ผมเป็นหมอครับ มีความสนใจในเรื่องเบาหวานเป็นพิเศษ
และกำลังทำเพจเกี่ยวกับเบาหวาน Facebook :
https://www.facebook.com/qiniccom/
สำหรับใครที่มีคำถาม หรืออยากแชร์ประสบการณ์ในการดูแลรักษา ผมยินดีครับ
----------------------------------------------------------------------------------------------------------
อาจจะยาวนิดนึง อ่านแค่หัวข้อ ถ้ารู้สึกว่าเข้ากับเรา ก็ค่อยอ่านต่อครับ
ผมอ่านดูแล้วมีประโยชน์ดี เลยอยากนำมาบอกต่อครับ
เพราะเบาหวานเป็นโรคที่ขึ้นกับรูปแบบชีวิต ผลการรักษาเลยขึ้นกับตัวเราเองเป็นหลัก
ความเข้าใจในตัวโรคอย่างถูกต้องจะทำให้ผลการรักษาดีขึ้นมากครับ
ความเชื่อลำดับที่ 1 : แป้งและน้ำตาลเท่านั้นที่ก่อเบาหวาน
Fact : เนื่องจากโรคนี้มีชื่อว่า “เบาหวาน” ทำให้หลายคนเข้าใจว่า ปัจจัยก่อโรคเกิดจากการกินแป้งหรือน้ำตาลเป็นหลัก แต่นักวิจัยจากโรงเรียนสาธารณสุขฮาร์วาร์ด (Harvard School of Public Health: HSPH) ประเทศสหรัฐอเมริกาได้ทำการศึกษาวิจัยพบว่า เนื้อสัตว์ใหญ่จำพวกเนื้อแดง (Red Meat) เช่น เนื้อวัว เนื้อหมู รวมทั้งเนื้อที่ผ่านการปรุงแต่งเช่น ไส้กรอก เบคอน แฮม และอื่นๆ ก็เป็นตัวการก่อโรคเบาหวานเช่นกัน
จากการศึกษาพบว่า นอกจากแป้งและน้ำตาลแล้ว ไขมันอิ่มตัวซึ่งมีมากในเนื้อสัตว์ใหญ่ กลับเป็นอีกตัวการหนึ่งที่ก่อโรคเบาหวาน เพราะไขมันอิ่มตัวจะไปยับยั้งให้อินซูลินออกฤทธิ์ได้น้อยลง ทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดลดลงได้ช้า และเมื่อน้ำตาลไม่ลด ตับอ่อนจึงต้องผลิตอินซูลินออกมาเพิ่มเกินกว่าปกติ เพื่อให้ระดับน้ำตาลในเลือดลดลง
นี่จึงเป็นสาเหตุที่ทำให้ตับอ่อนต้องทำงานหนักเกินไปและเสื่อมสภาพลงเรื่อยๆ จนไม่สามารถผลิตอินซูลินได้เหมือนตอนที่ตับอ่อนยังทำงานเป็นปกติ ซึ่งจะนำไปสู่โรคเบาหวานในที่สุด ความคิดที่ว่า หากเรากินเนื้อสัตว์ใหญ่เต็มที่ แต่ควบคุมการกินแป้งและน้ำตาลให้อยู่ในปริมาณไม่มาก จะไม่มีสิทธิ์เป็นโรคเบาหวาน จึงอาจเป็นความคิดที่ไม่ถูกต้องเต็มร้อยเปอร์เซ็นต์
ทำความเข้าใจกับความเชื่อนี้กันใหม่
How to Fix : แม้เนื้อสัตว์ใหญ่จะไม่ใช่ตัวเลือกที่ดีแต่การกินอาหารประเภทโปรตีนและไขมันนั้นถือเป็นสิ่งที่ร่างกายเราขาดไม่ได้ดังนั้น เราจึงควรปรับเปลี่ยนจากเนื้อสัตว์เป็นอาหารประเภทอื่นๆ แทน ได้แก่
กินโปรตีนจากพืชและปลาเป็นหลัก วอลเตอร์ วิลเลตต์ (Walter Willett) นักโภชนาการชาวอเมริกัน หนึ่งในผู้ดูแลงานวิจัยข้างต้น แนะนำว่า คนที่เป็นเบาหวานควรหลีกเลี่ยงการกินเนื้อแดงรวมทั้งผลิตภัณฑ์แปรรูปจากเนื้อแดงแล้วหันมากินโปรตีนจากแหล่งอื่น เช่น โปรตีนจากเมล็ดธัญพืชหรือโฮลเกรน ถั่ว เต้าหู้ รวมทั้งเนื้อปลาที่มีไขมันต่ำเพื่อให้ร่างกายได้รับโปรตีนที่จำเป็น โดยไม่ต้องรับไขมันปริมาณมากเข้าไปด้วย
กินไขมันไม่อิ่มตัว ไขมันอิ่มตัวคือปัจจัยเพิ่มความเสี่ยงเบาหวาน ทางเลี่ยงที่จะทำให้ร่างกายได้รับไขมันโดยไม่ทำร้ายสุขภาพจึงเป็นการเลือกกินไขมันไม่อิ่มตัว ซึ่งมีคุณสมบัติช่วยลดไขมันชนิดร้ายในร่างกายได้ เช่น ถั่วเปลือกแข็งต่างๆ เมล็ดทานตะวัน น้ำมันรำข้าว น้ำมันมะกอก อะโวคาโด
อย่างไรก็ตาม รองศาสตราจารย์ดร.วินัย ดะห์ลัน ผู้อำนวยการและผู้ก่อตั้งศูนย์วิทยาศาสตร์ฮาลาล จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย แนะนำว่า ถึงเป็นไขมันชนิดดี แต่ก็ไม่ควรกินในปริมาณมากเกินไป เพราะจะเป็นโทษต่อระบบทางเดินอาหาร
ความเชื่อลำดับที่ 2 : ผู้ป่วยเบาหวานกินผักได้ไม่อั้น
Fact : แน่นอนว่าการกินผักนั้นเป็นสิ่งที่ดีต่อร่างกาย แต่สำหรับใครที่ป่วยเป็นเบาหวานอยู่ แม้แต่การกินผักก็ถือเป็นเรื่องที่ต้องระมัดระวังไม่ต่างจากการควบคุมอาหารอื่นๆ เลย
คำจำกัดความของคำว่า “ผัก” ที่กว้างเกินไป อาจทำให้เราเลือกกินผักอย่างผิดๆ ได้ เพราะในผักบางชนิด โดยเฉพาะผักประเภทหัวหรือรากถือเป็นผักที่มีคาร์โบไฮเดรตสูง หากกินมากๆ จึงอาจให้ผลไม่ต่างจากการกินแป้ง ซึ่งผักแต่ละประเภทมีความแตกต่างกัน คือ ผักประเภท ก เป็นผักที่มีน้ำเป็นส่วนประกอบมาก ให้พลังงานน้อย ซึ่งได้แก่ ผักใบเขียวต่างๆ อาทิ ผักบุ้ง ผักกวางตุ้ง ผักปวยเล้ง ผักกาด กะหล่ำปลี ใบโหระพา ใบกะเพรา บวบ แตงกวา มะเขือเทศ แต่สำหรับ ผักประเภท ข เป็นผักที่ให้พลังงานมากกว่า และไม่ควรชะล่าใจในการกิน โดยผักกลุ่มนี้ อาทิ ฟักทอง แครอต บรอกโคลี มะละกอดิบ หน่อไม้ มะระ หอมหัวใหญ่ เห็ดฟาง ถั่วฝักยาว ถั่วงอก ดังนั้น ผักที่ผู้ป่วยเบาหวานสามารถกินได้ไม่จำกัดจึงเป็นผักประเภท ก เท่านั้น ส่วนผักประเภท ข นับเป็นผักในกลุ่มที่ควรควบคุมปริมาณ เพราะหากกินมากไป อาจทำให้น้ำตาลในเลือดเพิ่มขึ้นโดยไม่รู้ตัว
ทำความเข้าใจกับความเชื่อนี้กันใหม่
How to Fix : การกินผักให้เหมาะสมสำหรับผู้ป่วยเบาหวานทำได้ดังนี้
ปรับลดปริมาณผักให้สมดุล ในการปรับปริมาณผักให้สมดุลนั้น อาจารย์รุ้งระวีบอกไว้ว่า หากผู้ป่วยเบาหวานบางคนต้องการกินผักประเภท ข ก็สามารถกินได้ แต่ต้องลดการกินอาหารในหมวดอื่นๆ ทดแทน
กินผักสดแทนผักทอด ศาสตราจารย์เกียรติคุณ แพทย์หญิงวรรณี นิธิยานันท์ ที่ปรึกษาศูนย์เบาหวานศิริราช ให้คำแนะนำเพิ่มเติมว่า หากหิวระหว่างวัน แนะนำให้กินผักแก้หิวได้ แต่ควรเป็นผักใบ จะนำไปต้มหรือกินสดๆ ก็ได้ แต่ไม่ควรนำไปทอด เพราะจะทำให้เกิดโรคความดันโลหิตสูงตามมาได้
กล่าวคือ แม้ผู้ป่วยเบาหวานจะได้รับคำแนะนำให้กินผักเป็นอาหารยืนพื้น แต่ก็ต้องเลือกให้ถูกประเภทด้วย ไม่อย่างนั้นอาหารที่มีประโยชน์อาจกลายเป็นโทษได้
ผลไม้
ความเชื่อลำดับที่ 3 : น้ำตาลจากผลไม้คือน้ำตาลที่ปลอดภัย
Fact : ผู้ป่วยเบาหวานหลายคนจำต้องตัดใจจากขนมหวานของโปรด เพื่อควบคุมระดับน้ำตาลไม่ให้เพิ่มขึ้น ด้วยเหตุนี้ ผลไม้จึงกลายเป็นตัวเลือกที่น่าสนใจ เพราะใครๆ ต่างก็คิดว่าผลไม้นั้นมีประโยชน์ต่อร่างกาย แถมยังให้แคลอรีต่ำกว่าขนมหวานอีกด้วย แต่ในความเป็นจริง อาจารย์สุระภี เสริมพณิชกิจ กรรมการสมาคมนักกำหนดอาหารแห่งประเทศไทยและที่ปรึกษาด้านโภชนบำบัด ฝ่ายโภชนาการ โรงพยาบาลรามาธิบดี เคยกล่าวไว้ว่า พฤติกรรมการกินผลไม้ของผู้ป่วยเบาหวานกลับกลายเป็นตัวการหนึ่งที่ทำให้น้ำตาลในเลือดพุ่งขึ้นสูงกว่าเดิม เนื่องจากในผลไม้มีน้ำตาลฟรักโทส (Fructose) ซึ่งเมื่อกินเข้าไปจะแปรเปลี่ยนเป็นน้ำตาลกลูโคส และทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูงขึ้นได้ (ดูรายละเอียดเพิ่มเติมในนิตยสาร ชีวจิต ฉบับที่ 323 วันที่ 16 มีนาคม 2555)
ข้อมูลจากหนังสือเรื่อง โภชนาการกับผลไม้ ระบุถึงข้อควรระวังในการกินผลไม้สำหรับผู้ป่วยเบาหวานเพิ่มเติมว่า “สำหรับผู้ป่วยเบาหวาน ถึงแม้จะมีรายงานว่า ผลไม้ส่วนใหญ่มีค่าดัชนีน้ำตาลต่ำ แต่ข้อมูลเกี่ยวกับค่าดัชนีน้ำตาลของผลไม้ยังมีไม่ครบถ้วน ดังนั้นถึงแม้ผู้ป่วยเบาหวานจะสามารถเลือกรับประทานผลไม้ได้หลากหลายชนิด แต่ควรระมัดระวังเรื่องปริมาณและชนิดของผลไม้ที่บริโภคด้วย”
ทำความเข้าใจกับความเชื่อนี้กันใหม่
How to Fix : อ่านข้อมูลด้านบนแล้วก็อย่าเพิ่งตกใจจนไม่กล้ากินผลไม้ เพราะน้ำตาลในผลไม้ไม่ได้น่ากลัวแต่อย่างใด เพียงแค่เรารู้จักปรับวิธีกินให้ได้สัดส่วนที่เหมาะสมก็เป็นอันใช้ได้เริ่มจากปฏิบัติตามคำแนะนำของอาจารย์สุระภี ที่กล่าวถึงหลักการกินผลไม้ในหนึ่งมื้อสำหรับผู้ป่วยเบาหวาน คือ…
ผลไม้รสหวานจัด เช่น มะม่วงสุก กล้วยหอม กินได้ 6 คำ
ผลไม้รสหวานปานกลาง เช่น ลิ้นจี่ องุ่น สับปะรดกินได้ 8 – 10 คำ
ผลไม้รสหวานน้อย เช่น ชมพู่ ฝรั่ง แก้วมังกร กินได้ 10 – 15 คำ
สมาคมโรคเบาหวานแห่งประเทศไทยให้ข้อมูลเพิ่มเติมว่าผู้ป่วยเบาหวานควรเลือกกินผลไม้เพียงมื้อละ 1 ชนิด วันละ 2 – 3 ครั้งหลังอาหาร เพราะการกินผลไม้ครั้งละมาก ๆ แม้จะเป็นผลไม้ที่ไม่หวาน ก็อาจทำให้น้ำตาลในเลือดขึ้นสูงได้ นอกจากนั้นควรเลี่ยงผลไม้ตากแห้ง ผลไม้กวน ผลไม้เชื่อม ผลไม้แช่อิ่ม และผลไม้กระป๋อง ควรกินผลไม้สด เพราะจะช่วยควบคุมอาการเบาหวานได้ดี โดยก่อนจะเลือกกินผลไม้ ลองดูปริมาณน้ำตาลดังตารางต่อไปนี้ก่อน
ความเชื่อลำดับที่ 4 : เบาหวาน เป็นโรคของคนอ้วน
Fact : เมื่อพูดถึงโรคเบาหวาน คำจำกัดความของโรคนี้มักจะมาพร้อมกับภาพของคนอ้วน เนื่องจากคนเป็นโรคนี้ส่วนใหญ่จะอยู่ในช่วงวัยผู้ใหญ่ไปจนถึงวัยสูงอายุ และส่วนมากคนที่เป็นจะมีรูปร่างค่อนไปทางเจ้าเนื้อ ประกอบกับโรคเบาหวานนั้นเกี่ยวข้องกับพฤติกรรมการกินเป็นหลักสำคัญ หลาย ๆ คนจึงอาจคิดว่า หากเราเป็นคนรูปร่างผอมคงไม่มีทางเป็นโรคนี้ได้
แต่หากถามต่อว่า ผู้ใหญ่ที่ไม่ได้เป็นโรคเบาหวานมาตั้งแต่เด็กและไม่ได้อ้วนแต่อย่างใด จะมีโอกาสเป็นเบาหวานได้หรือไม่ คำตอบคือ “คนไม่อ้วนมีความเสี่ยงน้อยกว่า” อย่างไรก็ตาม สำหรับคนผอมเอง หากไม่ควบคุมอาหารหรือเลือกกินอาหารที่เป็นโทษต่อร่างกาย วันหนึ่งโรคเบาหวานก็อาจมาเยือนได้เหมือนกัน
ทำความเข้าใจกับความเชื่อนี้กันใหม่
How to Fix : สำหรับการดูแลโรคเบาหวานจากสาเหตุนี้ อาจมีความแตกต่างออกไปจากข้ออื่นๆ โดยจะพูดถึงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสำหรับหญิงตั้งครรภ์ เพื่อไม่ให้ลูกเกิดมาเป็นเบาหวานรวมทั้งการดูแลตัวเองสำหรับคนผอมที่ไม่อยากเป็นเบาหวานดังเช่น
ดูแลสุขภาพหญิงตั้งครรภ์ เริ่มจากคุณหมอไกรสิทธิ์ที่แนะนำให้คุณแม่ที่กำลังตั้งครรภ์ใส่ใจเรื่องสุขภาพของลูกน้อยในครรภ์ด้วย เพื่อให้ทารกไม่เกิดภาวะขาดอาหาร มีน้ำหนักตัวอยู่ในเกณฑ์ปกติ คือประมาณ 3,000 กิโลกรัม
กินอาหารค่าดัชนีน้ำตาลต่ำ
ออกกำลังกาย การออกกำลังกายเป็นหนึ่งในหลักการดูแลสุขภาพของผู้ป่วยทุกโรค โดยเฉพาะโรคเบาหวาน ซึ่งเป็นโรคที่มีความสัมพันธ์กับการรับพลังงานจากอาหาร
ทั้งนี้เป็นเพราะว่าการออกกำลังกายจะช่วยเผาผลาญกลูโคสในร่างกาย ทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดลดลงได้ รู้อย่างนี้แล้ว อย่าลืมลุกขึ้นมาขยับตัวกันวันละนิดวันละหน่อยโรคเบาหวานจะได้ไม่มากวนใจ
ความเชื่อลำดับที่ 5 : คนที่บ้านเป็นเบาหวาน ลูกหลานต้องเป็นด้วย
Fact : อย่างที่ทราบกันว่า ปัจจัยอย่างหนึ่งที่ก่อโรคเบาหวานคือพันธุกรรมและด้วยตัวเลขสถิติผู้ป่วยเบาหวานทั้งในประเทศไทยและทั่วโลกที่ยังคงพุ่งขึ้นสูงนั่นจึงหมายความว่า บนโลกใบนี้มีบุคคลที่มียีนเบาหวานในร่างกายหลายร้อยล้านคนเลยทีเดียว
อาจารย์ศัลยา คงสมบูรณ์เวช นักกำหนดอาหารวิชาชีพ ผู้เขียนหนังสือเรื่อง กินอย่างไรไม่อ้วน ไม่มีโรค อธิบายว่า “ลักษณะพันธุกรรมของชาวเอเชียถือว่ามียีนประหยัด (Thrifty Gene) ซึ่งทำหน้าที่สะสมอาหารที่กินอย่างเหลือเฟือไว้ในรูปของไขมันที่หน้าท้องเพื่อใช้ในยามที่ขาดแคลนอาหาร” ลักษณะแบบนี้จึงเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้คนเอเชียอ้วนลงพุงได้ง่าย ยิ่งคนที่กินอาหารมาก แต่ไม่ค่อยได้ใช้พลังงาน ก็จะเกิดปัญหาการดื้ออินซูลินและเป็นเบาหวานตามมา
อาจารย์วรรณี ผู้เชี่ยวชาญจากศูนย์เบาหวานศิริราช กล่าวว่า พันธุกรรมไม่ได้มีส่วนก่อโรคเบาหวานมากเท่าไร เพราะคนเป็นเบาหวานส่วนใหญ่มักเกิดจากปัจจัยอื่นๆ มากกว่า ฉะนั้น ความเชื่อที่ว่า หากคนในครอบครัวเป็นเบาหวานแล้ว เราจะเป็นโรคนี้ด้วยจึงไม่จริงเสมอไป โดยเฉพาะคนที่เพิ่งพบว่าตนเองเป็นเบาหวานตอนอายุมากแล้ว
ทำความเข้าใจกับความเชื่อนี้กันใหม่
How to Fix : ในเมื่อเรื่องของพันธุกรรม คือเรื่องเกี่ยวกับการสืบทอดเชื้อสายรวมทั้งยีนก่อโรคไปยังคนรุ่นหลังๆ จุดเริ่มต้นที่ดีจึงเป็นการป้องกันตัวเองจากโรคนี้ตั้งแต่เนิ่นๆ ดังนี้
ปลูกฝังให้ลูกกินอาหารสุขภาพ โดยเฉพาะคุณพ่อหรือคุณแม่ที่ป่วยเป็นเบาหวานอยู่แล้ว ควรปลูกฝังให้ลูกเริ่มต้นดูแลสุขภาพของตนตั้งแต่เด็ก เพื่อป้องกันปัญหาโรคเบาหวานที่อาจตามมา
วิธีง่ายๆ คือ ปรับอาหารสำหรับคนในครอบครัวให้เป็นอาหารเพื่อสุขภาพทุกๆ มื้อ โดยพยายามเน้นอาหารจากธรรมชาติที่ไม่ผ่านกระบวนการปรุงแต่งใดๆ ไม่ปรุงรสให้หวานมัน เค็ม แต่อาจจะกินรสเผ็ดและเปรี้ยวได้บ้างเล็กน้อย นอกเหนือจากการปรับเปลี่ยนความเชื่อให้ถูกต้องแล้ว สิ่งที่จะช่วยให้เรารอดพ้นจากเบาหวานได้ คือการลงมือปฏิบัติ
ขอบคุณข้อมูลจาก นิตยสาร ชีวจิต ครับ
** ความเชื่อผิดๆ เกี่ยวกับเบาหวาน **
และกำลังทำเพจเกี่ยวกับเบาหวาน Facebook : https://www.facebook.com/qiniccom/
สำหรับใครที่มีคำถาม หรืออยากแชร์ประสบการณ์ในการดูแลรักษา ผมยินดีครับ
----------------------------------------------------------------------------------------------------------
อาจจะยาวนิดนึง อ่านแค่หัวข้อ ถ้ารู้สึกว่าเข้ากับเรา ก็ค่อยอ่านต่อครับ
ผมอ่านดูแล้วมีประโยชน์ดี เลยอยากนำมาบอกต่อครับ
เพราะเบาหวานเป็นโรคที่ขึ้นกับรูปแบบชีวิต ผลการรักษาเลยขึ้นกับตัวเราเองเป็นหลัก
ความเข้าใจในตัวโรคอย่างถูกต้องจะทำให้ผลการรักษาดีขึ้นมากครับ
ความเชื่อลำดับที่ 1 : แป้งและน้ำตาลเท่านั้นที่ก่อเบาหวาน
Fact : เนื่องจากโรคนี้มีชื่อว่า “เบาหวาน” ทำให้หลายคนเข้าใจว่า ปัจจัยก่อโรคเกิดจากการกินแป้งหรือน้ำตาลเป็นหลัก แต่นักวิจัยจากโรงเรียนสาธารณสุขฮาร์วาร์ด (Harvard School of Public Health: HSPH) ประเทศสหรัฐอเมริกาได้ทำการศึกษาวิจัยพบว่า เนื้อสัตว์ใหญ่จำพวกเนื้อแดง (Red Meat) เช่น เนื้อวัว เนื้อหมู รวมทั้งเนื้อที่ผ่านการปรุงแต่งเช่น ไส้กรอก เบคอน แฮม และอื่นๆ ก็เป็นตัวการก่อโรคเบาหวานเช่นกัน
จากการศึกษาพบว่า นอกจากแป้งและน้ำตาลแล้ว ไขมันอิ่มตัวซึ่งมีมากในเนื้อสัตว์ใหญ่ กลับเป็นอีกตัวการหนึ่งที่ก่อโรคเบาหวาน เพราะไขมันอิ่มตัวจะไปยับยั้งให้อินซูลินออกฤทธิ์ได้น้อยลง ทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดลดลงได้ช้า และเมื่อน้ำตาลไม่ลด ตับอ่อนจึงต้องผลิตอินซูลินออกมาเพิ่มเกินกว่าปกติ เพื่อให้ระดับน้ำตาลในเลือดลดลง
นี่จึงเป็นสาเหตุที่ทำให้ตับอ่อนต้องทำงานหนักเกินไปและเสื่อมสภาพลงเรื่อยๆ จนไม่สามารถผลิตอินซูลินได้เหมือนตอนที่ตับอ่อนยังทำงานเป็นปกติ ซึ่งจะนำไปสู่โรคเบาหวานในที่สุด ความคิดที่ว่า หากเรากินเนื้อสัตว์ใหญ่เต็มที่ แต่ควบคุมการกินแป้งและน้ำตาลให้อยู่ในปริมาณไม่มาก จะไม่มีสิทธิ์เป็นโรคเบาหวาน จึงอาจเป็นความคิดที่ไม่ถูกต้องเต็มร้อยเปอร์เซ็นต์
ทำความเข้าใจกับความเชื่อนี้กันใหม่
How to Fix : แม้เนื้อสัตว์ใหญ่จะไม่ใช่ตัวเลือกที่ดีแต่การกินอาหารประเภทโปรตีนและไขมันนั้นถือเป็นสิ่งที่ร่างกายเราขาดไม่ได้ดังนั้น เราจึงควรปรับเปลี่ยนจากเนื้อสัตว์เป็นอาหารประเภทอื่นๆ แทน ได้แก่
กินโปรตีนจากพืชและปลาเป็นหลัก วอลเตอร์ วิลเลตต์ (Walter Willett) นักโภชนาการชาวอเมริกัน หนึ่งในผู้ดูแลงานวิจัยข้างต้น แนะนำว่า คนที่เป็นเบาหวานควรหลีกเลี่ยงการกินเนื้อแดงรวมทั้งผลิตภัณฑ์แปรรูปจากเนื้อแดงแล้วหันมากินโปรตีนจากแหล่งอื่น เช่น โปรตีนจากเมล็ดธัญพืชหรือโฮลเกรน ถั่ว เต้าหู้ รวมทั้งเนื้อปลาที่มีไขมันต่ำเพื่อให้ร่างกายได้รับโปรตีนที่จำเป็น โดยไม่ต้องรับไขมันปริมาณมากเข้าไปด้วย
กินไขมันไม่อิ่มตัว ไขมันอิ่มตัวคือปัจจัยเพิ่มความเสี่ยงเบาหวาน ทางเลี่ยงที่จะทำให้ร่างกายได้รับไขมันโดยไม่ทำร้ายสุขภาพจึงเป็นการเลือกกินไขมันไม่อิ่มตัว ซึ่งมีคุณสมบัติช่วยลดไขมันชนิดร้ายในร่างกายได้ เช่น ถั่วเปลือกแข็งต่างๆ เมล็ดทานตะวัน น้ำมันรำข้าว น้ำมันมะกอก อะโวคาโด
อย่างไรก็ตาม รองศาสตราจารย์ดร.วินัย ดะห์ลัน ผู้อำนวยการและผู้ก่อตั้งศูนย์วิทยาศาสตร์ฮาลาล จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย แนะนำว่า ถึงเป็นไขมันชนิดดี แต่ก็ไม่ควรกินในปริมาณมากเกินไป เพราะจะเป็นโทษต่อระบบทางเดินอาหาร
ความเชื่อลำดับที่ 2 : ผู้ป่วยเบาหวานกินผักได้ไม่อั้น
Fact : แน่นอนว่าการกินผักนั้นเป็นสิ่งที่ดีต่อร่างกาย แต่สำหรับใครที่ป่วยเป็นเบาหวานอยู่ แม้แต่การกินผักก็ถือเป็นเรื่องที่ต้องระมัดระวังไม่ต่างจากการควบคุมอาหารอื่นๆ เลย
คำจำกัดความของคำว่า “ผัก” ที่กว้างเกินไป อาจทำให้เราเลือกกินผักอย่างผิดๆ ได้ เพราะในผักบางชนิด โดยเฉพาะผักประเภทหัวหรือรากถือเป็นผักที่มีคาร์โบไฮเดรตสูง หากกินมากๆ จึงอาจให้ผลไม่ต่างจากการกินแป้ง ซึ่งผักแต่ละประเภทมีความแตกต่างกัน คือ ผักประเภท ก เป็นผักที่มีน้ำเป็นส่วนประกอบมาก ให้พลังงานน้อย ซึ่งได้แก่ ผักใบเขียวต่างๆ อาทิ ผักบุ้ง ผักกวางตุ้ง ผักปวยเล้ง ผักกาด กะหล่ำปลี ใบโหระพา ใบกะเพรา บวบ แตงกวา มะเขือเทศ แต่สำหรับ ผักประเภท ข เป็นผักที่ให้พลังงานมากกว่า และไม่ควรชะล่าใจในการกิน โดยผักกลุ่มนี้ อาทิ ฟักทอง แครอต บรอกโคลี มะละกอดิบ หน่อไม้ มะระ หอมหัวใหญ่ เห็ดฟาง ถั่วฝักยาว ถั่วงอก ดังนั้น ผักที่ผู้ป่วยเบาหวานสามารถกินได้ไม่จำกัดจึงเป็นผักประเภท ก เท่านั้น ส่วนผักประเภท ข นับเป็นผักในกลุ่มที่ควรควบคุมปริมาณ เพราะหากกินมากไป อาจทำให้น้ำตาลในเลือดเพิ่มขึ้นโดยไม่รู้ตัว
ทำความเข้าใจกับความเชื่อนี้กันใหม่
How to Fix : การกินผักให้เหมาะสมสำหรับผู้ป่วยเบาหวานทำได้ดังนี้
ปรับลดปริมาณผักให้สมดุล ในการปรับปริมาณผักให้สมดุลนั้น อาจารย์รุ้งระวีบอกไว้ว่า หากผู้ป่วยเบาหวานบางคนต้องการกินผักประเภท ข ก็สามารถกินได้ แต่ต้องลดการกินอาหารในหมวดอื่นๆ ทดแทน
กินผักสดแทนผักทอด ศาสตราจารย์เกียรติคุณ แพทย์หญิงวรรณี นิธิยานันท์ ที่ปรึกษาศูนย์เบาหวานศิริราช ให้คำแนะนำเพิ่มเติมว่า หากหิวระหว่างวัน แนะนำให้กินผักแก้หิวได้ แต่ควรเป็นผักใบ จะนำไปต้มหรือกินสดๆ ก็ได้ แต่ไม่ควรนำไปทอด เพราะจะทำให้เกิดโรคความดันโลหิตสูงตามมาได้
กล่าวคือ แม้ผู้ป่วยเบาหวานจะได้รับคำแนะนำให้กินผักเป็นอาหารยืนพื้น แต่ก็ต้องเลือกให้ถูกประเภทด้วย ไม่อย่างนั้นอาหารที่มีประโยชน์อาจกลายเป็นโทษได้
ผลไม้
ความเชื่อลำดับที่ 3 : น้ำตาลจากผลไม้คือน้ำตาลที่ปลอดภัย
Fact : ผู้ป่วยเบาหวานหลายคนจำต้องตัดใจจากขนมหวานของโปรด เพื่อควบคุมระดับน้ำตาลไม่ให้เพิ่มขึ้น ด้วยเหตุนี้ ผลไม้จึงกลายเป็นตัวเลือกที่น่าสนใจ เพราะใครๆ ต่างก็คิดว่าผลไม้นั้นมีประโยชน์ต่อร่างกาย แถมยังให้แคลอรีต่ำกว่าขนมหวานอีกด้วย แต่ในความเป็นจริง อาจารย์สุระภี เสริมพณิชกิจ กรรมการสมาคมนักกำหนดอาหารแห่งประเทศไทยและที่ปรึกษาด้านโภชนบำบัด ฝ่ายโภชนาการ โรงพยาบาลรามาธิบดี เคยกล่าวไว้ว่า พฤติกรรมการกินผลไม้ของผู้ป่วยเบาหวานกลับกลายเป็นตัวการหนึ่งที่ทำให้น้ำตาลในเลือดพุ่งขึ้นสูงกว่าเดิม เนื่องจากในผลไม้มีน้ำตาลฟรักโทส (Fructose) ซึ่งเมื่อกินเข้าไปจะแปรเปลี่ยนเป็นน้ำตาลกลูโคส และทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูงขึ้นได้ (ดูรายละเอียดเพิ่มเติมในนิตยสาร ชีวจิต ฉบับที่ 323 วันที่ 16 มีนาคม 2555)
ข้อมูลจากหนังสือเรื่อง โภชนาการกับผลไม้ ระบุถึงข้อควรระวังในการกินผลไม้สำหรับผู้ป่วยเบาหวานเพิ่มเติมว่า “สำหรับผู้ป่วยเบาหวาน ถึงแม้จะมีรายงานว่า ผลไม้ส่วนใหญ่มีค่าดัชนีน้ำตาลต่ำ แต่ข้อมูลเกี่ยวกับค่าดัชนีน้ำตาลของผลไม้ยังมีไม่ครบถ้วน ดังนั้นถึงแม้ผู้ป่วยเบาหวานจะสามารถเลือกรับประทานผลไม้ได้หลากหลายชนิด แต่ควรระมัดระวังเรื่องปริมาณและชนิดของผลไม้ที่บริโภคด้วย”
ทำความเข้าใจกับความเชื่อนี้กันใหม่
How to Fix : อ่านข้อมูลด้านบนแล้วก็อย่าเพิ่งตกใจจนไม่กล้ากินผลไม้ เพราะน้ำตาลในผลไม้ไม่ได้น่ากลัวแต่อย่างใด เพียงแค่เรารู้จักปรับวิธีกินให้ได้สัดส่วนที่เหมาะสมก็เป็นอันใช้ได้เริ่มจากปฏิบัติตามคำแนะนำของอาจารย์สุระภี ที่กล่าวถึงหลักการกินผลไม้ในหนึ่งมื้อสำหรับผู้ป่วยเบาหวาน คือ…
ผลไม้รสหวานจัด เช่น มะม่วงสุก กล้วยหอม กินได้ 6 คำ
ผลไม้รสหวานปานกลาง เช่น ลิ้นจี่ องุ่น สับปะรดกินได้ 8 – 10 คำ
ผลไม้รสหวานน้อย เช่น ชมพู่ ฝรั่ง แก้วมังกร กินได้ 10 – 15 คำ
สมาคมโรคเบาหวานแห่งประเทศไทยให้ข้อมูลเพิ่มเติมว่าผู้ป่วยเบาหวานควรเลือกกินผลไม้เพียงมื้อละ 1 ชนิด วันละ 2 – 3 ครั้งหลังอาหาร เพราะการกินผลไม้ครั้งละมาก ๆ แม้จะเป็นผลไม้ที่ไม่หวาน ก็อาจทำให้น้ำตาลในเลือดขึ้นสูงได้ นอกจากนั้นควรเลี่ยงผลไม้ตากแห้ง ผลไม้กวน ผลไม้เชื่อม ผลไม้แช่อิ่ม และผลไม้กระป๋อง ควรกินผลไม้สด เพราะจะช่วยควบคุมอาการเบาหวานได้ดี โดยก่อนจะเลือกกินผลไม้ ลองดูปริมาณน้ำตาลดังตารางต่อไปนี้ก่อน
ความเชื่อลำดับที่ 4 : เบาหวาน เป็นโรคของคนอ้วน
Fact : เมื่อพูดถึงโรคเบาหวาน คำจำกัดความของโรคนี้มักจะมาพร้อมกับภาพของคนอ้วน เนื่องจากคนเป็นโรคนี้ส่วนใหญ่จะอยู่ในช่วงวัยผู้ใหญ่ไปจนถึงวัยสูงอายุ และส่วนมากคนที่เป็นจะมีรูปร่างค่อนไปทางเจ้าเนื้อ ประกอบกับโรคเบาหวานนั้นเกี่ยวข้องกับพฤติกรรมการกินเป็นหลักสำคัญ หลาย ๆ คนจึงอาจคิดว่า หากเราเป็นคนรูปร่างผอมคงไม่มีทางเป็นโรคนี้ได้
แต่หากถามต่อว่า ผู้ใหญ่ที่ไม่ได้เป็นโรคเบาหวานมาตั้งแต่เด็กและไม่ได้อ้วนแต่อย่างใด จะมีโอกาสเป็นเบาหวานได้หรือไม่ คำตอบคือ “คนไม่อ้วนมีความเสี่ยงน้อยกว่า” อย่างไรก็ตาม สำหรับคนผอมเอง หากไม่ควบคุมอาหารหรือเลือกกินอาหารที่เป็นโทษต่อร่างกาย วันหนึ่งโรคเบาหวานก็อาจมาเยือนได้เหมือนกัน
ทำความเข้าใจกับความเชื่อนี้กันใหม่
How to Fix : สำหรับการดูแลโรคเบาหวานจากสาเหตุนี้ อาจมีความแตกต่างออกไปจากข้ออื่นๆ โดยจะพูดถึงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสำหรับหญิงตั้งครรภ์ เพื่อไม่ให้ลูกเกิดมาเป็นเบาหวานรวมทั้งการดูแลตัวเองสำหรับคนผอมที่ไม่อยากเป็นเบาหวานดังเช่น
ดูแลสุขภาพหญิงตั้งครรภ์ เริ่มจากคุณหมอไกรสิทธิ์ที่แนะนำให้คุณแม่ที่กำลังตั้งครรภ์ใส่ใจเรื่องสุขภาพของลูกน้อยในครรภ์ด้วย เพื่อให้ทารกไม่เกิดภาวะขาดอาหาร มีน้ำหนักตัวอยู่ในเกณฑ์ปกติ คือประมาณ 3,000 กิโลกรัม
กินอาหารค่าดัชนีน้ำตาลต่ำ
ออกกำลังกาย การออกกำลังกายเป็นหนึ่งในหลักการดูแลสุขภาพของผู้ป่วยทุกโรค โดยเฉพาะโรคเบาหวาน ซึ่งเป็นโรคที่มีความสัมพันธ์กับการรับพลังงานจากอาหาร
ทั้งนี้เป็นเพราะว่าการออกกำลังกายจะช่วยเผาผลาญกลูโคสในร่างกาย ทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดลดลงได้ รู้อย่างนี้แล้ว อย่าลืมลุกขึ้นมาขยับตัวกันวันละนิดวันละหน่อยโรคเบาหวานจะได้ไม่มากวนใจ
ความเชื่อลำดับที่ 5 : คนที่บ้านเป็นเบาหวาน ลูกหลานต้องเป็นด้วย
Fact : อย่างที่ทราบกันว่า ปัจจัยอย่างหนึ่งที่ก่อโรคเบาหวานคือพันธุกรรมและด้วยตัวเลขสถิติผู้ป่วยเบาหวานทั้งในประเทศไทยและทั่วโลกที่ยังคงพุ่งขึ้นสูงนั่นจึงหมายความว่า บนโลกใบนี้มีบุคคลที่มียีนเบาหวานในร่างกายหลายร้อยล้านคนเลยทีเดียว
อาจารย์ศัลยา คงสมบูรณ์เวช นักกำหนดอาหารวิชาชีพ ผู้เขียนหนังสือเรื่อง กินอย่างไรไม่อ้วน ไม่มีโรค อธิบายว่า “ลักษณะพันธุกรรมของชาวเอเชียถือว่ามียีนประหยัด (Thrifty Gene) ซึ่งทำหน้าที่สะสมอาหารที่กินอย่างเหลือเฟือไว้ในรูปของไขมันที่หน้าท้องเพื่อใช้ในยามที่ขาดแคลนอาหาร” ลักษณะแบบนี้จึงเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้คนเอเชียอ้วนลงพุงได้ง่าย ยิ่งคนที่กินอาหารมาก แต่ไม่ค่อยได้ใช้พลังงาน ก็จะเกิดปัญหาการดื้ออินซูลินและเป็นเบาหวานตามมา
อาจารย์วรรณี ผู้เชี่ยวชาญจากศูนย์เบาหวานศิริราช กล่าวว่า พันธุกรรมไม่ได้มีส่วนก่อโรคเบาหวานมากเท่าไร เพราะคนเป็นเบาหวานส่วนใหญ่มักเกิดจากปัจจัยอื่นๆ มากกว่า ฉะนั้น ความเชื่อที่ว่า หากคนในครอบครัวเป็นเบาหวานแล้ว เราจะเป็นโรคนี้ด้วยจึงไม่จริงเสมอไป โดยเฉพาะคนที่เพิ่งพบว่าตนเองเป็นเบาหวานตอนอายุมากแล้ว
ทำความเข้าใจกับความเชื่อนี้กันใหม่
How to Fix : ในเมื่อเรื่องของพันธุกรรม คือเรื่องเกี่ยวกับการสืบทอดเชื้อสายรวมทั้งยีนก่อโรคไปยังคนรุ่นหลังๆ จุดเริ่มต้นที่ดีจึงเป็นการป้องกันตัวเองจากโรคนี้ตั้งแต่เนิ่นๆ ดังนี้
ปลูกฝังให้ลูกกินอาหารสุขภาพ โดยเฉพาะคุณพ่อหรือคุณแม่ที่ป่วยเป็นเบาหวานอยู่แล้ว ควรปลูกฝังให้ลูกเริ่มต้นดูแลสุขภาพของตนตั้งแต่เด็ก เพื่อป้องกันปัญหาโรคเบาหวานที่อาจตามมา
วิธีง่ายๆ คือ ปรับอาหารสำหรับคนในครอบครัวให้เป็นอาหารเพื่อสุขภาพทุกๆ มื้อ โดยพยายามเน้นอาหารจากธรรมชาติที่ไม่ผ่านกระบวนการปรุงแต่งใดๆ ไม่ปรุงรสให้หวานมัน เค็ม แต่อาจจะกินรสเผ็ดและเปรี้ยวได้บ้างเล็กน้อย นอกเหนือจากการปรับเปลี่ยนความเชื่อให้ถูกต้องแล้ว สิ่งที่จะช่วยให้เรารอดพ้นจากเบาหวานได้ คือการลงมือปฏิบัติ
ขอบคุณข้อมูลจาก นิตยสาร ชีวจิต ครับ