สวัสดีครับ/ค่ะ วันนี้พวกเราจะมาแนะนำโครงการของโรงเรียนเกี่ยวกับ มอก.
เนื่องด้วยโรงเรียนบุญวาทย์วิทยาลัย จ.ลำปาง ได้รับคัดเลือกเข้าร่วมค่ายยุวชน “อัศวิน มอก.” ประจำปี 2558 ที่จัดโดยสำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม(สมอ.) กระทรวงอุตสาหกรรม
มีผู้รับผิดชอบงาน/กิจกรรม คือ
น.ส. ปภาวี ถนอมจิตต์
นาย จิรายุ เจียรจินดา
น.ส. จิราวรรณ เทพชัย
น.ส. สุทธิพร ปันบุตร
นาย กิตติธัช เจียระไนรุ่งโรจน์
ครูที่ปรึกษาโครงการ
นางสาวรัชนก สุวรรณจักร์
และได้เป็นหนึ่งในสิบของโรงเรียนที่เข้ารอบชิงชนะเลิศ ซึ่งจะได้นำความรู้มาเผยแพร่เพื่อให้นักเรียนและประชาชนทั่วไปมีความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม(มอก.)
สามารถติดตามข่าวสารได้ที่ เพจ BWS ใส่ใจมอก.
https://www.facebook.com/knight.tisi.BWS/
รู้จัก สมอ.
สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (สมอ.) คือ หน่วยงานที่กำกับดูแลและควบคุมผลิตภัณฑ์ที่ขายภายในประเทศให้มีคุณภาพได้มาตรฐาน มีความปลอดภัยต่อผู้บริโภค และไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม รวมทั้งพัฒนาขีดความสามารถของภาคอุตสาหกรรมให้สามารถแข่งขันได้ในตลาดโลก
มอก.คืออะไร
มอก. หรือ มาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมหมายถึง ข้อกำหนดทางวิชาการที่สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (สมอ.) ได้กำหนดขึ้นเพื่อเป็นแนวทางแก่ผู้ผลิตในการผลิตสินค้าให้มีคุณภาพในระดับที่เหมาะสมกับการใช้งานมากที่สุดโดยจัดทำออกมาเป็นเอกสารและจัดพิมพ์เป็นเล่ม
เครื่องหมายมาตรฐานสำหรับผลิตภัณฑ์
1. เครื่องหมายมาตรฐานทั่วไป
เป็นมาตรฐานที่กำหนดเพื่อให้การรับรองคุณภาพผลิตภัณฑ์โดยทั่วไป โดยผู้ประกอบการที่ทำผลิตภัณฑ์สามารถยื่นขอใบอนุญาตแสดงเครื่องหมายมาตรฐานได้ด้วยความสมัครใจ เมื่อสำนักงานฯ ได้ตรวจสอบโรงงาน กรรมวิธีการผลิต และทดสอบผลิตภัณฑ์และเป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนดแล้ว สำนักงานฯ ก็จะอนุญาตให้แสดงเครื่องหมายมาตรฐานที่ผลิตภัณฑ์นั้นได้
ตัวอย่างสินค้าที่ได้เครื่องหมายมาตรฐานทั่วไป เช่น น้ำมันพืช ผงชูรส กระดาษเอสี่ ไส้แม็ก ดินสอ รองเท้านักเรียน เป็นต้น
2. เครื่องหมายมาตรฐานบังคับ
เป็นมาตรฐานที่กำหนดขึ้นเพื่อความปลอดภัยและเพื่อป้องกันความเสียหายอันอาจจะเกิดแก่ประชาชนหรือกิจการอุตสาหกรรมหรือเศรษฐกิจของประเทศ โดยการตราพระราชกฤษฎีกากำหนดให้ผลิตภัณฑ์นั้นๆ ต้องเป็นไปตามมาตรฐาน หรือที่เรียกว่า มาตรฐานบังคับ ซึ่งผู้ผลิต ผู้จำหน่ายและผู้นำเข้า จะต้องผลิต จำหน่ายและนำเข้าแต่ผลิตภัณฑ์ที่ได้มาตรฐาน ตามที่สำนักงานฯ ได้กำหนดไว้เท่านั้น หากไม่กระทำตามจะมีความผิดตามกฎหมาย
ตัวอย่างสินค้าที่ได้เครื่องหมายมาตรฐานบังคับ เช่น เครื่องใช้ไฟฟ้า แบตโทรศัพท์ ท่อพีวีซี ไม้ขีดไฟ ดินน้ำมัน ถังแก๊สหุงต้ม ปากกาเคมี เป็นต้น
3. มาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน
มผช. หรือ มาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน เป็นข้อกำหนดด้านคุณภาพที่เหมาะสมกับผลิตภัณฑ์ชุมชนให้เป็นที่เชื่อถือ เป็นที่ยอมรับ และสร้างความมั่นใจให้กับผู้บริโภคในการเลือกซื้อผลิตภัณฑ์ โดยมุ่งเน้นให้เกิดการพัฒนาอย่างยั่งยืน เพื่อยกระดับคุณภาพของผลิตภัณฑ์ชุมชนให้เป็นไปตามมาตรฐานที่กำหนด และสอดคล้องกับนโยบาย OTOP
ทำไมต้องเลือกสินค้าที่แสดงเครื่องหมายมาตรฐาน?
สินค้าที่แสดงเครื่องหมายมาตรฐาน เป็นสินค้าที่ผ่านการรับรองและตรวจสอบจาก สมอ. แล้วว่ามีคุณภาพได้มาตรฐานเป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนด ปลอดภัยในการอุปโภคบริโภค มีประสิทธิภาพในการใช้งาน และมีคุณภาพสมราคา ผู้บริโภคจึงควรตระหนักถึงความสำคัญในเรื่องนี้ เพื่อความปลอดภัยของตนเองและครอบครัว โปรดสังเกตเครื่องหมายมาตรฐานก่อนเลือกซื้อทุกครั้ง
ผู้บริโภคจะได้อะไร จากการใช้สินค้าที่มีเครื่องหมายมาตรฐาน
- สะดวกในการเลือกซื้อสินค้า เพียงแค่สังเกตเครื่องหมายมาตรฐานก็จะได้สินค้าดี มีคุณภาพ สมราคา
- ปลอดภัย และมั่นใจในประสิทธิภาพการใช้งาน
- คุ้มค่ากับเงินที่จ่ายไปสินค้ามีคุณภาพ ใช้ได้นาน
- ประหยัดค่าใช้จ่าย สามารถใช้อะไหล่ทดแทนกันได้ และเปลี่ยนเฉพาะส่วนที่เสีย
ผู้ผลิตจะได้อะไร จากการแสดงเครื่องหมายมาตรฐาน
- สร้างภาพลักษณ์ให้กับสินค้าว่ามีคุณภาพเป็นไปตามมาตรฐาน
- เพิ่มยอดขาย เพราะมีหลักประกันคุณภาพสินค้า
- ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการผลิต
- ช่วยให้ได้สินค้าที่มีคุณภาพสม่ำเสมอ
- ทำให้สินค้ามีคุณภาพดีขึ้น และมีราคาถูกลง
- เพิ่มโอกาสทางการค้า
ประโยชน์ที่ได้รับจาก มผช.
- ผู้ผลิตผลิตภัณฑ์ชุมชน มีความเข้าใจ และมีความรู้ในการผลิตสินค้าที่มีคุณภาพ ทำให้สินค้าที่ผลิตมีคุณภาพมากขึ้น
- สินค้าเป็นที่น่าเชื่อถือ และเป็นที่ต้องการของตลาด
- สามารถนำผลิตภัณฑ์เข้าคัดสรร OTOP Product Champion
- ได้รับการสนับสนุนเพื่อการพัฒนาที่เหมาะสมจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
ถ้าใช้สินค้าที่ไม่มีเครื่องหมาย มอก. อาจเกิดอะไรได้บ้าง ?
ถ้าใช้แบตเตอรี่โทรศัพท์ที่ไม่มี มอก. อาจทำให้ระเบิดได้
ถ้าใช้แบตสำรอง (Power bank) ที่ไม่มี มอก.
ดังนั้นเราจึงควรตระหนักถึงความสำคัญของการเลือกซื้อและเลือกใช้สินค้าที่มีเครื่องหมายมอก.ให้มากขึ้น
BWS ใส่ใจมอก.(อัศวินมอก.) : โครงการดีๆจากสมอ. โดยโรงเรียนบุญวาทย์วิทยาลัย จ.ลำปาง
เนื่องด้วยโรงเรียนบุญวาทย์วิทยาลัย จ.ลำปาง ได้รับคัดเลือกเข้าร่วมค่ายยุวชน “อัศวิน มอก.” ประจำปี 2558 ที่จัดโดยสำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม(สมอ.) กระทรวงอุตสาหกรรม
มีผู้รับผิดชอบงาน/กิจกรรม คือ
น.ส. ปภาวี ถนอมจิตต์
นาย จิรายุ เจียรจินดา
น.ส. จิราวรรณ เทพชัย
น.ส. สุทธิพร ปันบุตร
นาย กิตติธัช เจียระไนรุ่งโรจน์
ครูที่ปรึกษาโครงการ
นางสาวรัชนก สุวรรณจักร์
และได้เป็นหนึ่งในสิบของโรงเรียนที่เข้ารอบชิงชนะเลิศ ซึ่งจะได้นำความรู้มาเผยแพร่เพื่อให้นักเรียนและประชาชนทั่วไปมีความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม(มอก.)
สามารถติดตามข่าวสารได้ที่ เพจ BWS ใส่ใจมอก. https://www.facebook.com/knight.tisi.BWS/
รู้จัก สมอ.
สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (สมอ.) คือ หน่วยงานที่กำกับดูแลและควบคุมผลิตภัณฑ์ที่ขายภายในประเทศให้มีคุณภาพได้มาตรฐาน มีความปลอดภัยต่อผู้บริโภค และไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม รวมทั้งพัฒนาขีดความสามารถของภาคอุตสาหกรรมให้สามารถแข่งขันได้ในตลาดโลก
มอก.คืออะไร
มอก. หรือ มาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมหมายถึง ข้อกำหนดทางวิชาการที่สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (สมอ.) ได้กำหนดขึ้นเพื่อเป็นแนวทางแก่ผู้ผลิตในการผลิตสินค้าให้มีคุณภาพในระดับที่เหมาะสมกับการใช้งานมากที่สุดโดยจัดทำออกมาเป็นเอกสารและจัดพิมพ์เป็นเล่ม
เครื่องหมายมาตรฐานสำหรับผลิตภัณฑ์
1. เครื่องหมายมาตรฐานทั่วไป
เป็นมาตรฐานที่กำหนดเพื่อให้การรับรองคุณภาพผลิตภัณฑ์โดยทั่วไป โดยผู้ประกอบการที่ทำผลิตภัณฑ์สามารถยื่นขอใบอนุญาตแสดงเครื่องหมายมาตรฐานได้ด้วยความสมัครใจ เมื่อสำนักงานฯ ได้ตรวจสอบโรงงาน กรรมวิธีการผลิต และทดสอบผลิตภัณฑ์และเป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนดแล้ว สำนักงานฯ ก็จะอนุญาตให้แสดงเครื่องหมายมาตรฐานที่ผลิตภัณฑ์นั้นได้
ตัวอย่างสินค้าที่ได้เครื่องหมายมาตรฐานทั่วไป เช่น น้ำมันพืช ผงชูรส กระดาษเอสี่ ไส้แม็ก ดินสอ รองเท้านักเรียน เป็นต้น
2. เครื่องหมายมาตรฐานบังคับ
เป็นมาตรฐานที่กำหนดขึ้นเพื่อความปลอดภัยและเพื่อป้องกันความเสียหายอันอาจจะเกิดแก่ประชาชนหรือกิจการอุตสาหกรรมหรือเศรษฐกิจของประเทศ โดยการตราพระราชกฤษฎีกากำหนดให้ผลิตภัณฑ์นั้นๆ ต้องเป็นไปตามมาตรฐาน หรือที่เรียกว่า มาตรฐานบังคับ ซึ่งผู้ผลิต ผู้จำหน่ายและผู้นำเข้า จะต้องผลิต จำหน่ายและนำเข้าแต่ผลิตภัณฑ์ที่ได้มาตรฐาน ตามที่สำนักงานฯ ได้กำหนดไว้เท่านั้น หากไม่กระทำตามจะมีความผิดตามกฎหมาย
ตัวอย่างสินค้าที่ได้เครื่องหมายมาตรฐานบังคับ เช่น เครื่องใช้ไฟฟ้า แบตโทรศัพท์ ท่อพีวีซี ไม้ขีดไฟ ดินน้ำมัน ถังแก๊สหุงต้ม ปากกาเคมี เป็นต้น
3. มาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน
มผช. หรือ มาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน เป็นข้อกำหนดด้านคุณภาพที่เหมาะสมกับผลิตภัณฑ์ชุมชนให้เป็นที่เชื่อถือ เป็นที่ยอมรับ และสร้างความมั่นใจให้กับผู้บริโภคในการเลือกซื้อผลิตภัณฑ์ โดยมุ่งเน้นให้เกิดการพัฒนาอย่างยั่งยืน เพื่อยกระดับคุณภาพของผลิตภัณฑ์ชุมชนให้เป็นไปตามมาตรฐานที่กำหนด และสอดคล้องกับนโยบาย OTOP
ทำไมต้องเลือกสินค้าที่แสดงเครื่องหมายมาตรฐาน?
สินค้าที่แสดงเครื่องหมายมาตรฐาน เป็นสินค้าที่ผ่านการรับรองและตรวจสอบจาก สมอ. แล้วว่ามีคุณภาพได้มาตรฐานเป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนด ปลอดภัยในการอุปโภคบริโภค มีประสิทธิภาพในการใช้งาน และมีคุณภาพสมราคา ผู้บริโภคจึงควรตระหนักถึงความสำคัญในเรื่องนี้ เพื่อความปลอดภัยของตนเองและครอบครัว โปรดสังเกตเครื่องหมายมาตรฐานก่อนเลือกซื้อทุกครั้ง
ผู้บริโภคจะได้อะไร จากการใช้สินค้าที่มีเครื่องหมายมาตรฐาน
- สะดวกในการเลือกซื้อสินค้า เพียงแค่สังเกตเครื่องหมายมาตรฐานก็จะได้สินค้าดี มีคุณภาพ สมราคา
- ปลอดภัย และมั่นใจในประสิทธิภาพการใช้งาน
- คุ้มค่ากับเงินที่จ่ายไปสินค้ามีคุณภาพ ใช้ได้นาน
- ประหยัดค่าใช้จ่าย สามารถใช้อะไหล่ทดแทนกันได้ และเปลี่ยนเฉพาะส่วนที่เสีย
ผู้ผลิตจะได้อะไร จากการแสดงเครื่องหมายมาตรฐาน
- สร้างภาพลักษณ์ให้กับสินค้าว่ามีคุณภาพเป็นไปตามมาตรฐาน
- เพิ่มยอดขาย เพราะมีหลักประกันคุณภาพสินค้า
- ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการผลิต
- ช่วยให้ได้สินค้าที่มีคุณภาพสม่ำเสมอ
- ทำให้สินค้ามีคุณภาพดีขึ้น และมีราคาถูกลง
- เพิ่มโอกาสทางการค้า
ประโยชน์ที่ได้รับจาก มผช.
- ผู้ผลิตผลิตภัณฑ์ชุมชน มีความเข้าใจ และมีความรู้ในการผลิตสินค้าที่มีคุณภาพ ทำให้สินค้าที่ผลิตมีคุณภาพมากขึ้น
- สินค้าเป็นที่น่าเชื่อถือ และเป็นที่ต้องการของตลาด
- สามารถนำผลิตภัณฑ์เข้าคัดสรร OTOP Product Champion
- ได้รับการสนับสนุนเพื่อการพัฒนาที่เหมาะสมจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
ถ้าใช้สินค้าที่ไม่มีเครื่องหมาย มอก. อาจเกิดอะไรได้บ้าง ?
ถ้าใช้แบตเตอรี่โทรศัพท์ที่ไม่มี มอก. อาจทำให้ระเบิดได้
ถ้าใช้แบตสำรอง (Power bank) ที่ไม่มี มอก.
ดังนั้นเราจึงควรตระหนักถึงความสำคัญของการเลือกซื้อและเลือกใช้สินค้าที่มีเครื่องหมายมอก.ให้มากขึ้น