becl และ/หรือ bmcl ในพอร์ต แปลงเป็นหุ้นใหม่ bem ได้เข้า portfolio เช้านี้ 4/1/2559 แล้ว
ในกรณี ต้นทุนใน portfolio ไม่ตรงกับความเป็นจริง ลองคำนวนหาต้นทุนได้
ต้นทุนเฉลี่ย bem ต้นทุนต่อหุ้น จำนวนเงิน
becl 86,554 4.795 415,026.43
bmcl 84,101 5.232 440,016.43
รวม 170,655 855,042.86
เฉลี่ยต่อ 1 bem 5.01
หุ้นใหม่ bem จะซื้อขายได้เริ่มตั้งแต่พรุ่งนี้ 5/1/2559
ขอให้โชคดี รวยๆ ทุกๆท่าน
ด้วยความปรารถนาดี
ปล :
BEM - มาตามนัด พื้นฐานหรือจะสู้กระแสได้
10 พ.ค. 2559 / 17.18 น.
หากไปดูราคาเหมาะสมทางพื้นฐานที่โบรกต่างๆให้กับหุ้นตัวนี้ ต้องบอกว่า ราคาแถวนี้ แทบไม่เหลือ upside ให้เล่นแล้ว แต่สิ่งที่ BEM มีก็คือ กระแสของคนที่จะเข้ามาเล่นหุ้นตัวนี้ จากปัจจัยบวกที่รอเข้ามาอย่างต่อเนื่อง
1. รถไฟฟ้าสายสีม่วงที่จะเปิดให้บริการอย่างเป็นทางการในวันที่ 12 สิงหาคม 2559 ซึ่งรถไฟฟ้าสายนี้ BEM ได้เป็นผู้จัดการเดินรถ แต่ยังคงมีปัญหาเรื่องการเชื่อมต่อสถานี เตาปูน - บางซื่อ ทำให้การคาดการ์ตัวเลขผู้ใช้บริการที่จะขึ้นสายสีม่วงไปเชื่อมต่อกับสายสีน้ำเงินเดิมที่ BEM ได้สัมปทาน อาจจะยังไม่สูงมากนัก
2. ความคาดหวังว่า รัฐบาลจะใช้วิธีการเจรจากับ BEM ในการเดินรถสายสีน้ำเงินส่วนต่อขยาย บางซื่อ - ท่าพระ ซึ่งเป็นเส้นทางที่ต่อขยายจากสายสีน้ำเงินเดิมของ BEM เลย
กรณีนี้ หากเทียบเคียงกับสายสีเขียวส่วนต่อขยายของ กทม จะเห็นว่าใช้วิธีการเจรจาตรงกับผู้ให้บริการเดิมอย่าง BTS ทุกครั้ง โดยเหตุผลเพื่อความรวดเร็วและเป็นระบบเดียวกัน
ดังนั้น จึงมีความเป็นไปได้สูงที่ BEM จะได้เป็นผู้เดินรถส่วนต่อขยายสายสีน้ำเงิน ด้วยเหตุผลเดียวกันกับที่ กทม ให้ BTS เป็นผู้เดินรถส่วนต่อขยายสายสีเขียวของ กทม
3. หากมีการเจรจาโดยตรงให้ BEM เดินรถสายสีน้ำเงินส่วนต่อขยาย จะทำให้การเชื่อมต่อสถาน บางซื่อ - เตาปูน 1 สถานี สามารถให้บริการได้ภายในเวลา 1 ปี แต่หากให้เปิดประมูล จะทำให้การเชื่อมต่อ 1 สถานีตรงนี้ใช้เวลาถึง 3 ปีกว่าจะให้บริการได้ ทำให้มีแนวโน้มมากยิ่งขึ้นที่ BEM จะได้การเดินรถสีน้ำเงินส่วนต่อขยาย
และหากสถานีเชื่อมต่อ บางซื่อ - เตาปูน แล้วเสร็จ และพร้อมให้บริการ จะทำให้เกิดความสะดวกมากขึ้นในการขนส่งผู้โดยสารจากรถไฟฟ้าสายสีม่วงสถานีเตาปูน มายังสถานีบางซื่อ ซึ่งเป็นต้นทางของสายสีน้ำเงินที่ BEM ได้รับสัมปทานอยู่ อาจทำให้ประมาณการผู้โดยสารของสายสีน้ำเงินเดิมเพิ่มขึ้น
4. ทางด่วนสายใหม่ ศรีรัช - วงแหวนรอบนอก (ตั้งต้นจากทางด่วนศรีรัช หรือทางด่วนขั้นที่สอง บริเวณหมอชิต ข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาบริเวณสะพานพระราม 7 และวิ่งตามทางรถไฟสายใต้ ไปสิ้นสุดที่ถนนกาญจนาภิเษก หรือวงแหวนรอบนอกฝั่งตะวันตก)
ทางด่วนสายนี้มีแผนจะเปิดให้บริการในไตรมาส 3 ปี 2559 นี้ ซึ่งจะเป็นทางด่วนสายแรกที่ขนรถจากกรุงเทพฝั่งตะวันตก รวมถึงปริมณฑลแถบศาลายา บางใหญ่ บางบัวทอง วิ่งเข้ามาเชื่อมต่อกับระบบทางด่วนขั้นที่สองได้ในทันที
ตรงนี้จะทำให้ BEM ได้ประโยชน์ 2 เด้ง นั่นคือ มีรายได้จากรถที่มาใช้บริการทางด่วนสายใหม่ และก็ยังมีรายได้จากการเชื่อมต่อเข้าไปใช้ทางด่วนศรีรัชสายเดิมด้วย
ซึ่งโดยทั่วไปประชาชนในแถบนี้ หากต้องการขึ้นทางด่วน จะต้องไปขึ้นที่ด่าน แจ้งวัฒนะ หรือไม่ก็งามวงศ์วาน ซึ่งจะเสียค่าทางด่วนแค่ 50 + 10 บาท แต่ต้องฝ่ารถติดบนถนนงามวงศ์วาน รัตนาธิเบศร์ หรือถนนแจ้งวัฒนะ ทำให้เชื่อว่า ทางด่วนที่กำลังเปิดให้บริการใหม่นี้ จะเพิ่มความสะดวกให้กับผู้ขับขี่ในย่านนี้ และเพิ่มรายได้ให้แก่ BEM ได้พอสมควร
5. BEM ประกาศจับมือกับ CK ซึ่งเป็นบริษัทแม่ของตัวเอง ในการเข้าประมูลรถไฟฟ้าสายสีเหลือง และรถไฟฟ้าสายสีชมพู ซึ่งคาดว่าจะเปิดประมูลได้ในครึ่งหลังของปีนี้
ที่ต้องจับมือกัน เนื่องจากว่า งานครั้งนี้ ภาครัฐต้องการให้ผู้เข้าประมูลมีความพร้อมทุกด้าน ทั้งในด้านงานโยธา (งานก่อสร้าง) และการบริหารจัดการเดินรถและซ่อมบำรุง ซึ่งการจับมือกันของ CK กับ BEM ก็แสดงให้เห็นถึงความพร้อมและศักยภาพครบทุกด้านเริ่มตั้งแต่การก่อสร้างไปจนถึงการเดินรถ
แม้จะมีคู่แข่งที่น่ากลัวอย่าง BTS ที่มีข่าวว่าจะจับมือกับ STEC ในการเข้าประมูล รวมถึงผู้รับเหมาขนาดใหญ่รายอื่นที่น่าจะจับมือเป็นพันธมิตรกับพาร์ตเนอร์ต่างชาติ แต่ CK กับ BEM ก็ยังมีโอกาสไม่ใช่น้อย
6. ครม อนุมัติให้ รฟม. ทำรถไฟสายสีส้ม ช่วง ศูนย์วัฒนธรรม - มีนบุรี ซึ่งในอนาคตก็มีโอกาสที่ BEM จะเข้าประมูลเป็นผู้เดินรถ ซึ่งแม้ว่าโครงข่ายสีส้มในช่วงแรกนี้ จะมีส่วนที่เป็นใต้ดินไม่มากนัก แต่เชื่อว่า BEM จะต้องพยายามประมูลการเดินรถมาให้ได้ เนื่องจากในเฟส 2 ของสายสีส้ม ที่จะวิ่งจากศูนย์วัฒนธรรม ไปยัง บางบำหรุนั้น จะผ่านพื้นที่กลางเมือง ซึ่งเป็นโครงข่ายใต้ดินที่ BEM ถนัด และผ่านสถานที่สำคัญมากมาย ไม่ว่าจะเป็นสามเหลี่ยมดินแดง ประตูน้ำ อุรุพงษ์ หลานหลวง ผ่านฟ้า ราชดำเนิน สนามหลวง ลอดข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาไปยังศิริราช นับว่าเป็นรถไฟฟ้าช่วงที่น่าสนใจมากๆ ซึ่ง BEM คงไม่ยอมพลาดที่จะคว้าการเป็นผู้เดินรถให้ได้
7. BEM น่าจะได้เข้ารวมคำนวณใน SET50 ตั้งแต่รอบครึ่งปีหลังของปี 2559 เป็นต้นไป โดยมีความเป็นไปได้สูงมาก เนื่องจากลำพังเดิมตอนแยกเป็นสองบริษัท ก็เป็นบริษัทที่มีขนาดใหญ่มากอยู่แล้ว ยิ่งควบรวมกันยิ่งทำให้ market cap มีขนาดใหญ่มาก
หาก BEM ได้เข้าไปรวมคำนวณ SET50 จะทำให้มีแรงซื้อจากกองทุนที่ใช้ SET50 เป็นมาตรฐานจะต้องซื้อหุ้น BEM เก็บเข้าพอร์ตด้วย อีกทั้งจะทำให้ BEM มีความน่าสนใจมากยิ่งขึ้นในสายตาของนักลงทุนสถาบัน
จะเห็นได้ว่า ปัจจัยบวกที่ประดังเข้ามาในปีนี้ ล้วนแต่ทำให้ภาพของ BEM ดูดีขึ้นอย่างมาก เพราะธุรกิจรถไฟฟ้าใต้ดินที่มีผลการดำเนินงานขาดทุนมาโดยตลอด ก็จะเริ่มพลิกฟื้นขึ้นมา แถมยังมีรายได้ฐานจากโครงข่ายทางด่วนในมือด้วย
ด้วยเหตุนี้ จึงทำให้หุ้น BEM ดูแล้วมีความน่าสนใจไม่ใช่น้อย ซึ่งมันก็เป็นเรื่องไม่แปลก ที่ราคาหุ้นจะค่อยๆขยับขึ้นมาเรื่อยๆ ด้วยปริมาณการซื้อขายที่มากมาย โดยเฉพาะในช่วงที่รถไฟฟ้าสีม่วงกำลังเริ่มทดลองเดินรถเต็มรูปแบบ และโอกาสที่ BEM จะได้เป็นผู้เดินรถส่วนต่อขยายสายสีน้ำเงินนั้นมีมากขึ้น
ที่มา Wattana Stock Page
BEM : หุ้นใหม่เข้า Portfolio แล้ว
ในกรณี ต้นทุนใน portfolio ไม่ตรงกับความเป็นจริง ลองคำนวนหาต้นทุนได้
ต้นทุนเฉลี่ย bem ต้นทุนต่อหุ้น จำนวนเงิน
becl 86,554 4.795 415,026.43
bmcl 84,101 5.232 440,016.43
รวม 170,655 855,042.86
เฉลี่ยต่อ 1 bem 5.01
หุ้นใหม่ bem จะซื้อขายได้เริ่มตั้งแต่พรุ่งนี้ 5/1/2559
ขอให้โชคดี รวยๆ ทุกๆท่าน
ด้วยความปรารถนาดี
ปล :
BEM - มาตามนัด พื้นฐานหรือจะสู้กระแสได้
10 พ.ค. 2559 / 17.18 น.
หากไปดูราคาเหมาะสมทางพื้นฐานที่โบรกต่างๆให้กับหุ้นตัวนี้ ต้องบอกว่า ราคาแถวนี้ แทบไม่เหลือ upside ให้เล่นแล้ว แต่สิ่งที่ BEM มีก็คือ กระแสของคนที่จะเข้ามาเล่นหุ้นตัวนี้ จากปัจจัยบวกที่รอเข้ามาอย่างต่อเนื่อง
1. รถไฟฟ้าสายสีม่วงที่จะเปิดให้บริการอย่างเป็นทางการในวันที่ 12 สิงหาคม 2559 ซึ่งรถไฟฟ้าสายนี้ BEM ได้เป็นผู้จัดการเดินรถ แต่ยังคงมีปัญหาเรื่องการเชื่อมต่อสถานี เตาปูน - บางซื่อ ทำให้การคาดการ์ตัวเลขผู้ใช้บริการที่จะขึ้นสายสีม่วงไปเชื่อมต่อกับสายสีน้ำเงินเดิมที่ BEM ได้สัมปทาน อาจจะยังไม่สูงมากนัก
2. ความคาดหวังว่า รัฐบาลจะใช้วิธีการเจรจากับ BEM ในการเดินรถสายสีน้ำเงินส่วนต่อขยาย บางซื่อ - ท่าพระ ซึ่งเป็นเส้นทางที่ต่อขยายจากสายสีน้ำเงินเดิมของ BEM เลย
กรณีนี้ หากเทียบเคียงกับสายสีเขียวส่วนต่อขยายของ กทม จะเห็นว่าใช้วิธีการเจรจาตรงกับผู้ให้บริการเดิมอย่าง BTS ทุกครั้ง โดยเหตุผลเพื่อความรวดเร็วและเป็นระบบเดียวกัน
ดังนั้น จึงมีความเป็นไปได้สูงที่ BEM จะได้เป็นผู้เดินรถส่วนต่อขยายสายสีน้ำเงิน ด้วยเหตุผลเดียวกันกับที่ กทม ให้ BTS เป็นผู้เดินรถส่วนต่อขยายสายสีเขียวของ กทม
3. หากมีการเจรจาโดยตรงให้ BEM เดินรถสายสีน้ำเงินส่วนต่อขยาย จะทำให้การเชื่อมต่อสถาน บางซื่อ - เตาปูน 1 สถานี สามารถให้บริการได้ภายในเวลา 1 ปี แต่หากให้เปิดประมูล จะทำให้การเชื่อมต่อ 1 สถานีตรงนี้ใช้เวลาถึง 3 ปีกว่าจะให้บริการได้ ทำให้มีแนวโน้มมากยิ่งขึ้นที่ BEM จะได้การเดินรถสีน้ำเงินส่วนต่อขยาย
และหากสถานีเชื่อมต่อ บางซื่อ - เตาปูน แล้วเสร็จ และพร้อมให้บริการ จะทำให้เกิดความสะดวกมากขึ้นในการขนส่งผู้โดยสารจากรถไฟฟ้าสายสีม่วงสถานีเตาปูน มายังสถานีบางซื่อ ซึ่งเป็นต้นทางของสายสีน้ำเงินที่ BEM ได้รับสัมปทานอยู่ อาจทำให้ประมาณการผู้โดยสารของสายสีน้ำเงินเดิมเพิ่มขึ้น
4. ทางด่วนสายใหม่ ศรีรัช - วงแหวนรอบนอก (ตั้งต้นจากทางด่วนศรีรัช หรือทางด่วนขั้นที่สอง บริเวณหมอชิต ข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาบริเวณสะพานพระราม 7 และวิ่งตามทางรถไฟสายใต้ ไปสิ้นสุดที่ถนนกาญจนาภิเษก หรือวงแหวนรอบนอกฝั่งตะวันตก)
ทางด่วนสายนี้มีแผนจะเปิดให้บริการในไตรมาส 3 ปี 2559 นี้ ซึ่งจะเป็นทางด่วนสายแรกที่ขนรถจากกรุงเทพฝั่งตะวันตก รวมถึงปริมณฑลแถบศาลายา บางใหญ่ บางบัวทอง วิ่งเข้ามาเชื่อมต่อกับระบบทางด่วนขั้นที่สองได้ในทันที
ตรงนี้จะทำให้ BEM ได้ประโยชน์ 2 เด้ง นั่นคือ มีรายได้จากรถที่มาใช้บริการทางด่วนสายใหม่ และก็ยังมีรายได้จากการเชื่อมต่อเข้าไปใช้ทางด่วนศรีรัชสายเดิมด้วย
ซึ่งโดยทั่วไปประชาชนในแถบนี้ หากต้องการขึ้นทางด่วน จะต้องไปขึ้นที่ด่าน แจ้งวัฒนะ หรือไม่ก็งามวงศ์วาน ซึ่งจะเสียค่าทางด่วนแค่ 50 + 10 บาท แต่ต้องฝ่ารถติดบนถนนงามวงศ์วาน รัตนาธิเบศร์ หรือถนนแจ้งวัฒนะ ทำให้เชื่อว่า ทางด่วนที่กำลังเปิดให้บริการใหม่นี้ จะเพิ่มความสะดวกให้กับผู้ขับขี่ในย่านนี้ และเพิ่มรายได้ให้แก่ BEM ได้พอสมควร
5. BEM ประกาศจับมือกับ CK ซึ่งเป็นบริษัทแม่ของตัวเอง ในการเข้าประมูลรถไฟฟ้าสายสีเหลือง และรถไฟฟ้าสายสีชมพู ซึ่งคาดว่าจะเปิดประมูลได้ในครึ่งหลังของปีนี้
ที่ต้องจับมือกัน เนื่องจากว่า งานครั้งนี้ ภาครัฐต้องการให้ผู้เข้าประมูลมีความพร้อมทุกด้าน ทั้งในด้านงานโยธา (งานก่อสร้าง) และการบริหารจัดการเดินรถและซ่อมบำรุง ซึ่งการจับมือกันของ CK กับ BEM ก็แสดงให้เห็นถึงความพร้อมและศักยภาพครบทุกด้านเริ่มตั้งแต่การก่อสร้างไปจนถึงการเดินรถ
แม้จะมีคู่แข่งที่น่ากลัวอย่าง BTS ที่มีข่าวว่าจะจับมือกับ STEC ในการเข้าประมูล รวมถึงผู้รับเหมาขนาดใหญ่รายอื่นที่น่าจะจับมือเป็นพันธมิตรกับพาร์ตเนอร์ต่างชาติ แต่ CK กับ BEM ก็ยังมีโอกาสไม่ใช่น้อย
6. ครม อนุมัติให้ รฟม. ทำรถไฟสายสีส้ม ช่วง ศูนย์วัฒนธรรม - มีนบุรี ซึ่งในอนาคตก็มีโอกาสที่ BEM จะเข้าประมูลเป็นผู้เดินรถ ซึ่งแม้ว่าโครงข่ายสีส้มในช่วงแรกนี้ จะมีส่วนที่เป็นใต้ดินไม่มากนัก แต่เชื่อว่า BEM จะต้องพยายามประมูลการเดินรถมาให้ได้ เนื่องจากในเฟส 2 ของสายสีส้ม ที่จะวิ่งจากศูนย์วัฒนธรรม ไปยัง บางบำหรุนั้น จะผ่านพื้นที่กลางเมือง ซึ่งเป็นโครงข่ายใต้ดินที่ BEM ถนัด และผ่านสถานที่สำคัญมากมาย ไม่ว่าจะเป็นสามเหลี่ยมดินแดง ประตูน้ำ อุรุพงษ์ หลานหลวง ผ่านฟ้า ราชดำเนิน สนามหลวง ลอดข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาไปยังศิริราช นับว่าเป็นรถไฟฟ้าช่วงที่น่าสนใจมากๆ ซึ่ง BEM คงไม่ยอมพลาดที่จะคว้าการเป็นผู้เดินรถให้ได้
7. BEM น่าจะได้เข้ารวมคำนวณใน SET50 ตั้งแต่รอบครึ่งปีหลังของปี 2559 เป็นต้นไป โดยมีความเป็นไปได้สูงมาก เนื่องจากลำพังเดิมตอนแยกเป็นสองบริษัท ก็เป็นบริษัทที่มีขนาดใหญ่มากอยู่แล้ว ยิ่งควบรวมกันยิ่งทำให้ market cap มีขนาดใหญ่มาก
หาก BEM ได้เข้าไปรวมคำนวณ SET50 จะทำให้มีแรงซื้อจากกองทุนที่ใช้ SET50 เป็นมาตรฐานจะต้องซื้อหุ้น BEM เก็บเข้าพอร์ตด้วย อีกทั้งจะทำให้ BEM มีความน่าสนใจมากยิ่งขึ้นในสายตาของนักลงทุนสถาบัน
จะเห็นได้ว่า ปัจจัยบวกที่ประดังเข้ามาในปีนี้ ล้วนแต่ทำให้ภาพของ BEM ดูดีขึ้นอย่างมาก เพราะธุรกิจรถไฟฟ้าใต้ดินที่มีผลการดำเนินงานขาดทุนมาโดยตลอด ก็จะเริ่มพลิกฟื้นขึ้นมา แถมยังมีรายได้ฐานจากโครงข่ายทางด่วนในมือด้วย
ด้วยเหตุนี้ จึงทำให้หุ้น BEM ดูแล้วมีความน่าสนใจไม่ใช่น้อย ซึ่งมันก็เป็นเรื่องไม่แปลก ที่ราคาหุ้นจะค่อยๆขยับขึ้นมาเรื่อยๆ ด้วยปริมาณการซื้อขายที่มากมาย โดยเฉพาะในช่วงที่รถไฟฟ้าสีม่วงกำลังเริ่มทดลองเดินรถเต็มรูปแบบ และโอกาสที่ BEM จะได้เป็นผู้เดินรถส่วนต่อขยายสายสีน้ำเงินนั้นมีมากขึ้น
ที่มา Wattana Stock Page