credit: -->
http://longtunman.com/2167
ทุกคนคงคิดว่า BTS ใหญ่กว่า MRT
บริษัทที่เดินรถ BTS คือ BTS
บริษัทที่เดินรถ MRT คือ BEM
จริงๆแล้ว BTS หรือ BEM ใหญ่กว่ากัน?
รถไฟฟ้า BTS บริหารงานโดย บริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ BTSC
ซึ่งแต่เดิมผู้ถือหุ้นใหญ่คือ Siam Capital Developments (Hong Kong) Limited
แต่ในปี 2553 บริษัท ธนายง จำกัด ภายใต้การนำของคุณคีรี กาญจนพาสน์ ได้เข้าซื้อหุ้นของ BTSC กว่า 95%
รวมมูลค่ากว่า 40,000 ล้านบาท และได้เปลี่ยนชื่อจาก ธนายง เป็น บีทีเอส กรุ๊ป โฮลดิ้งแทน
รถไฟฟ้า MRT บริหารงานหลักโดย บริษัท ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ BEM
ซึ่งมีต้นกำเนิดจากการควบรวมธุรกิจระหว่าง บริษัท ทางด่วนกรุงเทพ (BECL) และ รถไฟฟ้ากรุงเทพ (BMCL)
ในช่วงเดือนธันวาคม 2558 ผู้ถือหุ้นใหญ่คือ กลุ่ม บริษัท ช.การช่าง จำกัด (มหาชน)
ใครถือสัมปทานชิ้นใดอยู่บ้าง?
BTS
สายสีเขียวเข้ม-อ่อน (สายสีลมและสุขุมวิท) – ปี 2559 ผู้โดยสารเฉลี่ย 637,087 เที่ยวต่อวัน หรือ 233 ล้านเที่ยวต่อปี
สายสีชมพู (แคราย-มีนบุรี) และ สายสีเหลือง (ลาดพร้าว-สำโรง) ซึ่งขณะนี้ BTS อยู่ระหว่างเตรียมการก่อสร้าง
โดยสายสีชมพูและสีเหลือง ผู้ที่ได้สัมปทานหลัก คือ กิจการร่วมค้า BSR ที่เป็นการจดร่วมกันระหว่าง บีทีเอส กรุ๊ป โฮลดิ้ง , ชิโนไทย และผลิตไฟฟ้าราชบุรี โฮลดิ้ง
ซึ่ง BSR พึ่งจะประมูลชนะ BEM ของ บริษัท ช.การช่าง จำกัด (มหาชน) ไปเมื่อปีที่แล้ว และการชนะครั้งนี้ ทำให้ BTS ได้ประโยชน์เป็นอย่างมาก เพราะ BTS มีแผนที่จะเชื่อมสายสีชมพูเข้าไปใน เมืองทองธานี ซึ่งเจ้าของ เมืองทอง ก็ไม่ใช่ใครที่ไหน แต่เป็นของ ตระกูล กาญจนพาสน์ นั่นเอง
BEM
สายสีน้ำเงิน (หัวลำโพง-บางซื่อ) – ปี 2559 ผู้โดยสารเฉลี่ย 273,637 เที่ยวต่อวัน หรือประมาณ 99 ล้านเที่ยวต่อปี
สายสีม่วง (บางใหญ่-เตาปูน) ผู้โดยสารประมาณ 50,000 เที่ยวต่อวัน
นอกจากรถไฟฟ้า BEM ยังเป็นเจ้าของทางด่วนเฉลิมมหานคร,ศรีรัช,อุดรรัถยา – ปี 2559 ปริมาณรถที่ใช้ประมาณ 1.2 ล้านเที่ยวต่อวัน
จะเห็นได้ว่าจำนวนผู้ใช้รถไฟฟ้า BTS มากกว่า MRT อยู่หลายเท่าตัว สาเหตุคงเป็นเพราะ BTS ผ่านสถานที่ท่องเที่ยวและจุดสำคัญมากกว่า พร้อมทั้งยังเข้าถึงเขตกรุงเทพชั้นนอกที่มีคนอาศัยอยู่หนาแน่น ซึ่งทำให้สามารถขนคนเข้ามาในเมืองได้ปริมาณที่มากกว่า MRT
ผลประกอบการของทั้ง 2 บริษัทเป็นอย่างไร?
BTS
ปี 2558 มีรายได้ 10,000 ล้านบาท กำไรสุทธิ 4,400 ล้านบาท
ปี 2559 มีรายได้ 9,600 ล้านบาท กำไรสุทธิ 2,200 ล้านบาท
แต่เมื่อดูตามกลุ่มธุรกิจจะพบว่า กำไรส่วนใหญ่กว่า 53% มาจากธุรกิจงานโฆษณาทั้งในและนอกระบบรถไฟฟ้าบีทีเอส ไม่ใช่จากธุรกิจหลักอย่างระบบขนส่งมวลชน ซึ่งมีสัดส่วนกำไรเพียง 29% เท่านั้น (เพราะขายรายได้เข้ากองทุนไปแล้วส่วนหนึ่ง)
BEM
ปี 2558 มีรายได้ 13,100 ล้านบาท เหลือเป็นกำไรสุทธิ 2,700 ล้านบาท
ปี 2559 มีรายได้ 13,200 ล้านบาท เหลือเป็นกำไรสุทธิ 2,600 ล้านบาท
โดยกำไรตามกลุ่มธุรกิจกว่า 85% มาจากธุรกิจทางด่วนพิเศษ
แต่กำไรจากธุรกิจรถไฟฟ้ามีเพียงแค่ 9% เท่านั้น
มาถึงตรงนี้อาจมีหลายคนเข้าใจว่ากำไรของ BEM ที่น้อยเกิดจากรถไฟฟ้าสายสีม่วงที่ประสบปัญหาขาดทุนไปก่อนหน้านี้
แต่แท้จริงแล้ว การขาดทุนของสายสีม่วงแทบจะไม่มีผลกระทบอะไรต่อ BEM เลย
เพราะสัญญาของรถไฟฟ้าสายสีม่วงที่ BEM ทำไว้กับ รถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) เป็นลักษณะ PPP Gross Cost ซึ่ง BEM ไม่มีสิทธิในรายได้ค่าโดยสาร จะได้รับแต่เพียงรายได้ค่าบริหารเท่านั้น
แตกต่างกับสัญญาของรถไฟฟ้าสีน้ำเงินที่ BEM เคยขาดทุนมาก่อน เพราะจะได้รับส่วนแบ่งค่าโดยสารจาก รฟม. ด้วย
ดังนั้น เราจึงพูดง่ายๆว่า ไม่ว่าคนจะใช้รถสายสีม่วงมากแค่ไหน BEM ก็ไม่ได้กำไร หรือขาดทุน
ถ้าหากตัดรายการพิเศษในงบการเงินของ BTS ในปี 2558 ออกไป และดูที่กำไรปี 2559 จริงๆแล้ว BEM ที่เป็นเจ้าของ MRT กลับมีกำไรมากกว่า BTS..
เพราะกำไรหลักของ BEM ที่มาจากทางด่วน มากกว่า กำไรหลักของ BTS ที่มาจากโฆษณา
ซึ่งก็สอดคล้องกับมูลค่าบริษัท (Market Cap) ของ BEM มีมูลค่า 122,300 ล้านบาท ใหญ่กว่า BTS ที่ 102,700 ล้านบาท
เรื่องนี้สรุปได้ว่า การเดินรถไฟฟ้าใน 2 บริษัทนี้ไม่ได้มีกำไรมากอย่างที่คิดนั่นเอง..
หมายเหตุ การลงทุนมีความเสี่ยง บทความนี้ไม่ได้มีเจตนาชี้นำให้ซื้อหุ้นที่กล่าวถึง โปรดศึกษาข้อมูลก่อนตัดสินใจลงทุน..
BTS หรือ BEM ใหญ่กว่ากัน?
ทุกคนคงคิดว่า BTS ใหญ่กว่า MRT
บริษัทที่เดินรถ BTS คือ BTS
บริษัทที่เดินรถ MRT คือ BEM
จริงๆแล้ว BTS หรือ BEM ใหญ่กว่ากัน?
รถไฟฟ้า BTS บริหารงานโดย บริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ BTSC
ซึ่งแต่เดิมผู้ถือหุ้นใหญ่คือ Siam Capital Developments (Hong Kong) Limited
แต่ในปี 2553 บริษัท ธนายง จำกัด ภายใต้การนำของคุณคีรี กาญจนพาสน์ ได้เข้าซื้อหุ้นของ BTSC กว่า 95%
รวมมูลค่ากว่า 40,000 ล้านบาท และได้เปลี่ยนชื่อจาก ธนายง เป็น บีทีเอส กรุ๊ป โฮลดิ้งแทน
รถไฟฟ้า MRT บริหารงานหลักโดย บริษัท ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ BEM
ซึ่งมีต้นกำเนิดจากการควบรวมธุรกิจระหว่าง บริษัท ทางด่วนกรุงเทพ (BECL) และ รถไฟฟ้ากรุงเทพ (BMCL)
ในช่วงเดือนธันวาคม 2558 ผู้ถือหุ้นใหญ่คือ กลุ่ม บริษัท ช.การช่าง จำกัด (มหาชน)
ใครถือสัมปทานชิ้นใดอยู่บ้าง?
BTS
สายสีเขียวเข้ม-อ่อน (สายสีลมและสุขุมวิท) – ปี 2559 ผู้โดยสารเฉลี่ย 637,087 เที่ยวต่อวัน หรือ 233 ล้านเที่ยวต่อปี
สายสีชมพู (แคราย-มีนบุรี) และ สายสีเหลือง (ลาดพร้าว-สำโรง) ซึ่งขณะนี้ BTS อยู่ระหว่างเตรียมการก่อสร้าง
โดยสายสีชมพูและสีเหลือง ผู้ที่ได้สัมปทานหลัก คือ กิจการร่วมค้า BSR ที่เป็นการจดร่วมกันระหว่าง บีทีเอส กรุ๊ป โฮลดิ้ง , ชิโนไทย และผลิตไฟฟ้าราชบุรี โฮลดิ้ง
ซึ่ง BSR พึ่งจะประมูลชนะ BEM ของ บริษัท ช.การช่าง จำกัด (มหาชน) ไปเมื่อปีที่แล้ว และการชนะครั้งนี้ ทำให้ BTS ได้ประโยชน์เป็นอย่างมาก เพราะ BTS มีแผนที่จะเชื่อมสายสีชมพูเข้าไปใน เมืองทองธานี ซึ่งเจ้าของ เมืองทอง ก็ไม่ใช่ใครที่ไหน แต่เป็นของ ตระกูล กาญจนพาสน์ นั่นเอง
BEM
สายสีน้ำเงิน (หัวลำโพง-บางซื่อ) – ปี 2559 ผู้โดยสารเฉลี่ย 273,637 เที่ยวต่อวัน หรือประมาณ 99 ล้านเที่ยวต่อปี
สายสีม่วง (บางใหญ่-เตาปูน) ผู้โดยสารประมาณ 50,000 เที่ยวต่อวัน
นอกจากรถไฟฟ้า BEM ยังเป็นเจ้าของทางด่วนเฉลิมมหานคร,ศรีรัช,อุดรรัถยา – ปี 2559 ปริมาณรถที่ใช้ประมาณ 1.2 ล้านเที่ยวต่อวัน
จะเห็นได้ว่าจำนวนผู้ใช้รถไฟฟ้า BTS มากกว่า MRT อยู่หลายเท่าตัว สาเหตุคงเป็นเพราะ BTS ผ่านสถานที่ท่องเที่ยวและจุดสำคัญมากกว่า พร้อมทั้งยังเข้าถึงเขตกรุงเทพชั้นนอกที่มีคนอาศัยอยู่หนาแน่น ซึ่งทำให้สามารถขนคนเข้ามาในเมืองได้ปริมาณที่มากกว่า MRT
ผลประกอบการของทั้ง 2 บริษัทเป็นอย่างไร?
BTS
ปี 2558 มีรายได้ 10,000 ล้านบาท กำไรสุทธิ 4,400 ล้านบาท
ปี 2559 มีรายได้ 9,600 ล้านบาท กำไรสุทธิ 2,200 ล้านบาท
แต่เมื่อดูตามกลุ่มธุรกิจจะพบว่า กำไรส่วนใหญ่กว่า 53% มาจากธุรกิจงานโฆษณาทั้งในและนอกระบบรถไฟฟ้าบีทีเอส ไม่ใช่จากธุรกิจหลักอย่างระบบขนส่งมวลชน ซึ่งมีสัดส่วนกำไรเพียง 29% เท่านั้น (เพราะขายรายได้เข้ากองทุนไปแล้วส่วนหนึ่ง)
BEM
ปี 2558 มีรายได้ 13,100 ล้านบาท เหลือเป็นกำไรสุทธิ 2,700 ล้านบาท
ปี 2559 มีรายได้ 13,200 ล้านบาท เหลือเป็นกำไรสุทธิ 2,600 ล้านบาท
โดยกำไรตามกลุ่มธุรกิจกว่า 85% มาจากธุรกิจทางด่วนพิเศษ
แต่กำไรจากธุรกิจรถไฟฟ้ามีเพียงแค่ 9% เท่านั้น
มาถึงตรงนี้อาจมีหลายคนเข้าใจว่ากำไรของ BEM ที่น้อยเกิดจากรถไฟฟ้าสายสีม่วงที่ประสบปัญหาขาดทุนไปก่อนหน้านี้
แต่แท้จริงแล้ว การขาดทุนของสายสีม่วงแทบจะไม่มีผลกระทบอะไรต่อ BEM เลย
เพราะสัญญาของรถไฟฟ้าสายสีม่วงที่ BEM ทำไว้กับ รถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) เป็นลักษณะ PPP Gross Cost ซึ่ง BEM ไม่มีสิทธิในรายได้ค่าโดยสาร จะได้รับแต่เพียงรายได้ค่าบริหารเท่านั้น
แตกต่างกับสัญญาของรถไฟฟ้าสีน้ำเงินที่ BEM เคยขาดทุนมาก่อน เพราะจะได้รับส่วนแบ่งค่าโดยสารจาก รฟม. ด้วย
ดังนั้น เราจึงพูดง่ายๆว่า ไม่ว่าคนจะใช้รถสายสีม่วงมากแค่ไหน BEM ก็ไม่ได้กำไร หรือขาดทุน
ถ้าหากตัดรายการพิเศษในงบการเงินของ BTS ในปี 2558 ออกไป และดูที่กำไรปี 2559 จริงๆแล้ว BEM ที่เป็นเจ้าของ MRT กลับมีกำไรมากกว่า BTS..
เพราะกำไรหลักของ BEM ที่มาจากทางด่วน มากกว่า กำไรหลักของ BTS ที่มาจากโฆษณา
ซึ่งก็สอดคล้องกับมูลค่าบริษัท (Market Cap) ของ BEM มีมูลค่า 122,300 ล้านบาท ใหญ่กว่า BTS ที่ 102,700 ล้านบาท
เรื่องนี้สรุปได้ว่า การเดินรถไฟฟ้าใน 2 บริษัทนี้ไม่ได้มีกำไรมากอย่างที่คิดนั่นเอง..
หมายเหตุ การลงทุนมีความเสี่ยง บทความนี้ไม่ได้มีเจตนาชี้นำให้ซื้อหุ้นที่กล่าวถึง โปรดศึกษาข้อมูลก่อนตัดสินใจลงทุน..