ข่าวด่วน
หุ้นฮ็อต!!: `กลุ่มสื่อสาร`กลับตาลปัตร..เมื่อประมูล 4G กลายเป็นฝันร้าย!!
สำนักข่าวอีไฟแนนซ์ไทย- -12 พ.ย. 58 15:01 น.
"กลุ่มสื่อสาร"กุมขมับ ประมูล 4G คลื่น 1,800 MHz หินกว่าที่คิด ราคาใบอนุญาตพุ่งไม่ต่ำกว่าใบละ 3.7 หมื่นล้านบาท สถานการณ์กลับตาลปัตร จากปัจจัยบวกกลายเป็นปัจจัยลบฉุดราคาหุ้นในกระดาน นักลงทุนหวั่นต้นทุนบานปลาย กดดันกำไรในอนาคต แต่กูรูคาด ADVANC ยังได้เปรียบสุด เหตุมีฐานธุรกิจใหญ่ รองรับผลกระทบได้ ส่วนค่ายอื่นหากชนะประมูลอาจกลายเป็นภาระงบการเงินในระยะสั้น การประมูลคลื่น 4G บนย่านความถี่ 1,800 MHz ดุเดือดและใช้เวลายาวนานที่สุดในโลก ผู้เข้าร่วมประมูล 3 เจ้าเดิมอย่าง ADVANC DTAC TRUE และหนึ่งผู้เล่นหน้าใหม่อย่าง JAS แข่งกันเคาะราคา จนพุ่งสูงกว่าราคาเริ่มต้นประมูลแล้วกว่า 130% กดดันราคาหุ้นสื่อสารร่วงแรงยกแผง 4-7% พร้อมกับมูลค่าการซื้อขายหนาแน่น ติดอันดับ 1 ใน 5 หุ้นที่มีมูลค่าการซื้อขายสูงสุดบนกระดานหุ้นไทย การประมูล 4G บนย่านความถี่ 1800 MHz มีทั้งสิ้นจำนวน 2 ใบอนุญาต เริ่มต้นประมูลในวันที่ 11 พ.ย. 2558 เวลา 10.00 น. จนขณะนี้ ผ่านไปกว่า 25 ชั่วโมง ยังไม่ได้ผู้ชนะการประมูล แต่มี 1 รายที่ถอนตัวจากการประมูลแล้ว ขณะที่บอร์ดคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคม (กทค.)อนุมัติให้พักประมูล 3 ชม. ตั้งแต่ 11.00 - 14.00 น. ก่อนจะกลับมาประมูลกันอีกครั้งในเวลา 14.30 น.(12 พ.ย.)ซึ่งยังไม่มีบทสรุปว่าจะจบตรงไหน "ขณะนี้มีผู้ร่วมประมูล 1 รายได้ถอนตัวจากการประมูลแล้ว แต่ยังไม่สามารถเปิดเผยได้ว่าเป็นผู้ประกอบการรายใด และผู้ประกอบการรายดังกล่าวจะต้องอยู่ในห้องประมูลจนกว่าการประมูล 4G จะเสร็จสิ้น" นายฐากร ตัณฑสิทธิ์ เลขาธิการคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.)กล่าว ทั้งนี้ บรรดานักวิเคราะห์คาดว่า DTAC น่าจะเป็นเจ้าแรกที่ถอนตัวจากการประมูลดังกล่าว เพราะจะได้รับผลกระทบน้อยที่สุด เนื่องจากยังมีศักยภาพในการใช้คลื่นที่ได้รับสัมปทานจาก CAT ในการทำ 4G ที่มี Bandwidth สูงถึง 25 MHz (+20.4 MHz idle) ล่าสุดการประมูลผ่านไป 76 รอบ ราคาประมูลพุ่งขึ้นไปสูงถึงใบละประมาณ 3.7 หมื่นล้านบาท รวม 2 ใบสูงกว่า 7.48 หมื่นล้านบาท มากกว่าที่นักวิเคราะห์ประเมินว่าไม่ควรเกินใบละ 2 หมื่นล้านบาท เพราะจะส่งผลกระทบต่อต้นทุนของผู้ประกอบการได้ สำหรับ ADVANC มีความจำเป็นอย่างมากที่จะต้องชนะการประมูลอย่างน้อย 1 ใบอนุญาต เพราะไม่มีคลื่น 1800 MHz ในมือ หาก ADVANC ชนะการประมูลจะได้รับประโยชน์สุงสุด เพราะสามารถปิดจุดอ่อนการเป็นผู้ประกอบการรายเดียวที่ยังไม่มี 4G แม้ว่าภาระการลงทุนจะเพิ่มขึ้น เพราะยังมีคลื่น 900 MHz ที่ต้องการอีก 1 ใบ แต่จะสามารถชดเชยด้วยสัมปทาน 2G ที่หมดอายุไปแล้ว ซึ่งจะตัดต้นทุนไตรมาสละ 3,000 ล้านบาท ตั้งแต่ Q4/58 เป็นต้นไป DTAC มีความจำเป็นอย่างมากเช่นกัน ที่จะต้องชนะการประมูลคลื่น 1800 MHz แม้จะมีคลื่น 1800 MHz อยู่แล้ว แต่ต้นทุนส่วนแบ่งสัมปทานสูง ขณะที่อายุการให้บริการสั้นส่งผลให้ต้องรับรู้รายจ่ายในแต่ละปีสูง รวมไปถึงการลงทุนบนสัมปทาน เมื่อสิ้นสุดแล้วต้องโอนคืนให้รัฐ ซึ่งสัมปทานของ DTAC จะหมดในปี 2561 หรืออีก 3 ปีข้างหน้า ดังนั้น หากDTAC ไม่ชนะประมูลครั้งนี้ จะเป็นภาระอย่างมากในการลงทุนบนระบบสัมปทาน และจะกระทบกับผลการดำเนินงานของบริษัท TRUE เป็นผู้นำการให้บริการ 4G อยู่แล้ว การได้คลื่นเพิ่ม จะสามารถรักษาตำแหน่งไว้ได้ แต่จะทำให้มีภาระต้นทุนเพิ่มขึ้น และไม่มีตัวช่วยเหมือน ADVANC เพราะได้ประโยชน์จากการตัดต้นทุนสัมปทานที่หมดอายุไปหมดแล้วตั้งแต่ปีก่อน ทำให้สถานภาพในช่วง 2-3 ปีข้างหน้าไม่ได้เปลี่ยนแปลง JAS หากได้ใบอนุญาตที่ราคาสูง จะเป็นภาระมากกว่าได้ประโยชน์ เนื่องจากต้องลงทุนใหม่ทั้งหมด และเป็นเรื่องยากที่จะสร้างฐานลูกค้าใหม่ให้ได้ตามเป้าที่ประกาศไว้ 1ล้านรายในปีแรก ในระยะสั้น ด้วยราคาประมูลที่พุ่งไปกว่า 130% ของราคาเริ่มต้นประมูล ไม่ถือเป็นผลดีต่อหุ้นในกลุ่มสื่อสาร โดย TRUE อาจได้รับผลกระทบหนักที่สุด แต่อย่างไรก็ตามหากราคาหุ้นกลุ่มสื่อสารปรับตัวลงมามาก ADVANC จะยังเป็นผู้เล่นที่เสียประโยชน์น้อยที่สุด เนื่องจากมีศักยภาพในการแบกรับต้นทุนสูงที่สุดในกลุ่ม บทวิเคราะห์ บล.ธนชาต ระบุว่า ราคาประมูลคลื่น 1800MHz ทุก ๆ 5 พันล้านบาทที่สูงกว่าคาดการณ์ที่ 2 หมื่นล้านบาท จะกระทบเป้าหมายราคาพื้นฐานหุ้นในกลุ่มสื่อสาร ADVANC 0.6% หรือ 1.7 บาท/หุ้น DTAC 3.0% หรือ 2.1 บาท/หุ้น และ TRUE 2.3% หรือ 0.20 บาท/หุ้น บรรดานักวิเคราะห์ฟันธงว่า ADVANC จะได้ 1 ใบอนุญาต และเป็นผู้ประกอบการที่มีฐานธุรกิจใหญ่เพียงพอรองรับต้นทุนใบอนุญาตที่สูงกว่าปกติได้ จึงแนะนำซื้อ ให้ราคาเป้าหมายระหว่าง 269-285 บาท ขณะที่อีก 1 ใบอนุญาต นักวิเคราะห์เสียงแตก บล.เอเชียพลัสให้น้ำหนัก DTAC ชนะประมูล แต่ บล.ทรีนิตี้ มอง TRUE ชนะ ขณะที่ JAS ไม่ได้รับการคาดหมายว่าจะชนะประมูลในครั้งนี้ อย่างไรก็ตามโบรกเกอร์ยังไม่แนะนำให้เข้าลงทุนในหุ้นทั้ง 3 ตัว เนื่องจากราคาใบอนุญาตที่สูงเกินไปอาจส่งผลกระทบต่อการดำเนินงานมากกว่าปกติ เดิมทีการเปิดประมูล 4G ถูกมองว่าเป็นประเด็นสำคัญที่จะช่วยผลักดันราคาหุ้นสื่อสารให้ปรับตัวเพิ่มขึ้นอย่างโดดเด่น แต่สถานการณ์กลับตาลปัตร เพราะไม่มีใครคาดว่าราคาใบอนุญาตจะแพงมากขนาดนี้ ดังนั้นนักลงทุนต้องพิจารณาอย่างรอบคอบ และชั่งน้ำหนักว่าการประมูลในครั้งนี้ส่งผลดีหรือผลเสียต่อผู้ประกอบการแต่ละรายอย่างไร ก่อนหาจังหวะเข้าเก็บหุ้นที่เป็นผู้ชนะในสนาม 4G อย่างแท้จริง
รายงาน โดย วรายุทธ ตุ้ยดา
เรียบเรียง โดย อนุรักษ์ ลีประเสริฐสุนทร อีเมล์. anurak@efinancethai.com
กลุ่มสื่อสาร กลับตาลปัตร..เมื่อประมูล 4G กลายเป็นฝันร้าย!!
หุ้นฮ็อต!!: `กลุ่มสื่อสาร`กลับตาลปัตร..เมื่อประมูล 4G กลายเป็นฝันร้าย!!
สำนักข่าวอีไฟแนนซ์ไทย- -12 พ.ย. 58 15:01 น.
"กลุ่มสื่อสาร"กุมขมับ ประมูล 4G คลื่น 1,800 MHz หินกว่าที่คิด ราคาใบอนุญาตพุ่งไม่ต่ำกว่าใบละ 3.7 หมื่นล้านบาท สถานการณ์กลับตาลปัตร จากปัจจัยบวกกลายเป็นปัจจัยลบฉุดราคาหุ้นในกระดาน นักลงทุนหวั่นต้นทุนบานปลาย กดดันกำไรในอนาคต แต่กูรูคาด ADVANC ยังได้เปรียบสุด เหตุมีฐานธุรกิจใหญ่ รองรับผลกระทบได้ ส่วนค่ายอื่นหากชนะประมูลอาจกลายเป็นภาระงบการเงินในระยะสั้น การประมูลคลื่น 4G บนย่านความถี่ 1,800 MHz ดุเดือดและใช้เวลายาวนานที่สุดในโลก ผู้เข้าร่วมประมูล 3 เจ้าเดิมอย่าง ADVANC DTAC TRUE และหนึ่งผู้เล่นหน้าใหม่อย่าง JAS แข่งกันเคาะราคา จนพุ่งสูงกว่าราคาเริ่มต้นประมูลแล้วกว่า 130% กดดันราคาหุ้นสื่อสารร่วงแรงยกแผง 4-7% พร้อมกับมูลค่าการซื้อขายหนาแน่น ติดอันดับ 1 ใน 5 หุ้นที่มีมูลค่าการซื้อขายสูงสุดบนกระดานหุ้นไทย การประมูล 4G บนย่านความถี่ 1800 MHz มีทั้งสิ้นจำนวน 2 ใบอนุญาต เริ่มต้นประมูลในวันที่ 11 พ.ย. 2558 เวลา 10.00 น. จนขณะนี้ ผ่านไปกว่า 25 ชั่วโมง ยังไม่ได้ผู้ชนะการประมูล แต่มี 1 รายที่ถอนตัวจากการประมูลแล้ว ขณะที่บอร์ดคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคม (กทค.)อนุมัติให้พักประมูล 3 ชม. ตั้งแต่ 11.00 - 14.00 น. ก่อนจะกลับมาประมูลกันอีกครั้งในเวลา 14.30 น.(12 พ.ย.)ซึ่งยังไม่มีบทสรุปว่าจะจบตรงไหน "ขณะนี้มีผู้ร่วมประมูล 1 รายได้ถอนตัวจากการประมูลแล้ว แต่ยังไม่สามารถเปิดเผยได้ว่าเป็นผู้ประกอบการรายใด และผู้ประกอบการรายดังกล่าวจะต้องอยู่ในห้องประมูลจนกว่าการประมูล 4G จะเสร็จสิ้น" นายฐากร ตัณฑสิทธิ์ เลขาธิการคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.)กล่าว ทั้งนี้ บรรดานักวิเคราะห์คาดว่า DTAC น่าจะเป็นเจ้าแรกที่ถอนตัวจากการประมูลดังกล่าว เพราะจะได้รับผลกระทบน้อยที่สุด เนื่องจากยังมีศักยภาพในการใช้คลื่นที่ได้รับสัมปทานจาก CAT ในการทำ 4G ที่มี Bandwidth สูงถึง 25 MHz (+20.4 MHz idle) ล่าสุดการประมูลผ่านไป 76 รอบ ราคาประมูลพุ่งขึ้นไปสูงถึงใบละประมาณ 3.7 หมื่นล้านบาท รวม 2 ใบสูงกว่า 7.48 หมื่นล้านบาท มากกว่าที่นักวิเคราะห์ประเมินว่าไม่ควรเกินใบละ 2 หมื่นล้านบาท เพราะจะส่งผลกระทบต่อต้นทุนของผู้ประกอบการได้ สำหรับ ADVANC มีความจำเป็นอย่างมากที่จะต้องชนะการประมูลอย่างน้อย 1 ใบอนุญาต เพราะไม่มีคลื่น 1800 MHz ในมือ หาก ADVANC ชนะการประมูลจะได้รับประโยชน์สุงสุด เพราะสามารถปิดจุดอ่อนการเป็นผู้ประกอบการรายเดียวที่ยังไม่มี 4G แม้ว่าภาระการลงทุนจะเพิ่มขึ้น เพราะยังมีคลื่น 900 MHz ที่ต้องการอีก 1 ใบ แต่จะสามารถชดเชยด้วยสัมปทาน 2G ที่หมดอายุไปแล้ว ซึ่งจะตัดต้นทุนไตรมาสละ 3,000 ล้านบาท ตั้งแต่ Q4/58 เป็นต้นไป DTAC มีความจำเป็นอย่างมากเช่นกัน ที่จะต้องชนะการประมูลคลื่น 1800 MHz แม้จะมีคลื่น 1800 MHz อยู่แล้ว แต่ต้นทุนส่วนแบ่งสัมปทานสูง ขณะที่อายุการให้บริการสั้นส่งผลให้ต้องรับรู้รายจ่ายในแต่ละปีสูง รวมไปถึงการลงทุนบนสัมปทาน เมื่อสิ้นสุดแล้วต้องโอนคืนให้รัฐ ซึ่งสัมปทานของ DTAC จะหมดในปี 2561 หรืออีก 3 ปีข้างหน้า ดังนั้น หากDTAC ไม่ชนะประมูลครั้งนี้ จะเป็นภาระอย่างมากในการลงทุนบนระบบสัมปทาน และจะกระทบกับผลการดำเนินงานของบริษัท TRUE เป็นผู้นำการให้บริการ 4G อยู่แล้ว การได้คลื่นเพิ่ม จะสามารถรักษาตำแหน่งไว้ได้ แต่จะทำให้มีภาระต้นทุนเพิ่มขึ้น และไม่มีตัวช่วยเหมือน ADVANC เพราะได้ประโยชน์จากการตัดต้นทุนสัมปทานที่หมดอายุไปหมดแล้วตั้งแต่ปีก่อน ทำให้สถานภาพในช่วง 2-3 ปีข้างหน้าไม่ได้เปลี่ยนแปลง JAS หากได้ใบอนุญาตที่ราคาสูง จะเป็นภาระมากกว่าได้ประโยชน์ เนื่องจากต้องลงทุนใหม่ทั้งหมด และเป็นเรื่องยากที่จะสร้างฐานลูกค้าใหม่ให้ได้ตามเป้าที่ประกาศไว้ 1ล้านรายในปีแรก ในระยะสั้น ด้วยราคาประมูลที่พุ่งไปกว่า 130% ของราคาเริ่มต้นประมูล ไม่ถือเป็นผลดีต่อหุ้นในกลุ่มสื่อสาร โดย TRUE อาจได้รับผลกระทบหนักที่สุด แต่อย่างไรก็ตามหากราคาหุ้นกลุ่มสื่อสารปรับตัวลงมามาก ADVANC จะยังเป็นผู้เล่นที่เสียประโยชน์น้อยที่สุด เนื่องจากมีศักยภาพในการแบกรับต้นทุนสูงที่สุดในกลุ่ม บทวิเคราะห์ บล.ธนชาต ระบุว่า ราคาประมูลคลื่น 1800MHz ทุก ๆ 5 พันล้านบาทที่สูงกว่าคาดการณ์ที่ 2 หมื่นล้านบาท จะกระทบเป้าหมายราคาพื้นฐานหุ้นในกลุ่มสื่อสาร ADVANC 0.6% หรือ 1.7 บาท/หุ้น DTAC 3.0% หรือ 2.1 บาท/หุ้น และ TRUE 2.3% หรือ 0.20 บาท/หุ้น บรรดานักวิเคราะห์ฟันธงว่า ADVANC จะได้ 1 ใบอนุญาต และเป็นผู้ประกอบการที่มีฐานธุรกิจใหญ่เพียงพอรองรับต้นทุนใบอนุญาตที่สูงกว่าปกติได้ จึงแนะนำซื้อ ให้ราคาเป้าหมายระหว่าง 269-285 บาท ขณะที่อีก 1 ใบอนุญาต นักวิเคราะห์เสียงแตก บล.เอเชียพลัสให้น้ำหนัก DTAC ชนะประมูล แต่ บล.ทรีนิตี้ มอง TRUE ชนะ ขณะที่ JAS ไม่ได้รับการคาดหมายว่าจะชนะประมูลในครั้งนี้ อย่างไรก็ตามโบรกเกอร์ยังไม่แนะนำให้เข้าลงทุนในหุ้นทั้ง 3 ตัว เนื่องจากราคาใบอนุญาตที่สูงเกินไปอาจส่งผลกระทบต่อการดำเนินงานมากกว่าปกติ เดิมทีการเปิดประมูล 4G ถูกมองว่าเป็นประเด็นสำคัญที่จะช่วยผลักดันราคาหุ้นสื่อสารให้ปรับตัวเพิ่มขึ้นอย่างโดดเด่น แต่สถานการณ์กลับตาลปัตร เพราะไม่มีใครคาดว่าราคาใบอนุญาตจะแพงมากขนาดนี้ ดังนั้นนักลงทุนต้องพิจารณาอย่างรอบคอบ และชั่งน้ำหนักว่าการประมูลในครั้งนี้ส่งผลดีหรือผลเสียต่อผู้ประกอบการแต่ละรายอย่างไร ก่อนหาจังหวะเข้าเก็บหุ้นที่เป็นผู้ชนะในสนาม 4G อย่างแท้จริง
รายงาน โดย วรายุทธ ตุ้ยดา
เรียบเรียง โดย อนุรักษ์ ลีประเสริฐสุนทร อีเมล์. anurak@efinancethai.com