หุ้นมือถือยังมีความเสี่ยง โอกาสเติบโตในปี 59...“น้อย”
ผู้จัดการรายวัน 360 องศา ฉบับวันที่ 4 มกราคม พ.ศ. 2559
เดิมทีหุ้นกลุ่มสื่อสารถือเป็น “หุ้นบูลชิป” ที่นักลงทุนไทยให้ความสำคัญอันดับต้นๆ หนี้ไม่พ้น 3 บริษัทหลักอย่าง บมจ.แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส (ADVANC) บมจ.โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น (DTAC) และ บมจ.ทรู คอร์ปอเรชั่น (TRUE) แต่ตลอดทั้งปี 2558 แทบไม่มีปัจจัยสนับสนุนให้หุ้นเหล่านี้ให้น่าสนใจ หรือช่วยผลักดันอัตราการเติบโตของธุรกิจ อีกทั้งยังมีปัจจัยลบมากมายเข้ามากดดันราคาหุ้นจนฉุดให้ดัชนีหลักทรัพย์รวมปรับตัวลดลงตามไปด้วย
การประมูลคลื่น 4G ทั้ง 1800 MHz และ 900 MHz กลุ่มสื่อสารแบกต้นทุนรวม 232,731 ล้านบาท กลุ่มสื่อสารในปี 2559 จึงอาจไม่ใช่เวลาที่กลุ่มสื่อสารจะกลับมาโดดเด่น
ด้วยต้นทุนที่กลุ่มสื่อสารต้องแบกรับถือว่าสูงมาก ประกอบกับใบสัมปทานมีระยะเวลา 15-18 ปี ทำให้คาดว่าต่อไปนี้ Growth Stock คงไม่มีกลุ่มสื่อสารอีกแล้ว จากเดิมหุ้นสื่อสารหลายตัวเคยได้ชื่อว่าเป็นหุ้นปันผลสูง เช่น บมจ.แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส (ADVANC) ถูกปรับลดคาดการณ์กำไรปี 2559 ลงเพื่อสะท้อนผลขาดทุนในธุรกิจโทรศัพท์เครื่องที่เพิ่มเป็น 5,500 ล้านบาท ขณะที่ บมจ.โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น (DTAC) ต้องแบกรับต้นทุนเพื่อแลกมาซึ่งโครงข่ายมือถือ และเร่งประมูลคลื่นสัญญาณ มิเช่นนั้นอาจส่งผลให้ธุรกิจที่ดำเนินงานมีความเสี่ยง ส่วน บมจ.ทรู คอร์ปอเรชั่น (TRUE) เหมือนเพิ่งผ่านพ้นปัญหาหนี้ และขาดทุนสะสมมาได้ไม่นาน แต่การครอบครองใบสัมปทานคลื่นความถี่ถึง 2 ใบ และบวกกับค่าใช้จ่ายในการลงทุน อาจทำให้บริษัทต้องกลับไปอยู่ในสถานะเดิมอีกครั้ง…นั่นคือความเชื่อโดยรวมที่นักวิเคราะห์ และนักลงทุนมองหุ้นโอเปอเรเตอร์ทั้ง 3 บริษัท
มีความเห็นที่น่าสนใจประการหนึ่ง คือ นับจากนี้ การแข่งขันของกลุ่มหุ้นโอเปอเรเตอร์จะไม่ได้มาจากการให้บริการด้านเสียง และอินเทอร์เน็ตเหมือนที่ผ่านมาแล้ว แต่จะเพิ่มดีกรีแข่งขันด้านคอนเทนต์มากขึ้น ทำให้ผู้ประกอบการที่ลงทุนในด้านนี้อยู่ก่อนแล้วมีความได้เปรียบ นั่นรวมถึง บมจ.จัสมิน อินเตอร์เนชั่นแนล (JAS) โอเปอเรเตอร์น้องใหม่ เนื่องจากบริษัทในเครือก็มีการลงทุนในสื่อ และมีเดียในมือ
นักวิเคราะห์เชื่อว่า กลุ่มสื่อสารต่อจากนี้การแข่งขันจะรุนแรงขึ้น เพราะโครงสร้างอุตสาหกรรมจะเปลี่ยนไป นักลงทุนต้องติดตามว่า ผู้ประกอบการที่ประมูลได้คลื่นไปจะสามารถสร้างรายได้เข้ามาชดเชยต้นทุนที่จ่ายไปหรือไม่ และยังต้องใช้เวลาการลงทุนโครงข่ายอย่างน้อย 1 ปี ขณะที่ใบอนุญาตมีอายุ 15 ปี ในแต่ละปีผู้ประกอบการจะสร้างรายได้ได้มากแค่ไหน รวมทั้งยังต้องมีการแข่งขันด้านราคาในการดึงลูกค้า ทำให้โอกาสรับรู้รายได้เพิ่มเกิดขึ้นได้น้อย
เจาะรายตัวหุ้นสื่อสาร
ADVANC : ค่าใช้จ่าย-ต้นทุนยังรอเพิ่มอีก
ด้วยการเป็นเจ้าตลาด หรือผู้ครองส่วนแบ่งทางการตลาดมากที่สุด การลงทุนคลื่น และลงทุนโครงการข่ายครั้งนี้หลายฝ่ายยังเชื่อว่า ADVANC จะสามารถรับมือต่อเรื่องดังกล่าวได้ จากการมีผู้ใช้งานในระบบกว่า 38 ล้านเลขหมาย ทำให้มีรายได้กว่า 100,000 ล้านบาทต่อปี และกำไรสุทธิกว่า 40,000 ล้านบาทต่อปี มีสินทรัพย์กว่า 130,000 ล้านบาท มีสัดส่วนภาระหนี้ต่อทุน 1.3 เท่า และกระแสเงินสดต่อปีประมาณ 50,000 ล้านบาท ที่ผ่านมา ด้วยคลื่นที่มีอยู่อย่างจำกัดในมือจึงถูกคู่แข่งขันพยายามแย่งลูกค้า แต่บริษัทยังสามารถรักษาสัดส่วนการถือครองไว้ได้ในระดับที่มั่นคง
ดังนั้น ไม่น่าแปลกใจเมื่อมีการเปิดประมูลคลื่น ADVANC จึงทุ่มสุดตัวเพื่อให้ได้คลื่น 1800 MHz มา และยังแสดงความต้องการมีเพิ่มอีก 1 คลื่นโครงการ แม้ล่าสุดพลาดเป้าหมาย แต่บริษัทยังยืนยันให้ความสนใจ ซึ่งจากนี้เชื่อกันว่า ADVANC จะวางแผนรุกตลาดอย่างหนักเพื่อเอาคืนลูกค้าที่เสียไปให้แก่คู่แข่งขัน และแย่งฐานจากคู่แข่งขันให้มาเป็นของตน
ADVANC รายงานว่า มีแผนใช้เงิน 7.5 หมื่นล้านบาท ที่ไม่ต้องจ่ายค่าใบอนุญาต 900 MHz ไปใน 3 ส่วน คือ 1) ขยายโครงข่าย 3G/4G 2) ลงทุนในบรอดแบนด์ และ 3) อุดหนุนธุรกิจเครื่องโทรศัพท์ให้ลูกค้า 2G ขยับขึ้นเป็น 3G โดยมีต้นทุนค่าเครื่อง 690 บาท/เครื่อง และยังมีลูกค้าใช้ 2G อยู่ 12 ล้านรายในระบบ 900 MHz ซึ่งบริษัทต้องรับค่าใช้จ่ายส่วนนี้ราว 7 พันล้านบาท ทำให้ถูกปรับลดคาดการณ์กำไรปี 2559 ลงเพื่อสะท้อนผลขาดทุนในธุรกิจโทรศัพท์เครื่องที่เพิ่มเป็น 5,500 ล้านบาท
จากการเจรจากับ บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) ในการเช่าคลื่นความถี่ (Capacity) และโครงข่าย (2.1 GHz spectrum (15 MHz)+disputed 13k towers) ซึ่งในตอนแรก ADVANC จะเป็นเพียงแค่ผู้เช่า แต่สุดท้ายกลายเป็นการร่วมทุน (Joint venture) ทำให้บริษัทมีต้นทุนค่าเช่าโครงข่ายเพิ่มขึ้นเป็น 3,000 ล้านบาท สิ่งเหล่านี้กดดันให้เกิดผลขาดทุน และนำไปสู่กำไรที่ลดลง
DTAC : เสี่ยงต่อการถูกแย่ง+ต้นทุนรอเพิ่ม
สำหรับ DTAC ตั้งแต่ปี 2557 บริษัททุ่มงบการตลาดสู้ ADVANC อย่างดุเดือด ทำให้ได้รับผลกระทบจากการแข่งขันจนกำไรสุทธิลดกว่า 3,000 ล้านบาท อีกทั้งในเกมธุรกิจรอบล่าสุด DTAC วางเกมผิดพลาดไปในช่วงต้น ทำให้มีผู้ใช้งานย้ายไปยังข่ายของคู่แข่งอย่าง TRUE ประกอบกับการที่ไม่สามารถประมูลคลื่นความถี่ได้เลย ปัจจัยเหล่านี้ถือเป็นจุดเปลี่ยนที่ทำให้ DTAC เสียเปรียบ
DTAC ยังมีแผนใช้เงินลงทุน 20,000 ล้านบาท เพื่อขยายโครงข่าย 3G/4G ในปีนี้ และตั้งเป้าหมายที่จะครอบคลุม 3G ให้ได้ 95% ภายในกลางปี จากคลื่นความถี่ที่มี 50 MHz ในมือมี 20 MHz และในย่าน 1800 และ 2100 MHz ที่ใช้สำหรับ 4G โดยบริษัทมีแผนจะประมูลใบอนุญาต 2100 MHz เพื่อใช้กับ 4G หลังจากใบอนุญาต 1800 MHz หมดอายุในปี 2561 ขณะที่การเจรจาร่วมทุนกับ CAT ยังไม่ได้ข้อสรุป
ไม่เพียงเท่านี้ DTAC ยังต้องเตรียมพร้อมด้านการเงินเพื่อประมูลใบอนุญาตรอบหน้า เพราะ DTAC มีความเชื่อว่า ในการประมูลใบอนุญาตรอบหน้าบนย่าน 1800 MHz ในอีก 3-4 ปีข้างหน้าจะได้อย่างน้อย 1 ใบอนุญาต และ DTAC ต้องการชนะประมูลให้ได้ 30 MHz แบนด์วิธ เพื่อให้มีคลื่นความถี่ในการบริการที่ 45 MHz (รวม 15 MHz ภายใต้ย่าน 2100 MHz) เพื่อให้มีบริการที่ดี และแข่งขันได้ในอุตสาหกรรม และแม้ว่า DTAC จะยังไม่มีผลกระทบในด้านการเงิน เพราะไม่มีค่าตัดจำหน่ายใบอนุญาต 4G ที่เพิ่งจบการประมูลไป แต่ความมั่นคงของการทำธุรกิจในระยะยาวจะด้อยกว่า ADVANC และ TRUE เมื่อพิจารณาจากคลื่นความถี่ และอายุของใบอนุญาตที่ถือครองในมือปัจจุบัน
TRUE : ต้นทุนพากลับไปสู่จุดเดิม
หลังจากการเข้ามาของ China Mobile ถือได้ว่าเป็นจุดเปลี่ยนของบริษัท ทำให้ฐานะทางการเงินที่เคยสั่นคลอนนั้นกลับมาแข็งแกร่งได้อีกครั้ง จากเดิมหนี้สินกว่า 100,000 ล้านบาท ลดลงเหลือ 60,000 ล้านบาท ส่วนทุนที่เพิ่มขึ้นกว่า 60,000 ล้านบาท ทำให้หนี้สินต่อหุ้นจากเดิมที่ 14 เท่า เหลือเพียง 0.8 เท่า อย่างไรก็ดี ช่วง 1 ปีที่ผ่านมา TRUE ยังไม่สามารถทำลายการป้องกันของ ADVANC ลงได้ แม้ TRUE จะมีอาวุธหนักอย่าง 4G LTE ก็ตาม
เมื่อพิจารณาการได้คลื่น 1800 MHz ของ TRUE ด้วยราคาประมูลสูงถึงเกือบ 40,000 ล้านบาท น่าจะส่งผลต่อผลการดำเนินงานอย่างมาก ปัจจุบันความสามารถในการทำกำไรของ TRUE ถือว่าต่ำสุดในกลุ่มเฉลี่ยประมาณปีละ 2,000 ล้านบาทเท่านั้น การที่ต้องแบกต้นทุนสูงถึงเกือบ 4 หมื่นล้านบาท คิดค่าตัดจำหน่าย 2,200 ล้านบาทต่อปี มีโอกาสที่ TRUE จะเผชิญผลการดำเนินงานที่ขาดทุนในช่วงต่อจากนี้ นอกจากนี้ Cash Flow ของ TRUE เองก็เป็นปัญหาสำคัญ แต่อาจจะไม่จำเป็นต้องเพิ่มทุน เพราะ TRUE มี DIF ซึ่งเป็นกองทุนที่ TRUE สามารถระดมเงินทุนจากการขายสินทรัพย์เข้ากองทุนได้ รวมถึงยังสามารถใช้เงินกู้เพิ่มได้อีก แต่ TRUE ยังคงมีภาระหนี้อยู่ประมาณ 6.2 หมื่นล้านบาท และมีส่วนของผู้ถือหุ้นอยู่ที่ 7.5 หมื่นล้านบาท คิดเป็น D/E ที่ 0.8 เท่า ถ้าคิดระดับ D/E ที่ 1.5 เท่า TRUE ยังสามารถกู้เพิ่มได้อีก 5 หมื่นล้านบาท แต่ถ้ากู้เพิ่มก็อาจจะยิ่งทำให้ผลประกอบการทรุดลงไปอีกเหมือนก่อนที่จะเพิ่มทุนที่ภาระหนี้สูงเกินไป
โดยรวม TRUE ยังมีความเสี่ยงในการเพิ่มจำนวนผู้ใช้งาน ซึ่งการลงทุนในครั้งนี้ถือว่าค่อนข้างสูงมาก ซึ่งถ้าภายใน 3-5 ปี TRUE ยังไม่สามารถขยายผู้ใช้งาน และเพิ่ม ARPU ได้จะสร้างความเสี่ยงใหญ่ให้แก่บริษัท รวมถึงภาระหนี้ที่จะสูงขึ้นด้วย เพราะเป้าหมายที่ TRUE จะต้องทำให้ได้คือ การเพิ่มจำนวนเลขหมายเป็น 24 ล้านเลขหมาย จากปัจจุบันที่ 18 ล้านเลขหมาย และต้องเพิ่ม APRU อีกประมาณ 20 บาท จากปัจจุบันที่ 185 บาท แต่เมื่อดูถึง Downside ที่จะเกิดขึ้นกับราคาหุ้นนั้นในกรณีเลวร้ายสุดที่บริษัทไม่สามารถเพิ่มทั้งผู้ใช้งาน และ ARPU ได้เลยจะทำให้มูลค่าหุ้นลดลงไป 5.57 บาท จึงยังมีความไม่แน่นอนค่อนข้างมาก
JAS : ไม่ชัดทั้งพาร์ตเนอร์ และโอกาส
เป็นการกระโดดเข้าสู่ธุรกิจใหม่ และเป็นธุรกิจที่มีการแข่งขันสูงมาก เมื่อพิจารณากำลังคน กำลังเงินของ JAS แทบจะเรียกได้ว่าน้อยที่สุด แต่ยังคงเก็บเงียบกับ Partner ที่คุยกันไว้ โดยเหตุผลเดียวที่ JAS อยากเข้ามาใน Mobile ด้วยพฤติกรรมของคน และ Technology ที่เปลี่ยนไป และมูลค่าของตลาด Mobile DATA ที่ยังเติบโตอย่างมหาศาล ตัวเลขของคนที่ใช้ Internet จากมือถือมากว่า 80% ในขณะที่จำนวนคนที่ใช้งาน Internet ผ่าน PC อยู่ 50% จึงไม่น่าแปลกใจที่ JAS ต้องทุ่มสุดตัวเพื่อที่จะเข้ามาแย่งส่วนแบ่งอันมหาศาล เพียงส่วนแบ่งอันน้อยนิดก็จะเพียงพอที่จะทำให้บริษัทเติมโตได้ 2-3 เท่าตัว
หลังจากการประมูล 900 MHz ที่ JAS ได้ไปที่ราคา 75,654 ล้านบาท ทุกคนต่างสงสัยว่า JAS มีศักยภาพที่จะทำธุรกิจ Mobile หรือไม่ การอุบรายชื่อพันธมิตรอาจเป็นเพราะยังไม่บรรลุข้อตกลง โดยเฉพาะประเด็นโครงสร้างของกลุ่มบริษัท การเข้ามาของพันธมิตรจะเป็นการเข้ามาร่วมทุนในบริษัทลูก คือ JAS Mobile ซึ่งอาจจะเข้ามาถือหุ้นประมาณ 49% และ JAS ถือ 51% เพื่อไม่ให้ส่งผลต่อผู้ถือหุ้น JAS
สิ่งที่น่าสนใจ คือ ถ้าในระยะเวลา 3 ปีนี้ JAS ยังไม่สามารถหาลูกค้าได้ตามเป้าหมายที่ตั้งไว้ คือ 5 ล้านเลขหมาย เชื่อว่า JAS มีสิทธิที่จะขายบริษัทลูกทิ้งไปได้ แต่ถ้าภายใน 3 ปีนี้ JAS สามารถสร้างฐานลูกค้าได้เกินกว่า 5 ล้านเลขหมาย ก็หมายความว่า JAS เลือกที่จะใช้สิทธิในการทำธุรกิจต่อ เป็นผลให้ราคาหุ้น JAS ณ ปัจจุบันถือว่าคงที่สำหรับอนาคตแล้ว
ข้อมูลแหล่งข่าว
ผู้จัดการรายวัน 360 องศา ฉบับวันที่ 4 มกราคม พ.ศ. 2559 (หน้า 1, 5)
ภาพประกอบบางส่วนจาก เวปไซต์ ASTV ผู้จัดการ
หุ้นมือถือยังมีความเสี่ยง โอกาสเติบโตในปี 59...“น้อย”
หุ้นมือถือยังมีความเสี่ยง โอกาสเติบโตในปี 59...“น้อย”
ผู้จัดการรายวัน 360 องศา ฉบับวันที่ 4 มกราคม พ.ศ. 2559
เดิมทีหุ้นกลุ่มสื่อสารถือเป็น “หุ้นบูลชิป” ที่นักลงทุนไทยให้ความสำคัญอันดับต้นๆ หนี้ไม่พ้น 3 บริษัทหลักอย่าง บมจ.แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส (ADVANC) บมจ.โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น (DTAC) และ บมจ.ทรู คอร์ปอเรชั่น (TRUE) แต่ตลอดทั้งปี 2558 แทบไม่มีปัจจัยสนับสนุนให้หุ้นเหล่านี้ให้น่าสนใจ หรือช่วยผลักดันอัตราการเติบโตของธุรกิจ อีกทั้งยังมีปัจจัยลบมากมายเข้ามากดดันราคาหุ้นจนฉุดให้ดัชนีหลักทรัพย์รวมปรับตัวลดลงตามไปด้วย
การประมูลคลื่น 4G ทั้ง 1800 MHz และ 900 MHz กลุ่มสื่อสารแบกต้นทุนรวม 232,731 ล้านบาท กลุ่มสื่อสารในปี 2559 จึงอาจไม่ใช่เวลาที่กลุ่มสื่อสารจะกลับมาโดดเด่น
ด้วยต้นทุนที่กลุ่มสื่อสารต้องแบกรับถือว่าสูงมาก ประกอบกับใบสัมปทานมีระยะเวลา 15-18 ปี ทำให้คาดว่าต่อไปนี้ Growth Stock คงไม่มีกลุ่มสื่อสารอีกแล้ว จากเดิมหุ้นสื่อสารหลายตัวเคยได้ชื่อว่าเป็นหุ้นปันผลสูง เช่น บมจ.แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส (ADVANC) ถูกปรับลดคาดการณ์กำไรปี 2559 ลงเพื่อสะท้อนผลขาดทุนในธุรกิจโทรศัพท์เครื่องที่เพิ่มเป็น 5,500 ล้านบาท ขณะที่ บมจ.โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น (DTAC) ต้องแบกรับต้นทุนเพื่อแลกมาซึ่งโครงข่ายมือถือ และเร่งประมูลคลื่นสัญญาณ มิเช่นนั้นอาจส่งผลให้ธุรกิจที่ดำเนินงานมีความเสี่ยง ส่วน บมจ.ทรู คอร์ปอเรชั่น (TRUE) เหมือนเพิ่งผ่านพ้นปัญหาหนี้ และขาดทุนสะสมมาได้ไม่นาน แต่การครอบครองใบสัมปทานคลื่นความถี่ถึง 2 ใบ และบวกกับค่าใช้จ่ายในการลงทุน อาจทำให้บริษัทต้องกลับไปอยู่ในสถานะเดิมอีกครั้ง…นั่นคือความเชื่อโดยรวมที่นักวิเคราะห์ และนักลงทุนมองหุ้นโอเปอเรเตอร์ทั้ง 3 บริษัท
มีความเห็นที่น่าสนใจประการหนึ่ง คือ นับจากนี้ การแข่งขันของกลุ่มหุ้นโอเปอเรเตอร์จะไม่ได้มาจากการให้บริการด้านเสียง และอินเทอร์เน็ตเหมือนที่ผ่านมาแล้ว แต่จะเพิ่มดีกรีแข่งขันด้านคอนเทนต์มากขึ้น ทำให้ผู้ประกอบการที่ลงทุนในด้านนี้อยู่ก่อนแล้วมีความได้เปรียบ นั่นรวมถึง บมจ.จัสมิน อินเตอร์เนชั่นแนล (JAS) โอเปอเรเตอร์น้องใหม่ เนื่องจากบริษัทในเครือก็มีการลงทุนในสื่อ และมีเดียในมือ
นักวิเคราะห์เชื่อว่า กลุ่มสื่อสารต่อจากนี้การแข่งขันจะรุนแรงขึ้น เพราะโครงสร้างอุตสาหกรรมจะเปลี่ยนไป นักลงทุนต้องติดตามว่า ผู้ประกอบการที่ประมูลได้คลื่นไปจะสามารถสร้างรายได้เข้ามาชดเชยต้นทุนที่จ่ายไปหรือไม่ และยังต้องใช้เวลาการลงทุนโครงข่ายอย่างน้อย 1 ปี ขณะที่ใบอนุญาตมีอายุ 15 ปี ในแต่ละปีผู้ประกอบการจะสร้างรายได้ได้มากแค่ไหน รวมทั้งยังต้องมีการแข่งขันด้านราคาในการดึงลูกค้า ทำให้โอกาสรับรู้รายได้เพิ่มเกิดขึ้นได้น้อย
เจาะรายตัวหุ้นสื่อสาร
ADVANC : ค่าใช้จ่าย-ต้นทุนยังรอเพิ่มอีก
ด้วยการเป็นเจ้าตลาด หรือผู้ครองส่วนแบ่งทางการตลาดมากที่สุด การลงทุนคลื่น และลงทุนโครงการข่ายครั้งนี้หลายฝ่ายยังเชื่อว่า ADVANC จะสามารถรับมือต่อเรื่องดังกล่าวได้ จากการมีผู้ใช้งานในระบบกว่า 38 ล้านเลขหมาย ทำให้มีรายได้กว่า 100,000 ล้านบาทต่อปี และกำไรสุทธิกว่า 40,000 ล้านบาทต่อปี มีสินทรัพย์กว่า 130,000 ล้านบาท มีสัดส่วนภาระหนี้ต่อทุน 1.3 เท่า และกระแสเงินสดต่อปีประมาณ 50,000 ล้านบาท ที่ผ่านมา ด้วยคลื่นที่มีอยู่อย่างจำกัดในมือจึงถูกคู่แข่งขันพยายามแย่งลูกค้า แต่บริษัทยังสามารถรักษาสัดส่วนการถือครองไว้ได้ในระดับที่มั่นคง
ดังนั้น ไม่น่าแปลกใจเมื่อมีการเปิดประมูลคลื่น ADVANC จึงทุ่มสุดตัวเพื่อให้ได้คลื่น 1800 MHz มา และยังแสดงความต้องการมีเพิ่มอีก 1 คลื่นโครงการ แม้ล่าสุดพลาดเป้าหมาย แต่บริษัทยังยืนยันให้ความสนใจ ซึ่งจากนี้เชื่อกันว่า ADVANC จะวางแผนรุกตลาดอย่างหนักเพื่อเอาคืนลูกค้าที่เสียไปให้แก่คู่แข่งขัน และแย่งฐานจากคู่แข่งขันให้มาเป็นของตน
ADVANC รายงานว่า มีแผนใช้เงิน 7.5 หมื่นล้านบาท ที่ไม่ต้องจ่ายค่าใบอนุญาต 900 MHz ไปใน 3 ส่วน คือ 1) ขยายโครงข่าย 3G/4G 2) ลงทุนในบรอดแบนด์ และ 3) อุดหนุนธุรกิจเครื่องโทรศัพท์ให้ลูกค้า 2G ขยับขึ้นเป็น 3G โดยมีต้นทุนค่าเครื่อง 690 บาท/เครื่อง และยังมีลูกค้าใช้ 2G อยู่ 12 ล้านรายในระบบ 900 MHz ซึ่งบริษัทต้องรับค่าใช้จ่ายส่วนนี้ราว 7 พันล้านบาท ทำให้ถูกปรับลดคาดการณ์กำไรปี 2559 ลงเพื่อสะท้อนผลขาดทุนในธุรกิจโทรศัพท์เครื่องที่เพิ่มเป็น 5,500 ล้านบาท
จากการเจรจากับ บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) ในการเช่าคลื่นความถี่ (Capacity) และโครงข่าย (2.1 GHz spectrum (15 MHz)+disputed 13k towers) ซึ่งในตอนแรก ADVANC จะเป็นเพียงแค่ผู้เช่า แต่สุดท้ายกลายเป็นการร่วมทุน (Joint venture) ทำให้บริษัทมีต้นทุนค่าเช่าโครงข่ายเพิ่มขึ้นเป็น 3,000 ล้านบาท สิ่งเหล่านี้กดดันให้เกิดผลขาดทุน และนำไปสู่กำไรที่ลดลง
DTAC : เสี่ยงต่อการถูกแย่ง+ต้นทุนรอเพิ่ม
สำหรับ DTAC ตั้งแต่ปี 2557 บริษัททุ่มงบการตลาดสู้ ADVANC อย่างดุเดือด ทำให้ได้รับผลกระทบจากการแข่งขันจนกำไรสุทธิลดกว่า 3,000 ล้านบาท อีกทั้งในเกมธุรกิจรอบล่าสุด DTAC วางเกมผิดพลาดไปในช่วงต้น ทำให้มีผู้ใช้งานย้ายไปยังข่ายของคู่แข่งอย่าง TRUE ประกอบกับการที่ไม่สามารถประมูลคลื่นความถี่ได้เลย ปัจจัยเหล่านี้ถือเป็นจุดเปลี่ยนที่ทำให้ DTAC เสียเปรียบ
DTAC ยังมีแผนใช้เงินลงทุน 20,000 ล้านบาท เพื่อขยายโครงข่าย 3G/4G ในปีนี้ และตั้งเป้าหมายที่จะครอบคลุม 3G ให้ได้ 95% ภายในกลางปี จากคลื่นความถี่ที่มี 50 MHz ในมือมี 20 MHz และในย่าน 1800 และ 2100 MHz ที่ใช้สำหรับ 4G โดยบริษัทมีแผนจะประมูลใบอนุญาต 2100 MHz เพื่อใช้กับ 4G หลังจากใบอนุญาต 1800 MHz หมดอายุในปี 2561 ขณะที่การเจรจาร่วมทุนกับ CAT ยังไม่ได้ข้อสรุป
ไม่เพียงเท่านี้ DTAC ยังต้องเตรียมพร้อมด้านการเงินเพื่อประมูลใบอนุญาตรอบหน้า เพราะ DTAC มีความเชื่อว่า ในการประมูลใบอนุญาตรอบหน้าบนย่าน 1800 MHz ในอีก 3-4 ปีข้างหน้าจะได้อย่างน้อย 1 ใบอนุญาต และ DTAC ต้องการชนะประมูลให้ได้ 30 MHz แบนด์วิธ เพื่อให้มีคลื่นความถี่ในการบริการที่ 45 MHz (รวม 15 MHz ภายใต้ย่าน 2100 MHz) เพื่อให้มีบริการที่ดี และแข่งขันได้ในอุตสาหกรรม และแม้ว่า DTAC จะยังไม่มีผลกระทบในด้านการเงิน เพราะไม่มีค่าตัดจำหน่ายใบอนุญาต 4G ที่เพิ่งจบการประมูลไป แต่ความมั่นคงของการทำธุรกิจในระยะยาวจะด้อยกว่า ADVANC และ TRUE เมื่อพิจารณาจากคลื่นความถี่ และอายุของใบอนุญาตที่ถือครองในมือปัจจุบัน
TRUE : ต้นทุนพากลับไปสู่จุดเดิม
หลังจากการเข้ามาของ China Mobile ถือได้ว่าเป็นจุดเปลี่ยนของบริษัท ทำให้ฐานะทางการเงินที่เคยสั่นคลอนนั้นกลับมาแข็งแกร่งได้อีกครั้ง จากเดิมหนี้สินกว่า 100,000 ล้านบาท ลดลงเหลือ 60,000 ล้านบาท ส่วนทุนที่เพิ่มขึ้นกว่า 60,000 ล้านบาท ทำให้หนี้สินต่อหุ้นจากเดิมที่ 14 เท่า เหลือเพียง 0.8 เท่า อย่างไรก็ดี ช่วง 1 ปีที่ผ่านมา TRUE ยังไม่สามารถทำลายการป้องกันของ ADVANC ลงได้ แม้ TRUE จะมีอาวุธหนักอย่าง 4G LTE ก็ตาม
เมื่อพิจารณาการได้คลื่น 1800 MHz ของ TRUE ด้วยราคาประมูลสูงถึงเกือบ 40,000 ล้านบาท น่าจะส่งผลต่อผลการดำเนินงานอย่างมาก ปัจจุบันความสามารถในการทำกำไรของ TRUE ถือว่าต่ำสุดในกลุ่มเฉลี่ยประมาณปีละ 2,000 ล้านบาทเท่านั้น การที่ต้องแบกต้นทุนสูงถึงเกือบ 4 หมื่นล้านบาท คิดค่าตัดจำหน่าย 2,200 ล้านบาทต่อปี มีโอกาสที่ TRUE จะเผชิญผลการดำเนินงานที่ขาดทุนในช่วงต่อจากนี้ นอกจากนี้ Cash Flow ของ TRUE เองก็เป็นปัญหาสำคัญ แต่อาจจะไม่จำเป็นต้องเพิ่มทุน เพราะ TRUE มี DIF ซึ่งเป็นกองทุนที่ TRUE สามารถระดมเงินทุนจากการขายสินทรัพย์เข้ากองทุนได้ รวมถึงยังสามารถใช้เงินกู้เพิ่มได้อีก แต่ TRUE ยังคงมีภาระหนี้อยู่ประมาณ 6.2 หมื่นล้านบาท และมีส่วนของผู้ถือหุ้นอยู่ที่ 7.5 หมื่นล้านบาท คิดเป็น D/E ที่ 0.8 เท่า ถ้าคิดระดับ D/E ที่ 1.5 เท่า TRUE ยังสามารถกู้เพิ่มได้อีก 5 หมื่นล้านบาท แต่ถ้ากู้เพิ่มก็อาจจะยิ่งทำให้ผลประกอบการทรุดลงไปอีกเหมือนก่อนที่จะเพิ่มทุนที่ภาระหนี้สูงเกินไป
โดยรวม TRUE ยังมีความเสี่ยงในการเพิ่มจำนวนผู้ใช้งาน ซึ่งการลงทุนในครั้งนี้ถือว่าค่อนข้างสูงมาก ซึ่งถ้าภายใน 3-5 ปี TRUE ยังไม่สามารถขยายผู้ใช้งาน และเพิ่ม ARPU ได้จะสร้างความเสี่ยงใหญ่ให้แก่บริษัท รวมถึงภาระหนี้ที่จะสูงขึ้นด้วย เพราะเป้าหมายที่ TRUE จะต้องทำให้ได้คือ การเพิ่มจำนวนเลขหมายเป็น 24 ล้านเลขหมาย จากปัจจุบันที่ 18 ล้านเลขหมาย และต้องเพิ่ม APRU อีกประมาณ 20 บาท จากปัจจุบันที่ 185 บาท แต่เมื่อดูถึง Downside ที่จะเกิดขึ้นกับราคาหุ้นนั้นในกรณีเลวร้ายสุดที่บริษัทไม่สามารถเพิ่มทั้งผู้ใช้งาน และ ARPU ได้เลยจะทำให้มูลค่าหุ้นลดลงไป 5.57 บาท จึงยังมีความไม่แน่นอนค่อนข้างมาก
JAS : ไม่ชัดทั้งพาร์ตเนอร์ และโอกาส
เป็นการกระโดดเข้าสู่ธุรกิจใหม่ และเป็นธุรกิจที่มีการแข่งขันสูงมาก เมื่อพิจารณากำลังคน กำลังเงินของ JAS แทบจะเรียกได้ว่าน้อยที่สุด แต่ยังคงเก็บเงียบกับ Partner ที่คุยกันไว้ โดยเหตุผลเดียวที่ JAS อยากเข้ามาใน Mobile ด้วยพฤติกรรมของคน และ Technology ที่เปลี่ยนไป และมูลค่าของตลาด Mobile DATA ที่ยังเติบโตอย่างมหาศาล ตัวเลขของคนที่ใช้ Internet จากมือถือมากว่า 80% ในขณะที่จำนวนคนที่ใช้งาน Internet ผ่าน PC อยู่ 50% จึงไม่น่าแปลกใจที่ JAS ต้องทุ่มสุดตัวเพื่อที่จะเข้ามาแย่งส่วนแบ่งอันมหาศาล เพียงส่วนแบ่งอันน้อยนิดก็จะเพียงพอที่จะทำให้บริษัทเติมโตได้ 2-3 เท่าตัว
หลังจากการประมูล 900 MHz ที่ JAS ได้ไปที่ราคา 75,654 ล้านบาท ทุกคนต่างสงสัยว่า JAS มีศักยภาพที่จะทำธุรกิจ Mobile หรือไม่ การอุบรายชื่อพันธมิตรอาจเป็นเพราะยังไม่บรรลุข้อตกลง โดยเฉพาะประเด็นโครงสร้างของกลุ่มบริษัท การเข้ามาของพันธมิตรจะเป็นการเข้ามาร่วมทุนในบริษัทลูก คือ JAS Mobile ซึ่งอาจจะเข้ามาถือหุ้นประมาณ 49% และ JAS ถือ 51% เพื่อไม่ให้ส่งผลต่อผู้ถือหุ้น JAS
สิ่งที่น่าสนใจ คือ ถ้าในระยะเวลา 3 ปีนี้ JAS ยังไม่สามารถหาลูกค้าได้ตามเป้าหมายที่ตั้งไว้ คือ 5 ล้านเลขหมาย เชื่อว่า JAS มีสิทธิที่จะขายบริษัทลูกทิ้งไปได้ แต่ถ้าภายใน 3 ปีนี้ JAS สามารถสร้างฐานลูกค้าได้เกินกว่า 5 ล้านเลขหมาย ก็หมายความว่า JAS เลือกที่จะใช้สิทธิในการทำธุรกิจต่อ เป็นผลให้ราคาหุ้น JAS ณ ปัจจุบันถือว่าคงที่สำหรับอนาคตแล้ว
ข้อมูลแหล่งข่าว
ผู้จัดการรายวัน 360 องศา ฉบับวันที่ 4 มกราคม พ.ศ. 2559 (หน้า 1, 5)
ภาพประกอบบางส่วนจาก เวปไซต์ ASTV ผู้จัดการ