เทเลนอร์ยันไม่ถอนทุนหนี เผยดีแทคให้ส่วนแบ่งรายได้สูงสุด ประกาศลงทุนอีก2หมื่นล้านลุย4จี
มติชน (กรอบบ่าย) ฉบับวันที่ 11 มกราคม พ.ศ. 2559
นายซิคเว่ เบรกเก้ ประธานและประธานเจ้าหน้าที่บริหารเทเลนอร์กรุ๊ป เปิดเผยถึงกรณีกระแสข่าวลือว่า เทเลนอร์ในฐานะผู้ถือหุ้นใหญ่ของบริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) หรือดีแทค จะถอนการลงทุนจากประเทศไทยหลังจากดีแทคไม่ชนะการประมูล 4จี บนคลื่นความถี่ย่าน 1800 และ 900 เมกะเฮิรตซ์ว่า ยืนยันว่าจะไม่ถอนการลงทุนออกจากประเทศไทยอย่างแน่นอน และจะยังคงให้การสนับสนุนดีแทคในการลงทุนอย่างต่อเนื่องต่อไป เพราะเทเลนอร์มองเรื่องการลงทุนเป็นเรื่องระยะยาว เพราะปัจจุบันตลาดเอเชียเป็นผู้นำอุตสาหกรรมโทรคมนาคมไปแล้ว อ้างอิงได้จากสมาร์ทโฟน 8 ใน 10 แบรนด์ชั้นนำของโลกมาจากเอเชีย และแอพพลิเคชั่นที่ได้รับความนิยมสูงสุดของโลก 60% ก็มาจากเอเชีย ขณะที่ดีแทคก็ทำส่วนแบ่งรายได้ให้แก่เทเลนอร์ สูงที่สุดจากการลงทุนทั่วโลก โดยไตรมาส 3 ปี 2558 ดีแทคทำส่วนแบ่งรายได้ให้เทเลนอร์ถึง 14.4% จากรายได้รวมของเทเลนอร์ทั้งหมด
"ยอมรับว่าตกใจกับผลประมูลคลื่นความถี่ย่าน 1800 และ 900 เมกะเฮิรตซ์ แต่ดีแทคก็ได้ประเมินชัดเจนแล้วว่ามูลค่าคลื่นความถี่ที่เหมาะแก่การดำเนินธุรกิจได้ควรอยู่ที่เท่าใด ดังนั้นจากนี้ไปดีแทคจะมองหาคลื่นความถี่อื่นๆ ที่รัฐจะนำออกมาประมูลในอนาคต ไม่ว่าจะเป็นย่านความถี่ 1800, 850, 2600, 2300 และ 700 เมกะเฮิรตซ์ ดังนั้น ภาครัฐควรจะต้องมีแผนจัดสรรคลื่นความถี่ (โรดแมป) ที่ชัดเจนว่าแต่ละย่านความถี่จะนำออกมาประมูลเมื่อใด" นายซิคเว่กล่าว และว่า อย่างไรก็ตามเมื่อวันที่ 7 มกราคมที่ผ่านมา นายลาร์ส นอร์ลิ่ง ประธานเจ้าหน้าที่บริหารดีแทค ก็ได้ไปเจรจากับนายอุตตม สาวนายน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ไอซีที) เพื่อขอความชัดเจนเรื่องโรดแมปแล้ว และเชื่อว่าการประมูลในอนาคตราคาอาจจะไม่สูง โดยเฉพาะคลื่นความถี่ย่าน 1800 เมกะเฮิรตซ์ จำนวน 45 เมกะเฮิรตซ์ เพราะเชื่อว่าจะมีการแบ่งการประมูลออกเป็น 3 ใบอนุญาต จำนวนใบอนุญาตละ 15 เมกะเฮิรตซ์ ซึ่งดีแทคมีโอกาสชนะการประมูลได้ เพราะได้เปรียบคู่แข่งอีก 3 ราย เพราะดีแทคไม่มีหนี้จากการประมูลในรอบที่ผ่านมา
นายลาร์สกล่าวว่า แม้ดีแทคจะแพ้ประมูล 4จี ทั้ง 2 รอบที่ผ่านมา แต่ในช่วง 2-5 ปี ก็ยังมีคลื่นพอให้บริการลูกค้า โดยในปีนี้ก็ยังมีแผนลงทุนต่อเนื่องเพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้ลูกค้าด้วยงบลงทุนประมาณ 20,000 ล้านบาท ใน 2 ส่วนคือ 1.ลงทุนวางโครงข่ายซุปเปอร์ 4จี บนคลื่นความถี่ย่าน 1800 เมกะเฮิรตซ์ ให้ครอบคลุมในพื้นที่กรุงเทพฯและหัวเมืองใหญ่ รวมทั้งวางโครงข่าย 4จี บนคลื่นความถี่ย่าน 2100 เมกะเฮิรตซ์ ให้ครอบคลุมครบทั้ง 77 จังหวัด เพื่อขยายลูกค้า 4จี จาก 2 ล้านคนในปัจจุบัน เป็น 4.5 ล้านคนในปี 2559 และ 2.ใช้งบประมาณในการทำการตลาดชนิดที่ไม่เคยทำมากเท่านี้มาก่อน แต่ยังไม่เปิดเผยรายละเอียด ส่วนในอนาคตอีก 5 ปีหลังจากนี้ ดีแทคจะต้องมีคลื่นความถี่เพิ่มขึ้น
แหล่งข่าว
หนังสือพิมพ์มติชน (กรอบบ่าย) ฉบับวันที่ 11 มกราคม พ.ศ. 2559 (หน้า 8)
เทเลนอร์ยันไม่ถอนทุนหนี เผยดีแทคให้ส่วนแบ่งรายได้สูงสุด ประกาศลงทุนอีก2หมื่นล้านลุย4จี
เทเลนอร์ยันไม่ถอนทุนหนี เผยดีแทคให้ส่วนแบ่งรายได้สูงสุด ประกาศลงทุนอีก2หมื่นล้านลุย4จี
มติชน (กรอบบ่าย) ฉบับวันที่ 11 มกราคม พ.ศ. 2559
นายซิคเว่ เบรกเก้ ประธานและประธานเจ้าหน้าที่บริหารเทเลนอร์กรุ๊ป เปิดเผยถึงกรณีกระแสข่าวลือว่า เทเลนอร์ในฐานะผู้ถือหุ้นใหญ่ของบริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) หรือดีแทค จะถอนการลงทุนจากประเทศไทยหลังจากดีแทคไม่ชนะการประมูล 4จี บนคลื่นความถี่ย่าน 1800 และ 900 เมกะเฮิรตซ์ว่า ยืนยันว่าจะไม่ถอนการลงทุนออกจากประเทศไทยอย่างแน่นอน และจะยังคงให้การสนับสนุนดีแทคในการลงทุนอย่างต่อเนื่องต่อไป เพราะเทเลนอร์มองเรื่องการลงทุนเป็นเรื่องระยะยาว เพราะปัจจุบันตลาดเอเชียเป็นผู้นำอุตสาหกรรมโทรคมนาคมไปแล้ว อ้างอิงได้จากสมาร์ทโฟน 8 ใน 10 แบรนด์ชั้นนำของโลกมาจากเอเชีย และแอพพลิเคชั่นที่ได้รับความนิยมสูงสุดของโลก 60% ก็มาจากเอเชีย ขณะที่ดีแทคก็ทำส่วนแบ่งรายได้ให้แก่เทเลนอร์ สูงที่สุดจากการลงทุนทั่วโลก โดยไตรมาส 3 ปี 2558 ดีแทคทำส่วนแบ่งรายได้ให้เทเลนอร์ถึง 14.4% จากรายได้รวมของเทเลนอร์ทั้งหมด
"ยอมรับว่าตกใจกับผลประมูลคลื่นความถี่ย่าน 1800 และ 900 เมกะเฮิรตซ์ แต่ดีแทคก็ได้ประเมินชัดเจนแล้วว่ามูลค่าคลื่นความถี่ที่เหมาะแก่การดำเนินธุรกิจได้ควรอยู่ที่เท่าใด ดังนั้นจากนี้ไปดีแทคจะมองหาคลื่นความถี่อื่นๆ ที่รัฐจะนำออกมาประมูลในอนาคต ไม่ว่าจะเป็นย่านความถี่ 1800, 850, 2600, 2300 และ 700 เมกะเฮิรตซ์ ดังนั้น ภาครัฐควรจะต้องมีแผนจัดสรรคลื่นความถี่ (โรดแมป) ที่ชัดเจนว่าแต่ละย่านความถี่จะนำออกมาประมูลเมื่อใด" นายซิคเว่กล่าว และว่า อย่างไรก็ตามเมื่อวันที่ 7 มกราคมที่ผ่านมา นายลาร์ส นอร์ลิ่ง ประธานเจ้าหน้าที่บริหารดีแทค ก็ได้ไปเจรจากับนายอุตตม สาวนายน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ไอซีที) เพื่อขอความชัดเจนเรื่องโรดแมปแล้ว และเชื่อว่าการประมูลในอนาคตราคาอาจจะไม่สูง โดยเฉพาะคลื่นความถี่ย่าน 1800 เมกะเฮิรตซ์ จำนวน 45 เมกะเฮิรตซ์ เพราะเชื่อว่าจะมีการแบ่งการประมูลออกเป็น 3 ใบอนุญาต จำนวนใบอนุญาตละ 15 เมกะเฮิรตซ์ ซึ่งดีแทคมีโอกาสชนะการประมูลได้ เพราะได้เปรียบคู่แข่งอีก 3 ราย เพราะดีแทคไม่มีหนี้จากการประมูลในรอบที่ผ่านมา
นายลาร์สกล่าวว่า แม้ดีแทคจะแพ้ประมูล 4จี ทั้ง 2 รอบที่ผ่านมา แต่ในช่วง 2-5 ปี ก็ยังมีคลื่นพอให้บริการลูกค้า โดยในปีนี้ก็ยังมีแผนลงทุนต่อเนื่องเพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้ลูกค้าด้วยงบลงทุนประมาณ 20,000 ล้านบาท ใน 2 ส่วนคือ 1.ลงทุนวางโครงข่ายซุปเปอร์ 4จี บนคลื่นความถี่ย่าน 1800 เมกะเฮิรตซ์ ให้ครอบคลุมในพื้นที่กรุงเทพฯและหัวเมืองใหญ่ รวมทั้งวางโครงข่าย 4จี บนคลื่นความถี่ย่าน 2100 เมกะเฮิรตซ์ ให้ครอบคลุมครบทั้ง 77 จังหวัด เพื่อขยายลูกค้า 4จี จาก 2 ล้านคนในปัจจุบัน เป็น 4.5 ล้านคนในปี 2559 และ 2.ใช้งบประมาณในการทำการตลาดชนิดที่ไม่เคยทำมากเท่านี้มาก่อน แต่ยังไม่เปิดเผยรายละเอียด ส่วนในอนาคตอีก 5 ปีหลังจากนี้ ดีแทคจะต้องมีคลื่นความถี่เพิ่มขึ้น
แหล่งข่าว
หนังสือพิมพ์มติชน (กรอบบ่าย) ฉบับวันที่ 11 มกราคม พ.ศ. 2559 (หน้า 8)