สวัสดีครับ กลับมาพบกันอีกครั้งสำหรับกระทู้ผีเสื้อ
เว้นวรรคหายไปนานหน่อยเพราะธุระเยอะ ทริปเยอะ ที่จริงก็เลี้ยงเยอะเหมือนเดิมแต่ว่าไม่ว่างติดตามถ่ายรูปและวิดีโอ
มันชอบออกกันช่วงเช้ามืด เป็นอันสลบไปก่อนทุกทีครับ
วันนี้ขอเสนอเรื่องของผีเสื้อบารอนหนอนมะม่วง ที่หนอนของมันหน้าตาแปลก ๆ
อาจจะน่ารัก แปลก และน่ากลัว ในสายตาของแต่ละคนก็ว่ากันไปนะครับ อิอิ
หน้าตาของเค้าก็แบบนี้แหละครับ ในภาพเป็นตัวผู้ ตัวเมียสีจะจางหน่อยออกน้ำตาลทึม ๆ
ชอบหลบในที่ร่มและออกมากินพวกผลไม้สุกงอม ตัวเมียมีนิสัยชอบวางไข่ตามใบมะม่วง
จะวางไข่เดี่ยว ๆ ทีละฟองแล้วย้ายที่ ผมเห็นตัวเมียวางไข่จึงไปเก็บไข่มาเลี้ยงครับ
ถ้าเปรียบกับแม่ไก่ก็คือ มันไข่มาอุ่น ๆ ผมก็เก็บมาฟักเลยทันที
ไข่หน้าตาแบบนี้ครับ ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณหัวเข็มหมุด
ไข่ใช้เวลา 5 วันในการฟักตัว จากนั้นหนอนจะออกมากินเปลือกไข่เป็นอาหารมื้อแรกถึงจะเริ่มกินใบมะม่วงครับ
ในภาพขนาดประมาณ 5mm
จากนั้นอีก 2-3 วันหนอนจะลอกคราบครั้งแรก เข้าสู่ระยะที่ 2 จะเห็นสีและรยางค์ชัดขึ้น
ตอนนี้ขนาดประมาณ 10mm
ผ่านไป 2-3 วันอีกเช่นกัน หนอนจะลอกคราบเข้าสู่ระยะที่ 3
ตอนนี้ขนาดประมาณ 20mm
อีก 3 วันเช่นกัน หนอนจะลอกคราบเข้าสู่ระยะที่ 4
ตอนนี้ขนาดประมาณ 25mm
ระยะนี้นานกว่าเดิม หนอนใช้เวลา 7 วันแล้วจึงลอกคราบเข้าสู่ระยะที่ 5
ตอนนี้ขนาดจะอยู่ที่ประมาณ 35mm
บางท่านอาจจะคุ้น ๆ แล้วบอกว่า เอ๊ะ...นี่มันหนอนที่เรียกว่า บุ้ง หรือ ร่าน ที่มีพิษมากเลยนี่นา
แต่ว่า...ไม่ใช่ครับ เจ้าหนอนตัวนี้ไม่มีพิษเลย เราสามารถถูกตัวมันได้โดยที่เราไม่รู้สึกอะไรเลยซะด้วยซ้ำ
หนอนระยะที่ 5 ใช้เวลานานที่สุดคือประมาณ 10 วัน แล้วจึงเข้าสู่ระยะดักแด้ครับ
ออกมาหน้าตาเท่ ๆ แบบนี้เลยยยยยย
ผ่านไปอีก 7 วันจนเข้าสู่วันที่ 8 ดักแด้จะเปลี่ยนเป็นสีเข้มขึ้นซึ่งบอกให้รู้ว่าเจ้าผีเสื้อข้างในจะออกมาแล้ว
เมื่อเวลาสำคัญมาถึง ผีเสื้อออกมาจากดักแด้อย่างปลอดภัยครับ
มาดูคลิปที่ผมถ่ายไว้กัน
ก็เป็นผีเสื้อที่พบได้ไม่ยากนักครับ แต่ต้องสังเกตกันหน่อย
แต่ถ้าบ้านใครมีต้นมะม่วงเยอะ ๆ คงได้เจอหน้าตากันแล้วแน่นอน
ข้อมูลผีเสื้อ
ผีเสื้อบารอนหนอนมะม่วง (Mango Baron )
Euthalia aconthea garuda (Moore, 1858)
Family : Nymphalidae
Subfamily : Limentidinae
พืชอาหาร : Mangifera indica (มะม่วง)
ข้อมูลแมลงเก่า
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้ผีเสื้อฟ้าหนอนมะนาว
http://ppantip.com/topic/33923062
ผีเสื้อหนอนคูนธรรมดา
http://ppantip.com/topic/33839021
ผีเสื้อม่วงใบไม้
http://ppantip.com/topic/33775289
ผีเสื้อพุ่มไม้ธรรมดา
http://ppantip.com/topic/33695475
หนอนผีเสื้อหางตุ้มจุดชมพูลอกคราบ
http://ppantip.com/topic/33618244
มอธหนอนคืบละหุ่ง
http://ppantip.com/topic/33453344
ผีเสื้อหนอนละหุ่งลายหยัก
http://ppantip.com/topic/33443862
ผีเสื้อหนอนมะนาว
http://ppantip.com/topic/32953535
ผีเสื้อหนอนใบรักธรรมดา
http://ppantip.com/topic/30923741
ชวนกันตามติด...ชีวิตของ ผีเสื้อบารอนหนอนมะม่วง (Euthalia aconthea)
เว้นวรรคหายไปนานหน่อยเพราะธุระเยอะ ทริปเยอะ ที่จริงก็เลี้ยงเยอะเหมือนเดิมแต่ว่าไม่ว่างติดตามถ่ายรูปและวิดีโอ
มันชอบออกกันช่วงเช้ามืด เป็นอันสลบไปก่อนทุกทีครับ
วันนี้ขอเสนอเรื่องของผีเสื้อบารอนหนอนมะม่วง ที่หนอนของมันหน้าตาแปลก ๆ
อาจจะน่ารัก แปลก และน่ากลัว ในสายตาของแต่ละคนก็ว่ากันไปนะครับ อิอิ
หน้าตาของเค้าก็แบบนี้แหละครับ ในภาพเป็นตัวผู้ ตัวเมียสีจะจางหน่อยออกน้ำตาลทึม ๆ
ชอบหลบในที่ร่มและออกมากินพวกผลไม้สุกงอม ตัวเมียมีนิสัยชอบวางไข่ตามใบมะม่วง
จะวางไข่เดี่ยว ๆ ทีละฟองแล้วย้ายที่ ผมเห็นตัวเมียวางไข่จึงไปเก็บไข่มาเลี้ยงครับ
ถ้าเปรียบกับแม่ไก่ก็คือ มันไข่มาอุ่น ๆ ผมก็เก็บมาฟักเลยทันที
ไข่หน้าตาแบบนี้ครับ ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณหัวเข็มหมุด
ไข่ใช้เวลา 5 วันในการฟักตัว จากนั้นหนอนจะออกมากินเปลือกไข่เป็นอาหารมื้อแรกถึงจะเริ่มกินใบมะม่วงครับ
ในภาพขนาดประมาณ 5mm
จากนั้นอีก 2-3 วันหนอนจะลอกคราบครั้งแรก เข้าสู่ระยะที่ 2 จะเห็นสีและรยางค์ชัดขึ้น
ตอนนี้ขนาดประมาณ 10mm
ผ่านไป 2-3 วันอีกเช่นกัน หนอนจะลอกคราบเข้าสู่ระยะที่ 3
ตอนนี้ขนาดประมาณ 20mm
อีก 3 วันเช่นกัน หนอนจะลอกคราบเข้าสู่ระยะที่ 4
ตอนนี้ขนาดประมาณ 25mm
ระยะนี้นานกว่าเดิม หนอนใช้เวลา 7 วันแล้วจึงลอกคราบเข้าสู่ระยะที่ 5
ตอนนี้ขนาดจะอยู่ที่ประมาณ 35mm
บางท่านอาจจะคุ้น ๆ แล้วบอกว่า เอ๊ะ...นี่มันหนอนที่เรียกว่า บุ้ง หรือ ร่าน ที่มีพิษมากเลยนี่นา
แต่ว่า...ไม่ใช่ครับ เจ้าหนอนตัวนี้ไม่มีพิษเลย เราสามารถถูกตัวมันได้โดยที่เราไม่รู้สึกอะไรเลยซะด้วยซ้ำ
หนอนระยะที่ 5 ใช้เวลานานที่สุดคือประมาณ 10 วัน แล้วจึงเข้าสู่ระยะดักแด้ครับ
ออกมาหน้าตาเท่ ๆ แบบนี้เลยยยยยย
ผ่านไปอีก 7 วันจนเข้าสู่วันที่ 8 ดักแด้จะเปลี่ยนเป็นสีเข้มขึ้นซึ่งบอกให้รู้ว่าเจ้าผีเสื้อข้างในจะออกมาแล้ว
เมื่อเวลาสำคัญมาถึง ผีเสื้อออกมาจากดักแด้อย่างปลอดภัยครับ
มาดูคลิปที่ผมถ่ายไว้กัน
ก็เป็นผีเสื้อที่พบได้ไม่ยากนักครับ แต่ต้องสังเกตกันหน่อย
แต่ถ้าบ้านใครมีต้นมะม่วงเยอะ ๆ คงได้เจอหน้าตากันแล้วแน่นอน
ข้อมูลผีเสื้อ
ผีเสื้อบารอนหนอนมะม่วง (Mango Baron )
Euthalia aconthea garuda (Moore, 1858)
Family : Nymphalidae
Subfamily : Limentidinae
พืชอาหาร : Mangifera indica (มะม่วง)
ข้อมูลแมลงเก่า
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้