*** ปล.ภาพทั้งหมดได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ ขอสงวนสิทธิ์ การนำภาพไปใช้ หรือ ดัดแปลง โดยมิได้รับอนุญาติจากเจ้าของภาพเป็นลายลักษณ์อักษรก่อนครับ ***
“ โชชูแด็ง สายแห่งตำนาน “
เมื่อกล่าวถึงสาย โชชูแด็งแล้ว จัดเป็นสาย1 ใน5 ที่โดดเด่นใน การถ่ายทอดวิทยาการการตีดาบญี่ปุ่น เนื่องจาก สำนักตีดาบที่มีชื่อเสียงมากมาย อยู่ในสายโชชูแด็ง หนึ่งในนั้นที่เรารู้จักกันดีคือ สำนัก มาซามูเน่ ที่มีชื่อเสียง นั้นเอง คุณลักษณะและรูปลักษณ์ของดาบสานโชชูแด็งที่โดดเด่นคือ ความแข็งแรง รูปทรงของใบค่อนข้างกว้าง และความคมกล้า อีกทั้งฮามอนลายคลื่น (โนทะเระ) ทำให้ดาบสายนี้มีเสน่ห์เฉพาะตัวและความงดงามที่เป็นเอกลักษณ์.
ในสายโชชูแด็ง สำนักคิโยมารุ เป็นหนึ่งในสำนักที่มีชื่อเสียงในยุคของดาบ ชินโตะ 新刀ซึ่งอยู่ในสมัย เอโดะ江戸時代ซึ่งเป็นสมัยที่ประเทศญี่ปุ่นภายใต้การปกครองรัฐบาลทหาร(บะฟุกุ) ของโชกุน โตกุกาว่า อิเอะยาสุ ปกครองจัดการบริหารประเทศ เป็นยุคแห่งความสงบสุข ปราศจากสงครามอันยาวนานทำให้ สำนักตีดาบในยุคนั้น มีเวลาในการพัฒนาคุณภาพของดาบและความสวยงามของดาบและเครื่องประกอบดาบ ให้ออกมาได้สวยงามอย่างอัศจรรย์ และ สำนักคิโยมารุ คือ หนึ่งในสำนักในยุคนั้นที่ได้พัฒนาเทคนิค วิธีการตีดาบ ในแนวของตนเอง ให้เป็นเลิศ ในยุคนั้น..........
“ เมล็ดพันธุ์ แห่ง คิโยมะรุ อ.อะกิฮิระ คะวะซะกิ”
อ.อะกิฮิระ ชื่อนี้ในวงการช่างตีดาบญี่ปุ่นในยุคปัจจุบันเป็นที่รู้จักกันดี เนื่องด้วยเป็นช่างหนุ่มรุ่นใหม่ไฟแรงฝีมือ และผลงานจัดจ้าน ด้วยเหตุนี้ งานดาบญี่ปุ่นสำคัญๆต่างๆ มักจะเห็นแกได้รับเชิญไปร่วมงานด้วยเสมอ สำหรับผู้ที่จะมองหาดาบสักเล่มไว้เป็นเพื่อนคู่ใจตลอดชีวิตคุณ โชชู อะกิฮิระ เป็นตัวเลือกหนึ่งที่โดดเด่น ควรค่าแก่การได้รับการพิจารณาครับ.
อ.อะกิฮิระ เป็นคนรุ่นใหม่ในสังคมใหม่ของญี่ปุ่น ครับ ประมาณว่า อายุห่างจากผมไม่มากเป็นเพียงรุ่นพี่ผมท่านั้นเอง แต่ความสามารถแก ไปไกลแล้วครับ แกเป็นคนญี่ปุ่นรุ่นใหม่มีมีจิตวิญญาณ ความหวงแหนศิลปะ และ วัฒนธรรม ความเป็นญี่ปุ่นจ๋า ได้อย่างสุดๆ ครับ.
ดังภาพ เป็นงานนักตีดาบญี่ปุ่น โทโชไค 刀匠会 ซ้ายสุด อ.ซาดาโตชิ กัสซัน (ประธานสมาคมนักตีดาบญี่ปุ่น และ เจ้าสำนักกัสซัน คนปัจจุบัน )คนกลาง อ.อิชิโร กัสซัน (ศิษย์เอก สำนักกัสซัน) คนขวา อ.อะกิฮิระ (ผู้สืบทอดสำนักคิโยมารุ)
ความดังของแก หาได้ตามหนังสือดาบญี่ปุ่นทั่วไปครับ
ดังอย่างเดียวไม่พอต้องเก่งด้วย อ.อะกิฮิระ ได้รับคัดเลือก จากช่างตีดาบญี่ปุ่นทั้งหมดจำนวน 200 ท่านให้ได้เป็นหนึ่งในทีม ที่สร้างดาบถอดแบบ การ์ตูนแอนนิเมะ เรื่องนี้ครับ
คือดาบของตัวละครเล่มนี้ครับ ของตัวละครไหนผมไม่ทราบครับ เพราะไม่สันทัดการ์ตูน แฟนๆแอนนิเมะ คงตอบกันได้ครับ
ดาบงามๆ กับสาวคะวาอิ๊.......
ดาบของตัวอะไร ญี่ปุ่นเป็นประเทศที่ผสมผสาน นำเอาวัฒธรรมมาผสมกับ วัฒนธรรมค่านิยมยุคใหม่ได้อย่างลงตัว โดยไม่ลืมรากเหง้าตัวเอง
เห็นทำดาบให้การ์ตูน ขำๆ แต่ ช่างแต่ละท่านใส่ใจในการทำงานที่ตัวเองได้รับผิดชอบอย่างเต็มความสามารถ ดาบตัวละคร เล่มนี้แค่ใบดาบอย่างเดียวก็ ล้านกว่าบาทแล้วครับ
ยุ่นมุง เหมือนไทยมุงไหม ได้ยินแต่ ว้า..สุโค้ยยย นา !, หือออ ไทเฮง คิเระดะ!
อันนี้แฟนคอเกม PS2 พอรู้ไหม เป็นทวนของ ตัวละครเกมค่าย KEIO หรือเปล่า ?
ผลงานของแกทั่วไปที่ จัดแสดงเวียนตามพิพิธภัณฑ์ต่างๆ นะครับ.
อันนี้ มีกลิ่นไอ เหมือน มาซามูเน่ ไหม เพราะเป็น องค์ความรู้จาก โชชูแด็ง สายเดียวกัน.
คนที่มีความ ติสส์ ทำอะไรก็ชอบ แนวศิลปะนะครับ อ.อะกิฮิระ ก็เช่นกัน ยามวางพักผ่อนจากการตีดาบ งานอดิเรกแก คือ เล่นละคร โนห์ ครับซึ่งเป็น ศิลปะชั้นสูง เปรียบเสมือนละครในของไทย ละครโนห์ สงวนไว้ ให้ชนชั้นซามูไร ขุนนาง ดูเท่านั้นครับ สามัญชนทั่วไป ต้องไปดู คาบูกิ(เปรียบละครนอก) แทนครับ
เริ่มจากเช้าที่โตเกียว ผมเดินทางด้วย ชินคังเซน โตเกียว-ทะคะซะกิ ใช้เวลา ประมาณ 58 นาที
ก็มาถึงสำนักของ อ.อะกิฮิระ ตามที่ได้นัดหมายไว้
อ.อะกิฮิระ ออกมาต้อนรับ ทักทายกันเป็นอย่างดี ครับ
จากนั้นก็แนะนำส่วนพื้นที่การทำงาน และอธิบายการทำงานใน โรงตีอย่างละเอียดเลยครับ.
อ.อะกิฮิระพานำชม และอธิบายขั้นตอนการ ตีโครงสร้างแบบฉบับที่ สำนักแกใช้ครับ
สิ่งที่พิเศษของสำนัก แกคือ อ.อะกิฮิระ ถลุงแร่เหล็กเองครับ เรียกว่า โอริกาเอชิ-ทะมะฮะกะเนะ ซึ่งเป็นวิธีการที่สืบทอดมาจากสำนักแก แต่โบราณ ซึ่งผมได้สอบถามว่า แล้ว ของนิโตะโฮล่ะ แกบอก ของนิโตะโฮะดีครับ แต่ ของแกดีกว่า 5555 และแกก็บอก วิธีการตีดาบ และ คุณลักษณะของดาบสายสำนักแก เหมาะกับ โอริกาเอชิ-ทะมะฮะกะเนะ เท่านั้นครับ !
แกจะสร้างเตาหลอม ของแกที่ด้านหน้าโรงตี ฉะนั้น บริเวณหน้าโรงตี จะพบเศษ ทะมะฮะกะเนะ ที่แกคัดทิ้งมากมายครับ แกบอกว่าเอาไปใช้ตีทำเครื่องใช้เล็กๆน้อยๆได้ แต่ดาบแกต้องใช้ก้อนที่ดีที่สุดพวกนี้ เลยทิ้งไว้ครับ
นี่ก็อีกก้อน หนักพอดูครับ ถ้าปาใส่หัว มีหลับแน่นอน ก้อนนี้ ถ้าตีเอาสิ่งเจือปนออก ทำใบกบไสไม้ หรือ มีดโกนแบบญี่ปุ่น (คะมิซอริ) ได้หลายเล่มนะครับ.
จากนั้น อ.อะกิฮิระนำเอา เหล็กที่ตีพับเรียบร้อย มาแสดงให้ดูแนวเกรนและเนื้อเหล็ก ซึ่งสวยงามมาก ขนาดยังไม่ได้ตีเป็นดาบ สามารถมองเห็นด้วยแสงปกติได้ดี ถ้าเป็นดาบแล้ว เมื่อศัตรูเห็นดาบคงตะลึง !ในความงดงามของดาบจนลืมการต่อสู้ไปเลย.
ต่อจากนั้น อ.อะกิฮิระ เชิญเข้าไปในเรือนรับแขกครับ เพื่อเอาผลงานของแกให้ผมชมเป็นบุญตา แต่ละเล่มงดงามจับใจเหลือเกิน ประมาณว่า มี 1 เล่มของแก ความงามมันฉายกลบรัศมีของเล่มอื่นไปหมด ประหนึ่ง เหมือนดาราเดินในกลุ่มคน ออล่ามันฉายเด่นออกมาเลย.
พระเอกเล่มแรกเราออกมาแล้ว
อ.อะกิฮิระ นำดาบออกมาทำความสะอาด คลาบน้ำมันเก่าที่ทารักษาไว้ โดยการนำผงอุชิโกะ พันเป็นลูกแป้งตบบนใบดาบ เพื่อขจัดน้ำมันเก่าและผงอุชิโกะมีคุณสมบัติ เป็นผงขัดละเอียดช่วย ขลับให้ใบดาบใสแววาวเป็น เนื้อเกรนเหล็ก(ฮาดะ) และ ผิวลายชุบแข็ง (ฮามอน) ได้เด่นชัด.
จากนั้นก็ ใช้กระดาษนุ่นๆ เช็ดผง อุชิโกะ ออก
ความงดงามจนทำให้ตะลึง
ชัดๆ แกมีห้องสำหรับถ่ายรูปกับฉากให้ถ่ายได้แบบ สวยๆ คะตะนะ ครับ ฮามอนคลื่น โนทะเระ
จากนั้นเป็นคิว วากิซากิ ยังไม่ทันชักมาทั้งหมด แค่นี้ ก็ใจละลายแล้ว ที่เห็นคอดาบ(ฮะบะกิ) นั้นทำจากการหุ้มทองคำแท้ๆนะครับ.
ตัวเต็มๆสะกดทุกสายตา โชชูแด็ง มันงดงามสมคำลำลือ !
ปลายดาบ(คิสสะกิ) และเหลี่ยมปลายใบ(โยะโคะเตะ) มันตัดเหลี่ย
โอตาคุ ดาบญี่ปุ่น 3.
*** ปล.ภาพทั้งหมดได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ ขอสงวนสิทธิ์ การนำภาพไปใช้ หรือ ดัดแปลง โดยมิได้รับอนุญาติจากเจ้าของภาพเป็นลายลักษณ์อักษรก่อนครับ ***
“ โชชูแด็ง สายแห่งตำนาน “
เมื่อกล่าวถึงสาย โชชูแด็งแล้ว จัดเป็นสาย1 ใน5 ที่โดดเด่นใน การถ่ายทอดวิทยาการการตีดาบญี่ปุ่น เนื่องจาก สำนักตีดาบที่มีชื่อเสียงมากมาย อยู่ในสายโชชูแด็ง หนึ่งในนั้นที่เรารู้จักกันดีคือ สำนัก มาซามูเน่ ที่มีชื่อเสียง นั้นเอง คุณลักษณะและรูปลักษณ์ของดาบสานโชชูแด็งที่โดดเด่นคือ ความแข็งแรง รูปทรงของใบค่อนข้างกว้าง และความคมกล้า อีกทั้งฮามอนลายคลื่น (โนทะเระ) ทำให้ดาบสายนี้มีเสน่ห์เฉพาะตัวและความงดงามที่เป็นเอกลักษณ์.
ในสายโชชูแด็ง สำนักคิโยมารุ เป็นหนึ่งในสำนักที่มีชื่อเสียงในยุคของดาบ ชินโตะ 新刀ซึ่งอยู่ในสมัย เอโดะ江戸時代ซึ่งเป็นสมัยที่ประเทศญี่ปุ่นภายใต้การปกครองรัฐบาลทหาร(บะฟุกุ) ของโชกุน โตกุกาว่า อิเอะยาสุ ปกครองจัดการบริหารประเทศ เป็นยุคแห่งความสงบสุข ปราศจากสงครามอันยาวนานทำให้ สำนักตีดาบในยุคนั้น มีเวลาในการพัฒนาคุณภาพของดาบและความสวยงามของดาบและเครื่องประกอบดาบ ให้ออกมาได้สวยงามอย่างอัศจรรย์ และ สำนักคิโยมารุ คือ หนึ่งในสำนักในยุคนั้นที่ได้พัฒนาเทคนิค วิธีการตีดาบ ในแนวของตนเอง ให้เป็นเลิศ ในยุคนั้น..........
“ เมล็ดพันธุ์ แห่ง คิโยมะรุ อ.อะกิฮิระ คะวะซะกิ”
อ.อะกิฮิระ ชื่อนี้ในวงการช่างตีดาบญี่ปุ่นในยุคปัจจุบันเป็นที่รู้จักกันดี เนื่องด้วยเป็นช่างหนุ่มรุ่นใหม่ไฟแรงฝีมือ และผลงานจัดจ้าน ด้วยเหตุนี้ งานดาบญี่ปุ่นสำคัญๆต่างๆ มักจะเห็นแกได้รับเชิญไปร่วมงานด้วยเสมอ สำหรับผู้ที่จะมองหาดาบสักเล่มไว้เป็นเพื่อนคู่ใจตลอดชีวิตคุณ โชชู อะกิฮิระ เป็นตัวเลือกหนึ่งที่โดดเด่น ควรค่าแก่การได้รับการพิจารณาครับ.
อ.อะกิฮิระ เป็นคนรุ่นใหม่ในสังคมใหม่ของญี่ปุ่น ครับ ประมาณว่า อายุห่างจากผมไม่มากเป็นเพียงรุ่นพี่ผมท่านั้นเอง แต่ความสามารถแก ไปไกลแล้วครับ แกเป็นคนญี่ปุ่นรุ่นใหม่มีมีจิตวิญญาณ ความหวงแหนศิลปะ และ วัฒนธรรม ความเป็นญี่ปุ่นจ๋า ได้อย่างสุดๆ ครับ.
ดังภาพ เป็นงานนักตีดาบญี่ปุ่น โทโชไค 刀匠会 ซ้ายสุด อ.ซาดาโตชิ กัสซัน (ประธานสมาคมนักตีดาบญี่ปุ่น และ เจ้าสำนักกัสซัน คนปัจจุบัน )คนกลาง อ.อิชิโร กัสซัน (ศิษย์เอก สำนักกัสซัน) คนขวา อ.อะกิฮิระ (ผู้สืบทอดสำนักคิโยมารุ)
ความดังของแก หาได้ตามหนังสือดาบญี่ปุ่นทั่วไปครับ
ดังอย่างเดียวไม่พอต้องเก่งด้วย อ.อะกิฮิระ ได้รับคัดเลือก จากช่างตีดาบญี่ปุ่นทั้งหมดจำนวน 200 ท่านให้ได้เป็นหนึ่งในทีม ที่สร้างดาบถอดแบบ การ์ตูนแอนนิเมะ เรื่องนี้ครับ
คือดาบของตัวละครเล่มนี้ครับ ของตัวละครไหนผมไม่ทราบครับ เพราะไม่สันทัดการ์ตูน แฟนๆแอนนิเมะ คงตอบกันได้ครับ
ดาบงามๆ กับสาวคะวาอิ๊.......
ดาบของตัวอะไร ญี่ปุ่นเป็นประเทศที่ผสมผสาน นำเอาวัฒธรรมมาผสมกับ วัฒนธรรมค่านิยมยุคใหม่ได้อย่างลงตัว โดยไม่ลืมรากเหง้าตัวเอง
เห็นทำดาบให้การ์ตูน ขำๆ แต่ ช่างแต่ละท่านใส่ใจในการทำงานที่ตัวเองได้รับผิดชอบอย่างเต็มความสามารถ ดาบตัวละคร เล่มนี้แค่ใบดาบอย่างเดียวก็ ล้านกว่าบาทแล้วครับ
ยุ่นมุง เหมือนไทยมุงไหม ได้ยินแต่ ว้า..สุโค้ยยย นา !, หือออ ไทเฮง คิเระดะ!
อันนี้แฟนคอเกม PS2 พอรู้ไหม เป็นทวนของ ตัวละครเกมค่าย KEIO หรือเปล่า ?
ผลงานของแกทั่วไปที่ จัดแสดงเวียนตามพิพิธภัณฑ์ต่างๆ นะครับ.
อันนี้ มีกลิ่นไอ เหมือน มาซามูเน่ ไหม เพราะเป็น องค์ความรู้จาก โชชูแด็ง สายเดียวกัน.
คนที่มีความ ติสส์ ทำอะไรก็ชอบ แนวศิลปะนะครับ อ.อะกิฮิระ ก็เช่นกัน ยามวางพักผ่อนจากการตีดาบ งานอดิเรกแก คือ เล่นละคร โนห์ ครับซึ่งเป็น ศิลปะชั้นสูง เปรียบเสมือนละครในของไทย ละครโนห์ สงวนไว้ ให้ชนชั้นซามูไร ขุนนาง ดูเท่านั้นครับ สามัญชนทั่วไป ต้องไปดู คาบูกิ(เปรียบละครนอก) แทนครับ
เริ่มจากเช้าที่โตเกียว ผมเดินทางด้วย ชินคังเซน โตเกียว-ทะคะซะกิ ใช้เวลา ประมาณ 58 นาที
ก็มาถึงสำนักของ อ.อะกิฮิระ ตามที่ได้นัดหมายไว้
อ.อะกิฮิระ ออกมาต้อนรับ ทักทายกันเป็นอย่างดี ครับ
จากนั้นก็แนะนำส่วนพื้นที่การทำงาน และอธิบายการทำงานใน โรงตีอย่างละเอียดเลยครับ.
อ.อะกิฮิระพานำชม และอธิบายขั้นตอนการ ตีโครงสร้างแบบฉบับที่ สำนักแกใช้ครับ
สิ่งที่พิเศษของสำนัก แกคือ อ.อะกิฮิระ ถลุงแร่เหล็กเองครับ เรียกว่า โอริกาเอชิ-ทะมะฮะกะเนะ ซึ่งเป็นวิธีการที่สืบทอดมาจากสำนักแก แต่โบราณ ซึ่งผมได้สอบถามว่า แล้ว ของนิโตะโฮล่ะ แกบอก ของนิโตะโฮะดีครับ แต่ ของแกดีกว่า 5555 และแกก็บอก วิธีการตีดาบ และ คุณลักษณะของดาบสายสำนักแก เหมาะกับ โอริกาเอชิ-ทะมะฮะกะเนะ เท่านั้นครับ !
แกจะสร้างเตาหลอม ของแกที่ด้านหน้าโรงตี ฉะนั้น บริเวณหน้าโรงตี จะพบเศษ ทะมะฮะกะเนะ ที่แกคัดทิ้งมากมายครับ แกบอกว่าเอาไปใช้ตีทำเครื่องใช้เล็กๆน้อยๆได้ แต่ดาบแกต้องใช้ก้อนที่ดีที่สุดพวกนี้ เลยทิ้งไว้ครับ
นี่ก็อีกก้อน หนักพอดูครับ ถ้าปาใส่หัว มีหลับแน่นอน ก้อนนี้ ถ้าตีเอาสิ่งเจือปนออก ทำใบกบไสไม้ หรือ มีดโกนแบบญี่ปุ่น (คะมิซอริ) ได้หลายเล่มนะครับ.
จากนั้น อ.อะกิฮิระนำเอา เหล็กที่ตีพับเรียบร้อย มาแสดงให้ดูแนวเกรนและเนื้อเหล็ก ซึ่งสวยงามมาก ขนาดยังไม่ได้ตีเป็นดาบ สามารถมองเห็นด้วยแสงปกติได้ดี ถ้าเป็นดาบแล้ว เมื่อศัตรูเห็นดาบคงตะลึง !ในความงดงามของดาบจนลืมการต่อสู้ไปเลย.
ต่อจากนั้น อ.อะกิฮิระ เชิญเข้าไปในเรือนรับแขกครับ เพื่อเอาผลงานของแกให้ผมชมเป็นบุญตา แต่ละเล่มงดงามจับใจเหลือเกิน ประมาณว่า มี 1 เล่มของแก ความงามมันฉายกลบรัศมีของเล่มอื่นไปหมด ประหนึ่ง เหมือนดาราเดินในกลุ่มคน ออล่ามันฉายเด่นออกมาเลย.
พระเอกเล่มแรกเราออกมาแล้ว
อ.อะกิฮิระ นำดาบออกมาทำความสะอาด คลาบน้ำมันเก่าที่ทารักษาไว้ โดยการนำผงอุชิโกะ พันเป็นลูกแป้งตบบนใบดาบ เพื่อขจัดน้ำมันเก่าและผงอุชิโกะมีคุณสมบัติ เป็นผงขัดละเอียดช่วย ขลับให้ใบดาบใสแววาวเป็น เนื้อเกรนเหล็ก(ฮาดะ) และ ผิวลายชุบแข็ง (ฮามอน) ได้เด่นชัด.
จากนั้นก็ ใช้กระดาษนุ่นๆ เช็ดผง อุชิโกะ ออก
ความงดงามจนทำให้ตะลึง
ชัดๆ แกมีห้องสำหรับถ่ายรูปกับฉากให้ถ่ายได้แบบ สวยๆ คะตะนะ ครับ ฮามอนคลื่น โนทะเระ
จากนั้นเป็นคิว วากิซากิ ยังไม่ทันชักมาทั้งหมด แค่นี้ ก็ใจละลายแล้ว ที่เห็นคอดาบ(ฮะบะกิ) นั้นทำจากการหุ้มทองคำแท้ๆนะครับ.
ตัวเต็มๆสะกดทุกสายตา โชชูแด็ง มันงดงามสมคำลำลือ !
ปลายดาบ(คิสสะกิ) และเหลี่ยมปลายใบ(โยะโคะเตะ) มันตัดเหลี่ย