------------------------------------------------------------------------
..... โทรไปถามความคืบหน้า ลุ้นกว่ารอบแรก…….
ได้คำตอบอย่างเดียวคือต้องรอนายทะเบียนพิจารณาให้เรียบร้อยนะคะ!
..... จนท. ไม่สามารถให้คำตอบได้ ไปเร่งไม่ได้
ระหว่างนี้เป็นช่วงที่ผู้ถือหุ้นทุกคนนั้นลุ้นสุดๆ เพราะว่า.......
ชี้เป็นชี้ตายเลยว่าธุรกิจที่กำลังทำ ผมทำได้หรือไม่ ถ้าทำไม่ได้ก็ต้องล้มเลิกธุรกิจทั้งหมดรวมถึงหนี้สินต่างๆ ต้องตามชดใช้อีก
ย่างเข้าเดือนที่ 3
------------------------------------------------------------------------------------
>>>>
..... จนท. โทรมาว่าใบอนุญาตเรียบร้อยแล้ว ไอเราก็เฮลั่น แทบกรีดร้อง....
ดีใจรอบ 3 เลยนัดบรรดา หุ้นส่วน ผจก. กรีฑาทัพ.....ไปรับกันพร้อมหน้า
ไป สคบ. ครั้งที่ 3
------------------------------------------------------------------------------------
หลักสี่เลี้ยวขวา แม่นแล่วไปโลดด.ด..ด......
..... ไปรับใบอนุญาตพร้อมขนเอกสารธุรกิจตัวจริงไปทั้งหมด สารพัด Cert จัดทัพมาเต็ม 555 ดีใจมาก
...... เพราะแค่ไปเปิดบัญชีธนาคารเพื่อรับชำระสินค้าจากลูกค้าก็กินเวลาเป็นเดือนเข้าไปแล้ว ตอนนี้ก็ขายของออนไลน์อย่างสบายใจแล้ว
..... หลังจากนั้นก็เตรียมไปขออนุญาตใช้เครื่องหมาย DBD Verified ต่อไป เป็นขั้นตอนสุดท้าย
สรุปไปถึง 3 ครั้ง....
...ใบอนุญาตก็ไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายอะไรเลย มีแต่หมดไปกับค่ากิน เที่ยว กับผู้ถือหุ้นด้วยกัน
ถือว่าผ่านไปด้วยดีกับการเริ่มต้นขายของออนไลน์
----------------------------------------------------------------
อ้างอิง
1.
ณัฐวรรธน์ สุขวงศ์ตระกูล. ขายตรง ตลาดแบบตรงกับพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (๒). สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (องค์การมหาชน). สืบค้น 22 พฤษภาคม 2559.
2. สุวิทย์ วิจิตรโสภา. การขายสินค้าทางอินเทอร์เน็ตเป็นธุรกิจตลาดแบบตรงที่ต้องจดทะเบียนต่อ สคบ. สืบค้น 22 พฤษภาคม 2559.
สมาคมการขายตรงไทย. สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค.
3.
ไทยรัฐออนไลน์. 25 ธ.ค. 57. ช็อปออนไลน์ ซื้อง่ายแค่ปลายนิ้ว EP.4 เปิดกฎหมายเอาผิดร้านค้าลวงโลก!.
4.
เดลินิวส์. 8 มี.ค. 57. ขายของออนไลน์ต้องจดทะเบียนประกอบธุรกิจตลาดแบบตรง - ไขปัญหาผู้บริโภค.
5. สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค. กฎหมายคุ้มครองผู้บริโภค กับ ธุรกิจ e-Commerce.
6. พระราชบัญญัติขายตรงและตลาดแบบตรง พ.ศ. 2545
7.
ข่าวสด. 21 พฤษภาคม พ.ศ. 2559. ปอท.เตือนภัยช็อปปิ้งออนไลน์
8.
iLaw. พ.ร.บ.ขายตรงฯ แก้ไขใหม่ ขายของผ่านเว็บต้องจดทะเบียน-ต้องวางหลักประกัน. 5 มิ.ย. 2560
9.
สคบ. กองคุ้มครองผู้บริโภคด้านธุรกิจขายตรงและตลาดแบบตรง
10.
ราชกิจจานุเบกษา. พระราชบัญญัติขายตรงและตลาดแบบตรง (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2560.
[CR] รีวิว [ขายของออนไลน์] การจดทะเบียนธุรกิจตลาดแบบตรง กับ สคบ.
ผมเป็นผู้ประกอบการขายออนไลน์ e-commerce เป็นระบบตะกร้า
ข้อมูลก็คงจะเขียนได้เท่านี้เพราะเป็นความลับปกปิดภายในของกิจการ
ในที่ประชุมผู้ถือหุ้นต่างก็ถกกันว่าจะไปจดยังไง ผมก็เลยอาสาเป็นแม่ทัพนำบรรดาผู้ถือหุ้นใหญ่ไปจดด้วยกัน
สถานที่ไปจดนั้นคือ......
สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค
อาคารรัฐประศาสนภักดี ชั้น 5 ศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา ฯ ถ.แจ้งวัฒนะ เขตหลักสี่นั่นเอง
เป็นหน่วยงานเทียบเท่าระดับกรมขึ้นตรงต่อสำนักนายกรัฐมนตรี
เรามาทำความเข้าใจเรื่องตลาดแบบตรงก่อนว่าค้าขายออนไลน์ที่ตัวเองทำอยู่นั้นเข้าข่ายหรือไม่
------------------------------------------------------------------------------------
ตลาดแบบตรง (Direct marketing) คือวิธีการทำการตลาดด้วยการใช้สื่อช่องทางต่างๆ เป็นเครื่องมือนำเสนอขายสินค้าระหว่างผู้ขายกับผู้ซื้อ เช่น นำเสนอด้วยการใช้อีเมล์ โทรศัพท์มือถือ สื่อโซเชี่ยลมีเดีย การใช้ Search Engine เว็บไซต์ การใช้โทรศัพท์ ข้อความเสียง โทรสาร โทรเลข ทีวี การส่งโบรชัวร์ ส่ง SMS/MMS ฯลฯ หรือสื่ออื่นใดที่ผู้ขายกับผู้ซื้อไม่พบเจอหน้ากัน อยู่ห่างกัน หรือแม้แต่เจอหน้ากันแต่ใช้สื่อนำเสนอแทนก็จัดเป็นตลาดแบบตรง (อธิบายโดยตีความจาก พรบ. ขายตรงและตลาดแบบตรง พ.ศ. 2545 อีกที)
การขายของออนไลน์ บ้างก็เรียก e-Commerce Internet/Online Marketing ซึ่งเป็น Subset ของ Direct marketing ก็เป็นตลาดแบบตรงเพราะว่า
1. ใช้สื่อ (สื่ออิเล็กทรอนิกส์ผ่านเครือข่ายอินเตอร์เน็ต)
2. ขายของโดยไม่พบเจอหน้ากัน อยู่ห่างกันโดยระยะทาง
ต.ย. นาย A อยู่ท้ายซอย ขายของให้นาย B อยู่ต้นซอย โดยโทรไปแนะนำสินค้า หรือ มีเว็บไซต์ให้สั่งซื้อสินค้า ส่งอีเมล์ไปหา ส่งข้อความไปหา นาย B สนใจก็เลยกดซื้อ โอนเงินให้นาย A แล้วนาย A ก้ไปส่งสินค้าให้นาย B แบบนี้
แผนผัง Direct Marketing 1
ตามพระราชบัญญัติขายตรงและตลาดแบบตรง พ.ศ. 2545 2 ให้ความหมายไว้ว่าตลาดแบบตรง หมายความว่า การทำตลาดสินค้าหรือบริการในลักษณะของการสื่อสารข้อมูลเพื่อเสนอขายสินค้าหรือบริการโดยตรงต่อผู้บริโภคซึ่งอยู่ห่างโดยระยะทางและมุ่งหวังให้ผู้บริโภคแต่ละรายตอบกลับเพื่อซื้อสินค้าหรือบริการจากผู้ประกอบธุรกิจตลาดแบบตรงนั้น
อัพเดท พระราชบัญญัติขายตรงและตลาดแบบตรง (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2560
พ.ร.บ. ขายตรงและตลาดแบบตรง (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2560 ได้เปลี่ยนนิยาม ตลาดแบบตรง หมายความว่า การทำตลาดสินค้าหรือบริการในลักษณะของการสื่อสารข้อมูลเพื่อเสนอขายสินค้าหรือบริการโดยตรงต่อผู้บริโภค ซึ่งอยู่ห่างโดยระยะทางและมุ่งหวังให้ผู้บริโภคแต่ละรายตอบกลับเพื่อซื้อสินค้าหรือบริการจากผู้ประกอบธุรกิจตลาดแบบตรงนั้น ส่วนการซื้อขายสินค้าหรือบริการโดยวิธีการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ที่ไม่ถือว่าเป็นตลาดแบบตรง ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่กำหนดในกฏกระทรวง
แปลง่ายๆ ว่า ขาย/ให้บริการโดยใข้สื่อ สื่ออะไรก็ตามที่เสนอข้อมูลสินค้าให้ผู้ซื้อ โดยที่อยู่ห่างกันไม่เจอหน้ากัน แล้วผู้ขายก็ต้องการให้ผู้ซื้อสั่งสินค้า/บริการนั้นๆ ยกเว้นขายออนไลน์บางประเภทที่ไม่เข้าข่ายต้องจดทะเบียน ให้รอกฏกระทรวงออกมาทีหลังครับ
ส่วนที่สำคัญมากคือ หมวด 2 เรื่อง การประกอบธุรกิจขายตรงและตลาดแบบตรง ในส่วนที่ ๒ การประกอบธุรกิจตลาดแบบตรง ระบุเอาไว้ว่า
มาตรา 27 ห้ามมิให้ผู้ใดประกอบธุรกิจตลาดแบบตรง เว้นแต่จะได้จดทะเบียนการประกอบธุรกิจตลาดแบบตรงตามพระราชบัญญัตินี้
แปลง่ายๆ ว่าต้องจดให้เรียบร้อยก่อนจะเปิดขายรับรายการสั่งซื้อนั่นเอง
--------------------------------------------------------------------------
* กรณีขายสินค้าออนไลน์ผ่านเว็บไซต์ *
ขณะนี้เฉพาะระบบตะกร้าเท่านั้นที่ต้องจดทะเบียน รวมไปถึงท่านที่ใช้ระบบตะกร้าจากผู้ให้บริการ เช่น lnwshop weloveshopping ฯลฯ ที่สามารถคลิกสั่งซื้อในเว็บไซต์ได้ จะต้องจดทะเบียนก่อนขาย มิฉะนั้นจะมีความผิดปรับ 100,000 บาท (1 แสน) และปรับวันละ 10,000 บาท จนกว่าจะปิดกิจการหรือจดทะเบียนให้ถูกต้อง
ส่วนขายผ่านสื่อโซเชี่ยล เช่น Facebook IG Twitter Line หรือสื่ออื่นใดที่ต้องมีการพูดคุยไม่สามารถปิดการขายได้ทันที
ไม่ถือว่าเป็นธุรกิจตลาดแบบตรงนะครับ ไม่ต้องจดทะเบียนกับ สคบ. กฏหมายครอบคลุมเว็บไซต์ที่มีระบบตะกร้าเท่านั้น (เว็บไซต์ที่ไม่มีระบบตะกร้าก็ไม่ถือว่าเป็นธุรกิจตลาดแบบตรงเช่นกัน)
หากขายผ่านเว็บตัวกลาง e-Market Place เช่น Lazada Shopee 11street ก็ไม่ต้องจดทะเบียนเช่นกัน เฉพาะเว็บตัวกลางเท่านั้นที่ต้องจด
เชิงอรรถ
1. DRA Riser Global Private Limited.
2. สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.)
ปฐมบทต้นเรื่อง......
--------------------------------------------------------------------------
ไป สคบ. ครั้งแรก พร้อมเอกสารเกือบร้อยหน้า ตื่นเต้นมาก
ศูนย์ราชการฯ มันใหญ่โต OTOP แสงสีอลังการงานสร้าง......
.....ไปถึงนั่งรอสักพัก จนท. ก็เรียกไปที่โต๊ะ ผมก็ยื่นเอกสาร จนท. ก็ตรวจเอกสารแล้วถามเอกสารเป็นรายชุดเลย ถามว่าสินคือคืออะไร เจ้าของมาเองเปล่า (จนท. บ่นให้ฟังว่า เจ้าของไม่มาเองให้ลูกน้องมาหรือส่งเอกสาร ปณ. มา พอโดนตีกลับก็ไม่รู้เรื่อง) สั่งจากไหนมา สถานที่ประกอบการเป็นยังไง เสียภาษีนำเข้ายัง เรียกได้ว่าบางอย่างเจ้าของธุรกิจต้องมาตอบเองจริงๆ
.....แต่สุดท้ายก็ถามตอบเรียบร้อยไปด้วยดี ผลปรากฏว่าเอกสารไม่เรียบร้อย 2 ชุด คึอ ให้ไปแก้รูปสินค้ามาใหม่ กับเพิ่มฉลากให้ถูกต้อง (ขาดภาษาอังกฤษ) ความรู้สึกตอนนั้นเหมือนถูกฟ้าผ่าเปรี้ยงกลางหัว! พลาดเอกสารแค่นิดเดียวเอง..........
(ถ้าแบกปริ้นเตอร์ไปได้ก็จะไปแก้ไขสดๆ ต่อหน้าซะเลย)
.....จนท. ก็ให้คำแนะนำต่างๆ ซึ่งแนะนำดีมากครับ ขอขอบพระคุณอย่างสูงมา ณ ที่นี้ (ไม่ขอเอ่ยนาม) แล้ว จนท. ก็ให้เอกสารตัวนึงมาเป็นแบบฟอร์มยื่นขอจดทะเบียนธุรกิจตลาดแบบตรง ให้เอากลับบ้านไปกรอกมาพร้อมเอกสารทั้งหมดที่ จนท. ตรวจสอบวันนี้ และเอกสารที่ขาด
ไป สคบ. ครั้งที่ 2
------------------------------------------------------------------------------------
แบบว่าเอกสารอย่างแน่นเกือบร้อยหน้าแบกไปแบกมา
.... เมื่อมาถึง จนท. จำเราได้ก็เลยตรวจเอกสารที่เหลือ
......ผ่านฉลุย ดีใจรอบแรก
หลังจากนั้น จนท. ก็ให้ใบสีฟ้าอ่อนๆ ลงเลขที่คำขอ วัน เวลา เบอร์โทร ให้เราติดต่อความคืบหน้าหลังจากยื่นไปแล้ว 1 เดือน
1 month later....1 เดือนต่อมา....
------------------------------------------------------------------------------------
ใจจดใจจ่อ นับเลขหน้าหลังเหมือนประจำเดือนมา.....
..... โทรไปสอบถาม จนท. แจ้งว่า เอกสารเราเรียบร้อยแล้ว นายทะเบียนพิจารณารับจด (แปลว่าแค่รับจดนะ แต่ยังไม่ได้ตรวจสอบ)
ดีใจรอบสอง แต่........
ต้องรออีก 1 เดือนกว่า
..... ระหว่างนี้เอกสารทั้งหมดจะถูกตรวจหลายๆ ฝ่าย ทั้ง ผอ. ขายตรงและตลาดแบบตรง, ผอ. สำนักกฎหมายและคดี, รองเลขา สคบ., เลขา สคบ.
ถ้าไม่ถูกต้องเอกสารจะตีกลับมาต้องไปครั้งที่ 3 เพื่อเริ่มต้นยื่นใหม่ แล้วให้นายทะเบียนพิจารณาอีกครั้งว่าผ่านไหม จากที่รอ 1 เดือนกว่าๆ ก็เพิ่มเป็น 3 เดือน เอกสารจึงสำคัญมากๆ ในขั้นตอนนี้
2 months ago…… 2 เดือนผ่านไป....(กับสายลม)
------------------------------------------------------------------------------------
..... โทรไปถามความคืบหน้า ลุ้นกว่ารอบแรก…….
ได้คำตอบอย่างเดียวคือต้องรอนายทะเบียนพิจารณาให้เรียบร้อยนะคะ!
..... จนท. ไม่สามารถให้คำตอบได้ ไปเร่งไม่ได้
ระหว่างนี้เป็นช่วงที่ผู้ถือหุ้นทุกคนนั้นลุ้นสุดๆ เพราะว่า.......
ชี้เป็นชี้ตายเลยว่าธุรกิจที่กำลังทำ ผมทำได้หรือไม่ ถ้าทำไม่ได้ก็ต้องล้มเลิกธุรกิจทั้งหมดรวมถึงหนี้สินต่างๆ ต้องตามชดใช้อีก
ย่างเข้าเดือนที่ 3
------------------------------------------------------------------------------------
>>>>
..... จนท. โทรมาว่าใบอนุญาตเรียบร้อยแล้ว ไอเราก็เฮลั่น แทบกรีดร้อง....
ดีใจรอบ 3 เลยนัดบรรดา หุ้นส่วน ผจก. กรีฑาทัพ.....ไปรับกันพร้อมหน้า
ไป สคบ. ครั้งที่ 3
------------------------------------------------------------------------------------
หลักสี่เลี้ยวขวา แม่นแล่วไปโลดด.ด..ด......
..... ไปรับใบอนุญาตพร้อมขนเอกสารธุรกิจตัวจริงไปทั้งหมด สารพัด Cert จัดทัพมาเต็ม 555 ดีใจมาก
...... เพราะแค่ไปเปิดบัญชีธนาคารเพื่อรับชำระสินค้าจากลูกค้าก็กินเวลาเป็นเดือนเข้าไปแล้ว ตอนนี้ก็ขายของออนไลน์อย่างสบายใจแล้ว
..... หลังจากนั้นก็เตรียมไปขออนุญาตใช้เครื่องหมาย DBD Verified ต่อไป เป็นขั้นตอนสุดท้าย
สรุปไปถึง 3 ครั้ง....
...ใบอนุญาตก็ไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายอะไรเลย มีแต่หมดไปกับค่ากิน เที่ยว กับผู้ถือหุ้นด้วยกัน
ถือว่าผ่านไปด้วยดีกับการเริ่มต้นขายของออนไลน์
----------------------------------------------------------------
อ้างอิง
1. ณัฐวรรธน์ สุขวงศ์ตระกูล. ขายตรง ตลาดแบบตรงกับพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (๒). สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (องค์การมหาชน). สืบค้น 22 พฤษภาคม 2559.
2. สุวิทย์ วิจิตรโสภา. การขายสินค้าทางอินเทอร์เน็ตเป็นธุรกิจตลาดแบบตรงที่ต้องจดทะเบียนต่อ สคบ. สืบค้น 22 พฤษภาคม 2559. สมาคมการขายตรงไทย. สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค.
3. ไทยรัฐออนไลน์. 25 ธ.ค. 57. ช็อปออนไลน์ ซื้อง่ายแค่ปลายนิ้ว EP.4 เปิดกฎหมายเอาผิดร้านค้าลวงโลก!.
4. เดลินิวส์. 8 มี.ค. 57. ขายของออนไลน์ต้องจดทะเบียนประกอบธุรกิจตลาดแบบตรง - ไขปัญหาผู้บริโภค.
5. สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค. กฎหมายคุ้มครองผู้บริโภค กับ ธุรกิจ e-Commerce.
6. พระราชบัญญัติขายตรงและตลาดแบบตรง พ.ศ. 2545
7. ข่าวสด. 21 พฤษภาคม พ.ศ. 2559. ปอท.เตือนภัยช็อปปิ้งออนไลน์
8. iLaw. พ.ร.บ.ขายตรงฯ แก้ไขใหม่ ขายของผ่านเว็บต้องจดทะเบียน-ต้องวางหลักประกัน. 5 มิ.ย. 2560
9. สคบ. กองคุ้มครองผู้บริโภคด้านธุรกิจขายตรงและตลาดแบบตรง
10. ราชกิจจานุเบกษา. พระราชบัญญัติขายตรงและตลาดแบบตรง (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2560.
ดูแผนที่ขนาดใหญ่ขึ้น